วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

สรุปภาพรวมตลาด รายสัปดาห์รายเดือน

16/11/52
คาดหุ้นปี 53 แตะ 800 จุด ชี้ ดอลลาร์อ่อนผลักทุนไหลเข้าเอเชีย
กสิกรฯ คาดหุ้นไทยปี 53 ทะลุ 800 จุด แนะจับตาเงินดอลลาร์อ่อน กดดันเม็ดเงินตลาดหุ้นสหรัฐฯ ไหลเข้าเอเชีย พร้อมยอมรับ กระแสเงินทุนที่ไหลเข้าในแถบเอเชียขณะนี้ ต่างชาติสนใจไปลงทุนในสิงคโปร์ และอินเดีย ส่วนไทยกังวลปัญหาการเมือง

นางณัฐรินทร์ ตาลทอง กรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย จำกัด กล่าวว่า จากภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2552 ส่งผลให้เงินลงทุนจากต่างชาติไหลเข้ามาซื้อหุ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต่างชาติมียอดซื้อสุทธิถึง 60,000 ล้านบาทแล้ว ส่วนเศรษฐกิจไทย หลังจากรัฐบาลเร่งผลักดันแผนการลงทุนไทยเข้มแข็ง 1.4 ล้านล้านบาท กระตุ้นเศรษฐกิจในอีก 2 ปีข้างหน้า จะมีส่วนช่วยผลักดันเศรษฐกิจจากที่ติดลบร้อยละ 3 ในปีนี้ กลับมาเป็นบวกร้อยละ 3.0-3.5 ในปี 2553

อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์และนักเศรษฐศาสตร์ ต่างคาดการณ์ตรงกันว่า กลุ่มประเทศในแถบเอเชียฟื้นตัวเร็วที่สุด ประกอบกับแนวโน้มสกุลเงินดอลลาร์อ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลเอเชีย อีกทั้งหลายประเทศในเอเชียเตรียมปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าสหรัฐฯ ทำให้เม็ดเงินที่ค้างในตลาดหุ้นสหรัฐฯ 3.5 ล้านล้านดอลลาร์ พร้อมออกหาผลตอบแทนในแถบเอเชีย จึงคาดว่าตลาดหุ้นไทยปี 2553 จะปรับขึ้นถึง 800 จุด แต่จะเคลื่อนไหวลักษณะทยอยปรับขึ้น

สำหรับแผนการเปิดเสรีโบรกเกอร์ปี 2555 ยอมรับว่าจะทำให้เกิดการแข่งขันสูงขึ้นในตลาดหุ้น โบรกเกอร์แต่ละรายจะต้องหาพันธมิตร โดยเฉพาะธนาคารหรือดึงพันธมิตรต่างชาติร่วมทุน เพื่อเสริมความแข็งแกร่ง ทำให้โบรกเกอร์มีการควบรวมกัน จากจำนวน 37 เหลือไม่เกิน 25 ราย การเน้นคิดค่าธรรมเนียมจะไม่ใช่สิ่งสำคัญ เพราะลูกค้าจะให้ความสำคัญเป็นที่ปรึกษา เพื่อตัดสินใจลงทุนและแข่งขันด้านบริการให้กับลูกค้า

ส่วนผลตอบแทนของ บล.กสิกรไทย 9 เดือนแรก มีกำไรสุทธิกว่า 134 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้นร้อยละ 362 จากที่มีกำไร 29 ล้านบาทในปีผ่านมา โดยอีก 3 ปีข้างหน้าจะขอขยับขึ้นเป็น 1 ใน 3 โบรกเกอร์รายใหญ่ที่มีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 5 จากปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 1.81 ด้วยการเปิดบริการนายหน้าซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรองพันธบัตร และการให้บริการต่างๆ ที่ครบวงจร

นางณัฐรินทร์ ยอมรับว่า กระแสเงินทุนที่ไหลเข้าในแถบเอเชียขณะนี้ ต่างชาติสนใจไปลงทุนประเทศอื่น ทั้งสิงคโปร์ อินเดีย แต่ในส่วนไทยยังกังวลปัญหาการเมือง ดังนั้น หาก
manager.co.th************
14/11/52
เปิดสูตรลงทุนปี’53
โพสต์ทูเดย์
— ปีหน้าลงทุนหุ้นจะเป็นวิกฤตหรือโอกาสขึ้นอยู่กับจังหวะเลือกซื้อหุ้น

นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์ เปิดเผยในงานสัมมนา “เจาะลึกเศรษฐกิจ...วิกฤตหรือโอกาสการลงทุน” ว่า ปีหน้าประเมินมูลค่าดัชนีเหมาะสมจะอยู่ที่ระดับ 650 จุด แต่เชื่อว่าจะมีการเคลื่อนไหวแกว่งตัวในกรอบกว้างๆ ระหว่าง 600–850 จุด แต่กรอบส่วนใหญ่น่าจะอยู่ในช่วง 670-780 จุด

ดังนั้น จะเป็นวิกฤตหรือโอกาสสำหรับผู้ลงทุนขึ้นอยู่กับจังหวะที่เข้าไปลงทุนว่าขณะนั้นดัชนีอยู่ที่ระดับใด โดยแนะนำนักลงทุนให้จัดสรรการลงทุนให้ดี หากดัชนีปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 600 จุด แนะนำให้เพิ่มน้ำหนักในหุ้นเป็น 60% ที่เหลือเป็นการลงทุนในหุ้นกู้ เงินฝาก เป็นต้น

หากดัชนีอยู่ที่ระดับ 650 จุด ให้ลงทุนในหุ้น 50% ดัชนีระดับ 750 จุด ลดสัดส่วนหุ้นลงเหลือ 30% และหากดัชนีขึ้นไปที่ระดับ 800 จุด ให้ลดน้ำหนักลงทุนในหุ้นลงเหลือ 20% และเมื่อขึ้นถึงระดับ 850 จุด ให้ลดลงเหลือ 10% และให้ถือครองเงินสดทั้งหมด หากดัชนีขึ้นไปแตะระดับ 900 จุด แล้วเมื่อปรับตัวลดลงค่อยเข้าไปช้อนซื้อ

“หุ้นปีหน้ามีความผันผวนไม่น้อยกว่าปีนี้ เพราะจากสถิติ 20 ปีย้อนหลัง มีเพียง 3 ปีเท่านั้นที่ระดับดัชนีต่ำสุดและสูงสุดห่างกันไม่ถึง 200 จุด ส่วนใหญ่จะเหวี่ยงตัวเกิน และคาดว่าปีหน้าก็เช่นกัน น่าจะเกิน 200 จุดเช่นกัน” นายสมบัติ กล่าว

นายสมบัติ กล่าวว่า ตั้งแต่เดือนมี.ค. นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิเกือบ 6 หมื่นล้านบาท แต่ยังน้อยเมื่อเทียบกับก่อนเกิดวิกฤตซับไพรม์ มียอดซื้อสุทธิในหุ้นไทยสูงถึง 2 แสนล้านบาท แต่ในปัจจุบันไทยมีปัจจัยในประเทศทั้งความไม่ชัดเจนเรื่องมาบตาพุด ความตึงเครียดระหว่างไทยและกัมพูชา ดังนั้นไม่ควรคาดหวังว่าเงินลงทุนต่างชาติจะกลับมาซื้อสุทธิในระดับเดิม แต่ขณะเดียวกันไม่ควรมองโลกในแง่ร้ายเกินไป

นายมนตรี ศรไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) หรือ KEST กล่าวว่า ในภาวะดัชนีหุ้นปรับตัวลดลงเป็นโอกาสเข้าไปลงทุนของผู้ลงทุน ส่วนกลุ่มธุรกิจที่น่าเข้าไปลงทุนให้เลือกธุรกิจที่อยู่คู่กับเศรษฐกิจในประเทศ เพราะมองว่าปีหน้าเศรษฐกิจจะดีขึ้น เช่น ธนาคารพาณิชย์ และการบริโภคในประเทศ

ทั้งนี้ โดยส่วนตัวเชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยยังไม่ปรับขึ้นในกลางปีหน้า หรือยกเว้นแต่ว่าจะเห็นเศรษฐกิจทั่วโลกขยายตัวร้อนแรง ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องยาก

นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา นักวิเคราะห์ยอดเยี่ยมด้านพลังงานและปิโตรเคมี และผู้อำนวยการอาวุโส บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า กรณีมาบตาพุดประเมินไว้ว่าหากโครงการของกลุ่มบริษัท ปตท. (PTT) ล่าช้าไป 6 เดือน จะกระทบกำไรปีหน้าเพียง 5% เพราะโครงการเก่ายังสร้างรายได้ได้ตามปกติ และรับรู้ไปในราคาหุ้นแล้ว

อย่างไรก็ตาม หุ้นกลุ่มพลังงานที่แนะนำให้ลงทุนสูงสุด คือ หุ้นบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) เพราะมีศักยภาพในการทำกำไร วิกฤตช่วงนี้เป็นโอกาสให้ซื้อ ปี 2553 หากตัดโครงการมอนทาราออกไป คาดว่ากำไรยังมีโอกาสเติบโต 54% จากปีนี้ เพราะราคาก๊าซสูงตามราคาน้ำมันที่คาดว่าเฉลี่ยที่ 75-80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จากปีนี้เฉลี่ย 64-65 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

หุ้นไทยวานนี้ปิดที่ 698.33 จุด เพิ่มขึ้น 1.61 จุด หรือ 0.23% มูลค่าการซื้อขาย 14,645.81 ล้านบาท ต่างชาติขาย 676.13 ล้านบาท สถาบันซื้อ 66.26 ล้านบาท พอร์ตบล.ซื้อ 78.35 ล้านบาท และรายย่อยซื้อ 531.52 ล้านบาท

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า รางวัล SET Awards 2009 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 6 รวม 29 รางวัล ปรากฏว่ารางวัลบริษัทจดทะเบียนที่มีผลการดำเนินงานยอดเยี่ยม สำหรับบริษัทที่มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาด (มาร์เก็ตแคป) สูงกว่า 1 หมื่นล้านบาท ได้แก่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม มาร์เก็ตแคปไม่เกิน 1 หมื่นล้านบาท เป็นของบริษัท ยูนิวานิชน้ำมันปาล์ม บริษัท ค้าเหล็กไทย และบริษัท แอ็ดวานซ์ อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี

รางวัลผู้บริหารสูงสุดยอดเยี่ยม (Best CEO Awards) ของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่ นางกรรณิการ์ ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ ขณะที่รางวัลบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยอดเยี่ยม แยกตามกลุ่มลูกค้า ได้แก่ บล.ที่เน้นบริการนักลงทุนประเภทสถาบัน เป็นของบล.ยูบีเอส (ประเทศไทย) (UBS) บล.ที่เน้นบริการนักลงทุนประเภทบุคคล ได้แก่ บล.กสิกรไทย และรางวัลบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมยอดเยี่ยม ได้แก่ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมบัวหลวง (BBLAM)
posttoday*************
24/10/52
week summary 19-23/10/52
***************
20/10/52
เชื่อปลายปีหุ้นเด้งทะลุ 800 จุด

Posted on Tuesday, October 20, 2009
นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ เอเซียพลัส บอกว่า แม้ตลาดหุ้นไทยจะเจอกับข่าวร้าย ทั้งกรณีมาบตาพุด//การหยุดเดินรถไฟ รวมถึงข่าวลือต่างๆ ที่ทำให้ดัชนีร่วงลงอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังไม่มีการปรับประมาณการดัชนีตลาดหุ้นปีนี้ โดยเชื่อว่าดัชนียังมีโอกาสแตะ 800 จุดได้ในช่วงปลายปี จากผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ของบริษัทจดทะเบียนโดยเฉพาะกลุ่มพลังงาน ที่มีสัดส่วนค่อนข้างมากในตลาดหุ้น ที่คาดว่าจะออกมาดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ ตามราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับเพิ่มขึ้น รวมไปถึงเงินดอลลาร์ที่ยังคงอ่อนค่า ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ยังพุ่งขึ้นต่อเนื่อง และมีเม็ดเงินไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้น

นายก้องเกียรติ บอกด้วยว่า รัฐบาลควรสร้างความชัดเจนกรณีปัญหาในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด รวมถึงการหยุดเดินรถไฟ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. เนื่องจากเป็นเรื่องที่บั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุน โดยเฉพาะต่างชาติ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเช่นมาเลเซีย กำลังเร่งดำเนินนโยบายดึงเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศ

นายไพบูลย์ นลินทรางกูร นายกสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บอกว่า การปรับฐานของดัชนีฯ ถือเป็นเรื่องปกติ หลังจากที่ปรับขึ้นมาเกือบ 100% จากจุดต่ำสุดในปีก่อน อีกทั้งทิศทางดอกเบี้ยนโยบายที่เริ่มส่งสัญญาณขาขึ้น จากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของประเทศอิสราเอล ออสเตรเลีย และดอกเบี้ยพันธบัตรที่ขยับขึ้น อาจส่งผลให้เม็ดเงินเข้าลงทุนในตลาดหุ้นลดน้อยลง

นายไพบูลย์ ยังเชื่อว่า แนวรับที่ 650 จุด น่าจะรับอยู่ และเป็นจังหวะที่ปลอดภัยของการเข้าเก็บหุ้น โดยประเมินว่าดัชนีฯมีโอกาสปรับตัวขึ้นแรงอีกครั้ง และมีโอกาสทะลุ 800 จุด ในช่วงปลายปี จากการเข้าซื้อหุ้นของกองทุน LTF และ RMF ที่โดยปกติจะเข้าซื้อหุ้นประมาณ 3-4 หมื่นล้านบาทในช่วงปลายปี
money news update
*********
11/10/52
ช่วงวันที่ 05-11/10/52
***************
17/09/52
กูรู เปิด 5 ปัจจัยเสี่ยงดับร้อนตลาดหุ้น จับตาดอลลาร์อ่อน เฮดจ์ฟันด์ทำกำไร
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th) Thursday, September 17, 2009 06:38 8521 XTHAI XECON XCORP XFRONT V%PAPERL P%TSK
ผู้เชี่ยวชาญเปิด 5 ปัจจัยเสี่ยงกระชากตลาดหุ้น เงินเฟ้อ ,สัญญาณดอกเบี้ยขาขึ้น เศรษฐกิจฟื้นจริงหรือไม่ ,ดอลลาร์อ่อนค่า ,การระดมทุนทั้งไอพีโอ และบจ. คาดหุ้นไทยมีโอกาสลงลึกที่ 650 จุด แนะขายทำกำไรทุกรอบที่ดัชนีทำนิวไฮ "ศุภวุฒิ"เผยหุ้นวิ่งรับผลการดำเนินงานปี 53 แล้ว
นายไพบูลย์ นลินทรางกูร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์(บล.)ทิสโก้ จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า จากที่หุ้นทั่วโลกได้ปรับขึ้นไปมากกว่า 50% เป็นผลจากคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัว แต่การปรับขึ้นแรงของตลาดหุ้นนั้น อาจส่งผลให้ปรับลงแรงได้จาก 3 ปัจจัยสนับสนุน คือ 1.เงินเฟ้อ 2. แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยปรับขึ้น และ 3. การเพิ่มทุนของเอกชนที่จะเริ่มมีเข้ามาทั้งในรูปแบบการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯครั้งแรก(ไอพีโอ)และบริษัทจดทะเบียน(บจ.)เพิ่มทุนใหม่(พีโอ) เป็นต้น ซึ่งจะทำให้นักลงทุนเริ่มหันความสนใจต่อหุ้นไอพีโอมากขึ้น ส่วนการเพิ่มทุนของบจ. จะทำให้จำนวนหุ้นของบริษัทเพิ่มขึ้นส่งผลให้ราคาหุ้นมีมูลค่าลดลงหรือไดลูต "เหล่านี้ คือ ปัจจัยที่นักลงทุนต้องระมัดระวัง สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นปีหน้าเช่นเดียวกับหุ้นไทยที่มีโอกาสปรับลงถึงระดับ 650-700 จุด นอกจากนี้เริ่มมีบริษัทเอกชนหันมาระดุมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯมากขึ้น" นายไพบูลย์ กล่าว
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการสายงานวิจัย บล.กสิกรไทยฯ กล่าวยอมรับว่า ตลาดหุ้นทั่วโลกรวมหุ้นไทย ที่ปรับขึ้นไปนั้นได้รองรับผลการดำเนินงานในปี 2553 เรียบร้อยแล้ว โดยเป็นผลจากนักลงทุนเชื่อว่าปี 2552 เศรษฐกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว ส่วนปีหน้าเศรษฐกิจยังเติบโตได้ต่อจากมาตรการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบของหลายประเทศทั่วโลก ดังนั้นทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกรวมหุ้นไทย มีโอกาสปรับลงได้อีกหรือไม่คงต้องรอดูจากการประมาณการผลการดำเนินงานในปีถัดไปว่ายังสามารถเติบโตได้หรือไม่หลังจากผลของมาตรการอัดฉีดเงินในทุกๆด้านของแต่ละประเทศ ส่งผลในปีหน้าแล้ว ม.ล.ทองมกุฎ ทองใหญ่ กรรมการผู้จัดการ บล.ซิตี้คอร์ป(ประเทศไทย)ฯ กล่าวว่า ปัจจัยที่ต้องจับตา และมีผลต่อการปรับตัวลงของตลาดหุ้นทั่วโลก หลังจากได้ปรับขึ้นแรงมากในปีนี้ คือ แนวโน้มดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มีโอกาสอ่อนค่าลงได้อีก โดยบล.ซิตี้คอร์ปฯ ประเมินว่าจะอ่อนค่าลงอีกประมาณ 5% เมื่อเทียบกับสกุลอื่นๆทั่วโลก (จากต้นปีนี้ถึงปัจจุบันดอลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าลงแล้วประมาณ 30% ) ทำให้นักลงทุนเก็งกำไรจากการกู้ในประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำและเข้าลงทุนในประเทศที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า(ดอลลาร์แครี่เทรด )รวมกับการเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยน เช่นเดียวกับปัจจัยอัตราดอกเบี้ย มีโอกาสปรับขึ้นและส่งผลต่อตลาดหุ้นได้ แต่คาดว่าจากนี้ถึงครึ่งปีแรกของปี 2553 อัตราดอกเบี้ยยังไม่ปรับขึ้น อย่างไรก็ตามหากตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงจากปัจจัยดังกล่าวก็มีโอกาสปรับลงต่ำกว่า 700 จุดซึ่งถือว่าเร็วเกินไปหากเทียบจากพื้นฐานกำไรบริษัทจดทะเบียน ที่คาดว่าปีนี้จะเติบโตในอัตรา 5% ส่วนดัชนีตลาดหุ้นคาดว่าสิ้นปีนี้จะปิดที่ระดับ 650 จุด ส่วนปีหน้าคาดว่ากำไรบจ.เติบโต 15-18%
นายสุชาย สุทัศน์ธรรมกุล กรรมผู้จัดการ บล.ฟิลิป(ประเทศไทย)ฯ กล่าวว่า การปรับขึ้นของตลาดหุ้นภูมิภาคเอเชียรอบนี้ถือว่าร้อนแรงเกินไปหรือที่เรียกว่าโอเวอร์ฮีด เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยที่ปรับขึ้นมาที่ระดับ 700 จุด เป็นไปในทิศทางเดียวกับกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งทองคำ และน้ำมัน แต่จากนี้ไปมีโอกาสพักฐานและผันผวนต่อไปจนถึงปี 2553 หากมีปัจจัยลบเข้ามาแม้ว่าจะไม่ร้ายแรง เช่น การประกาศตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆอาทิ ตัวเลขการจ้างงาน และตัวเลขส่งออก เป็นต้น ที่คาดว่าสามารถส่งผลให้ตลาดหุ้นปรับลงได้ที่ระดับ 650-700 จุด "คำแนะนำการลงทุนในหุ้นจากนี้ไปจนถึงปีหน้า ควรขายทำกำไรทุกรอบเมื่อหุ้นปรับขึ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ หรือนิวไฮ" นายสุชายกล่าว
นายสุพรรณ เศษธะพานิช ผู้อำนวยการ ฝ่ายการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน(บลจ.)ยูไนเต็ด จำกัด กล่าวว่า เงินที่ไหลเข้าลงทุนในหุ้นและสินค้าโภคภัณฑ์ 2 ต่อ จากสินทรัพย์ที่ลงทุนและค่าเงิน จึงทำให้ตลาดหุ้นปรับลงได้ สำหรับตลาดหุ้นไทยที่ปรับขึ้นไปนั้น ถือว่าร้อนแรงเกินปัจจัยพื้นฐาน ซึ่งอัตราราคาปิดต่อกำไรต่อหุ้น(พี/อี เรโช) ที่เหมาะสมของตลาดหุ้นไทย ควรอยู่ที่ประมาณ 11 เท่า และดัชนีตลาดควรอยู่ที่ 650 จุด ขณะที่ปัจจุบันพีอีปรับขึ้นไปที่ 12 เท่าแล้ว ดังนั้นในระยะสั้น จึงมีโอกาสปรับลงได้อีกประมาณ 50 จุด และถือเป็นโอกาสเข้าลงทุน โดยสามารถถือยาวได้ 2-3 ปี ส่วนการลงทุนระยะ 1 ปีข้างหน้า มีโอกาสได้กำไรประมาณ 10 % เมื่อรวมเงินปันผล ภายใต้การประเมินเศรษฐกิจมีโอกาสฟื้นตัวในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า
--ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 17 - 19 ก.ย. 2552--

***************
10/09/52
เซียนหุ้นประเมินดัชนีแตะ 711 จุด ชี้มาตรการกระตุ้นศก.ทั่วโลกหนุน
นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เปิดเผยผลสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ครั้งล่าสุดว่า นักวิเคราะห์ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ดัชนีหุ้นปลายปีเป็นเฉลี่ย 674 จุด จากคาดการณ์เดือนพฤษภาคม 535 จุด เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ทั่วโลกและของไทยที่สร้างความมั่นใจ และคาดดัชนีสูงสุดของปี 2552 ที่ 711 จุด รวมทั้งปรับเพิ่มประมาณการอัตราการเติบโตของกำไรต่อหุ้นของบริษัทจดทะเบียนเป็น 22.9% จากผลสำรวจเดิม 5.0% และอัตราการเติบโตทาง
เศรษฐกิจปี 2552 เป็นติดลบ 3.4% ฟื้นขึ้นจากติดลบ 3.6%
**************
ทิศทางตลาดหุ้นh2/52 by คุณมนตรี ศรไพศาล
กรุงเทพธุรกิจ
************
ทิศทางตลาดหุ้นh2/52 by รศ.ดร.เอกชัย นิตยาเกษตรวัฒน์
กรุงเทพธุรกิจ
************
ทิศทางตลาดหุ้นh2/52 by ดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการ
กรุงเทพธุรกิจ
****************
market summary 17-21 august2009
**************
market summary 9-17august2009

***********
2-9august09
week summary
stock in focus

*********
สรุปภาพรวมตลาด รายสัปดาห์ รายเดือน
1.สิ้น ก.ค.2552
stock summary,july 2009
************

วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กลยุทธ์การขายของเซียน

กลยุทธ์การขายของเซียน
แล้วจะขายเมื่อไหร่ดี
เป็นคำถามที่สั้น กระชับ และดูเหมือนง่ายสำหรับนักลงทุนที่ชำนาญแล้ว แต่สำหรับนักลงทุนมือใหม่แล้ว ปัญหานี้ทำให้มึนตึ๊บเลยทีเดียวครับ ผมเองเคยประสบปัญหาที่ว่านี้เหมือนกันเมื่อครั้งเริ่มต้นลงทุนใหม่ๆ หรือแม้แต่ทุกวันนี้จะพอมีประสบการณ์บ้างแล้ว แต่บ่อยครั้งที่ผมต้องหยิบตำราของปราชญ์ด้านการลงทุนขึ้นมาอ่านทบทวนอยู่บ่อยๆเพื่อตอกย้ำความเข้าใจหลักการในเรื่องนี้ โดยเฉพาะทุกครั้งที่มีความรู้สึกแวบเข้ามาว่าอยากขายหุ้น การซื้อหุ้นลงทุนมาแล้วคำถามที่เกิดก็คือ แล้วเมื่อไหร่จะถึงเวลาขาย แล้วจะขายอย่างไรให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด หากขายไม่ถูกจังหวะเวลาจะมีผลให้ผลตอบแทนต่ำไปด้วย ผมลองเรียบเรียงหลักการของปราชญ์ด้านการลงทุนที่กล่าวถึงหลักการขายหุ้น มาเล่าให้ฟังนะครับ
PHILIP A. FISHER
(COMMON STOCK AND UNCOMMON PROFITS)
วัตถุประสงค์ของการขายหุ้นเพียงประการเดียว ที่มีแรงจูงใจในการขายหุ้นก็คือขายอย่างไรให้ทำกำไรสูงที่สุดจากเม็ดเงินที่นักลงทุนได้ลงทุนไป
โดยปราชญ์ท่านนี้กล่าวว่ามีเหตุผล3ข้อของการขายหุ้น
1)เมื่อตรวจพบอย่างชัดเจนว่าเกิดการซื้อที่ผิดพลาด และมีหลักฐานชัดเจนขึ้นเรื่อยๆว่าข้อมูลพื้นฐานที่แท้จริงของบริษัทนั้นแย่กว่าที่คิดไว้ในตอนแรก ไม่ว่าจะได้กำไรหรือขาดทุนก็ตามต้องตัดใจขาย กล้าที่จะ cut loss ทันที อย่ารอโดยหวังว่าราคาที่มันลงไปจะกลับคืนมาเท่าทุนที่ซื้อ นักลงทุนต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง ส่วนใหญ่จะไม่ยอมรับความผิดพลาดของการตัดสินใจของตนเอง และรอไปเรื่อยๆไม่กล้าที่จะขาย จนในที่สุด ความเสียหายอย่างหนักก็เกิดขึ้น จงขายแล้ว เก็บความผิดพลาดไว้เป็นบทเรียน
2)ขายเมื่อบริษัทเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนไม่เข้ากฎเกณฑ์ที่เขาตั้งไว้ 15ข้อ คือ
2.1)บริษัทไม่มีสินค้าหรือบริการที่มีศักยภาพของตลาดเพียงพอที่จะทำให้มีการเพิ่มขึ้นของยอดขายเป็นเวลาอย่างน้อยหลายๆปี
2.2)ฝ่ายจัดการหมดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสินค้าหรือกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง ที่จะยังคงสามารถเพิ่มยอดขายรวมในอนาคต เมื่อโอกาสการเติบโตของสินค้าที่น่าสนใจในปัจจุบันใกล้ถึงจุดอิ่มตัวแล้ว
2.3)ประสิทธิภาพของงานวิจัยและพัฒนาของบริษัทด้อยลงอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับขนาดของบริษัทและบริษัทของคู่แข่ง หรือบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน
2.4)บริษัทมีศักยภาพของหน่วยงานขายที่ย่ำแย่ลงกว่าค่าเฉลี่ย และไม่โดดเด่นเหนือคู่แข่ง
2.5)บริษัทมีกำไรต่อยอดขายไม่คุ้มค่าและด้อยลงกว่าบริษัทอื่นๆในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทคู่แข่ง
2.6)บริษัทไม่ทำอะไร หรือไม่มีแผนการจะทำอะไรเพื่อรักษาหรือทำให้กำไรต่อยอดขายสูงขึ้น
2.7)บริษัทมีแรงงานสัมพันธ์ที่ไม่โดดเด่น หรือสหภาพแรงงานสัมพันธ์แย่ลง ก่อให้เกิดการหยุดงาน หรือประท้วง
2.8)บริษัทที่ความสัมพันธ์ของผู้บริหารในองค์กรดูเสื่อมทรามลง หรือมีความขัดแย้งในบริษัท
2.9)บริษัทมีฝ่ายบริหารไม่เพียงพอ หรือไม่มีการพัฒนาผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง
2.10)ระบบการวิเคราะห์ต้นทุนและการควบคุมทางบัญชีของบริษัทไม่ดีและส่อไปในทางแย่ลง
2.11)บริษัทสูญเสียความโดดเด่นในคุณลักษณะที่เป็นลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรม เช่น
-กิจกรรมที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการค้าปลีกคือระดับของทักษะที่บริษัทมีในการจัดการเรื่องของอสังหาริมทรัพย์ และการจัดการและควบคุมการหมุนเวียนของสต็อกสินค้า
-การวิเคราะห์กิจการและการติดตามเร่งรัดหนี้สิน เป็นคุณสมบัติเด่นของกลุ่มธนาคาร เป็นต้น
2.12)บริษัทมีภาพระยะสั้นและระยะยาวเกี่ยวกับกำไรของบริษัทที่ไม่ชัดเจน
2.13)การเจริญเติบโตของบริษัทต้องการเงินจากผู้ถือหุ้นหรือไม่ หากต้องเพิ่มทุนจะไปมีผล dilution effect มากน้อยอย่างไร
2.14)เมื่อพบว่าผู้บริหารเปิดเผยเมื่อกิจการดีแต่หมกเม็ดเมื่อกิจการมีปัญหา
2.15)บริษัทมีฝ่ายจัดการที่ไม่โปร่งใส
3)ขายเมื่อพบการลงทุนในบริษัทอื่นน่าสนใจกว่า,มีอนาคตกว่าและมั่นใจว่าให้ผลตอบแทนดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
ประโยคสำคัญ FISHER กล่าวว่า*****ถ้าคุณทำหน้าที่ของคุณอย่างดีตอนที่คุณซื้อหุ้น เวลาที่จะขายก็คือ เกือบจะไม่มีวันขาย*****

PETER LYNCH
ONE UP ON WALL STREET
Peter Lynch เป็นนักลงทุนที่มีแนวคิดในการลงทุนคือ ท่านจะจำแนกหุ้นออกเป็นกลุ่มก่อน โดยเหตุผลก็คือหุ้นแต่ละกลุ่มจะมีอัตราการเจริญเติบโตและลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป(ซึ่งวิธีการแบ่ง จะยังไม่กล่าวถึงในที่นี้) ดังนั้นหุ้นแต่ละกลุ่มจะใช้กลยุทธ์การจัดการต่างกันไป ไม่ว่าการเข้าซื้อ การติดตาม ระยะเวลาการถือครอง ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้ และการกำหนดกลยุทธ์การขายก็แตกต่างกันไปด้วย ลินช์ แบ่งหุ้นออกเป็นกลุ่มๆดังนี้
1)หุ้นโตช้า
2)หุ้นแข็งแกร่ง
3)หุ้นวัฏจักร
4)หุ้นโตเร็ว
5)หุ้นฟื้นตัว
6)หุ้นทรัพย์สินมาก
ปราชญ์ ลินช์ ท่านมีแนวความคิดในเรื่องการขายในหุ้นแต่ละกลุ่มว่า
1)หุ้นโตช้า
ขายเมื่อ
***ราคาขึ้นไป30-50 % หรือ
***พื้นฐานของบริษัทนั้นเสื่อมทรามลง หรือ
***มีสัญญาณบางอย่างเช่น
1.1)บริษัทสูญเสีย market share 2ปีติดต่อกัน และกำลังจ้างบริษัทโฆษณาแห่งใหม่
1.2)หากินกับบุญเก่า ไม่มีการพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ๆ และงบ r&d ก็ถูกตัดทอนลง
1.3)ซื้อกิจการใหม่เพิ่มสองแห่งโดยที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม (diworsification,กระจายความเสียหาย)
1.4)บริษัทได้จ่ายเงินมากมายเพื่อซื้อกิจการ ทำให้งบดุลเสื่อมทรามลง จากเคยมีเงินสดเหลือมาก กลายเป็นว่ามีหนี้เพิ่มจำนวนมาก และไม่มีเงินสดเหลือที่จะซื้อหุ้นคืนแม้ว่าราคาหุ้นของตัวเองตกลงอย่างหนัก
1.5)แม้ราคาหุ้นจะต่ำลงแต่ dividend yield ก็ยังไม่สูงพอที่จะดึงดูดใจนักลงทุน

2)หุ้นแข็งแกร่ง
***หลักการคืออย่าถือเพื่อคาดหวังผลตอบแทน10เด้งจากหุ้นกลุ่มนี้
***หากราคาวิ่งเหนือเส้นกำไรพอสมควรก็ขาย หรือ
***ค่าp/e วิ่งฉีกห่างจากช่วงปกติมากๆ ก็ขาย หรือ
***มีสัญญาณ ดังต่อไปนี้
2.1)ออก new product มาแล้ว2ปีแล้วยังไม่ work และสินค้าหรือบริการตัวอื่นยังอยู่ในช่วงทดสอบคงใช้เวลาอีกนานเป็นปีจึงจะเห็นผล แบบนี้ก็ขาย หรือ
2.2)หุ้นราคาขึ้นไปถึง p/e 15เท่า ในขณะที่หุ้นในกลุ่มที่มีลักษณะใกล้เคียงหรืออยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันมีค่า p/e แค่11-12เท่า แบบนี้ก็ขายซะ
2.3)ไม่มีพนักงานหรือกรรมการ หรือผู้บริหารซื้อหุ้นเลยในปีที่แล้ว หรือ
2.4)business unit ที่สร้างกำไรหลัก25 % กำลังอยู่ในภาวะเสี่ยง หรือแนวโน้มถดถอย
2.5)แม้ว่าจะลดต้นทุนแล้วแต่ growth rate ยังชะลอตัวลง และยังมองไม่เห็นอนาคตว่าจะดีขึ้นได้อย่างไร

3)หุ้นกลุ่มวัฏจักร
***หลักการคือขายให้ใกล้เคียงจุดสูงสุดของวัฏจักร
***พวกกองหน้าที่รู้ดีเริ่มขาย สังเกตจากราคาของหุ้นเริ่มตกต่ำแบบไม่ค่อยมีเหตุผล p/e ratio อยู่ในระดับต่ำ
***เริ่มมีบางสิ่งบางอย่างเริ่มแย่ลงเช่น ต้นทุนการผลิตเริ่มเพิ่มขึ้น กำลังการผลิตเริ่มเต็ม และบริษัทต้องใช้เงินในการขยายกำลังการผลิต
***สินค้าคงคลังเริ่มเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าเริ่มต่ำลง และกำไรเริ่มลดลง
***สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ เช่นเหล็กและน้ำมัน ราคาในตลาดล่วงหน้าจะเริ่มต่ำกว่าราคาปัจจุบัน และราคา spot
***เริ่มมี สงครามราคา ออกกลยุทธ์ทางการตลาดลดแลกแจกแถมให้เห็น
***ความต้องการสินค้าปลายทางสำหรับสินค้าเริ่มชะลอตัวลง
***บริษัทเพิ่มงบลงทุนเป็นสองเท่าสร้างโรงงานใหญ่หรูหรา แทนที่จะปรับปรุงโรงงานเก่าด้วยต้นทุนต่ำ
***บริษัทพยายามลดต้นทุนลงแล้วแต่ยังสู้คู่แข่งไม่ได้

4)หุ้นโตเร็ว
***เคล็ดลับการขายคือพยายามไม่พลาดโอกาส10เด้ง และขายให้ใกล้จุดสิ้นสุดของช่วงที่สองของการเจริญเติบโต( s -curve)
***อย่าบริษัทพลาดและกำไรหด ค่า p/e ที่นักลงทุนไล่ราคาขึ้นไป จะกลายเป็น2เด้งที่ราคาแพงสำหรับนักลงทุนที่จงรักภักดีต่อบริษัทที่ถือ
***นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่แนะนำให้ซื้อในระดับสูงสุด
***60%ของหุ้นถูกถือโดยนักลงทุนสถาบัน
***magazine ที่มีชื่อเสียงระดับชาติต่างพร้อมใจออกมาชื่นชม ซีอีโอของบริษัท ว่าเจ๋ง
*** ค่า p/e สูงขึ้นจนดูน่าขันและไม่มีเหตุผล
***ยอดขายร้านเดิมลดลง3%ในไตรมาสสุดท้าย
***ยอดขายร้านใหม่ก็น่าผิดหวัง
***ผู้บริหารสูงสุด2คน และพนักงานหลายคนย้ายไปทำงานให้กับบริษัทคู่แข่ง
***หุ้นมีการซื้อขายกันที่ p/e30เท่า ขณะที่การประมาณการที่ดีที่สุดบริษัทจะกำไรโตได้15-20เท่าในช่วง2ปีข้างหน้า

5)หุ้นฟื้นตัว
***ขาย ณ.จุดที่มันฟื้นตัวสมบูรณ์แล้ว คือผ่านปัญหาทุกอย่างแล้ว ทุกคนในตลาดรับรู้ว่ามันฟื้นตัวสำเร็จแล้ว และมันกลับมาเป็นบริษัทที่มันเคยเป็นแล้ว
***หลังจากฟื้นตัวแล้ว ก็จัดกลุ่มใหม่
***หนี้สินที่ได้ลดลงติดต่อกัน5ไตรมาส เริ่มเพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาสล่าสุด
***อัตราการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลังเป็น2เท่าของการเติบโตของยอดขาย
***ค่า p/e สูงเกินไปเมื่อเทียบกับการคาดการของกำไร
***ลูกค้าของบริษัทรายใหญ่กำลังประสบปัญหายอดขายตกต่ำ

6)หุ้นสินทรัพย์มาก***ถือรอน่าล่ากิจการ
***ผู้บริหารประกาศว่าจะเพิ่มทุน เพื่อเอาเงินไปซื้อกิจการอื่นเพื่อกระจายความเสี่ยง
***ขายแผนกงานสำคัญของบริษัทขายได้ราคาต่ำกว่าที่ควร
***นักลงทุนสถาบันถือหุ้นเพิ่มขึ้นจาก25%เป็น60 %

วอร์เรน บัฟเฟตต์

***ปรัชญาการลงทุนของปราชญ์ท่านนี้คือลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน(durable competitive advantage)แล้วถือไว้เป็นระยะเวลานานๆ
***ขายที่จุดสูงสุดของตลาดและตลาดให้ราคาที่สูงมากพอ เช่น
กรณีตัวอย่างที่1 ช่วงตลาดฟองสบู่สุดๆในปี1969 หุ้นท่าถือ p/e ขึ้นไป 50เท่า ขายล้างพอร์ต แล้วออกจากตลาดและบอกหุ้นส่วนของเขาว่าไม่สามารถจะหาซื้อหุ้นที่มีคุณค่าน่าซื้อได้อีกต่อไป
กรณีตัวอย่างที่2 เกิดขึ้นในปี1998 ช่วงนั้นหุ้นหลายๆตัวในพอร์ตเบิร์กไซร์ มีค่า p/e ขึ้นไป50เท่า หรือมากกว่า ท่านเลยขายหุ้นโดยวิธีการพิเศษคือเอาไปแลกกับบริษัทประกันภัยซึ่งขนาดใหญ่ที่มีเงินสดจำนวนมาก โดยการขายครั้งนี้ทำให้ขายหุ้นได้ราคาเพิ่มขึ้นจากพอร์ตธรรมดาและไม่ต้องเสียภาษีอีกต่างหาก
***เอาคาดการณ์ผลตอบแทนผลกำไรใน10ปีข้างหน้าของบริษัทรวมกันมาเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของหุ้นกู้ หรือผลตอบแทนของพันธบัตร หากสูงกว่าถือต่อ หากต่ำกว่าขายซะ
***มีโอกาสซื้อที่น่าสนใจกว่า แต่จงจำไว้ว่า อย่าขายดอกไม้แล้วไปซื้อวัชพืช
***ขายเมื่อธุรกิจหรือสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป
***ขายเมื่อราคาหุ้นปรับสูงขึ้นจนถึงราคาเป้าหมาย
การลงทุนก็คงเหมือนกับการค้าขายกระมังครับ หากซื้อแล้วขายไม่เป็นหรือขายไม่ถูกจังหวะตอบแทนที่ได้ก็คงไม่ดีเท่าที่ควร กลยุทธ์เหล่านี้เป็นหลักแนวความคิดและการปฏิบัติที่ปราชญ์ท่านว่าไว้ ส่วนเทคติกที่เป็นรายละเอียดและความชำนาญและการประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติก็คงต้องฝึกปรือกันไปให้ชำนาญ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=26308

กลยุทธ์การจัดพอร์ตอย่างเซียน

กลยุทธ์การจัดพอร์ตอย่างเซียน

บทความโดย CHARTCHAI MADMAN

การจะลงทุนในหุ้นให้ประสบความสำเร็จนั้นนอกจากการวิเคราะห์เป็นรายตัวแล้ว การจัดพอร์ตให้มีความสมดุลก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะบ่งชี้ถึงผลตอบแทนโดยรวมว่าจะมากน้อยเพียงใด หรือหากเกิดความผันผวนขึ้น ความสมดุลของพอร์ตจะเป็นเกราะกำบังอีกประการหนึ่งให้นักลงทุนไม่เสียหายมาก
แนวความคิดเรื่องการจัดพอร์ตนั้นมีหลายแนวความคิดครับ แต่โดยหลักก็คือ
1)หลักการกระจาย คือการลงทุนกระจายไปหุ้นหลายๆตัว ในหลายกลุ่มอุตสาหกรรม(หรือหลักการใส่ไข่ไว้ในหลายๆตะกร้า) เพื่อลดความเสี่ยงของพอร์ต ในขณะเดียวกันผลตอบแทนโดยรวมอาจจะต่ำกว่าการลงทุนแบบโฟกัส
2)โฟกัสคือการเน้นการลงทุนในหุ้นน้อยตัวนักลงทุนคัดสรรมาแล้ว การใช้กลยุทธ์นี้จะพบความผันผวนของพอร์ตได้มากกว่า ความเสี่ยงมากกว่า แต่ผลตอบแทนก็จะสูงตามไปด้วย
เคยมีการศึกษาเพื่อทดสอบเรื่องจำนวนหุ้นในพอร์ต ที่ศึกษาเรื่องระดับผลตอบแทนและความเสี่ยงของมหาวิทยาลัยชิคาโก (professors Lawrence Fisher และ James Lorie)โดยการจัดพอร์ตที่มีหุ้นตั้งแต่1ตัว ถึงพอร์ตที่มีหุ้น500 ตัวครับ ผลที่ออกมาก็คือ
***การเพิ่มจำนวนหุ้นในพอร์ตทำให้ความเสี่ยงลดลง แต่ประโยชน์นี้จะหมดลงอย่างรวดเร็ว หากจำนวนหุ้นในพอร์ตมากเกินกว่า16ตัว***
มีการศึกษาอีก paper หนึ่ง ( John Wiley & son) พบว่า
***นักลงทุนสามารถกระจายความเสียงได้85% ด้วยการมีหุ้นจำนวน15ตัว และ หากมีหุ้นในพอร์ตจำนวน30ตัวจะกระจายความเสี่ยงได้95%
สรุปโดยรวม การจัดพอร์ตทั้งสองแบบก็จะมีผลได้ผลเสียแตกต่างกันไป แล้วบรรดาเซียนในเรื่องการลงทุนละ แต่ละท่านมีกลยุทธ์ในการจัดพอร์ตอย่างไร
กลยุทธ์การจัดพอร์ตของ ดร.นิเวศน์ เซียนหุ้นมูลค่าอันดับหนึ่งของเมืองไทย
ดร.นิเวศน์กล่าวไว้ในหนังสือตีแตก กลยุทธ์การเล่นหุ้นในภาวะวิกฤติ ท่านบอกไว้ว่า ในพอร์ตของท่านมีหุ้นกว่า10ตัว น้ำหนักการลงทุนไม่เท่ากันในแต่ละตัว การให้น้ำหนักจะขึ้นอยู่กับความน่าสนใจของแต่ละตัว หากท่านเห็นว่าตัวไหนให้ผลตอบแทนดีและมั่นใจก็จะให้น้ำหนักตัวนั้นมากหน่อย น่าสนใจแต่ไม่มั่นใจก็จะให้น้ำหนักน้อยหน่อย ท่านจะปรับพอร์ตเสมอเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ส่วนใหญ่แล้วจะลงทุนในหุ้นเต็มวงเงินเสมอ

กลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบบัฟเฟตต์ เศรษฐีหุ้นอันดับหนึ่งของโลกการลงทุน
ส่วนบัฟเฟตต์ซึ่งชำนาญในเรื่องการใช้กลยุทธ์สวนกระแสแบบคัดสรรคือเลือกลงทุนน้อยตัวแต่ลงหนักเมื่อเจอหุ้นที่ยอดเยี่ยม ท่านเชื่อว่าการกระจายความเสี่ยงเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผลกับนักลงทุนที่ขาดความรู้และความเข้าใจเท่านั้น การกระจายความเสี่ยงจะมีประโยชน์ในกรณีที่จะช่วยป้องกันความเสียหายที่เกิดจากการไม่รู้ หรือได้รับข้อมูลที่ใช้ตัดสินใจไม่ครบสมบูรณ์ บัฟเฟต์แนะนำว่านักลงทุนควรมีหุ้นเพียง5-10ตัวเท่านั้น บัฟเฟตต์เมื่อซื้อจะเน้นการถือหุ้นระยะยาว ถือไปเรื่อยๆตราบใดที่พื้นฐานของหุ้นยังไม่แย่ลง
กลยุทธ์การจัดพอร์ตแบบปีเตอร์ ลินช์
ลินช์กล่าวว่าประเด็นสำคัญของผลตอบแทนไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนหุ้นในพอร์ต แต่มันขึ้นอยู่กับการตรวจสอบอย่างดีมากน้อยแค่ไหนของนักลงทุน มันเป็นเรื่องที่ดีที่จะเป็นเจ้าของหุ้นให้มากที่สุดหากคุณไปเจอสถานการณ์
1)สถานการณ์ที่ได้เปรียบ และ
2)ได้ค้นพบหุ้นที่มีเป้าหมายชัดเจนและน่าตื่นเต้น
นั่นหมายความว่าหากนักลงทุนมีความเชี่ยวชาญในหุ้นกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหรือหุ้นตัวใดตัวหนึ่งเป็นพิเศษจริงๆก็ไม่จำเป็นต้องกระจาย
แต่ก็บอกว่าการถือหุ้นเพียงตัวเดียวเป็นเรื่องเสี่ยงมากเช่นกันหากเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันขึ้น ตามความเห็นของ ลินช์ พอร์ตขนาดเล็กควรจะมีหุ้น 3-10 ตัว น่าจะได้ประโยชน์ในแง่มุมต่างๆดังนี้
1)หากลงทุนในหุ้นโตเร็ว โอกาสจะเจอหุ้น10เด้งมีมากกว่า
2)ยิ่งมีหุ้นมาก นักลงทุนก็จะความคล่องตัวที่จะสับเปลี่ยนเงินลงทุนระหว่างมัน
สำหรับพอร์ตของลินช์จะมีลักษณะคร่าวๆดังนี้
-หุ้นโตเร็ว มีน้ำหนักประมาณ30-40 %
-หุ้นแข็งแกร่ง มีน้ำหนัก 10-20%
-หุ้นวัฏจักร มีน้ำหนัก10-20 %
-หุ้นที่กำลังฟื้นตัวอีกมีน้ำหนัก10-20%
กลยุทธ์การจัดพอร์ตหุ้นของปรมาจารย์ เกรแฮม
เกรแฮมนั้นเน้นการกระจายความเสี่ยงไปในหุ้นหลายๆตัวโดยเฉพาะหุ้นที่มีลักษณะ net nets stock (หุ้นที่มีราคาต่ำกว่า1/3ของมูลค่าทรัพย์สินหมุนเวียนสุทธิ)ในปี1929 พอร์ตของเกรแฮมมีหุ้นอยู่ถึง75ตัว บางช่วงพอร์ตมีหุ้นมากกว่า100ตัว เน้นว่าให้กระจายไปให้มากเพียงพอที่จะกระจายความเสี่ยง แต่ต้องไม่กระจายไปในความเสี่ยงที่มากเกินไป
กลยุทธ์การจัดพอร์ตของ ฟิลลิป เอ ฟิชเชอร์ เซียนหุ้นโตเร็วในสไตล์นักสืบ
ฟิชเชอร์แนะนำว่าอย่าเน้นกระจายความเสี่ยงโดยการกระจายการถือหุ้นมากเกินไป อย่าใส่ไข่ในหลายตะกร้ามากเกินไป และอย่าใส่ไข่ในตะกร้าใบเดียวจนไข่ล้นตะกร้าและไม่ได้ดูแลไข่อย่างดีเพียงพอ ต้องคำนึงถึงหุ้นตัวที่ถืออยู่ด้วยเพราะบางบริษัทเป็นลักษณะโฮลดิ้งและบริษัทเองก็มีการกระจายความเสี่ยงไปในหลายๆธุรกิจแล้ว การกระจายความเสี่ยงต้องดูความทับซ้อนหรือแข่งขันกันของธุรกิจที่จะซื้อหุ้นด้วย (ความเห็นของผม เขาคงหมายความว่าเช่นหากถือหุ้น ปตท.แล้วก็ไม่ควรกระจายความเสี่ยงโดยการถือหุ้นปิโตรเคมีอีก หรือกรณี ซื้อทั้ง หุ้นของ scc และ sccc ซึ่งแข่งขันกัน เป็นต้น) ฟิชเช่อร์แนะนำให้แยกแยะกลุ่มบริษัทและการกระจายความเสี่ยงดังนี้
บริษัทกลุ่ม A ซึ่งเป็นหุ้นที่โตเร็วและเป็นบริษัทใหญ่ที่มีความแข็งแกร่งสูง กระจายแบบตัวละ20 % ไป5บริษัทที่มีความแตกต่างของสินค้า ก็ดูสมเหตุสมผล
บริษัทกลุ่ม B ซึ่งเป็นบริษัทมีลักษณะหุ้นบริษัทใหม่โตเร็วและความเสี่ยงสูง ให้ลงตัวละ8-10 % กระจายไปในบริษัทที่มีความแตกต่างกัน
บริษัทกลุ่มC ซึ่งเป็นบริษัทขนาดเล็กๆ ซึ่งโอกาสอาจได้กำไรมหาศาลและขาดทุนสูญเสียเงินทั้งหมด ควรกระจายความเสี่ยง ไม่เกินตัวละ5% และเงินที่ใช้ลงทุนต้องเป็นเงินเย็นที่สามรถขาดทุนได้ทั้งหมดโดยไม่เดือดร้อน
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=26032

วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและครัวเรือน

28/07/52
เครื่องใช้ไฟฟ้าครึ่งปีหลัง ส่งออกฟื้นไตรมาส 4:ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 28 ก.ค.
--ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

เครื่องใช้ไฟฟ้าครึ่งปีหลัง: ส่งออกฟื้นไตรมาส 4 แต่ในประเทศยังหดตัว (ฉบับส่งสื่อมวลชน)
ในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งประกอบไปด้วยการผลิตเพื่อการส่งออกและ เพื่อการใช้ภายในประเทศได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก โดยในด้าน ของการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 ได้หดตัวลงไปแล้วร้อยละ 26.9 ขณะที่ในด้านของการ ขายในประเทศก็ได้รับผลจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจและความไม่มั่นใจของผู้บริโภคที่แม้ว่ามีการ กระเตื้องขึ้นมาบ้างแต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ โดยในช่วงครึ่งปีหลัง ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงและความผันผวน ต่างๆ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองต่อภาพรวมของสถานการณ์และปัจจัยที่จะส่งผลต่อแนวโน้มของอุตสาหกรรม

ดังต่อไปนี้

สถานการณ์การส่งออก.. ที่ผ่านมาแม้จะยังหดตัวสูงแต่เริ่มเห็นทิศทางที่ดีขึ้น การส่งออกสินค้าเครื่อง

ใช้ไฟฟ้าของไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 หดตัวร้อยละ 26.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยไตรมาส

ที่ 2/2552 การส่งออกหดตัวร้อยละ 23.6 ชะลอลงจากร้อยละ 30.4 ในไตรมาสที่ 1/2552 ขณะที่ใน

รายเดือนก็เช่นเดียวกัน ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาแม้ว่าการส่งออกจะยังคงหดตัวอยู่ในอัตราสูงแต่ก็เริ่ม

เห็นทิศทางที่ดีขึ้น โดยมูลค่าการส่งออกเดือนมิ.ย. หดตัวร้อยละ 19.9 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.

และเดือนพ.ค. ที่หดตัวร้อยละ 24.0 และ 26.9 ตามลำดับ โดยเมื่อแยกดูในรายประเทศ จะเห็นว่าการ

ส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ฮ่องกง และสิงคโปร์ ยกเว้นจีน ล้วนแต่ลดลงมาก ขณะ

ที่การส่งออกไปยังประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียอื่นๆ อาทิ เวียดนาม อินเดีย มาเลเซีย ได้กลับมาขยายตัว

เป็นบวก

ในช่วงครึ่งหลังของปี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการส่งออกมีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยจะเป็นไปในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่

พัฒนาแล้ว อาทิ ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าหลัก รวมถึงกลุ่มประเทศยุโรป โดยสภาวะถดถอย

ของเศรษฐกิจในประเทศเหล่านี้จะยังมีผลทำให้การส่งออกชะลอตัวต่อในช่วงไตรมาสที่ 3/2552 อย่างไรก็

ดี ในไตรมาสที่ 4/2552 คาดว่าน่าจะเห็นมูลค่าการส่งออกกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้อีกครั้ง โดยปัจจัย

สนับสนุนที่จะช่วยให้การส่งออกฟื้นตัวช่วงปลายปี ประกอบไปด้วย

- การฟื้นตัวของประเทศจีน และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ซึ่งเป็นตลาดใหม่ของผู้ส่งออก ที่ได้รับ

ผลกระทบค่อนข้างน้อยจากวิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้ ตัวอย่างเช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย

อิหร่าน ซึ่งการส่งออกยังขยายตัวได้ในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมีประเทศในแถบเอเชีย อาทิ สิงคโปร์

เกาหลีใต้ ไต้หวัน ซึ่งแม้ว่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากวิกฤติเศรษฐกิจแต่ก็มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวก่อน

สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป

- ในอีกด้าน แนวโน้มของเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ก็อาจส่งผล

ต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศให้มีการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีซึ่งเป็นช่วงเทศกาลได้

- ผลดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่หลายๆ ประเทศนำมาใช้ ทั้งทางตรง เช่น การให้เงิน

อุดหนุนการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นและจีน และทางอ้อมโดยการเพิ่มรายได้/อำนาจการซื้อ ของ

ประชาชนในประเทศ

- และผลของฐานของปีก่อนที่ต่ำ โดยในไตรมาส 4/2551 มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าไทย

ขยายตัวติดลบร้อยละ 17.3 (YoY)

โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มจะฟื้นตัวก่อนกลุ่มอื่น ได้แก่ กลุ่มตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ

และกลุ่มเครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกไปยังตลาดในภูมิภาคเอเชียและตลาด

ใหม่ ขณะที่กลุ่มโทรทัศน์และส่วนประกอบนั้นแนวโน้มของการส่งออกขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของอุปสงค์ในสหรัฐฯ

เป็นหลัก ด้านครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่ากลุ่มอื่นๆ เนื่องจากการชะลอตัวของ

ตลาดยุโรป ทั้งนี้ แนวโน้มของตลาดส่งออกที่มีทิศทางที่ดี คือ จีน เวียดนาม อินเดีย ตามมาด้วยประเทศ

เช่น สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ซึ่งเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว ส่วนการฟื้นตัวที่ชัดเจนของตลาดสหรัฐฯ

และกลุ่มประเทศยุโรป อาจมีความล่าช้ากว่าตลาดอื่นๆ ตามลำดับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ด้านตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงต้นปี 2552 .. ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่ง

ส่งผลต่ออารมณ์และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการจับจ่าย โดยปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าใน

ประเทศในหลายๆ สินค้า อาทิ โทรทัศน์ หม้อหุงข้าว ยังหดตัวสูง แต่ในบางสินค้า เช่น ตู้เย็น เครื่องซัก

ผ้า ก็มีการปรับตัวดีขึ้น ซึ่งคงยังต้องติดตามดูสถานการณ์ต่อไปว่าการฟื้นตัวของยอดจำหน่ายในกลุ่มนี้จะเป็น

แนวโน้มในระยะยาวหรือไม่ ทางด้านการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า การเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนีผลผลิตในช่วง

เดือน เม.ย. และพ.ค. มีการกระเตื้องขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี อย่างไรก็ตาม พบว่ายังมีความ

ผันผวนรายเดือนค่อนข้างสูง

สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 โดยรวมแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าใน

ประเทศช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มที่จะยังชะลอตัวอยู่เนื่องจากความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดสาย

พันธุ์ใหม่และการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจซึ่งยังเป็นแรงกดดันความเชื่อมั่นและการออกไปใช้จ่ายของผู้

บริโภคในช่วงต่อไป โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ามีปัจจัยที่จะมีอิทธิพลต่อการผลิตและการบริโภคเครื่องใช้

ไฟฟ้าในประเทศประกอบไปด้วยหลายปัจจัยโดยปัจจัยที่คาดว่าจะสนับสนุนภาวะตลาดมีดังต่อไปนี้

- การใช้มาตรการการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งเม็ดเงินจาก

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 และระยะที่ 2 น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจมีทิศทางปรับตัวดีขึ้น

และส่งผลดีต่อสภาวะรายได้รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นอกจากนี้ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยัง

คงใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไป ก็น่าจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้

- การโยกย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย เช่น การย้ายฐานของผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า

ญี่ปุ่นเข้ามาในไทยเมื่อช่วงปลายปี 2551 โดยหวังให้ไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของภูมิภาคเอเชีย น่าจะมี

ผลในการกระตุ้นตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าให้มีความคึกคักมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มการแข่งขันระหว่าง

ผู้ประกอบการในตลาด

- การแข่งขันระหว่างผู้ผลิตเพื่อแย่งฐานลูกค้า ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว ยกตัวอย่างเช่น การ

จัดแคมเปญและโปรโมชั่นต่างๆ มากขึ้น การออกสินค้าใหม่เพื่อกระตุ้นตลาด ซึ่งก็อาจมีผลต่อผู้บริโภคใน

ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งก็มีการแข่งขันด้านราคาทั้งในระหว่างผู้ประกอบการที่อยู่ในประเทศ

และระหว่างโลคัลแบรนด์กับสินค้าจีนโดยเฉพาะในตลาดระดับกลาง-ล่าง โดยแรงกดดันด้านราคาอาจส่งผล

ต่อยอดขายของเครื่องใช้ไฟฟ้าแม้ว่าปริมาณการขายจะเพิ่มขึ้น



ทางด้านปัจจัยเสี่ยง ที่สำคัญที่สุด ได้แก่

- การชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศจากสภาพเศรษฐกิจที่แม้ว่าจะผ่านจุดต่ำสุดของช่วงเศรษฐกิจถด

ถอยมาแล้ว แต่แรงขับเคลื่อนที่มีต่อภาคบริโภคยังคงอ่อนแอ ขณะเดียวกันความต้องการจากภาคธุรกิจก็ยังซบ

เซาเนื่องจากการชะลอตัวของโครงการสร้างที่อยู่อาศัยและสำนักงาน ซึ่งจะทั้งกระทบยอดขายโดยรวม

และทำให้การขายของเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนชิ้นใหญ่ อาทิ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และสินค้า

ประเภทเครื่องเสียงและโทรทัศน์ อาจได้รับผลกระทบค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กที่มี

ราคาย่อมเยากว่า นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากด้านการเมืองซึ่งอาจมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยใน

ช่วงปลายปี

- ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ น้ำมันและวัตถุดิบ ซึ่งทำให้การวางแผนการจัดซื้อและการ

ผลิตมีความท้าทายมากขึ้น ขณะที่ในด้านการบริโภค หากราคาน้ำมันมีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง

ปลายปีก็อาจส่งผลกระทบต่ออำนาจซื้อของประชาชนได้

- ปัจจัยจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งอาจทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงไตร

มาสที่ 3/2552 และไตรมาสที่ 4/2552 ตามฤดูกาล และอาจส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกในการใช้จ่าย

ของประชาชน นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโรคยังเป็นปัจจัยที่อาจทำให้การจัดงานมหกรรมแสดงสินค้า

และงานอีเวนต์ต่างๆ ของผู้ผลิตที่หวังกระตุ้นยอดขายในช่วงครึ่งหลังของปี อาจมีจำนวนลดลงหรือไม่คึกคัก

เท่าที่ควร

อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ซึ่งทำให้ประชาชน

เกิดความรู้สึกตื่นตัวและระวังรักษาสุขภาพมากขึ้น เป็นโอกาสทางการตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าบางกลุ่ม เช่น

เครื่องฟอกอากาศ เครื่องปรับอากาศที่มีระบบฟอกอากาศ เครื่องอบโอโซน หรือแม้แต่เครื่องทำน้ำอุ่น ซึ่ง

ได้รับอานิสงส์จากกระแสความใส่ใจในสุขภาพของผู้บริโภค เป็นสินค้าที่มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวดีในปีนี้ ขณะ

เดียวกันการที่คนอยู่กับบ้านมากขึ้นหรือหลีกเลี่ยงการไปโรงภาพยนตร์ก็อาจเป็นโอกาสทำตลาดของสินค้ากลุ่ม

เอวี เช่น โทรทัศน์ ชุดโฮมเธียเตอร์ เครื่องเล่นดีวีดี กลยุทธ์สร้างโอกาสบนวิกฤติจากการระบาดของไข้

หวัดใหญ่ฯ จึงเป็นแนวทางหนึ่งของผู้ประกอบการในการผลักดันยอดขายในครึ่งหลังของปีนี้ เช่น ทำโปร

โมชั่นขายชุดโฮมเธียเตอร์แถมเครื่องฟอกอากาศหรือแถมบลูเรย์ เป็นต้น

นอกจากกลุ่มสินค้าที่กล่าวไปข้างต้น กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กก็เป็นกลุ่มที่ยังสามารถขยาย

ตัวได้ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวเนื่องจากมีราคาไม่แพงผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่าย ส่วนสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า

ในครัวเรือนขนาดใหญ่อื่นๆ เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศรุ่นธรรมดา คาดว่าในปีนี้มีแนวโน้มชะลอตัวเนื่อง

จากผู้บริโภคชะลอการซื้อสินค้าใหม่ขณะที่การซื้อเพื่อทดแทนมีน้อย อย่างไรก็ตาม การขายเครื่องใช้ไฟฟ้าใน

ครัวเรือนอาจมีโอกาสปรับตัวดีขึ้นได้หากภาคอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวได้เร็ว

โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าในช่วงครึ่งปีหลังอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยจะ

ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ โดยในด้านของการส่งออก คาดว่าแนวโน้มของการส่งออกใน

ช่วงต่อไปอาจปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น แม้ว่าจะเป็นไปในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป โดยการส่งออกเครื่อง

ใช้ไฟฟ้าจากไทยน่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในไตรมาสสุดท้ายของปีเมื่อเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวและ

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับคืนมา โดยมีปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของประเทศจีนและประเทศกำลังพัฒนา

อื่นๆ ที่เป็นตลาดใหม่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่หลายๆ ประเทศได้มีการนำมาใช้ และผลของฐานในปี

ก่อน อย่างไรก็ตาม โดยรวมทั้งปี 2552 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงครึ่งปี

หลังจะหดตัวร้อยละ 1 ถึงร้อยละ 7 ชะลอลงจากร้อยละ 26.9 ในช่วงครึ่งปีแรก ส่งผลให้ตลอดทั้งปี

2552 การส่งออกอาจหดตัวในช่วงร้อยละ 13 ถึงร้อยละ 17 (มูลค่าประมาณ 15,000-15,700 ล้าน

ดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยสินค้าส่งออกที่คาดว่ามีแนวโน้มฟื้นตัวเร็ว คือ กลุ่มตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ

และกลุ่มเครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ ซึ่งตลาดในเอเชียมีการกระเตื้องขึ้นตามสัญญาณการฟื้นตัวของ

เศรษฐกิจ ส่วนกลุ่มเครื่องปรับอากาศน่าจะฟื้นตัวได้ช้ากว่าเนื่องจากการชะลอตัวของตลาดยุโรป

ด้านการบริโภคภายในประเทศ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศช่วงครึ่งปี

หลังจะยังคงมีแนวโน้มหดตัวอยู่ สาเหตุหลักจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัจจัยกดดันอุปสงค์ใน

ประเทศ ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ความเสี่ยงในเรื่องของไข้หวัดใหม่สายพันธุ์

ใหม่ฯ และปัจจัยการเมือง ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศทั้งปีอาจลดลงร้อยละ 5 ถึง

ร้อยละ 7 (มูลค่าประมาณ 75,000-77,000 ล้านบาท) อย่างไรก็ดี ผลจากการตื่นตัวของประชาชนเรื่อง

ไข้หวัดฯ อาจทำให้สินค้าบางกลุ่ม เช่น เครื่องฟอกอากาศ เครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องฟอกอากาศ เครื่อง

อบโอโซน เครื่องทำน้ำอุ่น เติบโตได้ดี นอกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กซึ่งเป็นกลุ่มที่น่ายังสามารถขยาย

ตัวได้ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว

ทั้งนี้ ในช่วงที่ตลาดยังมีความเสี่ยงรอบด้าน ในส่วนของผู้ประกอบการควรมีการปรับตัวโดยการเพิ่ม

ความระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจทั้งด้านการผลิต การขาย และการบริหารจัดการ โดยสำหรับการขาย

ในประเทศ ผู้ประกอบการควรเลือกทำแคมเปญการตลาดอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพโดยการเน้นไปยัง

กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน โดยการพัฒนาภาพลักษณ์ของสินค้าที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคน เช่น การเน้นใน

เรื่องของดีไซน์ให้มากขึ้น เพื่อจับตลาดกลาง-บน และโดยการรักษาฐานลูกค้าเดิมด้วยการสร้างความเข้ม

แข็งด้านบริการหลังการขาย ทั้งนี้ เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ผู้ประกอบการควร

ต้องมีการควบคุมต้นทุนเพื่อให้ราคาสินค้าสามารถแข่งขันกับรายอื่นๆ ได้ ส่วนกลยุทธ์ทางการตลาดอื่นๆ ที่จะ

ช่วยกระตุ้นตลาดในช่วงครึ่งปีหลัง อาจทำได้ด้วยการเพิ่มโปรโมชั่นโดยการแถมสินค้าเพื่อดึงดูดผู้ซื้อ การให้

สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับลูกค้าเก่าที่กลับมาซื้อสินค้าอีกครั้ง และการออกสินค้ารุ่นพิเศษที่อาจมีสีสัน

รูปลักษณ์ หรือฟังก์ชั่นที่เปลี่ยนไปเล็กน้อยเพื่อสร้างบรรยากาศทางการตลาด เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ผู้

ประกอบการก็ไม่ควรละเลยที่จะลงทุนเพื่อปรับปรุงนวัตกรรมของสินค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาความสามารถ

ในการแข่งขันระยะยาว โดยสินค้าที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีในระยะยาว คือ สินค้ากลุ่มที่มีนวัตกรรมการ

ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ เช่น ตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศที่

มีระบบปล่อยอนุภาคไฟฟ้าขจัดเชื้อโรค ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีมาร์จินสูง

ในด้านที่เกี่ยวข้องการการค้าระหว่างประเทศ ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ส่งออกควรมีการติดตามแนวโน้ม

เศรษฐกิจในต่างประเทศ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งอาจเป็นโอกาสในการส่งออกสำหรับสินค้า

บางประเภทอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในจีนและญี่ปุ่น ทั้งนี้ผู้ส่งออกควรมีการกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดใน

เอเชียและตะวันออกกลางอื่นๆ ที่ยังสามารถขยายตัวได้ และปรับการผลิตให้มีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการ

กลับมาของคำสั่งซื้อในอนาคต นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังควรมีการทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน

และประเมินสัญญาซื้อขายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในภาวะที่เศรษฐกิจโลกยังไม่นิ่งและแนวโน้ม

ราคาในตลาดโลกยังมีความผันผวน

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจ

รับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ

อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้

ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น

บริษัทฯจะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้

จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น
stock in focus,
************
24/07/52
ซัมซุงทุบสถิติอีก ขาย LEDTV 100 วันยอดทะลุ 5 แสนยูนิต

ซัมซุงทุบสถิติแอลอีดีทีวี กวาดยอดขายทะลุ 500,000 เครื่องทั่วโลกหลังจากเปิดตัวอย่างเป็นทางการเพียง 100 วัน เผยยอดสูงเกินสองเท่าของยอดจำหน่ายแอลอีดีทีวีทั้งหมดรวมกันทั่วโลกเมื่อปี 2551

stock in focus ,กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและครัวเรือน

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข่าวอุตสาหกรรมประกันชีวิต

17/08/52
ประกันจ่ายสินไหมหวัด09กว่า4พันกรมธรรม์
นายกสมาคมประกันชีวิตไทยเผยบริษัทประกันจ่ายสินไหม หวัด 2009 กว่า 4 พันกรมธรรม์ เป็นผู้เสียชีวิต 5 ราย รวมเป็นเงินแล้วกว่า 76 ล้านบาท
นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย และกรรมการผู้จัดการ บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด กล่าวว่า สมาคมประกันชีวิตได้แจ้งตัวเลขการจ่ายค่าสินไหมให้กับผู้ทำประกันไข้หวัด 2009 แล้วจำนวน 76 ล้านบาท หรือประมาณ 4,000 กรมธรรม์ โดยเป็นผู้เสียชีวิต 5 กรมธรรม์

ทั้งนี้ จากการระบาดของไข้หวัด 2009 ทำให้ประชาชนมีการตื่นตัวในการทำประกันชีวิตเพิ่มขึ้น ประกอบกับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่ต่ำ ทำให้คนไทยหันมาออมเงินในรูปของประกันชีวิต ส่งผลให้ธุรกิจประกันชีวิตใน 6 เดือนแรกปีนี้เติบโตขึ้น 15% เบี้ยประกันรวม 110,000 ล้านบาท และคาดว่า ในปี 2552 เบี้ยประกันรวมจะได้ตามเป้า 254,000 ล้านบาท

ในส่วนของบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ผลการดำเนินงานมกราคม-กรกฎาคม 2552 มีเบี้ยประกันรับรวม 12,386 ล้านบาท หรือเติบโต 26.24% เป็นเบี้ยประกันรับใหม่ 5,218 ล้านบาท และเบี้ยประกันต่ออายุ 7,168 ล้านบาท

นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวอีกว่า เนื่องจากสังคมไทยอยู่ในภาวะที่มีกลุ่มผู้สูงอายุมากขึ้น เมืองไทยประกันชีวิต จึงได้จัดแบบประกันชีวิต “เมืองไทยสูงวัยสบายใจ” เพื่อให้ความคุ้มครองกลุ่มผู้สูงอายุ ในการเจ็บป่วย 5 โรคร้ายแรง คือ มะเร็ง หัวใจวายหรือกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน โรคหลอดเลือดในสมอง การผ่าตัดเปิดหัวใจด้วยวิธีบายพาส และทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร โดยรับเงินชดเชยสูงสุด 500,000 บาท และคุ้มครองกรณีเสียชีวิตสูงสุด 250,000 บาท
กรุงเทพธุรกิจ
stock in focus

************
18/07/52
ประกันจุกสินไหมไข้หวัดเฉียด40ล.

โพสต์ทูเดย์ — ประกันชีวิตไทยเผยลูกค้าติดหวัดสายพันธุ์เอ 2,200 คน จ่ายสินไหมแล้ว 39.5 ล้านบาท

นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้มีรายงานจากบริษัทประกันชีวิต 17 บริษัท ว่ามีลูกค้าที่เข้ารับการรักษาพยาบาลจากการติดเชื้อหวัดสายพันธุ์เอ และไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 จนถึงวันที่ 16 ก.ค.ที่ผ่านมา 2,234 คน คิดเป็นค่าสินไหมทดแทน 39.5 ล้านบาท แยกเป็นเข้ารับการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในคือ นอนรับการรักษาตัวในโรงพยาบาล 2,231 คน เป็นสินไหมทดแทน 35.7 ล้านบาท เสียชีวิต 3 คน เป็นสินไหมทดแทน 2.7 ล้านบาท
“ทางบริษัทประกันชีวิตยังไม่มีการขึ้นเบี้ย และยังไม่มีการกำหนดข้อยกเว้นเรื่องความคุ้มครอง แม้ว่าตัวเลขการติดเชื้อหวัดจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว” นายสาระ กล่าว

นอกจากนี้ ยังมีแนวโน้มว่าบริษัทประกันชีวิตหลายแห่งจะพิจารณาเพิ่มค่ารักษาพยาบาลให้กับลูกค้าที่ป่วยจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่มี 3 บริษัท ซึ่งหลายแห่งอยู่ระหว่างการทบทวน โดยจะเพิ่มค่ารักษาเป็นช่วงๆ เพราะไม่สามารถที่จะให้สิทธิพิเศษได้ตลอด

นายสาระ กล่าวว่า ประกันเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ทำให้ประชาชนเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาลได้ด้วยตัวเอง หากไม่สามารถเข้า รับการรักษาในระบบของรัฐได้ เนื่องจากมีคนไปใช้บริการจำนวนมาก

ทั้งนี้ บริษัท อเมริกันอินเตอร์แนชชั่นแนลแอสชัวรันส์ หรือ เอไอเอ จ่ายสินไหมมากที่สุดกว่า 10 ล้านบาท เนื่องจากมีลูกค้ามากที่สุด

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขา ธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีบริษัทประกันชีวิตอีกหลายรายที่ยื่นเรื่องขอเพิ่มความคุ้มครองกรณีเกี่ยวกับการรักษาตัวจากไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่เข้ามาแล้ว โดยไม่มีการเสนอปรับขึ้นค่าเบี้ยประกันแต่อย่างใด ซึ่งทางคปภ.อยู่ระหว่างพิจารณาให้ความเห็นชอบ

“การผลักดันให้เพิ่มความคุ้ม ครองโดยไม่เพิ่มเบี้ยเพื่อช่วยเหลือประชาชน เพียงแต่มีระยะเวลากำหนด อาจจะถึงเดือนส.ค.-ก.ย.เท่านั้น อย่างประกันบางบริษัทตอนนี้จ่ายค่ารักษาเป็น 2 เท่าของปกติ หรือเสียชีวิตก็ให้พิเศษอีก 50% แต่ต้องไม่เกินวงเงินที่กำหนด” นางจันทรา กล่าว
http://www.posttoday.com/finance.php?id=57570
stock in focus
***************

ข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น

15/09/52
ส่งออกอัญมณี 7 เดือนโต 25%

Posted on Tuesday, September 15, 2009
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับในรอบ 7 เดือนแรกของปีนี้ นับตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคมมีมูลค่า 170,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 25% จากระยะเดียวกันของปีก่อน ทำให้มั่นใจได้ว่าการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในปีนี้จะขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 3 แสนล้านบาท จากปีก่อนที่มีมูลค่า 240,000-230,000 ล้านบาท ส่วนในปีหน้าคาดว่าการส่งออกจะเพิ่มขึ้นจากปีนี้ไม่ต่ำกว่า 10%

เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟิ้นตัวทำให้คำสั่งซื้อของต่างชาติเริ่มเข้ามา ประกอบการรัฐบาลได้มีการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับพลอยก้อนซึ่งช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการได้

นายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของโลก โดยรัฐบาลได้กำหนดแนวทางช่วยผู้ประกอบการ 3 ด้านประกอบด้วย //การจัดตั้งธนาคารอัญมณี หรือ เจมแบงก์ ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้ภายใน 2 สัปดาห์หน้า // การเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการ //รวมทั้งการร่วมมือกับประเทศแหล่งวัตถุดิบต้นน้ำและปลายน้ำ เช่น มาดากัสกา เคนยา เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิบการในการผลิตเครื่องประดับของไทยในอนาคต

นายสมชาย พรจินดารักษ์ ประธานกรรมการบริหาร บางกอกเจม แอนด์ จิวเวอร์รี่แฟร์ บอกว่า หลังจากที่รัฐบาลได้ยกเว้น VAT การนำเข้าวัตถุดิบอัญมณี เชื่อว่าจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับได้เร็วกว่ากำหนดไว้ภายใน 5 ปีหน้าข้างอย่างแน่นอน โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางการผลิตพลอยสีของโลก

ส่วนการส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับปีนี้คาดว่าจะมีมูลค่ากว่า 300,000 ล้านบาท จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบถึง 25-30%

นายสมชายบอกด้วยว่า การออก พ.ร.บ.ความมั่นคงฯ ของรัฐบาลเพื่อดูแลการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงฯ อาจจะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจเข้ามาลงทุนอัญมณีของนักลงทุนต่างชาติบ้าง แต่หากมีการประกาศใช้บ่อยๆ ก็จะเกิดความเคยชินไปเอง

money channel
stock in focus
***********
02/09/52
ธุรกิจอัญมณีมั่นใจปีนี้โต 10% ตามเป้า

Posted on Wednesday, September 02, 2009
นายวิชัย อัศรัสกร นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยและเครื่องประดับ มั่นใจว่า อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับปีนี้ จะมีมูลค่าการส่งออกถึง 300,000 ล้านบาท หรือขยายตัว 10% ตามเป้าหมายที่วางไว้ เนื่องจากในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา สามารถส่งออกได้แล้วถึง 197,000 ล้านบาท จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ทำให้มีคำสั่งซื้อจากประเทศต่างๆ ทยอยเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

แต่ทั้งนี้ หากไม่รวมการส่งออกทองคำ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 50% ของการส่งออกอัญมณี และเครื่องประดับ อาจทำให้การส่งออกของอุตสาหกรรมนี้ ติดลบประมาณ 10% แต่ถือว่าดีขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่ติดลบถึง 30%

นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทย และเครื่องประดับ บอกอีกว่า อุตสาหกรรมพลอยยังคงมีความน่าเป็นห่วง เนื่องจากผู้ประกอบการส่วนใหญ่ เป็นเอสเอ็มอี จึงเข้าถึงแหล่งเงินทุนยาก และมีปัญหาการทำการตลาด ดังนั้นจึงต้องการให้ภาครัฐเข้ามาช่วยดูแล ส่วนการเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) สำหรับการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ น่าจะส่งผลให้อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยในปีหน้าปรับตัวดีขึ้นอย่างมาก
moneyline news
************
31/08/52
ออเดอร์สิ่งทอกระเตื้อง คาดส่งออกติดลบ 6-7%
สถาบันสิ่งทอเผยออร์เดอร์ดีขึ้น คาดการส่งออกติดลบเป็นเลขตัวเดียว ในขณะที่วีเอฟจะย้ายฐานเข้ามาจัดหาสินค้าไทยส่งแบรนด์ดังทั่วโลกเริ่ม ก.ย.นี้
นายวิรัตน์ ตันเดชานุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันสถาบันสิ่งทอ กล่าวว่า ในขณะนี้การส่งออกสิ่งทอ เครื่องนุ่งห่มเริ่มกลับมาดีขึ้น หลังจากมีสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ ซึ่งเป็นผู้บริโภครายใหญ่ ทำให้ผู้ผลิตเครื่องนุ่มห่มเริ่มสั่งออร์เดอร์ทั้งผ้าผืนและเสื้อผ้าจากไทยเพื่อส่งออกมากขึ้น โดยคาดว่าทั้งปีการส่งออกจะติดลบเป็นตัวเลขตัวเดียว ประมาณ 6-7% จากมูลค่าส่งออกรวมปีที่แล้ว 7,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ครึ่งแรกของปีนี้ติดลบประมาณ 14% หรือมีมูลค่าส่งออกประมาณ 3,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นอกจากนี้ การที่วีเอฟ คอร์ปอร์เรชั่น ที่ได้ย้ายฐานส่วนหนึ่งจากฮ่องกงมาไทย เริ่มตั้งแต่ปลายเดือน ก.ย.นี้ เพื่อจัดตั้งสำนักงานในการจัดหาวัตถุดิบสิ่งทอ ป้อนแก่แบรนด์ดังทั่วโลกกว่า 100 แบรนด์ เป็นสัญญาณที่ดีว่า ประเทศไทยได้รับความเชื่อถือและมีความสามารถในการผลิตมากขึ้นจนได้รับความไว้วางใจและน่าจะเพิ่มการส่งออกได้มากขึ้นด้วย

กรุงเทพธุรกิจ

************
24/08/52
สิ่งทอวอนช่วยสภาพคล่องแทนภาษี
สิ่งทอส่งออกติง ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบไม่ช่วย แนะ ดูแลสภาพคล่อง-ค่าเงินบาท ด้านสมาคมทอผ้าไทยมั่นใจ ส่งออกฟื้น

นายวัลลภ วิตนากร อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย เปิดเผยว่า มาตรการลดภาษี นำเข้าวัตถุดิบที่กระทรวงพาณิชย์จะผลักดันให้กระทรวงการคลัง ลดให้ เชื่อว่าไม่เอื้อประโยชน์กับอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มมากนัก เพราะปัจจุบันภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่มาผลิตสินค้าต่ำอยู่แล้วเพียง 1-5% เท่านั้น อีกทั้งอุตสาหกรรมเครื่อง นุ่งห่มจะได้รับการลดภาษีเหลือ 0% ภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียน (อาฟตา) และการค้าเสรี (เอฟทีเอ) อาเซียน-จีน ด้วย
ทั้งนี้ สิ่งที่อยากให้รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือมี 2 ประเด็น คือ การ ลดภาษี ณ ที่จ่ายให้กับทุกกลุ่มอุตสาหกรรมส่งออก จาก 3% เป็น 1% ซึ่งกระทรวงการคลังสามารถทำได้อยู่แล้วไม่ติดข้อกฎหมาย

นายวัลลภ กล่าวว่า ส่วนปัญหาสภาพคล่อง แม้รัฐบาลจะพยายามอัดฉีดเงินเพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ แต่ผู้ส่งออกโดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี ยังติดปัญหาเรื่องคุณสมบัติการกู้ยืม ซึ่งอยาก ให้ธนาคารของรัฐบาลผ่อนคลายการขอหลักทรัพย์ค้ำประกัน จากปัจจุบันที่เรียกเก็บ 80-100% ของเงินกู้ ให้เก็บน้อยกว่า 50%

แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์เปิดเผยว่า ทางกระทรวงได้ทำหนังสือไปถึงสมาคมการค้ากว่า 20 สมาคม ว่าต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือเรื่องการลดภาษีวัตถุดิบอย่างไรบ้าง คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์หน้า

ด้านนายสมศักดิ์ ศรีสุภรวาณิชย์ นายกสมาคมอุตสาหกรรมทอผ้าไทย กล่าวว่า สถานการณ์การส่งออกของสิ่งทอตั้งแต่เดือนม.ค.- มิ.ย. 2552 ติดลบไป 10% จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบถึง 23% ส่วน ในครึ่งปีหลังนั้น คาดว่าจะดีขึ้นแน่นอน และมั่นใจว่าหากไม่มีเหตุการณ์อะไรที่ทำให้เกิดผลกระทบ หรือไม่มีเหตุการณ์ทางการเมือง ที่รุนแรงภาพรวมทั้งปีจะติดลบ ไม่เกิน 5%

ทั้งนี้ เหตุที่สถานการณ์ส่งออกสิ่งทอดีขึ้น เนื่องจากปัจจุบันไทย มีวัตถุดิบ Cabon Aryon ที่สามารถพัฒนาเป็นใยสังเคราะห์ได้ ซึ่งเป็น ที่ต้องการของต่างประเทศ เช่น ตุรกี และบราซิล หากส่งออกได้ ก็จะช่วยให้ตัวเลขการส่งออกดีขึ้น และเห็นว่ารัฐบาลควรให้ความช่วยเหลือด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการมากกว่านี้
posttoday
stock in focus
*************
08/08/52
เว้นแวต0%ซื้อขายอัญมณียังไม่คึกคัก
ตลาดซื้อขายวัตถุดิบอัญมณี รับครม.ไฟเขียวยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มยังไม่คึกคัก เหตุต้องรอขั้นตอนกฎหมายบังคับใช้อย่างเป็นทางการ สมาคมผู้ค้าอัญมณีไทยฯลุ้นประกาศใช้ก่อนงานบางกอกเจมส์ 15-19 ก.ย. หวังเปิดทางสะดวกดึงวัตถุดิบโลกทั่วโลกร่วมโชว์ในงานคึกคัก ขณะที่ส่งออกอัญมณีครึ่งแรกยังโตจากเก็งกำไรส่งออกทองคำ


นายวิชัย อัศรัสกร นายกสมาคมผู้ค้าอัญมณีไทย และเครื่องประดับ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากการที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้ประกาศเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2552 ว่ารัฐบาลจะยกเว้นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)7% เป็นการทั่วไป สำหรับวัตถุดิบอัญมณีนำเข้ามาขายหรือนำมาเพื่อผลิตส่งออก และล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันที่ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมาได้อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาและร่างกฎกระทรวงรวม 3 ฉบับประเภทเพื่อยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับวัตถุดิบอัญมณีนำเข้าประเภทพลอย ทับทิม มรกต บุษราคัม โกเมน โอปอล นิล เพทาย ไพฑูรย์ หยก และอัญมณีที่มีลักษณะทำนองเดียวกันเฉพาะที่ยังไม่ผ่านการเจียระไนตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ทั้งนี้เพื่อผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าและการผลิตอัญมณีและเครื่องประดับของโลก ซึ่งจะได้ส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา และประกาศลงในพระราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป


จากการที่กฎหมายยังไม่มีผลบังคับใช้จริงในทางปฏิบัติดังกล่าว ทำให้เวลานี้การนำเข้าวัตถุดิบอัญมณีเข้ามาเพื่อขายหรือเพื่อผลิตสินค้าส่งออกยังไม่มีความคึกคักเท่าที่ควร เพราะหากนำเข้ามาในช่วงนี้ยังต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ อย่างไรก็ดีทางสมาคมคาดหวังว่ากฎหมายจะมีผลบังคับใช้ก่อนการจัดงานบางกอกเจมส์ แอนด์ จิวเวลรี่ แฟร์ครั้งที่ 2 ของปีนี้ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-19 กันยายน เนื่องจากตามแผนงานแล้วในปีนี้การจัดงานจะมีความพิเศษกว่าทุกปีเพราะจะมีการจัดพาวิเลียนเพื่อให้ผู้ค้านำวัตถุดิบจากทั่วโลกมาโชว์ในงาน เพื่อให้ผู้ผลิตสินค้าอัญมณีส่งออกรับทราบว่าวัตถุดิบจากแต่ละแหล่งมีความโดดเด่นสวยงามอย่างไร ทั้งนี้เพื่อก่อให้เกิดการซื้อขายกันในอนาคต ซึ่งหากกฎหมายกเว้นภาษีมีผลบังคับใช้ทันจะเกิดความคล่องตัวในการนำสินค้าเข้ามาแสดงมาก แต่หากมีผลบังคับใช้ไม่ทันทางสมาคมจะขอยกเว้นการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับวัตถุดิบอัญมณีที่นำมาแสดงเป็นกรณีพิเศษ
ฐานธุรกิจ

stock in focus
***********
08/08/52
'ไทยการ์เมนต์'รายได้หด ชู3ยุทธศาสตร์ดันยอดโค้งหลัง
ผ่านครึ่งปีแรกยอดส่งออก "ไทยการ์เมนต์เอ็กซ์ปอร์ต" หายวับร่วม 700 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวปีที่ผ่านมา 15% เหตุจากวิกฤติเศรษฐกิจประเทศผู้ซื้อ ปลอบใจตัวเองหายไปน้อยกว่าที่ประมาณการไว้ คาดทั้งปีโกยยอดขาย 4,000 ล้าน เน้น 3 ยุทธศาสตร์ ปรับกำลังผลิตให้สอดคล้องกับความต้องการตลาด เพิ่มทักษะแรงงานทุกระดับ พัฒนาผลิตภัณฑ์


นายสมบูรณ์ เจือเสถียรรัตน์ กรรมการบริหารบริษัท ไทยการ์เมนต์เอ็กซ์ปอร์ต จำกัด ผู้ส่งออกสินค้าเสื้อผ้าสำเร็จรูปรายใหญ่ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงผลประกอบการในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ (มกราคม-มิถุนายน) ว่าลดลงจากช่วงเดียวกันปีที่ผ่านมาประมาณ 14-15% โดยครึ่งแรกปีที่ผ่านมาส่งออกได้กว่า 70 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แต่ปีนี้ส่งออกได้ประมาณ 55 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 1,870 ล้านบาท คำนวณที่ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ) หรือเท่ากับว่าครึ่งแรกปีนี้รายได้จากการส่งออกหายไปประมาณ 20 ดอลลาร์สหรัฐฯ (680 ล้านบาท)


"แม้ว่ายอดส่งออกจะลดลง แต่ได้ทำใจไว้ตั้งแต่ต้นปีแล้วโดยช่วงต้นปีได้ตั้งเป้าว่าครึ่งแรกของปีจะลดลงประมาณ 20% แต่พอถึงเดือนมีนาคม เมษายนต่อเนื่องถึงพฤษภาคม สัญญาการสั่งซื้อของลูกค้าเริ่มดีขึ้น ทำให้ยอดส่งออกของบริษัทติดลบไม่มากอย่างที่คาดไว้ตั้งแต่แรก"นายสมบูรณ์ กล่าว


สำหรับเวลาที่เหลืออีก 6 เดือนข้างหน้า (กรกฎาคม-ธันวาคม) คาดว่าจะทำยอดส่งออกได้อีกประมาณ 65 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือรวมทั้งปีจะได้ประมาณ 120 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (4,080 ล้านบาท) จากปี 2551 บริษัทมียอดขาย 151 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯโดยบริษัทให้ความสำคัญกับ 3 ยุทธศาสตร์เพื่อให้บรรลุยอดเป้าหมายดังกล่าวได้แก่ 1.ปรับกำลังผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด 2.เพิ่มทักษะแรงงานทุกระดับตั้งแต่คนงานไปจนถึงระดับผู้บริหาร 3.ปรับผลิตภัณฑ์สินค้ารูปแบบพิเศษให้มีมูลค่าเพิ่ม

ฐานธุรกิจ

stock in focus
***********
28/07/52
ครม.พิจารณายกเลิก VAT นำเข้าวัตถุดิบอัญมณี
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอกว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เห็นชอบมาตรการการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) การนำเข้าวัตถุดิบในการผลิตอัญมณีอัตรา 7% ไปจนถึงเดือน ธันวาคม 2554 พร้อมทั้งอนุมัติการจัดเก็บภาษี ณ ที่จ่าย 1 % จากมูลค่าของสินค้าจากผู้ซื้อ

โดยหลังจากนี้จะออกพระราชบัญญัติกฤษฎีกาและลงประกาศในพระราชกิจจานุเบกษา ต่อไป ซึ่งเชื่อว่า การออกกฎหมายในครั้งนี้จะช่วยให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางในการผลิตอัญมณีของโลกได้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเชื่อด้วยว่า การออกกฎหมายฉบับนี้จะไม่ทำให้รัฐสูญเสียรายได้มากนัก ตรงกันข้ามจะทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจับเก็บภาษีหัก ณ ที่จ่าย 1% เนื่องจากการเก็บภาษี VAT 7% ที่ผ่านมาทำให้ผู้ประกอบการลักลอบการนำเข้าวัตถุดิบเป็นจำนวนมากและทำให้รัฐสูญเสียรายได้

แต่เมื่อลดภาษี VAT มาเป็นการจัดเก็บ ณ ที่จ่ายจากผู้ซื้อก็เท่ากับเป็นการนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่ระบบซึ่งจะช่วยให้เกิดการขยายฐานภาษีอีกทางหนึ่ง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/MoneylineNews/tabid/89/newsid491/93998/Default.aspx
stock in focus
*************
23/07/52
รัฐหนุนสิ่งทอเทคนิค หวังสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและความสามารถแข่งขัน ลดการนำเข้า โดยพบว่าผู้ประกอบการไทยผลิตได้เพียง 5% ของยอดผลิตทั้งหมดด้านสถาบันสิ่งทอเตรียมหารือบีโอไอเพิ่มสิทธิประโยชน์ มองแนวโน้มครึ่งปีหลังดีขึ้น
stock in focus
********
17/07/52
กสิกรไทยชี้ รองเท้ากีฬาไทยเหนื่อยจัดข้ามปี

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์อุตสาหกรรมรองเท้ากีฬาไทยยังมีแนวโน้มหดตัวทั้งส่งออกและตลาดไทย แนะผู้ผลิตรองเท้ากีฬา เร่งพัฒนานวัตกรรมสู้ศึก
แม้ว่านักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจหลายท่านจะให้ความเห็นว่า ขณะนี้วิกฤตการณ์ทางการเงินในสหรัฐฯ ที่ส่งผลลุกลามจนกลายเป็นวิกฤติเศรษฐกิจของโลกนั้น ได้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่ย่ำแย่ที่สุดมาแล้วก็ตาม

แต่ด้วยแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ชัดเจน ทำให้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ทำการประเมินว่ามูลค่าการส่งออกรองเท้ากีฬาของไทยไปยังตลาดโลกในปี 2552 นี้ จะยังคงมีแนวโน้มหดตัวลงประมาณร้อยละ 19.0 ตามกำลังซื้อที่ลดลงของผู้บริโภคในประเทศคู่ค้าสำคัญอย่างสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป

โดยการส่งออกรองเท้ากีฬาของไทยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 มีมูลค่าการส่งออกรวมประมาณ 5 พันล้านบาท หดตัวลงถึงร้อยละ 19.4 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสหรัฐฯ และสหภาพยุโรปซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้ารองเท้ากีฬารายใหญ่ของโลกและเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ลดปริมาณการนำเข้ารองเท้ากีฬาลง ทำให้มูลค่าการส่งออกรองเท้ากีฬาของไทยไปยังสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 หดตัวลงถึงร้อยละ 41.9 และ 11.5 ตามลำดับ

นอกจากนี้การส่งออกรองเท้ากีฬาของไทยไปยังจีนซึ่งเป็นตลาดใหม่ก็ยังมีการหดตัวลงเช่นเดียวกันถึงร้อยละ 30.5 ขณะที่การแข่งขันของตลาดภายในประเทศช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 คาดว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น โดยปริมาณรองเท้ากีฬาที่ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 ลดลงถึงร้อยละ 27.6

ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าในปี 2552 ปริมาณการผลิตรองเท้ากีฬาเพื่อจำหน่ายในประเทศจะลดลงประมาณร้อยละ 23.2 หรือมีปริมาณการผลิตรวมประมาณ 7.0 ล้านคู่ ซึ่งผู้ผลิตส่วนใหญ่จะหันมาให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตและการเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพมากขึ้น เพื่อสร้างโอกาสทางการตลาดในช่วงที่ความต้องการรองเท้ากีฬาราคาถูกจากจีนในประเทศเริ่มลดลง

โดยคาดว่าปริมาณการจำหน่ายรองเท้ากีฬาภายในประเทศในปี 2552 จะมีแนวโน้มหดตัวลงประมาณร้อยละ 26.6 ตามกำลังซื้อของผู้บริโภคภายในประเทศที่ลดลง เนื่องจากผลกระทบของภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจน

ดังนั้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือต่อสถานการณ์ทางการตลาดในอนาคตที่จะเกิดขึ้น ผู้ประกอบการควรเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนานวัตกรรมสินค้าอย่างต่อเนื่อง เพิ่มความระมัดระวังในการรับออเดอร์จากต่างประเทศ บริหารจัดการทางการเงินให้มีความรัดกุมเพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุนทางการเงิน และเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศได้มากขึ้น พร้อมทั้งมองหาตลาดใหม่ๆ ในต่างประเทศ เพื่อกระจายความเสี่ยงทางการตลาด อาทิ จีน และญี่ปุ่น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
stock in focus
****************

ข่าวอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร

14/09/52
ส่งออกอาหารปีนี้ติดลบ 8% แต่ปีหน้าคาดทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

Posted on Monday, September 14, 2009
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร คาดว่า การส่งออกอาหารในปีนี้จะติดลบไม่เกิน 8% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 722,000 ล้านบาท ปรับตัวขึ้นจากประมาณการเดิมที่คาดว่าจะติดลบประมาณ 15-20% ส่วนแนวโน้มในปีหน้าการส่งออกอาหารจะมีมูลค่าสูงถึง 750,000 เพิ่มขึ้นจากปีนี้เล็กน้อย

สำหรับสาเหตุการส่งออกอาหารที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ทำให้ประชาชนมีความต้องอาหารเพิ่มขึ้น โดยแนวโน้มการบริโภคอาหารของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง เน้นสินค้าเพื่อสุขภาพ และสะดวกในการพกพา เช่น อาหารกึ่งสำเร็จรูปมากขึ้น

ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร บอกด้วยว่า สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ประกอบการยังคงมีความกังวล ได้แก่ ความผันผวนของปริมาณวัตถุดิบ ซึ่งขึ้นอยู่กับฤดูกาลและสภาพอากาศ

รวมถึงปัญหาเรื่องค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยอยากให้รัฐบาลดูแลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมประมาณ 36-37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์
moneyline news
**********
14/09/52
ผลิตการันตี น้ำตาลพอใช้ โบ้ยห้างซื้อตุน
ชี้ต้นตอ กระแสข่าวน้ำตาลขาด เกิดจากกองทุนเก็งกำไร ส่งผลให้ห้างค้าปลีกตื่นเกินเหตุ แห่ซื้อน้ำตาลตุน

แหล่งข่าวจากบริษัท น้ำตาลไทยรุ่งเรือง ผู้ผลิตน้ำตาลภายใต้แบรนด์ ลิน เปิดเผยว่า หลังจาก เกิดกระแสข่าวน้ำตาลทรายจะขาดตลาด ส่งผลให้ผู้ประกอบการห้างค้าปลีกสั่งซื้อน้ำตาลเพิ่มเติม ทำให้สต๊อกน้ำตาลที่ผลิตเพื่อการขายปลีกขายได้เกือบหมด จากปกติที่จะมีการสั่งซื้อในจำนวนไม่มากนัก
ทั้งนี้ คาดว่าหลังจากนี้การสั่งซื้อน้ำตาลน่าจะกลับมาอยู่ในภาวะปกติ เพราะข่าวดังกล่าวเป็นเพียงการเก็งกำไรของกองทุนน้ำตาล เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับการเก็งกำไรทอง น้ำมัน เป็นต้น ไม่ใช่ราคาที่เกิดขึ้นจากความต้องการของตลาดที่แท้จริง

นอกจากนี้ ปริมาณน้ำตาลคงค้างเพื่อรอการผลิตที่รัฐบาลจัดเก็บไว้เองก็ยังมีปริมาณสะสมเหลืออยู่ที่ 4 แสนกระสอบ (กระสอบละ 100 กิโลกรัม) ซึ่งเป็นปริมาณที่ยังถือว่าไม่น่าเป็นห่วงว่า น้ำตาลที่ใช้ภายในประเทศจะไม่เพียงพอ

สำหรับกรณีที่มีการระบุว่า ผู้ผลิตลอบส่งออกน้ำตาลเพิ่ม เพราะราคาในตลาดต่างประเทศสูงกว่าราคาในไทยนั้น ปัจจุบันราคาส่งออกอยู่ที่ 560 เหรียญสหรัฐ ต่อตัน (1,000 กิโลกรัม) ลดลงจากช่วงก่อนหน้านี้ที่ 600 เหรียญสหรัฐต่อตัน ทำให้ราคาซื้อขายในต่างประเทศจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 19.04 บาทเท่านั้น ไม่จูงใจที่จะลักลอบทำผิดเพราะไม่คุ้
posttoday************
09/09/52
สถาบันอาหารชี้เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพโลก คาดอีก 4 ปีมูลค่ากว่า 9 หมื่นล้านเหรียญ แนะผู้ประกอบการเกาะกระแสเจาะตลาดโลก
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า ทิศทางตลาดอาหารเพื่อสุขภาพของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี ออสเตรเลีย มีโอกาสเติบโตสูง ขณะที่กลุ่มประเทศเอเชียมีพื้นฐานการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพเป็นวัฒนธรรมจึง ทำให้มีการเติบโตในเกณฑ์ดี

โดยเฉพาะตลาดอาหารเพื่อสุขภาพในประเทศจีน ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตสูงที่สุดในโลก โดยคาดว่า ในปี 2551 มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 3.63 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะพุ่งสูงขึ้นถึง 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2556

ทั้งนี้ประเมิณว่า ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพไม่รวมกลุ่มอาหารเสริม หรือเครื่องดื่ม จะมีการขยายตัวถึง 20% จาก 4.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อปี 2549 เป็น 9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2556 โดยผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคต้องการ คือ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคเครียด สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพิ่มประสิทธิภาพระบบย่อยอาหาร ลดน้ำหนัก และเพิ่มความสวยงาม

นายยุทธศักดิ์ กล่าวต่อว่า ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสนใจ และเข้าตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเชื่อว่าผู้ประกอบการยังมีศักยภาพในการแข่งขันได้
กรุงเทพธุรกิจ,stock in focus
**************
26/08/52
คาดส่งออกอาหารปีนี้ติดลบน้อยกว่าคาด

Posted on Wednesday, August 26, 2009
นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คาดว่า การส่งออกอุตสาหกรรมอาหารของไทยในปีนี้จะติดลบเพียง 7% ลดลงจาดคาดการณ์เดิมที่คาดว่าจะติดลบถึง 15% โดยการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากเป็นไปตามเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น รวมทั้งผู้ประกอบการได้มีการปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกในภาวะปัจจุบัน

ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ยังเห็นด้วยกับรัฐบาลที่ประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงในการดูแลสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย เพราะหากประกาศใช้แล้วไม่ทำให้เกิดความรุนแรง ก็จะไม่กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และทำให้นักลงทุน กล้าที่จะเดินทางมาไทย

ด้านนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยอมรับว่า ปัจจุบันเกษตรกรไทยยังมีรายได้น้อย แต่มีหนี้สินมาก ทำให้เกษตรกรต้องขายที่ดินทำกิน และเป็นเพียงผู้เช่าที่ดินทำกินเท่านั้น ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องเร่งพัฒนาคุณภาพเกษตรกร ดูแลราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้นเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ รวมถึงช่วยลดต้นทุนการผลิตของภาคการเกษตรให้ลดลง ขณะที่ภาคเอกชน ก็ต้องให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการเร่งพัฒนาด้านการวิจัย เร่งหาตลาดใหม่ ๆ ร่วมกัน
moneyline news
**************
17/08/52
กลุ่มอาหารกำไรดี...แต่ยอดขายต่ำ
: คอลัมน์คอร์ปอเรตโฟกัส
กลุ่มอาหารทั้งบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) ผู้ผลิตอาหารแช่แข็งและอาหารสำเร็จรูปรายใหญ่ของไทยและบริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ (TUF) ผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งและบรรจุกระป๋องรายใหญ่ของไทยได้ประกาศผล การดำเนินงานไตรมาส2 ปีนี้ออกมา ผลปรากฏว่ากำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ภายใต้ยอดขายที่ต่ำกว่าคาดทั้งคู่ สะท้อนต้นทุนที่ลดลงเพราะราคาน้ำมันลดลงและศักยภาพในการลดต้ำทุน ภายใต้ความต้องการของผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นคืนปกติจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

CPF ลดเป้ายอดขาย
“อดิเรก ศรีประทักษ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ CPF ประมาณการทั้งปีนี้ว่า ปรับลดเป้าหมายยอดขายลงจากเดิมที่ประมาณการว่าจะเติบโต 10% จากปี 2551 ที่ 1.53 แสนล้านบาท เหลือเติบโต 5% หรือปีนี้อยู่ที่ 1.51.6 แสนล้านบาท เพราะเชื่อว่าความต้องการคงยังไม่ฟื้นตัวในปีนี้และปีหน้าตามการถดถอยของเศรษฐกิจโลก

“อัตราการใช้กำลังการผลิตของเราตอนนี้เฉลี่ย 75% ลดลงเล็กน้อยจากภาวะปกติเฉลี่ย 80% และเชื่อว่าปีหน้าก็ยังไม่ดีขึ้น”

สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในมุมมองของเขาเชื่อว่าภาวะฝุ่นตลบหายแล้ว รู้ว่าอะไรเป็นอะไรและทยอยกลับมา แต่ต่างประเทศจะกลับเร็วกว่าไทย ไทยช้าเพราะนักลงทุนต่างชาติไม่กล้าเข้ามาลงทุนหวั่นปัญหาการเมือง

นอกจากนั้น “อดิเรก” ยังห่วงเรื่องระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรปที่จำกัดการนำเข้าสัตว์ปีก ที่ให้โควตาไทยเพียง 1.6 แสนตัน ที่ต้องติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ ยอดขายของ CPFl สัดส่วน 68% มาจากในประเทศ ขณะที่การลงทุนต่างประเทศคิดเป็น 17% ของยอดขาย

ไตรมาส 2 ปี 2552 CPF มีกำไรสุทธิ 3,200 ล้านบาท พุ่ง 224% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 985 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรสุทธิครึ่งแรกปีนี้มีกำไรสุทธิใกล้ 4,000 ล้านบาท เติบโต 314% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 1,440 ล้านบาท อัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้นเป็น 19% จาก 13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

รายได้ไตรมาส 2 อยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านบาท เติบโต 3.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนและเพิ่มขึ้น 17% จากไตรมาสแรก ส่งผลให้รายได้ครึ่งแรกปีนี้ที่ 7.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

กำไรที่มากกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์เป็นผลมาจาก นโยบายลดต้นทุน ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตของฟาร์มต่างๆ การขยายธุรกิจไปต่างประเทศทั้งการลงทุนในอินเดีย มาเลเซียมีผลตอบแทนเข้ามาหลังจากเข้าไปลงทุนเมื่อหลายปีก่อน นอกจากนั้นธุรกิจในตุรกีกลับมาดี อัตรากำไรดีจากสินค้าสร้างมูลค่าเพิ่ม เกี๊ยวกุ้ง และบะหมี่เกี๊ยวกุ้งที่ขายดีทั่วโลก ที่สำคัญวัตถุดิบราคาลดลงตามราคาน้ำมัน

“ไตรมาส 2 ปีนี้กำไรดีที่สุดเท่าที่บริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมา 30 ปี และเชื่อว่าครึ่งปีหลังก็ยังดีอยู่โดยคาดว่ากำไรจะใกล้เคียงครึ่งปีแรกคือใกล้ 8,000 ล้านบาท หรือโตกว่าสองเท่าตัวจากปีก่อนโดยไตรมาส 3 จะรับรู้รายได้จากการลงทุนใน 5 บริษัทในไต้หวันในสัดส่วน 32% ตามสัดส่วนการถือหุ้น”

เขาเชื่อว่าดำเนินกลยุทธ์ธุรกิจถูกทางที่เน้นเพิ่มสัดส่วนอาหารสำเร็จรูปที่ให้อัตรากำไรดีและการลงทุนในต่างประเทศเริ่มส่งผลดี

“เราตั้งเป้าหมายให้สัดส่วนรายได้อาหารสำเร็จรูปแบรนด์ซีพี 35% จากปัจจุบันมาอยู่ที่ 1920% ของรายได้”
สำหรับแผนลงทุน 35 ปี ของ CPF ลงทุนเท่าที่จำเป็น ถ้ามีกำไรจะนำไปลดหนี้ที่ปัจจุบันมี 6,000 ล้านบาท หรือสัดส่วนหนี้ต่อทุน 1.1 เท่าที่คาดว่าสิ้นปีนี้จะต่ำกว่า 1 เท่า เพื่อเสียดอกเบี้ยน้อยลง ทำให้ฐานะบริษัทมีความแข็งแกร่งมากขึ้น

CPF ประกาศจ่ายปันผลงวดครึ่งแรกปีนี้ในอัตราหุ้นละ 23 สตางค์ หรือ 40% ของกำไรงบรวมและ 60% ของกำไรบริษัท และคาดว่าครึ่งปีหลังก็จะจ่ายในอัตราเดียวกันนี้

TUF รายได้ต่ำกว่าคาด
ด้าน TUF แม้ว่ากำไรสุทธิไตรมาส 2 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งที่สองอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องจากไตรมาสแรกจนยกระดับความสามารถในการทำกำไรต่อปี แต่รายได้จากการขายทั้งรูปเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐกลับเติบโตน้อยกว่าคาด จนต้องปรับประมาณการรายได้ลดลง ทั้งนี้เพราะปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดและราคาขายที่ลดลงมาสู่ระดับปกติตามต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง

“เราลดประมาณการเติบโตรายได้ทั้งรูปเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐในปีนี้ลงจาก 15% เหลือ 10% และจาก 10% เหลือ 5% ตามลำดับหลังผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ออกมา ทั้งนี้รายได้ครึ่งแรกปีนี้ของบริษัทนับว่าดีกว่าอุตสาหกรรมที่การส่งออกกุ้งในรูปเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นเป็นตัวเลขหลักเดียว แต่ถ้าเป็นรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสองหลัก สำหรับมูลค่าทูน่าลดลง 20% ปริมาณขายลดลง 9%” ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร TUF ประมาณการ

ไตรมาส 2 ปีนี้ TUF มีกำไรสุทธิ 955 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 137% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่รายได้จากการขายกลับเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาท 2.4% เพราะค่าเงินบาทอ่อน รายได้ในรูปเงินเหรียญสหรัฐกลับลดลง 4.2% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นเพียง 4% ส่งผลให้ครึ่งแรกปีนี้มีกำไรสุทธิ 1,607 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 64% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนรายได้การขายรูปเงินบาทเติบโต 8.2% รายได้รูปเงินเหรียญสหรัฐลดลง 0.1% ทำให้มีรายได้รวม 3.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

กำไรที่ทำสถิติใหม่อย่างต่อเนื่องนี้เป็นผลมาจากการบริหารจัดการต้นทุน และการบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

กำไรที่ทำสถิติครั้งใหม่ทำให้ “ธีรพงศ์” มั่นใจที่จะยกระดับกำไรต่อปีให้สูงกว่า 3,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะได้ในปีนี้ ถ้าคิดการตัดขาดทุนที่จอร์เจียกลับมาเป็นกำไรก็ 3,000 กว่าล้านบาทแล้ว และปีหน้าคาดว่าจะสูงกว่านี้ รวมถึงกำไรก่อนหักดอกเบี้ยภาษีและค่าเสื่อมราคา (EBITDA) ที่จะเกิน 5,000 ล้านบาทด้วย

“ครึ่งหลังของปีนี้เรายังมีภาระตัดขาดทุนจากการปิดกิจการที่จอร์เจียเพียง 5 ล้านเหรียญสหรัฐ จากภาระทั้งหมด 10 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการปิดกิจการนี้จะส่งผลดีต่อการปรับฐานการผลิตในสหรัฐ ปีหน้าที่จะรวมกิจการสองบริษัทเข้าด้วยกัน ตอนนี้เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มดี เพราะผ่านจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้ว และเชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐดีขึ้น”

สิ้นเดือนมิ.ย. 2552 สัดส่วนยอดขายตามผลิตภัณฑ์ของ TUF กระจายมากขึ้น แต่ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ายังเป็นอันดับหนึ่ง 43% รองลงมาคือกุ้งแช่แข็ง 20% อาหารทะเลบรรจุกระป๋อง 9% อาหารแมวบรรจุกระป๋อง 8% อาหารกุ้ง 7% ปลาซาร์ดีนบรรจุกระป๋อง 5% ผลิตภัณฑ์ในประเทศ 5% และปลาหมึกแช่แข็ง 3%

ตลาดส่งออกหลักคือสหรัฐเกือบ 50% เพราะรวมบริษัทย่อย (ซิกเก้น ออฟเดอะซีส์) ที่ผลงานออกมาดีมาก ยุโรป 13% ญี่ปุ่น 12% แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชีย โอเชียเนีย แคนาดา และอเมริกาใต้ ที่รายได้ใน 3 ประเทศหลักเพิ่มขึ้น

สำหรับการลงทุน TUF ซื้อที่ดินที่มหาชัย 160 ไร่ สร้างห้องเย็นจัดเก็บวัตถุดิบ 4 หมื่นตัน ในสองปีจะขยายพื้นที่ฐานการผลิตไปที่ใหม่

เป้าหมายของบริษัทในปีนี้จะรักษาอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) ไม่ต่ำกว่า 20% จากไตรมาส 2 ที่ได้ถึง 25% อัตรากำไรขั้นต้น 1415% จากไตรมาส 2 ที่ 15.2% เทียบปี 2551 ที่ 13.6% ในสมมติฐานค่าเงินบาทที่ 34 บาท

“23 ปีที่ผ่านมาอัตรากำไรขั้นต้นของเราตกมาที่ 14% แต่ปีนี้นับว่ากลับมาดีแล้ว โดยราคาวัตถุดิบไตรมาสแรกต่ำ ไตรมาส 2 ราคาเพิ่มขึ้น และตอนนี้ราคาอ่อนตัวลงอีก ครึ่งปีหลังคาดว่าขายดีกว่าครึ่งแรกตามฤดูกาล”

TUF ไม่มีนโยบายถือเงินสด เพราะถ้ามีเงินเข้ามาจะนำไปจ่ายหนี้เพื่อรักษาสัดส่วนหนี้สินต่อทุนไม่เกิน 1 เท่า โดยปัจจุบันอยู่ที่ 0.3 เท่า

บริษัทนี้จ่ายปันผลงวดครึ่งแรกปีนี้ 98 สตางค์ หรืออัตราผลตอบแทนปันผล 4% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน 55 สตางค์

posttoday
stock in focus


***********
07/08/52
รัฐยืนยันหนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บอกภายหลังสมาคมชาวไร่อ้อยภาคอีสานเข้าพบว่า เพื่อแสดงความขอบคุณหลังคณะรัฐมนตรีมีมติคืนเงินส่วนต่างราคาอ้อยขั้นต้น และขั้นสุดท้ายฤดูกาลผลิตปี 2550/2551 โดยรัฐบาลยืนยันจะเดินหน้าส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายโดยยึดหลักทฤษฎี 3 ขา ที่ใช้ความร่วมมือระหว่างชาวไร่อ้อย โรงงานผู้ผลิต และกระทรวงอุตสาหกรรมในการคิดค้นอุตสาหกรรมหลักไปสู่ตลาดต่างประเทศ

สำหรับการเปิดโรงงานอ้อยและน้ำตาลทรายในต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย รัสเซีย เกาหลี และ ญี่ปุ่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI จะเป็นผู้สนับสนุนด้านการลงทุน และความร่วมมือจาก ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME BANK ที่ให้การสนับสนุนด้านการเงิน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยและเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

ด้านนายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย บอกว่า ผลผลิตอ้อยของไทยในปีหน้าจะออกสู่ตลาดโลกได้ถึง 72 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีนี้ 10% จากระดับ 66.5 ล้านตัน เนื่องจากสภาพอากาศเหมาะสมต่อการเพาะปลูกอ้อย และราคาปุ๋ยที่ยังทรงตัว รวมทั้งมติของคณะรัฐมนตรี ที่ให้คืนเงินส่วนต่างระหว่างราคาอ้อยขั้นต้น กับขั้นสุดท้าย จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกอ้อยมากขึ้น

ทั้งนี้จากปัจจัยด้านราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลก ที่ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 40 เซนต์ต่อออนซ์ ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 30 ปี จะทำให้มูลค่าการส่งออกในปีนี้สูงถึง 112,000 ล้านบาท และคาดว่าราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิต ปี 2552/2553 จะอยู่ที่ระดับ 850 บาทต่อตันขณะที่ราคาขั้นสุดท้ายจะอยู่ที่ 900 บาทต่อตัน

นายประเสริฐ บอกด้วยว่า ราคาอ้อยที่ปรับตัวสูงขึ้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำตาลทรายในประเทศ เพราะกำลังการผลิตน้ำตาลทรายในปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 20 ล้านกระสอบ ถือว่าเพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประเทศแล้ว ส่วนการที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นก็จะทำให้มีการใช้อ้อย เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอธานอล ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกั
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/MoneylineNews/tabid/89/newsid491/94728/Default.aspx
stock in focus
**********
3/07/52
ธุรกิจอาหารเร่งปรับตัวสู้หวัด

ธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด-เบเกอรี ปั้นมาตรฐานบริการ-หน้าร้านระดับ “เวิลด์ สแตนดาร์ด” สู้ศึกหวัด 2009

นายอนิรุทธิ์ มหธร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด เดอะ พิซซ่า คอมปะนี บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ผู้บริหารธุรกิจร้านอาหารบริการด่วน (คิวเอสอาร์) แบรนด์ “เดอะ พิซซ่า คอมปะนี” เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทดำเนินการปรับปรุงการให้บริการภายในสาขาร้านเดอะ พิซซ่าฯ ภายใต้มาตรฐานระดับสากล หรือเวิลด์ คลาส ตามแนวโน้มเดียวกับร้านอาหารทั่วโลกในขณะนี้
ทั้งนี้ เพื่อมุ่งให้ความสำคัญด้านสุขอนามัยภายในร้านเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน (ไลฟ์สไตล์) คนรุ่นใหม่ที่นิยม รับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น และจะเลือกร้านที่มีมาตรฐานด้านความสะอาดและสุขอนามัยสูง

ปัจจุบัน บริการเดลิเวอรีของเดอะ พิซซ่าฯ มียอดขายเพิ่มขึ้นในอัตรา 2 หลักอย่างต่อเนื่อง จาก ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในปัจจุบัน รวมถึงบริการเทก อะเวย์ ที่เติบโตสูง เช่นกัน จากความกังวลของผู้บริโภค ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009 ทำให้ไม่ต้องการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน

ด้านนายอิชิโร่ ไซโต้ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทย ยามาซากิ ผู้ผลิตและทำตลาดสินค้าเบเกอรี ภายใต้แบรนด์ ยามาซากิ และ เบเกอรีอีก 7 แบรนด์ กล่าวว่า แนวโน้มผู้ให้บริการร้านอาหารและ เบเกอรีที่มีหน้าร้านกำลังก้าวเข้าสู่การปรับเปลี่ยนการให้บริการด้านสุขลักษณะและอนามัยสินค้าแก่ผู้บริโภคกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับในต่างประเทศที่เริ่มใช้มาตรการดังกล่าวมาแล้ว

สำหรับแผนธุรกิจในประเทศไทยขณะนี้ บริษัทได้เริ่มปรับเปลี่ยนชั้นวางสินค้า (Shelf) สินค้าเบเกอรีแบรนด์ยามาซากิไปแล้ว 10 สาขา และเตรียมทยอยปรับให้ครบทั้ง 62 สาขา ภายใน 2-3 ปีนับจากนี้ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงโฉมใหม่ภายในร้านด้วย คาดใช้งบลงทุนเฉลี่ยต่อสาขาไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาท

ที่ผ่านมา ยามาซากิ สาขาในฮ่องกง เคยเผชิญปัญหาการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส ส่งผลให้ยอดขายลดลง แต่หลังจากทางร้านปรับมาตรฐานการให้บริการแบบรอบด้าน ทำให้ยอดขายฟื้นกลับมา และเชื่อว่ากระแสดังกล่าวจะเกิดขึ้น ในประเทศไทยเช่นกัน โดยภาพรวมธุรกิจตลาดเบเกอรีมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาทในปีนี้ คาดมีอัตรา การเติบโตคงที่ ซึ่งบริษัทตั้งเป้าเติบโตรายได้ 5%
www.posttoday.com
stock in focus
**************
24/07/52
มาตรการประกันราคาข้าว...ผลกระทบต่อตลาดข้าว :
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 24 ก.ค.--ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ปีที่ 15 ฉบับที่ 2573 วันที่ 24 กรกฎาคม 2552
มาตรการประกันราคาข้าว...ผลกระทบต่อตลาดข้าว (ฉบับส่งสื่อมวลชน)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2552 มีมติที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนนโยบายข้าว ของรัฐบาลในหลายประเด็น ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างต่อตลาดการค้าข้าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการปรับเปลี่ยนที่สำคัญของนโยบายข้าวของรัฐบาล คือ การปรับใช้ระบบประกันราคาสินค้ามาใช้แทน ระบบการรับจำนำ ในการแทรกแซงราคาข้าวในฤดูการผลิตปี 2552/53 ตามหลักการที่คณะกรรมการ นโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.)เห็นชอบเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2552 การแทรกแซงราคาตลาดในสายตาของระบบการค้าสากลแล้วมองว่าเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด ทำ ให้ราคาสินค้าเกษตรไม่เป็นไปตามกลไกตลาดที่แท้จริง แต่สำหรับประเทศเกษตรกรรมอย่างประเทศไทย และเกษตรกรเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ นับว่ายังมีความจำเป็นที่ต้องพึ่งพารัฐบาลแทรกแซงราคาสินค้า เกษตร เพื่อเกษตรกรได้รับราคาที่เป็นธรรมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การดำเนินมาตรการจำนำข้าวที่ผ่านมา ต้องเผชิญกับหลากหลายปัญหา เช่น การใช้เม็ดเงินงบประมาณสูงเกินจริง การเก็บค่าใช้จ่ายโกดังเก็บข้าว ค่าสีข้าวมากกว่าราคาปกติทั่วไป ตลอดจนการเวียนเทียนข้าว การสวมสิทธิ์ข้าว เป็นต้น นอกจากนั้น ยัง

ประสบปัญหาการบริหารจัดการระบายข้าว ขายข้าวที่ไม่โปร่งใส ทำให้รัฐบาลขาดทุนสูงมาก ดังนั้น

มาตรการใหม่ในการแทรกแซงราคาข้าวด้วยการประกันราคาขั้นต่ำให้กับเกษตรกรจึงเป็นทางเลือกที่คาดว่า

จะลดปัญหาการบริหาร และกระบวนการที่ไม่โปร่งใสทั้งหลายของการรับจำนำ โดยเฉพาะการเวียนเทียน

ข้าว สต็อกลม และค่าใช้จ่ายในการสีข้าวและเก็บรักษาข้าวเกินจริง อย่างไรก็ตาม ในการที่รัฐบาลจะนำ

มาตรการประกันราคาข้าวมาใช้แทนการจำนำนั้น ยังมีอีกหลากหลายประเด็นที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการ

เช่น ส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับราคาข้าวจริงที่ชาวนาขายได้หน่วยงานใดจะเป็นผู้จ่าย หน่วยงานใด

เป็นผู้กำหนดราคาประกัน และองค์กรไหนที่จะควบคุมหรือลงทะเบียนปริมาณข้าวของชาวนาแต่ละราย ซึ่งจะ

มีสิทธิ์ได้รับเงินส่วนต่างของราคา เป็นต้น

ปัจจัยกดดันให้รัฐบาลต้องปรับเปลี่ยนมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเป็นการประกันราคาแทนการจำนำ

คือ ถ้าพิจารณาการส่งออกข้าวในช่วงระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา โอกาสที่ไทยจะสูญเสียตำแหน่งประเทศผู้ส่ง

ออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก เนื่องจากช่วงห่างของราคาข้าวของไทยและประเทศคู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนาม

เพิ่มขึ้น จากเดิมที่มีช่วงห่างเพียง 10-20 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ในขณะที่ปัจจุบันราคาข้าวส่งออกเฉลี่ยของ

เวียดนามต่ำกว่าไทยถึง 100-200 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน นอกจากนี้ การเปิดเสรีตลาดข้าวในช่วงต้นปี

2553 ตามพันธกรณีกับองค์การการค้าโลก นับเป็นปัจจัยกดดันให้ไทยต้องปรับมาตรการแทรกแซงตลาดข้าว

เนื่องจากมีการตั้งข้อสังเกตว่าถ้าไทยยังดำเนินมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโดยมาตรการรับจำนำ ก็จะมี

ข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านทะลักเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมาก เนื่องจากราคาข้าวของไทยอยู่ในเกณฑ์

สูง ทำให้รัฐบาลต้องเพิ่มงบประมาณเป็นจำนวนมากขึ้น ถ้ายังต้องดำเนินมาตรการรับจำนำข้าว



ผลกระทบที่ต้องจับตามองของการปรับเปลี่ยนมาใช้มาตรการประกันราคาข้าว มีดังนี้

1.ราคาข้าวในประเทศ ราคาข้าวในประเทศจะขึ้นอยู่กับกลไกตลาด เนื่องจากข้อแตกต่างสำคัญของ

มาตรการรับจำนำกับมาตรการประกันราคาคือ มาตรการรับจำนำจะเป็นการดึงปริมาณข้าวออกจากตลาด

โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูการผลิตที่จะมีปริมาณข้าวออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ในขณะที่การประกันราคา

ปริมาณข้าวทั้งหมดยังอยู่ในตลาด หรืออาจกล่าวได้ว่า ราคาข้าวในประเทศมีแนวโน้มผันผวนมากกว่าการใช้

มาตรการรับจำนำข้าว กล่าวคือ สำหรับในปีปกติราคาข้าวในช่วงต้นฤดูการผลิตมีแนวโน้มลดลง และราคา

จะสูงขึ้นในช่วงปลายฤดูการผลิต ดังนั้น ผู้ค้าข้าวในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าท้องถิ่น พ่อค้าส่ง โรงสี

และพ่อค้าปลีกต้องรับความเสี่ยงในเรื่องของราคาที่ผันผวน

ในด้านราคาจากรัฐบาลบางส่วน โดยรัฐบาลควบคุมราคาจำหน่ายปลีกข้าวสารบรรจุถุง ทำให้ผู้ประกอบการ

ขึ้นราคาเกินกว่าราคาเพดานที่กำหนดไว้ไม่ได้ ซึ่งผู้ประกอบการข้าวสารบรรจุถุงคาดว่าปริมาณผู้ที่บริโภค

ข้าวสารบรรจุถุงคิดเป็นร้อยละ 40 ของผู้บริโภคข้าวสารในประเทศทั้งหมด ส่วนอีกร้อยละ 60 เป็นผู้

บริโภคข้าวสารแบ่งขายจากกระสอบหรือข้าวสารตัก

2.การส่งออกข้าวของไทย วงการค้าข้าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการแข่ง

ขันกันในระหว่างพ่อค้าข้าวในทุกระดับจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาข้าวจะเป็นไปตามกลไกของตลาด ซึ่งมา

จากปริมาณการผลิตและความต้องการ ปริมาณข้าวทั้งหมดจะอยู่ในตลาด โดยจะไม่มีการแบ่งระหว่างข้าว

รัฐบาลและข้าวเอกชนอีกต่อไป ซึ่งอาจจะเป็นข้อดีที่ประเทศคู่ค้าข้าวของไทยจะไม่ใช้ปริมาณสต็อกข้าวของ

รัฐบาล หรือนโยบายการระบายข้าวจะสต็อกของรัฐบาลมาเป็นข้อต่อรองในการกดราคารับซื้อข้าวของไทย

ทั้งนี้พ่อค้าที่มีข้อมูลการคาดการณ์ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศที่แม่นยำ และทันเหตุการณ์ก็จะมีความ

ได้เปรียบ และผู้ส่งออกข้าวที่ดำเนินกิจการครบวงจร โดยดำเนินกิจการโรงสีด้วยก็ยังได้เปรียบผู้ส่งออก

ข้าวที่ไม่มีกิจการโรงสี การใช้มาตรการประกันราคาข้าวทำให้ผู้ส่งออกข้าวนอกจากจะต้องแข่งขันกับ

ประเทศคู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนามในการหาตลาดในต่างประเทศแล้ว ยังต้องแข่งขันกับบรรดาผู้ส่งออกข้าว

ของไทยด้วยกันในการหาซื้อข้าวด้วย อย่างไรก็ตาม ข้อดีของการใช้มาตรการประกันราคาข้าวก็คือ ผู้ส่ง

ออกข้าวจะไม่ต้องเผชิญปัญหาไม่มีข้าวเพียงพอในการส่งออก เนื่องจากปริมาณข้าวเข้าไปอยู่ในสต็อกของ

รัฐบาล เมื่อรัฐบาลใช้มาตรการรับจำนำข้าว รวมทั้งยังซื้อข้าวเพื่อส่งออกได้ในราคาตลาด ไม่ต้องแบกรับ

ภาระราคาที่สูงขึ้นจากการตั้งราคาเป้าหมายของรัฐบาล

3.รายได้ของเกษตรกร การแทรกแซงตลาดข้าวโดยการใช้มาตรการประกันราคาข้าวนั้น จะมีเพียง

ชาวนากลุ่มเดียวเท่านั้นที่จะทราบอย่างชัดเจนว่ารายได้ที่จะได้รับ เนื่องจากรัฐบาลจะเป็นผู้ที่จ่ายส่วนต่าง

ระหว่างราคาประกันกับราคาตลาดให้กับชาวนา อย่างไรก็ตาม ชาวนาที่จะได้รับการประกันราคานั้นต้อง

เป็นชาวนาที่มาขึ้นทะเบียนเท่านั้น ซึ่งในช่วงที่ขึ้นทะเบียนจะต้องระบุด้วยว่าปลูกข้าวชนิดใดเป็นปริมาณ

เท่าใด ประเด็นที่ต้องติดตาม คือ ข้าวทั้งหมดที่ชาวนาที่ขึ้นทะเบียนผลิตได้นั้นจะได้รับการประกันราคาทั้ง

หมด หรือได้รับการประกันเพียงบางส่วน โดยถ้าได้รับประกันเพียงบางส่วน ผลกระทบก็คือ ปริมาณข้าวที่ไม่

ได้รับการประกันราคานั้น ชาวนาต้องรับความเสี่ยงในเรื่องราคาตลาดเอง นอกจากนี้ ยังไม่มีความชัดเจน

ของมาตรการรัฐบาลที่จะดำเนินการอย่างไรกับชาวนาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน เนื่องจากมีความเสี่ยงอย่างมาก

สำหรับรัฐบาลที่จะต้องเผชิญกับความกดดันขอความช่วยเหลือจากชาวนากลุ่มที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ในกรณีที่เกิด

ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ

4.ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า บทบาทของตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้ามีแนวโน้มเพิ่ม

ความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากบรรดาพ่อค้าข้าวต้องรับภาระความเสี่ยงในเรื่องราคา และราคาข้าวใน

ประเทศมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้นกว่าในช่วงที่มีการใช้มาตรการรับจำนำ ดังนั้นบรรดาพ่อค้าข้าวที่มีความรู้

และความเข้าใจถึงกลไกของการดำเนินการของตลาดซื้อขายล่วงหน้าก็จะหันมาใช้บริการมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อ

ลดความเสี่ยงทางด้านราคา

5.ราคาสินค้าเกษตรอื่นๆ มีแนวโน้มว่ารัฐบาลจะหันมาใช้มาตรการประกันราคากับการแทรกแซง

ตลาดสินค้าเกษตรทุกประเภท โดยเริ่มดำเนินการไปแล้วกับสินค้ามันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำ

ให้คาดการณ์ได้ว่าราคาสินค้าเกษตรจะผันผวนไปตามฤดูการ ปริมาณผลผลิตและความต้องการในแต่ละปี

เพาะปลูก โดยผู้ที่ต้องรับความเสี่ยงในเรื่องราคาก็คือ บรรดาพ่อค้าในทุกระดับตลาดเช่นเดียวกับสินค้าข้าว

6.ภาระของรัฐบาล ประเด็นสำคัญของการปรับเปลี่ยนจากมาตรการรับจำนำข้าวมาเป็นการประกัน

ราคาข้าว ก็คือ ภาระของรัฐบาลลดลง โดยรัฐบาลไม่ต้องใช้เงินหมุนเวียนมากเท่ากับการรับจำนำข้าว ลด

ภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสต็อกข้าว รวมทั้งยังลดภาระการตรวจสอบความถูกต้องของข้าวในสต็อก

ของรัฐบาล การควบคุมและกำหนดนโยบายการระบายสต็อกข้าว รวมถึงการรับภาระขาดทุนจากการดำเนิน

มาตรการรับจำนำ

อย่างไรก็ตาม ภาระค่าใช้จ่ายที่ลดลงนั้นเป็นเพียงกรณีที่ราคาข้าวในตลาดไม่ได้ตกต่ำลง แต่ในกรณีที่

ราคาข้าวในตลาดลดต่ำกว่าราคาประกันมาก ก็เป็นความเสี่ยงของรัฐบาลที่ต้องรับภาระในส่วนนี้ หรือใน

กรณีที่ชาวนาเลือกที่จะผลิตมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องรับความเสี่ยงในเรื่องความผันผวนของราคา ทำให้อาจ

เกิดปัญหาข้าวล้นตลาด ภาระที่รัฐบาลจะต้องจ่ายส่วนต่างของราคาเพิ่มขึ้น ดังนั้น ในการใช้มาตรการ

ประกันราคาจำต้องทราบปริมาณข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ แล้วอาจจะต้องมีการตกลงกับชาวนาถึงปริมาณ

ข้าวที่จะผลิตเพื่อที่จะสามารถประเมินแนวโน้มราคาข้าวในตลาด และภาระในการประกันของรัฐบาล



บทสรุป

การปรับเปลี่ยนนโยบายข้าวของรัฐบาลนับว่าเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เนื่องจากเป็น

มาตรการที่เตรียมรับมือกับการเปิดเสรีตลาดข้าวในช่วงต้นปี 2553 ตามข้อตกลงกับองค์การการค้าโลก

และเป็นการผลักดันให้มีการปรับปรุงนโยบายการแทรกแซงตลาดข้าวจากมาตรการรับจำนำเป็นมาตรการ

ประกันราคา ทั้งนี้เพื่อลดภาระขาดทุนในการดำเนินมาตรการรับจำนำข้าว ซึ่งมาตรการประกันราคาข้าวนี้

ยังคงมีจุดมุ่งหมายช่วยเหลือชาวนา ในขณะที่ผู้ส่งออกข้าวก็ได้รับประโยชน์ เนื่องจากข้าวจะไม่เข้าไป

กองอยู่ในสต็อกของรัฐบาล และผู้ส่งออกข้าวหาซื้อข้าวเพื่อการส่งออกไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วงปลายฤดูการ

ผลิต

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของนโยบายการประกันราคาที่จะนำมาใช้แทนมาตรการจำนำราคาข้าวนั้น

แม้ว่าจะช่วยลดภาระรัฐบาลในการแบกภาระสต็อกข้าว ลดความเสี่ยงของโอกาสทุจริตในแต่ละขั้นตอนการ

ดำเนินงาน แต่ก็ยังมีโอกาสที่รัฐบาลอาจจะต้องใช้งบประมาณมากขึ้นในการหันมาใช้นโยบายประกันราคา

โดยเฉพาะในกรณีที่ชาวนายังผลิตข้าวอย่างเต็มที่ เนื่องจากไม่ต้องรับความเสี่ยงในเรื่องราคา จึงมีโอกาส

ที่จะเกิดเหตุการณ์ข้าวล้นตลาด และราคาตกต่ำลงไปอย่างมาก เมื่อเทียบกับราคาประกัน ดังนั้น นอกจาก

การจดทะเบียนชาวนาแล้ว รัฐบาลอาจจะต้องควบคุมปริมาณข้าวที่จะเข้ามาอยู่ในโครงการประกันราคาเช่น

เดียวกับการกำหนดปริมาณการรับจำนำข้าว

นอกจากนี้ การกำหนดราคารับประกันนั้นมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากถ้ากำหนดราคาประกันสูง

กว่าราคาตลาด ก็จะเท่ากับไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในการใช้มาตรการรับจำนำ นอกจากนี้

มาตรการประกันราคานั้นยังควบคุมได้ยากลำบากกว่า เนื่องจากมาตรการรับจำนำนั้นเป็นการดึงปริมาณ

ข้าวออกจากตลาดในราคาที่กำหนดไว้ แต่ด้วยการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรทำให้เกิดปัญหา

ขาดทุน ในขณะที่การใช้มาตรการประกันราคานั้น ปริมาณข้าวทั้งหมดยังอยู่ในตลาด ซึ่งราคาอาจจะผันผวน

ไปตามภาวะตลาดทั้งในประเทศ และตลาดส่งออก ทำให้อาจกระทบต่องบประมาณที่จะใช้ในการประกันราคา

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจ

รับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ

อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้

ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น

บริษัทฯจะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้

จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น
stock in focus,rice
***********
24/07/52
ราชินีทรงห่วง นอมินีต่างชาติฮุบที่ดินเกษตร
สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระเทพฯ ทรงห่วงต่างชาติฮุบที่นา รมว.เกษตรฯ สั่งเร่งร่างกฎหมายคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม

นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยกรณีกลุ่มทุนต่างชาติเข้ามาครอบครองพื้นที่เกษตรกรรมในประเทศไทยผ่านบริษัทตัวแทนหรือนอมินี ซึ่งนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้เร่งร่างกฎหมายคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม
นายประเสริฐ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้จะจัดประชุมร่วมกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้กฎหมายดังกล่าวครอบคลุมถึงการถือครองในลักษณะนอมินี

“หลังจากมีกระแสข่าวต่างชาติถือครองที่ดินเกษตรกรรมภาคกลางผ่านนอมินี กรมสอบสวนคดี พิเศษได้เข้าตรวจสอบแล้ว ปัจจุบันกัมพูชาอนุญาตให้ต่างชาติเช่าพื้นที่ทำการเกษตรระยะยาว ซึ่งน่ากังวลว่าการพัฒนาพันธุ์ข้าวจะเทียบเท่ากับข้าวไทย เราอาจสูญเสียตลาดข้าว จึงต้องเร่งพัฒนาคุณภาพ ข้าวควบคู่กับการออกกฎหมาย คุ้มครองพื้นที่การเกษตรโดยเร็ว” นายประเสริฐ กล่าว
http://www.posttoday.com/news.php?id=58461
stock in focus,lands for agriculture

*********
23/07/52
ตลาดเกษตรไทยผวา ต่างชาติแข่งจ้างปลูก
เอกชนห่วงไทยเสี่ยงเสียตลาดส่งออกสินค้าเกษตร หลังหลายประเทศอิงกระแสความมั่นคงด้านอาหาร แห่ลงทุนปลูกข้าวประเทศที่ 3 เพิ่ม จี้โลกรุมประณาม


พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองเลขาธิการสภาหอการค้าไทย เปิดเผยในงานสัมมนา “GSP-Buffet เปิดลู่ทางการส่งออกในภูมิภาคยุโรป” ว่า กำลังมีความเป็นห่วงการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยจะมีปัญหาในอนาคต เพราะหลังจากที่ประเทศต่างๆ มีนโยบายไปลงทุนปลูกธัญพืชในประเทศด้อยพัฒนา โดยอ้างถึงความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยเฉพาะเมื่อปีที่ผ่านมาที่ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นมาก
ทั้งนี้ เกรงว่าจะกลายเป็นกระแสล่าอาณานิคม (Land Grabbing) ด้วยการครอบครองพื้นที่ปลูกพืชเกษตร เพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตอาหารให้กับประเทศตนเอง

“ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มตะวันออกกลาง มีแนวโน้มที่จะเข้าไปลงทุนปลูกพืชยังประเทศด้อยพัฒนาเพิ่มมากขึ้น และถ้าแนวคิดนี้ขยายออกไป จะส่งผลเสียต่อประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตอาหารของโลก ที่จะถูกแย่งตลาดการส่งออกสินค้าเกษตร จากการที่ประเทศเหล่านี้อาจนำผลผลิตมาส่งออกเสียเอง” นายพรศิลป์ กล่าว

นายพรศิลป์ กล่าวว่า ล่าสุดประเทศเกาหลีมีนโยบายไปลงทุนปลูกธัญพืชในประเทศแถบแอฟริกา เช่น เคนยา ซึ่งมีโอกาสที่จะผลิตสินค้าข้าว และนำมาส่งออก ทั้งๆ ที่เกาหลีมีนโยบายไม่นำเข้าข้าวจากต่างประเทศ แม้กระทั่งประเทศที่เจรจาเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ด้วย อย่างเอฟทีเออาเซียน-เกาหลี ซึ่ง การลงนามระหว่างไทยกับเกาหลีล่าช้าสุด เพราะไทยพยายามผลักดัน ให้เกาหลีเปิดตลาดข้าวให้ แต่ เกาหลีกลับยกสินค้าข้าวยกเว้นการลดภาษี อ้างเป็นสินค้าอ่อนไหวสูง
www.posttoday.com
stock in focus
**************
22/07/52
นายกฯ ดันสินค้าเกษตรไทยป้อนตลาดโลก
นายกฯ เล็งทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านเกษตรระดับภูมิภาค ยกมูลค่าสินค้าป้อนตลาดโลก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในงานสัมมนา “การบริหารโลกาภิวัตน์ ประสบการณ์ของภาคอุตสาหกรรมไทย” เนื่องในวาระครบรอบ 60 ปี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ว่า การบริหารงานยุคโลกาภิวัตน์เป็นหัวใจสำคัญของการวางยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยเฉพาะการหาจุดแข็งที่มีศักยภาพของไทยจากการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตร เพราะเมื่อเศรษฐกิจโลกกลับมาฟื้นตัว การผลิตสินค้าเกษตรและความมั่นคงทางอาหารจะมีความสำคัญมาก

โดยประเทศไทยต้องให้ความสำคัญในการเพิ่มศักยภาพและ ประสิทธิภาพ เพื่อป้อนสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปไปยังประเทศต่างๆ ซึ่งมีความต้องการเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว และผู้ประกอบการทางการเกษตรจะต้องมีการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคโลกาภิวัตน์ทางด้านต้นทุนและแผนดำเนินงาน

ขณะเดียวกันรัฐบาลจะเร่งทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันผลิตและจำหน่ายสินค้าอย่างเป็นเครือ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นได้ รวมทั้งต้องวางแผนเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการใช้แนวคิดที่สร้างสรรค์และแนวคิดแบบใหม่ๆ เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของประเทศด้วย
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20090722/62033/นายกฯ-ดันสินค้าเกษตรไทยป้อนตลาดโลก.html
stock in focus

***************
18/07/52
'บีโอไอ'ฟันธงจีนน่าลงทุนอันดับ1เร่งบุกตลาดดึง'พันธมิตร'ร่วมทุนไทย-ชี้4 อุตฯดาวรุ่ง
เกษตรแปรรูปโอกาสสูง

ด้าน รศ.ดร.แก้วตา กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมเกษตรของจีน มีความน่าสนใจเข้าไปลงทุนในจีนมากเช่นกัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ที่ผ่านมา คนไทยมักส่งสินค้าเกษตรไทยไปจีน ได้แก่ข้าว และผลไม้ต่างๆ ในลักษณะtrading มีลักษณะคล้ายการฝากขายสินค้า ซึ่งเป็นการค้าขายที่ไม่ยั่งยืน ควรที่จะเข้าไปลงทุนในจีนจะดีกว่า โดยเน้นการพัฒนาเกษตรเชิงรุก

'ต้องเพิ่มมูลค่าก่อนส่งออก อย่างบริษัทหนึ่งในไทย ขณะนี้เตรียมไปลงทุนในจีน เพื่อไปบริการปอกผลไม้ที่ปอกยาก เช่นทุเรียน และทำแพคเกจจิ้งใหม่ เพื่อยืดอายุผลไม้ให้ยาวนานขึ้น'

ทั้งนี้คนไทยมักคิดว่าคนจีนมีจำนวนมากส่งอะไรไปขายที่ไหนก็ได้หมด ซึ่งไม่ใช่ คนจีนมีความนิยมในสินค้าอาหารแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน และมีกฎหมายห้ามการลงทุนบางอย่าง เช่นการผลิตพืชตัดต่อทางพันธุกรรม จึงควรศึกษาอย่างละเอียด
stock in focus

*************
17/07/52
เล็งควบอตก.-อคส. รับมือประกันพืชผล
โพสต์ทูเดย์ — สคร.จ่อยุบรวมอ.ต.ก.-อคส. รองรับระบบประกันราคาพืชผลเกษตร ระบุที่ผ่านมางบประมาณรั่วไหลอื้อ
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) สั่งให้ศึกษาการยุบรวมองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และองค์การคลังสินค้า (อคส.) มาเสนอให้ที่ประชุมกนร.พิจารณาในอีก 6 สัปดาห์หน้า เนื่องจากบทบาทของทั้งสองหน่วยงาน คือการรับจำนำพืชผลทางการเกษตรคล้ายกัน
นอกจากนั้น รูปแบบการรับประกันราคาพืชผลทางการเกษตรแบบใหม่ก็ ไม่ต้องพึ่งพาอคส.มากนัก เพราะเอกชนจะเป็นผู้รับภาระเรื่องของการสต๊อกสินค้าเกษตรแทน
สำหรับอีกแนวทาง คือการยกเลิกบทบาททั้งสององค์กรไปเลย แต่หากไม่ยกเลิกต้องมีการแยกบทบาทการทำงานที่ชัดเจนระหว่างอ.ต.ก. จะให้ทำหน้าที่ในการดูแลพืชสวน ส่วนอคส. จะให้ดูแลเรื่องพืชไร่ เช่น ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง
“ที่ผ่านมาอ.ต.ก. มีผลการดำเนินงานขาดทุนรั่วไหลหลายโครงการยังปิดบัญชีไม่ลง จึงได้สั่งให้รีบ

http://www.posttoday.com/news.php?id=57440
stock in focus

************
17/07/52
กขช.อนุมัติใช้รับประกันราคาข้าวนาปี 52/53

นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) อนุมัติแนวทางการรับจำนำข้าวปีฤดูการผลิต 52/53 โดยให้ใช้วิธีการประกันราคาเหมือนข้าวโพดและมันสำปะหลัง กขช.มอบหมายให้คณะอนุกรรมการผลิต ที่มี รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกลับไปพิจารณารายละเอียดเรื่องต้นทุนและราคารับจำนำที่เหมาะสมของข้าวแต่ละชนิด

ส่วนมาตรการรักษาเสถียรภาพเรื่องราคาข้าวนั้นมอบหมายให้ รมว.พาณิชย์ ไปพิจารณารายละเอียดแล้วนำกลับมาเสนอที่ประชุมฯ ในอีก 2 สัปดาห์

สำหรับมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวอาจใช้วิธีการเดิม คือ การรับจำนำที่ยุ้งฉางของเกษตรกร หรือการรับซื้อเพื่อส่งออกเท่านั้น ส่วนการระบายข้าวในสต็อกนั้นก็ใช้วิธีการเปิดประมูลเป็นรายโกดัง โดยจะเจรจากับผู้ที่เสนอราคาสูงสุด ซึ่งเรื่องนี้มอบหมายให้ รมว.พาณิชย์ พิจารณาถึงปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อราคาในตลาด
www.posttoday.com
stock in focus
*******************

รายงานผลประกอบการไตรมาส2/52

************
Symbol SF
Source SF
Headline สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
Date/Time 10 Aug 2009 13:04:58

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 11,331 44,155 73,165 172,539
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.02 0.09 0.14 0.34


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 8,877 19,306 59,877 38,225
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.02 0.04 0.12 0.07
****************
Symbol BSM
Source BSM
Headline สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
Date/Time 10 Aug 2009 13:29:57

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
บริษัท บิวเดอสมาร์ท จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,901 (6,378) 7,568 (2,770)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.01 (0.04) 0.05 (0.02)
***********
หลักทรัพย์ SIS
แหล่งข่าว SIS
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
วันที่/เวลา 10 ส.ค. 2552 09:18:30

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 59,328 55,439 110,689 106,848
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.29 0.28 0.54 0.53


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 59,605 55,439 110,966 106,848
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.29 0.28 0.55 0.53
***********
หลักทรัพย์ GFM
แหล่งข่าว GFM
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
วันที่/เวลา 10 ส.ค. 2552 08:59:20

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท โกลด์ไฟน์ แมนูแฟคเจอเรอส์ จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 32,309 93,895 98,955 163,808
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.22 0.63 0.66 1.09

งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 32,604 94,169 99,765 164,352
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.22 0.63 0.67 1.10
**********
หลักทรัพย์ DRT
แหล่งข่าว DRT
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
วันที่/เวลา 10 ส.ค. 2552 08:49:16

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
บริษัท กระเบื้องหลังคาตราเพชร จำกัด (มหาชน)


สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน

ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 104,999 90,828 206,816 218,085
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.11 0.09 0.21 0.22
*********
หลักทรัพย์ SALEE
แหล่งข่าว SALEE
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
วันที่/เวลา 10 ส.ค. 2552 09:05:32

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท สาลี่อุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 22,448 11,382 27,279 23,382
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.09 0.05 0.11 0.10


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 36,205 11,804 39,728 24,386
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.15 0.05 0.17 0.10
**********
หลักทรัพย์ MPIC
แหล่งข่าว MPIC
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
วันที่/เวลา 10 ส.ค. 2552 08:32:12

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 977 (33,514) (5,675) (70,697)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.003 (0.093) (0.016) (0.225)


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 6,836 (22,084) 57,129 (60,945)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.019 (0.061) 0.158 (0.194)
**************
STEC ไตรมาส 2/52 กำไรสุทธิ 42.74 ลบ.

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด(มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 42,742 6,304 90,460 52,102
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.036 0.005 0.076 0.044


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 70,766 12,194 106,965 14,416
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.06 0.01 0.09 0.012
************
หลักทรัพย์ MCS
แหล่งข่าว MCS
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-2)
วันที่/เวลา 10 ส.ค. 2552 08:29:55

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2 (F45-2)
บริษัท เอ็ม.ซี.เอส.สตีล จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 110,295 92,709 246,242 180,974
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.22 0.18 0.49 0.36


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 115,486 89,439 246,861 177,916
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.23 0.18 0.49 0.36
*************
หลักทรัพย์ SAICO
แหล่งข่าว SAICO
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
วันที่/เวลา 10 ส.ค. 2552 08:29:49

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
บริษัท สยามอุตสาหกรรมการเกษตร สัปปะรดและอื่น ๆ จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 13,341 29,673 43,583 42,941
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.07 0.15 0.22 0.21
************
หลักทรัพย์ WAVE
แหล่งข่าว WAVE
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
วันที่/เวลา 10 ส.ค. 2552 08:22:00



สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท เวฟ เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (6,240) (6,513) (10,640) (1,707)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (0.18) (0.20) (0.30) (0.05)


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 4,694 (6,304) 1,002 (9,531)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.13 (0.19) 0.03 (0.29)
***********
หลักทรัพย์ Q-CON
แหล่งข่าว Q-CON
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
วันที่/เวลา 10 ส.ค. 2552 08:16:13



สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท ควอลิตี้คอนสตรัคชั่นโปรดัคส์ จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (7,376) (18,486) 12,947 (17,766)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (0.018) (0.046) 0.032 (0.044)


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (3,933) (16,305) 14,844 (17,062)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (0.01) (0.041) 0.037 (0.043)

ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อสังเกต
************
หลักทรัพย์ EPCO
แหล่งข่าว EPCO
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
วันที่/เวลา 07 ส.ค. 2552 18:13:15

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 28,719 28,750 57,833 76,883
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.06 0.06 0.12 0.15
************
SMIT ไตรมาส 2/52 กำไรสุทธิ 2.09 ลบ
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
บริษัท สหมิตรเครื่องกล จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 2,099 31,388 14,001 81,050
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.004 0.059 0.026 0.153
**********
CPF
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 3,193,867 984,786 3,964,396 1,436,033
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.48 0.14 0.59 0.20


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 2,168,316 1,152,941 2,396,885 1,212,566
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.31 0.15 0.34 0.16
*************
CEN

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท แคปปิทอล เอ็นจิเนียริ่ง เน็ตเวิร์ค จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (33,367) 121,409 (63,083) 212,166
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (0.33) 1.21 (0.63) 2.12


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 29,322 121,229 19,193 167,028
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.29 1.21 0.19 1.67
***********
Symbol BH
Source BH
Headline สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
Date/Time 07 Aug 2009 13:12:20

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 288,495 279,817 626,553 594,247
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.40 0.38 0.86 0.82


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 270,597 696,356 588,519 1,000,382
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.37 0.96 0.81 1.37
********
Symbol APX
Source APX
Headline สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
Date/Time 07 Aug 2009 09:00:42

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท เอเพ็กซ์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (25,614) (41,447) (54,442) (75,713)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (0.02) (0.04) (0.05) (0.07)


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (25,603) (41,386) (54,419) (75,652)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (0.02) (0.04) (0.05) (0.07)
***********
หลักทรัพย์ ALUCON
แหล่งข่าว ALUCON
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
วันที่/เวลา 07 ส.ค. 2552 08:48:38

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
บริษัท อลูคอน จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 132,421 125,206 268,044 230,028
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 4.60 4.35 9.31 7.99
************
STAR ไตรมาส 2/52 กำไรสุทธิ 386 ลบ.

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
บริษัท สตาร์ ซานิทารีแวร์ จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 386 116 2,351 1,185
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.003 0.001 0.017 0.006

********
JMART และบ.ย่อย Q2/52 กำไรสุทธิ 25.52 ลบ
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท เจ มาร์ท จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 25,517 29,352 45,546 57,442
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.11 0.13 0.20 0.26


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 27,056 32,393 42,940 57,240
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.12 0.14 0.19 0.25
PS และบ.ย่อย Q2/52 กำไรสุทธิ 639.38 ลบ

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 639,382 624,441 1,326,650 939,288
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.29 0.29 0.60 0.43

งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 630,433 542,677 1,193,709 803,457
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.29 0.25 0.54 0.37
*************
MSC และบ.ย่อย Q2/52 กำไรสุทธิ 11.75 ลบ.

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท เมโทรซิสเต็มส์คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 11,748 45,046 12,332 72,558
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.03 0.13 0.03 0.20


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 5,567 38,570 14,317 73,698
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.02 0.11 0.04 0.20
************
SCCC และบ.ย่อย Q2/52 กำไรสุทธิ 694.80 ลบ.

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท ปูนซีเมนต์นครหลวง จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 694,800 767,990 1,499,645 1,781,997
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 3.02 3.34 6.52 7.75


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 645,833 791,700 1,542,250 1,813,723
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 2.81 3.44 6.71 7.89
**************
IRPC และบ.ย่อย Q2/52 กำไรสุทธิ 2.42 พันลบ.
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 2,422,857 5,125,736 4,044,120 6,753,862
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.12 0.26 0.21 0.35


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 2,121,731 5,048,466 3,609,009 6,226,414
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.11 0.26 0.18 0.32
***********
Symbol FMT
Source FMT
Headline สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
Date/Time 06 Aug 2009 17:46:54

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
บริษัท ฟูรูกาวา เม็ททัล (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (71,340) 6,983 (175,034) 60,162
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (1.49) 0.15 (3.65) 1.25
********
หลักทรัพย์ HMPRO
แหล่งข่าว HMPRO
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
วันที่/เวลา 06 ส.ค. 2552 18:13:38

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท โฮม โปรดักส์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 251,874 200,038 494,932 386,850
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.13 0.10 0.26 0.20


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 250,428 197,800 493,627 382,244
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.13 0.10 0.26 0.20
************
06/08/52
Symbol LPN
Source LPN
Headline สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
Date/Time 06 Aug 2009 14:04:12

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2552
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 405,343 404,778 769,808 609,108
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.28 0.27 0.52 0.41


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 461,316 406,584 829,972 602,208
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.31 0.28 0.57 0.41
************
06/08/52
Symbol VAYU1
Source VAYU1
Headline สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
Date/Time 06 Aug 2009 08:40:58

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
กองทุนรวมวายุภักษ์ หนี่ง ประเภท ก.

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 9,002,423 (2,915,304) 9,988,461 2,031,431
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.90 (0.29) 1.00 0.20
************
06/08/52
IFEC สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่ 2 (F45-3)
บริษัท อินเตอร์ ฟาร์อีสท์ วิศวการ จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 15,237 12,437 28,007 26,215
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.04 0.03 0.07 0.06


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 15,237 4,623 28,036 19,100
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.04 0.01 0.07 0.05
***********
05/08/52
หลักทรัพย์ SCG
แหล่งข่าว SCG
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
วันที่/เวลา 05 ส.ค. 2552 13:33:05

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท สหโคเจน (ชลบุรี) จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 45,817 77,809 113,341 144,748
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.05 0.08 0.12 0.15


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 50,098 83,794 122,341 154,441
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.05 0.09 0.13 0.16

ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อสังเกต
*************
05/08/52
Symbol PERM
Source PERM
Headline สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
Date/Time 05 Aug 2009 09:11:30

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท เพิ่มสินสตีลเวิคส์ จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (19,860) 43,464 (92,346) 63,732
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (0.04) 0.087 (0.185) 0.127


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (20,100) 43,603 (92,645) 63,717
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (0.04) 0.087 (0.185) 0.127

ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อสังเกต
*********
05/08/52
KWH และบ.ย่อย Q2/52 กำไรสุทธิ 17.06 ลบ.

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัทวิค แอนด์ ฮุคลันด์ จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 17,055 3,394 (3,757) 32,952
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.06 0.01 (0.01) 0.11


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 14,795 4,625 (4,057) 35,416
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.05 0.02 (0.01) 0.12
************
05/08/52
QHPF ไตรมาส 2/52 กำไรสุทธิ 150.49 ลบ.

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ควอลิตี้ เฮ้าส์

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 150,492 150,597 303,627 299,407
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.19 0.19 0.38 0.38
************
05/08/52
หลักทรัพย์ THRE
แหล่งข่าว THRE
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
วันที่/เวลา 04 ส.ค. 2552 17:51:16



สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท ไทยรับประกันภัยต่อ จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 103,536 91,672 235,985 228,598
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.087 0.077 0.199 0.193


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 182,557 137,589 298,683 257,843
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.154 0.116 0.252 0.217

ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อสังเกต
********
04/08/52
CCET :สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)

--SET
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 459,773 621,644 563,270 1,238,563
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.12 0.16 0.14 0.32


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 325,624 524,191 841,042 1,261,025
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.08 0.13 0.21 0.32

*********
04/08/52
หลักทรัพย์ GL
แหล่งข่าว GL
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
วันที่/เวลา 03 ส.ค. 2552 17:49:43

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
บริษัท กรุ๊ปลีส จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 44,359 38,355 67,627 89,274
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.82 0.74 1.25 1.71
**********
04/08/52
หลักทรัพย์ TEAM
แหล่งข่าว TEAM
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
วันที่/เวลา 03 ส.ค. 2552 13:20:32

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท ทีมพรีซิชั่น จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 15,361 12,005 18,293 22,370
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.027 0.021 0.032 0.04


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 15,162 10,469 15,682 20,555
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.027 0.018 0.028 0.036
***********
04/08/52
STANLY ไตรมาส 1/52 กำไรสุทธิ 92.45 ลบ.

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่1(F45-2)
บริษัท ไทยสแตนเลย์การไฟฟ้า จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินที่แสดงเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย
ไตรมาสที่ 1
ปี 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 92,447 392,769
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 1.21 5.13


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 1
ปี 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 110,843 397,558
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 1.45 5.19
**********
04/08/52
หลักทรัพย์ SNC
แหล่งข่าว SNC
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
วันที่/เวลา 03 ส.ค. 2552 08:30:08

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท เอส เอ็น ซี ฟอร์เมอร์ จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 37,398 35,922 71,690 102,147
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.13 0.12 0.25 0.34


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 48,922 39,005 75,885 86,644
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.17 0.13 0.26 0.29

**************
31/07/52
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท พรีเชียส ชิพปิ้ง จำกัด (มหาชน) psl

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,084,218 1,238,677 1,927,306 2,248,625
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 1.04 1.19 1.85 2.16


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,264,409 1,045,121 2,371,177 2,082,551
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 1.22 1.00 2.28 2.00
**********
31/07/52
BLS : สรุปผลการดำเนินงานของบจ.งวดครึ่งปี (F45-1) ก่อนตรวจสอบ
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.งวดครึ่งปี (F45-1)
บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน)

ก่อนตรวจสอบ
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 65,922 35,230 66,569 89,180
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.37 0.20 0.37 0.50

**********
หลักทรัพย์ SSI
แหล่งข่าว SSI
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่ 2(F45-3
วันที่/เวลา 30 ก.ค. 2552 13:19:26

การดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน)

ก่อนสอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 683,816 767,226 (1,191,229) 1,690,342
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.05 0.06 (0.09) 0.13

งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 775,994 744,430 (802,299) 1,653,645
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.06 0.06 (0.06) 0.13

***********
29/07/52
SCC : สรุปผลการดำเนินงานของไตรมาสที่ 2/2552 (F45-3) (ก่อนสอบทาน)
การดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2 (F45-3)
บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน)

ก่อนสอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 6,837,066 7,195,044 12,025,031 14,310,840
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 5.70 6.00 10.02 11.93


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 6,635,168 7,485,556 8,934,623 10,171,289
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 5.53 6.24 7.45 8.48
*************
29/07/52
TGCI : สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
บริษัท ไทย-เยอรมัน เซรามิค อินดัสทรี่ จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 12,626 19,359 (87,009) (168,396)
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.01 0.02 (0.09) (0.18)
**********
29/07/52
RATCH : สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่ 2(F45-3
การดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)-ก่อนสอบทาน
บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน)

ก่อนสอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 2,056,577 1,265,712 3,899,858 2,969,558
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 1.42 0.87 2.69 2.05
งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,708,963 1,360,629 3,018,314 2,233,786
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 1.18 0.94 2.08 1.54
*************
29/07/52
DCC : สรุปผลการดำเนินงานบจ.และรวมบ.ย่อยQ2/2552(F45-3)(ก่อนสอบทาน)
การดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท ไดนาสตี้เซรามิค จำกัด (มหาชน)

ก่อนสอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 235,630 166,186 524,405 385,025
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.58 0.41 1.29 0.94


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 163,525 149,251 360,954 319,509
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.40 0.37 0.88 0.78
************
29/07/52
หลักทรัพย์ PTL
แหล่งข่าว PTL
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่1(F45-3)
วันที่/เวลา 28 ก.ค. 2552 18:45:26


สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่1(F45-3)
บริษัท โพลีเพล็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 1
ปี 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 231,078 194,760
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.29 0.24


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 1
ปี 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 105,418 116,478
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.13 0.15

***********
29/07/52
หลักทรัพย์ PSL
แหล่งข่าว PSL
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
วันที่/เวลา 28 ก.ค. 2552 18:32:28



สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท พรีเชียส ชิพปิ้ง จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,084,218 1,238,677 1,927,306 2,248,625
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 1.04 1.19 1.85 2.16


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,264,409 1,045,121 2,371,177 2,082,551
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 1.22 1.00 2.28 2.00

**************
27/07/52
หลักทรัพย์ PHATRA
แหล่งข่าว PHATRA
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)-ก่อนตรวจสอบ
วันที่/เวลา 27 ก.ค. 2552 17:51:13

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)-ก่อนตรวจสอบ
บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน)

ก่อนตรวจสอบ
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 94,956 166,889 130,614 296,876
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.44 0.78 0.61 1.39
stock in focus,phatra q2/52
*********
24/07/52
สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท ไทยบริติช ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 19,489 21,987 39,459 41,728
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 1.77 2.00 3.59 3.79


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 20,000 22,216 39,525 42,046
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 1.81 2.02 3.59 3.82
stock in focus, ผลการดำเนินงานไตรมาส2 บริษัท ไทยบริติช ซีเคียวริตี้ พริ้นติ้ง จำกัด (มหาชน)

**********
23/07/52
DTAC และบ.ย่อย Q2/52 กำไรสุทธิ 1.30 พันลบ.

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,369,367 3,905,494 2,848,898 6,251,692
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.58 1.65 1.20 2.64


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,300,549 3,820,020 2,737,140 6,083,448
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.55 1.61 1.16 2.57
stock in focus

*****************
22/07/52
SCB : สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยงวดครึ่งปี(F45-3)


สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยงวดครึ่งปี(F45-3)
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

ก่อนตรวจสอบ
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไรสุทธิ 5,234,293 5,818,404 10,781,403 12,605,687
กำไรสุทธิต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน(บาท)(หมายเหตุ1) 1.40 1.48 3.62 5.06
กำไรสุทธิต่อหุ้นปรับลด(บาท)(หมายเหตุ2) 1.40 1.48 3.17 3.71

งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไรสุทธิ 5,108,287 6,151,684 10,415,277 12,744,113
กำไรสุทธิต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน(บาท)(หมายเหตุ1) 1.35 1.66 3.47 5.13
กำไรสุทธิต่อหุ้นปรับลด(บาท)(หมายเหตุ2) 1.35 1.66 3.06 3.75
***********
22/07/52
BAY : สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยสำหรับไตรมาส 2
การดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยสำหรับไตรมาส 2 (F45-3)
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)

ก่อนสอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,752,039 2,002,413 2,779,808 3,032,888
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.29 0.35 0.46 0.53


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 568,043 1,184,881 928,789 1,767,231
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.09 0.21 0.15 0.31
***********
22/07/52
หลักทรัพย์ SICCO
แหล่งข่าว SICCO
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.,บ.ย่อยไตรมาสที่ 2(F45-3)ก่อนตรวจสอบ
วันที่/เวลา 21 ก.ค. 2552 17:27:02

การดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัทเงินทุน สินอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน)

ก่อนสอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (46,226) 67,786 (18,739) 129,778
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (0.08) 0.11 (0.03) 0.22


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (59,615) 51,982 (16,157) 94,251
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (0.10) 0.09 (0.03) 0.16
stock in focus
************

20/07/52
Symbol BFIT
Source BFIT
Headline สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่ 2(F45-3
Date/Time 20 Jul 2009 13:42:55

การดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัทเงินทุน กรุงเทพธนาทร จำกัด (มหาชน)

ก่อนสอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (16,263) 51,086 (24,429) 87,170
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (0.08) 0.26 (0.12) 0.44


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ (32,229) 33,994 5,451 75,775
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) (0.16) 0.17 0.03 0.38


stock in focus
************
20/07/52
Symbol BBL
Source BBL
Headline สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาส 2 (F45-3)
Date/Time 20 Jul 2009 17:23:13





การดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่ 2 (F45-3)
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)

ก่อนตรวจสอบ
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 4,859,341 5,033,483 9,727,969 10,659,470
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 2.55 2.64 5.10 5.58


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 4,830,231 5,042,792 9,584,050 10,645,521
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 2.53 2.64 5.02 5.58


stock in focus
***********
20/07/52
หลักทรัพย์ TCAP
แหล่งข่าว TCAP
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่ 2(F45-3
วันที่/เวลา 20 ก.ค. 2552 17:45:15

การดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน)

ก่อนตรวจสอบ
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 743,797 761,132 2,934,236 1,776,709
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.59 0.57 2.29 1.33


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 864,407 724,589 3,126,202 996,231
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.68 0.54 2.44 0.75

stock in focus
***********
20/07/52
หลักทรัพย์ KTB
แหล่งข่าว KTB
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
วันที่/เวลา 20 ก.ค. 2552 17:45:26

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)

ก่อนตรวจสอบ
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 2,325,005 2,034,218 4,710,177 6,173,892
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.21 0.18 0.42 0.55

ประเภทของความเห็นของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน :


stock in focus
************
20/07/52
TMB : สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่ 2(F45-3
การดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย

ก่อนตรวจสอบ
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 393,060 1,158,079 829,238 2,748,183
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.01 0.03 0.02 0.07


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 520,136 1,181,772 996,499 2,665,314
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.01 0.03 0.02 0.06
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=38606
stock in focus
*************
20/07/52
KK และบ.ย่อย Q2/52 กำไรสุทธิ 188.39 ลบ.

การดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)

ก่อนตรวจสอบ
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 607,552 250,531 986,395 857,846
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 1.16 0.48 1.89 1.64

งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 188,386 99,900 418,638 422,441
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.36 0.19 0.80 0.81
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=38606
stock in focus

**********
17/07/52
SCIB และบ.ย่อย ไตรมาส 2/52 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้นเป็น 1.22 พันลบ.

ธนาคารนครหลวงไทย จำกัด (มหาชน) แจ้งผลประกอบการ(รวมบริษัทย่อย)

งวดไตรมาส 2 สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2552 สรุปได้ดั้งนี้

ก่อนสอบทาน/ก่อนตรวจสอบ
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน (หน่วย : พันบาท)

ไตรมาส 2 งวด 6 เดือน

ปี 2552 2551 2552 2551
กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,218,869 822,878 1,869,928 2,156,904
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.58 0.39 0.89 1.02
stock in focus

**********
หลักทรัพย์ TISCO
แหล่งข่าว TISCO
หัวข้อข่าว สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
วันที่/เวลา 13 ก.ค. 2552 09:12:53

สรุปผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนและ
ผลการดำเนินงานรวมของบริษัทจดทะเบียนและบริษัทย่อย
บริษัท ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

ก่อนสอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 502,147 501,284 956,116 930,372
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาท)0.63 0.63 1.19 1.15
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้นปรับลด (บาท) 0.63 0.62 1.19 1.15

งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 1,444,031 - 1,596,171 -
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาท)1.93 - 2.08 -
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้นปรับลด (บาท) 1.93 - 2.08 -

หมายเหตุ : 1. โปรดดูรายละเอียดงบการเงินจากระบบบริการข้อมูลตลาดหลักทรัพย์


"ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ"
*****************

bfit
การดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่ 2 (F45-3)
บริษัทหลักทรัพย์ บีฟิท จำกัด (มหาชน)

ก่อนตรวจสอบ
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 32,626 34,438 5,965 89,767
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.04 0.043 0.007 0.112


งบการเงินเฉพาะกิจการ
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 33,150 34,720 6,720 90,255
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท)0.041 0.043 0.008 0.112
***********

บริษัทหลักทรัพย์ พัฒนสิน จำกัด (มหาชน)

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม
ไตรมาสที่ 3 งวด 9 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 16,849 42,514 27,451 114,393
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 0.24 0.59 0.38 1.60
****************

ABFTH

สรุปผลการดำเนินงานของบจ.ไตรมาสที่2(F45-1)
กองทุนเปิดดัชนีพันธบัตรไทยเอบีเอฟ

สอบทาน
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 31 พฤษภาคม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 20,307 (153,518) 131,364 86,847
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท) 4.1386 (30.979) 25.285 17.6398

ประเภทรายงานของผู้สอบบัญชีในงบการเงิน
ไม่มีเงื่อนไขและไม่มีข้อสังเกต
************

KBANK : สรุปผลการดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่ 2(F45-3
การดำเนินงานของบจ.และรวมของบริษัทย่อยไตรมาสที่2(F45-3)
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)

ก่อนตรวจสอบ
(หน่วย : พันบาท)
สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน
งบการเงินรวม
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 3,704,536 4,270,068 7,504,296 8,708,005
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท1.55 1.78 3.14 3.64


งบการเงินเฉพาะธนาคาร
ไตรมาสที่ 2 งวด 6 เดือน
ปี 2552 2551 2552 2551

กำไร (ขาดทุน) สุทธิ 3,625,733 4,062,089 7,508,673 8,299,940
กำไร (ขาดทุน) สุทธิต่อหุ้น (บาท)1.51 1.70 3.14 3.47

หมายเหตุ : 1. โปรดดูรายละเอียดงบการเงินจากระบบบริการข้อมูลตลาดหลักทรัพย์

ข้าพเจ้าขอรับรองว่าข้อมูลที่รายงานข้างต้นนี้ถูกต้องทุกประการ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=38606
************
stock in focus