วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข่าวเศรษฐกิจมหภาค

22/09/52
*ADB คาดเศรษฐกิจไทย-มาเลเซีย-สิงคโปร์หดตัวลงปีนี้ Source - IQ Biz (Th) Tuesday, September 22, 2009 10:32 20407 XTHAI XECON XFINMKT XBANK XINTER HOTN V%WIREL P%IQ อินโฟเควสท์ (22 ก.ย. 52)--ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) คาดว่า เศรษฐกิจไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์จะหดตัวลงในปีนี้ และฉุดการขยายตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคลงเหลือ 0.1% ในปีนี้ ขณะเดียวกันคาดว่าเศรษฐกิจของประเทศในเอเชียตะวันออกอย่างไต้หวันและฮ่องกงจะหดตัวลงเช่นกัน เอดีบีระบุว่า สถานการณ์การล้มละลายของสถาบันการเงินรายใหญ่ของโลกรวมถึงเลห์แมน บราเธอร์ส โฮลดิ้งส์ ตลอดจนการลดมูลค่าสินทรัพย์และการขาดทุนประมาณ 1.6 ล้านล้านดอลลาร์นับตั้งแต่ต้นปี 2550 แต่ระบบการธนาคารของเอเชียก็ไม่ได้ล้มลงหรือตกอยู่ภายใต้กระแสความตึงเครียดของวิกฤตความเชื่อมั่น และตอนนี้ก็มีสัญญาณการปล่อยกู้ที่กำลังฟื้นตัวขึ้นแล้ว เอดีบีระบุว่า การฟื้นตัวของเอเชียจะขึ้นอยู่กับการกลับมาขยายตัวของเศรษฐกิจในยุโรปและสหรัฐ เนื่องจากปัจจัยดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศที่พุ่งพาการส่งออก ขณะที่นายเบน เบอร์นานเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐกล่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า ภาวะถดถอยในสหรัฐอาจจะสิ้นสุดลงแล้ว บลูมเบิร์กรายงาน
***************
18/09/52
ข่าวดี!ยอดคนว่างงานลดลง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาด มีคนว่างงานปีนี้ 640,000- 680,000 คน หลังตัวเลขผู้มีงานทำ ก.ค. ขยายตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ระบุว่า จากรายงานผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากรโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ล่าสุดตัวเลขผู้มีงานทำในเดือน ก.ค. 2552 เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยขยายตัวเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน และเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนตัวเลขผู้มีงานยังขยายตัวร้อยละ 1.5 ในเดือน ก.ค. แต่ชะลอลงเมื่อเทียบกับที่ขยายตัวร้อยละ 2.7 ในเดือน มิ.ย.
ขณะที่อัตราการว่างงานก็ขยับลงมาอยู่ที่ร้อยละ 1.2 เมื่อเทียบกับร้อยละ 1.7 และร้อยละ 1.4 ในเดือน พ.ค.และ มิ.ย. 2552 โดยลดลงติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ทำให้หลายฝ่ายมองว่าปัญหาการว่างงานของไทยน่าจะถึงจุดต่ำสุดไปแล้ว สำหรับภาวะการว่างงานที่ดีขึ้น น่าจะเป็นผลมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ตลอดจนมาตรการของภาครัฐที่มีส่วนช่วยชะลอการเลิกจ้างและลดการว่างงาน แม้ว่าสถานการณ์ตลาดแรงงานในเดือนกรกฎาคมจะปรับตัวดีขึ้น แต่ยังมีข้อสังเกตที่น่าสนใจ คือ สถานการณ์ตลาดแรงงานไทยที่ดีขึ้นอาจยังไม่ทั่วถึงในวงกว้าง แม้การจ้างงานในภาคการผลิตจะพลิกกลับมาขยายตัวได้เป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน แต่ยังมีหลายสาขาย่อยที่สำคัญในอุตสาหกรรมการผลิตที่ยังไม่ฟื้นตัว ส่งผลให้ภาพรวมการจ้างงานของภาคการผลิตในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ยังหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่การจ้างงานที่เพิ่มขึ้น และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของแรงงานที่เริ่มหดตัวในอัตราที่ชะลอลงมาจากการทำงานต่ำระดับที่เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ จำนวนผู้ขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานในระบบประกันสังคมยังทรงตัวอยู่ในระดับสูง

ส่วนช่วงที่เหลือของปีนี้ คาดว่าตลาดแรงงานของไทยน่าจะได้รับแรงหนุนต่อเนื่องจากแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ซึ่งจะเป็นปัจจัยบวกต่อภาคการผลิตและการส่งออกของไทย ส่งผลต่อเนื่องให้การจ้างงานเต็มเวลามีสัดส่วนเพิ่มขึ้นและการว่างงานลดลงต่อเนื่อง แต่ความท้าทายหรือปัจจัยเสี่ยงทางเศรษฐกิจไม่ว่าจะเป็นเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และราคาน้ำมันที่มี แนวโน้มปรับตัวขึ้น หรือแม้กระทั่งความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกย่อมจะมีผลกระทบไม่ทางตรงก็ทางอ้อมต่อตลาดแรงงานไทยเช่นกัน โดยเฉพาะหากปัจจัยเสี่ยงเหล่านั้นทวีความรุนแรงจนนำมาสู่ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจไทยอาจจะกลับมาชะลอตัวลงจากไตรมาสก่อนหน้าอีกครั้งหมายถึงโอกาสที่การฟื้นตัวของการจ้างงานในประเทศอาจขาดความต่อเนื่องได้เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์แรงงานโดยรวมในเดือน ก.ค.ปรับตัวดีขึ้นจริง โดยเฉพาะตัวเลขการว่างงานที่ดูดีขึ้นมากกว่าคาด ทำให้มีความเป็นไปได้ว่าการว่างงานในรอบนี้อาจใช้ระยะเวลาในการฟื้นตัวเร็วกว่าในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 ที่กว่าอัตราการว่างงานจะกลับเข้าสู่ระดับก่อนวิกฤติครั้งนั้นต้องใช้เวลานานถึงเกือบหนึ่งทศวรรษ โดยประเมินว่าอัตราการว่างงานเฉลี่ยในปี 2552 น่าจะอยู่ในกรอบร้อยละ 1.6-1.8 จากเดิมคาดว่าจะมีอัตราการว่างงานเฉลี่ยร้อยละ 2.1-2.5 ซึ่งดีขึ้นหรือเท่ากับอัตราการว่างงานเฉลี่ยที่ร้อยละ 1.8 ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ แต่ยังคงสูงกว่าร้อยละ 1.4 ในปี 2551 โดยจำนวนผู้ว่างงานปี 2552 คาดว่าจะอยู่ในช่วง 640,000-680,000 คน จากในปี 2551 ที่มีผู้ว่างงานอยู่ที่ 520,000 คน
posttoday***********
17/09/52

INSTANT VIEW:ความเห็นนักวิเคราะห์ต่อตัวเลขส่งออก ส.ค.ที่ลดลง 18.4%
กรุงเทพฯ--17 ก.ย.--รอยเตอร์
กระทรวงพาณิชย์ เผยตัวเลขการส่งออก เดือน ส.ค.52 มีมูลค่าสูงสุดใน ปีนี้ ที่ 13,281 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 18.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่การ นำเข้า มีมูลค่า 11,201 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 32.8% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้ไทยเกินดุลการค้า 2.08 พันล้านเหรียญสหรัฐ ตัวเลขการส่งออกเดือนส.ค.ดังกล่าว ติดลบมากกว่าที่นักวิเคราะห์ที่สำรวจ โดยรอยเตอร์ คาดว่าจะติดลบ 16.0% ขณะที่ในช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ มีมูลค่าส่งออก 94,396 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 23.1% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 80,619 ล้านเหรียญ สหรัฐ ลดลง 34.6% จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยมียอดเกินดุลการค้าราว 1.38 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ กระทรวงพาณิชย์เคยคาดไว้ว่า การส่งออกของไทยจะลดลง 10% ในปีนี้ เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งดีกว่าก่อนหน้านี้ที่คาดว่าจะลดลง 15-19% หลังเศรษฐกิจโลก ฟื้นตัวขึ้น ปีที่แล้วไทยมีมูลค่าส่งออกขยายตัว 15.6% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.78 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่การนำเข้าขยายตัว 27.6% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.79 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้มียอดขาดดุลการค้าราว 812 ล้านเหรียญสหรัฐ ความเห็นของนักวิเคราะห์ต่อตัวเลขส่งออกเดือนส.ค. เป็นดังนี้:- นางสาวถนอมศรี ฟองอรุณรุ่ง นักเศรษฐศาสตร์ บล.ภัทร "(การส่งออกเดือนส.ค.) อยู่ใน uptrend ฟื้นตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง ถือ ว่าโอเค แต่การนำเข้ายังไม่ฟื้นตัวเท่าไหร่เลย ก็สะท้อนว่าดีมานด์ข้างใน ยังไม่ได้ strong มากนัก แต่อย่างน้อยการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก มันก็เริ่มทำให้การส่งออก เราดีขึ้นบ้าง" "คิดว่าเป็น positive news แต่แบงก์ชาติก็ต้องเหนื่อยหน่อยในการ เข้าไปยันค่าเงินบาทไว้" นายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย "ตัวเลขส่งออกในเดือนสิงหาฯ โดยรวมก็ดูดีขึ้นจากเดือนกรกฎาฯ สัญญาณ การฟื้นตัวที่เราเห็น ก็แสดงให้เห็นว่า เศรษฐกิจกำลังเริ่มมีเสถียรภาพ" "แนวโน้ม(การส่งออก) กำลังฟื้นตัวขึ้น จากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและคำสั่งซื้อ ที่กลับเข้ามา ถ้าเศรษฐกิจยังเป็นไปในทิศทางนี้ เราอาจจะได้เห็นจีดีพีกลับมาเป็นบวก เหมือนอย่างที่รัฐบาลคาดไว้ได้" "เป็นไปได้ว่า เราอาจจะได้เห็นการส่งออกกลับมาบวกในเดือนพฤศจิกาฯ นี้ด้วย" -ผลกระทบต่อตลาดหุ้น-เงินบาท *หุ้นไทยเพิ่มขึ้น 0.86% มาที่ 716.58 เมื่อ 14.28 น. หลังกระทรวง พาณิชย์แถลงตัวเลขส่งออก *บาท/ดอลลาร์ ล่าสุดอยู่ที่ 33.66/70 จาก 33.68/73 ช่วงเช้า -ข้อมูล/ความเห็นเศรษฐกิจไทยก่อนหน้านั้น *นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าว เมื่อวันอังคารว่า แม้เศรษฐกิจไทยได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดแล้ว แต่การฟื้นตัว ยังคงเปราะบาง *นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการธปท.กล่าวกับรอยเตอร์เมื่อต้นเดือนนี้ ว่า เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวยั่งยืนหรือไม่ ต้องทำให้การส่งออกเพิ่มมากขึ้น ขณะที่ การลงทุนของภาครัฐเพียงอย่างเดียว ไม่เพียงพอจะดึงเศรษฐกิจ ให้ฟื้นตัวในระยะยาว *เมื่อเดือนที่แล้ว คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตรา ดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร(อาร์/พี) ระยะ 1 วัน หรือดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% ซึ่งเป็นการคงดอกเบี้ยครั้งที่ 3 ติดต่อกัน ตามที่นักวิเคราะห์คาด *กนง.ระบุว่า ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจจะไม่ฟื้นตัวมีน้อยลง แต่พร้อมจะปรับ ดอกเบี้ยนโยบาย"ทั้งสองข้าง" ให้เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ
cgs
************
17/09/52
ส่งออกไทย ส.ค.-18.4%
พาณิชย์เผยส่งออกไทยส.ค.ไทย-18.4% นำเข้าหดตัว32.8%เกินดุล2พัน$

วันนี้ (17กันยายน) นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกในเดือน ส.ค.52 มีมูลค่า 13,281 ล้านดอลลาร์ ลดลง 18.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 11,201 ล้านดอลลาร์ ลดลง 32.8% ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้า 2,080 ล้านดอลลาร์

สำหรับช่วง 8 เดือนแรกปีนี้(ม.ค.-ส.ค.52) มียอดการส่งออก 94,396 ล้านดอลลาร์ ลดลง 23.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 80,619 ล้านดอลลาร์ หดตัว 34.6% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้ช่วงครึ่งปีแรกไทยเกินดุลการค้า 1.4 หมื่นล้านดอลลาร์

นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กรณีเงินบาทมีการแข็งค่านั้นมีผลกระทบต่อการส่งออกอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามกระทรวงการคลังก็ได้มีการติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะพยายามกำกับดูแลเพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งค่ามากเกินไปและอยูในภาวะที่เหมาะสม
posttoday
***********
15/09/52
ผู้ว่า ธปท. ยืนยันดอกเบี้ยยังไม่ขึ้น

Posted on Tuesday, September 15, 2009
นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย บอกว่า เศรษฐกิจไทยขณะนี้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่ก็ยังมีจุดเปราะบาง โดยเฉพาะปัจจัยการเมืองที่ยังต้องระวัง นอกเหนือจากปัจจัยต่างประเทศที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจับตาอยู่ โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐ และยุโรปที่ยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย คงยังไม่เห็นการปรับขึ้นในระยะสั้น ๆ นี้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังไม่สูงขึ้น

สำหรับความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท นางธาริษา บอกว่า การที่เงินบาทแข็งค่าในขณะนี้เกิดจากการที่ไทยเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นหลัก แต่ถ้าเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านยังเกาะกลุ่มกันอยู่ และหากการใช้จ่ายภาครัฐทำได้ตามเป้าที่ตั้งไว้ ก็จะช่วยให้การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดน้อยลง ซึ่งแบงก์ชาติจะดูแลตามปกติ เพื่อไม่ให้เกิดความผันผวนและจากการติดตามการเคลื่อนย้ายเงินทุนพบว่ามีเงินไหลเข้า-ออกเป็นปกติ ไม่พบการเก็งกำไร

นางธาริษาบอกด้วยว่า หลังจากครบรอบ 1 ปีการล้มละลายของ เลห์แมนบราเธอร์ส ทำให้ธนาคารกลางของแต่ละประเทศกำกับดูแลสถาบันการเงินเข้มข้นมากขึ้น โดยให้สถาบันการเงินช่วยกันกำกับดูแลกันเอง รวมถึงระมัดระวังในการปล่อนสินเชื่อมากขึ้น จากเดิมที่เป็นหน้าที่ของธนาคารกลางเพียงฝ่ายเดียว ทั้งนี้ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา จะต้องให้ความสำคัญกับการเกิดอัตราเงินเฟ้อ และภาวะฟองสบู่ควบคู่กัน ไป เพื่อให้นโยบายการเงินสามารถดูแลระบบสถาบันการเงินได้อย่างคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ

นายนิพนธ์ พัวพงศกร ประธานสถาบันการวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ยอมรับว่า มีความกังวลเกี่ยวกับพฤติกรรมของสถาบันการเงินในตลาดโลกที่ต้องการขยายกิจการให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น เพราะเมื่อเกิดปัญหาในอนาคต รัฐบาลแต่ละประเทศจะต้องเข้ามาช่วยเหลือ ซึ่งแนวทางดังกล่าวอาจส่งผลอันตรายต่อเศรษฐกิจโลก เพราะสถาบันการเงินต่างละหลวมในการปล่อยกู้ และอาจนำมาสู่วิกฤตเศรษฐกิจได้อีกครั้งในอนาคต

นายนิพนธ์บอกด้วยว่า ในส่วนของประเทศไทย รัฐบาลควรเร่งเดินหน้า โครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาล เพื่อเพิ่มการจ้างงานในอนาคต และทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน

**************
15/09/52
ส่งออกอียูขยับ 10% รับกระแสบอลโลก จี้รัฐลงทุนต่อเนื่อง
ตลาดอียูปี'53 โต 10% รับกระแสฟุตบอลโลก สิ่งแวดล้อม ผู้สูงอายุ ด้านตลาดตะวันออกกลางโตไม่น้อยกว่า 5% ชี้ภาครัฐหนุนลงทุนต่อเนื่อง โดยเฉพาะอุตฯก่อสร้างทำเงินสะพัด ส่งผลให้มีกำลังซื้อกลับคืนหนุนลงทุนสปา-บริการด้านสุขภาพ
************
14/09/52
คาดรัฐเก็บรายได้ปีงบประมาณ 52 พลาดเป้าแค่ 2 แสนล้านบาท

Posted on Monday, September 14, 2009
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ โฆษกกระทรวงการคลัง บอกว่า ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้ทั้งสิ้น 199,397 ล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 20,423 ล้านบาท หรือ เพิ่มขึ้น 11.4% แต่ต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 48,504 ล้านบาท หรือ 19.2% โดยกรมสรรพากรและกรมศุลกากรจัดเก็บภาษีได้ต่ำกว่าเป้า

ส่วนกรมสรรพสามิตจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าเป้า เนื่องจากปีนี้ มีการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน ส่งผลให้ 11 เดือนของปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1.32 ล้านล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 95,860 ล้านบาท หรือ 6.8% และต่ำกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 205, 000 ล้านบาท หรือ 13.4% ซึ่งทั้ง 3 กรมภาษีจัดเก็บได้ต่ำกว่าเป้าตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ รวมถึงการนำส่งรายได้เข้าคลังของรัฐวิสาหกิจก็ต่ำกว่าเป้าด้วย

โฆษกกระทรวงการคลัง บอกด้วยว่า จากการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น จึงคาดว่าการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลตลอดปีงบ 2552 จะต่ำกว่าเป้าเพียง 206,000 ล้านบาท ดีขึ้นจากเดิมที่คาดว่าจะจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณ 280,000 ล้านบาท


***********
14/09/52
BOI อนุมัติส่งเสริมการลงทุน 4 โครงการใหญ่ รวม 1.5 หมื่นลบ.

Posted on Monday, September 14, 2009
นางอรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล เลขาธิการสำนักคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ประชุมคณะกรรมการ BOI ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้พิจารณาอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนจำนวน 4 โครงการ มูลค่าการลงทุนกว่า 15,601 หมื่นล้านบาท ประกอบด้วย

บมจ.การบินไทย ขอขยายกิจการขนส่งทางอากาศ มูลค่าการลงทุนกว่า 8,142 ล้านบาท โดยเป็นการเช่าเครื่องบินแบบแอร์บัส A 330-343 จำนวน 2 ลำ จากประเทศฝรั่งเศส เพื่อนำมาใช้บริการทดแทนเครื่องบินรุ่นเดิมที่จะปลดระวาง

บมจ.สหวิริยาเพลทมิล ขอขยายกิจการผลิตเหล็กแผ่นหนา กำลังการผลิตปีละ 1,152,000 ตัน มูลค่าลงทุน 2,800 ล้านบาท, บริษัท แคททาเลอร์ (ประเทศไทย) ขออนุมัติขยายกิจการผลิตไส้กรองไอเสียสำหรับยานพาหนะ กำลังการผลิตปีละ 4,700,000 ชิ้น มูลค่าการลงทุน 950 ล้านบาท เป็นโครงการผลิตไส้กรองไอเสียรองรับรถยนต์รุ่นใหม่ให้กับกลุ่มบริษัท โตโยต้า มอเตอร์

และ บริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด ขอขยายกิจการผลิตเตาไมโครเวฟ เครื่องล้างจาน เครื่องซักผ้า ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ มูลค่าการลงทุน 3,709 ล้านบาท

นอกจากนี้ ที่ประชุมฯ ยังมีมติเห็นชอบการตั้งคณะทำงาน เพื่อพิจารณาแนวทางการกระตุ้นให้ผู้ประกอบการจัดตั้งสำนักงานปฏิบัติการในภูมิภาคเพิ่มขึ้น เพื่อรองรับแนวทางการส่งเสริมให้ไทย เป็นศูนย์กลางทางการเป็นสำนักงานในภูมิภาค หรือ ROS โดยคณะทำงานชุดนี้ สามารถพิจารณาแก้ไขกฎระเบียบการให้สิทธิประโยชน์ และเพิ่มสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอาการและสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีนิติบุคคลเพื่อเพิ่มจูงใจการลงทุนมากขึ้นด้วย

นางอรรชกา บอกด้วยว่า ที่ประชุมบอร์ด BOI วันนี้ยังพิจารณาเพิ่มประเภทกิจการส่งเสริมการลงทุนใหม่อีก 4 ประเภท ได้แก่ กิจการผลิตวัสดุนาโนหรือการผลิตผลิตภัณฑ์จากวัสดุนาโนที่ผลิตขึ้นเอง, กิจการผลิตเครื่องดนตรี, กิจการผลิตบ้านสำเร็จรูป และกิจการเขตอุตสาหกรรมบริการ และเพิ่มประเภทกิจการที่ต้องการส่งเสริมลงทุนเพิ่มเติม คือ กลุ่มที่ช่วยพัฒนาเทคโนโลยี ท่องเที่ยว กิจการสนับสนุนด้านสุขอนามัย

ทั้งนี้สำหรับยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ มีจำนวน 693 ราย มูลค่าลงทุน 246,100 ล้านบาท ลดลง 13% ส่วนยอดอนุมัติส่งเสริมการลงทุนในช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ มีทั้งสิ้น 591 ราย คิดเป็นเงินลงทุน 126,600 ล้านบาท

**************
14/09/52
ECONOMICS: ประเด็นสำคัญหลังการเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

รัฐมนตรีฯ คลังแสดงความเชื่อมั่นในโครงการ SP2
จากการเข้าร่วมประชุมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (กรณ์ จาติกวณิช) ในวันศุกร์ที่ผ่านมา (11 ก.ย. 52) ทางรัฐมนตรีฯ ได้แสดงความเชื่อมั่นอย่างมากต่อโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่สอง (SP2) ในการผลักดันแผนการลงทุน และความเชื่อมั่นของภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจ โดยทางรัฐมนตรีฯ คาดว่าในเบื้องต้นจะมีการอนุมัติเบิกจ่ายเงินจำนวน 200 พันล้านบาท เพื่อใช้ในปี 53 ในขณะที่วงเงินจำนวน 30 พันล้านบาทจะถูกเบิกจ่ายภายในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้
รายละเอียดของโครงการค่อนข้างมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
งบประมาณจำนวน 700 พันล้านบาท (เป็นอย่างน้อย) ตามแผนการกู้ยืมเงินเป็นกรณีพิเศษวงเงิน 800 พันล้านบาท จะถูกนำมาใช้ในโครงการ SP2 ในขณะที่เงินจำนวนส่วนที่เหลือจะถูกนำมาใช้ทดแทนรายได้ของรัฐบาลที่ลดลงเพื่อเสริมฐานะทางการคลัง โดยเงินจำนวน 700 พันล้านบาทดังกล่าว รวมกับเงินจำนวน 239 พันล้านบาท จากเงินสมทบของรัฐวิสาหกิจ จะถูกนำมาใช้ในโครงการระยะแรก (Type I) สำหรับโครงการระยะสองและสาม (Type II & Type III) จะใช้งบประมาณหลักจากการกู้เงินผ่านพ.ร.บ. หนี้สาธารณะ (พ.ศ. 2548) อนึ่ง งบประมาณจำนวน 200 พันล้านบาท (จากพ.ร.ก. ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552) ได้รับการอนุมัติและจัดสรรวงเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ รัฐบาลมีแผนที่จะออกพันธบัตรรัฐบาลมูลค่า 400 พันล้านบาท และออกตั๋วเงินคลังจำนวน 200 พันล้านบาท เพื่อสนับสนุนแผนการใช้เงินงบประมาณจำนวน 700 พันล้านบาทข้างต้น
การเบิกจ่ายงบประมาณยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการดำเนินงานตามแผน SP2
เรามองว่าปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อการดำเนินโครงการ SP2 ยังคงเป็นความไม่มั่นคงของสถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ ซึ่งจะส่งผลต่อความสามารถในการเบิกจ่ายงบประมาณและความล่าช้าในการดำเนินงานตามแผน อีกทั้ง พ.ร.บ. กู้เงินพิเศษจำนวน 400 พันล้านบาท จะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาภายใน 2-3 เดือน ตามแผนที่รัฐมนตรีคลังคาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ ภาระทางการคลังจากสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นแตะระดับ 60% ในปี 2555

โดย สำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ประจำวันที่ 14 ก.ย. 2552


***********
14/09/52
ก๊อกแรกโด๊ปศก.
เงินไทยเข้มแข็งเบิกจ่ายก้อนแรก 1.45 หมื่นล้าน ดีเดย์ 21 ก.ย.นี้


พงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์
นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 21 ก.ย.นี้ จะเริ่มเบิกจ่ายเงินกู้ตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ก้อนแรก 1.45 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้สำหรับการเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ
ทั้งนี้ วงเงินดังกล่าวเป็นเงินกู้จากพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ. 2552 (เงินกู้ 4 แสนล้านบาท) ซึ่งเป็นการกู้แบบเทอมโลนจากธนาคารพาณิชย์ 3 หมื่นล้านบาท ภายในปีงบประมาณ 2552 นี้

สำหรับในปีงบประมาณ 2553 ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.นี้ กระทรวงการคลังกำหนดแผนบริหารหนี้สาธารณะไว้ที่วงเงินกว่า 1.6 ล้านล้านบาท เป็นการกู้ใหม่ 8.5 แสนล้านบาท แยกเป็นการกู้ชดเชยขาดดุลงบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท การกู้เงินตามพ.ร.ก.กู้เงิน อีก 3.2 แสนล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการกู้เงินรัฐวิสาหกิจ และวงเงินกู้เพื่อใช้บริหารหนี้เก่า

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาลเปิดเผยถึงความคืบหน้าของงบ 1 แสนล้านบาท ตามพ.ร.ก.กู้เงิน 4 แสนล้านบาท ที่ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เนื่องจากก่อนหน้านี้มีการโยกเม็ดเงิน 1 แสนล้านบาท ที่เตรียมกู้เพื่อชดเชยเงินคงคลังไปสมทบไว้ใช้ในโครงการลงทุนตามแผนปฏิบัติการไทย เข้มแข็ง ปรากฏว่าขณะนี้มีกระทรวง หน่วยงานราชการ เสนอขอใช้งบในโครงการดังกล่าวมากถึง 3-4 แสนล้านบาท

ดังนั้น จึงต้องมีการหารือเพื่อเกลี่ยงบดังกล่าวให้ได้ตามวงเงิน 1 แสนล้านบาท และให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ว่าต้องการให้เป็นงบที่ใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น โดยเน้นการจ้างงาน และสร้างรายได้

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในรายการ “เชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯ อภิสิทธิ์” ถึงตัวเลขการว่างงานว่า ล่าสุดนั้นมีแนวโน้มว่าตัวเลขค่อนข้างที่จะกลับมาสู่ภาวะปกติ ยืนยันว่าเราน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่ว่าการประคับประคองการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจนั้นต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
posttoday
**************
14/09/52
"พาณิชย์" มั่นใจปีหน้าส่งออกโต 10%
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการประเมินภาพรวมการส่งออกสินค้าไทยไปตลาดต่างประเทศทั่วโลก ช่วงครึ่งหลังปีนี้และปีหน้า หลังจากได้รับรายงานจากทูตพาณิชย์ทั่วโลกต่างยืนยันการส่งออกเริ่มฟื้นตัวขึ้นแล้ว โดยตัวเลขการส่งออกเดือนสิงหาคมนี้ ที่กระทรวงพาณิชย์จะแถลงวันที่ 18 กันยายน เท่าที่ดูตัวเลขการส่งออกของกรมศุลกากรเบื้องต้น พบว่าจะติดลบอัตราน้อยลงโดยเฉลี่ยจะติดลบเพียง 17-18% เท่านั้น จากที่ผ่านมาติดลบมากกว่า 20% ขึ้นไป และเริ่มมีสัญญาณจะกลับมาเป็นบวกได้ ตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคมนี้ ทำให้ตัวเลขการส่งออกเฉลี่ยทั้งปีติดลบอยู่ที่ 15-19% เท่านั้น
stock in focus
***********
07/09/52
พาณิชย์ชู 5 แผนส่งออกปี 53 เน้นตลาดอาเซียน
พาณิชย์ เปิดแผนส่งออกปี 2553 ดันสัดส่วนตลาดใหม่เพิ่ม 55% ชู 5 แผนบุกตลาดอาเซียน เตรียมประชุมทูตพาณิชย์ปลายเดือน ก.ย.นี้ ถกเป้าส่งออกปีหน้า
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยว่า กรมได้จัดทำแผนกระตุ้นการส่งออกสำหรับปี 2553 เสร็จแล้ว ประกอบด้วย 5 กลุ่มแผนงาน ได้แก่ 1. การส่งเสริมตลาดใหม่ ให้มีสัดส่วนส่งออกเพิ่มเป็น 55% ขณะที่ตลาดหลักจะอยู่ที่ 45% ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้น จากเป้าหมายปีนี้ ที่มีสัดส่วนตลาดใหม่ที่ 50% และตลาดหลักอยู่ที่ 50% โดยตลาดเป้าหมาย ได้แก่ จีน อินเดีย ตะวันออกกลาง กลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม)

2. การส่งเสริมสินค้ากลุ่มอาหารและสินค้าเกษตรอย่างต่อเนื่อง เพราะเป็นกลุ่มสินค้าที่ไทยมีจุดแข็ง และเป็นวัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศเป็นส่วนใหญ่ นอกจากนี้ เป็นกลุ่มสินค้าที่มีความต้องการต่อเนื่อง ตามความจำเป็นการบริโภคชีวิตประจำวัน

3. การพัฒนาเทรด โลจิสติกส์ และส่งเสริมกิจกรรมด้านการพัฒนา เครือข่ายการขนส่งและโลจิสติกส์ เชื่อมโยงระหว่างประเทศมากขึ้น จากปัจจุบันที่เริ่มเห็นรูปธรรมแล้ว ซึ่งเป้าหมายการพัฒนาเครือข่ายโลจิสติกส์ เน้นกลุ่มประเทศลุ่มแม่น้ำโขง อาทิเช่น ลาว เขมร พม่า และจีน

หนุนครีเอทีฟไทยแลนด์-บริการ

4. การส่งเสริมธุรกิจตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แบ่งเป็น 2 กลุ่มงาน ได้แก่ การพัฒนาตัวสินค้าที่จะเน้นการลงทุนพัฒนาด้านการออกแบบ การสร้างแบรนด์ การออกไปประกอบธุรกิจในต่างประเทศ โดยกำหนดเพิ่มจำนวนธุรกิจที่ไปลงทุนในต่างประเทศให้มากขึ้น จากปัจจุบันที่มี 800 ราย การสร้างแวลูเชน ซึ่งแผนนี้จะสอดคล้องกับการเข้าถึงตลาดใหม่ เนื่องจากพิจารณาแล้วมีความเป็นไปได้ที่ธุรกิจของไทยจะเข้าไปเจาะตลาดได้และมีความยั่งยืน

นอกจากนี้ จะเน้นการส่งเสริมธุรกิจบริการ ตามแนวทางเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จะสามารถส่งเสริมธุรกิจบันเทิงได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสินค้า CONTENT อาทิเช่น ภาพยนตร์ไทย แอนิเมชัน เพลงและอื่นๆ จะสามารถดึงให้ธุรกิจบริการอื่นๆ อาทิเช่น สุขภาพ สปา ความงาม และการออกแบบทรงผม ให้เป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศ ซึ่งรูปแบบการดำเนินการ ยอมรับว่าต้องมีการสร้างเครือข่ายกับต่างประเทศ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีความเชื่อมโยง และต่อเนื่องกัน

เน้นส่งออกตลาดอาเซียน

5.การส่งเสริมการส่งออก ผ่านความร่วมมือประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ซึ่งจะมีผลให้อาเซียน 10 ประเทศเป็นตลาดเดียวกันในอีก 5-6 ปีข้างหน้า โดยกรมตั้งเป้าหมายการส่งออกไปกลุ่มอาเซียน จะเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันเฉลี่ยปีละ 20% ให้เป็น 25% ในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ตามทิศทางตลาดที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องอยู่แล้ว

แผนการส่งเสริมจะเน้นการสร้างเครือข่าย การผลิตร่วมกันรูปแบบคลัสเตอร์ อาทิเช่น อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม ที่ไทยมีความเข้มแข็งเรื่องการออกแบบแฟชั่นที่โดดเด่นในกลุ่มอาเซียน มีมาตรฐานการผลิตที่ดี แต่อุตสาหกรรมต้นน้ำบางส่วน อาจอยู่ในประเทศอื่น การใช้เออีซีให้เป็นประโยชน์จะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง ตามแนวทางนี้ จะเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรม ให้สามารถแข่งขันนอกกลุ่มความร่วมมือได้ เป็นการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้า ที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์ในการแข่งขัน

"ตอนนี้เรามีแผนงานคร่าวๆ ที่จะไว้ใช้ปฏิบัติจริงในปีหน้า ซึ่งแผนนี้จะสอดคล้องกับงบประมาณที่กรมได้รับ จากงบประมาณประจำปี 2553 ประมาณ 2,500 ล้านบาท และงบจากกองทุนส่งเสริมการส่งออก ที่จะประชุมวันนี้ (7 ก.ย.) ที่มีอยู่ 1,000 ล้านบาท" นายราเชนทร์กล่าว

เรียกทูตพาณิชย์ถกเป้าปีหน้า

ส่วนการกำหนดเป้าหมายการส่งออกปี 2553 ขณะนี้ อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูล กรมกำหนดนำข้อมูลจาก 3 ส่วน ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (ทูตพาณิชย์) ทั้ง 56 แห่งทั่วโลก การประเมินจากภาคเอกชน และการประเมินจากข้อมูลในส่วนของกรมมาวิเคราะห์ ก่อนกำหนดเป้าหมายการส่งออกคาดว่าทราบผลได้ประมาณ พ.ย.-ธ.ค.นี้

นายราเชนทร์ กล่าวว่า ในการประชุมทูตพาณิชย์ปลาย ก.ย.นี้ ที่มีนางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ จะมีทูตพาณิชย์ทั่วโลกมานำเสนอเป้าหมายส่งออกปี 2553 ของแต่ละประเทศ พร้อมแผนการทำงาน เบื้องต้นคาดว่าการส่งออกปีหน้า จะกระเตื้องขึ้นจากทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคเริ่มมีความมั่นใจในการจับจ่ายใช้สอย หลังจากรัฐบาลหลายประเทศกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้

ด้านปัจจัยเสี่ยงปี 2553 ยอมรับว่ายังต้องจับตาการแข่งขัน ในตลาดต่างประเทศ ที่จะยังคงมีการแข่งขันสูงอยู่ แต่จากผลการปฏิบัติงานในปีนี้ พบว่าการส่งออกของไทยสามารถชิงส่วนแบ่งตลาดเพิ่มขึ้น อาทิเช่น สหรัฐ จากเดิมไทยมีส่วนแบ่งตลาด 1.1% เพิ่มเป็น 1.2% ชี้ให้เห็นว่าไทยมีศักยภาพการแข่งขันที่ดี

คาดปีนี้ติดลบแค่ 18%

นายราเชนทร์ กล่าวถึง กิจกรรมการส่งออกปี 2553 ว่า ยังจะใช้เทคนิคส่งเสริมการส่งออกแบบเดิมต่อไป เพราะเป็นกิจกรรมที่ยังได้ผลดี อาทิเช่น การจัดงานเมดอินไทยแลนด์ในตลาดใหม่ เป็นกิจกรรมที่ทำให้ตลาดรู้จักสินค้าไทย แต่จะเดินหน้าทำกิจกรรมเสริมอื่นๆ อาทิเช่น ไทยแลนด์เบสเฟรนท์ การติดเครื่องหมายเอสอาร์มาร์ค ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงว่าสินค้าไทยที่ได้รับเครื่องหมายนี้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม (ซีเอสอาร์) เป็นการตอบสนองทิศทางตลาดในต่างประเทศ ที่ให้ความสำคัญเรื่องสิ่งแวดล้อมและสังคมมากขึ้น

การส่งออกในช่วง 7 เดือนแรก (ม.ค.-ก.ค.) ปีนี้ มีมูลค่าส่งออก 81,115.3 ล้านดอลลาร์ ติดลบ 23.86% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ทำให้กระทรวงพาณิชย์มั่นใจว่า แนวโน้มการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกเดือน เพราะแนวโน้มเศรษฐกิจโลกเริ่มดีขึ้น ตลาดส่งออกสำคัญเศรษฐกิจเริ่มฟื้น ทั้งสหรัฐ ญี่ปุ่น จีน อินเดีย คาดว่า จะมีมูลค่าเฉลี่ยเดือนละ 13,000 ล้านดอลลาร์

ส่วนเป้าหมายทั้งปีนี้ จะผลักดันให้ขยายตัวมากที่สุด และติดลบน้อยที่สุด คาดว่าจะติดลบ 10% ถึงลบ 18% โดยหากรัฐบาลอัดมาตรการช่วยเหลือเต็มที่ อาจติดลบใกล้เคียง 10% ได้ ขณะที่แบงก์ชาติคาดอยู่ที่ ลบ 24.5% ถึงลบ 27.5% สภาพัฒน์ คาดลบ 15% และสำนักงานเศรษฐกิจการคลังคาดลบ 14.8% ถึงลบ 25.2%
กรุงเทพธุรกิจ
**************
05/09/52
ศก.เริ่มฟื้นตัวแล้ว
นักธุรกิจ-นักวิชาการระบุสัญญาณเศรษฐกิจฟื้นตัวเริ่มขึ้นแล้ว

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวในงานสัมมนา “อนาคตเศรษฐกิจไทย มองทางเลือก สู่ทางรอด” ว่า ขณะนี้เศรษฐกิจโลกเริ่มดีขึ้น จึงมีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามาไทยมากขึ้น ทำให้สตอกสินค้าลดลง ภาคเอกชนจึงเริ่มใช้กำลังการผลิตและก่อให้เกิดการจ้างงานมากขึ้นในหลายสาขา ทำให้โดยเฉลี่ยแล้วมีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 50 เป็นร้อยละ 60 แล้ว ในขณะที่บางอุตสาหกรรมใช้กำลังการผลิตเต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ และเมื่อหลายประเทศทั่วโลกออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็จะทำให้การส่งออกจะมีความชัดเจนมากขึ้นในช่วงไตรมาส 2 ปี 2553 ส่วนโครงการลงทุนไทยเข้มแข็งที่รัฐบาลเริ่มเดินหน้าลงทุนจะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้ดี เนื่องจากเป็นโครงการต่อเนื่องไม่ใช่โครงการที่คิดขึ้นมาใหม่ อาจมีเพียงโครงการสร้างรถไฟฟ้าที่ต้องใช้เวลาในการเดินหน้าโครงการบ้าง
นายสมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์และการเมือง กล่าวว่า ประเทศไทยมีโครงสร้างเศรษฐกิจที่พึ่งพาภาคการส่งออกและการท่องเที่ยวมากถึงร้อยละ 70 โดยเฉพาะการค้ากับกลุ่มประเทศหลัก ประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน อาเซียนและญี่ปุ่น ซึ่งตลาดหลัก ๆ เหล่านี้ ขณะนี้เศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นจากที่เคยชะลอตัวมากเมื่อปลายปีก่อน เมื่อประเทศไทยส่งออกได้มากขึ้นก็จะทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ติดลบน้อยลง ซึ่งคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะติดลบเหลือ 3 ในสิ้นปีนี้

ส่วนการส่งออกที่หลายฝ่ายคาดว่าจะติดลบถึงร้อยละ 20 เมื่อการส่งออกปลายปีกลับมาดีขึ้น คาดว่าทั้งปีการส่งออกของไทยจะติดลบน้อยลงอยู่ประมาณลบร้อยละ 10 เศษ ๆ เท่านั้น และในปีหน้าเศรษฐกิจไทยจะกลับมาเป็นบวกได้โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ในระดับร้อยละ 2-3 เนื่องจากเอกชนเชื่อมั่นและเริ่มกลับมาผลิตสินค้า

นายสมชาย กล่าวว่า ผลจากมาตรการไทยเข้มแข็งจะมีผลช่วยเศรษฐกิจไทยในช่วง 3-4 ปีเท่านั้น แต่โครงสร้างเศรษฐกิจไทยยังไม่เปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการปรับศักยภาพเพื่อการแข่งขันให้กับเอกชนยังไม่มีแผนที่ชัดเจน โดยเฉพาะในช่วงปี 2015 ซึ่งไทยจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่จะต้องมีการเปิดเสรีระหว่างกัน ซึ่งที่ผ่านมาภาคเอกชนปรับตัวน้อยมาก ดังนั้น รัฐบาลต้องวางเป้าหมายในช่วง 5-10 ปีที่จะเข้าไปช่วยเหลืออุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบ ซึ่งจำเป็นต้องดูแล ในขณะที่สินค้าบางกลุ่มอาจจำเป็นต้องย้ายฐานการผลิต รวมถึงเอสเอ็มอีก็ต้องได้รับการช่วยเหลือที่มากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาเห็นเพียงการช่วยเหลือด้านเงินทุน ด้านการตลาดเท่านั้น ไม่เห็นการช่วยเหลือการปรับโครงสร้างและปรับศักยภาพให้สามารถแข่งขันกับตลาดโลกได้ จุดนี้รัฐบาลต้องเข้ามาช่วยเหลือให้มากขึ้น.

posttoday
***************
04/09/52
นายกฯเร่งอนุมัติไทยเข้มแข็งเพิ่มอีก1แสนล.
นายกฯเผยรัฐบาลเตรียมทยอยอนุมัติโครงการลงทุนตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งเพิ่มอีก 1 แสนล้านบาท ในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า หลังอนุมัติไป 2 แสนล้าน
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ภายใน 2-3 เดือนนี้ รัฐบาลจะทยอยอนุมัติโครงการลงทุนต่างๆ ภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ได้เพิ่มอีก 1 แสนล้านบาท จากล่าสุดที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 18 ส.ค.2552 ได้อนุมัติไปแล้ว 2 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากที่กระทรวงการคลังนำเงินไปชดเชยเงินคงคลังน้อยลงหลังจากสามารถจัดเก็บรายได้ได้เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ ยังเชื่อว่าเม็ดเงินลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 1.43 ล้านล้านบาท ที่จะก่อให้เกิดการลงทุนต่างๆ ในอนาคตนั้นจะนำไปสู่การฟื้นเศรษฐกิจของประเทศได้อย่างยั่งยืนและเข้มแข็ง ตลอดจนนำไปสู่การลงทุนของภาคเอกชนและประชาชนเพิ่มขึ้น และทำให้มั่นใจได้ว่านับตั้งแต่ปลายปี 2552 เป็นต้นไป เศรษฐกิจของไทยจะกลับมาขยายตัวได้ในอัตราปกติ

กรุงเทพธุรกิจ
*************
02/09/52
ธปท.คาด Q4/52 เงินเฟ้อพื้นฐาน 0.3% ทั้งปี 1.4%, เข้าเป้าหมายปลายปี 53
Source - IQ Biz (Th) Wednesday, September 02, 2009 13:32 6735 XTHAI XECON HOTN V%WIREL P%IQ อินโฟเควสท์ (02 ก.ย. 52)
--นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานไตรมาส 4/52 จะอยู่ที่ 0.3% ซึ่งยังต่ำกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อใหม่ที่กำหนดไว้ในระดับ 0.5-3.0% และคาดเงินเฟ้อพื้นฐานจะกลับเข้าสู่ในกรอบเป้าหมายได้ในช่วงปลายปี 53 ทั้งนี้ ธปท.ได้ประเมินภาพรวมเงินเฟ้อพื้นฐานเป็นรายไตรมาสในระยะข้างหน้า มองว่ายังอยู่ในกรอบเป้าหมาย ทำให้การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ที่ผ่านมามีมติคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ในระดับเดิม นายไพบูลย์ กล่าวว่า ที่ผ่านมา กนง.ได้วางนโยบายเพื่อรักษาเงินเฟ้อพื้นฐานให้อยู่ในเป้าหมายได้ค่อนข้างประสบผลสำเร็จ แม้บางช่วงจะหลุดจากกรอบไปบ้าง ส่วนภาพรวมปี 53 เชื่อว่าเงินเฟ้อพื้นฐานจะอยู่ในกรอบเป้าหมาย โดยพิจารณาจากข้อมูลทางเศรษฐกิจปัจจุบันน่าจะสร้างเสถียรภาพในแง่การคาดการณ์เงินเฟ้อล่วงหน้า และการปรับตัวทางเศรษฐกิจที่เหมาะสม ดังนั้น จากข้อมูลปัจจุบัน กนง.จึงไม่จำเป็นต้องปรับดอกเบี้ยนโยบายจนกว่าจะมีข้อมูลใหม่มาให้พิจารณา "เงินเฟ้อที่อยู่นอกเป้าหมายเป็นหน้าที่ กนง.ต้องดูแล โดยใช้นโยบายเหมาะสมเพื่อให้เงินเฟ้ออยู่ในเป้าหมาย...การที่เงินเฟ้อ ขึ้นๆ ลงๆ ธปท.คงปรับดอกเบี้ยตอบสนองตามคงไม่ได้ เพราะเงินเฟ้อเป็นปัญหาชั่วคราว การปรับดอกเบี้ยขึ้นลงจะสร้างความผันผวนโดยไม่จำเป็น"นายไพบูลย์ กล่าว นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า ในปลายปี 52 ธปท.จะหารือกับ รมว.คลัง เพื่อกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อปี 53 ใหม่ แต่โดยทั่วไปประเทศที่มีนโยบายกำหนดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ(Targetting Inflation)จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อบ่อยครั้ง เพราะอาจสร้างความสับสน เนื่องจากเป็นเรื่องของเสถียรภาพด้านราคา ดังนั้น ทางการจะต้องทำให้ประชาชน ผู้บริโภค ผู้ผลิต เข้าใจและคาดการณ์เงินเฟ้อล่วงหน้าระยะยาว เพื่อไม่ให้เกิดเความสับสนในการกำหนดราคาสินค้า และให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยั่งยืน "บางประเทศต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น แต่จะมีปัญหาระยะยาว เติบโตไม่ยั่งยืน ดังนั้นของไทย เราต้องสร้างเสถียรภาพด้านราคาด้วย เพราะเป็นเงื่อนไขที่จำเป็นต่อการเติบโตเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น อาจได้ผลเร็ว แต่ระยะยาวเศรษฐกิจจะชะลอตัวได้ เราอยากทอดสมอให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน" นายไพบูลย์ กล่าว ธปท. ได้ออกเอกสารเรื่องการกำหนดเป้าหมายนโยบายการเงิน ประจำปี 52 โดยระบุว่า การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท. เน้นเรื่องการดูแลการคาดการณ์เงินเฟ้อที่วัดด้วย Core inflation เฉลี่ยรายไตรมาส โดยปกติจะไม่ปรับเปลี่ยนนโยบายสำหรับปัจจัยชั่วคราว(Temporary factors)หรือปัจจัยที่มาจากนโยบายและไม่ได้เกิดจากกลไกตลาด เช่น เรื่องมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพของภาครัฐ ที่จะส่งผลต่อเงินเฟ้อในช่วงสั้นๆ เท่านั้น แต่มุ่งที่จะดูแลสิ่งที่เป็น underlying pressure ที่มีผลต่อระดับราคาของประเทศเป็นสำคัญ ที่จะทำให้เงินเฟ้อของประเทศเบี่ยงเบนจากเป้าหมาย และการตัดสินใจดำเนินนโยบายการเงินแต่ละครั้ง กนง.จะพิจารณาถึงแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อในระยะ 8 ไตรมาสข้างหน้า รวมทั้งข้อมูลสำคัญอื่นๆที่เกี่ยวข้อง สำหรับผลการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมา ในการวัดผลของการดำเนินนโยบายการเงิน สามารถดูได้จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเทียบกับช่วงเป้าหมายที่ประเทศ โดยตั้งแต่ พ.ค.43-ส.ค.52 กนง.กำหนดเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาส ที่ 0-3.5% ในช่วงที่ผ่านมา พบว่า อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยรายไตรมาส เคลื่อนไหวอยู่ในช่วงเป้าหมายมาโดยตลอด ยกเว้นในไตรมาส 2/52 ที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ต่ำกว่าเป้าหมาย ซึ่งเป็นผลมาจากรัฐบาลออกมาตรการช่วยลดค่าครองชีพประชาชน ทั้ง 6 มาตรการ 6 เดือน และนโนบายเรียนฟรี 15 ปี อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานจึงลดลงมากและรวดเร็ว แต่ถ้าหักผลของมาตรการภาครัฐออกไป เงินเฟ้อพื้นฐานในปัจจุบันจะอยู่ที่ 0.5% ซึ่งเป็นขอบล่างของเป้าหมายเงินเฟ้อใหม่ ที่ ครม.อนุมัติ ไว้ที่ 0.5-3% ทั้งนี้ ช่วงเป้าหมายเงินเฟ้อพื้นฐานใหม่ ที่ 0.5-3% เป็นระดับที่ไม่สูงจนบั่นทอนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเงินเฟ้อที่สูงมักจะมาพร้อมความผันผวนที่สูง ซึ่งนอกจากจะมีผลบั่นทอนอำนาจซื้อของประชาชนแล้ว ยังเพิ่มความไม่แน่นอนในระบบเศรษฐกิจ และส่งผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาวอย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ระดับดังกล่าวยังสอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อของประเทศคู่ค้าและคู่แข่ง เฉลี่ยที่ 2% เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของไทย
--อินโฟเควสท์ โดย ธปฦ/จารุวรรณ/ศศิธร cgs
************
02/09/52
บลจ. กสิกรไทย คาดดัชนีหุ้นไทยปลายปีนี้แตะระดับ 750 จุด

Posted on Wednesday, September 02, 2009
บลจ.กสิกรไทย คาดดัชนีหุ้นไทยปลายปี 2552 แตะระดับ 750 จุด

แถลงข่าวทิศทางตลาดหุ้นไทยปลายปี 2552 ด้วยการคาดการณ์ว่าดัชนีมีโอกาสปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 750 จุด งานนี้ บลจ. กสิกรไทย ได้จัดขึ้นเพื่ออัพเดตข้อมูลทางเศรษฐกิจและแนวโน้มตลาดหุ้นไทยในช่วงครึ่งปีหลัง

สรุปได้ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกที่เผชิญหน้ากับความถดถอยได้เริ่มคลี่คลายในทิศทางที่ดีขึ้นแล้ว โดยจีนมีการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจให้เห็นอย่างชัดเจนจากการที่รัฐบาลได้ใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะที่สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรปก็มีสัญญาณบ่งชี้ให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจต่ำสุดกำลังจะผ่านพ้นไป ส่งผลให้กลุ่มประเทศเกิดใหม่จะขยายตัวได้สูงกว่าบรรดาประเทศที่พัฒนาแล้ว แม้ว่ายังมีปัจจัยเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์ที่ว่าในปีหน้าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวอย่างชัดเจนและทิศทางค่าเงินดอลลาร์สหรัฐจะอ่อนค่าในระยะยาว โดยเศรษฐกิจไทยกำลังเข้าสู่ระดับต่ำสุดและจะทยอยฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก อันเป็นผลพวงจากปัจจัยหนุนของมาตรการการใช้จ่ายด้านการลงทุนของรัฐบาลที่มีมูลค่าสูงถึง 1.4 ล้านล้านบาท ขณะที่ตัวเลขการส่งออกและภาคการท่องเที่ยวก็มีทิศทางการฟื้นตัวให้เห็นเช่นกัน

นอกจากนั้นผลประกอบการไตรมาส 2/52 ของบริษัทจดทะเบียนส่วนใหญ่ก็ออกมาดีกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้และยังคาดว่าจะดีต่อเนื่องในไตรมาส 3-4/52 ด้วย แนวโน้มเช่นนี้ล้วนเป็นปัจจัยหนุนที่จะผลักดันให้ดัชนีหุ้นไทยสามารถทะยานขึ้นไปแตะระดับ 750 จุดได้ภายในปีนี้

stock in focus
************
01/09/52
SCB มั่นใจ จีดีพีไทยปีหน้าขยายตัว 3.5 - 4% Source - กระแสหุ้นออนไลน์ (Th) Tuesday, September 01, 2009 10:51 61661 XTHAI XECON XFINSEC ZSTOCK V%WIREL P%SWO กรุงเทพฯ--1 ก.ย.--กระแสหุ้นออนไลน์ ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ และ Cheif Economist ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)(SCB) กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ปี 2553 ของไทยน่าจะขยายตัวได้ประมาณ 3.5 - 4% ตามการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและการส่งออก รวมทั้งแรงเสริมจากภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวยังคงมีความเสี่ยงอยู่ โดยคาดว่าตัวเลขนักท่องเที่ยวจะกลับมาขยายตัวได้ประมาณ 6% ในปีหน้า หลังจากหดตัวราว 15% ในปีนี้ ซึ่งยังไม่พอที่จะทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวกลับไปดีเหมือนช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ ดร.เศรษฐพุฒิ กล่าวต่ออีกว่า เรื่องเงินฝืดไม่มีความน่าเป็นห่วง เนื่องจากตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปน่าจะเป็นบวกภายในปีนี้ และเฉลี่ยอยู่ที่ 2.4% ในปีหน้า ขณะที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะยังไม่ปรับขึ้นก่อนครึ่งหลังของปี 2553 เนื่องจากเศรษฐกิจเพิ่งจะเริ่มฟื้นและแรงกดดันเงินเฟ้อน่าจะยังอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้ เศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว แต่การฟื้นตัวนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกอย่างจะกลับสู่สภาวะเดิม โลกหลังวิกฤตจะไม่เหมือนเดิม การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยจึงไม่สามารถพึ่งพิงการส่งออกในโครงสร้างเดิมได้ แต่จะขึ้นอยู่กับปัจจัยผลักดันใหม่ๆ อาทิ การใช้จ่ายของประเทศจีน การใช้จ่ายภายในประเทศตามโครงสร้างของประชากรไทยที่เปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น ซึ่งจะเป็นการเปิดโอกาสด้านธุรกิจใหม่ๆ ที่สามารถเติบโตตามการใช้จ่ายของปัจจัยทั้งสองและส่งผลดีต่อประเทศไทยในระยะยาว SCB คาด สกุลเงินภูมิภาคเอเชียมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักอื่นในโลก ด้านนายชาตรี โสตางกูร ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายบริหารการเงิน ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (SCB) กล่าวเพิ่มเติมว่า สกุลเงินในภูมิภาคเอเชียจะมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆ ของโลก เนื่องจากภายหลังปัญหาวิกฤตการเงินในสหรัฐฯ เริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น และปัจจัยพื้นฐานจะส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวของอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น ซึ่งภูมิภาคเอเชียเป็นภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตคราวนี้น้อยที่สุด นอกจากนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดที่มีแนวโน้มเกินดุลอย่างต่อเนื่องของประเทศไทยจะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อทิศทางการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในอนาคตด้วย อย่างไรก็ตาม การที่อัตราแลกเปลี่ยนในกรอบแคบในรอบ 3 เดือนที่ผ่านมาส่งผลให้ความผันผวนอัตราแลกเปลี่ยนปรับลดลงอย่างมาก แต่ไม่ได้สะท้อนว่าในอนาคตอัตราแลกเปลี่ยนจะไม่มีความผันผวนแต่อย่างใด ดังนั้นการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนคงเป็นปัจจัยสำคัญลำดับต้นๆ สำหรับภาคธุรกิจ ทั้งนี้ ในส่วนของอัตราดอกเบี้ยในตลาดมองว่า อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นจะยังอยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ รวมถึงสภาพคล่องในตลาดเงินระยะสั้นที่ยังมีอยู่ในปริมาณที่สูงมาก ในขณะนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นได้อีกจากปริมาณพันธบัตรรัฐบาลที่จะออกสู่ตลาดมากขึ้นตามงบประมาณการขาดดุลในปีงบประมาณ 53 และการลงทุนในโครงการไทยเข้มแข็ง
cgs
*************
31/08/52
รัฐทุ่มงบ 2 หมื่นล้านบาทดัน Creative Economy
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี บอกภายในงานเปิดตัวโครงการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ Creative Economy ว่า ขีดความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายมากขึ้น หลังเกิดปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ขณะเดียวกันยังต้องประสบกับการแข่งขันที่มากขึ้น ทั้งนี้มองว่าการใช้อัตราแลกเปลี่ยน และ ค่าจ้างแรงงานที่ถูก จะไม่สามารถช่วยให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยดีขึ้น

ดังนั้นรัฐบาลจึงให้ความสำคัญกับ Creative Economy เพื่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจที่ผสมผสานระหว่างสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทย เข้ากับเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ เพื่อผลิตสินค้าและบริการที่มีลักษณเด่น เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ

โดยรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณภายใต้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 2 จำนวน 20,000 ล้านบาท สำหรับดำเนินโครงการ Creative Economy นำร่อง 15 อุตสาหกรรมหลักของประเทศ ตั้งเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในภูมิภาคอาเซียน โดยต้องเพิ่มสัดส่วนมูลค่าเพิ่มที่มาจากอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จาก 12% ของจีดีพีในปัจจุบันให้ขึ้นมาอยู่ที่ 20% ของจีดีพีในปี 2555

นายกรัฐมนตรี บอกด้วยว่า ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ รัฐบาลได้มีพันธสัญญา 4 ด้าน ได้แก่ การยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิรูปการศึกษา โดยปลูกฝั่งความสามารถในการคิดและการสร้างสรรค์ การกระตุ้นทุกภาคส่วนให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์

ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า โครงการ Creative Economy จะช่วยต่อยอดสินค้าและบริการของไทยให้เป็นที่รู้จักทั้งในและต่างประเทศ โดยเป็นการส่งเสริมให้มีการคิดและพัฒนาสินค้าอย่างสร้างสรรค์และอย่างยั่งยืน ซึ่งจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าและบริการได้

สำหรับเฟสแรกในปีนี้จะใช้งบประมาณจำนวน 3,800 ล้านบาทในการดำเนินการ และจะมีการตั้งคณะกรรมการทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติและยุทธศาสตร์ทรัพย์สินทางปัญญาแห่งชาติ ภายใน 6 เดือน รวมไปถึงจะผลักดันให้สถาบันการเงินร่วมปล่อยสินเชื่อ การให้สิทธิประโยชน์การลงทุนผ่านสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เพื่อทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์เห็นผลเป็นรูปธรรมในปี 2555

ทั้งนี้ยังจะมีการตั้งคณะอนุกรรมการเศรษฐกิจสร้างสรรค์เชิงพาณิชย์ กำหนดกลยุทธและวางรากฐานระยะยาว ให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ บรรจุเศรษฐกิจสร้างสรรค์เป็นแกนทางขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 อีกด้วย
moneyline news**********
28/08/52
BOT:ธปท.ระบุการฟื้นตัวศก.ไทยไม่ยั่งยืน หากการลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้น กรุงเทพฯ--28 ส.ค.--รอยเตอร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงในการ ฟื้นตัวที่ยั่งยืน หากการลงทุนภาคเอกชนยังไม่ฟื้นตัว พร้อมทั้งให้เฝ้าระวังเศรษฐกิจโลก และการใช้จ่ายของรัฐบาล ซึ่งจะมีต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ "ตราบใดที่การลงทุนในประเทศ โดยภาคเอกชนยังไม่ฟื้นนำ จะหวังเห็นการ ฟื้นของเศรษฐกิจที่มั่นคง ยั่งยืน คงยังไม่เกิด" นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ ธปท. สายนโยบายการเงิน กล่าวกับผู้สื่อข่าว เมื่อสิ้นเดือนที่แล้ว ธปท.เผยดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (Private Investment Index:PII) เดือน มิ.ย.52 เพิ่มขึ้น 1.1% เมื่อเทียบเดือนต่อเดือน หลังจากที่ลดลง 0.5% ในเดือนพ.ค. และลดลง 0.6% ในเดือนเม.ย. อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน PII ในเดือนมิ.ย.52 ยังคง ลดลง 15.5% เทียบจากที่ลดลง 16.1% ในเดือน พ.ค.52 และลดลง 16.4% ในเดือน เม.ย.52 เขา กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/52 ยังมีแนวโน้มที่ดีอยู่ แต่ยังไม่สามารถระบุได้ชัดว่า จะดีต่อเนื่องหรือไม่ เพราะยังมีความเสี่ยงอยู่ ทั้งเรื่อง ภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังต้องเฝ้าระวังใกล้ชิด รวมถึงการใช้จ่ายของรัฐบาล "เราก็ไม่ได้พูดถึงการฟื้นตัวแบบยั่งยืนถาวร ในความแน่นอนก็ยังมีความเสี่ยง อยู่" เขา กล่าว เมื่อวันพุธที่ผ่านมา คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงอัตรา ดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร(อาร์/พี) ระยะ 1 วัน ไว้ที่ 1.25% พร้อมระบุว่า ความเสี่ยงที่ เศรษฐกิจไทยจะไม่ฟื้นตัว มีน้อยลง แต่กนง.มองการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ยังมีความไม่แน่นอนอยู่ โดยขณะนี้ เป็นเพียงการเริ่มเห็นสัญญาณของการฟื้นตัว และยังต้องติดตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ประเทศสำคัญ หรือ จี3 ซึ่งได้แก่ สหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น ว่าจะฟื้นตัวยั่งยืนหรือไม่ นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ยังคงต้องอาศัยการ ลงทุนและการใช้จ่ายของภาครัฐ ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงการบริโภคในประเทศ และ การจ้างงาน ส่วนภาคการผลิตยังต้องพึ่งพาการส่งออก โดยเฉพาะประเทศจี 3 ซึ่งขณะนี้ จากการสอบถามผู้ประกอบการมองว่า แนวโน้มคำสั่งซื้อสินค้าในครึ่งปีหลัง มีทิศทาง ที่ดีขึ้น อย่างน้อยเชื่อว่าในไตรมาส 3 จะมีคำสั่งซื้ออย่างต่อเนื่อง ในส่วนของจีนนั้น ไทยไม่ได้พึ่งพาตลาดดังกล่าวมากนัก คิดเป็นประมาณ 10% ของการส่งออก ขณะที่การส่งออกไปยังประเทศจี 3 มีสัดส่วนถึง 1 ใน 3 ของ การส่งออกรวม นายไพบูลย์ ยังกล่าวถึงสถานการณ์ทางการเมืองว่า เป็นเรื่องความเชื่อมั่น หากมีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้น คงกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้ผลิตและผู้บริโภค ทั้งนี้ ตัวเลขที่ธปท.ได้มีการสำรวจผู้ประกอบการล่าสุด หรือ Business Sentiment Index มีทิศทางของความเชื่อมั่นที่ดีขึ้น จึงไม่ต้องการให้ความเชื่อมั่น ที่ดีขึ้นนี้ ถูกกระทบกระเทือนด้วยเหตุการณ์ที่ไม่ใช่เรื่องของเศรษฐกิจ
cgs,stock in focus
***************
26/08/52
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดกนง.คงดอกเบี้ยไว้ที่ 1.25% ไปจนถึงกลางปีหน้า

Posted on Wednesday, August 26, 2009
เกวลิน หวังพิชญสุข นักวิจัยอาวุโส ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% ตามที่ตลาดและนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ได้คาดการณ์ไว้ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อในประเทศยังค่อนข้างต่ำ และน่าจะยังคงติดลบ 0.4% ถึง 0.9% ตลอดทั้งปีนี้ ซึ่งน่าจะทำให้ธปท. คงอัตราดอกเบี้ยในระดับนี้ไปจนถึงไตรมาส 2/53 อย่างไรก็ตาม ยังมีความเสี่ยงที่จะมีการขึ้นดอกเบี้ยได้เช่นกันหากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนความเสี่ยงดอกเบี้ยขาลงก็ยังขึ้นอยู่กับเสถียรภาพและประสิทธิภาพการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลด้วย

สำหรับอัตราดอกเบี้ยในอนาคต จะขึ้นอยู่กับความยั่งยืนของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลกด้วย เพราะแม้ว่าตัวเลขเศรษฐกิจต่าง ๆ ในระยะนี้จะดูดีขึ้น แต่ก็เกิดจากการใช้มาตรการของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ จึงยังต้องจับตาต่อไปส่วนประเทศที่มีแนวโน้มขึ้นดอกเบี้ยได้ในขณะนี้ จะเป็นประเทศออสเตรเลียเท่านั้น

สำหรับอัตราเงินเฟ้อในปีหน้า ยังมีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐจะเริ่มสิ้นสุดลง ประกอบกับฐานเงินเฟ้อที่ต่ำในปีนี้ด้วย

เกวลินกล่าวอีกว่า การออกพันธบัตรธนาคารแห่งประเทศไทย ในเบื้องต้นที่ 5 หมื่นล้านบาทนั้น เชื่อว่ามีวัตถุประสงค์มาจากความต้องการไถ่ถอนพันธบัตรรัฐบาลของกระทรวงการคลังที่ออกมาชดเชยภาระหนี้ของกองทุนฟื้นฟู (FIDF3) ที่จะครบกำหนดใน 2 กันยายน จำนวน 5.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งหากมีความสนใจพันธบัตรธปท.สูงกว่า 5 หมื่นล้านบาทแล้ว จำนวนส่วนต่างที่เพิ่มขึ้นจะมีผลต่อสภาพคล่องในระบบด้วย ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวิธีการจัดการของธปท. ด้วย

moneyline news*********
26/08/52
กนง.คงดอกเบี้ยตามคาด
มติกนง. คงดอกเบี้ย อาร์/พี ที่ 1.25% ห่วงเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวไม่จริง

นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันนี้ ซึ่งที่ประชุมได้พิจารณาภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อรวมทั้งแนวโน้มในระยะต่อไปเพื่อกำหนดแนวนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้

ข้อมูลล่าสุดชี้ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกและตลาดการเงินระหว่างประเทศปรับตัวดีขึ้นจากการประชุมครั้งก่อน โดยการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 ของกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก (G3) และประเทศในเอเชียส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อน อย่างไรก็ดี คณะกรรมการฯ มีความเห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังมีความไม่แน่นอนอยู่มาก

ในไตรมาสที่ 2 ภาวะเศรษฐกิจไทยเริ่มมีทิศทางดีขึ้น โดยหดตัวน้อยลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน และขยายตัวเป็นบวกเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 1 ในขณะเดียวกันเครื่องชี้เศรษฐกิจล่าสุดเช่นการผลิตในภาคอุตสาหกรรม การส่งออก การจ้างงาน และการใช้จ่ายภาคเอกชนได้ปรับตัวดีขึ้น คณะกรรมการฯ ประเมินว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายยังคงอยู่ในระดับที่เหมาะสมที่จะสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยไม่สร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ คณะกรรมการฯ จึงมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ ร้อยละ 1.25 ต่อปี

posttoday
**********
26/08/52
7 อุตสาหกรรมเข้าข่ายเสี่ยงเจ๊งหลังเสรีอาเซียนแนะรัฐดูแลด่วน Source - สยามรัฐ (Th) Wednesday, August 26, 2009 09:27 17054 XTHAI XECON IKEY V%PAPERL P%SRD
ศูนย์การศึกษาการค้าฯ ประเมิน7 อุตสาหกรรมเสี่ยงสูงหลังเปิดเสรีอาเซียนเตือนระวังภาคบริการแนะรัฐเร่งมาตรการรองรัง นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์การศึกษาการค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าทางศูนย์ฯ ได้ทำการศึกษาผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อเอสเอ็มอีและภาคครัวเรือน จาก 12 อุตสาหกรรม พบว่าการลดภาษีเป็นร้อยละ 0 ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่เริ่มตั้งแต่ปี 2553-2558 จะมีผลกระทบเชิงลบต่อบางอุตสาหกรรม ทำให้อยู่ในสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง เช่น อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า เคร่อง นุ่งห่ม เคมีภัณฑ์ ยางพลาสติก ไม้ ปิโตเลียม เหล็ก และเหมืองแร่ เพราะการเปิดเสรีอุตสาหกรรมเหล่านี้จะมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ลดลง ขณะที่บางกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น ยานยนต์เกษตรแปรรูป และปศุสัตว์ ประมงจะได้รับผลดี ส่วนภาพรวมเอสเอ็มอีตั้งแต่ปี 2553-2558 จะขาดดุล ทั้งนี้สิ่งที่ต้องระวังคือการเปิดเสรีภาคบริการใน 5 ธุรกิจที่จะเริ่มต้นในปี 2553 ที่จะให้นักลงทุนอาเซียนเข้ามาถือหุ้นในธุรกิจไทยได้ถึงร้อยละ 70 คือ กลุ่มธุรกิจท่องเที่ยว อุตสาหกรรมการบิน ไอที สุขภาพ และโลจิสติกส์ อาจจะยังไม่มีความพร้อมหรือมียุทธศาสตร์ตั้งรับการเข้ามาถือหุ้นของต่างชาติ พร้อมกันนี้ ยังเสนอแนะรัฐบาลให้เตรียมความพร้อมรับมือต่อการเปิดเสรีโดยพยายามให้ความรู้ความเข้าใจสร้างยุทธศาสตร์ทั้งรุกและรับ รวมทั้งผลักดันการค้าตามแนวชายแดนให้มีประสิทธิภาพ--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
*************
25/08/52
เชื่อมั่นอุตฯกค.สูงสุดรอบ19 ด.
ส.อ.ท.เผยดัชนีเชื่อมั่นอุตสาหกรรม ก.ค.อยู่ที่ 89.9 สูงสุดในรอบ 19 เดือน

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสากรรมในเดือน ก.ค.อยู่ที่ 89.9 เพิ่มขึ้นจาก 83.5 ในเดือน มิ.ย.52 ถือว่าสูงขึ้นในรอบ 19 เดือน เป็นผลจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของยอดคำสั่งซื้อ ยอดขาย ราคาขาย ตลอดจนปริมาณการผลิตและผลประกอบการ จากการนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย ทำให้เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในอีก 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 96.7 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือน มิ.ย.ที่ระดับ 93.0

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการยังมีความกังวลต่อต้นทุนการผลิตที่ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากราคาน้ำมันมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นอยางต่อเนื่อง และด้วยความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมยังอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 ซึ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่าภาวะความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ยังอยู่ในระดับที่ไม่แข็งแกร่งนัก
posttoday
stock in focus
**************
24/08/52
GOVT:สภาพัฒน์เผยจีดีพี Q2/52 ติดลบ 4.9% จากปีก่อน, ขยายตัว 2.3% จาก Q1
กรุงเทพฯ--24 ส.ค.--รอยเตอร์
คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) เผยผลิตภัณฑ์ มวลรวมในประเทศ(จีดีพี) ของไทย ในไตรมาส 2/52 ติดลบ 4.9% จากช่วงเดียวกัน ปีก่อน ซึ่งดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดว่าจะลดลง 5.2% ขณะที่จีดีพีขยายตัว 2.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสแรก สำหรับตัวเลขที่ปรับตาม ปัจจัยด้านฤดูกาลแล้ว ซึ่งเป็นไปตามที่นักวิเคราะห์คาด สภาพัฒน์ เผยด้วยว่า เศรษฐกิจไทย ได้ผ่านพ้นภาวะย่ำแย่ที่สุดไปแล้ว ผลการสำรวจของรอยเตอร์ ก่อนหน้านั้นพบว่า เศรษฐกิจไทยอาจฟื้นตัวขึ้นจาก ภาวะถดถอยในช่วงสั้นๆ ในไตรมาส 2 ซึ่งเป็นการยืนยันความเห็นที่ว่าเศรษฐกิจได้ผ่าน จุดต่ำสุดแล้ว ทั้งนี้ นักเศรษฐศาสตร์ 6 รายคาดว่า จีดีพีเมื่อเทียบรายไตรมาส จะพุ่งขึ้น 2.3% ในไตรมาส 2 หลังติดลบ 1.9% ในไตรมาสแรกปีนี้ และทรุดตัวลง 6.1% ใน ไตรมาส 4 ปีที่แล้ว
csg
stock in focus
**********
21/08/52
ส่งออกไทยผ่านจุดต่ำสุด อิเล็กทรอนิกส์ฟื้น...ข่าวดี!!!ที่มาพร้อมโอกาส Source - ASTV ผู้จัดการออนไลน์ (Th) Friday, August 21, 2009 00:30 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า จากการรายงานข้อมูลการค้าระหว่างประเทศของไทยล่าสุด โดยกระทรวงพาณิชย์ ในวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา แม้ว่าเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า การส่งออกโดยรวมในเดือนกรกฎาคม 2552 ยังหดตัวในอัตราที่สูงใกล้ๆ กับเดือนมิถุนายน แต่มูลค่าการส่งออกที่ปรับฤดูกาลขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 และภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีทิศทางปรับตัวดีขึ้น ก็น่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้การส่งออกของไทยดีขึ้นได้อย่างต่อเนื่องในช่วงเดือนต่อๆ ไป จึงน่าจะสามารถกล่าวได้ว่า การส่งออกในเดือนกรกฎาคมนี้ ได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดแล้ว สำหรับสินค้าที่มีการปรับตัวดีขึ้นในเดือนนี้ ได้แก่ กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบ จากสินค้าเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ ส่วนกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทรงตัวอยู่ที่หดตัวร้อยละ 17.0โดยสินค้าที่มีทิศทางดีขึ้น ได้แก่ แผงวงจรไฟฟ้าและวงจรพิมพ์ แต่คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกสำคัญอันดับ 1 ของไทย หดตัวสูงขึ้นกว่าเดือนก่อน เนื่องจากการส่งออกไปยังจีนลดลง ส่วนสินค้าสำคัญที่ยังคงหดตัวสูง อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จากการส่งออกรถยนต์ โดยเฉพาะรถปิ๊กอัพ แต่การส่งออกส่วนประกอบและอุปกรณ์รถยนต์ปรับตัวดีขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 นอกจากนี้ สินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตรหดตัวสูงขึ้น จากสินค้า เช่น ข้าว ยางพารา อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป น้ำตาลทราย ไก่แปรรูป เป็นต้น ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการแข่งขันในตลาดโลกมีความรุนแรง ซึ่งสินค้าไทยอาจเสียเปรียบในด้านราคาที่สูงกว่าคู่แข่ง ...เป็นที่น่าสังเกตว่า ตลาดใหม่ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นตลาดที่มีทิศทางดีในช่วงที่ผ่านมา กลับหดตัวสูงขึ้น สวนทางกับตลาดหลักที่ปรับตัวดีขึ้นในเดือนนี้ โดยการส่งออกไปยังตลาดใหม่ติดลบร้อยละ 25.2 จากที่หดตัวร้อยละ 18.2 ในเดือนก่อน เนื่องจากการส่งออกไปยังจีนหดตัวสูงขึ้นมาถึงร้อยละ 21.6 จากที่หดตัวเพียงร้อยละ 3.6 ในเดือนก่อน โดยเป็นผลมาจากการส่งออกที่ลดลงของสินค้าสำคัญ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และยางพารา ขณะที่สินค้าที่เคยเพิ่มสูงอย่างมากเช่น เม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยางและผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ก็ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สภาวะที่การส่งออกหดตัวรุนแรงด้วยอัตราที่สูงกว่าร้อยละ 20 ดังเช่นเดือนที่ผ่านๆ มานั้น น่าจะยุติลงแล้ว และจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น โดยมีมูลค่าการส่งออกในแต่ละเดือนสูงกว่า 13,000 ล้านดอลลาร์ฯ จากที่มีมูลค่าเฉลี่ย 11,588 ดอลลาร์ฯ ในช่วง 7 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลให้การส่งออกหดตัวในอัตราที่น้อยลงมาที่ประมาณร้อยละ 15 ในเดือนสิงหาคม และเหลือเป็นตัวเลขหลักเดียวในเดือนตุลาคม ก่อนที่จะกลับมาขยายตัวในแดนบวกเป็นครั้งแรกของปีนี้ได้ในเดือนพฤศจิกายน เหตุผลที่คาดว่าการส่งออกจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากสถานการณ์เศรษฐกิจในต่างประเทศเริ่มส่งสัญญาณดีขึ้นค่อนข้างชัดเจน โดยตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2/2552 ของประเทศชั้นนำส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาด ขณะที่เครื่องชี้เศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3/2552 ยังบ่งชี้การปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาคการผลิตและภาคอสังหาริมทรัพย์ แม้ว่าจะมีสัญญาณลบแทรกเข้ามาบ้าง เช่น ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคของสหรัฐฯ ยังคงลดลง ตัวเลขอัตราว่างงานยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มสูงขึ้น เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในระยะอันใกล้นี้ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่รัฐบาลของประเทศชั้นนำ อย่างกลุ่ม G-3 (สหรัฐฯ ยูโรโซน และญี่ปุ่น) และประเทศจีน นำออกมาใช้ จะยังคงมีผลต่อเนื่องให้เกิดการฟื้นตัวในภาคการผลิตและการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนความต้องการอุปโภคบริโภคสินค้าในประเทศเหล่านี้ให้ขยายตัวดีขึ้น ขณะที่กลุ่มประเทศในเอเชียที่หลายประเทศกลับมาขยายตัวได้ดีกว่าคาดเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า (QoQ) รวมทั้งเอเชียยังเป็นภูมิภาคที่น่าจะฟื้นตัวได้เข้มแข็งกว่าในภูมิภาคอื่นๆ กิจกรรมการผลิตกลับมาดีขึ้นของภูมิภาคเอเชียนี้ จึงน่าจะหนุนให้คำสั่งซื้อสินค้ากลุ่มชิ้นส่วนประกอบที่ไทยส่งออกไปยังเอเชียมีทิศทางที่ดีขึ้น สินค้าที่มีโอกาสที่จะฟื้นตัวได้ก่อนคาดว่าจะเป็นกลุ่มสินค้าสำหรับผู้บริโภค เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อาหาร เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย นอกจากนี้ สินค้าวัตถุดิบหรือปัจจัยการผลิต เช่น ยางพารา มันสำปะหลัง เหล็ก เคมีภัณฑ์และพลาสติก ก็น่าจะมีการเติบโตตามไปพร้อมกับตลาดสินค้าขั้นสุดท้ายด้วย ขณะที่กลุ่มชิ้นส่วนยานยนต์ ก็อาจมีโอกาสส่งออกดีขึ้นในตลาดที่ได้รับผลบวกจากมาตรการของภาครัฐในการกระตุ้นการซื้อรถยนต์ใหม่ เช่น ในสหรัฐฯ และญี่ปุ่น ส่วนรถยนต์สำเร็จรูปอาจไม่ได้รับอานิสงส์จากมาตรการเหล่านี้เท่าไรนัก แต่ก็อาจมีปัจจัยบวกมากขึ้นจากโอกาสในการส่งออกไปยังตลาดที่มีศักยภาพเติบโต เช่น ตะวันออกกลางและแอฟริกา อย่างไรก็ดี แม้คาดว่าภาวะการใช้จ่ายของผู้บริโภคจะดีขึ้นกว่าช่วงเวลาก่อนหน้า แต่การฟื้นตัวคงจะอยู่ในขอบเขตที่จำกัด เนื่องจากปัญหาการว่างงานและความเชื่อมั่นที่ยังอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ ...จากทิศทางเศรษฐกิจในต่างประเทศที่มีการปรับตัวดีขึ้นกว่าที่คาดนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงปรับกรอบล่างของประมาณการตัวเลขส่งออกของไทยในปี 2552 เพิ่มขึ้น เป็นหดตัวร้อยละ 14.5-17.5 จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่หดตัวร้อยละ 14.5-19.0 โดยการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังมีโอกาสหดตัวชะลอลงมาเป็นตัวเลขหลักเดียว จากที่หดตัวสูงร้อยละ 23.5 ในช่วงครึ่งปีแรก ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกชี้หุ้นเทคโนฯน่าสน สอดคล้องกับผลสำรวจความคิดเห็นของผู้จัดการกองทุนทั่วโลก ซึ่งจัดทำโดยแบงค์ ออฟ อเมริกา-เมอร์ริล ลินช์ บ่งชี้ว่า ผู้จัดการกองทุนส่วนใหญ่มีมุมมองในด้านบวกต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้นในเดือนส.ค. โดยจำนวนผู้จัดการกองทุนที่มองว่ามีโอกาสอย่างมากที่เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวขึ้นนั้น จำนวนเพิ่มขึ้นมากที่สุดในรอบ 6 ปี อย่างไรก็ตาม ผลสำรวจระบุต่อว่า แม้ผู้จัดการกองทุนทั่วโลกมีมุมมองที่เป็นบวกต่อเศรษฐกิจโลกมากขึ้น แต่ก็ยังไม่แน่นอนว่าผู้จัดการกองทุนจะมีมุมมองที่เป็นบวกเช่นนี้ยาวนานเพียงใด เพราะเมื่อพิจารณาเป็นรายภูมิภาคแล้ว ผู้จัดการกองทุนทุ่มน้ำหนักการลงทุนในประเทศตลาดเกิดใหม่จำนวนมาก แต่กลับจำกัดการลงทุนในตลาดหุ้นสหรัฐ อังกฤษ ยุโรป และญี่ปุ่น ที่สำคัญ ผลการสำรวจครั้งนี้ บ่งชี้ว่า หุ้นกลุ่มเทคโนโลยียังคงเป็นหุ้นที่ได้รับความสนใจมากที่สุดจากกลุ่มผู้จัดการกองทุน โดย 28% ของผู้จัดการกองทุนที่ตอบรับการสำรวจได้ทุ่มน้ำหนักการลงทุนไปที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยี ส่วนหุ้นกลุ่มธนาคารซึ่งได้รับผลกระทบหนักสุดจากวิกฤตการณ์การเงินโลก ยังคงเป็นหุ้นที่ได้รับความสนใจน้อยที่สุด โดยมีผู้จัดการกองทุนเพียง 10% เท่านั้นที่เทน้ำหนักการลงทุนไปที่หุ้นกลุ่มนี้ ด้านบล.คันทรี่ กรุ๊ป ประเมินภาพรวมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในช่วงไตรมาส 3 จะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง จากการเข้าสู่ช่วง High Season ของอุตสาหกรรมในไตรมาส 3 ซึ่งเป็นช่วงที่ผู้ผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ทำการสั่งซื้อชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จากผู้ผลิตเพิ่มมากขึ้น เพื่อสต็อกสินค้ารองรับการขายในช่วงไตรมาส 4 ที่จะมีคำสั่งซื้อค่อนข้างมาก สำหรับภาพรวมอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ประเมินว่า การส่งออกอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในไตรมาส 3 และ 4 ของปีนี้น่าจะดีกว่าไตรมาส 1 และ 2 และคาดว่าอุตสาหกรรมนี้เฉลี่ยทั้งปี จะติดลบประมาณร้อยละ 20-25 จากเดิมที่คาดไว้จะติดลบมากกว่าร้อยละ 30-40 ทั้งนี้ จากภาพรวมของเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะ จีน ที่ยังมีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง จะส่งผลดีต่อความต้องการบริโภคสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในอนาคต เราจึงประเมินว่าการส่งออกอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศจะสามารถปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลดีต่อผู้ผลิตในประเทศ
cgs
***************
21/08/52

นักวิชาการรัฐ-เอกชนคาดจีดีพี Q2 หดตัว 5-6% แต่เริ่มเห็นสัญญาณ ศก.ฟื้น Source - IQ Biz (Th) Friday, August 21, 2009 10:57 อินโฟเควสท์ (21 ส.ค. 52)--หลายสถาบันประสานเสียงคาด GDP ของไทยไตรมาส 2/52 ติดลบ 5-6% จากติดลบ 7.1% ในไตรมาส 1/52 แสดงให้เห็นว่ามีการฟื้นตัวขึ้นจากไตรมาสแรก แม้จะยังติดลบก็ตาม โดยเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดในช่วงไตรมาสแรกไปแล้ว ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ช่วยฉุด GDP ไตรมาส 2 ให้ดีขึ้น คือ สัญญาณการผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่เริ่มฟื้นตัวจากคำสั่งซื้อที่ทยอยเข้ามา และการบริโภคภาคเอกชนที่เริ่มฟื้นตัวจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐเริ่มส่งผลดี สถาบัน GDP ไตรมาส 2/52 สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง -5 ถึง -6% มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย -5 ถึง -6% ศูนย์วิจัยกสิกรไทย -5.1% นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) คาดว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(GDP)ของไทยในไตรมาส 2/52 ที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)จะประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 ส.ค.นี้ จะอยู่ที่ระดับ -5 ถึง -6% ซึ่งแม้จะยังหดตัวแต่ก็ดีขึ้นจากไตรมาส 1/52 ที่อยู่ในระดับ -7.1% ดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจในประเทศหลายตัวเริ่มปรับตัวดีขึ้น เช่น ตัวเลขการส่งออก อุตสาหกรรมการผลิตที่เริ่มผงกหัวขึ้น เช่น อิเล็กทรอนิกส์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ฮาร์ดดิสก์ และยานยนต์ เป็นต้น การบริโภคในประเทศที่ดูได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT)ที่ติดลบน้อยลง ประกอบกับ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในรอบแรกที่เริ่มส่งผลให้เห็นในไตรมาส 2 บ้างแล้ว ขณะที่ปัจจัยด้านต่างประเทศจะพบว่าจีดีพีของหลายประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทยเริ่มดีขึ้น ทั้งสหรัฐและญี่ปุ่น "เราดูไว้ว่าจะดีขึ้นกว่าไตรมาส 1 เพราะทิศทางมันดีขึ้น ปัจจัยต่างๆ เป็นบวกกว่าไตรมาสแรกเยอะ ทั้งส่งออก การบริโภค การผลิต ที่เริ่มผงกหัวขึ้นบ้างแม้จะยังลบอยู่ ประกอบกับ ปัจจัยจากเศรษฐกิจโลกในไตรมาส 2 ของทุกประเทศปรับตัวดีขึ้น ทั้งอเมริกา ญี่ปุ่น...ประมาณ -5 ถึง -6% น่าจะเป็นไปได้ ส่วนไตรมาส 3 จีดีพีจะติดลบน้อยลงอีก และจะกลับเป็นบวกแน่ในไตรมาส 4" ผอ.สศค.กล่าว นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เห็นสอดคล้องกับ สศค.โดยมองว่า GDP ไตรมาส 2/52 จะอยู่ที่ระดับ -5 ถึง -6% ถือว่าดีขึ้นจากไตรมาสแรก เนื่องจากเชื่อว่าในไตรมาส 2 ภาคการบริโภคและภาคการผลิตจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นจากปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าที่จะส่งมอบในไตรมาส 3 จึงทำให้เริ่มมีการผลิตและส่งออกได้มากขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 "มองว่าจีดีพีไตรมาส 2 จะดีขึ้น เพราะภาคการผลิตรับรู้ order ในไตรมาส 3/52 จึงทำให้เริ่มผลิตสินค้ามากขึ้นในไตรมาส 2 แต่ยังเป็นการค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น เพราะสัญญาณดังกล่าวยังไม่ได้ถือว่าเพิ่มขึ้นสูงมากนัก" นายธนวรรธน์ ระบุ นอกจากนี้ มาตรการต่างๆ ของภาครัฐยังช่วยหนุนให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปรับตัวดีขึ้น เช่น โครงการเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท, โครงการเรียนฟรี 15 ปี, การขับเคลื่อนเศรษฐกิจผ่านการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณในช่วงที่เหลือของปีงบประมาณ 52 ซึ่งส่งผลให้เม็ดเงินเหล่านี้ลงไปกระตุ้นกำลังซื้อของประชาชนให้เริ่มมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ขณะที่คาดว่าไตรมาส 3/52 เศรษฐกิจจะเริ่มติดลบน้อยลงมาที่ -2 ถึง -3% และคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวเป็นบวกได้เล็กน้อยในช่วงไตรมาส 4/52 ที่ 1-2% แต่ทั้งปี 52 ยังเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะอยู่ในระดับ -3.5% ด้านบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด คาดว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/52 จะติดลบน้อยลงกว่าไตรมาส 1/52 มาอยู่ที่ 5.1% โดยปัจจัยสำคัญที่ผลักดันให้เศรษฐกิจในไตรมาส 2/52 ปรับตัวดีขึ้น คือ การชะลอตัวของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเริ่มน้อยลง การบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น ทิศทางเศรษฐกิจไทยที่ค่อยเริ่มปรับตัวดีขึ้นจากผลของการเริ่มฟื้นตัวขึ้นของเศรษฐกิจโลกที่ทำให้คำสั่งซื้อสินค้าจากต่างประเทศเริ่มกลับคืนมา นอกจากนี้ การผลิตในภาคอุตสาหกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นส่งผลไปสู่การจ้างแรงงานกลับเข้าทำงาน ประกอบกับการใช้จ่ายเม็ดเงินของรัฐบาลภายใต้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งมีส่วนช่วยประคับประคองการใช้จ่ายของผู้บริโภคให้กระเตื้องขึ้นกว่าในไตรมาสแรก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของภาคการส่งออกผนวกกับผลของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของทางการไทย น่าจะยังคงเป็นแรงส่งให้เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3/2552 มีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ต้องเผชิญกับปัจจัยลบภายในประเทศที่สำคัญ คือ การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 และสถานการณ์ทางการเมือง ซึ่งอาจกระทบต่อภาคการท่องเที่ยวและกิจกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคอยู่บ้าง
cgs --อินโฟเควสท์ โดย กษมาพร กิตติสัมพันธ์/ศศิธร
stock in focus
***********
20/08/52
469 บจ.กำไรหดแสนล้าน > ปตท.-ไมเนอร์-สยามแม็คโครฟอร์มตก/CPF-บ้านปู โตสวนกระแส
เปิดผลประกอบการครึ่งปีแรก 469 บริษัทในตลาดหุ้นฟอร์มตกกำไรรวม 2.11 แสนล้านบาทหดหายเฉียดแสนล้าน ปตท.- ไมเนอร์- สยามแม็คโคร ซีดเทียบกับปีก่อนลดลง 20-50% แต่ขาใหญ่ทั้ง ซีพีเอฟ,ทียูเอฟ บ้านปู และบิ๊กอสังหาฯยังโชว์ฝีมือเติบโตสวนกระแส สมาคมนักวิเคราะห์คาดไตรมาส 4 จะเบิกบานถ้วนหน้าอาจโตถึง 30 % ได้อานิสงส์จากกลุ่มพลังงาน-ปิโตรเคมีแต่เตือนสติปัจจัยเสี่ยงข้างหน้ายังมีอีกอื้อ





บริษัทหลักทรัพย์(บล.)เอเซีย พลัส จำกัด(มหาชน) (บมจ.) รายงานผลประกอบการงวด 6 เดือนแรกปี 2552 ของบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET )จำนวน 469 บริษัท จากทั้งหมด 475 บริษัท และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 12 กอง จากทั้งหมด 25 กอง มีกำไรสุทธิรวม 2.11 แสนล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนมีกำไรสุทธิ 3.05 แสนล้านบาท ลดลง 31 %

ส่วนผลการดำเนินงานไตรมาส 2 มีกำไรสุทธิรวม 1.24 แสนล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนมีกำไรสุทธิรวม 1.51 แสนล้านบาท ลดลง 18 % คิดเป็นเงิน 9.4 หมื่นล้านบาท

ขณะที่"ฐานเศรษฐกิจ" รวบรวมรายได้ของบจ.ขนาดใหญ่ 41 บริษัท ในกลุ่มSET 50 (ไม่รวมกลุ่มสถาบันการเงิน)พบว่ามีรายได้รวม 2.50 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.82 แสนล้านบาท คิดเป็นอัตรา 12.73 % ในจำนวนดังกล่าวเป็นการเพิ่มขึ้นของรายได้บมจ. ปตท.มากที่สุดถึง 1.10 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 59.8 % จากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีรายได้รวม 6.91 แสนล้านบาท เท่านั้น ขณะที่บจ.ในSET 50 มีกำไรสุทธิรวม 1.40 แสนล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันปีก่อนมีกำไรสุทธิรวม 2.03 แสนล้านบาท ลดลง 6.3 หมื่นล้านบาท

ซีพีเอฟ-ทียูเอฟ ฟอร์มเจ๋ง

สำหรับบจ.ที่กำไรเติบโตโดดเด่นสวนกระแสเศรษฐกิจที่ซบเซา คือ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือซีพีเอฟ ที่งวด 6 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ 3,964.40 ล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกันปีก่อน 176.07 % โดยเฉพาะงวดไตรมาส 2 มีกำไรสุทธิถึง 3,194 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันปีก่อน 2,209 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 224 % โดยมีปัจจัยหลักมาจากผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นของธุรกิจสัตว์น้ำในประเทศและธุรกิจของบริษัทย่อยในต่างประเทศ รวมไปถึงการขยายการขายสินค้าหมวดอาหารพร้อมรับประทานภายใต้ตราสินค้าซีพีไปยังตลาดต่างๆ ทั่วโลก

สำหรับบมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ หรือทียูเอฟ ซึ่งเป็นบจ.ขนาดใหญ่ในกลุ่ม SET 50 อีกบริษัทที่มีผลประกอบการโดดเด่น โดยงวด 6 เดือนแรก มีรายได้จากการขายเท่ากับ 34,861.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8% จาก 32,207.9 ล้านบาท ในรอบเดียวกันปีก่อนโดยมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 64% จาก 981.4 ล้านบาท มาเป็น 1,607.5 ล้านบาท ในปีนี้

บริษัทดังกล่าวชี้แจงตลาดหลักทรัพย์ฯถึงสาเหตุที่กำไรเพิ่มขึ้นว่า เนื่องจากการบริหารจัดการด้านต้นทุน และการบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่องโดยการดูแลและควบคุมต้นทุน อย่างรัดกุม ทำให้มีมาร์จินที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ส่งผลให้กำไรสุทธิในไตรมาส 2 ดีกว่าปีก่อน แม้ว่าจะมีรายได้จากการขายในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯลดลง 4% จากไตรมาสเดียวกันในปี 2551เนื่องจากราคาวัตถุดิบที่ปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว ทำให้ต้องปรับราคาขายลงมาเป็นปกติ แต่ก็มีปริมาณขายเพิ่มขึ้นถึง 4% ทำให้มูลค่าการขายในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯไม่ลดลงไปมากนัก โดยมีรายได้จากการขายในรูปเงินบาทสำหรับไตรมาส 2 ที่ผ่านมา เท่ากับ 17,195.0 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 2% จากไตรมาสเดียวกันในปีก่อนซึ่งเท่ากับ 16,792.3 ล้านบาท


***บ้านปู ยอดขายไตรมาส 2 พุ่ง


ส่วนบมจ.บ้านปู ซึ่ง 6 เดือนแรกกำไรพุ่งเท่าตัว จาก 4,372.70 ล้านบาท ในงวด 6 เดือนแรกของปีก่อน เป็น 8,779.70 ล้านบาท สำหรับงวด 6 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทดังกล่าวแจ้งว่ามีสาเหตุหลัก ๆมาจากรายได้จากการขายจำนวน 12,932 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อน 1,865 ล้านบาท คิดเป็น 17 % และอัตราส่วนการทำกำไรขั้นต้นต่อยอดขายรวม (Gross Profit Margin)คิดเป็น 50 % ซึ่งธุรกิจถ่านหินมีอัตราส่วนการทำกำไรขั้นต้น 53 % และธุรกิจไฟฟ้ามีอัตราส่วนการทำกำไรขั้นต้น 22 %

ร.พ.-อสังหาฯตีปีก


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากบริษัทที่กล่าวข้างต้นโชว์กำไรสวนกระแสผลการดำเนินงานบจ.โดยรวมที่ลดลง ซึ่งเป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวแล้ว พบว่ายังมีบจ.ขนาดใหญ่ 100 อันดับแรก หรือกลุ่มSET 100 หลายบริษัทที่กำไรเติบโต

บมจ.ไดนาสตี้ เซรามิค งวด 6 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ 524.2 ล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกันปีก่อน 36.15 % ,บมจ.สยามแก๊ส งวด 6 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ 544.3 ล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกันปีก่อน 32.33 % ,บมจ.โฮม โปรดักส์ งวด 6 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ 494.9 ล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกันปีก่อน 72.49 % และบมจ.บางกอก เชน ฮอสปิทอล ซึ่งประกอบธุรกิจโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ งวด 6 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ 344 ล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกับปีก่อน 20.11 % เป็นต้น

อีกทั้งบจ.กลุ่มอสังหาริมทรัพย์หลายบริษัทผลประกอบการเติบโตโดดเด่น เช่น บมจ.พฤกษา เรียลเอสเตท 6 เดือนแรก มีกำไรสุทธิ 1,326.70 ล้านบาท บมจ.แสนสิริ งวด 6 เดือนแรกพลิกมีกำไรสุทธิ 505.8 ล้านบาท ขณะที่ช่วงเดียวกันปีก่อนขาดทุนสุทธิ 75 ล้านบาท เป็นต้น (อ่านข่าวประกอบหน้า 33 )


***ปตท.กำไรหายเฉียด 3 หมื่นล.


สำหรับบจ.ขนาดใหญ่ที่ผลประกอบการงวด 6 เดือนแรกยังทรุดตัว คือ บมจ.ปตท.และบริษัทย่อย ที่รายงานกำไรสุทธิครึ่งปีแรกจำนวน 27,344 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อนจำนวน 28,673 ล้านบาท หรือลดลง 51.2% โดยมีรายได้จากการขาย 690,565 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 391,994 ล้านบาท หรือลดลง 36.2% ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากราคาขายผลิตภัณฑ์ที่ปรับตัวลดลงตามราคาในตลาดโลกที่ปรับลดลง

นอกจากนี้ครึ่งปีแรกปตท.และบริษัทย่อยมีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วมจำนวน 10,432 ล้านบาท ลดลง 10,661 ล้านบาทหรือลดลง 50.5% ส่วนใหญ่มาจากผลการดำเนินงานของบริษัทร่วมในกลุ่มธุรกิจการกลั่นที่ลดลง จากค่าการกลั่นที่ปรับตัวลดลง ประกอบกับธุรกิจปิโตรเคมีสายโอเลฟินส์มีผลประกอบการที่ลดลง

ขณะที่นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท คาดว่ากำไรสุทธิในครึ่งปีหลังนี้ จะใกล้เคียงกับช่วงครึ่งปีแรก เนื่องจากยังมีแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจ และธุรกิจปิโตรเคมีที่มาร์จินอาจไม่ดีนัก เพราะมีโรงงานใหม่ๆเกิดขึ้น ทำให้มีซัพพลาย(กำลังการผลิต)มากขึ้น

"ครึ่งหลังของปีนี้ กำไรสุทธิน่าจะใกล้เคียงกับครึ่งปีแรก แม้ว่าราคาน้ำมัน จะสูงกว่าครึ่งปีแรกก็ตาม แต่ก็มีปัจจัยจากภาวะเศรษฐกิจ ที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้" นายประเสริฐ กล่าว

***ไมเนอร์ แย่สุดในรอบ 10 ปี

นางปรารถนา มงคลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายการเงิน บมจ. ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล คาดว่ากำไรสุทธิปีนี้จะลดลงจากปีที่แล้ว ประมาณ 10-20% เนื่องจากธุรกิจโรงแรม ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีอัตรากำไรสูงปรับลดลงอย่างต่อเนื่อง

โดยงวด 6 เดือนปีนี้ อัตรากำไรก่อนหักภาษีของธุรกิจโรงแรมอยู่ที่ 27% จากอัตราปกติที่เคยอยู่ที่ 40% คิดเป็นการปรับตัวลดลง 13% ขณะที่อัตรากำไรก่อนหักภาษีของธุรกิจอาหารปีนี้อยู่ที่ 15% สูงกว่าปีที่แล้วที่อยู่ที่ 13% คิดเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่คาดการณ์การเติบโตของรายได้รวมปีนี้ไว้ที่ 8% ซึ่งเป็นการปรับลดเป้าหมายลงครั้งที่ 2 จากเดิมที่เคยมองว่ารายได้จะเติบโตราว 10% ในช่วงสิ้นไตรมาสแรกและคาดการณ์เดิมรายได้โต 15-20% ในช่วงปีปลายปีที่แล้ว ทั้งนี้ การเติบโตของรายได้รวมปีนี้ นับเป็นการเติบโตที่ต่ำที่สุดในรอบ 10 ปี

***โมเดิร์นเทรดยังแย่

สำหรับธุรกิจค้าปลีกใหม่ หรือโมเดิร์นเทรด ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็หนีไม่พ้นพิษกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ลดลงโดย บมจ.
สยามแม็คโคร รายงานกำไรสุทธิงวด 6 เดือนแรก มีกำไรสุทธิ 585.70 ล้านบาท ลดลง 28.75 % จากช่วงเดียวกันปีก่อน เช่นเดียวกับบมจ.บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ งวด 6 เดือนแรกมีกำไรสุทธิ 1,319.20 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 3.38 %

บมจ.สยามแม็คโคร ชี้แจงสาเหตุที่กำไรลดลงว่า ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจยังคงซบเซาและไม่มีสัญญาณของการฟื้นตัวที่ชัดเจนซึ่งเห็นได้จากอัตราการเติบโตของการส่งออกที่ติดลบอย่างมากในไตรมาส 2 เมื่อเทียบงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมา นอกจากนั้น ภาคการท่องเที่ยวมีแนวโน้มลดลง อีกทั้งมีหลายเหตุการณ์เกิดขึ้นในเชิงลบในไตรมาสดังกล่าว เช่น ความวุ่นวายทางการเมืองระหว่างช่วงเทศกาลสงกรานต์ การระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 อัตราเงินเฟ้อที่ติดลบ ซึ่งทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลงและ เศรษฐกิจหดตัว

อย่างไรก็ดีบริษัทได้บริหารธุรกิจทำให้มียอดรายได้รวมจำนวน 19,008 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.8 % จากช่วงเดียวกันปีก่อน ขณะที่อัตราส่วนของกำไรขั้นต้นต่อยอดขายคิดเป็น 6.1 % ลดลงจาก 6.7 % ของไตรมาสเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นผลมาจากมีการแข่งขันด้านราคาอย่างมากในตลาด

**"เดลต้า" ยักษ์อิเล็กทรอนิกส์อ่วม

นายอนุสรณ์ มุทราอิศ กรรมการ บมจ. เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า แนวโน้มธุรกิจช่วงครึ่งปีหลังจะเป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยมีแรงขับเคลื่อนมาจากการที่รัฐบาลของแต่ละประเทศอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ โดยเฉพาะธุรกิจเทเลคอม ประกอบกับเป็นช่วงฤดูกาลขายของบริษัท

ขณะที่คาดว่าทั้งปี 2552 ยอดขายจะต่ำกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากผลงานช่วง 6 เดือนแรกไม่ดีเท่าที่ควร ทั้งนี้ช่วงปลายไตรมาส4 ปีก่อน บริษัทตั้งเป้ายอดขายไว้ที่ 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ(ประมาณ 37,400 ล้านบาท) แต่ขณะนี้คาดว่ายอดขายทั้งปีน่าจะอยู่ที่ 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 30,600 ล้านบาท ) นอกจากนี้ บริษัทตั้งเป้าอัตรากำไรสุทธิ (Net Profit Margin) ไว้ที่ 8% จากปัจจุบันอยู่ที่ 6.5%


***ส.นักวิเคราะห์คาดทั้งปีโต 30 %

นายสมบัติ นราวุฒิชัย เลขาธิการสมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ คาดว่าผลการดำเนินงานบจ. ในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2552 จะทยอยฟื้นตัวเมื่อเทียบจากปี 2551 โดยคาดว่าไตรมาส 4 นี้ ได้แรงหนุนจากกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ที่คาดว่าเริ่มกลับมามีกำไรจาก
สต๊อกสินค้า เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปี 2551 ที่ผลการดำเนินงานขาดทุน
ดังนั้นคาดว่าทั้งปี 2552 บจ. จะมีกำไรสุทธิรวม 3.8-3.9 แสนล้านบาท เติบโตประมาณ 30 % จากปี 2551 ที่มีกำไรสุทธิรวม 2.9 แสนล้านบาท โดยจะเป็นกำไรสุทธิจากไตรมาส 3 -4 เฉลี่ยไตรมาสละ 1 แสนล้านบาท


***ติงปัจจัยเสี่ยงอื้อ!

อย่างไรก็ตามนายสมบัติกล่าวว่า ภาพรวมผลประกอบการบจ.ทั้งปี 2552 ไม่ได้สะท้อนถึงศักยภาพของภาคธุรกิจในการปรับตัวเพื่อรับมือภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอ นอกจากนี้ภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวก็ยังไม่เห็นสัญญาณที่ชัดเจนในปีนี้ แม้กระทั่งผลประกอบการกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ก็ยังถือว่าทรงตัวจากปัจจัยบวกอัตราดอกเบี้ยต่ำ
ขณะที่ความเสี่ยงยังคงมีต่อเนื่องจากสัญญาณการจ้างงานในภาคแรงงานที่ยังฟื้นตัวไม่ชัด รวมกลุ่มอุตสาหกรรมที่ถือว่ายังได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัว โรคไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 และปัจจัยเสี่ยงจากการเมืองในประเทศ คือ กลุ่มท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรม และสายการบิน เป็นต้น

ฐานเศรษฐกิจ
*************
11/08/52
ฝรั่งหวนคืนตลาดหุ้น-ลุ้นศก.ฟื้น-กำไรQ2ดีต่อเนื่องถึงสิ้นปี
“ปกรณ์” ประธานตลาดหุ้นไทย เผยนักลงทุนต่างชาติกลับเข้าลงทุนในตลาดหุ้น หลังเกิดความเชื่อมั่นเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวชัดเจน ส่งผลให้มียอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปีสูงกว่า 3.5 หมื่นล้านบาท พร้อมเตือนกลุ่มเสื้อแดงป่วนฉุดความน่าสนใจตลาดหุ้น แม้มั่นใจผลประกอบการบจ.ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องถึงไตรมาส 4/52 ขณะที่โบรกเกอร์ ชี้ดัชนีตลาดหุ้นอาจปรับฐานหลังดีดแรงเกินปัจจัยพื้นฐาน ด้านเงินกองทุนตลาดหลักทรัพย์ฯ รอคณะกรรมการปฏิรูปองค์กรตลาดหลักทรัพย์ฯพิจารณา

บรรยากาศการลงทุนในตลาดหุ้นไทย วานนี้ (10 ส.ค.) ดัชนีตลาดหุ้นไทยได้ปรับตัวเพิ่มในทิศทางเดียวกันตลาดหุ้นภูมิภาค โดยมีปัจจัยบวกจากตัวเลขการจ้างงานของสหรัฐฯ มีทิศทางที่ดีขึ้น สะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ส่งผลให้นักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจกลับเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นมากยิ่งขึ้น

โดยดัชนีตลาดหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นทดสอบแนวต้านสำคัญที่ระดับ 650 จุด และปรับตัวแตะระดับสูงสุดที่ 650.88 จุด แต่ไม่สามารถยืนเหนือระดับดังกล่าวได้ จากแรงเทขายหุ้นกลุ่มพลังงานออกมา ส่งผลให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวลดลงอีกครั้ง แตะระดับต่ำสุดที่ 643.01 จุด ก่อนจะปิดการซื้อขายที่ 643.75 จุด ลดลงจากวันก่อน 0.45 จุด คิดเป็น 0.07% มูลค่าการซื้อขายรวม 16,810.49 ล้านบาท

ทั้งนี้ นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 724.14 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 174.46 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 549.67 ล้านบาท ส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมียอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปี 2552 สูงกว่า 35,282.01 ล้านบาท

นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น เกิดจากแรงซื้อของนักลงทุนต่างประเทศ และนักลงทุนสถาบันในประเทศ เนื่องจากนักลงทุนเริ่มมีความมั่นใจเข้ามาลงทุนมากขึ้นจากสัญญาณเศรษฐกิจโลกจะมีการฟื้นตัวที่ชัดเจนแล้ว บวกกับเศรษฐกิจสหรัฐฯ และประเทศไทยได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยเฉพาะเศรษฐกิจของไทยที่คาดว่าไตรมาส 4/52 น่าจะมีอัตราการเติบโตเป็นบวกได้ จึงส่งผลให้มูลค่าการซื้อขายในตลาดหุ้นไทยมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 16,000-17,000 ล้านบาทต่อวัน จากต้นปีอยู่ระดับ 8,000 ล้านบาทต่อวัน

ด้านปัจจัยลบที่อาจจะส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นไทย คือ ปัญหาทางการเมือง ที่ยังไม่มีความชัดเจนเท่าที่ควร โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดงที่มีการยื่นถวายฎีกาขอพระราชทานอภัยโทษให้กับ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ซึ่งส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล ขณะที่ตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน เช่น อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์ ที่ไม่มีปัญหาการเมือง

สำหรับทิศทางราคาน้ำมันนั้น คาดว่าราคาน้ำมันโลกน่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงกว่าร 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล หลังจากเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัว ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตาม การที่ราคาน้ำมันแพงอาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ดังนั้นผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนจะต้องเพิ่มศักยภาพการบริหารจัดการเพื่อให้บจ.สามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

“ผลประกอบการบจ. ไตรมาส 2/52 ที่ทยอยประกาศออกมา มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นดีกว่าไตรมาส 1/52 ดังนั้นจึงคาดว่ากำไรบจ.น่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องถึงไตรมาส 4/52 จากภาวะเศรษฐกิจโลกและไทยที่ฟื้นตัว” นายปกรณ์ กล่าว

ส่วนกรณีที่นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง มีนโยบายที่จะนำเงินกองทุนของตลาดหลักทรัพย์ฯ เข้ากระทรวงการคลังนั้น นายปกรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้ยังเป็นประเด็นที่เร็วเกินไปจะตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากแปลงสภาพของตลาดหลักทรัพย์ฯ จะต้องมีการแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาและเสนอให้สภาพิจารณา และหากสภาเห็นชอบนั้นจะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปองค์กรตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยจะมีตัวแทนจากกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ตลาดหลักทรัพย์ฯ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฯลฯ ในการพิจารณาจัดสรรเงินกองทุนของตลาดหลักทรัพย์เพื่อทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีความแข็งแกร่งในการแข่งขันกับตลาดหุ้นอื่นๆ และเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ

นายเผดิมภพ สงเคราะห์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) กสิกรไทย จำกัด (KS) กล่าวถึง แนวโน้มตลาดหุ้นไทยภายหลังที่บริษัทจดทะเบียนทยอยประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 2/52 ว่า ผลการดำเนินงานที่ออกมาน่าจะดีกว่าช่วงไตรมาสที่ผ่านมาที่เศรษฐกิจทั่วโลกกำลังประสบปัญหา ซึ่งจะเห็นได้จากผู้ประกอบการบางส่วนได้ปรับประมาณการกำไรเพิ่มขึ้น

“ตลาดหุ้นไทยกลับมาคึกคึก มูลค่าการซื้อขายค่อนข้างหนาแน่น จากการคาดการณ์ผลประกอบการบจ.ที่ออกมาดี แต่ประเด็นหลักๆ ที่มีน้ำหนักต่อการลงทุนในตลาดหุ้นน่าจะมาจากภาพรวมเศรษฐกิจที่ได้ผ่านจุดต่ำสุด และเริ่มปรับตัวดีขึ้น”
ส่วนของปัจจัยอื่นที่น่าจับตาและมีผลต่อการขับเคลื่อนของระบบเศรษฐกิจและตลาดทุนไทย คือ ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ จากกระแสการฟื้นตัวของระบบเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่แนวโน้มมีการปรับตัวดีขึ้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวถือเป็นคู่แข่งที่สำคัญของตลาดหุ้น ประกอบกับปัจจัยทางการเมืองในประเทศที่จะคลี่คลายออกมาในทิศทางใด

ด้านนายเตชธร ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล. เอเซียพลัส จำกัด (ASP) กล่าวเพิ่มเติมว่า แนวโน้มตลาดหุ้นมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นตามผลการดำเนินงานของบจ.ที่ทยอยประกาศผลกำไรไตรมาส 2/52 ส่งผลให้นักลงทุนกล้าเข้ามาลงทุนเพิ่มมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากมูลค่าการซื้อขายที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่องและมีการปรับตัวดีขึ้นจากช่วงก่อนอย่างเห็นได้ชัด

อย่างไรก็ตาม ประเด็นดังกล่าวทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงเกินกว่าผลการดำเนินงาน อาจจะทำให้ตลาดหุ้นไทยมีการปรับฐาน แม้ไตรมาส 3-4 สินค้าอุปโภคบริโภคจะมีกำไรจากสต๊อกสินค้า แต่ราคาคงไม่ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นแรงเหมือนช่วงต้นปีที่ผ่าน โดยเฉพาะราคาน้ำมันปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 75-80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล
manageronline
stock in focus

********
07/08/52
ยอดขอBOI7ด.ลดลง5.3%
บีโอไอ เผย ยอดเงิน 7 เดือนแรกของปีนี้ลดลงร้อยละ 5.3

สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ มียอดรวม 588 ราย ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มี 701 ราย ขณะที่เงินลงทุน 222,300 ล้านบาท ลดลงเล็กน้อยจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีเงินลงทุน 234,700 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 5.3

ด้านเงินทุนจดทะเบียนอยู่ที่ 43,500 ล้านบาท ลดลงจาก 48,100 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยทุนจดทะเบียนต่างชาติ ลดมาที่ 11,800 ล้านบาท จากช่วงเดียวกันของปีก่อน อยู่ที่ 27,100 ล้านบาท แต่ทุนจดทะเบียนไทยเพิ่มขึ้นเป็น 31,700 ล้านบาท จาก 21,000 ล้านบาท ส่งผลให้การจ้างงานลดลงมาก โดยในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้เหลือเพียง 49,584 คน จาก 106,628 คน ในช่วงเดียวกันของปีก่อน หรือลดลงร้อยละ 53.5

สำหรับประเทศที่ยื่นขอรับโครงการลงทุนสูงสุด คือ ญี่ปุ่น 132 ราย รองลงมาเป็นยุโรป สหรัฐ สิงคโปร์ ไต้หวัน และฮ่องกง ส่วนประเภทธุรกิจที่ขอรับส่งเสริมการลงทุนมากที่สุด คือ ธุรกิจบริการ และสาธารณูปโภค 212 โครงการ รองลงมา คือ ธุรกิจด้านเกษตรกรรม และผลผลิตจากการเกษตร และธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องใช้ไฟฟ้า แต่หากพิจารณาจากมูลค่าเงินลงทุนแล้วพบว่าธุรกิจบริการและสาธารณูปโภค มีเงินลงทุนสูงสุด 159,400 ล้านบาท รองลงมาคือ ธุรกิจด้านเกษตรกรรม และผลิตผลจากการเกษตร และธุรกิจผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ขนส่ง

ส่วนยอดอนุมัติให้การส่งเสริมการลงทุนในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ มีทั้งสิ้น 482 ราย ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มี 666 ราย คิดเป็นเงินลงทุน 115,300 ล้านบาท มีทุนจดทะเบียนทั้งสิ้น 15,300 ล้านบาท
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=60796
stock in focus

*******
06/08/52
นายกฯเชื่อศก.ไทยผ่านจุดต่ำสุด มั่นใจฟื้น'V'
Source - เว็บไซต์สำนักข่าวเนชั่น (Th) Thursday, August 06, 2009 14:01
(Update)"อภิสิทธิ์"แถลงผลงานรัฐบาล6เดือน ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว มั่นใจฟื้นตัวแบบ"V" นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีแถลงผลงานรัฐบาล6เดือนว่า สิ่งที่รัฐบาลได้ดำเนินไปกับภาวะความเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจโลก ได้ส่งผลแล้วต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย โดยจะเห็นได้ว่าขณะนี้เศรษฐกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และกำลังเริ่มฟื้นในอัตราที่เร่งตัวพอสมควร "จะเห็นว่าเราได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วจริงๆ และขณะนี้กำลังมีแนวโน้มการขยายตัวในอัตราที่ค่อนข้างเร่งตัวขึ้นพอสมควร หรือเป็นการฟื้นฟูแบบตัว V คือลงเร็ว และขึ้นค่อนข้างเร็ว" นายกรัฐมนตรี กล่าว นอกจากนี้ ยังมีเครื่องชี้วัดทางเศรษฐกิจอีกหลายตัวที่มีสัญญาณไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ดัชนีผลผลิตทางอุตสาหกรรมที่เมื่อเทียบเป็นรายไตรมาสจะเห็นการฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน, อัตราการใช้กำลังการผลิต ที่เริ่มมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น, ดัชนีการบริโภคของภาคเอกชนที่มีสัญญาณดีขึ้น, รายได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม(VAT) และดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม เป็นต้น "6 เดือนที่ผ่านมา ผมทราบดีว่าเป็นช่วงที่ทุกคนยากลำบากที่สุดจากวิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้ แต่ผมมั่นใจว่าจุดเลวร้ายที่สุดได้ผ่านพ้นไปแล้ว และขณะนี้จากการวางแผนมาตรการเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง จะทำให้การฟื้นตัวเกิดขึ้น และรัฐบาลได้เตรียมความพร้อมสำหรับเศรษฐกิจหลังการฟื้นตัวแล้วด้วย" นายกรัฐมนตรี กล่าวย้ำ ทั้งนี้ จากผลที่ต่อเนื่องของเหตุความวุ่นวายทางการเมืองในเดือนเม.ย.52 ประกอบกับปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ยังเป็นจุดที่รัฐบาลต้องเดินหน้าแก้ปัญหาต่อไป นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ความขัดแย้งทางการเมืองในขณะนี้ยังไม่จบ แต่รัฐยืนยันในการปกป้องสถาบันหลัก และมุ่งสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นภายในชาติอย่างทำเต็ม โดยดำเนินการอยู่บนความรอบคอบระมัดระวังและไม่ให้เกิดความเพลี่ยงพล้ำ จะทำให้ตกเป็นเหยื่อของผู้ที่ต้องการเห็นความขัดแย้งขยายวงไปสู่สถาบันต่างๆ ที่จะก่อให้เกิดความวุ่นวายไม่สิ้นสุด "แม้ความขัดแย้งทางการเมืองจะยังต้องมีต่อไป แต่แนวทางที่รัฐบาลได้ยึดถือปฏิบัติตลอดการทำงานที่ผ่านมา และการทำงานร่วมกับรัฐสภาในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะเป็นคำตอบแก่สังคมได้ในที่สุด "นายกฯกล่าว ด้านนายกรณ์ จาติกวนิช รมว.คลัง ระบุว่า จากสัญญาณเศรษฐกิจหลายตัวทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มฟื้นตัวได้ ไม่ว่าจะเป็นทิศทางการส่งออกที่เริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร ภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ตลาดเริ่มฟื้นตัว เนื่องจากผู้บริโภคมีความมั่นใจกับมาตรการที่รัฐบาลออกมาช่วยเหลือในก่อนหน้านี้ที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่ายขึ้น นายกรณ์ กล่าวอีกว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะต่อไป รัฐบาลจะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อไม่ให้ภาวะเศรษฐกิจเกิดปัญหากลับไปชะลอตัวลง โดยขณะนี้ทุกส่วนได้วางแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบแล้ว และภายในวันที่ 18 ส.ค.นี้
เม็ดเงินจาก พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจจำนวน
4 แสนล้านบาท จะสามารถลงไปสู่แต่ละโครงการได้

ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com
stock in focus
********
06/08/52
ธปท.ผ่อนเกณฑ์ลงทุนปตท. เดินหน้าแก้ค่าบาทแข็งโป๊ก
ธปท.หวังผลทางจิตวิทยา ค่าเงินบาทไม่แข็งค่าต่อ หลังผ่อนผันเกณฑ์การลงทุนในต่างปรเทศให้นักลงทุนสถาบันที่มีสินทรัพย์ตั้งแต่ 5 พันล้านบาทสามารถลงทุนในตราสารต่างประเทศได้ไม่เกิน 50 ล้านดอลลาร์ต่อราย เชื่อในอนาคตไทยมีสินทรัพย์สุทธิมากกว่าปัจจุบันที่มีหนี้สิน 1.85 แสนล้านดอลลาร์

คลังอัดฉีดมาตรการภาษี ลดอากรนำเข้า-นิติบุคคลเหลือ 25%
สศค.เตรียมออกแพ็กเกจภาษีครั้งใหญ่ อุ้มธุรกิจท่องเที่ยว และส่งออก ลดต้นทุนผู้ประกอบการและดูแลค่าเงินบาท ระบุพร้อมพิจารณาลดภาษีนิติบุคคล จาก 30% เหลือ 25% ขณะเดียวกันจ่อเสนอร่างกฎหมายพ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ภาษีเพื่อสิ่งแวดล้อม พ.ร.บ.ทวงถามหนี้ที่เป็นธรรม และพ.ร.บ.หลักประกันทางธุรกิจเพื่อขยายขอบเขตสินทรัพย์
*************
05/08/52
ครม.ไฟเขียวเพิ่มสินเชื่อแบงก์รัฐกระตุ้นศก.เป็น9.27แสนลบ.
Source - เว็บไซต์สำนักข่าวเนชั่น (Th) Wednesday, August 05, 2009 16:01
ครม.ไฟเขียวก.คลังเสนอปรับเป้าการอนุมัติสินเชื่อใหม่ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐอีก 3 แสนล้าน เป็น 9.27 แสนล้าน จากเดิม 6.255 แสนล้านบาท ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันนี้ รับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอการขับเคลื่อนสถาบันการเงินเฉพาะกิจเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย เพื่อให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจหน้าที่เป็นกลไกของรัฐเพื่อฟื้นฟูและช่วยเหลือกลุ่มประชาชนและธุรกิจเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดเป้าการอนุมัติสินเชื่อใหม่ของสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ในปี 52 เพิ่มอีก 301,500 ล้านบาท จากเป้าหมายเดิม 625,500 ล้านบาท เพิ่มเป็น 927,000 ล้านบาท ส่วนการแยกบัญชีธุรกรรมนโยบายรัฐ(Public Service Account:PSA) กำหนดให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐแยกบัญชีธุรกรรมที่ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลเพื่อฟื้นฟู และช่วยเหลือประชาชนและธุรกิจเป้าหมาย ออกจากบัญชีธุรกรรมทั่วไป เพื่อที่จะได้ดูแลหรือชดเชยรายได้ส่วนที่ขาดหายไปอย่างเป็นระบบชัดเจน ทั้งนี้ กำหนดกรอบการพิจารณาโครงการที่สามารถแยกบัญชี PSA เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์และรูปแบบการให้บริการเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ได้รับผลกระทบจากสาธารณภัย หรือการก่อวินาศกรรม ตามคำจำกัดความของ พ.ร.บ.ป้องกันฝ่ายพลเรือน พ.ศ.2522 หรือ ฟื้นฟูกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือเพิ่มขีดความสามารถในการประกอบอาชีพ หรือยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน วิสาหกิจ และหน่วยธุรกิจ และต้องได้รับความเห็นชอบจาก ครม. เป็นโครงการหรือธุรกรรมของสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่มีเงื่อนไขผ่อนปรน หรือธุรกรรมที่รัฐบาลสั่งการให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจดำเนินการเป็นกรณีพิเศษ โดยต้องมีมติ ครม.ระบุให้มีการชดเชยหรือสนับสนุนเงินทุนจากรัฐบาลแก่สถาบันการเงินเฉพาะกิจที่ดำเนินการตามนโยบายรัฐอย่างชัดเจน สำหรับเกณฑ์การผ่อนปรนที่สามารถเสนอกระทรวงการคลังเพื่อผ่อนปรนกว่าเกณฑ์ปกติ ประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และค่าเบี้ยประกัน เช่น อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าตลาด หรือมีการยกเว้นการเรียกเก็บค่าธรรมเนียม ค่าบริการ และค่าเบี้ยประกัน ระยะเวลา เช่น มีระยะเวลาการชำระคืนเงินกู้ หรือระยะเวลาปลอดการชำระหนี้มากกว่าระยะเวลาที่สถาบันการเงินทั่วไปพึงยึดถือปฏิบัติ ปลอดการชำระเงินต้น กระทรวงการคลังจะเป็นผู้พิจารณาโครงการและกำหนดมาตรฐานการคำนวณเงินชดเชย รวมถึงสรุปวงเงินที่ควรได้รับการชดเชยเพื่อประกอบการขอตั้งงบประมาณ พร้อมทั้งกำหนดแนวทางในการแผกบัญชีและกำหนดตัวชี้วัดในแต่ละโครงการ เพื่อให้การดำเนินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นประโยชน์แก่การดำเนินนโยบายของรัฐเพื่อการเร่งรัดการแก้ไขบัญหา และพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศอย่างแท้จริงและยั่งยืน ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com
stock in focus
***********
05/08/52
ปัจจัยในประเทศ & อุตสาหกรรมและหุ้นเด่น
+ กลุ่มอิเลคทรอนิกส์, เคมีภัณฑ์, ยา และอาหารฟื้นตัวดี สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า ขณะนี้อุตสาหกรรมของไทยที่อยู่ในเกณฑ์ฟื้นตัวดีมาก คือ อิเลคทรอนิกส์, เคมีภัณฑ์, ยา, อาหาร โดยมีการรับสมัครงานเพิ่มและขยายเวลาทำงานรองรับคำสั่งซื้อที่ดีขึ้น ส่วนกลุ่มสิ่งทอ, ยานยนต์, ปูนซีเมนต์, ผลิตภัณฑ์ยาง, เครื่องใช้ไฟฟ้า, พลาสติกและกระดาษมีการฟื้นตัวในเกณฑ์ปานกลาง
stock in focus
***********
03/08/52
พาณิชย์ เผย CPI เดือน ก.ค.52 ลดลง 4.4%, Core CPI ลดลง 1.2%
Source - IQ Biz (Th) Monday, August 03, 2009 11:39

อินโฟเควสท์ (03 ส.ค. 52)--กระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(CPI) ในเดือน ก.ค.52 อยู่ที่ 104.7 ลดลง 4.4% จากเดือน ก.ค.51 แต่ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน มิ.ย.52 ส่วน CPI เฉลี่ยช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-ก.ค.52) ลดลง 1.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน "เงินเฟ้อปรับตัวลดลงต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 7 เนื่องจากดัชนีราคาหมวดพาหนะ ขนส่ง และการศึกษาที่ลดลงถึง 18%" นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าว ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน(Core CPI) ไม่รวมหมวดสินค้าอาหารสดและพลังงานในเดือน ก.ค.52 อยู่ที่ระดับ 102.5 ลดลง 1.2% จากเดือน ก.ค.51 แต่ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน มิ.ย.52 และ Core CPI เฉลี่ยช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-ก.ค.52) ยังเพิ่มขึ้น 0.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน สำหรับดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มในเดือน ก.ค.52 อยู่ที่ 116.0 เพิ่มขึ้น 3.2% จากเดือน ก.ค.51 แต่ลดลง 0.3% จากเดือน มิ.ย.52 ขณะที่ดัชนีหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่ 97.3 ลดลง 9.7% จาก ก.ค.51 แต่เพิ่มขึ้น 0.1% จาก มิ.ย.52
cgs,stock in focus
**********
3/08/52
พีอีหุ้นไทยต่ำสุดในเอเชีย
บลูมเบิร์กคาดแนวโน้มพี/อีตลาดหุ้นไทยสิ้นปีนี้อยู่ที่ 10.8 เท่า ต่ำสุดในภูมิภาค มองกำไรบจ.ดีขึ้นมาก หวังดึงดูดเงินทุนต่างชาติ

นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สำนักข่าวบลูมเบิร์กได้คาดการณ์อัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (พี/อี) ของตลาดหุ้นในเอเชีย ณ สิ้นปี 2552 พบว่า ตลาดหุ้นไทยมีพี/อีต่ำที่สุดประมาณ 10.8 เท่า เมื่อใช้ราคาหุ้นของวันที่ 10 ก.ค. 2552 ซึ่งพี/อีจะลดลงมากเมื่อเปรียบเทียบกับกำไรสุทธิในช่วง 4 ไตรมาสย้อนหลังในปัจจุบัน ซึ่งเป็นข้อมูลในอดีต
สาเหตุที่พี/อีของไทยลดลงเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะทางบลูมเบิร์กมองแนวโน้มกำไรของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ของไทยดีขึ้นมาก

“พี/อี ณ สิ้นปีนี้ของไทยต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้าน อาจจะทำให้นักลงทุนต่างประเทศให้ความสนใจเข้ามาลงทุนมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันยังไม่ได้เข้ามาเต็มที่มากนัก หากพิจารณาสัดส่วนการลงทุนยังอยู่ที่ 20% ขณะที่นักลงทุนประเภทบุคคลยังมีสัดส่วนซื้อขายสูงถึง 60%”
www.posttoday.com
stock in focus
************
01/08/52
ศก.ไทยพ้นจุดต่ำสุดแล้ว
กสิกรฯชี้เศรษฐกิจ ไทยพ้นจุดต่ำสุดคาดGDP/Q2ไม่ถึง-5.6จับตาหวัด09ปัจจัยเสี่ยง

บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ขณะนี้เศรษฐกิจไทยได้ผ่านพ้นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดมาแล้ว โดยมีความเป็นไปได้ว่า อัตราการหดตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/2552 อาจน้อยกว่าร้อยละ 5.6 ที่ประเมินไว้ในเบื้องต้น ซึ่งดีขึ้นเมื่อเทียบกับที่หดตัวร้อยละ 7.1 ในไตรมาส 1/2552 และหากมองไปข้างหน้า ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า อัตราการหดตัวของเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มลดน้อยลงในไตรมาสถัดๆ ไปตามลำดับ ซึ่งทำให้ภาพเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 น่าที่จะสะท้อนภาพเชิงบวกได้ชัดเจนมากขึ้นตามอานิสงส์ของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ และนโยบายการเงินเชิงผ่อนคลายของ ธปท. โดยในเบื้องต้นประเมินว่า กรอบการหดตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 อาจอยู่ในช่วงร้อยละ 0.7-3.6 แต่คงจะต้องจับตาปัจจัยเสี่ยงจากผลกระทบของการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ 2009 และช่วงเวลาของการฟื้นตัวของภาคส่งออกต่อไปอย่างใกล้ชิด.
www.posttoday.com
stock in focus
************
31/07/52
ธนาคารโลกชี้เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้น GDP ไทยปีนี้ติดลบแค่ 2.7%
นางสาวกิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ระบุว่า วิกฤตเศรษฐกิจโลกได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างช้าๆ โดยคาดว่าเศรษฐกิจโลกในปีนี้ จะหดตัวที่ 2.9 % และจะขยายตัวเป็นบวกได้ 2% ในปีหน้า ส่วนเศรษฐกิจไทยนั้นคาดว่าไตรมาส 4 จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ 1.8% ซึ่งทำให้ทั้งปีติดลบเพียง 2.7%

นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลก บอกด้วยว่า หลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจครั้งนี้ โครงสร้างเศรษฐกิจโลกจะเปลี่ยนแปลงไป การบริโภคของสหรัฐจะลดลง การแข่งขันทางการค้าจะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการสินค้าส่งออกของไทยลดลง นอกจากนี้สภาพคล่องของโลกจะเพิ่มขึ้นตามการออมที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐ ซึ่งจะส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายเงินลงทุนมาสู่ภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้นและทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/MoneylineNews/tabid/89/newsid491/94290/Default.aspx
stock in focus
**********
31/07/52
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ขานรับ FTA อาเซียน-จีน
Source - เว็บไซต์สำนักข่าวเนชั่น (Th) Friday, July 31, 2009 13:04

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ FTA เพิ่มโอกาสทางการแข่งขันให้ไทย ให้ข้อมูลขานรับ FTA อาเซียน-จีน การเปิดเสรีด้านการค้าบริการระหว่างอาเซียนและจีนกำลังอยู่ระหว่างการเจรจาการเปิดตลาดรอบที่สอง โดยคาดว่าจะสามารถสรุปผลการเจรจาได้ก่อนเสนอต่อที่ประชุมสุดยอดอาเซียนกับจีนในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งการเปิดเสรีภาคบริการระหว่างอาเซียนกับจีนภายใต้กรอบข้อตกลงการจัดทำเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน (ASEAN-China Free Trade Area) เป็นปัจจัยสำคัญในการเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติโดยเฉพาะนักลงทุนในประเทศสมาชิกต่างๆ ในอาเซียน รวมถึงประเทศไทยเข้าไปขยายการลงทุนในภาคบริการของจีนได้มากขึ้นจากการผ่อนคลายกฎระเบียบและเงื่อนไขด้านการลงทุนในด้านธุรกิจบริการให้แก่กัน ขณะเดียวกันนักลงทุนจีนก็มีโอกาสขยายการลงทุนภาคบริการในอาเซียนและไทยมากขึ้นเช่นกัน โดยปัจจุบันจีนถือเป็นประเทศที่เศรษฐกิจเติบโตแข็งแกร่งที่สุดในภูมิภาคเอเชียท่ามกลางภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก การเติบโตของเศรษฐกิจจีนในไตรมาส 2 สามารถขยายตัวได้ดีขึ้นเป็นร้อยละ 7.9 จากไตรมาสแรกที่ชะลอลงในระดับต่ำสุดที่ร้อยละ 6.1 โดยรายงาน Consensus Forecast เดือนกรกฎาคม คาดการณ์ว่า ในปี 2552 เศรษฐกิจจีนจะยังคงเติบโตได้ที่ร้อยละ 7.5 แม้จะชะลอตัวลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 9 ในปีก่อนหน้า และคาดว่าในปี 2553 ทิศทางเศรษฐกิจจีนจะปรับตัวดีขึ้นเป็นร้อยละ 8.5 ซึ่งน่าจะช่วยขับเคลื่อนภาคบริการของจีนให้ขยายตัวได้ดีขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า ภายใต้กรอบความตกลง FTA อาเซียน-จีนด้านภาคบริการนี้ได้ช่วยเพิ่มความทัดเทียมด้านการแข่งขันในตลาดจีนระหว่างประเทศไทยและประเทศต่างๆ ในอาเซียน กับประเทศเอเชียอื่นๆ ที่ค่อนข้างเข้าไปมีบทบาทในภาคบริการหลายสาขาในจีนจากการจัดทำความตกลงความร่วมมือหรือการเปิดเสรีภาคบริการกับจีนได้แก่ ฮ่องกง มาเก๊า และไต้หวัน อีกทั้ง ผู้ประกอบการไทยยังสามารถใช้ประโยชน์จากกรอบข้อตกลงฯ ในการขยายการลงทุนด้านการค้าบริการในประเทศจีน ซึ่งการค้าบริการของจีนเป็นธุรกิจที่เติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547-2550 จากนโยบายพัฒนาธุรกิจบริการที่กำหนดไว้ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 (2549-2553) และการปฏิรูปและเปิดการค้าเสรีของภาคธุรกิจบริการในประเทศจีนมากขึ้น โดยธุรกิจบริการสำคัญของจีน ได้แก่ ธุรกิจภาคการเงินและการธนาคาร ธุรกิจประกันภัย โทรคมนาคม โลจิสติกส์ โรงพยาบาล ท่องเที่ยว โรงแรมและร้านอาหาร ค้าปลีกและค้าส่ง และการศึกษา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ภายใต้ภาวะซบเซาทางเศรษฐกิจโลกในปีที่ผ่านมา จีนต้องเผชิญกับภาวะชะลอตัวทางเศรษฐกิจส่งผลให้ภาคเศรษฐกิจภายในและภาคส่งออกของจีนชะลอตัวลง ทำให้การขยายตัวของอุตสาหกรรมภาคบริการของจีนในปี 2551 ที่ผ่านมา ชะลอตัวเหลือร้อยละ 9.5 โดยมีมูลค่า 1,204.87 หมื่นล้านหยวน คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 40.1 ของจีดีพี อีกทั้ง ข้อมูลจากสำนักสถิติแห่งชาติจีน เปิดเผยว่า ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2552 การเติบโตของธุรกิจภาคบริการจีนมีมูลค่าเป็น 290.7 หมื่นล้านหยวน ขยายตัวชะลอลงเหลือร้อยละ 7.4 จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ธุรกิจบริการในประเทศจีนในปี 2552 มีแนวโน้มชะลอตัวต่อเนื่องจากปี 2551 ตามภาวะชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน แม้ว่ามีแนวโน้มเติบโตดีขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ ประกอบกับเศรษฐกิจโลกที่ยังคงอยู่ในภาวะซบเซาแม้จะมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้นแล้วก็ตาม อย่างไรก็ตาม ทางการจีนได้ทยอยออกนโยบายต่าง ๆ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและกำลังซื้อภายในประเทศให้กลับฟื้นทั้งนโยบายการเงินและนโยบายการคลังตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมาซึ่งคาดว่าน่าจะส่งผลให้ทิศทางธุรกิจบริการของจีนปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ กอปรกับการขยายตัวทางรายได้ของประชากรชาวจีนทั้งในเขตเมืองและชนบทที่เติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ธุรกิจบริการขยายตัวได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ตามแผนพัฒนาประเทศของทางการจีนได้ตั้งเป้าขยายสัดส่วนของธุรกิจภาคบริการเพิ่มเป็นกว่าร้อยละ 50 ของจีดีพี ภายในปี 2563 จากปัจจุบันที่ภาคบริการมีสัดส่วนกว่าร้อยละ 40 ของจีดีพี FTA อาเซียน-จีน ด้านการค้าบริการที่มีกำหนดเปิดตลาดมากขึ้นเป็นลำดับ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการเจรจาเปิดตลาดรอบที่สองนั้นน่าจะทำให้ไทยและประเทศอาเซียนอื่นๆ มีขีดความสามารถในการแข่งขันดีขึ้นในตลาดจีนเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ได้แก่ ฮ่องกง มาเก๊าและไต้หวัน รวมทั้งเพิ่มโอกาสขยายธุรกิจไปยังประเทศจีน ทั้งนี้ การเจรจาเปิดตลาด FTA อาเซียน-จีนรอบที่สองที่ครอบคลุมการเปิดสาขาธุรกิจบริการทั้งหมด 12 สาขาเพิ่มเติมจากที่จีนเปิดตลาดให้ไทยก่อนหน้านี้ในรอบแรก คาดว่าธุรกิจภาคบริการของไทยที่จะได้รับประโยชน์ภายใต้ความข้อตกลง FTA อาเซียน-จีน เพิ่มเติมในภาคการค้าบริการได้แก่ ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจโรงแรมและร้านอาหาร ธุรกิจสปา ธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจโลจิสติกส์และธุรกิจด้านการศึกษา เป็นต้น การเข้าสู่ตลาดภาคบริการในจีนได้มากขึ้นในสาขาต่าง ๆ ข้างต้นจากข้อตกลง FTA ดังกล่าวน่าจะทำให้ธุรกิจบริการไทยได้รับผลดีจากการเติบโตของภาคการบริโภคภายในจีนที่มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องตามนโยบายสนับสนุนของทางการจีนที่ตั้งเป้าหมายให้ภาคบริการมีบทบาทสำคัญมากขึ้นต่อเศรษฐกิจจีน
ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com
stock in focus
**********
30/07/52
โพลล์หอการค้าญี่ปุ่นชี้นักธุรกิจกังวลปัญหาการเมือง-หวัด 2009 ในไทย
นายมูเนโนริ ยามาดะ ประธานกรรมการวิจัยทางเศรษฐกิจ หอการค้าญี่ปุ่นกรุงเทพฯ บอกว่า ผลสำรวจแนวโน้มทางเศรษฐกิจของบริษัทร่วมทุนญี่ปุ่นในประเทศไทย ไตรมาสแรกของปี 2552 จำนวน 349 บริษัท โดยสำรวจระหว่าง 26 พฤษภาคม-26 มิถุนายน ที่ผ่านมา พบว่า

ดัชนีแนวโน้มเศรษฐกิจไตรมาสแรก สะท้อนภาพธุรกิจที่แย่ลง โดยมีค่าติดลบถึง 53 แต่ประมาณการณ์ในครึ่งปีหลังเศรษฐกิจจะดีขึ้น มีค่าบวก 24 เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจของไทยผ่านจุดต่ำสุดในช่วงครึ่งปีแรกไปแล้ว แต่ยังไม่มั่นใจว่า เศรษฐกิจจะกระเตื้องขึ้นจริงในครึ่งปีหลัง และสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่ควรไว้วางใจ เนื่องจากพบว่า อุตสาหกรรมก่อสร้างและวิศวกรรมยังติดลบถึง 43 รวมทั้งบริษัทส่วนใหญ่ 50% ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมแย่ลง มีเพียง 2% เท่านั้น ที่ตอบว่า จะมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นมาก

ส่วนปัจจัยที่มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการตัดสินใจลงทุนในระยะ 1-2 ปีข้างหน้า ปัจจัยที่สำคัญที่สุด 66% ระบุว่า ความยืดเยื้อของความสับสนทางการเมือง มีผลทำให้นักธุรกิจเลื่อนการประชุมและการเจรจาธุรกิจในไทย ซึ่งส่งผลกระทบการท่องเที่ยว ทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจ รวมทั้งนักธุรกิจญี่ปุ่นมีการรายงานให้สำนักงานใหญ่ทราบถึงสถานการณ์ ทำให้มีความกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงทางการเมือง ซึ่งเดิมเสถียรภาพการเมืองเคยเป็นจุดเด่นของประเทศไทย

ส่วนปัจจัยที่มีกระทบรองลงมา 58% ระบุว่า เกิดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก 56% ให้น้ำหนักกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจไทย การบริโภค การลงทุนที่ไม่ขยายตัวขณะเดียวกันจากกาสำรวจในครั้งนี้ นักธุรกิจมีความกังวลเกี่ยวกับการระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 มากขึ้น เมื่อเทียบกับการสำรวจในครั้งก่อน ซึ่งมีผลทำให้มีการเลื่อนการเดินทางมาประชุมในไทย ทำให้ยอดขายลดลงด้วย

ทั้งนี้หอการค้าญี่ปุ่น ได้เสนอแนะรัฐบาลไทย ให้มีนโยบายที่เหมาะสมและต่อเนื่องในการบริหารประเทศ รวมทั้งพัฒนาระบบสาธารณูปโภค และปรับปรุงสภาพการจราจรบริเวณใจกลางเมือง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/MoneylineNews/tabid/89/newsid491/94166/Default.aspx
stock in focus
************
29/07/52
*คลัง เผยศก.ไทย Q2/52 หดตัวน้อยลงจาก Q1/52 มั่นใจเป็นบวกใน Q4/52
Source - IQ Biz (Th) Wednesday, July 29, 2009 12:11

อินโฟเควสท์ (29 ก.ค. 52)--นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) แถลงภาวะเศรษฐกิจการคลัง เดือน มิ.ย.52 และไตรมาส 2/52 ว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณของการปรับตัวดีขึ้น โดยหดตัวลดลงจากไตรมาส 1/52 และเชื่อมั่นว่าจะสามารถฟื้นตัวเป็นบวกได้ในไตรมาส 4/52 แม้ว่าจะยังมีปัจจัยเสี่ยงจากการเบิกจ่ายงบประมาณที่ต่ำกว่าเป้าหมาย และรายได้จากการท่องเที่ยวที่ปรับตัวลดลงมาก สัญญาณที่ดีขึ้นของเศรษฐกิจไทยในเดือน มิ.ย.และไตรมาส 2/52 สะท้อนจากเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านอุปทานของภาคการผลิตอุตสาหกรรมที่หดตัวน้อยลง โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากยอดคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่กลับมาเพิ่มขึ้น ในขณะที่การบริโภคภาคเอกชนและการส่งออกเริ่มมีสัญญาณของการปรับตัวดีขึ้นจากการหดตัวที่ชะลอลงเช่นกัน แต่การลงทุนภาคเอกชนยังคงหดตัวต่อเนื่อง สำหรับเสถียรภาพเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้น โดยอัตราการว่างงานที่ปรับตัวลดลง สอดคล้องกับการจ้างงานในภาคการผลิตที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศยังอยู่ในระดับสูงมาก
cgs, stock in focus
************
29/07/52
บล.เคจีไอฯ คาดกำไรบจ.ปีนี้โต 15.1%, มองเศรษฐกิจ H2/52 ดีกว่า H1
กรุงเทพฯ--29 ก.ค.--รอยเตอร์
บล.เคจีไอ(ประเทศไทย) หรือ KGI คาดกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียน(บจ.)ในตลาด หลักทรัพย์ปีนี้ จะเติบโต 15.1% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งมาจากผลประกอบการของหุ้นกลุ่ม พลังงานที่ดีขึ้น พร้อมมองเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลัง จะดีกว่าครึ่งปีแรก ซึ่งจีดีพีในไตรมาส 4/52 จะเริ่มเป็นบวก ส่วนทั้งปี 52 จะติดลบ 3.9% นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการ ส่วนวิจัยเศรษฐกิจและกลยุทธ์การลงทุน KGI กล่าวว่า แนวโน้มกำไรสุทธิของบจ.ในปี 52 คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 3.5 แสนล้านบาท หรือ เติบโต 15.1% ซึ่งจะเป็นการดีดกลับของผลกำไรในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ปี 49 ซึ่งติดลบมาตลอด "เหตุผลหลัก มาจากที่กลุ่มพลังงานมีผลประกอบการที่ดีขึ้น" นายอดิศักดิ์ กล่าว ในหัวข้อ "มอง SET ครึ่งปีหลัง 2552 ใน 3 มิติ" เขาประเมินว่า กำไรสุทธิของตลาดโดยรวมปรับตัวขึ้น โดยหลักมาจากกลุ่มทรัพยากร เช่น บริษัทน้ำมัน ที่จะมีผลกำไรดีดกลับ 58.9% หรืออยู่ที่ระดับประมาณ 1.4 แสนล้านบาท จากปี 51 ที่ประมาณ 8.9 หมื่นล้านบาท ขณะเดียวกัน กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง รวมถึงกลุ่มบริการก็มีทิศทางปรับ ตัวขึ้นมาในแนวโน้มที่ดีเช่นกัน เขากล่าวว่า จากการประเมินภาพรวมเศรษฐกิจ คาดว่าช่วงครึ่งปีหลังน่าจะมีทิศทาง ดีกว่าครึ่งปีแรก ซึ่งจะสะท้อนมายังดัชนีตลาดหลักทรัพย์ โดยประเมินด้วยวิธีค่าพี/อี กรอบ ดัชนี SET ที่ 530-740 จุด โดยดัชนีที่ 530 จุด ถือเป็นจุดที่ต่ำสุดของปีนี้แล้ว ด้านนายพงศ์ภัทร สิริพิพัฒน์ ผู้ช่วยผู้จัดการ KGI กล่าวว่า การประเมินตามวิธี ทางเทคนิค มองว่าทิศทางดัชนีตลาดหุ้นไทยระยะยาว ยังจะมีการแกว่งตัวขึ้น โดยประเมินว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทย จะมีแนวรับสำคัญอยู่ที่ 560-510 จุด อย่างไรก็ตาม หากเกิดความผันผวนจากปัจจัยลบต่างๆ ก็มีโอกาสที่ดัชนีจะลดลงได้ ถึง 420 จุด เป็นจุดต่ำสุดสุดท้าย ขณะที่แนวต้าน ประเมินว่าจะอยู่ที่ระดับ 640-673 จุด และหากปีหน้าทิศทางเศรษฐกิจ ปรับตัวดีขึ้น ก็มีโอกาสที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยจะวิ่งขึ้นไปทดสอบที่ 730 จุด ได้ ทั้งนี้ ในระยะสั้น 1-2 เดือนนี้ หากดัชนีตลาดหุ้นไทยยังสามารถยืนได้ที่ 597 จุด ก็จะมีโอกาสแกว่งตัวขึ้นที่ระดับ 640-673 จุด แต่หากเป็นไปในทิศทางตรงกันข้าม คือดัชนี พับฐานและปรับตัวลดลง ดัชนีก็อาจจะร่วงลงมาอยู่ที่ 560-510 จุด **มองเศรษฐกิจครึ่งปีหลังดี นายรักพงศ์ ไชยศุภรากุล ผู้จัดการ KGI คาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง

จะมีทิศทางที่ดีกว่าครึ่งปีแรก โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 4 จีดีพีจะเริ่มปรับตัวเป็นบวกอย่าง

เห็นได้ชัด

ขณะที่การส่งออกน่าจะฟื้นตัวตั้งแต่เดือนส.ค.โดยคาดว่าจีดีพีในปีนี้จะติดลบ 3.9%

และจะมีลักษณะการฟื้นตัวเป็นรูปตัวยู หรือเป็นการฟื้นในลักษณะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น โดยใน

ปีหน้า คาดว่าทิศทางจีดีพีจะฟื้นตัวในระดับปานกลาง อยู่ที่ 2.5%

สำหรับโครงการลงทุนของรัฐบาล คือโครงการไทยเข้มแข็ง จะทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว

เร็ว อย่างไรก็ตาม จะยังไม่เห็นความโดดเด่นของโครงการลงทุนในภาครัฐปีนี้มาก เนื่องจาก

สัดส่วนการลงทุนยังมีน้อยเพียง 3-5% ของงบรวม ซึ่งจะมีผลต่อจีดีพีไม่มาก

อย่างไรก็ตาม คาดว่าปีหน้า น่าจะเริ่มเห็นผลมากขึ้น จากงบประมาณที่เบิกจ่าย

ออกมา ในโครงการที่มีขนาดใหญ่ขึ้น

นอกจากนี้ ยังประเมินว่า ราคาน้ำมันในช่วงครึ่งปีหลังจนถึงปีหน้า จะอยู่ในทิศทาง

ขาขึ้นตามระดับความต้องการทั่วโลกที่เริ่มฟื้นตัว โดยประเมินว่าราคาน้ำมันจะอยู่ที่ระดับ

70-75 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ดังนั้น หุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งเป็นหุ้นที่มีสัดส่วนขนาดใหญ่

ของตลาดหุ้นไทยจะมีผลประกอบการที่โดดเด่น
cgs,stock in focus
***********
27/07/52
สศอ.เผยดัชนีอุตฯ มิ.ย.-6.76% ติดลบน้อยลงเป็นเดือนที่ 5 Source - สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (Th) Monday, July 27, 2009 14:01

อุตฯ เริ่มส่งสัญญาณฟื้นชัด ติดลบน้อยลง 5 เดือนต่อเนื่อง กลุ่ม Hard disk drive-อาหารทะเลแปรรูป-ผงซักฟอก-เครื่องประดับ รับออร์เดอร์คึก มองภาพรวมอุตฯ เป็นบวกได้ในสิ้นปี นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) และรองโฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ ภาพรวมของอุตสาหกรรมไทยถือว่ามีสัญญาณฟื้นตัวอย่างชัดเจนแม้ว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมยังคงติดลบ โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายนติด ลบ -6.76% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แต่เริ่มติดลบน้อยลงเรื่อยๆเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน คือ เดือน ม.ค.ที่ติดลบ -25.6% เดือน ก.พ.- 23.07% เดือน มี.ค. -17.74% เดือนเม.ย. -12.84% และเดือน พ.ค.-12.39% ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีเป็นอย่างยิ่งคาดว่าภายในสิ้นปีดัชนีผลผลิต อุตสาหกรรมจะสามรถกลับมาเป็นบวกได้ โดยหลายกลุ่มอุตสาหกรรมมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามาอย่างต่อเนื่อง หลังจากได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤต เศรษฐกิจโลก Hard disk drive เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น 11.3% ขณะที่การจำหน่ายลดลงเล็กน้อย -3.8% เนื่องจากผู้ผลิตสินค้ากลุ่มนี้มีการปรับเปลี่ยนด้านเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆสอดคล้องกับการใช้งานนำเสนอให้ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง ส่งผล ต่อการผลิตที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง และมีคำสั่งซื้อล่วงหน้ากลับเข้ามาจำนวนมากขึ้น ผู้ผลิตจึงเร่งผลิตเพื่อสามารถส่งมอบสินค้าได้ทันตามกำหนด ส่งผลให้ ระดับสินค้าคงคลัง (Stock) เพิ่มขึ้นสูง 187.7% ขณะที่อัตราการขยายตัว 6 เดือนแรกของปี 2552 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนการผลิตและการจำหน่ายยังคงติดลบ -7.6% และ -9.0% ตามลำดับ เนื่องจากฐานการผลิตและการส่งออกเมื่อปีที่ผ่านมาอยู่ในระดับสูง จึงจำให้อัตรากการขยายตัวช่วง 6 เดือนแรกยังคงติดลบ สำหรับช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะฟื้นตัวในทิศทางที่เป็นบวก เนื่องจากประเทศไทยมีความแข็งแกร่งจากการเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออกที่สำคัญแห่ง โลก ซึ่งจะช่วยให้ภาวะการจ้างงานในอุตสาหกรรมนี้กลับฟื้นคืนมาอีกครั้งด้วย อาหารทะเลแปรรูป เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายมีทิศทางการขยายตัวที่ดีขึ้น 11.11% และ 5.77% ตาม ลำดับ แม้จะได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกทำให้มีการชะลอตัวเล็กน้อยสำหรับช่วงที่ผ่านมา ขณะที่การขยายตัว 6 เดือนแรกของปี 2552 เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกัน ของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.9% และ 8.0% ตามลำดับ เนื่องจากมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามามากขึ้น สำหรับแนวโน้มครึ่งปี หลังคาดว่าจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง โดยเฉพาะสินค้าทูน่ากระป๋องและกุ้งแช่แข็ง ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญจะได้รับคำสั่งซื้อมากขึ้น อันเป็นผลมาจาก ประเทศคู่ค้าที่สำคัญเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นในการจับจ่ายใช้สอยสินค้าตามไปด้วย กลุ่มการผลิตผงซักฟอกและสบู่ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่าย เพิ่มขึ้น 11.0% และ 11.5% ตามลำดับ เนื่อง จากผู้บริโภคมีความเข้าใจสถานการณ์ทางเศรษฐกิจปัจจุบันมากขึ้น จึงมีการจับจ่ายใช้สอยสินค้าอุปโภคที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างเป็นปกติ สำหรับแนวโน้มช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะยังมีทิศทางที่ขยายตัวได้ดี อย่างไรก็ตามต้องพิจารณาปัจจัยด้านราคาน้ำมันอย่างใกล้ชิด เนื่องจากส่งผลกระทบได้ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อราคาสินค้า ขณะที่ กลุ่มเครื่องประดับเพชรพลอยและทองรูปพรรณ เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การผลิตและจำหน่ายเพิ่มขึ้น 39.60% และ 48.10% เนื่องจากสินค้ากลุ่มนี้เป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญตลาดหลักยังเป็นกลุ่มประเทศแถบยุโรปและอเมริกา รวมทั้งกลุ่มประเทศเศรษฐีน้ำมันแถบตะวัน ออกกลางที่มีกำลังซื้อค่อนข้างสูง ซึ่งลูกค้ากลุ่มนี้ให้ความมั่นใจสินค้าจากประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะความประณีตงดงามของรูปแบบผลิตภัณฑ์ และฝีมือของช่างไทยเป็นสิ่งดึงดูดใจลูกค้ามาช้านาน สำหรับภาพรวมดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนมิถุนายน 2552 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อนพบว่า ดัชนีผลผลิต (มูลค่าเพิ่ม) อยู่ที่ ระดับ 170.14 ลดลง -6.76% จากระดับ 182.48 ดัชนีผลผลิต (มูลค่าผลผลิต) อยู่ที่ระดับ 166.27 ลดลง -12.06% จากระดับ 189.08 ดัชนีการ ส่งสินค้า อยู่ที่ระดับ 165.41 ลดลง 13.60% จากระดับ 191.45 ดัชนีอัตราส่วนสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 186.75 ลดลง -54.00% จากระดับ 406.00 ดัชนีแรงงานในภาคอุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 110.89 ลดลง -4.74% จากระดับ 116.41 ดัชนีผลิตภาพแรงงานในภาค อุตสาหกรรม อยู่ที่ระดับ 136.43 ลดลง -4.07% จากระดับ 142.22 ขณะที่ ดัชนีสินค้าสำเร็จรูปคงคลัง อยู่ที่ระดับ 176.99 เพิ่มขึ้น 5.45% จากระดับ167.85 ส่วนอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 55.70% ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมและอัตราการใช้กำลังการผลิต Index ------------------- 2551 ------------------- ---------------------- 2552 ------------------------------ ส.ค. ก.ย. ต.ค. พ.ย. ธ.ค. ม.ค. ก.พ. มี.ค. เม.ย. พ.ค. มิ.ย. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม 181.11 167.73 148.97 139.13 139.79 159.71 146.66 159.24 170.14 อัตราการเปลี่ยนแปลง (MOM) 0.50% -0.30% -2.00% -7.40% -11.20% -6.60% 0.50% 14.20% -8.70% 9.20% 6.62% อัตราการเปลี่ยนแปลง (YOY) 5.40% 2.20% -0.40% -8.70% -19.70% -25.60% -23.07% -17.74% -12.84% -12.39% -6.76% อัตราการใช้กำลังการผลิต 61.80% 61.10% 60.80% 55.80% 53.00% 51.70% 50.00% 54.40% 51.41% 54.95% 55.70% ที่มา : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
stock in focus,
************
27/07/52
คาดมูลค่าการค้าลงทุนไทย-จีนปีหน้าแตะ 2 หมื่นล้านบาท
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง ีฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บอกภายหลังงานสัมมนา Thai-Chinese Business Forum ว่า การจัดงานครั้งนี้ มีนักธุรกิจจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน300 ราย และนักลงทุนไทยกว่า 500 รายเข้าร่วม เพื่อรับทราบถึงทิศทางการค้าและการลงทุนร่วมกัน ทำให้คาดปี 2553 มูลค่าการค้าการลงทุนของจีนในไทยจะสูงถึง 2 หมื่นล้านบาท รวมทั้งการส่งออกสินค้าผลไม้ไทยไปยังตลาดจีนจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เช่น มังคุด ลำไย ทุเรียน

สำหรับการการเชื่อมโยงธุรกิจร่วมกัน ทำให้มีแนวโน้มการลงทุนและการติดต่อธุรกิจระหว่างกันกันมากยิ่งขึ้น จากกิจกรรมเจรจาจับคู่ทางธุรกิจซึ่งครอบคลุมอุตสาหกรรม 16 กลุ่มระหว่างผู้ประกอบการ 2 ประเทศ ทั้งในส่วนของกลุ่มเฟอร์นิเจอร์ // กลุ่มเกษตรและอาหารสำเร็จรูป // กลุ่มอิเลคทรอนิกส์ // กลุ่มการท่องเที่ยว // กลุ่มยานยนต์ หรือกลุ่มเคมีภัณฑ์ เป็นต้น

ด้านนายพินิจ จารุสมบัติ ว่าที่นายกสมาคมวัฒนธรรมเศรษฐกิจไทย-จีน บอกว่า จีนสนใจในเรื่องการธุรกิจกับไทยหลากหลายจะเห็นได้จากความสนใจทั้งในเรื่องของหนังจระเข้ มันสำปะหลัง อะไหล่ยานยนต์ ยางพารา ก็มีทิศทางไปได้ดี เพราะตัวเลขส่งออกมีอัตราการเติบโตที่ดี
stock in focus,china-thailand trade.
**********
24/07/52
ไข้หวัดใหญ่ 2009 กระทบจีดีพีไม่ต่ำกว่า 0.6%
: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 24 ก.ค.--ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปีที่ 15 ฉบับที่ 2572 วันที่ 24 กรกฎาคม 2552
ไข้หวัดใหญ่ 2009 กระทบจีดีพีไม่ต่ำกว่า 0.6% : โจทย์ที่รัฐต้องเร่งแก้ (ฉบับส่งสื่อมวลชน)
การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 [Pandemic (H1N1) 2009] ที่รุนแรงขึ้นใน ประเทศได้สร้างความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อเศรษฐกิจไทย ที่กำลังฟันฝ่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยอยู่ในขณะนี้ ท่าม กลางมรสุมหลายระลอกทั้งวิกฤตเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ของโลก และปัญหาการเมืองภายในประเทศ โดย เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A H1N1 นี้ไม่เพียงแต่เป็นโจทย์ที่ท้าทายต่อการบริหารจัดการด้าน สาธารณสุขของประเทศเท่านั้น แต่ยังนำมาซึ่งโจทย์เศรษฐกิจใหม่ ในการบริหารเป้าหมายทางเศรษฐกิจ ที่ทางการอาจต้องคำนึงถึงการวางมาตรการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า โดยเตรียมแผนรองรับ ผลกระทบจากการระบาดของโรคนี้ไว้ด้วย ทั้งนี้ เหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบโดย ตรงต่อธุรกิจด้านการท่องเที่ยวเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ รวมทั้ง พฤติกรรมของผู้บริโภคในการดำเนินชีวิตและกิจกรรมการจับจ่ายใช้สอย ซึ่งขนาดความรุนแรงของผลกระทบ ทางเศรษฐกิจย่อมแปรผันไปตามระดับความรุนแรงของการแพร่ระบาดของโรคเป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม ใน อีกด้านหนึ่ง ปรากฏการณ์ที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ฯ ได้สร้างความกังวลในสังคมไทยจน อาจเรียกได้ว่าตื่นตระหนกนี้ ก็ได้สร้างเงินสะพัดในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลและการดูแล สุขภาพ ซึ่งการใช้จ่ายในด้านสุขภาพถือเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่คนทั่วไปไม่อาจหลีกเลี่ยง จึงเป็นเม็ดเงินที่ เพิ่มเข้ามาสู่ระบบเศรษฐกิจ (จากเดิมที่ไม่มีแผนการใช้จ่ายด้านนี้มาก่อน) ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดผลกระทบใน ทางลบต่อมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ หรือ จีดีพี ลงไปได้บ้าง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ผล โดยรวมที่เกิดจากสถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทย โดยมีประเด็นสำคัญ ดังนี้ แนวโน้มการระบาด ... ยาวนาน และยากที่จะคาดการณ์วิวัฒนาการของเชื้อ สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ทั่วโลก หลังจากองค์การอนามัย โลก หรือ WHO (World Health Organization) ได้ยกระดับความรุนแรงขึ้นเป็นระดับสูงสุด คือระดับ 6 ซึ่งหมายถึงการแพร่ระบาดไปทั่วโลก โดยได้เปลี่ยนมาใช้ชื่อเรียกว่า Pandemic (H1N1) 2009 และ ได้ยอมรับว่าเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ชนิด A H1N1 นี้ได้แพร่ระบาดอย่างเต็มขั้นจนไม่สามารถหยุดยั้งได้ โดย เรียกร้องว่าประเทศต่างๆ ควรต้องเตรียมการด้านวัคซีนป้องกันโรค ทั้งนี้ ข้อมูลล่าสุด จำนวนผู้ติดเชื้อทั่ว

โลกอยู่ที่ 164,541 คน และมีผู้เสียชีวิต 883 คน

สำหรับสถานการณ์ภายในประเทศ ในขณะนี้ รัฐบาลได้เปลี่ยนการรายงานสถานการณ์อย่างเป็นทาง

การจากรายวันมาเป็นรายสัปดาห์ โดยข้อมูลสะสมถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2552 มีผู้ติดเชื้อในประเทศไทยที่

มีการยืนยันผลการตรวจทดสอบแล้วจำนวน 6,776 คน มีผู้เสียชีวิต 44 คน ซึ่งการระบาดที่ขยายวงกว้าง

ออกไปในเวลารวดเร็ว อีกทั้งจำนวนผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตของไทยนับว่าอยู่ในขั้นที่รุนแรงกว่าประเทศอื่นๆ

ในภูมิภาคเอเชีย ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศในด้านมาตรฐานสาธารณสุขที่ปรากฏออกไปสู่สายตาของชาว

ต่างประเทศจึงไม่ดีนัก ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการเผยแพร่ข่าวของสื่อในต่างประเทศถึงจำนวนผู้ติดเชื้อใน

ประเทศไทยที่สูงเกินความเป็นจริงมาก อาจเป็นสิ่งที่สร้างความกังวลให้แก่ชาวต่างชาติที่รับรู้เรื่องราวของ

ประเทศไทยจากภายนอก

สถานการณ์การระบาดของโรคในระยะต่อจากนี้เป็นสิ่งที่ยากที่จะคาดเดา เนื่องจากจนถึงขณะนี้ แม้

แต่ประเทศที่มีการเริ่มต้นระบาดในช่วงแรกๆ อย่างเม็กซิโก หรือสหรัฐฯ จำนวนผู้ติดเชื้อก็ยังคงเพิ่มขึ้นใน

อัตราที่ไม่ได้น้อยลง แม้แต่ประเทศที่ถือได้ว่ามีความก้าวหน้าในด้านระบบสาธารณสุข เช่น สหรัฐฯ

ออสเตรเลีย และอังกฤษ

จำนวนประชากรสูงเกือบร้อยละ 0.1 ของจำนวนประชากรของประเทศ เช่น บรูไน (ร้อยละ 0.09)

ออสเตรเลีย และชิลี (ร้อยละ 0.07) ขณะที่ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 0.002 และประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ

0.01

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การระบาดของโรคนี้ จะยังคงอยู่ต่อไปอีกยาวนาน อาจจะตลอดครึ่งหลัง

ของปีนี้ หรือต่อเนื่องต่อไปในปีข้างหน้าด้วย แต่การวิเคราะห์ผลกระทบทางเศรษฐกิจอาจยากที่จะประเมิน

สถานการณ์และผลกระทบที่ไกลออกไปถึงปีหน้า เนื่องจากไม่มีใครสามารถล่วงรู้ได้ถึงวิวัฒนาการของเชื้อ

ไวรัสนี้ว่าจะมีความรุนแรงต่อไปมากหรือน้อยเพียงใด ณ จุดนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงประเมินผลกระทบที่จะ

เกิดขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 โดยมีสมมติฐานการประมาณการ กล่าวคือ คาดว่าจำนวนผู้ติดเชื้อยังคง

เพิ่มขึ้นในอัตราที่รวดเร็วช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ แต่หากรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุขมีมาตรการด้านการ

เผยแพร่ความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องในการป้องกันการติดต่อของโรค ก็อาจช่วยให้จำนวนผู้

ติดเชื้อเพิ่มในอัตราที่ชะลอลงเป็นลำดับ และลดความตื่นตระหนกของประชาชนลงได้ แต่ถ้าหากการแพร่ของ

เชื้อไวรัสนี้ยังคงไม่ชะลอลง ผลกระทบก็อาจจะยิ่งยาวนานขึ้น ภายใต้สภาวะดังกล่าวคนทั่วไปน่าจะเรียนรู้ที่

จะปฏิบัติตัวในการป้องกันการติดต่อของโรคมากขึ้น แต่จะมากเพียงใดนั้นย่อมขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของ

มาตรการของทางการในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส ชนิด A (H1N1) นี้เป็นสำคัญ อย่างไรก็ตาม การผลิตวัคซีน

ป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 มีความคืบหน้า ซึ่งหากเริ่มนำมากระจายให้แก่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้ประมาณ

ช่วงไตรมาสที่ 4/2552 ก็จะทำให้ลดโอกาสการติดเชื้อและเสียชีวิตของคนกลุ่มเสี่ยงได้มากขึ้น

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้วิเคราะห์ผลกระทบต่อกิจกรรมเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ทั้งผลต่อการใช้จ่ายของ

ประชาชน ผลต่อธุรกิจต่างๆ และการดำเนินการของภาครัฐ ดังรายละเอียด ต่อไปนี้



ความกลัวติดเชื้อ ... ฉุดรายได้ท่องเที่ยวและบริการ

การระบาดของเชื้อไวรัสนี้ไปทั่วโลกได้มีผลทำให้การเดินทางท่องเที่ยวทั่วโลกลดลง ยิ่งไปกว่านั้น

สถานการณ์การระบาดที่รุนแรงในประเทศไทยที่นับว่ารุนแรงกว่าประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเดียวกัน ก็ยิ่งทำให้

ผลกระทบต่อการเดินทางท่องเที่ยวเข้ามายังประเทศไทยยิ่งลดน้อยลงมากขึ้น ซึ่งผลกระทบอาจจะยาวนาน

ต่อไปจนกว่าการระบาดจะคลี่คลายลง โดยล่าสุดได้มีการเปิดเผยของผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งพบ

ว่านักท่องเที่ยวจากประเทศแถบเอเชียตะวันออก เช่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ เดินทาง

เข้ามาท่องเที่ยวในไทยลดลงมาก ขณะที่บริษัทสายการบินต่างก็ออกมาระบุถึงยอดผู้โดยสารที่ลดลงถึงร้อยละ

20 ซึ่งถ้าการแพร่ระบาดมีผลกระทบรุนแรงต่อเนื่องไปจนถึงไตรมาสที่ 4/2552 ก็อาจจะกระทบต่อรายได้

การท่องเที่ยวในช่วงไฮซีซัน ที่ผู้ประกอบการกลุ่มท่องเที่ยวเคยคาดหวังว่านักท่องเที่ยวต่างชาติอาจจะเริ่ม

กลับเข้ามาหากสถานการณ์การเมืองของไทยนิ่งขึ้น

นอกจากธุรกิจท่องเที่ยวและสายการบินแล้ว ธุรกิจในภาคบริการภายในประเทศก็ได้รับผลกระทบจาก

พฤติกรรมของผู้บริโภคที่หวาดวิตกต่อการติดต่อของโรค ทำให้มีผู้ใช้บริการลดลง นอกจากนี้ ถ้าการระบาด

ในช่วงต่อไปยังไม่สามารถหยุดยั้งได้ รัฐบาลอาจสั่งให้หยุดกิจกรรมบางประเภทได้อีก ซึ่งสถานการณ์ทั้ง

หลายนี้อาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของธุรกิจ โดยธุรกิจที่อาจถูกกระทบเป็นอันดับแรกๆ เช่น ศูนย์การค้า

ขนาดใหญ่ โรงภาพยนตร์ Entertainment Complex ร้านเกมส์ ร้านอินเทอร์เน็ต โรงเรียนพิเศษและ

กวดวิชา สถานบันเทิง ระบบขนส่งโดยสารสาธารณะ ขณะเดียวกัน การที่ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงการออกมาจับ

จ่ายใช้สอยนอกบ้าน ก็อาจส่งผลต่อเนื่องไปถึงการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการตลาดและยอดขายสินค้าหลาย

ประเภทด้วย เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์ และการจัดงานแสดงสินค้าต่างๆ



ธุรกิจอิงกระแสสุขภาพ ... รับอานิสงส์

ในภาวะที่หลายธุรกิจได้รับผลกระทบในทางลบจากโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 แต่ปรากฏการณ์นี้ก็ทำให้

เกิดการสะพัดของเม็ดเงินในหลายธุรกิจเช่นกัน ธุรกิจที่ได้รับอานิสงส์โดยตรง คือ ธุรกิจโรงพยาบาล ผู้

ผลิตและผู้ขายเวชภัณฑ์และอุปกรณ์ตรวจทดสอบการติดเชื้อ หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ แอลกอฮอล์น้ำยาฆ่า

เชื้อโรค ผลิตภัณฑ์ดูแลทำความสะอาด ซึ่งสินค้าเช่นหน้ากากอนามัยเป็นที่ต้องการสูงจนขาดตลาด ทั้งนี้

สินค้าและบริการด้านสุขภาพถือเป็นหนึ่งในปัจจัย 4 ที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงการใช้จ่ายได้ และค่อนข้างเป็น

ค่าใช้จ่ายที่สูง โดยปกติ ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของคนไทยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 7 ของการบริโภค

ของภาคเอกชนทั้งหมด หรือคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 4 ของจีดีพีในแต่ละปี เม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นเข้ามาสู่

ธุรกิจนี้จึงมีมูลค่าไม่น้อย

นอกจากนี้ ความพยายามป้องกันตัวเองไม่ให้เป็นโรค ยังส่งผลให้เกิดกระแสการซื้อสินค้าเพื่อสุขภาพ

อื่นๆ ด้วย เช่น สมุนไพรที่ช่วยสร้างภูมิตุ้มกันโรค อาหารเพื่อสุขภาพ เครื่องฟอกอากาศ เครื่องโอโซนฆ่า

เชื้อโรค และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีระบบขจัดเชื้อโรค เป็นต้น ซึ่งกระแสสุขภาพที่มาแรงนี้น่าจะเป็นจุดขายให้

ธุรกิจนำไปปรับกลยุทธ์สร้างยอดขายได้เป็นอย่างดีในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ นอกจากนี้ การที่คนอยู่บ้านมากขึ้น

ก็อาจเป็นผลดีต่อธุรกิจจัดส่งสินค้าตามบ้าน Home Delivery และสินค้าที่ให้ความบันเทิงและความเพลิด

เพลินภายในบ้าน เช่น ชุดโฮมเธียเตอร์ เครื่องดีวีดี และเคเบิลทีวี เป็นต้น รวมทั้งภาคธุรกิจก็อาจมีการ

ติดต่อธุรกิจผ่านบริการ e-Commerce และบริการโทรคมนาคม (เช่น การติดต่องานผ่านโทรศัพท์ หรือ

Teleconference) มากขึ้น



ผลกระทบโดยรวม ... จีดีพีอาจลดลงอย่างน้อยร้อยละ 0.6

จากการประเมินสถานการณ์ในเบื้องต้น ทั้งในด้านลบและด้านบวกจากการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่

2009 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ผลกระทบในทางลบต่อธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจบริการหลายด้าน อาจ

สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 60,000 ล้านบาท หรือตัดลดจีดีพีลงร้อยละ 0.7

จากประมาณการในกรณีพื้นฐานเมื่อเดือนมิถุนายน (ที่คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2552 นี้จะหดตัวลงร้อยละ

3.5) อย่างไรก็ตาม กระแสการป้องกันโรคจะทำให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจมีการใช้จ่ายเพื่อวัตถุประสงค์ใน

ด้านนี้เพิ่มขึ้น ขณะที่ทางการก็จำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อรองรับการดำเนินมาตรการในด้านการรักษา

พยาบาล การจัดหายาและวัคซีน ตลอดจนการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชน และอื่นๆ ซึ่งประเมินว่า

เม็ดเงินสะพัดจากอานิสงส์ของการระบาดของโรคดังกล่าวจะมีมูลค่ารวมทั้งสิ้นไม่ต่ำกว่า 9,000 ล้านบาท

หรือทำให้จีดีพีเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 ผลกระทบโดยรวมแล้ว จึงคาดว่าจะทำให้มูลค่าจีดีพีของไทยในปี 2552

นี้ สูญเสียไปอย่างน้อยประมาณ 51,000 ล้านบาท หรืออัตราการขยายตัวของจีดีพีลดลงประมาณร้อยละ

0.6 เป็นอย่างน้อย จากประมาณการในกรณีพื้นฐาน (ที่ร้อยละ 3.5) โดยจะกระทบให้จีดีพีในไตรมาสที่ 3

ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 1.6 ทำให้หดตัวเพิ่มเป็นร้อยละ 5.6 จากเดิมคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 4.0 ขณะที่

จะกระทบให้จีดีพีในไตรมาสที่ 4 ลดลงอย่างน้อยร้อยละ 0.9 ทำให้อาจขยายตัวร้อยละ 2.0 จากเดิมคาด

ว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.9 แต่ถ้าอัตราเพิ่มขึ้นของการแพร่ระบาดในช่วงไตรมาสที่ 4 ยังไม่ชะลอลง ผล

กระทบก็จะสูงขึ้นมากกว่านี้

โดยรวมแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ผลกระทบจากปัจจัยไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 อาจจะ

ทำให้อัตราการขยายตัวของปี 2552 นี้ ต่ำลงจากประมาณการในกรณีพื้นฐานที่คาดว่าจีดีพีจะหดตัวร้อยละ

3.5 มาเป็นหดตัวร้อยละ 4.1 อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจอาจจะหดตัวลงน้อยกว่านี้หากแนวโน้มเศรษฐกิจ

โลกกลับมาดีขึ้น ทำให้การส่งออกมีการฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังของปี รวมทั้ง ถ้าหากรัฐบาลเร่งรัดการเบิก

จ่ายงบประมาณ และมีมาตรการแก้ไขปัญหาอย่างได้ผล ที่สามารถฟื้นความเชื่อมั่นของประชาชนทั่วไปและ

ชาวต่างชาติให้กลับคืนมาได้



ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009

โดยสรุป สถานการณ์การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ล่าสุด มีความรุนแรงกว่า

คาดการณ์ในกรณีพื้นฐาน ที่ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ประเมินไว้เมื่อเดือนมิถุนายน ที่เป็นช่วงเริ่มต้นของการ

แพร่ระบาด อย่างไรก็ตาม ถ้าความรุนแรงของอาการของเชื้อไวรัสนี้ยังเป็นดังเช่นปัจจุบัน ที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่

สามารถรักษาอาการให้หายได้ ขอบเขตของการระบาดนี้ก็ยังคงอยู่ภายใต้กรอบประมาณการเศรษฐกิจของ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่ประเมินว่าในกรณีเลวร้ายจีดีพีอาจจะหดตัวลงไปถึงร้อยละ 5.0

ทั้งนี้ เมื่อวิเคราะห์แนวโน้มในช่วงที่เหลือของปีนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่าเชื้อไวรัสนี้จะยังคงแพร่

ระบาดรุนแรงต่อไปตลอดช่วงไตรมาสที่ 3 นี้ และมีโอกาสที่จะคงอยู่ยาวนานไปจนถึงไตรมาสสุดท้ายของปี

หากมาตรการของทางการในการควบคุมการติดเชื้อยังไม่สามารถหยุดยั้งการระบาดของโรคให้ชะลอลงได้

ซึ่งจะเป็นผลให้เศรษฐกิจและสังคมไทยจะต้องอยู่กับปัญหานี้ และเรียนรู้ที่จะป้องกันตัวเองต่อการติดเชื้อ

ไวรัสนี้ยาวนานต่อไปอีกหลายเดือน หรืออาจต่อเนื่องไปถึงปีหน้าด้วย อย่างไรก็ตาม การผลิตวัคซีนป้องกัน

โรคไข้หวัดใหญ่ 2009 มีความคืบหน้า ซึ่งวัคซีนที่จะนำเข้าจากต่างประเทศน่าจะสามารถนำมากระจายให้

แก่ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงได้ประมาณช่วงไตรมาสที่ 4 และเมื่อวัคซีนที่ทดลองผลิตภายในประเทศ ภายใต้การ

สนับสนุนจากองค์การอนามัยโลก ประสบความสำเร็จ ไทยจะสามารถผลิตวัคซีนใช้เองได้ 2.5-2.8 ล้าน

โดสต่อเดือน ซึ่งจะลดโอกาสการติดเชื้อและเสียชีวิตของคนกลุ่มเสี่ยงได้มากขึ้น

จากการประเมินสถานการณ์ทั้งในด้านลบและด้านบวกจากการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่

2009 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ผลกระทบต่อธุรกิจท่องเที่ยวและธุรกิจบริการหลายด้าน อาจสร้าง

ความสูญเสียแก่เศรษฐกิจไทยในปี 2552 ไม่ต่ำกว่า 60,000 ล้านบาท แต่จากเม็ดเงินสะพัดจากอานิสงส์

ของการระบาดของโรคดังกล่าวอาจสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจรวมทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 9,000 ล้านบาท เนื่อง

จากกระแสการป้องกันโรคและการดูแลสุขภาพที่มาแรง จะมีส่วนทำให้ผู้บริโภคและภาคธุรกิจมีการใช้จ่ายใน

ด้านนี้เพิ่มขึ้น ขณะที่ทางการก็จำเป็นต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อรองรับการดำเนินมาตรการยับยั้งการแพร่

ระบาดของโรค โดยรวมสุทธิแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงคาดว่า การระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์

ใหม่ 2009 จะสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจในปี 2552 อย่างน้อย 51,000 ล้านบาท หรือมีผลให้อัตรา

การขยายตัวของจีดีพีลดลงอย่างน้อยร้อยละ 0.6 ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีความโน้มเอียงที่จะไปสู่การหดตัว

ที่อัตราร้อยละ 4.1 จากกรอบประมาณการเศรษฐกิจที่อยู่ในช่วงร้อยละ 3.5-5.0 โดยตัวแปรที่อาจจะมี

ส่วนช่วยบรรเทาผลกระทบของการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ดังกล่าว คือ การที่เศรษฐกิจโลกและการส่ง

ออกอาจกลับมาดีขึ้น รวมทั้งการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและมาตรการแก้ไขปัญหาของรัฐบาล

สำหรับการดำเนินมาตรการเพื่อลดการแพร่ระบาดของโรคนี้และผลกระทบทางเศรษฐกิจนั้น จำเป็น

ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในสังคม โดยบทบาทสำคัญของรัฐบาลควรต้องให้ความรู้และสร้างความ

เข้าใจแก่ประชาชนผ่านกลไกของรัฐในทุกรูปแบบ เนื่องจากในช่วงแรกการแพร่ระบาดเกิดขึ้นในเขตเมือง

หลวง และเมืองใหญ่ๆ ซึ่งมีระบบสาธารณสุขที่ดี และประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้รวดเร็ว ในขั้นต่อไปจึง

ต้องเตรียมรับมือการระบาดสู่พื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น ขณะที่ประชาชนก็ควรใส่ใจต่อการป้องกันการรับและ

การแพร่ของเชื้อโรค และถ้าภาคเอกชนและหน่วยงานต่างๆ มีมาตรการป้องกันการระบาดของโรคภายใน

องค์กรที่มีประสิทธิภาพ ก็จะช่วยตัดวงจรการแพร่ระบาดได้มาก นอกจากนี้ ภาครัฐยังควรต้องเปิดเผยข้อมูล

อย่างโปร่งใส เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ประชาชนและชาวต่างชาติต่อแนวทางปฏิบัติและมาตรการรับมือ

ของประเทศไทย อีกทั้งควรที่จะติดตามเผยแพร่ข้อมูลข้อเท็จจริงให้แก่ประเทศต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจ

ที่ถูกต้องต่อสถานการณ์ในประเทศไทย

นอกจากโจทย์เฉพาะหน้า ในด้านการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข เพื่อต่อสู้กับไวรัสไข้หวัดใหญ่สาย

พันธุ์ใหม่ 2009 นี้แล้ว รัฐบาลควรจำเป็นต้องเตรียมมาตรการรองรับสถานการณ์ที่ไกลออกไปไว้ด้วย สิ่งที่

หลายฝ่ายเป็นกังวล คือ เชื้อไวรัสสายพันธุ์ใหม่ ชนิด A (H1N1) นี้ สามารถแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว

และจู่โจมระบบทางเดินหายใจโดยเฉพาะในปอดได้อย่างรวดเร็วกว่าไวรัสไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ซึ่งเป็น

สาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ขณะเดียวกัน ธรรมชาติของเชื้อโดยทั่วไปมักมีโอกาสเปลี่ยนแปลง

ทำให้หลายฝ่ายกังวลต่อการดื้อยาหรือการกลายพันธุ์ของไวรัส นอกจากนี้ การพัฒนาวัคซีนก็เป็นสิ่งที่ยังต้อง

ติดตาม เนื่องจากแม้องค์การอนามัยโลกเคยระบุว่า วัคซีนชุดแรกน่าจะแจกจ่ายได้ในเดือนกันยายนนี้ และ

ประเมินว่าทั่วโลกจะสามารถผลิตวัคซีนได้ 4.9 พันล้านโดส ภายในระยะเวลา 12 เดือน แต่ผลการผลิต

วัคซีนในเบื้องต้นพบว่าวัคซีนที่ได้น้อยกว่ากระบวนการผลิตวัคซีนไข้หวัดตามฤดูกาล หากเป็นเช่นนั้น ปริมาณ

วัคซีนที่ผลิตได้อาจน้อยกว่าที่มีการประเมินไว้

ดังนั้น โจทย์ใหญ่ของรัฐบาลอีกข้อหนึ่ง คือ การเตรียมแผนการฉุกเฉินรองรับกรณีที่โรคระบาดนี้อาจ

จะมีวิวัฒนาการไปในทางลบ เพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระยะที่ไกลออกไป โดยควรมีการตั้ง

กลไกที่รับผิดชอบโดยตรงสำหรับสถานการณ์ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่จะเป็นศูนย์กลางในการดำเนิน

การด้านต่างๆ และควรสร้างเครือข่ายสาธารณสุขที่พร้อมสำหรับกรณีฉุกเฉิน โดยอาจมีศูนย์ย่อยๆ ในลักษณะ

Health Safety Net ลงไปในทุกระดับของชุมชนตั้งแต่ประเทศ จังหวัด ไปจนถึงหมู่บ้าน ที่จะเป็นผู้รับ

และกระจายข้อมูลให้ไปสู่ชุมชนในระดับประชาชนทั่วประเทศ ซึ่งควรมีการประสานกับสื่อที่มีบทบาทในท้องถิ่น

และมีการอบรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เร่งให้ความรู้แก่ประชาชนให้เข้าใจวิธีการปฏิบัติ

ตัวอย่างถูกต้องในการป้องกันโรค การดูแลรักษาในเบื้องต้นสำหรับผู้ติดเชื้อ และดูแลการป้องกันแพร่เชื้อสู่ผู้

อื่น รวมถึงมาตรการตีกรอบสกัดการแพร่ของเชื้อ จะเป็นสิ่งที่กันการระบาดให้อยู่ในวงจำกัดได้ ซึ่งการลด

โอกาสติดเชื้อและการให้การรักษาอย่างถูกต้องและรวดเร็วอย่างทันท่วงที จะช่วยลดการสูญเสียชีวิต ตลอด

จนการสร้างความมั่นใจต่อมาตรการของทางการว่ามีความพร้อมในการรับมือได้อย่างมีประสิทธิผล ซึ่งจะลด

การสูญเสียทางเศรษฐกิจได้อย่างดีที่สุด

สำหรับโจทย์ในทางเศรษฐกิจ ปัญหาสาธารณสุขที่กลายมาเป็นความเสี่ยงทางเศรษฐกิจนี้ จะเป็นสิ่งที่

ท้าทายต่อการรักษาเป้าหมายอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทย โดยการที่จะผลักดันให้เศรษฐกิจ

ขยายตัวไปได้ตามเป้าในยามที่มีปัจจัยลบที่บั่นทอนการเติบโตลงนั้น ย่อมหมายความว่ารัฐบาลจะต้องเร่งรัด

หรือเพิ่มการใช้มาตรการมากขึ้น ซึ่งแนวทางเฉพาะหน้าที่จะทำได้คือการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ

การผลักดันโครงการไทยเข้มแข็ง ให้คืบหน้าตามกรอบเวลาที่วางไว้ นอกจากนี้ ในกรณีงบประมาณสำหรับ

การสาธารณสุขภายใต้โครงการไทยเข้มแข็งที่เป็นประโยชน์ต่อการต่อสู้กับโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 นี้ รัฐบาล

อาจยกขึ้นมาเป็นโครงการเร่งด่วนเพื่อประโยชน์ทั้งต่อการควบคุมป้องกันโรค และผลต่อเศรษฐกิจด้วย


รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจ

รับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ

อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้

ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น

บริษัทฯจะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้

จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น

stock in focus, ผลกระทบของไข้หวัดใหญ่ที่มีต่อเศรษฐกิจ
************
24/07/52
ชูกู้เงินบาทพยุงศก.และหวังบาทอ่อน
มาร์ครับเตรียมกู้เงินภายในประเทศ เชื่อเงินอยู่ในระบบไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แถมช่วยให้เงินบาทอ่อนค่า

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยในงานปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “วิกฤตเศรษฐกิจทางเลือก ทางรอด อนาคตประเทศไทย” เมื่อวานนี้ ว่า ขณะนี้ทราบว่ามีเงินอยู่ในระบบไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านเหรียญ สหรัฐ หรือประมาณ 7 หมื่นล้านบาท จึงได้ให้นโยบายไปว่าให้หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจเปลี่ยนมาใช้วิธีการกู้เงินในประเทศแทน
“หากโครงการที่ลงทุนนั้นจำเป็นต้องนำเงินไปซื้อสินค้าต่างประเทศ โดยต้องมีการแลกเปลี่ยนเงิน จะช่วยทำให้ค่าเงินบาทไม่แข็งตัว โดยนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง กำลังดูรายละเอียดเรื่องนี้” นายอภิสิทธิ์ กล่าว

ทั้งนี้ มั่นใจว่าจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเป็นบวกได้ และคาดว่าจีดีพีในปีนี้จะไม่ต่ำกว่า 2% และจะคุมหนี้สาธารณะให้อยู่ในวิสัยที่จัดการได้อย่างไม่มีปัญหา สำหรับการชำระหนี้นั้น หากเศรษฐกิจขยายตัวก็จะมีรายได้ภาษีคืนมาและรัฐจะจัดงบประมาณไปชำระคืนหนี้ได้
stock in focus
*******
24/07/52
'โกร่ง' สอนมาร์คชกมวย มองไร้ผลงาน ยันเศรษฐกิจฟุบยาว 6 ปี
ดร.โกร่ง ไม่เชื่อน้ำยารัฐบาลมาร์ค ยันเศรษฐกิจไทยปีนี้ไม่มีสัญญาณฟื้นตัว มีสิทธิ์นอนยาว 6 ปี แนะเร่งดูแลภาคส่งออก และกระตุ้นธุรกิจท่องเที่ยวอย่างจริงจัง นำเม็ดเงินเข้าประเทศให้เร็วสุด ด้านมาร์คมั่นใจจีดีพีปีหน้าบวก 2% หลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจแผลงฤทธิ์ ด้านกรมบัญชีกลางเผยผลเบิกจ่ายงบกลางปี 1 แสนล้านบาท ล่าสุดเบิกไปแล้ว 52%
*******
คลังกู้ซากเอสเอ็มอี 6 แบงก์รัฐอัดสินเชื่อกรุงไทยเป็นหัวหอก
"ประดิษฐ์" สั่ง 6 แบงก์รัฐ ปล่อยสินเชื่อช่วยเอสเอ็มอีด่วน 2.5 ล้านราย หลังพบขาดสภาพคล่องหนัก กรุงไทยหัวหอก ที่เหลือยังแบ่งเป้าไม่ลงตัว เร่งสรุปภายในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ ก่อนเสนอครม.อนุมัติพร้อมสั่งสศค.ศึกษา แนวทางยึดหนี้ให้เอสเอ็มอีชะลอคืนเงินต้น
stock in focus,ข่าวเศรษฐกิจมหภาค.

********
23/07/52
GOVT:รัฐบาลเร่งฟื้นเศรษฐกิจ เล็งหาเอกชนร่วมทุนรถไฟฟ้า-ทำถนน-สนามบินเฟสใหม่ ทำเนียบรัฐบาล--23 ก.ค.--รอยเตอร์ รัฐบาลเร่งกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านโครงการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership:PPP) โดยมีหลายโครงการที่อยู่ในข่ายที่ให้เอกชนร่วมลงทุน ทั้งโครงการรถไฟฟ้าและเส้นทางรถไฟ การขยายสนามบินเฟสใหม่ และถนนมอเตอร์เวย์ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า โครงการที่อยู่ในข่ายดำเนินการตามแนวทางของ PPP ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้า 3 สาย คือเขียว ม่วง และแดง, สนามบินสุวรรณภูมิ เฟส 2, มอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา รวมถึงโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ซึ่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้หารือกับจีนมาแล้วคือ รถไฟรางเดี่ยวจากคุนหมิงมาไทย และรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทางคือ กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-ชลบุรี เขากล่าวว่า รัฐบาลได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ เพื่อดำเนินการในเรื่องนี้ ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาในช่วงต่อไป "คณะทำงานเฉพาะกิจ จะต้องหาคนเก่งๆ มาช่วยเหลือการทำงาน โดยจะให้เวลาในการทำงาน 3 เดือน เมื่อแล้วเสร็จจะนำข้อมูลเสนอให้ครม.รับทราบ" นายกอร์ปศักดิ์ กล่าวกับผู้สื่อข่าว ภายหลังเป็นประธานการประชุมโครงการ PPP ซึ่งที่ประชุมได้มีมติตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง เพื่อช่วยเหลือการทำงานของคณะกรรมการ PPP สำหรับภารกิจของคณะทำงานเฉพาะกิจ จะต้องไปหารือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สภาพัฒน์) เพื่อดูเรื่องการแก้กฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้การดำเนินงานภายใต้โครงการ PPP ทำได้เร็วขึ้น รวมถึงให้ไปดูว่าโครงการที่ได้ประกาศไปก่อนหน้านี้มีอุปสรรคอย่างไร นอกจากนี้ ให้คณะทำงานเฉพาะกิจ ไปวางแผนการดำเนินการ หาผู้เชี่ยวชาญเพื่อมาคัดเลือกโครงการที่อยู่ในแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งว่า โครงการใดเหมาะสมที่จะมาอยู่ใน PPP แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง เป็นแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสองวงเงิน 1.43 ล้านล้านบาท ที่จะใช้ไปจนถึงปี 2555 ซึ่งก่อนหน้านั้นครม.ได้อนุมัติแผนการกู้เงินรวม 8 แสนล้านบาท ภายในปี 2554 เพื่อนำมาชดเชยการขาดดุลงบประมาณ และใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ เมื่อเดือนที่แล้ว นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารหนี้สาธารณะ(สบน.) คาดว่า จะให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนตามแนวทาง PPP ประมาณ 10% จากวงเงินลงทุนทั้งหมด 1.43 ล้านล้านบาท โดยคาดว่าจะมีรายละเอียดของโครงการใน 1-2 เดือนข้างหน้า นายกรัฐมนตรี กล่าวก่อนหน้านั้นด้วยว่า ตามแผนลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ จะทำได้หลายวิธี เช่น อาจจะให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในลักษณะ PPP หรืออาจจะกู้เงินจากต่างประเทศ เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 1/52 หดตัวลงอย่างรุนแรง 7.1% ต่อเนื่องจากไตรมาส 4/51 ที่หดตัว 4.2% หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจโลก แต่นายกรัฐมนตรี ก็คาดว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่รัฐบาลกำลังดำเนินการในขณะนี้ จะทำให้ 3 เดือนสุดท้ายของปีนี้เศรษฐกิจไทยจะกลับมาเป็นบวก และคาดว่า ปีหน้าจะเติบโต 2%
https://www.asl.co.th/default.aspx
stock in focus

*************
23/07/52
นายกฯคาดจีดีพีปี"53โต2% มาตรการกระตุ้นศก.แผลงฤทธิ์
(เบื้องต้น) นายกฯคาดเศรษฐกิจปีหน้าขยายตัว 2% สิ้นปี"52 เริ่มพลิกกลับมาเป็นบวก หลังมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 เริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลจะพยายามทำให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศกลับมาขยายตัวเป็นบวกภายในปีนี้ หลังจากมีอัตราการขยายตัวในช่วงครึ่งแรกของปีหดตัวลดลง และในปี 2553 จะพยายามให้มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 2%

สำหรับการใช้วงเงินกู้เพื่อนำมาชดเชยเงินคงคลังของปีงบประมาณ 2552 คาดว่า ไม่น่าจะเกิน 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งลดลงจากเดิมที่คาดว่าจะมากกว่า 2 แสนล้านบาท ทั้งนี้ เป็นผลจากการที่รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มมากขึ้น และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 เริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรมแล้ว
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20090723/62407/นายกฯคาดจีดีพีปี53โต2-มาตรการกระตุ้นศก.แผลงฤทธิ์.html
stock in focus
*******************

20/07/52
ธปท.ห่วงไข้หวัดใหญ่ 2009 กระทบคาดการณ์ "จีดีพี" ปี 52
ผู้ว่าฯ ธปท. เตรียมเผยรายงานคาดการณ์ ศก.ปี 52 วันศุกร์นี้ ห่วงความเสี่ยงการแพร่ระบาดไข้หวัด 2009 กระทบการทบทวนคาดการณ์ "จีดีพี" เผยตัวเลขเศรษฐกิจหลายตัวเริ่มดีขึ้น ขณะที่บางตัว เริ่มติดลบน้อยลง

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงการทบทวนประมาณการอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อของ ธปท.ที่จะเผยแพร่ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2552 นี้ คาดว่า ตัวเลขจีดีพี จะยังออกมาไม่ดีนัก

ผู้ว่า ธปท. กล่าวเสริมว่า ขณะนี้ ตัวเลขทางเศรษฐกิจหลายตัว เริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้นแล้ว โดยบางตัวติดลบน้อยลง จากที่เคยปักหัวลงแรงมากในช่วงก่อนหน้านี้ ขณะที่บางตัวก็ดีขึ้นแล้ว แต่ก็ยังติดลบอยู่

ผู้ว่า ธปท.ยอมรับว่า ตัวเลขประมาณการชุดใหม่ที่ยังไม่ดีขึ้น เพราะขณะนี้ ไทยยังต้องเผชิญความเสี่ยงที่มีหลายด้าน เช่น ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งเป็นความเสี่ยงสำคัญอย่างหนึ่งของเศรษฐกิจ แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีผลต่อเศรษฐกิจในด้านใดบ้าง
http://www.manager.co.th/StockMarket/ViewNews.aspx?NewsID=9520000081928

20/07/52
ส่งออกเดือนมิ.ย.ติดลบ 25.9% แต่แนวโน้มดีขึ้น
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า การส่งออกการไทยในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา มีมูลค่า 12,334 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ติดลบ 25.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการส่งออกสินค้าเกษตรปรับ
ตัวลดลงต่อเนื่อง ตามความต้องการในตลาดโลกที่ลดลง การแข่งขันที่มีแนวโน้มสูงขึ้น รวมทั้งประเทศคู่ค้าที่ชะลอการสั่งซื้อ แต่หากเทียบกับเดือนพฤษภาคม การส่งออกปรับเพิ่มขึ้น 5.8% และมีมูลค่าสูงสุดในรอบ 7 เดือน

ขณะที่การส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ มีมูลค่า 68,207 ล้านดอลลาร์ลดลง 23.5% แต่มีทิศทางที่ดีขึ้น โดยกระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ว่าการส่งออกปีนี้จะติดลบเพียง 10% จากเป้าหมายติดลบ 15-19%

นายศิริพล ยังบอกถึงแนวโน้มการส่งออกในปีหน้า เชื่อว่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ 12-15% จากฐานการส่งออกในปีนี้ ที่อยู่ในระดับต่ำ ขณะที่เศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจถึงจุดต่ำสุดแล้ว ทำให้ออเดอร์จากการส่งออกเริ่มมีแนวโน้มดีขึ้น

ส่วนการนำเข้าเดือนมิถุนายน มีมูลค่า 11,397 ล้านดอลลาร์ติดลบ 29.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ส่วนการนำเข้าในช่วง 6 เดือนแรกของปีมีมูลค่า 57,215 ล้านดอลลาร์ ลดลง 35.4% ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนมิถุนายนเกินดุลอยู่ที่ 936 ล้านดอลลาร์และ 6 เดือนแรกเกินดุลการค้าอยู่ที่ 10,991 ล้านดอลลาร์
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/MoneylineNews/tabid/89/newsid491/93557/Default.aspx

stock in focus
***********
18/07/52
ค้าไทย-อาเซียนดันGDPโต2แสนล. เกษตรแปรรูป-ยานยนต์ยิ้มรับทรัพย์
ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนดันเศรษฐกิจ "ค้าไทย-อาเซียน"ผงาด เผยอีก 6 ปี หลัง"เออีซี"มีผล ทำให้จีดีพีไทยเพิ่มขึ้น 1.75% มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท ขณะที่ภาคส่งออกไทยไปอาเซียนเติบโตกว่า 1.6 แสนล้านบาท หมวดสินค้าเกษตร ปศุสัตว์ ประมง สิ่งทอ เคมีภัณฑ์พลาสติกยาง ผลิตภัณฑ์ไม้ ยานยนต์ตีปีก ส่วนปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์แร่ เหล็กและโลหะหงอย
ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่าจากการที่ปี 2558 เศรษฐกิจอาเซียนจะรวมเป็นหนึ่งเดียวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) เหมือนประชาคมเศรษฐกิจยุโรป โดยตั้งแต่ปี 2553 เป็นต้นไปการลดภาษีสินค้านำเข้าจะทยอยลดลงเหลือ 0% และปี 2558 จะลดเหลือ 0% ทุกหมวดสินค้า ดังนั้นทางศูนย์จึงได้ทำการศึกษา "ผลกระทบของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ต่อเศรษฐกิจการค้าของไทยใน 6 ปีข้างหน้า
ทั้งนี้จากผลการศึกษาพบว่าผลการปรับลดภาษีในกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2558 จะส่งผลให้อัตราการเติบโตเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยเพิ่มขึ้น 1.75 % หรือคิดเป็นมูลค่า 203,951 ล้านบาท เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.25 % ต่อปี มูลค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 29,136 ล้านบาท ในด้านการค้าระหว่างประเทศการส่งออกไปอาเซียนจะเพิ่มขึ้น 160,487 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.7 % เฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 22,925.8 ล้านบาท การนำเข้าเพิ่มขึ้น 113,706.6 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.6 % เฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 16,242.4 ล้านบาท ซึ่งจะทำให้ไทยได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้น 46,786.7 ล้านบาท
ดร.อัทธ์ กล่าวว่าจากการศึกษาสินค้า 11 รายการ ซึ่งเป็นหมวดสินค้าที่ไทยค้ากับอาเซียนมากที่สุดคิดเป็นสัดส่วน 70% ของการค้าทั้งหมด โดยทั้ง 11 รายการ ได้แก่สินค้าเกษตรแปรรูป สินค้าเกษตรและปศุสัตว์ สินค้าประมง เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ เคมีภัณฑ์ ยางและพลาสติก ผลิตภัณฑ์ไม้ ยานยนต์และชิ้นส่วน ปิโตรเลียม ผลิตภัณฑ์แร่เหล็กและโลหะ
จากการศึกษาพบว่าสินค้าที่ไทยมีความได้เปรียบและจะได้ดุลการค้ามากที่สุดคือสินค้าหมวดยานยนต์และชิ้นส่วนและเกษตรแปรรูป เพราะได้เปรียบประเทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย ส่วนสินค้าที่ขาดดุลมากที่สุดได้แก่ ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์แร่ เพราะเสียเปรียบและขาดดุลประเทศพม่า ลาว อินโดนีเซียและมาเลเซีย
หากวิเคราะห์เป็นรายหมวดสินค้าพบว่า สินค้าเกษตรแปรรูป โดยภาพรวมมีความได้เปรียบประเทศอาเซียนและการส่งออกสินค้าหมวดนี้จะได้ดุลการค้าเพิ่มขึ้น 12.5% โดยได้ดุลการค้ามาเลเซียมากที่สุด หมวดเกษตรปศุสัตว์เกินดุลเพิ่มขึ้น 16.5 %ได้ดุลการค้ากับเวียดนามมากที่สุด แต่จะขาดดุลการค้ากับมาเลเซีย เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ขาดดุลการค้าลดลง 84.4 %ได้ดุลการค้าสิงคโปร์แต่จะขาดดุลการค้ามาเลเซีย
หมวดสิ่งทอ โดยภาพรวมได้เปรียบและการส่งออกจะเกินดุลเพิ่มขึ้น 13.9 %ได้ดุลการค้ากับสิงคโปร์มากที่สุด ขาดดุลการค้ากับอินโดนีเซีย หมวดเคมีภัณฑ์ ยางและพลาสติก เกินดุลเพิ่มขึ้น 12.6 %ได้ดุลการค้ากับมาเลเซียขาดดุลการค้ากับสิงคโปร์มากที่สุด หมวดผลิตภัณฑ์ไม้ เกินดุลเพิ่มขึ้นทั้งหมด 14.9 %ได้ดุลการค้ากับเวียดนาม ขาดดุลการค้ากับมาเลเซีย
หมวดยานยนต์และชิ้นส่วน เกินดุลเพิ่มขึ้นทั้งหมด 14.2 %ได้ดุลการค้ากับอินโดนีเซียมากที่สุด หมวดปิโตรเลียมขาดดุลเพิ่มขึ้น 4.5% ขาดดุลกับพม่ามากที่สุด เกินดุลกับสิงคโปร์ หมวดผลิตภัณฑ์แร่ ขาดดุล 16.3 %เหล็กและโลหะขาดดุลเพิ่มขึ้น 7.2 %ทั้งสองหมวดนี้ขาดดุลกับอินโดนีเซียมากที่สุด

http://www.thannews.th.com/detialNews.php?id=T0624443&issue=2444

stock in focus

************
17/07/52
อีคอมเมิร์ซ โตสวนกระแส ศก.ซบ คาดปี 52 พุ่ง 50% มูลค่า 6 แสนล้าน
พาณิชย์ ชี้ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โตสวนกระแส ศก.ซบเซา คาดปี 52 ยังขยายตัวได้ถึง 50% โดยมีมูลค่าสูงถึง 6 แสนล้านบาท พร้อมระบุ แนวโน้มปี 2556 มีสิทธิพุ่งทะลุ 1.2 ล้านล้านบาท

นายคณิสสร นาวานุเคราะห์ อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ธุรกิจค้าสินค้าผ่านอินเทอร์เน็ต (อีคอมเมิร์ซ) มีการเจริญเติบโตสูงขึ้นต่อเนื่อง สวนกระแสภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยคาดว่า มูลค่ารวมในปี 2552 ยังสามารถขยายตัวได้ถึง 50% หรือคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 6 แสนล้านบาท พร้อมคาดการณืแนวโน้มในปี 2556 เชื่อว่าจะมีมูลค่าสูงถึง 1.2 ล้านล้านบาท ตามเป้าหมาย

นายคณิสสร ระบุว่า การสวนกระแสเศรษฐกิจไทยที่ซบเซา เป็นผลมาจากความเข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ความนิยมจึงสูงขึ้น และที่สำคัญการซื้อขายผ่านระบบนี้ ผู้ซื้อและผู้ขายไม่ต้องเดินทางไปจับจ่ายสินค้าให้สิ้นเปลืองค่าโดยสาร ค่าน้ำมัน ในขณะที่ที่ทางการเข้ามาดูแลการค้าขายสินค้าไม่ว่าเป็นด้านกฎหมาย การแนะนำการทำธุรกิจ ก็ทำให้เกิดความเชื่อมั่นมากขึ้น

โดยปัจจุบันพบว่า การค้าผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก เช่น ธุรกิจบริการ เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ เป็นต้น กว่าร้อยละ 90 เป็นการค้าระหว่างผู้ผลิตผู้ดำเนินธุรกิจ (BUSINESS) ไปสู่ผู้บริโภค (CONSUMER) หรือ B-C โดยในขณะนี้ กรมฯ ได้ส่งเสริมให้เกิดการค้าระบบ B-B ให้มากขึ้นเพื่อขยายระบบการค้า รวมทั้งการท่องเที่ยวให้เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการปฐมนิเทศโครงการ e-Commerce Online รุ่นที่ 3 เพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันแก่ผู้ประกอบการ สร้างมูลค่าเพิ่มและขยายโอกาสทางธุรกิจสู่ตลาดออนไลน์ ตลอดจนมุ่งสร้างผู้ประกอบการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รายใหม่ ๆ ด้วยการเปิดอบรมให้ความรู้ด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์แก่ผู้ประกอบการ ผ่านเว็บไซต์ www.dbdacademy.com โดยผู้สนใจเข้าอบรม 1,231 คน แบ่งเป็นหลักสูตรต่างๆ ดังนี้

หลักสูตรความรู้เบื้องต้นด้าน อี-คอมเมิร์ซ หลักสูตรการตลาดอี-คอมเมิร์ซ หลักสูตรการพัฒนาขีดความสามารถผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซ หลักสูตรธรรมาภิบาลภาคธุรกิจ งบการเงินสำหรับผู้บริหาร และการเขียนจดหมายภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจ
http://www.manager.co.th
stock in focus

*************
16/07/52
ธปท.ไม่ทำเซอร์ไพรส์ คงอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี 1.25%
แบงก์ชาติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 1.25% พร้อมจับตาความเสี่ยงเศรษฐกิจทั้งภายในและนอกประเทศ ด้านพันธบัตรไทยเข้มแข็งเชื่อเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจไม่มีปัญหา ส่วนดอกเบี้ยแบงก์มีการปรับตัวในทิศทางสอดคล้องกับนโยบายเดือนพฤษภาคมดอกเบี้ยเงินกู้ ปรับลดลง 0.25% แล้ว

คลังสั่งออกบอนด์ล็อตใหม่ 8 หมื่นล้านบาทขายเกลี้ยง
กรณ์ได้ใจสั่งสบน.เตรียมออกพันธบัตรออมทรัพย์เพิ่ม อายุมากกว่า 5 ปี หลังประชาชนกว่า 1 แสนคนแห่จองล้น 8 หมื่นล้านบาท ทั้งรอบคนแก่ประชาชนทั่วไป ระบุดอกเบี้ย 4% คลังรับไหว กรุงไทยเสือปืนไวแค่ 10 นาทีแรกขายหมดเกลี้ยง

stock in focus

**********
09/07/52

ม.หอการค้าเผยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคมิ.ย.ปรับดีขึ้นในรอบ 5 เดือน

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคประจำเดือน มิ.ย.52 อยู่ที่ 65.4 เพิ่มขึ้นจากเดือน พ.ค.52 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 64.3 ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำอยู่ที่ 64.7 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 87.4

ดัชนีฯ ทั้ง 3 ตัวปรับเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 5 เดือน โดยมีปัจจัยบวก คือ

1.สภาผู้แทนราษฎรผ่านกฎหมายกู้เงิน 8 แสนล้านบาทเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ
2. มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 1 สนับสนุนให้เกิดการกระตุ้นการบริโภคในประเทศ และ
3.มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่(SP2)ส่งผลจิตวิทยาเชิงบวกกับผู้บริโภค และการแข็งค่าของเงินบาทสะท้อนให้เห็นว่ายังมีเงินจากต่างประเทศไหลเข้ามาลงทุนในประเทศ

ปัจจัยลบ ได้แก่

1. ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวเพิ่มขึ้น
2. ผู้บริโภคกังวลเสถียรภาพทางการเมือง
3.การส่งออกในเดือน พ.ค.ติดลบถึง 26.5%
4.ประชาชนยังกังวลค่าครองชีพและราคาสินค้าที่อยู่ในระดับสูง
5.ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009 ต่อภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

นอกจากนั้น ยังคาดว่าการบริโภคภายในประเทศในขณะนี้จนถึงไตรมาสที่ 3 ของปีนี้จะขยายตัวได้ไม่มากนัก เนื่องจากดัชนีฯ ทุกรายการยังทรงตัวต่ำกว่าระดับปกติที่ 100 แสดงว่าผู้บริโภคยังมีความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจในประเทศ เศรษฐกิจโลก และปัญหาการว่างงาน ซึ่งส่งผลทางจิตวิทยาเชิงลบ

**********
08/07/52
ธปท.รายงานกำไรอื้อ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานงบการเงินล่าสุดในปี 2551 ที่ผ่านมาว่า มีรายได้ทั้งสิ้น 1.15 แสนล้านบาท แบ่งเป็นรายได้จากดอกเบี้ยรับจากการลงทุน 6.83 หมื่นล้านบาท รายได้จากค่าธรรมเนียม 466 ล้านบาท
ขณะที่ธปท.มีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสุทธิในการดูแลทุนสำรองทางการในฝ่ายการธนาคาร 3.87 หมื่น ล้านบาท และมีรายได้อื่นอีก 7,491 ล้านบาท
ด้านรายจ่ายมีทั้งสิ้น 8.42 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นรายจ่ายที่เกิดขึ้นจากดอกเบี้ยจ่ายทั้งสิ้น 7.63 หมื่นล้านบาท รายจ่ายด้านพนักงาน 3,264 ล้านบาท และรายจ่ายอื่นๆ 4,717 ล้านบาท
http://www.posttoday.com/finance.php?id=55964

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น