วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข่าวอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร

14/09/52
ส่งออกอาหารปีนี้ติดลบ 8% แต่ปีหน้าคาดทะลุ 7.5 แสนล้านบาท

Posted on Monday, September 14, 2009
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร คาดว่า การส่งออกอาหารในปีนี้จะติดลบไม่เกิน 8% คิดเป็นมูลค่าประมาณ 722,000 ล้านบาท ปรับตัวขึ้นจากประมาณการเดิมที่คาดว่าจะติดลบประมาณ 15-20% ส่วนแนวโน้มในปีหน้าการส่งออกอาหารจะมีมูลค่าสูงถึง 750,000 เพิ่มขึ้นจากปีนี้เล็กน้อย

สำหรับสาเหตุการส่งออกอาหารที่ปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ทำให้ประชาชนมีความต้องอาหารเพิ่มขึ้น โดยแนวโน้มการบริโภคอาหารของผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลง เน้นสินค้าเพื่อสุขภาพ และสะดวกในการพกพา เช่น อาหารกึ่งสำเร็จรูปมากขึ้น

ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร บอกด้วยว่า สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ประกอบการยังคงมีความกังวล ได้แก่ ความผันผวนของปริมาณวัตถุดิบ ซึ่งขึ้นอยู่กับฤดูกาลและสภาพอากาศ

รวมถึงปัญหาเรื่องค่าเงินบาทที่ยังคงแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยอยากให้รัฐบาลดูแลให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมประมาณ 36-37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์
moneyline news
**********
14/09/52
ผลิตการันตี น้ำตาลพอใช้ โบ้ยห้างซื้อตุน
ชี้ต้นตอ กระแสข่าวน้ำตาลขาด เกิดจากกองทุนเก็งกำไร ส่งผลให้ห้างค้าปลีกตื่นเกินเหตุ แห่ซื้อน้ำตาลตุน

แหล่งข่าวจากบริษัท น้ำตาลไทยรุ่งเรือง ผู้ผลิตน้ำตาลภายใต้แบรนด์ ลิน เปิดเผยว่า หลังจาก เกิดกระแสข่าวน้ำตาลทรายจะขาดตลาด ส่งผลให้ผู้ประกอบการห้างค้าปลีกสั่งซื้อน้ำตาลเพิ่มเติม ทำให้สต๊อกน้ำตาลที่ผลิตเพื่อการขายปลีกขายได้เกือบหมด จากปกติที่จะมีการสั่งซื้อในจำนวนไม่มากนัก
ทั้งนี้ คาดว่าหลังจากนี้การสั่งซื้อน้ำตาลน่าจะกลับมาอยู่ในภาวะปกติ เพราะข่าวดังกล่าวเป็นเพียงการเก็งกำไรของกองทุนน้ำตาล เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นกับการเก็งกำไรทอง น้ำมัน เป็นต้น ไม่ใช่ราคาที่เกิดขึ้นจากความต้องการของตลาดที่แท้จริง

นอกจากนี้ ปริมาณน้ำตาลคงค้างเพื่อรอการผลิตที่รัฐบาลจัดเก็บไว้เองก็ยังมีปริมาณสะสมเหลืออยู่ที่ 4 แสนกระสอบ (กระสอบละ 100 กิโลกรัม) ซึ่งเป็นปริมาณที่ยังถือว่าไม่น่าเป็นห่วงว่า น้ำตาลที่ใช้ภายในประเทศจะไม่เพียงพอ

สำหรับกรณีที่มีการระบุว่า ผู้ผลิตลอบส่งออกน้ำตาลเพิ่ม เพราะราคาในตลาดต่างประเทศสูงกว่าราคาในไทยนั้น ปัจจุบันราคาส่งออกอยู่ที่ 560 เหรียญสหรัฐ ต่อตัน (1,000 กิโลกรัม) ลดลงจากช่วงก่อนหน้านี้ที่ 600 เหรียญสหรัฐต่อตัน ทำให้ราคาซื้อขายในต่างประเทศจะอยู่ที่กิโลกรัมละ 19.04 บาทเท่านั้น ไม่จูงใจที่จะลักลอบทำผิดเพราะไม่คุ้
posttoday************
09/09/52
สถาบันอาหารชี้เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพโลก คาดอีก 4 ปีมูลค่ากว่า 9 หมื่นล้านเหรียญ แนะผู้ประกอบการเกาะกระแสเจาะตลาดโลก
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร เปิดเผยว่า ทิศทางตลาดอาหารเพื่อสุขภาพของโลก เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ เยอรมนี ออสเตรเลีย มีโอกาสเติบโตสูง ขณะที่กลุ่มประเทศเอเชียมีพื้นฐานการบริโภคอาหารเพื่อสุขภาพเป็นวัฒนธรรมจึง ทำให้มีการเติบโตในเกณฑ์ดี

โดยเฉพาะตลาดอาหารเพื่อสุขภาพในประเทศจีน ซึ่งมีแนวโน้มการเติบโตสูงที่สุดในโลก โดยคาดว่า ในปี 2551 มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 3.63 พันล้านเหรียญสหรัฐ และจะพุ่งสูงขึ้นถึง 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2556

ทั้งนี้ประเมิณว่า ตลาดอาหารเพื่อสุขภาพไม่รวมกลุ่มอาหารเสริม หรือเครื่องดื่ม จะมีการขยายตัวถึง 20% จาก 4.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อปี 2549 เป็น 9 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2556 โดยผลิตภัณฑ์ที่ผู้บริโภคต้องการ คือ ผลิตภัณฑ์ที่สามารถลดความเสี่ยงจากโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคเครียด สามารถสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เพิ่มประสิทธิภาพระบบย่อยอาหาร ลดน้ำหนัก และเพิ่มความสวยงาม

นายยุทธศักดิ์ กล่าวต่อว่า ผู้ประกอบการไทยควรให้ความสนใจ และเข้าตลาดอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเชื่อว่าผู้ประกอบการยังมีศักยภาพในการแข่งขันได้
กรุงเทพธุรกิจ,stock in focus
**************
26/08/52
คาดส่งออกอาหารปีนี้ติดลบน้อยกว่าคาด

Posted on Wednesday, August 26, 2009
นายไพบูลย์ พลสุวรรณา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย คาดว่า การส่งออกอุตสาหกรรมอาหารของไทยในปีนี้จะติดลบเพียง 7% ลดลงจาดคาดการณ์เดิมที่คาดว่าจะติดลบถึง 15% โดยการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากเป็นไปตามเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น รวมทั้งผู้ประกอบการได้มีการปรับตัวเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกในภาวะปัจจุบัน

ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ยังเห็นด้วยกับรัฐบาลที่ประกาศใช้พ.ร.บ.ความมั่นคงในการดูแลสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย เพราะหากประกาศใช้แล้วไม่ทำให้เกิดความรุนแรง ก็จะไม่กระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน และทำให้นักลงทุน กล้าที่จะเดินทางมาไทย

ด้านนายฉกรรจ์ แสงรักษาวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยอมรับว่า ปัจจุบันเกษตรกรไทยยังมีรายได้น้อย แต่มีหนี้สินมาก ทำให้เกษตรกรต้องขายที่ดินทำกิน และเป็นเพียงผู้เช่าที่ดินทำกินเท่านั้น ดังนั้นรัฐบาลจำเป็นต้องเร่งพัฒนาคุณภาพเกษตรกร ดูแลราคาสินค้าเกษตรให้สูงขึ้นเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ รวมถึงช่วยลดต้นทุนการผลิตของภาคการเกษตรให้ลดลง ขณะที่ภาคเอกชน ก็ต้องให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการเร่งพัฒนาด้านการวิจัย เร่งหาตลาดใหม่ ๆ ร่วมกัน
moneyline news
**************
17/08/52
กลุ่มอาหารกำไรดี...แต่ยอดขายต่ำ
: คอลัมน์คอร์ปอเรตโฟกัส
กลุ่มอาหารทั้งบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) ผู้ผลิตอาหารแช่แข็งและอาหารสำเร็จรูปรายใหญ่ของไทยและบริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ (TUF) ผู้ผลิตและส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งและบรรจุกระป๋องรายใหญ่ของไทยได้ประกาศผล การดำเนินงานไตรมาส2 ปีนี้ออกมา ผลปรากฏว่ากำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ภายใต้ยอดขายที่ต่ำกว่าคาดทั้งคู่ สะท้อนต้นทุนที่ลดลงเพราะราคาน้ำมันลดลงและศักยภาพในการลดต้ำทุน ภายใต้ความต้องการของผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นคืนปกติจากภาวะเศรษฐกิจถดถอย

CPF ลดเป้ายอดขาย
“อดิเรก ศรีประทักษ์” กรรมการผู้จัดการใหญ่ CPF ประมาณการทั้งปีนี้ว่า ปรับลดเป้าหมายยอดขายลงจากเดิมที่ประมาณการว่าจะเติบโต 10% จากปี 2551 ที่ 1.53 แสนล้านบาท เหลือเติบโต 5% หรือปีนี้อยู่ที่ 1.51.6 แสนล้านบาท เพราะเชื่อว่าความต้องการคงยังไม่ฟื้นตัวในปีนี้และปีหน้าตามการถดถอยของเศรษฐกิจโลก

“อัตราการใช้กำลังการผลิตของเราตอนนี้เฉลี่ย 75% ลดลงเล็กน้อยจากภาวะปกติเฉลี่ย 80% และเชื่อว่าปีหน้าก็ยังไม่ดีขึ้น”

สถานการณ์เศรษฐกิจโลกในมุมมองของเขาเชื่อว่าภาวะฝุ่นตลบหายแล้ว รู้ว่าอะไรเป็นอะไรและทยอยกลับมา แต่ต่างประเทศจะกลับเร็วกว่าไทย ไทยช้าเพราะนักลงทุนต่างชาติไม่กล้าเข้ามาลงทุนหวั่นปัญหาการเมือง

นอกจากนั้น “อดิเรก” ยังห่วงเรื่องระเบียบใหม่ของสหภาพยุโรปที่จำกัดการนำเข้าสัตว์ปีก ที่ให้โควตาไทยเพียง 1.6 แสนตัน ที่ต้องติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด

ทั้งนี้ ยอดขายของ CPFl สัดส่วน 68% มาจากในประเทศ ขณะที่การลงทุนต่างประเทศคิดเป็น 17% ของยอดขาย

ไตรมาส 2 ปี 2552 CPF มีกำไรสุทธิ 3,200 ล้านบาท พุ่ง 224% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 985 ล้านบาท ส่งผลให้กำไรสุทธิครึ่งแรกปีนี้มีกำไรสุทธิใกล้ 4,000 ล้านบาท เติบโต 314% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 1,440 ล้านบาท อัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้นเป็น 19% จาก 13% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

รายได้ไตรมาส 2 อยู่ที่ 4.6 หมื่นล้านบาท เติบโต 3.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนและเพิ่มขึ้น 17% จากไตรมาสแรก ส่งผลให้รายได้ครึ่งแรกปีนี้ที่ 7.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

กำไรที่มากกว่าคาดการณ์ของนักวิเคราะห์เป็นผลมาจาก นโยบายลดต้นทุน ปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตของฟาร์มต่างๆ การขยายธุรกิจไปต่างประเทศทั้งการลงทุนในอินเดีย มาเลเซียมีผลตอบแทนเข้ามาหลังจากเข้าไปลงทุนเมื่อหลายปีก่อน นอกจากนั้นธุรกิจในตุรกีกลับมาดี อัตรากำไรดีจากสินค้าสร้างมูลค่าเพิ่ม เกี๊ยวกุ้ง และบะหมี่เกี๊ยวกุ้งที่ขายดีทั่วโลก ที่สำคัญวัตถุดิบราคาลดลงตามราคาน้ำมัน

“ไตรมาส 2 ปีนี้กำไรดีที่สุดเท่าที่บริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมา 30 ปี และเชื่อว่าครึ่งปีหลังก็ยังดีอยู่โดยคาดว่ากำไรจะใกล้เคียงครึ่งปีแรกคือใกล้ 8,000 ล้านบาท หรือโตกว่าสองเท่าตัวจากปีก่อนโดยไตรมาส 3 จะรับรู้รายได้จากการลงทุนใน 5 บริษัทในไต้หวันในสัดส่วน 32% ตามสัดส่วนการถือหุ้น”

เขาเชื่อว่าดำเนินกลยุทธ์ธุรกิจถูกทางที่เน้นเพิ่มสัดส่วนอาหารสำเร็จรูปที่ให้อัตรากำไรดีและการลงทุนในต่างประเทศเริ่มส่งผลดี

“เราตั้งเป้าหมายให้สัดส่วนรายได้อาหารสำเร็จรูปแบรนด์ซีพี 35% จากปัจจุบันมาอยู่ที่ 1920% ของรายได้”
สำหรับแผนลงทุน 35 ปี ของ CPF ลงทุนเท่าที่จำเป็น ถ้ามีกำไรจะนำไปลดหนี้ที่ปัจจุบันมี 6,000 ล้านบาท หรือสัดส่วนหนี้ต่อทุน 1.1 เท่าที่คาดว่าสิ้นปีนี้จะต่ำกว่า 1 เท่า เพื่อเสียดอกเบี้ยน้อยลง ทำให้ฐานะบริษัทมีความแข็งแกร่งมากขึ้น

CPF ประกาศจ่ายปันผลงวดครึ่งแรกปีนี้ในอัตราหุ้นละ 23 สตางค์ หรือ 40% ของกำไรงบรวมและ 60% ของกำไรบริษัท และคาดว่าครึ่งปีหลังก็จะจ่ายในอัตราเดียวกันนี้

TUF รายได้ต่ำกว่าคาด
ด้าน TUF แม้ว่ากำไรสุทธิไตรมาส 2 ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ครั้งที่สองอีกครั้งหนึ่งต่อเนื่องจากไตรมาสแรกจนยกระดับความสามารถในการทำกำไรต่อปี แต่รายได้จากการขายทั้งรูปเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐกลับเติบโตน้อยกว่าคาด จนต้องปรับประมาณการรายได้ลดลง ทั้งนี้เพราะปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่คาดและราคาขายที่ลดลงมาสู่ระดับปกติตามต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง

“เราลดประมาณการเติบโตรายได้ทั้งรูปเงินบาทและเงินเหรียญสหรัฐในปีนี้ลงจาก 15% เหลือ 10% และจาก 10% เหลือ 5% ตามลำดับหลังผลการดำเนินงานไตรมาส 2 ออกมา ทั้งนี้รายได้ครึ่งแรกปีนี้ของบริษัทนับว่าดีกว่าอุตสาหกรรมที่การส่งออกกุ้งในรูปเงินเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นเป็นตัวเลขหลักเดียว แต่ถ้าเป็นรูปเงินบาทเพิ่มขึ้นสองหลัก สำหรับมูลค่าทูน่าลดลง 20% ปริมาณขายลดลง 9%” ธีรพงศ์ จันศิริ ประธานกรรมการบริหาร TUF ประมาณการ

ไตรมาส 2 ปีนี้ TUF มีกำไรสุทธิ 955 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 137% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่รายได้จากการขายกลับเพิ่มขึ้นในรูปเงินบาท 2.4% เพราะค่าเงินบาทอ่อน รายได้ในรูปเงินเหรียญสหรัฐกลับลดลง 4.2% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนและปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นเพียง 4% ส่งผลให้ครึ่งแรกปีนี้มีกำไรสุทธิ 1,607 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 64% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อนรายได้การขายรูปเงินบาทเติบโต 8.2% รายได้รูปเงินเหรียญสหรัฐลดลง 0.1% ทำให้มีรายได้รวม 3.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

กำไรที่ทำสถิติใหม่อย่างต่อเนื่องนี้เป็นผลมาจากการบริหารจัดการต้นทุน และการบริหารจัดการสินค้าคงคลังที่มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

กำไรที่ทำสถิติครั้งใหม่ทำให้ “ธีรพงศ์” มั่นใจที่จะยกระดับกำไรต่อปีให้สูงกว่า 3,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะได้ในปีนี้ ถ้าคิดการตัดขาดทุนที่จอร์เจียกลับมาเป็นกำไรก็ 3,000 กว่าล้านบาทแล้ว และปีหน้าคาดว่าจะสูงกว่านี้ รวมถึงกำไรก่อนหักดอกเบี้ยภาษีและค่าเสื่อมราคา (EBITDA) ที่จะเกิน 5,000 ล้านบาทด้วย

“ครึ่งหลังของปีนี้เรายังมีภาระตัดขาดทุนจากการปิดกิจการที่จอร์เจียเพียง 5 ล้านเหรียญสหรัฐ จากภาระทั้งหมด 10 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยการปิดกิจการนี้จะส่งผลดีต่อการปรับฐานการผลิตในสหรัฐ ปีหน้าที่จะรวมกิจการสองบริษัทเข้าด้วยกัน ตอนนี้เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มดี เพราะผ่านจุดเลวร้ายที่สุดไปแล้ว และเชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐดีขึ้น”

สิ้นเดือนมิ.ย. 2552 สัดส่วนยอดขายตามผลิตภัณฑ์ของ TUF กระจายมากขึ้น แต่ผลิตภัณฑ์ปลาทูน่ายังเป็นอันดับหนึ่ง 43% รองลงมาคือกุ้งแช่แข็ง 20% อาหารทะเลบรรจุกระป๋อง 9% อาหารแมวบรรจุกระป๋อง 8% อาหารกุ้ง 7% ปลาซาร์ดีนบรรจุกระป๋อง 5% ผลิตภัณฑ์ในประเทศ 5% และปลาหมึกแช่แข็ง 3%

ตลาดส่งออกหลักคือสหรัฐเกือบ 50% เพราะรวมบริษัทย่อย (ซิกเก้น ออฟเดอะซีส์) ที่ผลงานออกมาดีมาก ยุโรป 13% ญี่ปุ่น 12% แอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชีย โอเชียเนีย แคนาดา และอเมริกาใต้ ที่รายได้ใน 3 ประเทศหลักเพิ่มขึ้น

สำหรับการลงทุน TUF ซื้อที่ดินที่มหาชัย 160 ไร่ สร้างห้องเย็นจัดเก็บวัตถุดิบ 4 หมื่นตัน ในสองปีจะขยายพื้นที่ฐานการผลิตไปที่ใหม่

เป้าหมายของบริษัทในปีนี้จะรักษาอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น (ROE) ไม่ต่ำกว่า 20% จากไตรมาส 2 ที่ได้ถึง 25% อัตรากำไรขั้นต้น 1415% จากไตรมาส 2 ที่ 15.2% เทียบปี 2551 ที่ 13.6% ในสมมติฐานค่าเงินบาทที่ 34 บาท

“23 ปีที่ผ่านมาอัตรากำไรขั้นต้นของเราตกมาที่ 14% แต่ปีนี้นับว่ากลับมาดีแล้ว โดยราคาวัตถุดิบไตรมาสแรกต่ำ ไตรมาส 2 ราคาเพิ่มขึ้น และตอนนี้ราคาอ่อนตัวลงอีก ครึ่งปีหลังคาดว่าขายดีกว่าครึ่งแรกตามฤดูกาล”

TUF ไม่มีนโยบายถือเงินสด เพราะถ้ามีเงินเข้ามาจะนำไปจ่ายหนี้เพื่อรักษาสัดส่วนหนี้สินต่อทุนไม่เกิน 1 เท่า โดยปัจจุบันอยู่ที่ 0.3 เท่า

บริษัทนี้จ่ายปันผลงวดครึ่งแรกปีนี้ 98 สตางค์ หรืออัตราผลตอบแทนปันผล 4% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน 55 สตางค์

posttoday
stock in focus


***********
07/08/52
รัฐยืนยันหนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บอกภายหลังสมาคมชาวไร่อ้อยภาคอีสานเข้าพบว่า เพื่อแสดงความขอบคุณหลังคณะรัฐมนตรีมีมติคืนเงินส่วนต่างราคาอ้อยขั้นต้น และขั้นสุดท้ายฤดูกาลผลิตปี 2550/2551 โดยรัฐบาลยืนยันจะเดินหน้าส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายโดยยึดหลักทฤษฎี 3 ขา ที่ใช้ความร่วมมือระหว่างชาวไร่อ้อย โรงงานผู้ผลิต และกระทรวงอุตสาหกรรมในการคิดค้นอุตสาหกรรมหลักไปสู่ตลาดต่างประเทศ

สำหรับการเปิดโรงงานอ้อยและน้ำตาลทรายในต่างประเทศ เช่น จีน อินเดีย รัสเซีย เกาหลี และ ญี่ปุ่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือ BOI จะเป็นผู้สนับสนุนด้านการลงทุน และความร่วมมือจาก ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SME BANK ที่ให้การสนับสนุนด้านการเงิน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกอ้อยและเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

ด้านนายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย บอกว่า ผลผลิตอ้อยของไทยในปีหน้าจะออกสู่ตลาดโลกได้ถึง 72 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีนี้ 10% จากระดับ 66.5 ล้านตัน เนื่องจากสภาพอากาศเหมาะสมต่อการเพาะปลูกอ้อย และราคาปุ๋ยที่ยังทรงตัว รวมทั้งมติของคณะรัฐมนตรี ที่ให้คืนเงินส่วนต่างระหว่างราคาอ้อยขั้นต้น กับขั้นสุดท้าย จึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกอ้อยมากขึ้น

ทั้งนี้จากปัจจัยด้านราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลก ที่ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่า 40 เซนต์ต่อออนซ์ ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 30 ปี จะทำให้มูลค่าการส่งออกในปีนี้สูงถึง 112,000 ล้านบาท และคาดว่าราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิต ปี 2552/2553 จะอยู่ที่ระดับ 850 บาทต่อตันขณะที่ราคาขั้นสุดท้ายจะอยู่ที่ 900 บาทต่อตัน

นายประเสริฐ บอกด้วยว่า ราคาอ้อยที่ปรับตัวสูงขึ้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำตาลทรายในประเทศ เพราะกำลังการผลิตน้ำตาลทรายในปัจจุบันที่อยู่ในระดับ 20 ล้านกระสอบ ถือว่าเพียงพอต่อความต้องการบริโภคในประเทศแล้ว ส่วนการที่ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นก็จะทำให้มีการใช้อ้อย เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตเอธานอล ซึ่งเป็นพลังงานทดแทนที่เพิ่มขึ้นด้วยเช่นกั
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/MoneylineNews/tabid/89/newsid491/94728/Default.aspx
stock in focus
**********
3/07/52
ธุรกิจอาหารเร่งปรับตัวสู้หวัด

ธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู้ด-เบเกอรี ปั้นมาตรฐานบริการ-หน้าร้านระดับ “เวิลด์ สแตนดาร์ด” สู้ศึกหวัด 2009

นายอนิรุทธิ์ มหธร ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาด เดอะ พิซซ่า คอมปะนี บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป ผู้บริหารธุรกิจร้านอาหารบริการด่วน (คิวเอสอาร์) แบรนด์ “เดอะ พิซซ่า คอมปะนี” เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทดำเนินการปรับปรุงการให้บริการภายในสาขาร้านเดอะ พิซซ่าฯ ภายใต้มาตรฐานระดับสากล หรือเวิลด์ คลาส ตามแนวโน้มเดียวกับร้านอาหารทั่วโลกในขณะนี้
ทั้งนี้ เพื่อมุ่งให้ความสำคัญด้านสุขอนามัยภายในร้านเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น ตามพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน (ไลฟ์สไตล์) คนรุ่นใหม่ที่นิยม รับประทานอาหารนอกบ้านมากขึ้น และจะเลือกร้านที่มีมาตรฐานด้านความสะอาดและสุขอนามัยสูง

ปัจจุบัน บริการเดลิเวอรีของเดอะ พิซซ่าฯ มียอดขายเพิ่มขึ้นในอัตรา 2 หลักอย่างต่อเนื่อง จาก ไลฟ์สไตล์ผู้บริโภคในปัจจุบัน รวมถึงบริการเทก อะเวย์ ที่เติบโตสูง เช่นกัน จากความกังวลของผู้บริโภค ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัด 2009 ทำให้ไม่ต้องการออกไปรับประทานอาหารนอกบ้าน

ด้านนายอิชิโร่ ไซโต้ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทย ยามาซากิ ผู้ผลิตและทำตลาดสินค้าเบเกอรี ภายใต้แบรนด์ ยามาซากิ และ เบเกอรีอีก 7 แบรนด์ กล่าวว่า แนวโน้มผู้ให้บริการร้านอาหารและ เบเกอรีที่มีหน้าร้านกำลังก้าวเข้าสู่การปรับเปลี่ยนการให้บริการด้านสุขลักษณะและอนามัยสินค้าแก่ผู้บริโภคกลุ่มลูกค้ามากขึ้น ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับในต่างประเทศที่เริ่มใช้มาตรการดังกล่าวมาแล้ว

สำหรับแผนธุรกิจในประเทศไทยขณะนี้ บริษัทได้เริ่มปรับเปลี่ยนชั้นวางสินค้า (Shelf) สินค้าเบเกอรีแบรนด์ยามาซากิไปแล้ว 10 สาขา และเตรียมทยอยปรับให้ครบทั้ง 62 สาขา ภายใน 2-3 ปีนับจากนี้ ซึ่งรวมถึงการปรับปรุงโฉมใหม่ภายในร้านด้วย คาดใช้งบลงทุนเฉลี่ยต่อสาขาไม่ต่ำกว่า 5 แสนบาท

ที่ผ่านมา ยามาซากิ สาขาในฮ่องกง เคยเผชิญปัญหาการแพร่ระบาดของโรคซาร์ส ส่งผลให้ยอดขายลดลง แต่หลังจากทางร้านปรับมาตรฐานการให้บริการแบบรอบด้าน ทำให้ยอดขายฟื้นกลับมา และเชื่อว่ากระแสดังกล่าวจะเกิดขึ้น ในประเทศไทยเช่นกัน โดยภาพรวมธุรกิจตลาดเบเกอรีมูลค่ากว่า 1 หมื่นล้านบาทในปีนี้ คาดมีอัตรา การเติบโตคงที่ ซึ่งบริษัทตั้งเป้าเติบโตรายได้ 5%
www.posttoday.com
stock in focus
**************
24/07/52
มาตรการประกันราคาข้าว...ผลกระทบต่อตลาดข้าว :
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 24 ก.ค.--ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ปีที่ 15 ฉบับที่ 2573 วันที่ 24 กรกฎาคม 2552
มาตรการประกันราคาข้าว...ผลกระทบต่อตลาดข้าว (ฉบับส่งสื่อมวลชน)
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2552 มีมติที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนนโยบายข้าว ของรัฐบาลในหลายประเด็น ซึ่งส่งผลกระทบในวงกว้างต่อตลาดการค้าข้าวทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยการปรับเปลี่ยนที่สำคัญของนโยบายข้าวของรัฐบาล คือ การปรับใช้ระบบประกันราคาสินค้ามาใช้แทน ระบบการรับจำนำ ในการแทรกแซงราคาข้าวในฤดูการผลิตปี 2552/53 ตามหลักการที่คณะกรรมการ นโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.)เห็นชอบเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2552 การแทรกแซงราคาตลาดในสายตาของระบบการค้าสากลแล้วมองว่าเป็นการบิดเบือนกลไกตลาด ทำ ให้ราคาสินค้าเกษตรไม่เป็นไปตามกลไกตลาดที่แท้จริง แต่สำหรับประเทศเกษตรกรรมอย่างประเทศไทย และเกษตรกรเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ นับว่ายังมีความจำเป็นที่ต้องพึ่งพารัฐบาลแทรกแซงราคาสินค้า เกษตร เพื่อเกษตรกรได้รับราคาที่เป็นธรรมมากขึ้น อย่างไรก็ตาม การดำเนินมาตรการจำนำข้าวที่ผ่านมา ต้องเผชิญกับหลากหลายปัญหา เช่น การใช้เม็ดเงินงบประมาณสูงเกินจริง การเก็บค่าใช้จ่ายโกดังเก็บข้าว ค่าสีข้าวมากกว่าราคาปกติทั่วไป ตลอดจนการเวียนเทียนข้าว การสวมสิทธิ์ข้าว เป็นต้น นอกจากนั้น ยัง

ประสบปัญหาการบริหารจัดการระบายข้าว ขายข้าวที่ไม่โปร่งใส ทำให้รัฐบาลขาดทุนสูงมาก ดังนั้น

มาตรการใหม่ในการแทรกแซงราคาข้าวด้วยการประกันราคาขั้นต่ำให้กับเกษตรกรจึงเป็นทางเลือกที่คาดว่า

จะลดปัญหาการบริหาร และกระบวนการที่ไม่โปร่งใสทั้งหลายของการรับจำนำ โดยเฉพาะการเวียนเทียน

ข้าว สต็อกลม และค่าใช้จ่ายในการสีข้าวและเก็บรักษาข้าวเกินจริง อย่างไรก็ตาม ในการที่รัฐบาลจะนำ

มาตรการประกันราคาข้าวมาใช้แทนการจำนำนั้น ยังมีอีกหลากหลายประเด็นที่รัฐบาลจะต้องดำเนินการ

เช่น ส่วนต่างระหว่างราคาประกันกับราคาข้าวจริงที่ชาวนาขายได้หน่วยงานใดจะเป็นผู้จ่าย หน่วยงานใด

เป็นผู้กำหนดราคาประกัน และองค์กรไหนที่จะควบคุมหรือลงทะเบียนปริมาณข้าวของชาวนาแต่ละราย ซึ่งจะ

มีสิทธิ์ได้รับเงินส่วนต่างของราคา เป็นต้น

ปัจจัยกดดันให้รัฐบาลต้องปรับเปลี่ยนมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวเป็นการประกันราคาแทนการจำนำ

คือ ถ้าพิจารณาการส่งออกข้าวในช่วงระยะ 2-3 ปีที่ผ่านมา โอกาสที่ไทยจะสูญเสียตำแหน่งประเทศผู้ส่ง

ออกข้าวอันดับหนึ่งของโลก เนื่องจากช่วงห่างของราคาข้าวของไทยและประเทศคู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนาม

เพิ่มขึ้น จากเดิมที่มีช่วงห่างเพียง 10-20 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ในขณะที่ปัจจุบันราคาข้าวส่งออกเฉลี่ยของ

เวียดนามต่ำกว่าไทยถึง 100-200 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน นอกจากนี้ การเปิดเสรีตลาดข้าวในช่วงต้นปี

2553 ตามพันธกรณีกับองค์การการค้าโลก นับเป็นปัจจัยกดดันให้ไทยต้องปรับมาตรการแทรกแซงตลาดข้าว

เนื่องจากมีการตั้งข้อสังเกตว่าถ้าไทยยังดำเนินมาตรการแทรกแซงตลาดข้าวโดยมาตรการรับจำนำ ก็จะมี

ข้าวจากประเทศเพื่อนบ้านทะลักเข้ามาในประเทศเป็นจำนวนมาก เนื่องจากราคาข้าวของไทยอยู่ในเกณฑ์

สูง ทำให้รัฐบาลต้องเพิ่มงบประมาณเป็นจำนวนมากขึ้น ถ้ายังต้องดำเนินมาตรการรับจำนำข้าว



ผลกระทบที่ต้องจับตามองของการปรับเปลี่ยนมาใช้มาตรการประกันราคาข้าว มีดังนี้

1.ราคาข้าวในประเทศ ราคาข้าวในประเทศจะขึ้นอยู่กับกลไกตลาด เนื่องจากข้อแตกต่างสำคัญของ

มาตรการรับจำนำกับมาตรการประกันราคาคือ มาตรการรับจำนำจะเป็นการดึงปริมาณข้าวออกจากตลาด

โดยเฉพาะในช่วงต้นฤดูการผลิตที่จะมีปริมาณข้าวออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก ในขณะที่การประกันราคา

ปริมาณข้าวทั้งหมดยังอยู่ในตลาด หรืออาจกล่าวได้ว่า ราคาข้าวในประเทศมีแนวโน้มผันผวนมากกว่าการใช้

มาตรการรับจำนำข้าว กล่าวคือ สำหรับในปีปกติราคาข้าวในช่วงต้นฤดูการผลิตมีแนวโน้มลดลง และราคา

จะสูงขึ้นในช่วงปลายฤดูการผลิต ดังนั้น ผู้ค้าข้าวในประเทศ ไม่ว่าจะเป็นพ่อค้าท้องถิ่น พ่อค้าส่ง โรงสี

และพ่อค้าปลีกต้องรับความเสี่ยงในเรื่องของราคาที่ผันผวน

ในด้านราคาจากรัฐบาลบางส่วน โดยรัฐบาลควบคุมราคาจำหน่ายปลีกข้าวสารบรรจุถุง ทำให้ผู้ประกอบการ

ขึ้นราคาเกินกว่าราคาเพดานที่กำหนดไว้ไม่ได้ ซึ่งผู้ประกอบการข้าวสารบรรจุถุงคาดว่าปริมาณผู้ที่บริโภค

ข้าวสารบรรจุถุงคิดเป็นร้อยละ 40 ของผู้บริโภคข้าวสารในประเทศทั้งหมด ส่วนอีกร้อยละ 60 เป็นผู้

บริโภคข้าวสารแบ่งขายจากกระสอบหรือข้าวสารตัก

2.การส่งออกข้าวของไทย วงการค้าข้าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะการแข่ง

ขันกันในระหว่างพ่อค้าข้าวในทุกระดับจะเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาข้าวจะเป็นไปตามกลไกของตลาด ซึ่งมา

จากปริมาณการผลิตและความต้องการ ปริมาณข้าวทั้งหมดจะอยู่ในตลาด โดยจะไม่มีการแบ่งระหว่างข้าว

รัฐบาลและข้าวเอกชนอีกต่อไป ซึ่งอาจจะเป็นข้อดีที่ประเทศคู่ค้าข้าวของไทยจะไม่ใช้ปริมาณสต็อกข้าวของ

รัฐบาล หรือนโยบายการระบายข้าวจะสต็อกของรัฐบาลมาเป็นข้อต่อรองในการกดราคารับซื้อข้าวของไทย

ทั้งนี้พ่อค้าที่มีข้อมูลการคาดการณ์ตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศที่แม่นยำ และทันเหตุการณ์ก็จะมีความ

ได้เปรียบ และผู้ส่งออกข้าวที่ดำเนินกิจการครบวงจร โดยดำเนินกิจการโรงสีด้วยก็ยังได้เปรียบผู้ส่งออก

ข้าวที่ไม่มีกิจการโรงสี การใช้มาตรการประกันราคาข้าวทำให้ผู้ส่งออกข้าวนอกจากจะต้องแข่งขันกับ

ประเทศคู่แข่งสำคัญอย่างเวียดนามในการหาตลาดในต่างประเทศแล้ว ยังต้องแข่งขันกับบรรดาผู้ส่งออกข้าว

ของไทยด้วยกันในการหาซื้อข้าวด้วย อย่างไรก็ตาม ข้อดีของการใช้มาตรการประกันราคาข้าวก็คือ ผู้ส่ง

ออกข้าวจะไม่ต้องเผชิญปัญหาไม่มีข้าวเพียงพอในการส่งออก เนื่องจากปริมาณข้าวเข้าไปอยู่ในสต็อกของ

รัฐบาล เมื่อรัฐบาลใช้มาตรการรับจำนำข้าว รวมทั้งยังซื้อข้าวเพื่อส่งออกได้ในราคาตลาด ไม่ต้องแบกรับ

ภาระราคาที่สูงขึ้นจากการตั้งราคาเป้าหมายของรัฐบาล

3.รายได้ของเกษตรกร การแทรกแซงตลาดข้าวโดยการใช้มาตรการประกันราคาข้าวนั้น จะมีเพียง

ชาวนากลุ่มเดียวเท่านั้นที่จะทราบอย่างชัดเจนว่ารายได้ที่จะได้รับ เนื่องจากรัฐบาลจะเป็นผู้ที่จ่ายส่วนต่าง

ระหว่างราคาประกันกับราคาตลาดให้กับชาวนา อย่างไรก็ตาม ชาวนาที่จะได้รับการประกันราคานั้นต้อง

เป็นชาวนาที่มาขึ้นทะเบียนเท่านั้น ซึ่งในช่วงที่ขึ้นทะเบียนจะต้องระบุด้วยว่าปลูกข้าวชนิดใดเป็นปริมาณ

เท่าใด ประเด็นที่ต้องติดตาม คือ ข้าวทั้งหมดที่ชาวนาที่ขึ้นทะเบียนผลิตได้นั้นจะได้รับการประกันราคาทั้ง

หมด หรือได้รับการประกันเพียงบางส่วน โดยถ้าได้รับประกันเพียงบางส่วน ผลกระทบก็คือ ปริมาณข้าวที่ไม่

ได้รับการประกันราคานั้น ชาวนาต้องรับความเสี่ยงในเรื่องราคาตลาดเอง นอกจากนี้ ยังไม่มีความชัดเจน

ของมาตรการรัฐบาลที่จะดำเนินการอย่างไรกับชาวนาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน เนื่องจากมีความเสี่ยงอย่างมาก

สำหรับรัฐบาลที่จะต้องเผชิญกับความกดดันขอความช่วยเหลือจากชาวนากลุ่มที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียน ในกรณีที่เกิด

ปัญหาราคาข้าวตกต่ำ

4.ตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า บทบาทของตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้ามีแนวโน้มเพิ่ม

ความสำคัญมากขึ้น เนื่องจากบรรดาพ่อค้าข้าวต้องรับภาระความเสี่ยงในเรื่องราคา และราคาข้าวใน

ประเทศมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้นกว่าในช่วงที่มีการใช้มาตรการรับจำนำ ดังนั้นบรรดาพ่อค้าข้าวที่มีความรู้

และความเข้าใจถึงกลไกของการดำเนินการของตลาดซื้อขายล่วงหน้าก็จะหันมาใช้บริการมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อ

ลดความเสี่ยงทางด้านราคา

5.ราคาสินค้าเกษตรอื่นๆ มีแนวโน้มว่ารัฐบาลจะหันมาใช้มาตรการประกันราคากับการแทรกแซง

ตลาดสินค้าเกษตรทุกประเภท โดยเริ่มดำเนินการไปแล้วกับสินค้ามันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทำ

ให้คาดการณ์ได้ว่าราคาสินค้าเกษตรจะผันผวนไปตามฤดูการ ปริมาณผลผลิตและความต้องการในแต่ละปี

เพาะปลูก โดยผู้ที่ต้องรับความเสี่ยงในเรื่องราคาก็คือ บรรดาพ่อค้าในทุกระดับตลาดเช่นเดียวกับสินค้าข้าว

6.ภาระของรัฐบาล ประเด็นสำคัญของการปรับเปลี่ยนจากมาตรการรับจำนำข้าวมาเป็นการประกัน

ราคาข้าว ก็คือ ภาระของรัฐบาลลดลง โดยรัฐบาลไม่ต้องใช้เงินหมุนเวียนมากเท่ากับการรับจำนำข้าว ลด

ภาระค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษาสต็อกข้าว รวมทั้งยังลดภาระการตรวจสอบความถูกต้องของข้าวในสต็อก

ของรัฐบาล การควบคุมและกำหนดนโยบายการระบายสต็อกข้าว รวมถึงการรับภาระขาดทุนจากการดำเนิน

มาตรการรับจำนำ

อย่างไรก็ตาม ภาระค่าใช้จ่ายที่ลดลงนั้นเป็นเพียงกรณีที่ราคาข้าวในตลาดไม่ได้ตกต่ำลง แต่ในกรณีที่

ราคาข้าวในตลาดลดต่ำกว่าราคาประกันมาก ก็เป็นความเสี่ยงของรัฐบาลที่ต้องรับภาระในส่วนนี้ หรือใน

กรณีที่ชาวนาเลือกที่จะผลิตมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องรับความเสี่ยงในเรื่องความผันผวนของราคา ทำให้อาจ

เกิดปัญหาข้าวล้นตลาด ภาระที่รัฐบาลจะต้องจ่ายส่วนต่างของราคาเพิ่มขึ้น ดังนั้น ในการใช้มาตรการ

ประกันราคาจำต้องทราบปริมาณข้าวที่จะเข้าร่วมโครงการ แล้วอาจจะต้องมีการตกลงกับชาวนาถึงปริมาณ

ข้าวที่จะผลิตเพื่อที่จะสามารถประเมินแนวโน้มราคาข้าวในตลาด และภาระในการประกันของรัฐบาล



บทสรุป

การปรับเปลี่ยนนโยบายข้าวของรัฐบาลนับว่าเป็นเรื่องที่มีความจำเป็นเร่งด่วน เนื่องจากเป็น

มาตรการที่เตรียมรับมือกับการเปิดเสรีตลาดข้าวในช่วงต้นปี 2553 ตามข้อตกลงกับองค์การการค้าโลก

และเป็นการผลักดันให้มีการปรับปรุงนโยบายการแทรกแซงตลาดข้าวจากมาตรการรับจำนำเป็นมาตรการ

ประกันราคา ทั้งนี้เพื่อลดภาระขาดทุนในการดำเนินมาตรการรับจำนำข้าว ซึ่งมาตรการประกันราคาข้าวนี้

ยังคงมีจุดมุ่งหมายช่วยเหลือชาวนา ในขณะที่ผู้ส่งออกข้าวก็ได้รับประโยชน์ เนื่องจากข้าวจะไม่เข้าไป

กองอยู่ในสต็อกของรัฐบาล และผู้ส่งออกข้าวหาซื้อข้าวเพื่อการส่งออกไม่ได้ โดยเฉพาะในช่วงปลายฤดูการ

ผลิต

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของนโยบายการประกันราคาที่จะนำมาใช้แทนมาตรการจำนำราคาข้าวนั้น

แม้ว่าจะช่วยลดภาระรัฐบาลในการแบกภาระสต็อกข้าว ลดความเสี่ยงของโอกาสทุจริตในแต่ละขั้นตอนการ

ดำเนินงาน แต่ก็ยังมีโอกาสที่รัฐบาลอาจจะต้องใช้งบประมาณมากขึ้นในการหันมาใช้นโยบายประกันราคา

โดยเฉพาะในกรณีที่ชาวนายังผลิตข้าวอย่างเต็มที่ เนื่องจากไม่ต้องรับความเสี่ยงในเรื่องราคา จึงมีโอกาส

ที่จะเกิดเหตุการณ์ข้าวล้นตลาด และราคาตกต่ำลงไปอย่างมาก เมื่อเทียบกับราคาประกัน ดังนั้น นอกจาก

การจดทะเบียนชาวนาแล้ว รัฐบาลอาจจะต้องควบคุมปริมาณข้าวที่จะเข้ามาอยู่ในโครงการประกันราคาเช่น

เดียวกับการกำหนดปริมาณการรับจำนำข้าว

นอกจากนี้ การกำหนดราคารับประกันนั้นมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากถ้ากำหนดราคาประกันสูง

กว่าราคาตลาด ก็จะเท่ากับไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในการใช้มาตรการรับจำนำ นอกจากนี้

มาตรการประกันราคานั้นยังควบคุมได้ยากลำบากกว่า เนื่องจากมาตรการรับจำนำนั้นเป็นการดึงปริมาณ

ข้าวออกจากตลาดในราคาที่กำหนดไว้ แต่ด้วยการบริหารจัดการที่ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควรทำให้เกิดปัญหา

ขาดทุน ในขณะที่การใช้มาตรการประกันราคานั้น ปริมาณข้าวทั้งหมดยังอยู่ในตลาด ซึ่งราคาอาจจะผันผวน

ไปตามภาวะตลาดทั้งในประเทศ และตลาดส่งออก ทำให้อาจกระทบต่องบประมาณที่จะใช้ในการประกันราคา

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจ

รับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ

อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้

ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น

บริษัทฯจะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้

จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น
stock in focus,rice
***********
24/07/52
ราชินีทรงห่วง นอมินีต่างชาติฮุบที่ดินเกษตร
สมเด็จพระราชินี สมเด็จพระเทพฯ ทรงห่วงต่างชาติฮุบที่นา รมว.เกษตรฯ สั่งเร่งร่างกฎหมายคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม

นายประเสริฐ โกศัลวิตร อธิบดีกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงห่วงใยกรณีกลุ่มทุนต่างชาติเข้ามาครอบครองพื้นที่เกษตรกรรมในประเทศไทยผ่านบริษัทตัวแทนหรือนอมินี ซึ่งนายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้เร่งร่างกฎหมายคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม
นายประเสริฐ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้จะจัดประชุมร่วมกับสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้กฎหมายดังกล่าวครอบคลุมถึงการถือครองในลักษณะนอมินี

“หลังจากมีกระแสข่าวต่างชาติถือครองที่ดินเกษตรกรรมภาคกลางผ่านนอมินี กรมสอบสวนคดี พิเศษได้เข้าตรวจสอบแล้ว ปัจจุบันกัมพูชาอนุญาตให้ต่างชาติเช่าพื้นที่ทำการเกษตรระยะยาว ซึ่งน่ากังวลว่าการพัฒนาพันธุ์ข้าวจะเทียบเท่ากับข้าวไทย เราอาจสูญเสียตลาดข้าว จึงต้องเร่งพัฒนาคุณภาพ ข้าวควบคู่กับการออกกฎหมาย คุ้มครองพื้นที่การเกษตรโดยเร็ว” นายประเสริฐ กล่าว
http://www.posttoday.com/news.php?id=58461
stock in focus,lands for agriculture

*********
23/07/52
ตลาดเกษตรไทยผวา ต่างชาติแข่งจ้างปลูก
เอกชนห่วงไทยเสี่ยงเสียตลาดส่งออกสินค้าเกษตร หลังหลายประเทศอิงกระแสความมั่นคงด้านอาหาร แห่ลงทุนปลูกข้าวประเทศที่ 3 เพิ่ม จี้โลกรุมประณาม


พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล
นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล รองเลขาธิการสภาหอการค้าไทย เปิดเผยในงานสัมมนา “GSP-Buffet เปิดลู่ทางการส่งออกในภูมิภาคยุโรป” ว่า กำลังมีความเป็นห่วงการส่งออกสินค้าเกษตรของไทยจะมีปัญหาในอนาคต เพราะหลังจากที่ประเทศต่างๆ มีนโยบายไปลงทุนปลูกธัญพืชในประเทศด้อยพัฒนา โดยอ้างถึงความมั่นคงทางด้านอาหาร โดยเฉพาะเมื่อปีที่ผ่านมาที่ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นมาก
ทั้งนี้ เกรงว่าจะกลายเป็นกระแสล่าอาณานิคม (Land Grabbing) ด้วยการครอบครองพื้นที่ปลูกพืชเกษตร เพื่อใช้เป็นแหล่งผลิตอาหารให้กับประเทศตนเอง

“ประเทศต่างๆ โดยเฉพาะกลุ่มตะวันออกกลาง มีแนวโน้มที่จะเข้าไปลงทุนปลูกพืชยังประเทศด้อยพัฒนาเพิ่มมากขึ้น และถ้าแนวคิดนี้ขยายออกไป จะส่งผลเสียต่อประเทศไทยในฐานะผู้ผลิตอาหารของโลก ที่จะถูกแย่งตลาดการส่งออกสินค้าเกษตร จากการที่ประเทศเหล่านี้อาจนำผลผลิตมาส่งออกเสียเอง” นายพรศิลป์ กล่าว

นายพรศิลป์ กล่าวว่า ล่าสุดประเทศเกาหลีมีนโยบายไปลงทุนปลูกธัญพืชในประเทศแถบแอฟริกา เช่น เคนยา ซึ่งมีโอกาสที่จะผลิตสินค้าข้าว และนำมาส่งออก ทั้งๆ ที่เกาหลีมีนโยบายไม่นำเข้าข้าวจากต่างประเทศ แม้กระทั่งประเทศที่เจรจาเขตการค้าเสรี (เอฟทีเอ) ด้วย อย่างเอฟทีเออาเซียน-เกาหลี ซึ่ง การลงนามระหว่างไทยกับเกาหลีล่าช้าสุด เพราะไทยพยายามผลักดัน ให้เกาหลีเปิดตลาดข้าวให้ แต่ เกาหลีกลับยกสินค้าข้าวยกเว้นการลดภาษี อ้างเป็นสินค้าอ่อนไหวสูง
www.posttoday.com
stock in focus
**************
22/07/52
นายกฯ ดันสินค้าเกษตรไทยป้อนตลาดโลก
นายกฯ เล็งทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือด้านเกษตรระดับภูมิภาค ยกมูลค่าสินค้าป้อนตลาดโลก
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวในงานสัมมนา “การบริหารโลกาภิวัตน์ ประสบการณ์ของภาคอุตสาหกรรมไทย” เนื่องในวาระครบรอบ 60 ปี คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ว่า การบริหารงานยุคโลกาภิวัตน์เป็นหัวใจสำคัญของการวางยุทธศาสตร์ของประเทศ โดยเฉพาะการหาจุดแข็งที่มีศักยภาพของไทยจากการผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตร เพราะเมื่อเศรษฐกิจโลกกลับมาฟื้นตัว การผลิตสินค้าเกษตรและความมั่นคงทางอาหารจะมีความสำคัญมาก

โดยประเทศไทยต้องให้ความสำคัญในการเพิ่มศักยภาพและ ประสิทธิภาพ เพื่อป้อนสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปไปยังประเทศต่างๆ ซึ่งมีความต้องการเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว และผู้ประกอบการทางการเกษตรจะต้องมีการปรับตัวรองรับการเปลี่ยนแปลงของยุคโลกาภิวัตน์ทางด้านต้นทุนและแผนดำเนินงาน

ขณะเดียวกันรัฐบาลจะเร่งทำยุทธศาสตร์ความร่วมมือระดับภูมิภาคเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันผลิตและจำหน่ายสินค้าอย่างเป็นเครือ เพื่อให้สามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นได้ รวมทั้งต้องวางแผนเพิ่มมูลค่าสินค้าด้วยการใช้แนวคิดที่สร้างสรรค์และแนวคิดแบบใหม่ๆ เพื่อช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าของประเทศด้วย
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20090722/62033/นายกฯ-ดันสินค้าเกษตรไทยป้อนตลาดโลก.html
stock in focus

***************
18/07/52
'บีโอไอ'ฟันธงจีนน่าลงทุนอันดับ1เร่งบุกตลาดดึง'พันธมิตร'ร่วมทุนไทย-ชี้4 อุตฯดาวรุ่ง
เกษตรแปรรูปโอกาสสูง

ด้าน รศ.ดร.แก้วตา กล่าวว่า ภาคอุตสาหกรรมเกษตรของจีน มีความน่าสนใจเข้าไปลงทุนในจีนมากเช่นกัน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป ที่ผ่านมา คนไทยมักส่งสินค้าเกษตรไทยไปจีน ได้แก่ข้าว และผลไม้ต่างๆ ในลักษณะtrading มีลักษณะคล้ายการฝากขายสินค้า ซึ่งเป็นการค้าขายที่ไม่ยั่งยืน ควรที่จะเข้าไปลงทุนในจีนจะดีกว่า โดยเน้นการพัฒนาเกษตรเชิงรุก

'ต้องเพิ่มมูลค่าก่อนส่งออก อย่างบริษัทหนึ่งในไทย ขณะนี้เตรียมไปลงทุนในจีน เพื่อไปบริการปอกผลไม้ที่ปอกยาก เช่นทุเรียน และทำแพคเกจจิ้งใหม่ เพื่อยืดอายุผลไม้ให้ยาวนานขึ้น'

ทั้งนี้คนไทยมักคิดว่าคนจีนมีจำนวนมากส่งอะไรไปขายที่ไหนก็ได้หมด ซึ่งไม่ใช่ คนจีนมีความนิยมในสินค้าอาหารแต่ละพื้นที่ที่แตกต่างกัน และมีกฎหมายห้ามการลงทุนบางอย่าง เช่นการผลิตพืชตัดต่อทางพันธุกรรม จึงควรศึกษาอย่างละเอียด
stock in focus

*************
17/07/52
เล็งควบอตก.-อคส. รับมือประกันพืชผล
โพสต์ทูเดย์ — สคร.จ่อยุบรวมอ.ต.ก.-อคส. รองรับระบบประกันราคาพืชผลเกษตร ระบุที่ผ่านมางบประมาณรั่วไหลอื้อ
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) สั่งให้ศึกษาการยุบรวมองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) และองค์การคลังสินค้า (อคส.) มาเสนอให้ที่ประชุมกนร.พิจารณาในอีก 6 สัปดาห์หน้า เนื่องจากบทบาทของทั้งสองหน่วยงาน คือการรับจำนำพืชผลทางการเกษตรคล้ายกัน
นอกจากนั้น รูปแบบการรับประกันราคาพืชผลทางการเกษตรแบบใหม่ก็ ไม่ต้องพึ่งพาอคส.มากนัก เพราะเอกชนจะเป็นผู้รับภาระเรื่องของการสต๊อกสินค้าเกษตรแทน
สำหรับอีกแนวทาง คือการยกเลิกบทบาททั้งสององค์กรไปเลย แต่หากไม่ยกเลิกต้องมีการแยกบทบาทการทำงานที่ชัดเจนระหว่างอ.ต.ก. จะให้ทำหน้าที่ในการดูแลพืชสวน ส่วนอคส. จะให้ดูแลเรื่องพืชไร่ เช่น ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง
“ที่ผ่านมาอ.ต.ก. มีผลการดำเนินงานขาดทุนรั่วไหลหลายโครงการยังปิดบัญชีไม่ลง จึงได้สั่งให้รีบ

http://www.posttoday.com/news.php?id=57440
stock in focus

************
17/07/52
กขช.อนุมัติใช้รับประกันราคาข้าวนาปี 52/53

นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ(กขช.) อนุมัติแนวทางการรับจำนำข้าวปีฤดูการผลิต 52/53 โดยให้ใช้วิธีการประกันราคาเหมือนข้าวโพดและมันสำปะหลัง กขช.มอบหมายให้คณะอนุกรรมการผลิต ที่มี รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานกลับไปพิจารณารายละเอียดเรื่องต้นทุนและราคารับจำนำที่เหมาะสมของข้าวแต่ละชนิด

ส่วนมาตรการรักษาเสถียรภาพเรื่องราคาข้าวนั้นมอบหมายให้ รมว.พาณิชย์ ไปพิจารณารายละเอียดแล้วนำกลับมาเสนอที่ประชุมฯ ในอีก 2 สัปดาห์

สำหรับมาตรการรักษาเสถียรภาพราคาข้าวอาจใช้วิธีการเดิม คือ การรับจำนำที่ยุ้งฉางของเกษตรกร หรือการรับซื้อเพื่อส่งออกเท่านั้น ส่วนการระบายข้าวในสต็อกนั้นก็ใช้วิธีการเปิดประมูลเป็นรายโกดัง โดยจะเจรจากับผู้ที่เสนอราคาสูงสุด ซึ่งเรื่องนี้มอบหมายให้ รมว.พาณิชย์ พิจารณาถึงปริมาณและช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อราคาในตลาด
www.posttoday.com
stock in focus
*******************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น