วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข่าวอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน

25/09/52
สหรัฐฯขึ้นภาษีนำเข้ายางรถยนต์จีน : ไทยมีโอกาส... : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 25 ก.ย.--ศูนย์วิจัยกสิกรไทย Distributor - Bisnews AFE ปีที่ 15 ฉบับที่ 2647 วันที่ 25 กันยายน 2552 สหรัฐฯขึ้นภาษีนำเข้ายางรถยนต์จีน : ไทยมีโอกาสได้อานิสงส์ 3,400 ล้านบาท (ฉบับส่งสื่อมวลชน) หลังจากที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ผู้นำสหรัฐฯ ได้ตัดสินใจลงนามในวันที่ 11 กันยายน ที่ผ่านมา เพื่อเห็นชอบในมติปรับเพิ่มภาษีสินค้านำเข้ายางรถยนต์นั่ง และรถบรรทุกขนาดเล็กทั้งหมดจาก ประเทศจีน เป็นระยะเวลาทั้งหมด 3 ปี ซึ่งตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน มาตรการดังกล่าวจะเริ่มมีผลบังคับใช้ จริง โดยจะมีการปรับขึ้นภาษีนำเข้ายางรถยนต์จากเดิมร้อยละ 4 เพิ่มเป็น ร้อยละ 35 ในปีแรก ร้อยละ 30 ในปีที่สอง และร้อยละ 25 ในปีที่สาม ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือแรงงานในอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจาก การนำเข้ายางรถยนต์ราคาถูกเป็นจำนวนมากจากจีน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเหล็กซึ่งได้มีการร้องเรียนว่า การนำเข้ายางรถยนต์จากจีนที่เพิ่มขึ้นถึงประมาณ 3 เท่า จากปี 2547 ได้ส่งผลให้โรงงานเหล็กต้องปิด กิจการหลายแห่งและทำให้มีแรงงานตกงานถึง 5,100 อัตรา แม้จีนจะมีการออกมาตรการตอบโต้ โดยจะ ตรวจสอบการทุ่มตลาดของผลิตภัณฑ์เนื้อไก่และรถยนต์นำเข้าจากสหรัฐฯ อย่างไรก็ตามสหรัฐฯยังคงยืนยันที่ จะใช้มาตรการดังกล่าวต่อไป ซึ่งการนำเข้ายางรถยนต์จากจีนที่ลดลง อาจกลายมาเป็นโอกาสสำหรับการ ส่งออกยางรถยนต์ไทยไปยังตลาดสหรัฐฯที่ปัจจุบันเป็นตลาดส่งออกยางรถยนต์ของไทยที่มีมูลค่าสูงที่สุด อย่างไรก็ตามการที่จีนส่งออกไปยังสหรัฐฯได้น้อยลงอาจทำให้มีการผลักสินค้าไปสู่ตลาดอื่นๆมากขึ้น ซึ่งอาจ เป็นตลาดส่งออกของไทย ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้วิเคราะห์ถึงโอกาสและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยางรถยนต์ ไทย โดยมีประเด็นสำคัญดังนี้ สหรัฐฯนำเข้ายางรถยนต์จากจีนกว่า 1 ใน 3 ของการนำเข้าทั้งหมด

ในปี 2551 ที่ผ่านมา สหรัฐฯได้นำเข้ายางรถยนต์ประเภทต่างๆจากทั่วโลกเป็นจำนวนมากถึง

148,500,843 เส้น โดยนำเข้าเป็นยางรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นสัดส่วนที่สูงที่สุดถึงประมาณร้อยละ 80

รองลงมาคือ ยางรถบรรทุกขนาดเล็ก มีสัดส่วนประมาณร้อยละ 13.7 และที่เหลืออีกเพียงร้อยละ 6.3

เป็นปริมาณการนำเข้ายางรถบรรทุกขนาดกลางและรถบัส และเมื่อพิจารณาการนำเข้าเป็นรายประเทศพบ

ว่าประเทศที่ถือครองส่วนแบ่งการตลาดส่วนใหญ่ของยางรถยนต์สหรัฐฯมีเพียงไม่กี่ประเทศ โดยมีจีนเป็นผู้นำ

ตลาด ซึ่งสหรัฐฯนำเข้ายางรถยนต์จากจีนเป็นจำนวนสูงถึง 49,852,421 เส้น คิดเป็น 1 ใน 3 ของการ

นำเข้ายางรถยนต์ทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งสหรัฐฯนำเข้ายางรถยนต์นั่งส่วนบุคคลจากจีนมากถึงร้อยละ 79.4

รองลงมาคือยางรถบรรทุกขนาดเล็ก ร้อยละ 13.1 และยางรถบรรทุกขนาดกลางและรถบัส ร้อยละ 7.5

การนำเข้ายางรถยนต์จากจีนในปริมาณที่สูงมากนี้ เหตุผลที่สำคัญมาจาก ราคาเฉลี่ยของยาง

รถยนต์ที่นำเข้ามาจากจีน เมื่อเทียบกับยางรถยนต์ที่นำเข้ามาจากประเทศอื่นแล้วมีราคาที่ถูกกว่าค่อนข้างมาก

ทำให้สหรัฐฯมีการนำเข้ามาจากจีนในปริมาณที่สูงมาก ส่งผลให้เกิดการเรียกร้องจากอุตสาหกรรมที่ได้รับผล

กระทบ เช่น อุตสาหกรรมเหล็ก ซึ่งเส้นลวดเหล็กเป็นส่วนประกอบของยางรถยนต์ในชั้นใยเหล็ก ซึ่งมีสัด

ส่วนอยู่ที่ร้อยละ 12 หรือประมาณ 1 กิโลกรัม ของน้ำหนักยางรถยนต์ 1 เส้น ที่โดยเฉลี่ยมีน้ำหนักประมาณ

8 กิโลกรัม ดังนั้นการที่ยางรถยนต์ผลิตในประเทศของสหรัฐฯลดลง ย่อมทำให้อุตสาหกรรมเหล็กได้รับผล

กระทบ จนทำให้บางรายมีการปิดกิจการและคนงานจำนวนกว่า 5,000 ราย ต้องตกงาน ส่งผลให้

ประธานาธิบดีบารัก โอบามา ตัดสินใจปรับขึ้นภาษีนำเข้ายางรถยนต์ 2 ประเภท คือ รถยนต์นั่งส่วนบุคคล

และรถบรรทุกขนาดเล็ก ซึ่งมีสัดส่วนที่สูงมากในตลาดยางรถยนต์สหรัฐฯ โดยปรับขึ้นจากเดิมที่ร้อยละ

3.4 ถึง 4.0 เป็นร้อยละ 35 ในปีแรก ร้อยละ 30 ในปีที่สอง และร้อยละ 25 ในปีสุดท้าย ซึ่งการปรับ

ขึ้นภาษีดังกล่าวย่อมจะกระทบกับปริมาณการนำเข้าของสหรัฐฯที่อาจจะลดลง

จึงเป็นโอกาสให้ประเทศอื่นๆ เช่น ไทย อาจสามารถเพิ่มสัดส่วนการส่งออกมายังสหรัฐฯได้มากขึ้น



ภาษีนำเข้ายางรถยนต์จีนที่เพิ่มขึ้น...โอกาสการส่งออกยางรถยนต์ไทย

จากราคายางรถยนต์จีนที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้ความแตกต่างด้านราคาจากเดิมที่เคยต่างกัน

ค่อนข้างมาก เริ่มมีโอกาสที่จะขยับเข้ามาใกล้กันมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งยางรถยนต์จากประเทศไทย

ซึ่งมีราคาเฉลี่ยที่ต่ำกว่ายางรถยนต์จากประเทศอื่นเกือบทุกประเภท ทำให้เมื่อภาษีนำเข้ายางรถยนต์จีนเพิ่ม

ขึ้น ราคายางรถยนต์จากไทยจึงมีโอกาสที่จะปรับเข้ามาใกล้เคียงกับยางรถยนต์จากจีน ซึ่งจากสถิติที่เก็บ

รวบรวมโดยหนังสือพิมพ์ Tire Business ของสหรัฐฯพบว่า ราคายางรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และยางรถ

บรรทุกขนาดเล็กที่นำเข้าจากจีนมีราคาเฉลี่ยที่ 30.96 ดอลลาร์ฯ และ 50.97 ดอลลาร์ฯตามลำดับ

ขณะที่ยางรถยนต์ประเภทเดียวกันที่นำเข้าจากไทยมีราคาเฉลี่ยที่ 39.82 ดอลลาร์ฯ และ 66.41 ดอลลาร์ฯ

ตามลำดับ ซึ่งจากผลของมาตรการขึ้นภาษีนำเข้าของสหรัฐฯต่อยางรถยนต์ที่ผลิตจากประเทศจีน ไปอยู่ที่

อัตราร้อยละ 35 ในปีแรกนั้น จะทำให้ราคายางรถยนต์นั่งส่วนบุคคลนำเข้าจากจีนจะสูงกว่าไทยอยู่เล็กน้อย

ด้วยราคาประมาณ 40.3 ดอลลาร์ฯ ทำให้ความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของยางรถยนต์นั่งของไทย

เพิ่มขึ้น เป็นโอกาสให้ไทยเข้าไปชิงส่วนแบ่งการตลาดบางส่วนของยางรถยนต์นั่งจีนที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯสูง

กว่าไทยถึง 12 เท่า โดยเฉพาะในปีแรกที่มาตรการภาษีของสหรัฐฯมีผลบังคับใช้ (ช่วงตุลาคม 2552 ถึง

กันยายน 2553) แต่ผลดังกล่าวจะค่อยๆลดลงในปีที่ 2 และ 3 เมื่ออัตราภาษีปรับลดลงมาเป็นร้อยละ

30 และ 25 ตามลำดับ

สำหรับโอกาสในการขยายการส่งออกของไทยนั้นหากประเมินจากศักยภาพกำลังการผลิตในปัจจุบัน

ไทยมีกำลังการผลิตยางรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเต็มกำลังการผลิตทั้งปีที่ประมาณ 17 ล้านเส้น (ข้อมูลปี 2550

และ 2551 ของสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม) ขณะที่ปัจจุบันมีการผลิตจริงอยู่ที่ประมาณ 12 ถึง 13ล้าน

เส้น หรือประมาณร้อยละ 70 ถึง 75 ของกำลังการผลิตทั้งหมด ซึ่งหากความต้องการในตลาดสหรัฐฯเพิ่ม

สูงขึ้น และผู้ประกอบการไทยสามารถปรับเพิ่มการผลิตขึ้นไปถึงระดับเต็มศักยภาพ อาจจะทำให้ในช่วง 1 ปี

แรก นับจากมาตรการภาษีนำเข้าที่ใช้กับจีนของสหรัฐฯมีผลบังคับใช้ ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 26 กันยายนนี้ มูลค่า

การส่งออกยางรถยนต์นั่งของไทยไปยังสหรัฐฯคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 225 ล้านดอลลาร์ฯ ขยายตัวกว่า

ร้อยละ 80 จากมูลค่าคาดการณ์ในช่วงเดียวกันก่อนหน้านี้ที่ 125 ล้านดอลลาร์ฯ ซึ่งเป็นช่วงก่อนหน้าที่จะมี

มาตรการดังกล่าว หรือคิดเป็นมูลค่าการส่งออกที่เพิ่มขึ้นกว่า 100 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ 3400 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม มูลค่าที่คาดการณ์นี้จะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ไทยสามารถเพิ่มระดับการผลิตได้เต็ม

กำลังการผลิต และด้านการส่งออกไปสหรัฐฯก็สามารถแข่งขันดึงส่วนแบ่งตลาดยางรถยนต์นั่งนำเข้าจากจีน

ให้หันมานำเข้าจากไทยได้ อย่างไรก็ตาม ในตลาดสหรัฐฯยังมีคู่แข่งผู้ผลิตยางรถยนต์นั่งราคาถูกจาก

ประเทศอื่นๆด้วย เช่น อินโดนีเซีย และไต้หวัน ซึ่งมีราคาเฉลี่ยที่ 29.56 และ 33.04 ดอลลาร์ฯ ทำให้

การส่งออกยางรถยนต์ของไทยไปยังสหรัฐฯอาจต้องเผชิญกับการแข่งขันกับผู้ผลิตยางจากประเทศเหล่านั้นด้วย

ซึ่งปัจจุบัน ไทยส่งออกยางรถยนต์ไปตลาดสหรัฐฯเป็นมูลค่าสูงที่สุด (มีสัดส่วนร้อยละ 17.3) ตามมาด้วยญี่ปุ่น

(ร้อยละ 8.1) ออสเตรเลีย (ร้อยละ 5.4) และประเทศในกลุ่มอาเซียน เช่น มาเลเซีย เวียดนาม

กัมพูชา และฟิลิปปินส์ เป็นต้น ซึ่งการที่ยางรถยนต์จีนถูกบีบให้ส่งออกไปยังสหรัฐฯซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่

สุดของจีนได้น้อยลง ย่อมกดดันให้จีนต้องผลักสินค้าไปยังตลาดอื่นๆนอกเหนือจากสหรัฐฯมากยิ่งขึ้น ซึ่งคาดว่า

มีโอกาสที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกยางรถยนต์ไทยไม่มากก็น้อย



แต่ยางรถยนต์ราคาถูกจากจีนอาจรุกชิงส่วนแบ่งในตลาดส่งออกที่ไม่ใช่สหรัฐฯมากขึ้น

การที่ยางรถยนต์จากจีนถูกกีดกันจากตลาดสหรัฐฯซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของจีน โดยที่จาก

สถิติที่รวบรวมโดย World Economic Atlas พบว่า ในปี 2551 มูลค่าที่ได้จากการส่งออกยางนอกที่ใช้

กับรถยนต์ (รวมรถยนต์นั่งเอนกประสงค์และรถแข่ง) ของจีน (HS: 401110) ไปยังสหรัฐฯ มีสัดส่วนถึง

ประมาณร้อยละ 43.3 ของมูลค่าการส่งออกยางประเภทนี้ของจีนไปยังตลาดทั่วโลก ซึ่งการถูกกดดันจาก

มาตรการปรับขึ้นภาษียางรถยนต์นำเข้าจากจีนของสหรัฐฯซึ่งเป็นประเทศนำเข้าหลักสูงขึ้นถึงประมาณ

9 ถึง 10 เท่าของอัตราภาษีเดิม ทำให้จุดแข็งเดิมด้านราคาแข่งขันที่ต่ำกว่าคู่แข่งประเทศส่งออกอื่นมากนั้น

ลดน้อยลงไปมาก ย่อมส่งผลกระทบอย่างมากตามมาต่อบริษัทผู้ผลิต และผู้ส่งออกยางรถยนต์จีน ทำให้มี

โอกาสที่จีนจะผลักการส่งออกยางรถยนต์ส่วนเกินมายังตลาดส่งออกอื่นๆของจีนมีมากขึ้น ซึ่งในปี 2551

นอกจากสหรัฐฯแล้ว ตลาดส่งออกยางนอกที่ใช้กับรถยนต์ (รวมรถยนต์นั่งเอนกประสงค์และรถแข่ง) ของจีน

ที่สำคัญเรียงลำดับตามมูลค่าการส่งออก ได้แก่ อังกฤษ ออสเตรเลีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เกาหลีใต้

เยอรมนี เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น แคนาดา เม็กซิโก และเนเธอร์แลนด์ ตามลำดับ ซึ่งพบว่ามีถึง 7 ประเทศที่อยู่

ในกลุ่ม 20 ประเทศส่งออกหลักของยางรถยนต์ไทย ยางรถยนต์จากจีนที่มีราคาต่ำกว่ายางรถยนต์ไทย จึงมี

โอกาสที่จะเข้ามารุกชิงส่วนแบ่งตลาดส่งออกปัจจุบันของไทย โดยเฉพาะในตลาดอาเซียน ตะวันออกกลาง

และอเมริกาใต้ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่เน้นข้อได้เปรียบด้านราคามากกว่าคุณภาพ ทำให้

ยางรถยนต์จากจีนอาจใช้ข้อได้เปรียบนี้ผลักการส่งออกยางรถยนต์ไปยังตลาดอื่นๆทดแทนการส่งออกไปยัง

สหรัฐฯที่ลดลง ซึ่งไทยหนึ่งในประเทศผู้ส่งออกยางรถยนต์ย่อมมีโอกาสได้รับผลกระทบจากการทุ่มตลาดของ

ยางรถยนต์จากจีนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง

โดยสรุป จากการที่สหรัฐฯได้ประกาศปรับขึ้นภาษีนำเข้ายางรถยนต์จากจีน ทั้งประเภทยางรถยนต์นั่งส่วน

บุคคล และยางรถบรรทุกขนาดเล็ก เป็นเวลา 3 ปี จากเดิมที่ร้อยละ 3.4 ถึง 4.0 ขึ้นเป็นร้อยละ

35 30 และ 25 ลดหลั่นในแต่ละปีตามลำดับ ทำให้การส่งออกยางรถยนต์ไปสหรัฐฯซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลัก

ของยางรถยนต์จีนคาดว่าจะได้รับผลกระทบพอสมควร เนื่องจากราคาขายได้ปรับเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ยางรถ

ยนต์นำเข้าจากไทย ซึ่งมีราคาเฉลี่ยปกติในสหรัฐฯต่ำกว่ายางรถยนต์นำเข้าจากประเทศอื่น มีโอกาสที่จะ

ปรับเข้ามาใกล้เคียงกับยางรถยนต์นำเข้าจากจีนหลังปรับภาษี เป็นโอกาสให้ไทยสามารถส่งออกยางรถยนต์

ไปยังสหรัฐฯได้มากขึ้น ทำให้ในช่วง 1 ปีแรก นับจากมาตรการภาษีนำเข้าที่ใช้กับจีนของสหรัฐฯมีผลบังคับใช้

ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 26 กันยายนนี้ มูลค่าการส่งออกยางรถยนต์นั่งของไทยไปยังสหรัฐฯมีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นได้

ถึงกว่า 100 ล้านดอลลาร์ฯ หรือ 3400 ล้านบาท จากมูลค่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 125 ล้านดอลลาร์ฯ ซึ่ง

เป็นกรณีที่ไม่มีมาตรการดังกล่าว ถ้าผู้ประกอบการไทยสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้เต็มศักยภาพ และ

สามารถแข่งขันชิงส่วนแบ่งตลาดจากเดิมที่นำเข้าจากจีนให้หันมานำเข้าจากไทยได้ ทว่าการที่ยางรถยนต์จีน

ถูกบีบให้ส่งออกไปยังสหรัฐฯได้น้อยลง ย่อมกดดันให้จีนต้องผลักสินค้าไปยังตลาดอื่นๆนอกเหนือจากสหรัฐฯ

มากยิ่งขึ้น ซึ่งยางรถยนต์จากจีนที่มีราคาต่ำกว่ายางรถยนต์ไทย มีโอกาสที่จะเข้ามารุกชิงส่วนแบ่งตลาดส่ง

ออกปัจจุบันของไทย โดยเฉพาะในตลาดอาเซียน ตะวันออกกลาง และอเมริกาใต้ ซึ่งเกือบทั้งหมดเป็น

ประเทศกำลังพัฒนาที่เน้นข้อได้เปรียบด้านราคามากกว่าคุณภาพ

อย่างไรก็ตาม ผลกระทบที่อาจเกิดกับการส่งออกยางรถยนต์จีนไปสหรัฐฯอาจจะไม่รุนแรง

มากอย่างที่คาด หากการเรียกร้องของสมาคมอุตสาหกรรมยางของจีน (CRIA) ประสบผลสำเร็จในการ

ขอในรัฐบาลจีนเพิ่มการลดหย่อนภาษีส่งออก จากเดิมที่ให้ไว้ร้อยละ 9 เป็นลดหย่อนร้อยละ 15 รวมถึงการ

ขอให้รัฐบาลลดการเรียกเก็บภาษีนำเข้ายางธรรมชาติ จากเดิมที่ร้อยละ 20 เหลือเพียงร้อยละ 9 ซึ่งหาก

รัฐบาลจีนยอมให้ความช่วยเหลือ จะทำให้การผลิตและการส่งออกยางรถยนต์จีนมีต้นทุนที่ถูกลง ดังนั้น

แม้สหรัฐฯจะมีการเพิ่มภาษีนำเข้าก็จะไม่ส่งผลกระทบให้ราคานำเข้ายางรถยนต์จีนเพิ่มขึ้นมากอย่างที่คาด

ทำให้การส่งออกยางรถยนต์จีนไปสหรัฐฯได้รับผลกระทบที่ลดลง และหากเป็นเช่นนั้นจะมีผลต่อการส่งออก

ยางรถยนต์ไทยไปสหรัฐฯที่แม้จะสามารถแข่งขันได้มากขึ้น แต่ก็จะไม่ทำให้การนำเข้าจากสหรัฐฯเพิ่มขึ้นมาก

นัก แต่ก็จะส่งผลดีต่อไทยในอีกด้านหนึ่ง คือ ตลาดส่งออกอื่นของไทยก็อาจจะได้รับผลกระทบที่ลดลงจากการ

เข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดของยางรถยนต์จีนด้วย

จากนโยบายด้านภาษีดังกล่าวของสหรัฐฯ ผู้ประกอบการส่งออกยางรถยนต์ควรมองหาโอกาสที่จะ

เข้าไปทำตลาดในสหรัฐฯเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่จีนเคยทำตลาดไว้เดิม ซึ่งไทยจะมีโอกาส

จากราคาแข่งขันที่ปรับมาใกล้เคียงกันมากขึ้น ทว่าก็จำเป็นจะต้องหาทางรับมือกับปัญหาการเข้ามาแย่งส่วน

แบ่งการตลาดจากจีนในตลาดส่งออกอื่นๆ เนื่องจากจีนถูกกดดันจากสหรัฐฯทำให้ส่งออกยางรถยนต์ไปสหรัฐฯ

ทำได้น้อยลง จึงต้องออกมาทำตลาดอื่นๆทดแทน ซึ่งยางรถยนต์ไทย นอกจากจะต้องพยายามลดต้นทุน และ

หลีกเลี่ยงการปรับขึ้นราคาแล้ว ควรนำเสนอจุดขายด้านคุณภาพซึ่งเป็นจุดแข็งที่เหนือกว่า ทั้งนี้เพื่อรักษาฐาน

ตลาดเดิมไว้
**************
25/09/52
ฟอร์ดโชว์รวย ทุ่ม 490 ล้านเหรียญลงทุนในจีนเพิ่ม-โฟกัสใหม่มาปีหน้า Source - ASTV ผู้จัดการออนไลน์ (Th) Friday, September 25, 2009 13:50 3761 XTHAI XECON XCORP XAUTO XMANUFAC V%WIREL P%ASMO กรุงเทพฯ--25 ก.ย.--ASTVผู้จัดการออนไลน์ ข่าวต่างประเทศ - ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ลงทุนอีก 490 ล้านเหรียญสหรัฐ สร้างโรงงนผลิตรถเพิ่ม 150,000 คัน ดันยอดผลิตรวมของฟอร์ดในจีนกลายเป็น 600,000 คันต่อปี กำหนดสร้างแล้วเสร็จปี 2555 พร้อมเผยโฟกัสโฉมใหม่มาแน่ปีหน้า อลัน มูลัลลี ประธานและประธานเจ้าหน้าที่บริหารฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี เปิดเผย่วา การลงทุนมูลค่า 490 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1.64 หมื่นล้านบาท) แสดงให้เห็นถึงพัฒนการก้าวสำคัญของฟอร์ดในการเดินหน้ากลยุทธ์ขยายธุรกิจอย่างรวดเร็วในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา เบื้องต้น โรงงานแห่งใหม่จะมีกำลังการผลิต 150,000 คันต่อปี ส่งผลให้ศักยภาพการผลิตรถยนต์โดยรวมต่อปีของ บริษัท ฉางอัน ฟอร์ด มาสด้า ออโตโมบิล (ซีเอฟเอ็มเอ)เพิ่มขึ้นเป็น 600,000 คันในพ.ศ. 2555 เพื่อรองรับความต้องการรถยนต์ภายใต้แบรนด์ฟอร์ดที่เพิ่มขึ้นในประเทศจีน "เรามุ่งมั่นที่จะผลิตรถยนต์ภายใต้แบรนด์ฟอร์ดทุกรุ่นทั่วโลกให้เป็นรถที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับรถในระดับเดียวกัน ทั้งด้านคุณภาพ การประหยัดน้ำมัน ความปลอดภัย และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อให้เป็นรถที่ลูกค้าของเราเห็นคุณค่าและต้องการที่จะขับ ซึ่งการประกาศการสร้างโรงงานแห่งใหม่ในวันนี้ เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นที่จะเดินหน้าขยายการดำเนินธุรกิจของเราในประเทศจีน เพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของผู้บริโภคชาวจีนที่มีต่อรถยนต์และบริการของฟอร์ด" สำหรับโรงงานแห่งใหม่จะเป็นโรงงานแห่งที่สองของฟอร์ดตั้งอยู่ที่เมืองจุงกิง และเป็นแห่งที่สามในประเทศจีน ภายใต้บริษัทร่วมทุนซีเอฟเอ็มเอ โดยจะตั้งอยู่ในเขตอุตสาหกรรมใหม่ นิว นอร์ธ โซน ในเมืองจุงกิง ซึ่งโรงงานจะมีความยืดหยุ่นในการผลิตสูง ติดตั้งเครื่องจักรระบบอัตโนมัติใช้เทคโนโลยีทันสมัยใหม่ล่าสุด และปฏิบัติงานภายใต้ระบบและกระบวนการผลิตรถยนต์ของฟอร์ด โรงงานแห่งนี้จะเริ่มต้นผลิตรถยนต์ฟอร์ด โฟกัส เจเนอเรชั่นใหม่ ในพ.ศ. 2555 โดยมีศักยภาพในการผลิตรถยนต์ได้หลากหลายประเภทในอนาคต ทั้งนี้ รถฟอร์ด โฟกัส เจเนอเรชั่นใหม่ มีแผนจะเปิดตัวครั้งแรกเดือนมกราคม พ.ศ. 2553 ในงาน นอร์ธ อเมริกัน อินเตอร์เนชั่แนล ออโต้ โชว์ จะเป็นรถยนต์นั่งขนาดกลางรุ่นใหม่ของบริษัท ซึ่งจะใช้แพลทฟอร์มมาตรฐานเดียวกันในทุกภูมิภาคทั่วโลกและคาดว่าจะสามารถทำยอดขายรวมทั่วโลกได้มากกว่า 2 ล้านคันต่อปีภายในพ.ศ. 2555 อย่างไรก็ตาม แพลทฟอร์มการผลิตรถยนต์นั่งขนาดกลางระดับโลกรุ่นใหม่นี้จะนำมาใช้ผลิตรถยนต์ถึง 10 รุ่น เพื่อเติมเต็มความต้องการอันหลากหลายต่อรถยนต์นั่งขนาดกลางจากทั่วโลก โดยปัจจุบัน ตลาดรถยนต์นั่งขนาดกลางเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งคาดว่าจะมีสัดส่วนราว 28 เปอร์เซ็นต์ของยอดขายรวมทั่วโลก ภายในพ.ศ. 2556
*************
24/09/52
เผย3ยักษ์ใหญ่ค่ายรถยนต์สนใจเพิ่มเงินลงทุนในไทย
ผู้แทนการค้า เผยบริษัทยักษ์ใหญ่ค่ายรถยนต์ 3 ราย พร้อมแสดงความสนใจเพิ่มเงินลงทุนในไทย อีกรายละไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท
นายเกียรติ สิทธีอมร ประธานผู้แทนการค้าไทย (ทีทีอาร์) กล่าวระหว่างร่วมแถลงข่าวกับคณะนายกรัฐมนตรี ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์จากสหรัฐมายังศูนย์แถลงข่าวทำเนียบรัฐบาล ว่า มีบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านรถยนต์ 3 ราย ยืนยันกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ในเวทีที่กระทรวงอุตสาหกรรมและสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้จัดให้นายกรัฐมนตรีพบกับนักลงทุนระดับประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐที่จะเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอีกรายละไม่ต่ำกว่า 10,000 ล้านบาท

ได้แก่ บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี บริษัท เจเนอรัล มอเตอร์ส คอร์ปอเรชั่น และบริษัท ไครสเลอร์ รวมทั้งยังมีบริษัท โคคา-โคลา อีก 1,000 ล้านบาท ขณะที่บริษัท คาร์กิลล์ ได้แสดงความสนใจที่จะร่วมลงทุนจัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าเกษตรในภูมิภาคนี้ เพื่อความมั่นคงและความปลอดภัยด้านอาหารร่วมกับไทยด้วย

ทั้งนี้ บรรยากาศของนักลงทุนที่เข้าร่วมในงานนายกรัฐมนตรีพบปะนักลงทุนระดับซีอีโอครั้งนี้ ส่วนใหญ่ได้ลงทุนในประเทศไทยอยู่แล้ว และเมื่อได้พบกับนายกรัฐมนตรีโดยตรงที่ได้ส่งสัญญาณให้เห็นว่าให้ความสำคัญ และอยากเห็นการเข้ามาลงทุนในไทย ยิ่งทำให้นักลงทุนมั่นใจเพิ่มขึ้น

กรุงเทพธุรกิจ
**************
23/09/52
ยานยนต์หวังปีหน้าสถานการณ์ดีขึ้น
สศอ.เผย ผลสำรวจธุรกิจยานยนต์คาดหวังครึ่งปีหลัง-ปีหน้าสถานการณ์จะดีขึ้น

นายอาทิตย์ วุฒิคะโร ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยถึงผลสำรวจความเห็นผู้ผลิตและผู้บริโภคต่อทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ 52 บริษัท ต่อสถานการณ์ในปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต รวมถึงความคิดเห็นของผู้บริโภคต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล 400 ตัวอย่าง
ผลการสำรวจในส่วนของผู้ประกอบการระบุว่าปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบค่อนข้างมาก โดยเฉพาะในส่วนของผู้ผลิตขนาดเล็กที่ได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มบริษัทขนาดกลางและขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นในด้านปริมาณคำสั่งซื้อสินค้าที่ลดลงและต้นทุนวัตถุดิบที่มีราคาสูงขึ้น ซึ่งในปี 2552 ผู้ผลิตส่วนใหญ่ร้อยละ 75 มีปริมาณการผลิตลดลง และบางรายประสบปัญหา เนื่องจากลูกค้าซื้อโดยใช้เครดิตหรือลูกค้ามีการผิดนัดชำระหนี้เพิ่มขึ้น รวมทั้งปัญหาจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ที่เข้มงวดในการปล่อยสินเชื่อมากขึ้นส่งผลให้ธุรกิจขาดสภาพคล่อง แต่ผู้ผลิตคาดว่าสถานการณ์ด้านการผลิตและการตลาดจะปรับตัวดีขึ้นภายในครึ่งหลังของปี 2552 และมีความมั่นใจว่าสถานการณ์ด้านการผลิตในปี 2553 จะดีขึ้นจากปี 2552 นอกจากนี้ ผู้ประกอบการร้อยละ 71.2 สะท้อนว่านโยบายหรือมาตรการต่าง ๆ ของรัฐต่อการช่วยเหลือผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์สนองความต้องการน้อย และร้อยละ 28.8 เห็นว่านโยบายหรือโครงการต่าง ๆ ของรัฐที่ให้ความช่วยเหลืออยู่ในระดับปานกลาง โดยผู้ประกอบการร้อยละ 44.2 ระบุว่าได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจในเกณฑ์มาก ขณะที่ร้อยละ 40.4 และร้อยละ 13.5 ได้รับผลกระทบในเกณฑ์ปานกลางและน้อยตามลำดับ

สำหรับแผนรับมือกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นร้อยละ 96.4 มีแผนรองรับ และร้อยละ 5.4 ยังไม่มีแผนรองรับที่ชัดเจน โดยแนวทางที่ผู้ประกอบการใช้มากที่สุดคือ ลดการทำงานล่วงเวลาของพนักงาน คิดเป็นร้อยละ 18.9 รองลงมา คือ การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์การขาย เช่น การปรับลดราคาและการให้เครดิตลูกค้านานขึ้นร้อยละ 14.9 นอกจากนี้ แนวทางการลดจำนวนพนักงานและการส่งเสริมการขายในประเทศให้มากขึ้น ร้อยละ 12.2 และ
อีกส่วนน้อยที่ต้องลดกำลังการผลิตลง โดยผู้ประกอบการมองว่ามีความจำเป็นต้องขยายการส่งออกไปยังตลาดและกลุ่มลูกค้าใหม่ เพื่อขยายฐานการจำหน่ายได้มากขึ้น

ขณะที่ประเด็นความพร้อมของผู้ประกอบการในการรับมือผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจร้อยละ 43.1 มีความพร้อมในระดับปานกลาง ร้อยละ 29.4 ระบุมีความพร้อมเป็นอย่างมาก ขณะที่ผู้ประกอบการร้อยละ 25.5 มีความพร้อมน้อย และอีกร้อยละ 2.0 ระบุว่าไม่มีความพร้อม ส่วนความคิดเห็นของผู้ประกอบการต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ร้อยละ 49 ระบุเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ในปลายปี 2552 ร้อยละ 17.6 คาดว่าจะฟื้นตัวปลายปี 2553 ขณะที่ผู้ประกอบการร้อยละ 13.7 มองว่าเศรษฐกิจจะฟื้นในช่วงต้นปี 2553 และร้อยละ 9.8 มองว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ช่วงกลางปี 2553

ส่วนความคิดเห็นของผู้บริโภค ร้อยละ 22.6 ความพร้อมทางการเงิน เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์มากที่สุด รองลงมา ร้อยละ 21.2 คือ ปัจจัยด้านความจำเป็นและปัจจัยด้านราคา ขณะที่แนวโน้มการซื้อรถยนต์ของผู้บริโภคพบว่า ร้อยละ 46.3 ไม่มีแนวโน้มที่จะซื้อรถยนต์ในช่วงนี้ มีเพียงร้อยละ 26.5 ระบุว่าจะซื้อรถยนต์คันใหม่แต่ต้องรอดูสถานการณ์ทางเศรษฐกิจก่อน โดยร้อยละ 19.7 ระบุจะซื้อรถช่วงหลังกลางปี 2553 ร้อยละ 4.5 ซื้อภายใน 1 ปี และผู้บริโภคร้อยละ 1.7 และ 1.3 ระบุจะซื้อรถภายใน 6 เดือน และ 3 เดือน ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม รายได้ต่อเดือนของผู้บริโภคก็มีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อรถเช่นเดียวกัน โดยผู้บริโภคที่มีรายได้ต่อเดือนสูงจะมีความต้องการซื้อรถยนต์ขนาดใหญ่ (2000 ซีซี ขึ้นไป)

ผู้อำนวยการ สศอ. กล่าวด้วยว่า วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมยานยนต์ของทุกประเทศทั่วโลก การเตรียมตัวเพื่อรองรับปัญหาเฉพาะหน้าเป็นสิ่งจำเป็น อย่างไรก็ตาม วิกฤติเศรษฐกิจไม่น่าจะส่งผลกระทบยาวนาน เนื่องจากมีการคาดการณ์ผลกระทบและการเตรียมตัววางแผนรับมืออย่างเป็นขั้นตอน จึงอยากให้บริษัทยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์มีการพัฒนาตนเอง โดยเฉพาะการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิตในด้านโรงงานและผลิตภัณฑ์ และการพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมเมื่อสภาพเศรษฐกิจฟื้นตัว หรืออุตสาหกรรมยานยนต์มีการเติบโตในรอบต่อไป โดยสามารถเลือกใช้ประโยชน์จากโครงการ Productivity ซึ่งในปีงบประมาณ ปี 2553 สศอ.ได้อุดหนุนเงินงบประมาณ 40 ล้านบาท ให้สถาบันยานยนต์ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมยานยนต์และสมาคมผู้ผลิตชิ้นส่วนฯ ไปดำเนินการในทางปฏิบัติ สำหรับบริษัทผู้ผลิตภายใต้โครงการรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล หรืออีโคคาร์ การเร่งพัฒนาอีโคคาร์ให้สามารถออกขายสู่ตลาดทั้งภายในประเทศและต่างประเทศโดยเร็วจะเป็นการสร้างโอกาสทางธุรกิจครั้งสำคัญ เนื่องจากอีโคคาร์เป็นรถยนต์ของเทรนอนาคตที่มีคุณสมบัติเหนือกว่ารถยนต์ทุกรุ่นที่มีการผลิตภายในประเทศ ทั้งในส่วนของคุณสมบัติทางด้านการประหยัดพลังงานเชื้อเพลิง รักษาสิ่งแวดล้อม และมีมาตรฐานความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล UNECE
posttoday
***********
23/09/52
รถยนต์นอกทะลักรับภาษี0% > 11รุ่นอาเซียนบุก 1 ม.ค.53/ฟอร์ดเอสแคป ลดสูงสุด 6.5 หมื่น
11 รุ่นรถอาเซียนเตรียมลดราคารับภาษีอาฟต้าเหลือ 0% ปรับลดสูงสุด 6.5 หมื่นบาท สถาบันยานยนต์เชื่อคนไทยแห่รับรถหลังปีใหม่ โตโยต้าคาดลดแค่ 5% ไม่หวือหวา ชี้ อะวานซ่าจากอินโดนีเซีย ขายน้อยแค่ 1พันคัน/เดือน ด้านค่ายฮอนด้าเชื่อไทยส่งออกเจาะอาเซียนได้มากขึ้น

นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ตามข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างกลุ่มประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรืออาฟต้า จะปรับลดภาษีนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปจาก 5% เหลือ 0% ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 จะทำให้รถยนต์ที่นำเข้าจากประเทศอาเซียนรุ่นก่อตั้ง 5 ประเทศ คือ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มีต้นทุนภาษีลดลงอีก 5% ส่งผลให้ราคารถยนต์ที่จำหน่ายในประเทศ อาจลดลงอีก 5% ซึ่งช่วยให้ตลาดรถยนต์ต้นปี 2553 คึกคักขึ้น เหมือนคราวที่ไทยประกาศอัตราภาษีสรรพสามิตรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเอทานอล อี 20 จาก 30% ลดเหลือ 25% เมื่อ 1 มกราคม 2551 ทำให้ยอดขายรถยนต์นั่งคึกคักขึ้นอย่างมากในช่วงครึ่งปีแรก

ปัจจุบันรถยนต์นั่งที่นำเข้าจากประเทศในกลุ่มอาเซียนมี มาสด้า 3, ฟอร์ด โฟกัส และฟอร์ด เอสเคป โตโยต้า อแวนซา และโตโยต้า อินโนว่า จากอินโดนีเซีย นอกจากนี้มี โปรตอน จากมาเลเซีย

"การปรับลดภาษีนำเข้ารถเหลือ 0% ตามข้อตกลงอาฟต้า ตั้งแต่ 1 มกราคม 2553 นี้ ไม่รวมกับสต๊อกรถที่นำเข้ามาก่อนหน้านั้น ดังนั้นคาดว่าค่ายรถยนต์ทุกรายจะชะลอการนำเข้ารถจากโรงงานในกลุ่มประเทศอาเซียน ในช่วงไตรมาสสุดท้าย แต่จะเริ่มเปิดรับจองรถราคาใหม่ ที่ปรับลดลง 5% ตั้งแต่ในงานมหกรรมยานยนต์ หรือมอเตอร์เอ็กซ์โป 2009 ช่วงต้นเดือนธันวาคม ก่อนส่งมอบรถให้กับลูกค้าในช่วงต้นเดือนมกราคม 2553"

*เอสเคปลดสูงสุด 5.5-6.5 หมื่นบาท

จากการสำรวจของ"ฐานเศรษฐกิจ"พบว่า รถยนต์ทั้งที่จำหน่ายอยู่ในตลาดและที่กำลังนำมาจำหน่ายจะได้รับการปรับภาษีนำเข้าตามข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน มีจำนวนทั้งสิ้น 11 รุ่น ประกอบด้วย มาสด้า 3 ซึ่งมีราคา 897,000-1,110,000 บาท ราคาใหม่หลัง ม.ค. 2553 อาจลดลง 44,850-55,500 บาท เหลือ 852,150-1,054,5000 บาท ฟอร์ด โฟกัส 1,099,000 บาท ลดลง 54,950 บาท เหลือ1,044,050 บาท เอสเคป 1,119,000-1,319,000 บาท ลดลง 55,950- 65,950 บาท เหลือ 1,06,050-1,253,050 บาท

เกีย ปิแคนโต ราคา 449,000 บาท ลด 24,950 บาท เหลือ 424,050 บาท นาซ่า ฟอร์ซ่า379,000-389,000 บาทลดลง 18,950- 19,450 บาท เหลือ 360,050-36,9550 บาท โปรตอน แซฟวี่ 399,000-469,000 บาท ลดลง 19,950- 23,450 บาท เหลือ 379,050-445,550 บาท นีโอ 1.6 ลิตร 499,000-564,000 บาท ลดลง 23,450-28,200 บาท เหลือ 475,550-535,800 บาท บาท นีโอ ซีพีเอส 658,000-698,000 บาท ลดลง 32,900-34,900 บาท เหลือ 625,100-663,100 บาท เจน 2 ขนาด 1.6 ลิตร ราคา 549,000-629,000 บาท ลดลง 27,450 - 31,450 บาท เหลือ 521,550-597,550 บาท เพอร์โซน่า ซีเอ็นจี ราคา 549,000-629,000 บาท ลดลง 27,450- 31,450 บาท เหลือ 521,550-597,550 บาท โตโยต้า อินโนว่า ราคา 844,000-1,079,000 บาท ลดลง 42,200- 53,950 บาท เหลือ 801,800 -1,025,050 บาท โตโยต้า อแวนซา ราคา 579,000-704,000 บาท ลดลง 28,950- 35,200 บาท เหลือ 550,050-668,800 บาท


*ค่ายรถชี้ลดภาษีดีแต่ตลาดไม่หวือ

นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ เอเชีย แปซิฟิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟคเจอริ่งฯ และนายกสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย กล่าวถึงการลดภาษีนำเข้ารถยนต์เหลือ 0% ว่า ตามข้อตกลงกำหนดว่าทุกประเทศสมาชิกก่อตั้งต้องปรับลดเหลือ 0% ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2553 ก็จริง แต่บางประเทศที่เสียผลประโยชน์อาจชะลอการประกาศลดภาษีนำเข้า นอกจากนี้ ยังไม่มีบริษัทรถยนต์รายใดรับประกันว่า เมื่อลดภาษีนำเข้าจาก 5% เหลือ 0% จะปรับราคาลดลงอีก 5% ตามการปรับลดภาษีนำเข้า เพราะยังมีภาษีซ้ำซ้อนอีกหลายขั้นตอน ดังนั้น อาจไม่ทำให้ตลาดรถยนต์คึกคักขึ้นอย่างมากมาย เหมือนอย่างคราวที่ไทยประกาศลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์จาก 30% เหลือ 25% ซึ่งทำให้ราคารถลดลงถึง 5% เต็มๆ


ที่ผ่านมา โตโยต้านำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปจากอินโดนีเซียประเทศเดียว ประกอบด้วย โตโยต้า อแวนซา และโตโยต้า อินโนว่า ซึ่งยอดจำหน่ายไม่สูงนัก รวมยอดขายประมาณ 1,000 คัน/เดือน แต่ยังไม่อาจยืนยันได้ว่า หลัง 1 มกราคม 2553 โตโยต้าจะปรับลดราคาลงอีกเต็ม 5% หรือไม่

นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัท เอเชี่ยน ฮอนด้า มอเตอร์ จำกัด สำนักงานใหญ่ของฮอนด้าในเอเชีย-แปซิฟิก และรองประธานกลุ่มสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวเสริมว่า การปรับลดภาษีนำเข้าตามข้อตกลงอาฟต้าไม่น่าจะมีผลกระทบกับโครงสร้างตลาดรถยนต์ของไทยมากนัก เนื่องจากไม่มีรถรุ่นใหม่ๆจากประเทศเพื่อนบ้านมาจำหน่ายเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก อีกทั้งราคารถยนต์จากเสียภาษีนำเข้า 5% ก็แตกต่างจากราคารถยนต์ที่เสียภาษีนำเข้า 0 % ไม่มากนัก จึงไม่น่าจะทำให้ตลาดรถยนต์นั่งคึกคักขึ้นมากมายเหมือนตอนที่ประกาศปรับลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์อี 20 จาก 30% เหลือ 25 % เมื่อต้นเดือนมกราคม 2551

บริษัท เคยนำเข้ารถยนต์ ฮอนด้า สตรีม จากอินโดนีเซียมาจำหน่ายในไทย แต่ปัจจุบันไม่ได้นำเข้าแล้ว อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็วๆนี้ ฮอนด้าได้เริ่มเปิดตัว ฮอนด้า ฟรีด (Freed) รถยนต์นั่งอเนกประสงค์ขนาด 7 ที่นั่ง รุ่นใหม่ ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยประกอบที่โรงงานฮอนด้าในอินโดนีเซีย เมื่อ 2 เดือนที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบัน ยังผลิตไม่พอกับความต้องการในประเทศ ส่วนจะนำเข้ามาเปิดจำหน่ายในประเทศไทยในช่วงงานมหกรรมยานยนต์หรือมอเตอร์เอ็กซ์โปหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถตอบได้ในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม บริษัท เคยนำรถยนต์รุ่นดังกล่าวมาแนะนำให้ผู้บริโภคไทยได้สัมผัสอย่างใกล้ชิดในงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2009 เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา


*อานิงส์ส่งถึงตลาดส่งออก

อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารของบริษัทผู้จำหน่ายรถยนต์ชั้นนำทั้งสองบริษัท ต่างมีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า รถยนต์ที่ผลิตในประเทศไทย และส่งออกเป็นรถยนต์สำเร็จรูปทั้งคันไปยังประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน ก็จะได้รับอานิสงส์การปรับลดภาษีนำเข้าจาก 5% เหลือ 0 % เช่นเดียวกัน แต่ราคารถยนต์จะลดลงหรือไม่ ขึ้นกับว่าประเทศนั้นๆ จะตั้งกำแพงภาษีสรรพสามิตเพื่อสกัดกั้นรถจากไทยหรือไม่

โดยปัจจุบัน ฮอนด้า ส่งออกไปยังอินโดนีเซีย สิงคโปร์ บรูไน รวม 5 รุ่นประกอบด้วย ซิตี้ แจ๊ซ ซีวิค แอคคอร์ด และซีอาร์-วี ส่งออกไปยังฟิลิปปินส์ 3 รุ่น ประกอบด้วย แจ๊ซ แอคคอร์ด และซีอาร์-วี ไปยังฟิลิปปินส์ ส่งออกไปมาเลเซีย 1 รุ่นคือ ฮอนด้า แจ๊ซ
ฐานเศรษฐกิจ
************
21/09/52
อาเซียนรุมแย่งผลิตรถ ชี้ปีหน้าไทยคู่แข่งเพียบ
สถาบันยานยนต์ ชี้ประเทศอาเซียนแข่งกันเป็นฐานผลิตรถยนต์แรงแน่ หลังเปิดเสรีเต็มรูปแบบ แต่เชื่อไทยยังได้เปรียบ

นายวัลลภ เตียศิริ ผู้อำนวยการสถาบันยานยนต์ เปิดเผยว่า การแข่งขันเพื่อเป็นฐานการผลิตในระดับภูมิภาคอาเซียนจะรุนแรงขึ้นอย่างแน่นอน หลังจากที่อาเซียนจะกลายเป็นตลาดเดียว (ซิงเกิล มาร์เก็ต) ในปีหน้า จากการที่ทุกประเทศเปิดการค้าเสรีในส่วนของรถยนต์อย่างเต็มรูปแบบ
ทั้งนี้ ประเทศไทยจะต้องแข่งกับหลายประเทศในการพัฒนาเพื่อขึ้นเป็นฐานการผลิตสำหรับรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ที่มีแนวโน้มว่า ผู้ผลิตรถยนต์ โดยเฉพาะจากญี่ปุ่นจะมีการย้ายสายการผลิตรถออกมาจากประเทศตัวเอง และหันมาใช้ฐานการผลิตที่มีต้นทุนในการผลิตต่ำกว่า เพื่อให้ได้เปรียบในเรื่องของการแข่งขัน

สำหรับแนวโน้มการปรับตัวของผู้ผลิตรถยนต์จากประเทศญี่ปุ่นในอนาคตอันใกล้จะมีการ หาฐานการผลิตรถยนต์ใหม่ๆ มากขึ้น เนื่องจากต้นทุนการผลิตในประเทศญี่ปุ่นจะแพงกว่าการออกไปผลิตที่อื่น โดยเฉพาะในส่วนของรถยนต์ที่มุ่งเจาะตลาดแมสเป็นหลัก ผลดังกล่าวคาดการผลิตที่จะยังเหลือในญี่ปุ่นจะเป็นการผลิตรถเฉพาะกลุ่มและรถที่มีกำไรสูงเท่านั้น

“จากที่ได้คุยกับผู้ผลิตรถยนต์มา แนวโน้มดังกล่าวจะเกิดขึ้นค่อนข้างชัดเจน ประกอบกับตลาดในอาเซียนเมื่อกลายเป็นซิงเกิล มาร์เก็ต ก็ไม่จำเป็นจะต้องเปิดไลน์การผลิตหลายที่ แต่สามารถผลิตและส่งออกได้ทั้งภูมิภาคทันที” นายวัลลภ กล่าว

อย่างไรก็ถาม สถานการณ์ของประเทศไทยยังถือว่าได้เปรียบประเทศอื่นๆ อยู่มาก ในส่วน ของโครงสร้างพื้นฐานของอุตสาหกรรมและจากการที่ซัพพลายเออร์รายใหญ่เข้ามาตั้งรกรากในประเทศไทยในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็คงต้องดูใน เรื่องของนโยบายภาครัฐและการส่งเสริมการลงทุน ที่มีแนวโน้มว่าหลายประเทศในภูมิภาคจะดึงดูดการลงทุนอย่างเต็มที่

นายวัลลภ กล่าวถึงความคืบหน้าล่าสุดของโครงการอีโคคาร์ว่า จากการที่เดินทางไปพบกับผู้ผลิตรถยนต์ที่สนใจเข้าร่วมโครงการ 4 รายที่ประเทศญี่ปุ่น ประกอบด้วย ฮอนด้า ซูซูกิ นิสสัน และมิตซูบิชินั้น ได้รับการยืนยันอย่างชัดเจน ว่าพร้อมจะเดินหน้าโครงการอีโคคาร์ต่อไปตามแผนงานโดย ไม่มีเงื่อนไข

posttoday
********
17/09/52
Nissan ปรับเพิ่มยอดขายในจีน หลังรับผลดีจากมาตรการรัฐ

ตลาดรถยนต์จีนเริ่มที่จะคึกคักขึ้นอีกครั้ง เมื่อทางการจีนคาดว่าตัวเลขยอดขายรถ ที่รวมทั้งรถยนต์ รถบรรทุก และรถโดยสาร อาจจะแตะระดับ 12 ล้านคันภายในปีนี้ จนทำให้ตลาดรถจีนกลายเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก แซงหน้ายักษ์ใหญ่อย่างอเมริกาไปในที่สุด โดยในปีที่แล้วข้อมูลจากสมาคมผู้ผลิตรถยนต์ของจีนระบุว่า ยอดขายรถรวมทุกประเภทที่กล่าวมาปรับตัวขึ้น 6.7% มาอยู่ที่ระดับ 9.38 ล้านคัน

ล่าสุดทางบริษัท Nissan Motor ที่เป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับสามของญี่ปุ่น ก็บอกว่ายอดขายรถของบริษัทในตลาดจีนจะพุ่งทะลุเป้าหมายเดิมที่เคยมองไว้ในปีนี้ ซึ่งก็เป็นเพราะมาตรการกระตุ้นของรัฐบาลที่ช่วยฟื้นความต้องการภายในประเทศ Nissan ยกระดับคาดการณ์ยอดขายในตลาดจีนขึ้นอีก 100,000 คัน มาอยู่ที่ 670,000 คันในปีนี้ โดยทางด้านผู้บริหารที่ดูแลตลาดจีนก็หวังว่ามาตรการช่วยเหลืออุตสาหกรรมรถยนต์จะถูกต่ออายุออกไปหลังจากที่มีกำหนดจะสิ้นสุดลงภายในสิ้นปีนี้ ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลจีนได้หั่นอัตราภาษียานพาหนะลงถึงครึ่งหนึ่งสำหรับเครื่องยนต์ที่มีขนาด 1.6 ลิตร หรือต่ำกว่า แถมยังให้สิทธิพิเศษหรือเงินอุดหนุนในเขตนอกตัวเมืองของประเทศเพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตรถให้สามารถประคองตัวรอดพ้นจากสภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย

และไม่ใช่แค่เพียง Nissan ที่ได้รับผลดีจากมาตรการของรัฐบาลจีนเท่านั้น ผู้ผลิตรถค่ายอื่นๆ ก็ล้วนแต่ได้ประโยชน์จากมาตรการลดภาษีและการอุดหนุนจากรัฐบาลเช่นกัน จนยอดขายรถรวมของทั้งประเทศพุ่งขึ้นแรงที่สุดเป็นประวัติการณ์ด้วยอัตราการขยายตัวถึง 90% ในเดือนที่แล้ว ซึ่งก็น่าจะช่วยให้สถานการณ์ในอุตสาหกรรมรถยนต์โดยรวมดีขึ้นตามลำดับ แม้ผู้ผลิตที่มีฐานที่มั่นจากเมืองโยโกฮาม่า อย่าง Nissan กลับยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงคาดการณ์ตัวเลขขาดทุน 170,000 ล้านเยน หรือ 1,900 ล้านเหรียญสำหรับปีงบประมาณปัจจุบันที่จะสิ้นสุดลงในเดือนมีนาคมปีหน้า Nissan รายงานยอดขายในตลาดจีนเพิ่มขึ้น 32% มาอยู่ที่ 466,219 คันในช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้ และทำให้จีนกลายเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของบริษัท รองจากสหรัฐฯ นอกจากนี้ Nissan ยังวางแผนที่จะขยายกำลังการผลิตที่โรงงานแห่งหนึ่งในจีนภายในเดือนหน้าอีกด้วย
morning brief
*************
17/09/52
เพิ่มน้ำหนักหุ้น...ยานยนต์
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์เพิ่มน้ำหนักการลงทุนหุ้นกลุ่มยานยนต์ตามการเพิ่มกำลังการผลิตของผู้ประกอบการรถยนต์ โดยแนะนำสูงสุดลงทุนในหุ้นบริษัท สมบูรณ์ แอดวานซ์ เทคโนโลยี (SAT)

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูโอบี เคย์เฮียน ปรับราคาเหมาะสมของหุ้นในกลุ่มยานยนต์ขึ้นตามการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมและแนะนำให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้นกลุ่มยานยนต์ จากแนวโน้มการฟื้นตัวอย่างรวดเร็วของอุตสาหกรรมในครึ่งปีหลังและความหวังเกี่ยวกับรถยนต์ประหยัดพลังงานในปีหน้า โดยปรับราคาเหมาะสมของ SAT ขึ้นเป็น 12.60 บาท คำนวณโดยพื้นฐานสัดส่วนราคาต่อกำไร (PE) ปี 2553 ที่ 9 เท่า โดยแนะนำให้ซื้อเก็งกำไรเมื่อราคาอ่อนตัวและปรับราคาเป้าหมายบริษัท ไทยแสตนเลย์การไฟฟ้า (STANLY) ขึ้นเป็น 121.5 บาท คำนวณบนพื้นฐาน PE ปี 2553 ที่ 10 เท่า และ แนะนำซื้อลงทุนเมื่อราคาอ่อนตัว
ด้านบล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์ ให้ความเห็นว่าการเปิดตัวรถมิตซูบิชิ แลนเซอร์รุ่นใหม่ เป็นสัญญาณที่ดีต่อการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมและการฟื้นตัวของยอดขายรถยนต์ในประเทศ หลังจากที่โตโยต้าเปิดตัวโตโยต้า คัมรี่ ไฮบริด เมื่อเดือนที่ผ่านมา โดยการเปิดตัวแลนเซอร์ โมเดล เชนจ์ เป็นการเปิดตัวรถในกลุ่มบีเซ็กเมนต์เป็นครั้งแรก นับตั้งแต่การเปิดตัวของโตโยต้า อัลติสใหม่ในปีที่แล้ว และทางมิตซูบิชิเริ่มมีการจ้างงานใหม่จำนวน 1,200 คน เพื่อรองรับการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ ซึ่งคาดว่าแนวโน้มของยอดขายรถยนต์ในประเทศจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงที่เหลือของปี

ยอดขายรถเดือนส.ค.ส่งสัญญาณดีขึ้น โดยอีซูซุรายงานยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือนส.ค. เป็น 43,251 คัน ซึ่งแม้ว่าจะลดลง 8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 0.2% จากเดือนส.ค. อย่างไรก็ตามเห็นสัญญาณที่ปรับตัวขึ้นโดยตลอด โดยเมื่อพิจารณา 2 เดือนล่าสุดพบว่ามียอดขายเฉลี่ย 43,205 คัน เพิ่มขึ้นถึง 12% จากช่วงครึ่งแรกปี 2552 ซึ่งจากการเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ในช่วงที่เหลือของปี ทำให้เราคาดว่ายอดขายรถยนต์จะถึงเป้าปี 2552 ที่ตลาดคาดไว้ที่ 4.8 แสนคันได้ (8 เดือนแรก = 66% ของเป้า)

บล.แห่งนี้แนะนำ SAT โดยมองว่าการเปิดตัวรถยนต์มิตซูบิชิ แลนเซอร์ใหม่จะส่งผลดีต่อ Sentiment ของ SAT จากการที่ SAT มีสัดส่วนการขายให้มิตซูบิชิมากที่สุด ทั้งนี้ ยังคงประมาณการเดิม โดยคาดว่า SAT มีแนวโน้มกำไรการเติบโตประมาณ 750% ในงวดครึ่งปีหลังจาก 1) ยอดการผลิตรถยนต์ที่คาดว่าจะเติบโตถึง 18% ในช่วงที่เหลือของปี

2) การได้คำสั่งซื้อใหม่ของคูโบต้า 3) คาดว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตจะปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็น 80% ในไตรมาส 4/2552 จากเพียง 45% ในครึ่งปีแรก ซึ่งทำให้ SAT พ้นจุดคุ้มทุน จึงยังคงคาดกำไรสุทธิทั้งปีที่ 230 ล้านบาท และเติบโตอีก 95% เป็น 450 ล้านบาทในปี 2553 เรายังแนะนำซื้อราคาเป้าหมาย 15 บาท (อัพไซด์อีก 47%)


บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส ประเทศไทย ได้ประกาศรับพนักงานเพิ่มเติมอีก 1,300 คน และเพิ่มกำลังการผลิตเป็นแบบ 2 กะที่โรงงานที่ 1 ซึ่งใช้ในการผลิตรถยนต์นั่ง แลนเซอร์ สเปซ วากอน และรถพีพีวี ปาเจโร สปอร์ต ตั้งแต่เดือนก.ย.เป็นต้นไป จากเดิมที่ผลิตแบบ 1 กะมาตั้งแต่เดือนม.ค. เพื่อรองรับการเปิดตัวของ Lancer EX ในช่วงปลายปี รวมถึงความต้องการที่สูงขึ้นของปาเจโร สปอร์ต และจะเริ่มการผลิตแบบ 2 กะในโรงงานที่ 2 ซึ่งใช้ในการผลิตรถกระบะไทรทัน ในช่วงต้นเดือนพ.ย.นี้

หลังจากที่ลดกำลังการผลิตเหลือเพียง 1 กะตั้งแต่เดือน ก.พ.เป็นต้นมา รวมถึงมีรายงานจากสำนักข่าวเอเชีย พัลส์ ว่าบริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ส คอร์ป ซึ่งเป็นบริษัทแม่ในญี่ปุ่นจะขยายกำลังการผลิตรถยนต์อเนกประสงค์รุ่น ปาเจโร สปอร์ต เอสยูวี ที่โรงงานในประเทศไทยในเดือนต.ค.นี้ เพื่อรองรับการส่งออกที่เพิ่มขึ้นไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลาง และละตินอเมริกา โดยบริษัทได้วางตำแหน่งรถดังกล่าวให้เป็นรถยนต์เชิงกลยุทธ์ระดับโลกของบริษัท โดยตั้งเป้าที่จะส่งออกรถยนต์รุ่น ปาเจโร สปอร์ต 1.9 หมื่นคันต่อปี เพิ่มสูงขึ้นถึง 90% จากในปีก่อน ซึ่งการขยายกำลังการผลิตดังกล่าว คาดว่าจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ที่จะได้รับออร์เดอร์ในจำนวนที่สูงขึ้น

“มองว่า SAT จะได้รับประโยชน์มากที่สุดจากการเพิ่มกำลังการผลิตของมิตซูบิชิ เนื่องจากบริษัทมีสัดส่วนรายได้จากมิตซูบิชิเป็นสัดส่วนมากที่สุด (Figure 1 และ 2) โดยคิดเป็นราว 32% ของรายได้รวมในปี 2551” นักวิเคราะห์บล.ยูโอบี เคย์เฮียน ให้ความเห็น

นิสสันเดินหน้าผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน (ECO car)

ด้านนิสสัน มอเตอร์ส ยังคงยืนยันว่าจะเปิดตัวรถยนต์ประหยัดพลังงาน หรืออีโคคาร์ในช่วงเดือนก.พ.ปีหน้า โดยใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ว่า Nissan March และ Nissan Micra ตั้งเป้าการผลิตไว้ที่ 5 หมื่นคันในปีแรก และ 1 แสนคันในปีถัดไป โดยมีตลาดญี่ปุ่น เอเชีย และโอเชียเนียรองรับผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

ล่าสุดบริษัทได้รับพนักงานอีกกว่า 1,000 คน หลังเห็นสัญญาณบวกในตลาดรถยนต์จากคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่เริ่มกลับมาและเป็นการเตรียมการเพื่อรองรับการผลิตรถยนต์รุ่นใหม่ในอนาคต

“เราคาดว่าโอกาสที่รถยนต์ประหยัดพลังงานจะขึ้นมาเป็น Product Champion ลำดับที่ 2 ของประเทศไทยมีสูง หากได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เนื่องจากประเทศไทยมีความได้เปรียบจากการมีแรงงานที่มีความรู้ความสามารถเมื่อเทียบกับค่าแรงที่ต่ำ รวมถึงมีความเหมาะสมทั้งด้านสถานที่ตั้งและเขตเสรีทางภาษีที่ช่วยหนุนการส่งออกไปยังประเทศในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลีย” นักวิเคราะห์บล.ยูโอบี เคย์เฮียน ให้ความเห็น

ทั้งนี้ คาดยอดการผลิตรถยนต์ในช่วงไตรมาส 3/2552 เพิ่มขึ้น 25% จากไตรมาส 2/2552 คาดว่าปริมาณการผลิตรถยนต์ในช่วงไตรมาส 3/2552 จะเพิ่มขึ้น 25% จากในไตรมาสก่อน แต่ยังคงลดลง 33% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าทั้งปีจะมียอดการผลิตรถยนต์ราว 9 แสนคัน โดยเป็นการฟื้นตัวตามภาวะเศรษฐกิจโลกจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลแต่ละประเทศ การเปิดตัวของรถยนต์รุ่นใหม่จำนวนมาก การทำโปรโมชันของค่ายรถยนต์ และภาวะสินเชื่อเช่าซื้อที่ผ่อนคลายลงจะช่วยกระตุ้นให้เกิดกำลังซื้อของผู้บริโภค ทำให้คาดว่าผลประกอบการของอุตสาหกรรมยานยนต์จะฟื้นตัวขึ้นในไตรมาส 3/2552 จากการที่บริษัทเกิดการประหยัดต่อขนาดในการผลิตมากขึ้น
posttoday
**********
16/09/52
ปัจจัยในประเทศ & อุตสาหกรรมและหุ้นเด่น
/+ ยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือนส.ค.52 ขยับขึ้นเล็กน้อย 0.2%MoM โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย รายงานว่ายอดขายรถยนต์ในประเทศเดือนส.ค.52 อยู่ที่ 43,521 คัน ลดลง 8.2%YoY หากเทียบ MoM พบว่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.2% เราคาดว่ายอดขายรถยนต์จะดีขึ้นต่อใน 4Q52 ซึ่งเป็นช่วงที่ค่ายรถยนต์จะเร่งขายเพื่อปิดยอดปี 52 และมีรถยนต์รุ่นใหม่ออกมา สำหรับ 8M52 ยอดขายรถยนต์ในประเทศลดลง 23.1%YoY เป็น 317,835 คัน
ความเห็น DBSV : นับว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ในประเทศได้ผ่านจุดที่แย่สุดมาแล้ว และกำลังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ส่วนในต่างประเทศ ก็มียอดขายดีขึ้นเพราะมีโครงการนำรถยนต์เก่ามาแลกซื้อรถยนต์ใหม่ ทำให้คำสั่งซื้อชิ้นส่วนยานยนต์กระเตื้องขึ้นและคาดว่าจะเห็นอัตราการเติบโตของยอดขาย & กำไรสุทธิที่ชัดเจนในปี 53 เรามีมุมมองที่ดีขึ้นกับอุตสาหกรรมยานยนต์ และแนะนำให้ทยอยซื้อสะสมเพื่อการลงทุน โดยหุ้นเด่น คือ AH, SAT, STANLY นอกจากนั้นยังเป็นบวกกับธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ด้วย ซึ่งหุ้น Top Pick คือ TISCO
dbvs
***********
15/09/52
ยอดจำหน่ายรถส.ค.ยังทรงตัว ขายได้ 4.3 หมื่นคัน โตโยต้าฟาดร่วม 43%
ยอดขายรถเดือนส.ค. 43,251 ยังทรงตัวต่อเดือนก.ค. โตโยต้านำลิ่วเบอร์หนึ่งเหมือนเดิม ครองส่วนแบ่ง 43% ตามด้วยอีซูซุ 20% ส่วนฮอนด้ารับแท่นเบอร์สาม 15% ขณะที่วงการต่างประเทศอียูเตือนเยอรมนีปกป้องอุตสาหกรรม ขณะที่เบลเยียมลุยส่งเรื่องเข้าพิจารณาในสภาสหภาพยุโรป

***********
14/09/52
ค่ายรถยุ่นตอกย้ำอีโคคาร์ทำแน่ แต่วอนรัฐขอลดภาษีต่ำกว่า 17%
ค่ายรถยุ่นย้ำเดินหน้าโครงการรถประหยัดพลังงานตามแผน วอนรัฐพิจารณาภาษีสรรพสามิตอีโอคาร์อีกรอบ หลังสถานการณ์อุตสาหกรรมเปลี่ยน ไม่เหมือนตอนที่ตั้งโครงการฟากนิสสันสั่น ผลิต 100,000 คันภายในปีที่ 5 ไหวแน่
stock in focus
***********
09/09/52
โตโยต้าจ้างพนง.เพิ่ม800ส่งสัญญาณอุตฯรถฟื้นตัว
โตโยต้า เตรียมจ้างพนักงานชั่วคราวเพิ่ม 800 คน หลังยอดขายพริอุส พุ่งเป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือน

วานนี้ โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป ค่ายผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 1 ของญี่ปุ่น เปิดเผยว่า บริษัทกำลังมีแผนจะจ้างพนักงานชั่วคราว ราว 800 คน เข้าทำงานในโรงงานประกอบรถยนต์ในประเทศเพิ่มขึ้นภายในเดือนต.ค.นี้ ซึ่งจะทำให้โตโยต้า กลายเป็นบริษัทแรกในประเทศ ที่มีการจ้างงานพนักงานเพิ่มขึ้นในรอบ 16 เดือน

ทั้งนี้ แถลงการณ์ของโตโยต้าระบุด้วยว่า การจ้างงานที่มุ่งเน้นไปที่อดีตพนักงานของบริษัทก่อนเป็นอันดับแรกนั้น มีขึ้นเพื่อให้สอดรับกับตัวเลขยอดขายรถยนต์ โดยเฉพาะรถยนต์รุ่นพริอุสในเดือนส.ค. ที่เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2.16 หมื่นคัน เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นของยอดขายรถยนต์เป็นครั้งแรกในรอบ 13 เดือน

ดังนั้น การเพิ่มขึ้นของยอดขายรถยนต์ในญี่ปุ่นดังกล่าว เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้เข้ามาให้ความช่วยเหลือด้วยการสร้างแรงจูงใจ โดยเฉพาะการใช้มาตรการพักชำระภาษี เพื่อให้ประชาชนในประเทศหันมาซื้อรถยนต์คันใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแทนรถยนต์คันเก่า

“การตัดสินใจจ้างพนักงานดังกล่าว เป็นผลมาจากการฟื้นตัวขึ้นของยอดขายรถยนต์ทั่วโลก” พอล โนลาสโค โฆษกโตโยต้า กล่าว

นอกจากนี้ แผนการของโตโยต้าในครั้งนี้ยังถือเป็นสัญญาณล่าสุด ที่ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์ความเลวร้ายที่เกิดขึ้นกับค่ายรถยนต์อันดับ 1 ของญี่ปุ่นได้ผ่านพ้นไปแล้ว

ขณะเดียวกันโตโยต้ายังได้ตั้งเป้าที่จะกลับมาทำกำไรจากยอดขายรถยนต์ในตลาดภายในประเทศอีกครั้งในช่วงต้นปีหน้านี้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ มีการคาดการณ์กันว่าโตโยต้าอาจต้องประสบกับภาวะการขาดทุนในปีงบประมาณที่จะสิ้นสุดในเดือนมี.ค. 2553 ที่ 4.5 แสนล้านเยน (ราว 1.6 แสนล้านบาท)

อย่างไรก็ตาม เมื่อเดือนที่ผ่านมาโตโยต้าได้ประกาศว่าจะปิดโรงงานประกอบรถยนต์ในแคลิฟอร์เนีย สหรัฐ ซึ่งโรงงานประกอบรถยนต์ดังกล่าว เป็นการร่วมทุนกันระหว่างโตโยต้ากับเจนเนอรัล มอเตอร์ส (จีเอ็ม) ที่ได้เปิดดำเนินการมานานกว่า 25 ปี และถือเป็นครั้งแรกที่ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ตัดสินใจสั่งปิดโรงงานในต่างประเทศ

posttoday*************
07/09/52
อินเดียส่งออกรถยนต์แซงหน้าจีน

Posted on Monday, September 07, 2009
นายจาเยช ชรอฟฟ์ จากบริษัท เอสบีไอ แอสเซ็ท แมเนจเมนท์ ในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย บอกว่า ค่ายรถยนต์อย่าง ซูซูกิ มอเตอร์ , ฮุนได มอเตอร์ และ นิสสัน มอเตอร์ กำลังขยับขยายฐานการผลิตรถยนต์ขนาดเล็กไปยังอินเดีย เนื่องจากแรงงานมีราคาถูกและตลาดรถยนต์ขนาดเล็กในอินเดียก็กำลังเติบโต โดยในปีนี้อินเดียได้แซงหน้าจีนในฐานะศูนย์กลางการส่งออกรถยนต์ และกำลังเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยและเกาหลีใต้ในฐานะศูนย์กลางการผลิตรถยนต์ในเอเชีย

ด้านนายอาร์ ซี บาร์กาว่า ประธานบริษัท มารูติ ซูซูกิ อินเดีย บอกว่า บริษัทส่งออกรถยนต์ได้มากสุดเป็นประวัติการณ์ถึง 14,847 คันในเดือนสิงหาคม และส่งออกรถยนต์เพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่า แตะ 79,860 คัน ในปีนี้ โดยตั้งเป้าว่าจะส่งออกรถยนต์ให้ได้ 130,000 คันในปีงบการเงินซึ่งสิ้นสุดในเดือนมีนาคมปีหน้า หรือเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วถึง 86%

ขณะที่ สมาคมผู้ผลิตยานยนต์แห่งอินเดีย ระบุว่า อินเดียส่งออกรถยนต์ขนาดเล็กเพิ่มขึ้น 44% ในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ แตะ 201,138 คัน ส่วนยอดส่งออกรถยนต์ทั้งหมดซึ่งรวมถึงรถแวน รถ SUV และรถบรรทุก เพิ่มขึ้น 18% แตะ 229,809 คัน โดยรถที่ผลิตในอินเดียถูกส่งออกไปยังกว่า 100 ประเทศทั่วโลก แต่ไม่รวมสหรัฐและญี่ปุ่น ส่วนยอดส่งออกรถยนต์ของจีนร่วงลง 60% เหลือ 164,800 คันในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ส่วนยอดส่งออกรถของไทยลดลง 43% แตะ 263,768 คัน
moneyline news
***************
04/09/52
รมว.อุตฯนัดถก 4 ค่ายรถญี่ปุ่น
ชาญชัย" นัดหารือ 4 ค่ายรถญี่ปุ่น ร่วมพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย

นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม เตรียมนำคณะจากกระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)และสถาบันยานยนต์ เดินทางไปหารือกับผู้บริหาร 4 ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น คือ นิสสัน, อีซูซุ, ฮอนด้า และมิตซูบิชิ ในระหว่างวันที่ 6-11 ก.ย.เพื่อหารือถึงแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างกันด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ให้สอดรับกับทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์โลก เพื่อนำมาปรับและกำหนดนโยบายด้านยานยนต์ของไทยต่อไป

พร้อมกันนี้ จะได้รับฟังความคิดเห็นต่อทิศทางการพัฒนารถยนต์ในอนาคต เช่น รถยนต์ไฮบริด, รถยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์เซลเชื้อเพลิง เป็นต้น รวมถึงแนวคิดและข้อเสนอแนะต่อนโยบายใหม่ๆ ที่รัฐบาลไทยตั้งใจจะประกาศใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์เพิ่มเติม

ทั้งนี้ เพื่อให้ประเทศไทยพัฒนาไปสู่การเป็นฐานการผลิตรถยนต์ที่สำคัญในระดับภูมิภาค เช่น การเปิดให้มีการสนับสนุนผู้ประกอบการผลิตรถเพื่อการพาณิชย์ขนาดใหญ่ (รถบรรทุก)รองรับตลาดทั้งภูมิภาคอาเซียน และกำหนดนโยบายเพื่อชักจูงให้ผู้ประกอบการค่ายรถยนต์ที่เข้ามาลงทุนในไทยแล้วผลิตรถยนต์รุ่นที่ไม่มีการประกอบในประเทศไทย ซึ่งจะกระตุ้นให้มีการเดินเครื่องการผลิตได้อย่างเต็มที่มากขึ้น

"อุตสาหกรรมยานยนต์เป็นสาขาอุตสาหกรรมที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญ และถือเป็นอุตสาหกรรมหลักสาขาหนึ่งของประเทศที่รัฐบาลพร้อมส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การพบปะประธานและผู้บริหารค่ายรถยนต์ต่างๆ ในครั้งนี้ จะได้นำข้อมูล ความคิดเห็นมากำหนดแนวทางการสนับสนุนให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้ประกอบการต่อไป"นายชาญชัย กล่าว

รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลจะได้แสดงจุดยืนให้ค่ายรถยนต์ได้ทราบถึงนโยบายการสนับสนุนอุตสาหกรรมยานยนต์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะโครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล(อีโคคาร์) ที่มีแนวทางชัดเจนที่จะไม่ปรับเปลี่ยนเงื่อนไข หรือข้อกำหนดหรือสิทธิประโยชน์เดิมที่ได้เคยประกาศไว้ก่อนหน้านี้ รวมถึงการเดินหน้าส่งเสริมและสนับสนุนการรักษาขีดความสามารถทางการแข่งขันของการผลิตรถปิกอัพขนาด 1 ตัน ให้เป็น"Product Champion"หลักของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยต่อไป
posttoday
***********
31/08/52
ฟันธงปีนี้ผลิตรถยนต์9.4แสนคัน
“อดิศักดิ์” ประเมินการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยปี นี้ 9.4 แสนคัน ชี้ราคาน้ำมัน- ไข้หวัดใหญ่ กระทบตลาดช่วงที่เหลือของปี

นายอดิศักดิ์ โรหิตศุน รองประธานกรรมการบริหารอาวุโส บริษัท เอเชี่ยน ฮอนด้า มอเตอร์ และรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า แนวโน้มการผลิตรถยนต์ในประเทศไทยปีนี้น่าจะทำได้ถึง 9.4 แสนคัน แบ่งเป็นการผลิตเพื่อตลาดในประเทศ 4.8 แสนคัน และการผลิตเพื่อการส่งออก 5.1 แสนคัน ซึ่งในช่วง 7 เดือนแรกของปี มีการผลิตรถยนต์ไปแล้วประมาณ 4.64 แสนคัน
ทั้งนี้ แม้จะเชื่อว่าเศรษฐกิจในประเทศไทยจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วก็ตาม และแนวโน้มตลาดน่าจะกลับมาสู่ภาวะปกติที่เริ่มขยายตัวอีกครั้ง แต่ก็ต้องดูปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ในภาพรวม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของราคาน้ำมันที่เริ่มปรับตัวขึ้นสูง หรือผลกระทบจากปัญหาเรื่องไข้หวัดใหญ่ ที่อาจจะทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อรถยนต์ใหม่

สำหรับตลาดส่งออกนั้นเชื่อว่าจะได้รับผลดีจากการที่เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว และเชื่อว่าน่าจะกลับมามีการส่งออกรถยนต์จากประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ น่าจะเป็นช่วงที่ตลาดส่งออกรถยนต์กลับมาฟื้นตัวอย่างจริงจัง แต่ก็ต้องลุ้นว่าจะทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้หรือไม่

ด้านผลการดำเนินงานของฮอนด้าในประเทศไทยนั้น นาย อดิศักดิ์ กล่าวว่า สามารถทำได้ดีกว่าที่มีการคาดการณ์ไว้ โดยตลาดรถยนต์นั่งเพิ่งประกาศปรับเป้าหมายการจำหน่ายจาก 8 หมื่นคัน เป็น 8.4 หมื่นคัน ในส่วนของรถจักรยานยนต์นั้นเชื่อว่าปลายปีนี้จะสามารถปิดยอดการจำหน่ายที่ 1.2 ล้านคันคิดเป็นอัตราการหดตัวประมาณ 17-18%
posttoday
stock in focus
************
27/08/52
กลุ่มยานยนต์: "เท่ากับตลาด" - บล.เอเซีย พลัส Source - บมจ.หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส (Th) Thursday, August 27, 2009 08:53 28402 XTHAI XECON XCORP XFINSEC XFINMKT V%COMMENT P%ASP
กลุ่มยานยนต์ (Auto) - เท่ากับตลาด พ้นจุดต่ำ แนวโน้มดีขึ้น ปรับคำแนะนำกลุ่มเป็นเท่ากับตลาด
* กลุ่มยานยนต์ 2Q52 ขาดทุนจากการดำเนินงาน 375 ล้านบาท
* ผ่านพ้นจุดต่ำ แนวโน้ม 2H52 ดูดีขึ้น และฟื้นตัวมากขึ้นในปี 2553
* ปรับเพิ่มคำแนะนำเป็น เท่ากับตลาด สำหรับกลุ่มยานยนต์ กลุ่มยานยนต์ 2Q52 ขาดทุนจากการดำเนินงาน 375 ล้านบาท ภาวะอุตสาหกรรมยานยนต์ที่ถดถอยต่อเนื่องใน 2Q52 คงกดดันให้ทุกบริษัทชิ้นส่วนยานยนต์ทั้ง 7 แห่งที่ฝ่ายวิจัยศึกษา ประสบกับปัญหายอดขายหดตัวตามภาวะอุตฯ จนทำให้ไม่สามารถผลิตจนก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาด อีกทั้งต้องเจอกับภาระต้นทุนคงที่สูง จึงส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำกำไร และกดดันให้กลุ่มบริษัทยานยนต์งวด 2Q52 มีผลขาดทุนจากการดำเนินงาน 375 ล้านบาท ผ่านพ้นจุดต่ำ แนวโน้ม 2H52 ดูดีขึ้น และฟื้นตัวมากขึ้นในปี 2553 สถานการณ์กลุ่มยานยนต์ คาดผ่านพ้นจุดต่ำใน 1H52 และจะปรับตัวดีขึ้นใน 2H52 เนื่องจากเริ่มเห็นสัญญาณดีขึ้นจากตลาดรถยนต์ในประเทศและยอดผลิตรถยนต์เดือน ก.ค. 2552 ที่หดตัวน้อยลง ประกอบกับสัญญาณชี้วัดดัชนีความเชื่อมั่นอุตสาหกรรมไทยเดือน ก.ค. 2552 ปรับสูงขึ้นเป็น 89.9 จุด และกำลังการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมจากเดือน ก.ค. 2552 ที่ 57% เพิ่มอยู่ที่ 61% ในเดือน ส.ค. 2552 ซึ่งน่าจะสะท้อนยอดคำสั่งซื้อที่เริ่มฟื้นตัวตามเศรษฐกิจ ส่งผลให้กลุ่มยานยนต์เริ่มรับคนงานกลับเข้ามาทำงานใหม่ เพื่อเตรียมรองรับแผนการผลิตเพื่อสะสมสต๊อกสินค้าอีกครั้ง ประกอบกับช่วง 4Q52 เป็นช่วงฤดูกาลขายรถยนต์ ซึ่งมีการนำเสนอรถยนต์รุ่นใหม่ และจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาด น่าจะเป็นปัจจัยผลักดันให้อุตสาหกรรมยานยนต์และกลุ่มบริษัทชิ้นส่วนฯ งวด 2H52 เติบโตมากกว่า 1H52 ขณะที่แนวโน้มปี 2553 คาดการผลิตรถยนต์จะกลับมาขยายตัว 10% yoy จากปัจจัยสนับสนุนของการฟื้นตัวเศรษฐกิจ และ กำลังการผลิตรถยนต์ใหม่ของค่ายรถยนต์ AAT ที่เข้าเพิ่ม ปรับเพิ่มคำแนะนำเป็น เท่ากับตลาด สำหรับกลุ่มยานยนต์ ผลประกอบการกลุ่มยานยนต์ที่เริ่มฟื้นตัวใน 2H52 และจะกลับมาเติบโตเพิ่มขึ้นในปี 2553 ทำให้หุ้นในกลุ่มยานยนต์กลับมาน่าสนใจลงทุน ดังนั้นจึงปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนของกลุ่มฯ จาก น้อยกว่าตลาด เป็น เท่ากับตลาด พร้อมปรับประมาณการปี 2552 และ 2553 (โดยหลักเป็นการปรับลดผลประกอบการของYNP ซึ่งขาดทุนหนัก) และปรับการประเมินมูลค่าหุ้นในกลุ่มฯ ภายใต้วิธี - P/BV ปรับเพิ่มเป็น 0.5 เท่า สำหรับบริษัท AH , YNP และ TRU ส่งผลให้มูลค่าพื้นฐานใหม่ปี 2552 ของ AH อยู่ที่ 7.6 บาท มี upside 14% จึงปรับคำแนะนำจาก ถือ เป็น ซื้อ ขณะที่ TRU มี FV ใหม่ปี 2552 ที่ 2.23 บาท ใกล้ราคาปัจจุบัน จึงปรับจาก ขาย เป็น ถือส่วน YNP คงแนะนำขาย FV ใหม่ปี 2552 ที่ 0.62 บาท - P/E ปรับเพิ่มค่าเฉลี่ยจาก 8 เท่า เป็น 10 เท่าในหุ้น IRC, IHL และ SAT สะท้อนค่า P/E ตลาดที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ FV ของ IRC ปี 2553(สิ้นงวด ก.ย 52.) เพิ่มเป็น 12.6 บาท มี upside 31% จึงปรับจากถือ เป็น ซื้อ ส่วน IHL แม้มี FV ใหม่เพิ่มเป็น 2.6 บาท แต่ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน จึงคงแนะนำขาย ขณะที่ SAT ได้ FV เพิ่มเป็น 6.98บาท แม้ต่ำกว่าราคาปัจจุบัน แต่หากเทียบกับราคาเหมาะสมปี2553 แล้วยังมี upside 30% จึงปรับเพิ่มจาก ขาย เป็น ถือ รอการ ฟื้นตัวในปี 2553 สำหรับ STANLY ซึ่งมีจุดแข็งทางด้านการเงินและฐานธุรกิจที่เหนือบริษัทอื่น จึงกำหนด P/E ที่ 12 เท่า ได้ FV ปี 2552 ที่ 96.4 บาท ใกล้ราคาปัจจุบัน จึงปรับจาก ขาย เป็น ถือ นักวิเคราะห์: นวลพรรณ น้อยรัชชุกร เลขทะเบียนนักวิเคราะห์ : 019994 e-mail: nuanpun@asiaplus.co.th โดย บมจ. หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ประจำวันที่ 27 สิงหาคม 2552
***********
26/08/52
ชี้สัญญาณฟื้น ผลิตรถปีหน้า ทะลุ1ล้านคัน
กลุ่มยานยนต์ประเมินยอดผลิตรถยนต์ปี 2553 กลับมาทะลุ 1 ล้านคันอีกครั้ง

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ยอดการผลิตรถยนต์น่าจะกลับมาอยู่ที่ระดับ 1 ล้านคันอีกครั้งในปี 2553 จากกำลังการผลิตที่มีอยู่ 1.8 ล้านคัน ซึ่งจะเป็นการเติบโตอีกครั้งหลังเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบต่อตลาดส่งออกหลักของไทย
ทั้งนี้ คาดว่าการผลิตรถยนต์ในภาพรวมของปี 2553 จะอยู่ที่ 1.05-1.06 ล้านคัน แบ่งเป็นการผลิตสำหรับตลาดในประเทศ 5.2-5.3 แสนคัน เพิ่มขึ้นจากปีนี้ประมาณ 5% และการผลิตเพื่อการส่งออก 5.3 แสนคัน เพิ่มขึ้นประมาณ 4%

สำหรับสถานการณ์ด้านการขายในประเทศ คาดว่าในเดือนส.ค. 2552 จะเป็นเดือนแรกที่มีอัตรา การขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันของปีก่อนหน้า เป็นครั้งแรกในรอบ 15 เดือน โดยมีแนวโน้มที่ยอดจำหน่ายจะสูงกว่า 4.7 หมื่นคัน เนื่องจากค่ายรถยนต์มั่นใจว่าเศรษฐกิจโลกมีสัญญาณฟื้นตัว ประกอบกับนโยบายรัฐเริ่มส่งผลดีต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภค

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่าเป็นห่วงก็คือตลาดส่งออกที่หดตัวมากกว่าคาดการณ์ ทำให้ต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดว่าจะทำได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ 5.1 แสนคันหรือไม่ โดย 7 เดือนแรกของปีนี้ ตลาดส่งออกทุกแห่งยกเว้นตะวันออกกลางมีอัตราติดลบทั้งหมด

นายสุรพงษ์ กล่าวถึงยอดการผลิตรถยนต์ช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 464,068 คัน ลดลง 44.83% แบ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 263,768 คัน คิดเป็น 56.84% ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 42.65% และการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 200,300 คัน คิดเป็น 43.16% ลดจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 47.46%
posttoday
stock in focus
**************
24/08/52
นาย วุฒิกร สุริยะฉันทนานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด รายงานสถิติการขายรถยนต์ประจำเดือนกรกฎาคม 2552 ปริมาณการขาย 43,156 คัน ลดลง 3.6% ประกอบด้วย รถยนต์นั่ง 17,533 คัน ลดลง 9.1% รถเพื่อการพาณิชย์ 25,623 คัน เพิ่มขึ้น 0.5% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซกเมนท์นี้ จำนวน 22,255 คัน เพิ่มขึ้น 4.5%
สถิติการขายสะสม 7 เดือนของปี 2552 มีปริมาณทั้งสิ้น 274,584 คัน ลดลง 25.0% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยแบ่งออกเป็น รถยนต์นั่ง 113,589 คัน ลดลง 12.4% รถเพื่อการพาณิชย์ 160,995 คัน ลดลง 31.9% รวมทั้ง รถกระบะขนาด 1 ตัน ในเซ็กเมนท์นี้จำนวน 139,951 คัน ลดลง 31.1%

ประเด็นสำคัญ
1. ตลาดรถยนต์เดือนกรกฎาคม มีปริมาณการขาย 43,156 คัน ลดลง 3.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 0.5% รวมถึงตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน มีอัตราการเติบโต 4.5% เป็นการลดลงน้อยที่สุดในรอบ 14 เดือน แต่ทั้งนี้เนื่องจากยอดขายในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่นำมาเปรียบ เทียบ ได้ปรับลดลงอย่างมาก อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับขึ้นสูงถึง 44บาท/ลิตร ด้านตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 9.1% ลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากผู้บริโภคชะลอการตัดสินใจเพื่อรอการแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ และยอดขายในปีที่ผ่านมาที่สูง เนื่องจากกระแสตอบรับรถยนต์พลังงาน อี20

2. ตลาดรถยนต์ 7 เดือนมีปริมาณการขาย 274,584 คัน ลดลง 25.0% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา โดยตลาดรถยนต์นั่งมีอัตราการเติบโตลดลง 12.4% ตลาดรถยนต์เพื่อการพาณิชย์มีอัตราการเติบโตลดลง 31.9% ทั้งนี้หากพิจารณาจากการขายตั้งแต่ต้นปี พบว่าตลาดรถยนต์โดยรวมมีแนวโน้มดีขึ้น

3. สำหรับตลาดรถยนต์เดือนสิงหาคม คาดว่าจะมีปริมาณการขายทรงตัว แม้ว่าตามสถิติการขายแล้ว เดือนสิงหาคมจะมียอดขายน้อยเป็นอันดับ 4 ของปี แต่การแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด อาทิ โตโยต้า คัมรี ไฮบริด และ โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ น่าจะเป็นปัจจัยบวกต่อตลาดรถยนต์ อย่างไรก็ดีราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง อาจมีผลทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภคซึ่งมีผลต่อระบบเศรษฐกิจรวมถึงตลาดรถยนต์

ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์เดือนกรกฎาคม 2552
1.) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 43,156 คัน ลดลง 3.6%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 18,393 คัน ลดลง 9.6% ส่วนแบ่งตลาด 42.6%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,895 คัน เพิ่มขึ้น 1.8% ส่วนแบ่งตลาด 20.6%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 7,199 คัน เพิ่มขึ้น 7.1% ส่วนแบ่งตลาด 16.7%
2.) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 17,533 คัน ลดลง 9.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 7,544 คัน ลดลง 20.9% ส่วนแบ่งตลาด 43.0%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 6,801 คัน เพิ่มขึ้น 9.9% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 3 นิสสัน 940 คัน เพิ่มขึ้น 52.4% ส่วนแบ่งตลาด 5.4%
3.) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 22,255 คัน เพิ่มขึ้น 4.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 9,788 คัน ลดลง 0.8% ส่วนแบ่งตลาด 44.0%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,310 คัน เพิ่มขึ้น 1.4% ส่วนแบ่งตลาด 37.3%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,805 คัน เพิ่มขึ้น 29.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 2,035 คัน
โตโยต้า 1,246 คัน - อีซูซุ 459 คัน - มิตซูบิชิ 303 คัน - ฟอร์ด 27 คัน
4.) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 20,220 คัน ลดลง 1.2%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 8,542 คัน ลดลง 7.5% ส่วนแบ่งตลาด 42.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 7,851 คัน ลดลง 2.1% ส่วนแบ่งตลาด 38.8%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,805 คัน เพิ่มขึ้น 29.5% ส่วนแบ่งตลาด 8.9%
5.) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 25,623 คัน เพิ่มขึ้น 0.5%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 10,849 คัน เพิ่มขึ้น 0.4% ส่วนแบ่งตลาด 42.3%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 8,895 คัน เพิ่มขึ้น 1.8% ส่วนแบ่งตลาด 34.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน 1,820 คัน เพิ่มขึ้น 25.1% ส่วนแบ่งตลาด 7.1%


สถิติการจำหน่ายรถยนต์ เดือนมกราคม – กรกฎาคม 2552
1) ตลาดรถยนต์รวม ปริมาณการขาย 274,584 คัน ลดลง 25.0%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 113,727 คัน ลดลง 27.3% ส่วนแบ่งตลาด 41.4%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 57,753 คัน ลดลง 27.7% ส่วนแบ่งตลาด 21.0%
อันดับที่ 3 ฮอนด้า 47,166 คัน ลดลง 5.4% ส่วนแบ่งตลาด 17.2%
2) ตลาดรถยนต์นั่ง ปริมาณการขาย 113,589 คัน ลดลง 12.4%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 49,085 คัน ลดลง 22.8% ส่วนแบ่งตลาด 43.2%
อันดับที่ 2 ฮอนด้า 44,595 คัน เพิ่มขึ้น 2.1% ส่วนแบ่งตลาด 39.3%
อันดับที่ 3 เชฟโรเล็ต 4,517 คัน ลดลง 31.6% ส่วนแบ่งตลาด 4.0%
3) ตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน* (Pure Pick up และ รถกระบะดัดแปลง PPV) ปริมาณการขาย 139,951 คัน ลดลง 31.1%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 58,466 คัน ลดลง 30.8% ส่วนแบ่งตลาด 41.8%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 54,184 คัน ลดลง 28.4% ส่วนแบ่งตลาด 38.7%
อันดับที่ 3 นิสสัน 10,235 คัน ลดลง 32.9% ส่วนแบ่งตลาด 7.3%
*ปริมาณการขายรถกระบะดัดแปลง ในตลาดรถกระบะขนาด 1 ตัน: 13,921คัน
โตโยต้า 8,097 คัน - อีซูซุ 2,807 คัน - มิตซูบิชิ 2,752 คัน - ฟอร์ด 265 คัน
4) ตลาดรถกระบะ Pure Pick up ปริมาณการขาย 126,030 คัน ลดลง 34.0%
อันดับที่ 1 อีซูซุ 51,377 คัน ลดลง 28.3% ส่วนแบ่งตลาด 40.8%
อันดับที่ 2 โตโยต้า 50,369 คัน ลดลง 34.2% ส่วนแบ่งตลาด 40.0%
อันดับที่ 3 นิสสัน 10,235 คัน ลดลง 32.9% ส่วนแบ่งตลาด 8.1%
5) ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ ปริมาณการขาย 160,995 คัน ลดลง 31.9%
อันดับที่ 1 โตโยต้า 64,642 คัน ลดลง 30.4% ส่วนแบ่งตลาด 40.2%
อันดับที่ 2 อีซูซุ 57,753 คัน ลดลง 27.7% ส่วนแบ่งตลาด 35.9%
อันดับที่ 3 นิสสัน 10,430 คัน ลดลง 33.6% ส่วนแบ่งตลาด 6.5%
stock in focus
**************
24/08/52
อีซูซุ เล็งจ้าง พนง.ไทยผลิตรถเพิ่มหลายร้อยคน

Posted on Monday, August 24, 2009
อีซูซุ บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่น เริ่มกลับมาจ้างพนักงานในโรงงานในต่างประเทศอีกครั้ง หลังความต้องการรถยนต์ในเอเชียและยุโรปเพิ่มขึ้น โดยมีแผนจะจ้างพนักงานชั่วคราวหลายร้อยคนในโรงงานในประเทศไทย เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตรถกระบะให้ได้มากกว่า 10,000 คันต่อเดือน ตั้งแต่เดือนกันยายนเป็นต้นไป หลังจากลดการผลิตลงเหลือ 7,000 คันต่อเดือนในช่วงที่ผ่านมา

เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกทำให้ความต้องการลดลง แต่ขณะนี้ความต้องการได้กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้ง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลต่างๆ ทั่วโลก

ขณะที่ค่ายรถนิสสัน ก็เตรียมจ้างพนักงานชั่วคราวในโรงงานอังกฤษ 350 คน ตั้งแต่เดือนมิถุนายน หลังยอดขายรถยนต์ขนาดเล็กประหยัดพลังงานเพิ่มขึ้นในยุโรป เนื่องจากรัฐบาลส่งเสริมให้ประชาชนซื้อรถยนต์ใหม่ ด้วยการเสนอสิ่งจูงใจแก่เจ้าของรถยนต์เก่า
moneyline news

*************
24/08/52
ไทยแกร่งขับเคลื่อนอุตฯยานยนต์ รับอาฟตา0%ชี้ราคาลดหลักพัน
จับทิศตลาดรถไทยปี 2553 หลังกลุ่มประเทศอาเซียนลดภาษีนำเข้ารถซีบียูตามกรอบอาฟตาเหลือ 0% เชื่อผลักดันไทยเข้มแข็ง
จากมีศักยภาพสูงสุดในภาคการผลิต เผยราคาขายปลีกลดลงเล็กน้อย เหตุสัดส่วนภาระภาษีไม่ต่างกันมาก

แหล่งข่าวจากวงการรถยนต์ เปิดเผย "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า ในปี 2553 กลุ่มสมาชิกอาเซียนพร้อมเดินหน้าลดภาษีนำเข้าสินค้าตามกรอบอาฟตาในสินค้า รถยนต์สำเร็จรูป (CBU) เหลือ 0% จากปัจจุบันที่จัดเก็บ 5% ซึ่งจะมีผลต่อภาระของผู้ผลิตที่น้อยลงไปด้วย

อย่างไรก็ตาม แหล่งข่าวเชื่อว่า การลดภาษีเหลือ 0% อาจจะมีผลต่อการปรับลดราคารถยนต์นำเข้าไม่มากนัก อาจจะอยู่ในระดับพันบาทเท่านั้น สำหรับรถยนต์ที่มีระดับราคา 5 แสนบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับความต้องการรถแล้ว จะก่อให้เกิดผลกระทบที่ไม่แตกต่างมากนักในปัจจุบัน นอกจากนี้การเปรียบเทียบราคาจะไม่สามารถเห็นได้ชัดในกรณีที่เป็นรถรุ่นใหม่ๆ ที่เพิ่งเปิดตัว เพราะว่าไม่มีราคาอ้างอิง

"ปัจจุบันภาระภาษีของรถยนต์ 1 คัน ระดับราคา 4.99 แสนบาท หากถอดรหัสออกมาแล้วจะพบว่า เป็นภาษีประมาณ 9.48 หมื่นบาท ภาระภาษีลดลงเพียงเล็กน้อยไม่ใช่เหตุที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในตลาด"

ปัจจุบันรถยนต์นำเข้าสำเร็จรูปที่ได้ใช้สิทธินำเข้าผ่านกรอบของอาฟตามาจำหน่ายในไทย เช่น มาสด้า 3, ฟอร์ด โฟกัส, เปอโยต์, โปรตอน, นาซ่า ,โตโยต้า อวันซ่า ,อินโนว่า, วอลโว่ และรถรุ่นใหม่ที่กำลังจะเปิดตัวได้แก่ ฮอนด้า ฟรีด ในขณะที่ไทยส่งออกรถยนต์จำนวนมากไปยังประเทศสมาชิก โดยเฉพาะรถยนต์ปิกอัพ และรถยนต์นั่งระดับบน
เพิ่มขีดแข่งขันอุตฯยานยนต์อาเซียน

นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์เอเชียแปซิฟิก เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ แมนูแฟกเจอริ่ง จำกัด ระบุว่า การที่ภาษีศุลกากรขาเข้าสินค้ายานยนต์ในกลุ่มประเทศอาเซียนลดลงเหลือ 0% จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ให้กับทุกประเทศในอาเซียนที่มีอุตสาหกรรมยานยนต์เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

หากมองจากการนำเข้ารถยนต์สำเร็จรูปหรือ CBU จะได้ประโยชน์น้อยจากการลดภาษีนำเข้าเหลือ 0% เพราะในส่วนของประเทศไทยที่มีการผลิตรถยนต์มากเป็นอันดับที่ 14 ของโลก หรือโตโยต้านั้นเป็นฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียนอยู่แล้ว แต่จะได้ประโยชน์มากกว่าจากการนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์ที่ไม่สามารถผลิตได้ในไทยหรือย้ายฐานการผลิตไปแล้ว เช่น ชิ้นส่วนพลาสติก และชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยที่มีมูลค่าสูงกว่า เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องยนต์หรือชุดเกียร์ เพราะสามารถส่งออกได้ง่ายขึ้น

การที่ฐานการผลิตรถยนต์และค่ายชิ้นส่วนรายใหญ่ต่างใช้ไทยเป็นโรงงานแม่ในการผลิตชิ้นส่วนเทคโนโลยีระดับสูง มีมูลค่ามาก ทำให้ประเทศไทย "คุ้ม" หรือได้ประโยชน์มากที่สุดในบรรดาประเทศอาเซียนที่มีอุตสาหกรรมยานยนต์ เพราะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย สร้างงานและเพิ่มโอกาสในการส่งรถออกไปขายในประเทศอาเซียนด้วยกัน ในสภาวะที่การส่งออกรถยนต์ไปทำตลาดหลักอย่างออสเตรเลีย ยุโรปและแอฟริกาได้รับผลกระทบจากพิษเศรษฐกิจโลก

"การงดเก็บภาษีศุลกากรขาเข้าสินค้าในกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นภูมิคุ้มกันและช่วยให้ภาคธุรกิจทั้งหมดทยอยปรับตัว เพื่อรองรับการเปิดเขตการค้าเสรีโลกของดับเบิลยูทีโอ หรือแม้แต่เขตการค้าเสรีแบบทวิภาคีและพหุภาคีที่รัฐบาลจะทำกับคู่ค้าอื่นๆ ในอนาคต"

เปอโยต์พร้อมปรับราคาลง
นายพลกฤษณ์ ลีนุตพงษ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ยนตรกิจ ออโตโมบิลส์ ผู้จำหน่ายรถยนต์เปอโยต์ เผยว่า รถยนต์เปอโยต์ ส่วนใหญ่ที่ทำตลาดเมืองไทยในขณะนี้ เป็นรถที่ประกอบในมาเลเซียและนำเข้ามาจำหน่ายผ่านทางช่องทางภาษีอาฟตา ในต้นปี 2553 ที่ภาษีศุลกากรสินค้าขาเข้าอาฟตาจะลดลงมาเหลือ 0% จากปัจจุบัน 5% บริษัทก็มีนโยบายปรับราคาจำหน่ายรถยนต์ลงมาในสัดส่วนเดียวกับภาษีที่หายไป เพื่อประโยชน์ของผู้บริโภค

นายพลกฤษณ์ กล่าวต่อว่า ในช่วงปลายปีจะแนะนำรถยนต์รุ่นใหม่ นำเข้าจากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจะเปิดตัวในงานมหกรรมยานยนต์หรือมอเตอร์ เอ็กซ์โปปลายปี พร้อมทั้งกิจกรรมการตลาดและแคมเปญส่งท้ายปี ต่อเนื่องไปในช่วงต้นปี 2553 จะมีการนำเข้ารถยนต์เปอโยต์เครื่องยนต์ดีเซล ทั้งนี้หลังจากที่ราคาน้ำมันนั้นกลับมาอยู่ในทิศทางขาขึ้น เป็นตัวเร่งให้บริษัทฯ ตัดสินใจทำตลาดเครื่องยนต์ดีเซล

"ในส่วนแผนการขึ้นไลน์ประกอบในเมืองไทยนั้นยังคงมีอยู่ หากตลาดเปอโยต์สามารถขยายได้ระดับ 500 คัน/ปี บริษัทฯ ก็พร้อมจะขายในแบบ CKD” นายพลกฤษณ์ กล่าว
กรุงเทพธุรกิจ
************
22/08/52
ตลาดรวมรถจักรยานยนต์เริ่มต้นเดือนก.ค.ลดลง
ผู้ผลิตโหมกลยุทธ์ชูกิจกรรม อัดแคมเปญหวังกระตุ้นยอดครึ่งปีหลัง
นายธีระพัฒน์ จิวะพงศ์ กรรมการบริหารฝ่ายขาย บริษัท เอ.พี.ฮอนด้า จำกัด เปิดเผยว่า “นับตั้งแต่ต้นปี 2552 ที่ผ่านมา ตลาดรถจักรยานยนต์ไทย ต้องฝ่าฟันกับภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยเสี่ยงรอบด้าน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยเรื่องสภาพคล่องทางเศรษฐกิจโดยรวม และความไม่แน่นอนของการเมืองภายในประเทศ ซึ่งส่งผลให้ตลาดหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังคงเป็นไปในลักษณะการลดลงแบบชะลอตัว ซึ่งเมื่อดูตัวเลขตลาดรวมรถจักรยานยนต์ 7 เดือนแรก นับว่ามีอัตราเติบโตลดลงเล็กน้อย ด้วยปริมาณยอดจดทะเบียนรวมทั้งสิ้น 882,122 คัน ส่งผลให้การขยายตัวของตลาดมีอัตราลดลงเพียง 15% เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตามในช่วงครึ่งปีหลังนี้ คาดว่าตลาดรถจักรยานยนต์จะกลับมาคึกคักอีกครั้ง ด้วยปัจจัยเชิงบวกต่างๆ ที่จะกลับเข้ามาช่วยเสริม ทั้งปัจจัยเรื่องเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับผู้บริโภคเริ่มมีความมั่นใจในสถานการณ์ทางการเมืองที่เริ่มคลี่คลายและมีเสถียรภาพมากขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา รวมถึงกิจกรรมทางการตลาดที่ค่ายผู้ผลิตต่างทยอยนำเสนอออกมากระตุ้นตลาด ซึ่งปัจจัยต่างๆ เหล่านี้จะสะท้อนถึงสัญญาณที่ดีของทิศทางตลาดรถจักรยานยนต์ในบ้านเราอีกครั้ง”

ค่ายผู้นำอย่างฮอนด้า เริ่มต้นส่งกิจกรรมมากระตุ้นตลาดในครึ่งปีหลัง ด้วยการผลักดัน 2 แคมเปญส่งเสริมการขายยักษ์ใหญ่ “ผ่อนสนุกขี่สบาย...กับอิออน” และแคมเปญ “คลิกแจกใหญ่ ได้ไม่ต้องลุ้น” ให้ช่วยเป็นทางเลือกในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคในภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ประกอบกับการโหมทำกิจกรรมทางการตลาด สร้างความต่อเนื่องให้กับแคมเปญ C’mon Let’s Have Fun ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมการเป็นผู้สนับสนุนหลักอย่างเป็นทางการ ในการแข่งขันฟุตบอลระหว่างทีมสโมสรระดับโลก “ลิเวอร์พูล” กับทีมชาติไทย และกิจกรรมที่สร้างปรากฏการณ์คลื่นมหาชนในมหกรรมดนตรีริมทะเล Honda Click i Reggae on the Rock ที่ส่งสัญญาณการตอบรับที่ดีล้นหลามจากประชาชนกว่าแสนคนทั่วประเทศที่มาร่วมงาน นับว่าทั้ง 2 แคมเปญ และ 2 กิจกรรมใหญ่ดังกล่าวช่วยรักษาสภาพตลาดและเป็นการการันตีฐานผู้ใช้รถจักรยานยนต์ฮอนด้าได้เป็นอย่างดี ส่วนแนวโน้มของสภาพตลาดไตรมาส 3 นี้เป็นต้นไป คาดว่าค่ายผู้ผลิตรายใหญ่ๆ จะยังคงนำเสนอกิจกรรมการตลาดอย่างต่อเนื่อง และคาดว่าตลาดโดยรวมจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น มีความคึกคัก และมีความตื่นตัวสูงขึ้นจากครึ่งปีแรก ซึ่งนับเป็นภาพของสัญญาณที่ดีแก่การเริ่มต้นตลาดครึ่งปีหลัง

สำหรับรายละเอียดของยอดการจดทะเบียนในเดือนแรกของครึ่งปีหลังนี้ ปรากฏว่ารถจักรยานยนต์แบบเกียร์อัตโนมัติ หรือแบบ เอ.ที. ขึ้นมาได้รับความนิยมสุงสุด ด้วยปริมาณยอดจดทะเบียนเดือนกรกฎาคม 66,802 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 48% ในขณะที่รถจักรยานยนต์แบบครอบครัว แม้ว่าในเดือนนี้จะมียอดการจดทะเบียนที่น้อยกว่ารถแบบ เอ.ที แต่ก็ต่างกันในสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยรถจักรยานยนต์แบบครอบครัว มีปริมาณยอดจดทะเบียนเดือนกรกฎาคม 66,646 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 48% แต่หากนับปริมาณยอดจดทะเบียนโดยรวม 7 เดือน นับตั้งแต่ต้นปีมกราคมรถจักรยานยนต์แบบครอบครัวยังคงมีปริมาณยอดจดทะเบียนมากที่สุดถึง 435,321 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 49% และยังคงครองความนิยมเป็นประเภทรถจักรยานยนต์ที่มียอดขายสูงสุดอย่างยาวนาน

ส่วนรถประเภทอื่นๆ มีรายละเอียดยอดการจดทะเบียนสะสมตั้งแต่ครึ่งปีแรกจนถึงเริ่มเดือนแรกของครึ่งปีหลัง ดังนี้ คือ รถแบบ เอ.ที. มีปริมาณ 411,405 คัน เทียบเท่าสัดส่วนตลาด 47%, รถแบบครอบครัวกึ่งสปอร์ต 21,674 คัน สัดส่วนตลาด 2%, รถแบบสปอร์ต 6,684 คัน สัดส่วนตลาด 1% และรถประเภทอื่นๆ 7,038 คัน สัดส่วนตลาด 1%

ในขณะที่หากแบ่งแยกเป็นยอดจดทะเบียนตามประเภทของผู้ผลิต รถจักรยานยนต์ฮอนด้า 582,443 คัน เทียบเท่าอัตราครองตลาด 66%, ยามาฮ่า 245,872 คัน อัตราครองตลาด 28%, ซูซูกิ 38,076 คัน อัตราครองตลาด 4%, คาวาซากิ 7,935 คัน อัตราครองตลาด 1%, เจอาร์ดี 863 คัน, แพล็ตตินั่ม 600 คัน, ไทเกอร์ 473 คัน และอื่นๆ 5,860 คัน

กรุงเทพธุรกิจ
*************
19/08/52
โครงการรถเก่าซื้อรถใหม่ของสหรัฐฯใช้ได้ผล

Posted on Wednesday, August 19, 2009
บริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (GM) ได้เรียกพนักงานที่เป็นสมาชิกสหภาพจำนวน 1,350 ราย กลับมาทำงานอีกรอบ เนื่องจากบริษัทได้เพิ่มการผลิตในช่วงครึ่งปีหลัง เพราะโครงการรถเก่าซื้อรถใหม่ที่รัฐบาลนำมาใช้ ช่วยทำให้ความต้องการซื้อรถใหม่ในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งการเรียกพนักงานกลับมาทำงานนี้ ถือเป็นการเพิ่มจำนวนพนักงานที่มากที่สุดต่อครั้งนับตั้งแต่ปี 2549

ทั้งนี้ จีเอ็มวางแผนเพิ่มชั่วโมงการทำงานที่โรงงานในเมืองออนทาริโอ ประเทศแคนาดา และเพิ่มจำนวนชั่วโมงการทำงานในโรงงานที่รัฐโอไฮโอ ด้วย

ด้านนาย เอริค เมอร์เคิล ประธานบริษัทที่ปรึกษาออโตโคโนมี บอกว่า ภาวะเศรษฐกิจถดถอยได้ผ่านพ้นไปแล้ว และยอดขายรถอาจอ่อนตัวลงอีกเมื่อโครงการซื้อรถใหม่แลกรถเก่าสิ้นสุดลง แต่เชื่อว่าผลพวงจากโครงการดังกล่าวจะช่วยให้เศรษฐกิจมีความแข็งแกร่งขึ้น

นายมาร์ค ลาเนเว รองประธานที่ดูแลด้านการขายในสหรัฐฯ บอกว่า การปรับเปลี่ยนการผลิตรถของบริษัท ทำให้ต้องเพิ่มจำนวนพนักงานให้มากขึ้น เพราะในไตรมาส 4 บริษัทจะผลิตรถมากขึ้นประมาณ 60,000 คัน เพื่อผลิตรถให้ได้ 642,000 คัน ซึ่งเป็นตัวเลขที่สูงกว่ายอดไตรมาส 3 ประมาณ 20% และบริษัทคาดว่า ยอดขายเดือนกรกฎาคม และสิงหาคม จะเพิ่มขึ้น 60,000 - 70,000 คัน

ขณะที่นายทิม ลี รองประธานของจีเอ็ม กรุ๊ป ซึ่งดูแลงานด้านแรงงานและการผลิตทั่วโลก บอกว่า ตอนนี้ บริษัทกำลังเพิ่มการผลิตในทุกภาคการผลิตที่มีอยู่ในสหรัฐฯ
money channel
stock in focus
********
07/08/52
กระทรวงอุตสาหกรรมเล็งลดภาษีอีโคคาร์เพิ่ม
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บอกว่า กระทรวงอุตสาหกรรมจะเดินหน้าส่งเสริมการลงทุนในภาคธุรกิจยานยนต์ ที่ประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการใช้รถยนต์ประหยัดพลังงานที่ใช้พลังงานจากพืช เช่น รถที่สามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E85

ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ดำเนินการศึกษาให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้ เบื้องต้นอาจมีการใช้มาตรการทางภาษี เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาอย่างจริงจัง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บอกด้วยว่า ไทยควรจะส่งเสริมการผลิตยานยนต์ที่ใช้พลังงานจากพืช (Biofuel) และรถยนต์อีโคคาร์ เพราะสามารถช่วยลดการใช้พลังงานของประเทศลง และยังเกิดประโยชน์ต่อทุกภาคส่วนของประเทศ โดยเฉพาะเกษตรกรจะมีรายได้จากราคาผลผลิตที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วย
stock in focus
***********
07/08/52
'AH-STANLY' รวยเละ ฮอนด้า-มะกันป้อนงาน
กลุ่มยานยนต์ เตรียมเฮ หลังสหรัฐอเมริกาเตรียมชงวุฒิสภาคลอดแผนนำรถเก่าแลกรถใหม่กระตุ้นยอดขายรถ อานิสงส์ยอดผลิตรถใหม่พุ่งทะลัก หนุนส่งออกยานยนต์ไทยส่งตรงถึงสหรัฐ ด้านบิ๊ก AH เปิดบ้านรับโชคหลายเด้ง ออเดอร์ใหม่ทะลัก พ่วงผลงานครึ่งปีหลังถึงคราวรวย ส่วน STANLY และ TKT ขอพึ่งใบบุญจากค่ายฮอนด้าผุดแผนตั้งโรงงานผลิตจักรยานยนต์ส่งญี่ปุ่นเชื่องานไหลกลับเพียบ โบรกไม่รอช้าสั่งลุยทั้งกลุ่มสัญญาณหุ้นฟื้นตัวชัดเจน
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I8173592/I8173592.html
stock in focus
************
06/08/52
"มาสด้า2" มาแน่เปิดตัวปลายปีนี้ ลุยใช้ไทยเป็นฐานผลิต ย้ำขับสนุกช่วงล่างแน่น
มาสด้า 2 มาแน่ ลุยผลิตที่โรงงานระยองของ ออโต้ อัลลายแอนซ์ โอ่แม้จะเป็นรถเล็ก แต่ยังคงเน้นขับสนุก ช่วงล่างแน่นตามแบบฉบับซูมซูม จ่อคิวเปิดตัวปลายปีนี้ ด้านผู้บริหารย้ำไทยเป็นฐานผลิตสำคัญต่อการขยายธุรกิจทั่วโลก
stock in focus
**********
30/07/52
บริษัทรถยนต์ญี่ปุ่นเล็งขยายฐานผลิตในจีน
บริษัทรถยนต์ค่ายบิ๊กทรีของญี่ปุ่น ได้แก่ โตโยต้า มอเตอร์, นิสสัน มอตอร์ และฮอนด้า มอเตอร์ รายงานผลผลิตร่วงลงในเดือนมิ.ย.เนื่องจากวิกฤตการณ์การเงินโลกได้ฉุดยอดขายของบริษัทดิ่งลง ส่งผลให้บริษัทวางแผนที่จะขยายฐานการผลิตในประเทศจีน รวมทั้งผลิตรถยนต์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
stock in focus
***********
29/07/52
"นิสสัน" ขาดทุนสุทธิ 1.65 หมื่นล้านเยนช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย. เหตุดีมานด์ซบเซา
Source - IQ Biz (Th) Wednesday, July 29, 2009 16:42
อินโฟเควสท์ (29 ก.ค. 52)--นิสสัน มอเตอร์ โค บริษัทผลิตยานยนต์รายใหญ่อันดับ 3 ของญี่ปุ่น ขาดทุนสุทธิ 1.653 หมื่นล้านเยนในช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย. เปรียบเทียบกับตัวเลขกำไรสุทธิ 5.28 หมื่นล้านเยนในช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยยังคงส่งผลกระทบต่ออุปสงค์ยานยนต์ทั่วโลก อย่างไรก็ตาม บริษัทยังสามารถทำกำไรจากการดำเนินงานได้ 1.16 หมื่นล้านเยน แม้ว่ากำไรดังกล่าวจะร่วงลงจากปีที่แล้วถึง 85.5% ก็ตาม ซึ่งต้องยกความดีความชอบให้กับเงินเยนที่อ่อนค่าเกินคาด ยอดขายรถของนิสสันในช่วงไตรมาสดังกล่าวลดลง 35.5% แตะ 1.51 ล้านล้านเยน เนื่องจากยอดขายรถยนต์ร่วงลงแบบเลขสองหลักในทุกตลาด ยกเว้นในจีน นิสสันเปิดเผยว่ายอดขายทั่วโลกลดลง 22.8% เหลือ 723,000 คันเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว โดยยอดขายในสหรัฐลดลง 31.5% แตะ 173,000 คัน, ในญี่ปุ่นลดลง 21.6% เหลือ 116,000 คัน, ในยุโรปร่วง 24.6% เหลือ 118,000 คัน ส่วนในจีนเพิ่มขึ้น 9.3% แตะ 145,000 คัน สำหรับทั้งปีงบการเงินซึ่งจะสิ้นสุดเดือนมี.ค.ปีหน้า นิสสันยังคงคาดการณ์ว่าจะขาดทุนสุทธิ 1.7 แสนล้านเยน และขาดทุนจากการดำเนินงาน 1 แสนล้านเยน ในปีงบการเงิน 2551 นิสสันขาดทุนสุทธิถึง 2.3371 แสนล้านเยน ซึ่งเป็นการขาดทุนครั้งแรกนับตั้งแต่ปีงบการเงิน 2542 อย่างไรก็ตาม คาร์ลอส โกสน์ ประธานนิสสัน กล่าวในแถลงการณ์ว่า "ปีนี้ยังคงเป็นปีที่ยากลำบาก แต่เราเริ่มเห็นสัญญาณในเชิงบวกอันเป็นผลมาจากมาตรการต่างๆ ภายใต้แผนฟื้นฟูธุรกิจของเราแล้ว" สำนักข่าวเกียวโดรายงาน
csg,stock in focus
***************
29/07/52
"ฮอนด้า"เผยกำไรQ1สูงเกินคาด พร้อมปรับเพิ่มคาดการณ์ผลประกอบการปี 52 เหตุได้แรงหนุนจากแผนฟื้นศก.ของรบ.ญี่ปุ่น Source - IQ Biz (Th) Wednesday, July 29, 2009 14:54
อินโฟเควสท์ (29 ก.ค. 52)--บริษัท ฮอนด้า มอเตอร์ ซึ่งเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 2 ของญี่ปุ่น รายงานผลกำไรสุทธิ 7.56 พันล้านเยนในช่วงเดือนเม.ย.-มิ.ย.ปีนี้ ดิ่งลง 95.6% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากความต้องการยานยนต์หดตัวลงทั่วโลก อย่างไรก็ตามกำไรไตรมาสแรกของฮอนด้ายังดีกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าอาจขาดทุน สำหรับผลกำไรจากการดำเนินงานในช่วงไตรมาสดังกล่าวของปีงบการเงินปัจจุบันซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมี.ค. 2553 อยู่ที่ 2.52 หมื่นล้านเยน ลดลง 88.0% จากปีก่อน จากยอดขาย 2.0 ล้านล้านเยน ลดลง 30.2% ทั้งนี้ แม้กำไรทรุดฮวบลง แต่ฮอนด้าก็ได้ปรับเพิ่มคาดการณ์ผลกำไรปี 2552 เนื่องจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลญี่ปุ่นช่วยหนุนยอดขายรถยนต์ประหยัดพลังงานของฮอนด้า โดยฮอนด้าคาดว่ากำไรสุทธิในปีนี้จะมีอยู่ทั้งสิ้น 5.5 หมื่นล้านเยน หรือ 584 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จากที่ประเมินก่อนหน้านี้ที่ 4.0 หมื่นล้านเยน มาโมรุ คาโตะ นักวิเคราะห์จากศูนย์วิจัยโตเกอิ โตเกียวกล่าวว่า รัฐบาลสหรัฐ เยอรมนี ญี่ปุ่น และจีน ต่างประกาศใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจซึ่งช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุน อีกทั้งใช้นโยบายลดหย่อนภาษี และสนับสนุนการนำรถยนต์เก่ามาแลกกับรถยนต์ใหม่รุ่นที่ประหยัดพลังงาน โดยนโยบายเหล่านี้มีเป้าหมายที่จะเพิ่มดีมานด์รถยนต์ หลังจากดีมานด์รถยนต์ทั่วโลกหดตัวลงอย่างหนักจนเป็นเหตุให้เจนเนอรัล มอเตอร์ (จีเอ็ม) และไครสเลอร์ แอลแอลซี ล้มละลาย บลูมเบิร์กรายงานว่า ฮอนด้าได้ลดปริมาณการผลิตเพื่อระบายรถยนต์ในสต็อกให้อยู่ในปริมาณที่สอดคล้องกับดีมานด์ ส่วนผลผลิตรถยนต์ของฮอนด้าเดือนมิ.ย.ปรับตัวลดลงเป็นเดือนที่ 11 และในช่วง 6 เดือนแรกบริษัทผลิตรถยนต์ได้ทั้งสิ้น 1.32 ล้านคัน ลดลง 34% โดยยอดขายรถยนต์ในยุโรปร่วงลง 12% ซึ่งเป็นสถิติที่ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบหลายเดือน --อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียง
cgs,stock in focus
*********
28/07/52
ยอดขายโตโยต้าทั่วโลก 6 เดือนแรกลดลง 26.6%
โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ป บริษัทผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่สุดของญี่ปุ่นและของโลก บอกว่า ยอดขายยานยนต์ในประเทศช่วงเดือนมกราคม –มิถุนายน 2552 ร่วงลง 26.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน มาอยู่ที่ 593,173 คัน ขณะที่ยอดขายทั่วโลกร่วงลง 26% มาอยู่ที่ประมาณ 3.56 ล้านคัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอยส่งผลกระทบต่อความต้องการยานยนต์

ยอดขายในประเทศที่ลดลงกำลังส่งสัญญาณคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น เมื่อพิจารณาจากยอดขาย 112,591 คัน ของโตโยต้าในเดือนมิถุนายน ซึ่งแม้ว่าจะลดลง 11.4% เมื่อเทียบกับปีก่อน แต่ก็ถือว่ายังดีกว่า เมื่อเทียบกับยอดขายเดือนพฤษภาคมที่ทรุดลงกว่า 20%

นอกจากนี้ โตโยต้ายังได้กำลังใจจากยอดขายรถพรีอุส ไฮบริดรุ่นใหม่ ซึ่งเปิดตัวเมื่อช่วงกลางเดือนพฤษภาคม เพราะได้อานิสงส์จากแผนการงดเว้นภาษีและให้เงินอุดหนุนแก่รถยนต์ประหยัดพลังงานของรัฐบาลญี่ปุ่น

ทั้งนี้โตโยต้า มีส่วนแบ่งตลาดในประเทศ ไม่รวมมินิคาร์ อยู่ที่ 45.5% ลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน ส่วนผลผลิตในประเทศร่วงลง49% แตะ 1,101,021 คัน และผลผลิตทั่วโลกลดลง 43.1% แตะ 2,539,673 คัน ในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/MoneylineNews/tabid/89/newsid491/94007/Default.aspx
stock in focus
************
24/07/52
โตโยต้าเล็งปิดโรงงานประกอบรถที่แคลิฟอร์เนีย หลังจีเอ็มถอนร่วมทุน
อินโฟเควสท์ (24 ก.ค. 52)--โตโยต้า มอเตอร์ เผยจะปิดโรงงานประกอบรถที่รัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งก่อนหน้านี้ บริษัทได้บริหารงานในลักษณะร่วมทุนกับบริษัท เจนเนอรัล มอเตอร์ส (GM) มาเป็นเวลานานถึง 25 ปี แต่หลังจากที่จีเอ็มต้องเข้าสู่ขบวนการพิทักษ์จากการล้มละลายทำให้จีเอ็มตัดสินใจถอนหุ้นจากการร่วมทุนในโรงงานดังกล่าวในที่สุด นับเป็นครั้งแรกที่บริษัทโตโยต้าตัดสินใจปิดโรงงานในต่างประเทศ

บลูมเบิร์กรายงานว่า โรงงานผลิตรถดังกล่าวอยู่ภายใต้การบริหารของบริษัท นิว ยูไนเต็ด มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง หรือ Nummi ซึ่งก่อนหน้านี้เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างโตโยต้าและจีเอ็ม โดยโตโยต้าจะเจรจาต่อรองเรื่องระยะเวลาในการปิดโรงงานกับบริษัท มอเตอร์ส ลิควิเดชั่น ซึ่งเป็นบริษัที่รับผิดชอบเรื่องการดูแลสินทรัพย์ที่จีเอ็มต้องการขายตามขบวนการพิทักษาจากาการล้มละลาย

ยอดขายรถในสหรัฐที่ทรุดลงอย่างหนักจนแตะระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2546 นั้น ทำให้โตโยต้าต้องใช้ความพยายามในการเอาตัวรอดเพื่อรักษาโรงงานในอเมริกาเหนือไว้ โดยที่ไม่ต้องมีการปิดโรงงานหรือลดจำนวนพนักงาน ด้านจีเอ็มเคยกล่าวไว้เมื่อเดือนมิ.ย.ว่า บริษัทจะยกเลิกโรงงานประกอบรถ Pontiac Vibes ที่โรงงานของ Nummi และยุติการร่วมทุนตามแผนการปรับโครงสร้างองค์กร

แอรอน แบรกแมน นักวิเคราะห์ของไอเอชเอส โกลบอล อินไซท์ กล่าวว่า หากไม่มีโควต้าการผลิตรถจากจีเอ็มด้วยแล้ว การทำธุรกิจที่โรงงานแห่งนี้ต่อไปก็คงจะไม่คุ้มทุน และหากมีการปิดโรงงานไป โตโยต้าเองก็คงจะได้รับผลกระทบเช่นกัน

โรงงานที่แคลิฟอร์เนียมีความสามารถในการผลิตรถยนต์และรถปิคอัพ 420,000 คันต่อปี และสามารถทำเงินได้เมื่อปี 2535 เพราะได้มีการนำกฎระเบียบเรื่องภาษี แรงงาน และมลภาวะของรัฐแคลิฟอร์เนียมาใช้

stock in focus,ข่าวอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน
********
24/07/52
สรุปข่าว หนังสือพิมพ์ทันหุ้น
24 ก.ค.--ทันหุ้น

ยานยนต์หนุนเหล็กต้นน้ำ 'SAT-STANLY' ถึงคิวผงาด
ยานยนต์เตรียมสตาร์ตเครื่องรอครึ่งปีหลังธุรกิจฟื้น หลังรัฐอัดฉีดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ พร้อมผลักดันเหล็กต้นน้ำ หนุนต่างชาติลงทุนไทย เชื่อต้นทุนเหล็กลดฮวบรับอานิสงส์เต็มสูบ ด้านบิ๊ก SAT ออกโรงหนุนลดการนำเข้าไม่พึ่งพาต่างชาติ ส่วน CWT หวั่นรัฐผูกขาดหนุนต่างชาติถือหุ้น 100% หวั่นโดนเอาเปรียบ ด้านเซียนหุ้นออกแรงเชียร์ ครึ่งหลังแนวโน้มสดใส
**********
'BOI' ขานรับโรงเหล็กต้นน้ำ กระตุ้นรัฐส่งเสริมอุตฯยานยนต์
กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สอท. ขานรับโครงการเหล็กต้นน้ำในประเทศไทย หวังเพิ่มศักยภาพการผลิตรถยนต์ของไทย พร้อมมั่นใจ โครงการเหล็กสามารถอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมและชุมชนได้ โดยรัฐบาลต้องมีนโยบายและการดำเนินงานอย่างจริงจัง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชุมชน
stock in focus ,ข่าวอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วน ,sat ,stanly

**********
23/07/52
กลุ่มยานยนต์ส.อ.ท.หนุนโครงการเหล็กต้นน้ำ เชื่อลดต้นทุนผลิตรถยนต์ กรุงเทพฯ--23 ก.ค.--รอยเตอร์ กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) หนุนการจัดตั้ง โครงการเหล็กต้นน้ำในไทย หลังมีผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกให้ความสนใจลงทุน โดยมองจะช่วยเพิ่ม ศักยภาพในการแข่งขัน และทำให้ต้นทุนการผลิตรถยนต์ลดลง "ปัจจุบันรถยนต์ใช้เหล็กเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตชิ้นส่วนกว่า 50% โดยเฉพาะ เหล็กคุณภาพสูง ซึ่งแต่ละปีผู้ผลิตรถยนต์และผู้ผลิตชิ้นส่วน ต้องนำเข้าจากต่างประเทศเป็น จำนวนมาก เพราะประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตเหล็ก ที่มีคุณลักษณะพิเศษตามที่บริษัทผลิต รถยนต์ต้องการได้" นางเพียงใจ แก้วสุวรรณ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ ส.อ.ท. กล่าวในเอกสารเผยแพร่ ปัจจุบันไทยอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสม และที่ตั้งของโครงการผลิตเหล็ก ต้นน้ำคุณภาพสูง เพื่อให้โครงการสามารถพัฒนาด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ขณะที่ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ของโลกที่ให้ความสนใจลงทุน ในโครงการผลิตเหล็กต้นน้ำ ในไทย ได้แก่ นิปปอน สตีล ,บริษัท เจ เอฟ อี สตีล จากญี่ปุ่น ,บริษัท บาว สตีล จาก จีน และบริษัท อาร์ซิลอมิตัล จากเนเธอร์แลนด์ นางเพียงใจ เห็นว่าหากมีการตั้งโรงเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูงในไทย เชื่อว่าจะช่วย เพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยมากยิ่งขึ้น เพราะจะทำให้ต้นทุน หลักของการผลิตรถยนต์ คือต้นทุนวัตถุดิบ และค่าขนส่งลดลง ขณะที่คุณภาพของเหล็กก็ได้ มาตรฐานตามที่ต้องการ นอกจากนี้ โครงการเหล็กต้นน้ำคุณภาพสูง จะก่อให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่และ การลงทุนในอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงานจากคนในชุมชน เป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่น รวมไปถึงสร้างรายได้ให้กับประเทศโดยรวม ทั้งนี้ อุตสาหกรรมยานยนต์ มีอัตราการเติบโตปีละประมาณ 20-25% ซึ่งหากไทย มีผู้ผลิตวัตถุดิบและชิ้นส่วนที่มีความเข้มแข็ง จะทำให้ไทยเป็นฐานการผลิตรถยนต์ เพื่อจำหน่ายในประเทศ และส่งออกไปยังต่างประเทศได้จำนวนมากและต่อเนื่อง สามารถ สร้างรายได้ให้ประเทศปีละมากกว่า 7 แสนล้านบาท
https://www.asl.co.th/default.aspx

stock in focus
************
23/07/52
3 ค่ายยักษ์กดดัน อีโคคาร์ลดผลิตแน่
โยนหินถามทางมาเป็นค่ายแรก สำหรับบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ที่ประกาศอย่างเป็นทางการว่าจะขอเข้าไปเจรจากับหน่วยงานของรัฐ

เพื่อขอปรับลดข้อกำหนดสำหรับโครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงาน (อีโคคาร์) ที่ทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือบีโอไอ กำหนดไว้ว่าจะต้องผลิตให้ได้ 1 แสนคัน ในปีที่ 5 นับจากการผลิตปีแรก

ทั้งนี้ เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ โตโยต้า เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ตลาดส่งออกที่กำลังย่ำแย่อยู่ในขณะนี้ รวมถึงตลาดในประเทศที่ยอดจำหน่ายในช่วง 6 เดือนแรกของปีนี้ ยอดขายลดลงไปแล้วถึง 28% ทำให้ต้องมีการพิจารณาตัวเลขการผลิตรถอีโคคาร์กันใหม่

การโยนหินถามทางผ่านสื่อครั้งนี้ ได้รับเสียงตอบรับอย่างดีจากเบอร์ 1 ของค่ายรถยนต์ระดับยักษ์อีก 2 ค่าย ไม่ว่าจะเป็น โนบูยูกิ มูราฮาชิ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซูบิชิ มอเตอร์ส (ประเทศไทย) และอาซึชิ ฟูจิโมโตะ ประธานบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) ที่ออกมากล่าวในทิศทางเดียวกันว่า ปริมาณการผลิตอีโคคาร์ 1 แสนคัน นั้นไม่เหมาะสมกับสถานการณ์เศรษฐกิจในขณะนี้ และหากโตโยต้าจะเป็นแกนนำในการเจรจากับหน่วยงานรัฐ ก็พร้อมที่จะเข้าร่วมการต่อรองครั้งนี้อย่างแน่นอน

เมื่อ 3 ค่ายรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของไทยมีแนวคิดเช่นเดียวกัน แน่นอนว่าย่อมต้องเกิดกระแสกดดันกลับไปยังหน่วยงานรัฐอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทั้งนี้ เพราะค่ายรถยนต์ทั้ง 3 ค่าย ต่างมีกำลังภายในของตัวเอง ที่สามารถกดดันรัฐบาลได้อย่างไม่ยากเย็นนัก เพราะเพียงแค่เงินลงทุนเฉพาะโครงการอีโคคาร์ของทั้ง 3 ค่ายนี้ ก็ปาเข้าไปแล้ว 1.5 หมื่นล้านบาท ยังไม่นับรวมการลงทุนอื่นๆ ที่มีในประเทศไทย

เห็นได้จากฐานภาษีด้านรถยนต์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้น ทั้งหมดผ่านการพยักหน้าของค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นมาแล้วทั้งสิ้น ไม่มีภาษีตัวใดที่ค่ายรถยนต์ไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีสรรพสามิตรถยนต์ ที่แม้ว่าจะอยู่ในอัตราที่สูงแต่ก็มีการแบ่งประเภทอัตราภาษีที่เอื้อกับค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นเกือบทั้งสิ้น

เมื่อเป็นเช่นนั้น การเคลื่อนไหวร่วมกันเช่นนี้ ย่อมต้องทำให้บีโอไอต้องทำการบ้านรับมือเรื่องการปรับลดข้อกำหนดในเรื่องจำนวนการผลิตไว้แต่เนิ่นอย่างแน่นอน

เชื่อว่าในที่สุดบีโอไอจะยอมผ่อนผันยอดการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ให้กับค่ายรถยนต์ทุกค่ายที่ยื่นขอเสนอการลงทุนในโครงการนี้อย่างแน่นอน และปลายปีนี้เราจะได้เห็นการเคลื่อนไหวอย่างเป็นทางการของค่ายรถยนต์ทั้ง 3

การขอปรับลดปริมาณการผลิตรถยนต์อีโคคาร์ในครั้งนี้ ถือว่าเข้าทางโตโยต้ามากที่สุด เพราะที่ผ่านมาโตโยต้าไม่เห็นด้วยในเรื่องของจำนวน 1 แสนคัน ซึ่งบีโอไอกำหนดไว้ตั้งแต่ต้น เพราะมองว่าเป็นปริมาณที่มากเกินไป

เนื่องจากจำนวนค่ายรถยนต์ที่เข้าร่วมโครงการนี้มีมากถึง 5 ราย นั่นหมายถึงจะ มีรถยนต์อีโคคาร์ออกสู่ตลาดในประเทศและตลาดส่งออกมากถึง 5 แสนคัน แบ่งเป็นตลาดในประเทศ 20-30% หรือ 1.5 แสนคัน ส่วนที่เหลือส่งออก
เห็นแค่จำนวนก็บอกได้เลยว่า เหนื่อยแน่ๆ แม้ว่าจะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจดีก็ตาม

หากมองในแง่ของการตลาด ยิ่งรถอีโคคาร์ออกมาสู่ตลาดมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งส่งผลกระทบต่อยอดจำหน่ายรถกระบะมากขึ้นเท่านั้น

นั่นหมายถึงขุมทรัพย์หลักของโตโยต้า กำลังถูกทำลายด้วยสินค้าของตัวเอง เพราะหากรถอีโคคาร์ได้รับความนิยมมากขึ้น ยอดขายรถกระบะจะลดลงแน่นอน เนื่องจาก ลูกค้าส่วนหนึ่งจะซื้อรถเล็กแทนรถกระบะ ด้วยเหตุผลจากราคาน้ำมันที่แพงขึ้น และอัตรา การประหยัดน้ำมันที่รถเล็กได้เปรียบมากกว่า

แม้ว่าโตโยต้าจะมีอีโคคาร์มาเพิ่มยอดขาย แต่นั่นเป็นเพียงตัวเลขที่เพิ่มขึ้นในส่วนของจำนวนเท่านั้น แต่หากมองย้อนกลับไปในส่วนของรายได้นั้นจะสวนทางกันทันที เพราะเมื่อเปรียบเทียบส่วนต่างกำไรระหว่างรถกระบะกับรถอีโคคาร์ รถกระบะสร้างกำไรได้เป็นกอบ เป็นกำได้มากกว่าอีโคคาร์แบบไม่เห็นฝุ่น

ดังนั้น หากให้เลือกโตโยต้า และต้องการรักษายอดขายรถกระบะให้เป็นสินค้าเบอร์ 1 ของบริษัทเอาไว้ให้นานที่สุด เพื่อรักษารายได้ให้เป็นกอบเป็นกำอย่างที่เป็นอยู่ เมื่อเป็นเช่นนั้นการปล่อยให้อีโคคาร์เข้ามาเพ่นพ่านในตลาดในประเทศมากนัก ย่อมไม่เป็นผลดีต่อโตโยต้าเท่าใดนัก

งานนี้ก็ต้องจำกัดประชากรอีโคคาร์ให้อยู่ในปริมาณที่พอเหมาะถึงจะเหมาะสมที่สุด

http://www.posttoday.com/business.php?id=58343

stock in focus
**********
17/07/52
โตโยต้าเผย มิ.ย.52 ตลาดรถยนต์ในประเทศอยู่ที่ 43,402 คัน ลดลง 13.4%

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด เปิดเผยสถิติการขายรถยนต์ในเดือน มิ.ย.52 ว่า มีปริมาณทั้งสิ้น 43,402 คัน ลดลง 13.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มียอดขาย 50,108 คัน พร้อมปรับเป้าหมายการขายลง โดยคาดว่าตลาดรถยนต์ในปีนี้จะมีอัตราการเติบโตลดลงประมาณ 22% ปริมาณการขาย 480,000 คัน ลดลงจากการประมาณการเมื่อตอนต้นปี 7.7%

นายเคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ โตโยต้า กล่าวว่า ในครึ่งปีแรกของปี 52 ตลาดรถยนต์มีอัตราเติบโตลดลง 28% ปริมาณการขายรวม 231,428 คัน เนื่องจากได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากจากวิกฤติการณ์การเงินโลกที่ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยหดตัว

สำหรับแนวโน้มของตลาดรถยนต์ในช่วงหลังของปี 2552 นายทานาดะ คาดว่า ตลาดรถยนต์ในปีนี้จะมีอัตราการเติบโตลดลงประมาณ 22% ปริมาณการขาย 480,000 คัน ซึ่งหดตัวมากกว่าที่ได้ประมาณการเมื่อตอนต้นปีที่ 7.7% โดยแบ่งออกเป็นรถยนต์นั่ง 202,000 คัน ลดลง 10.9% เนื่องจากยังคงมีความต้องการในรถยนต์นั่งขนาดเล็ก ในขณะที่ตลาดรถเพื่อการพาณิชย์ 278,000 คัน ลดลง 28.4% โดยรถกระบะขนาด 1 ตันจะอยู่ที่ 241,000 คัน ลดลง 27.8%
www.posttoday.com
stock in focus

*********
17/07/52
ยอดขายรถประหยัดพลังงานญี่ปุ่นทะลุกว่า 50%
ประธานสมาคมผู้ผลิตยานยนต์ญี่ปุ่นเผยยอดขายรถใหม่ในประเทศเดือนมิ.ย.ถึงกว่าครึ่งหนึ่งเป็นยอดขายรถประหยัดพลังงาน โดยยอดขายรถประหยัดพลังงานเดือนมิ.ย.อยู่ที่ 194,000 คัน หรือคิดเป็น 55% ของยอดขายรถใหม่ทั้งหมดในเดือนมิ.ย. หลังจากที่รัฐบาลญี่ปุ่นได้ออกมาตรการสนับสนุนการใช้รถประหยัดพลังงานด้วยการยกเลิกภาษีแก่ผู้ซื้อรถประหยัดพลังงาน
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/MorningBrief/tabid/104/newsid553/93429/Default.aspx
stock in focus

************
16/07/52
ยอดขายรถอีซูซุ มิ.ย.โต 7.01%
อีซูซุเผยยอดขายรถยนต์ในประเทศ มิ.ย. 4.34 หมื่นคัน โต 7.01% จาก พ.ค.52

บริษัท ตรีเพชรอีซูซุเซลส์ เผยยอดจำหน่ายรถยนต์รวมทุกประเภทในเดือน มิ.ย.52 อยู่ที่ 43,402 คัน เพิ่มขึ้น 7.06% จากเดือน พ.ค.52 โดยโตโยต้าจำหน่ายได้มากที่สุด 18,844 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 43.42% อีซูซุมาเป็นอันดับสอง 8,452 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 19.47% และฮอนด้ามาเป็นอันดับสาม 7,320 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 16.87%

อย่างไรก็ตาม ยอดจำหน่ายรถยนต์รวมทุกประเภทในช่วงครึ่งปีแรกของปี 52(ม.ค.-พ.ค.) จำหน่ายได้ทั้งสิ้น 231,428 คัน ลดลง 28.01% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นการหดตัวลงทุกตลาด โดยตลาดที่หดตัวสูงสุด คือ ตลาดรถตู้และรถขนาดครึ่งตันอื่นๆ โดยหดตัวลงถึง 40.91% ส่วนตลาดรถยนต์นั่งส่วนบุคคลหดตัวลงน้อยที่สุด คือ 13.01%

สำหรับตลาดรถยนต์รวมทุกประเภท โตโยต้าจำหน่ายได้เป็นอันดับหนึ่ง 95,334 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 41.19% อีซูซุมาเป็นอันดับสอง 48,858 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 21.11% และฮอนด้ามาเป็นอันดับสาม 39,967 คัน มีส่วนแบ่งตลาด 17.27%

www.posttoday.com

stock in focus
************
15/07/52
ยานยนต์ยิ้มหั่นภาษีอีโคคาร์ SATจีบฮอนด้าโกยออเดอร์

ทันหุ้น-กลุ่มยานยนต์ยืดอกรับข่าวดี BOI เอาจริง โครงการอีโคคาร์ ไฟเขียวมาตรการลดภาษี นำเข้าวัตถุดิบ ผู้บริหาร SAT “วีระยุทธ กิตะพาณิชย์” ยิ้มรับอานิสงส์ได้ลูกค้าใหม่ หลังซุ่มเจรจากลุ่มฮอนด้าที่ปักธงจำหน่ายรถอีโคคาร์ปี 2554 แบไต๋ดีลจบภายใน 1-3 เดือนนี้ โบรกชี้กลุ่มยายนต์ผ่านขั้นโคม่า เหตุได้ปัจจัยบวกหนุนหุ้นรอบด้าน แนะสอย SAT ที่ราคาเป้าหมาย 8.50 บาท
คณะอนุกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้หารือถึงมาตรการลดหย่อนภาษีอากรขาเข้าวัตถุดิบและชิ้นส่วนยานยนต์ สำหรับการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) ที่ตามกฎหมายส่งเสริมการลงทุนมาตรา 30 กำหนดให้ลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 90% และกำหนดเวลาคราวละไม่เกินครั้งละ 1 ปี และจะมีการนำเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาอีกครั้งในวันที่ 15 กรกฏาคมนี้
สำหรับความคืบหน้าของโครงการส่งเสริมการลงทุนอีโคคาร์ยังคงดำเนินไปตามแผนการที่กำหนด โดยมีโครงการที่เริ่มดำเนินการแล้ว 1 โครงการ ได้แก่ บริษัทนิสสัน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการนำเข้าเครื่องจักร และเตรียมการผลิต โดยจะเริ่มผลิตจริงประมาณต้นปี 2553 ขณะที่บริษัทฮอนด้า อยู่ระหว่างการออกแบบรถ ส่วนบางบริษัทได้เริ่มสั่งแบบพิมพ์รถเข้ามาแล้ว เพื่อเป็นการจูงใจผู้บริโภค และให้รถยนต์สามารถแข่งขันได้ รถอีโคคาร์ จึงควรมีราคาต่ำกว่ารถยนต์ที่ผลิตอยู่ในปัจจุบันประมาณ 1 แสนบาทต่อคัน ซึ่งจะนำเสนอในที่ประชุมด้วย
นายวีระยุทธ กิตะพาณิชย์ กรรมการ บริษัท สมบูรณ์ แอ๊ดวานซ์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) SAT เปิดเผยว่า การเร่งผลักดันโครงการรถกลุ่มอีโคคาร์ และมาตรการลดหย่อนภาษีที่บอร์ดบีโอไอ จะพิจารณาในวันนี้ หากผลสรุปออกมาเป็นข่าวดี เชื่อว่าจะช่วยผลัดดันให้กลุ่มผู้จำหน่ายรถยนต์ความสนใจเข้าโครงการมากขึ้น
http://www.thunhoon.com/home/default.asp
stock in focus
**********
13/07/52
GM เตรียมยุติสัญญาหุ้นส่วนกับผู้ขายรถในมาเลเซีย

General Motors เล็งเปลี่ยนตัวบริษัทตัวแทนจำหน่ายรถ Chevrolet ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ใหม่ หลังมีปัญหากับบริษัทในมาเลเซีย

สื่อของประเทศมาเลเซีย รายงานว่า ผู้ผลิตรถสัญชาติอเมริกัน General Motors อาจยุติข้อตกลงเป็นหุ้นส่วนกับบริษัทจัดจำหน่ายรถ DRB-Hicom ของมาเลเซีย ในเร็ว ๆ นี้ เนื่องจากปัญหาด้านเงินทุนและข้อพิพาทเรื่องหุ้น ซึ่งทั้ง 2 บริษัทตกลงที่จะหาข้อสรุปเรื่องนี้ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม โดย GM กำลังเล็งให้บริษัทอื่นในมาเลเซีย เข้ามารับหน้าที่ต่อเรียบร้อยแล้ว

General Motors และ DRB-Hicom เริ่มต้นการเป็นหุ้นส่วนธุรกิจกันตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2550 โดย DRB ได้ตกลงเป็นผู้จัดจำหน่ายรถ Chevrolet ในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมด ภายใต้บริษัท GM Asia Pacific Holdings ที่มีผู้ผลิตรถอเมริกันถือหุ้นอยู่ 51%

http://www.moneychannel.co.th/Menu6/MorningBrief/tabid/104/newsid553/93141/Default.aspx
***********
13/07/52
ไทยฮอนด้าผงาดฐานผลิต
ไทยฮอนด้าผงาดฐานการผลิตเครื่องยนต์อเนกประสงค์ของโลก หลังบริษัทแม่เท 1,700 ล้านบาท ย้ายฐานผลิตจากญี่ปุ่นมาไทย

นายประกิจ ชุณหชา กรรมการบริหาร บริษัท ไทยฮอนด้า แมนูแฟคเจอริ่ง เปิดเผยว่า บริษัทได้ก่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมลาดกระบัง ด้วยงบลงทุนรวมกว่า 1,700 ล้านบาท เพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิตของบริษัทแม่จากประเทศญี่ปุ่น โดยโรงงานแห่งใหม่มีกำลังผลิต 7 แสนเครื่องต่อปี จะเริ่มผลิตในเดือน ส.ค.นี้ เพื่อส่งออกไปกว่า 80 ประเทศทั่วโลก โดยมีตลาดหลัก อยู่ที่ยุโรปและสหรัฐ
สำหรับเงินลงทุนดังกล่าว แบ่งออกเป็นการสร้างโรงกลึงที่ย้าย มาจากโรงงานที่ถนนบางนา-ตราด 900 ล้านบาท เงินลงทุนสร้างโรงงานแห่งใหม่ที่ย้ายฐานผลิตมาจากญี่ปุ่น 500 ล้านบาท และที่ เหลืออีก 300 ล้านบาท เป็นการลงทุนอื่นๆ โดยเริ่มลงทุนตั้งแต่ปลายปี 2551
http://www.posttoday.com/business.php?id=56769

stock in focus

***********
08/07/52

ศูนย์วิจัยกสิกรคาดตลาดรถยนต์ในช่วงครึ่งปีหลัง แนวโน้มฟื้นตัวเล็กน้อย หลังจากช่วง 5 เดือนแรกทรุดหนักร้อยละ 30.4 คาดยอดรวมทั้งหดตัวร้อยละ24-26

ยอดขายรถยนต์ในประเทศช่วง 5 เดือนแรกของปี 2552 ที่ผ่านมา หดตัวถึงร้อยละ 30.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากจะเป็นเพราะฐานที่สูงในปี 2551 ซึ่งในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2551 มีอัตราการขยายตัวถึงร้อยละ 12.9 แล้ว ผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจซึ่งส่งผลต่อภาวะการลงทุน ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ลดลง และการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะยังส่งผลกระทบต่อตลาดรถยนต์ต่อไปในช่วงครึ่งหลังของปี

สถานการณ์ยอดขายรถยนต์ในประเทศช่วงครึ่งหลังของปี 2552 น่าจะมีปัจจัยบวกมากขึ้น เนื่องจาก
-เศรษฐกิจในประเทศมีสัญญาณปรับตัวดีขึ้น
- อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ยังอยู่ในระดับต่ำ การให้สินเชื่ออาจมีความผ่อนคลายมากขึ้น
-การเปิดตัวรถรุ่นใหม่เข้าสู่ตลาด และกิจกรรมส่งเสริมการตลาดต่างๆ

เศรษฐกิจไทยยังถูกกดดันจากปัจจัยเสี่ยงสำคัญ เช่น
- การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ยังมีความไม่แน่นอนอยู่
- ผลกระทบจากโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009
- เสถียรภาพของรัฐบาล
- ความสามารถในการเบิกจ่ายงบประมาณและเร่งรัดแผนการลงทุนให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ตลาดรถยนต์ในประเทศในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 คาดว่าจะมียอดขายทั้งสิ้นประมาณ 229,000 ถึง 236,000 คัน หดตัวร้อยละ 20.0 ถึง 22.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งปรับตัวดีขึ้นจากครึ่งปีแรกที่มียอดขายประมาณ 226,000 ถึง 228,000 คัน หดตัวประมาณร้อยละ 29.0 ทำให้ยอดขายรวมรถยนต์ในประเทศปี 2552 นี้ หดตัวประมาณร้อยละ 24.0 ถึง 26.0 หรือคิดเป็นจำนวนรถยนต์ประมาณ 455,000 ถึง 464,000 คัน ลดลงกว่าปี 2551 ที่หดตัวร้อยละ 2.7 หรือคิดเป็นจำนวนรถยนต์ 614,078 คัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น