วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและครัวเรือน

28/07/52
เครื่องใช้ไฟฟ้าครึ่งปีหลัง ส่งออกฟื้นไตรมาส 4:ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 28 ก.ค.
--ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

เครื่องใช้ไฟฟ้าครึ่งปีหลัง: ส่งออกฟื้นไตรมาส 4 แต่ในประเทศยังหดตัว (ฉบับส่งสื่อมวลชน)
ในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งประกอบไปด้วยการผลิตเพื่อการส่งออกและ เพื่อการใช้ภายในประเทศได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลก โดยในด้าน ของการส่งออกในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2552 ได้หดตัวลงไปแล้วร้อยละ 26.9 ขณะที่ในด้านของการ ขายในประเทศก็ได้รับผลจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจและความไม่มั่นใจของผู้บริโภคที่แม้ว่ามีการ กระเตื้องขึ้นมาบ้างแต่ก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำ โดยในช่วงครึ่งปีหลัง ท่ามกลางปัจจัยเสี่ยงและความผันผวน ต่างๆ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมีมุมมองต่อภาพรวมของสถานการณ์และปัจจัยที่จะส่งผลต่อแนวโน้มของอุตสาหกรรม

ดังต่อไปนี้

สถานการณ์การส่งออก.. ที่ผ่านมาแม้จะยังหดตัวสูงแต่เริ่มเห็นทิศทางที่ดีขึ้น การส่งออกสินค้าเครื่อง

ใช้ไฟฟ้าของไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 หดตัวร้อยละ 26.9 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยไตรมาส

ที่ 2/2552 การส่งออกหดตัวร้อยละ 23.6 ชะลอลงจากร้อยละ 30.4 ในไตรมาสที่ 1/2552 ขณะที่ใน

รายเดือนก็เช่นเดียวกัน ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมาแม้ว่าการส่งออกจะยังคงหดตัวอยู่ในอัตราสูงแต่ก็เริ่ม

เห็นทิศทางที่ดีขึ้น โดยมูลค่าการส่งออกเดือนมิ.ย. หดตัวร้อยละ 19.9 (YoY) เมื่อเทียบกับเดือนเม.ย.

และเดือนพ.ค. ที่หดตัวร้อยละ 24.0 และ 26.9 ตามลำดับ โดยเมื่อแยกดูในรายประเทศ จะเห็นว่าการ

ส่งออกไปยังประเทศคู่ค้าหลัก ได้แก่ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ ฮ่องกง และสิงคโปร์ ยกเว้นจีน ล้วนแต่ลดลงมาก ขณะ

ที่การส่งออกไปยังประเทศกำลังพัฒนาในเอเชียอื่นๆ อาทิ เวียดนาม อินเดีย มาเลเซีย ได้กลับมาขยายตัว

เป็นบวก

ในช่วงครึ่งหลังของปี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการส่งออกมีแนวโน้มที่จะปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โดยจะเป็นไปในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยโดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่

พัฒนาแล้ว อาทิ ญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศผู้นำเข้าหลัก รวมถึงกลุ่มประเทศยุโรป โดยสภาวะถดถอย

ของเศรษฐกิจในประเทศเหล่านี้จะยังมีผลทำให้การส่งออกชะลอตัวต่อในช่วงไตรมาสที่ 3/2552 อย่างไรก็

ดี ในไตรมาสที่ 4/2552 คาดว่าน่าจะเห็นมูลค่าการส่งออกกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้อีกครั้ง โดยปัจจัย

สนับสนุนที่จะช่วยให้การส่งออกฟื้นตัวช่วงปลายปี ประกอบไปด้วย

- การฟื้นตัวของประเทศจีน และประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ซึ่งเป็นตลาดใหม่ของผู้ส่งออก ที่ได้รับ

ผลกระทบค่อนข้างน้อยจากวิกฤติเศรษฐกิจในครั้งนี้ ตัวอย่างเช่น เวียดนาม อินโดนีเซีย อินเดีย มาเลเซีย

อิหร่าน ซึ่งการส่งออกยังขยายตัวได้ในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ ยังมีประเทศในแถบเอเชีย อาทิ สิงคโปร์

เกาหลีใต้ ไต้หวัน ซึ่งแม้ว่าจะได้รับผลกระทบค่อนข้างมากจากวิกฤติเศรษฐกิจแต่ก็มีแนวโน้มที่จะฟื้นตัวก่อน

สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป

- ในอีกด้าน แนวโน้มของเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ก็อาจส่งผล

ต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศให้มีการซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปีซึ่งเป็นช่วงเทศกาลได้

- ผลดีจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่หลายๆ ประเทศนำมาใช้ ทั้งทางตรง เช่น การให้เงิน

อุดหนุนการซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศญี่ปุ่นและจีน และทางอ้อมโดยการเพิ่มรายได้/อำนาจการซื้อ ของ

ประชาชนในประเทศ

- และผลของฐานของปีก่อนที่ต่ำ โดยในไตรมาส 4/2551 มูลค่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าไทย

ขยายตัวติดลบร้อยละ 17.3 (YoY)

โดยสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีแนวโน้มจะฟื้นตัวก่อนกลุ่มอื่น ได้แก่ กลุ่มตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ

และกลุ่มเครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ จากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกไปยังตลาดในภูมิภาคเอเชียและตลาด

ใหม่ ขณะที่กลุ่มโทรทัศน์และส่วนประกอบนั้นแนวโน้มของการส่งออกขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของอุปสงค์ในสหรัฐฯ

เป็นหลัก ด้านครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบมีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่ากลุ่มอื่นๆ เนื่องจากการชะลอตัวของ

ตลาดยุโรป ทั้งนี้ แนวโน้มของตลาดส่งออกที่มีทิศทางที่ดี คือ จีน เวียดนาม อินเดีย ตามมาด้วยประเทศ

เช่น สิงคโปร์ ไต้หวัน เกาหลีใต้ ซึ่งเศรษฐกิจเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว ส่วนการฟื้นตัวที่ชัดเจนของตลาดสหรัฐฯ

และกลุ่มประเทศยุโรป อาจมีความล่าช้ากว่าตลาดอื่นๆ ตามลำดับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ

ด้านตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าช่วงต้นปี 2552 .. ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจและการเมือง ซึ่ง

ส่งผลต่ออารมณ์และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในการจับจ่าย โดยปริมาณการจำหน่ายสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าใน

ประเทศในหลายๆ สินค้า อาทิ โทรทัศน์ หม้อหุงข้าว ยังหดตัวสูง แต่ในบางสินค้า เช่น ตู้เย็น เครื่องซัก

ผ้า ก็มีการปรับตัวดีขึ้น ซึ่งคงยังต้องติดตามดูสถานการณ์ต่อไปว่าการฟื้นตัวของยอดจำหน่ายในกลุ่มนี้จะเป็น

แนวโน้มในระยะยาวหรือไม่ ทางด้านการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า การเปลี่ยนแปลงของค่าดัชนีผลผลิตในช่วง

เดือน เม.ย. และพ.ค. มีการกระเตื้องขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสแรกของปี อย่างไรก็ตาม พบว่ายังมีความ

ผันผวนรายเดือนค่อนข้างสูง

สำหรับในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 โดยรวมแล้ว ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าใน

ประเทศช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มที่จะยังชะลอตัวอยู่เนื่องจากความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดสาย

พันธุ์ใหม่และการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจซึ่งยังเป็นแรงกดดันความเชื่อมั่นและการออกไปใช้จ่ายของผู้

บริโภคในช่วงต่อไป โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ามีปัจจัยที่จะมีอิทธิพลต่อการผลิตและการบริโภคเครื่องใช้

ไฟฟ้าในประเทศประกอบไปด้วยหลายปัจจัยโดยปัจจัยที่คาดว่าจะสนับสนุนภาวะตลาดมีดังต่อไปนี้

- การใช้มาตรการการเงินและการคลังเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ซึ่งเม็ดเงินจาก

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 และระยะที่ 2 น่าจะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจมีทิศทางปรับตัวดีขึ้น

และส่งผลดีต่อสภาวะรายได้รวมถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภค นอกจากนี้ การที่ธนาคารแห่งประเทศไทยยัง

คงใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยต่ำต่อไป ก็น่าจะมีส่วนช่วยสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจได้

- การโยกย้ายฐานการผลิตเข้ามาในประเทศไทย เช่น การย้ายฐานของผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า

ญี่ปุ่นเข้ามาในไทยเมื่อช่วงปลายปี 2551 โดยหวังให้ไทยเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของภูมิภาคเอเชีย น่าจะมี

ผลในการกระตุ้นตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าให้มีความคึกคักมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มการแข่งขันระหว่าง

ผู้ประกอบการในตลาด

- การแข่งขันระหว่างผู้ผลิตเพื่อแย่งฐานลูกค้า ในช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว ยกตัวอย่างเช่น การ

จัดแคมเปญและโปรโมชั่นต่างๆ มากขึ้น การออกสินค้าใหม่เพื่อกระตุ้นตลาด ซึ่งก็อาจมีผลต่อผู้บริโภคใน

ระดับหนึ่ง อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่งก็มีการแข่งขันด้านราคาทั้งในระหว่างผู้ประกอบการที่อยู่ในประเทศ

และระหว่างโลคัลแบรนด์กับสินค้าจีนโดยเฉพาะในตลาดระดับกลาง-ล่าง โดยแรงกดดันด้านราคาอาจส่งผล

ต่อยอดขายของเครื่องใช้ไฟฟ้าแม้ว่าปริมาณการขายจะเพิ่มขึ้น



ทางด้านปัจจัยเสี่ยง ที่สำคัญที่สุด ได้แก่

- การชะลอตัวของอุปสงค์ในประเทศจากสภาพเศรษฐกิจที่แม้ว่าจะผ่านจุดต่ำสุดของช่วงเศรษฐกิจถด

ถอยมาแล้ว แต่แรงขับเคลื่อนที่มีต่อภาคบริโภคยังคงอ่อนแอ ขณะเดียวกันความต้องการจากภาคธุรกิจก็ยังซบ

เซาเนื่องจากการชะลอตัวของโครงการสร้างที่อยู่อาศัยและสำนักงาน ซึ่งจะทั้งกระทบยอดขายโดยรวม

และทำให้การขายของเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือนชิ้นใหญ่ อาทิ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ และสินค้า

ประเภทเครื่องเสียงและโทรทัศน์ อาจได้รับผลกระทบค่อนข้างมากเมื่อเทียบกับเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กที่มี

ราคาย่อมเยากว่า นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากด้านการเมืองซึ่งอาจมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยใน

ช่วงปลายปี

- ความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ น้ำมันและวัตถุดิบ ซึ่งทำให้การวางแผนการจัดซื้อและการ

ผลิตมีความท้าทายมากขึ้น ขณะที่ในด้านการบริโภค หากราคาน้ำมันมีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง

ปลายปีก็อาจส่งผลกระทบต่ออำนาจซื้อของประชาชนได้

- ปัจจัยจากการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ซึ่งอาจทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงไตร

มาสที่ 3/2552 และไตรมาสที่ 4/2552 ตามฤดูกาล และอาจส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกในการใช้จ่าย

ของประชาชน นอกจากนี้ การแพร่ระบาดของโรคยังเป็นปัจจัยที่อาจทำให้การจัดงานมหกรรมแสดงสินค้า

และงานอีเวนต์ต่างๆ ของผู้ผลิตที่หวังกระตุ้นยอดขายในช่วงครึ่งหลังของปี อาจมีจำนวนลดลงหรือไม่คึกคัก

เท่าที่ควร

อย่างไรก็ตาม ในอีกด้านหนึ่ง การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ฯ ซึ่งทำให้ประชาชน

เกิดความรู้สึกตื่นตัวและระวังรักษาสุขภาพมากขึ้น เป็นโอกาสทางการตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าบางกลุ่ม เช่น

เครื่องฟอกอากาศ เครื่องปรับอากาศที่มีระบบฟอกอากาศ เครื่องอบโอโซน หรือแม้แต่เครื่องทำน้ำอุ่น ซึ่ง

ได้รับอานิสงส์จากกระแสความใส่ใจในสุขภาพของผู้บริโภค เป็นสินค้าที่มีแนวโน้มว่าจะขยายตัวดีในปีนี้ ขณะ

เดียวกันการที่คนอยู่กับบ้านมากขึ้นหรือหลีกเลี่ยงการไปโรงภาพยนตร์ก็อาจเป็นโอกาสทำตลาดของสินค้ากลุ่ม

เอวี เช่น โทรทัศน์ ชุดโฮมเธียเตอร์ เครื่องเล่นดีวีดี กลยุทธ์สร้างโอกาสบนวิกฤติจากการระบาดของไข้

หวัดใหญ่ฯ จึงเป็นแนวทางหนึ่งของผู้ประกอบการในการผลักดันยอดขายในครึ่งหลังของปีนี้ เช่น ทำโปร

โมชั่นขายชุดโฮมเธียเตอร์แถมเครื่องฟอกอากาศหรือแถมบลูเรย์ เป็นต้น

นอกจากกลุ่มสินค้าที่กล่าวไปข้างต้น กลุ่มสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กก็เป็นกลุ่มที่ยังสามารถขยาย

ตัวได้ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวเนื่องจากมีราคาไม่แพงผู้บริโภคตัดสินใจซื้อได้ง่าย ส่วนสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้า

ในครัวเรือนขนาดใหญ่อื่นๆ เช่น ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศรุ่นธรรมดา คาดว่าในปีนี้มีแนวโน้มชะลอตัวเนื่อง

จากผู้บริโภคชะลอการซื้อสินค้าใหม่ขณะที่การซื้อเพื่อทดแทนมีน้อย อย่างไรก็ตาม การขายเครื่องใช้ไฟฟ้าใน

ครัวเรือนอาจมีโอกาสปรับตัวดีขึ้นได้หากภาคอสังหาริมทรัพย์ฟื้นตัวได้เร็ว

โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าในช่วงครึ่งปีหลังอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของไทยจะ

ยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายหลายประการ โดยในด้านของการส่งออก คาดว่าแนวโน้มของการส่งออกใน

ช่วงต่อไปอาจปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น แม้ว่าจะเป็นไปในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป โดยการส่งออกเครื่อง

ใช้ไฟฟ้าจากไทยน่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในไตรมาสสุดท้ายของปีเมื่อเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัวและ

ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคกลับคืนมา โดยมีปัจจัยบวกจากการฟื้นตัวของประเทศจีนและประเทศกำลังพัฒนา

อื่นๆ ที่เป็นตลาดใหม่ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่หลายๆ ประเทศได้มีการนำมาใช้ และผลของฐานในปี

ก่อน อย่างไรก็ตาม โดยรวมทั้งปี 2552 ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าในช่วงครึ่งปี

หลังจะหดตัวร้อยละ 1 ถึงร้อยละ 7 ชะลอลงจากร้อยละ 26.9 ในช่วงครึ่งปีแรก ส่งผลให้ตลอดทั้งปี

2552 การส่งออกอาจหดตัวในช่วงร้อยละ 13 ถึงร้อยละ 17 (มูลค่าประมาณ 15,000-15,700 ล้าน

ดอลลาร์สหรัฐฯ) โดยสินค้าส่งออกที่คาดว่ามีแนวโน้มฟื้นตัวเร็ว คือ กลุ่มตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ

และกลุ่มเครื่องซักผ้าและส่วนประกอบ ซึ่งตลาดในเอเชียมีการกระเตื้องขึ้นตามสัญญาณการฟื้นตัวของ

เศรษฐกิจ ส่วนกลุ่มเครื่องปรับอากาศน่าจะฟื้นตัวได้ช้ากว่าเนื่องจากการชะลอตัวของตลาดยุโรป

ด้านการบริโภคภายในประเทศ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่าตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศช่วงครึ่งปี

หลังจะยังคงมีแนวโน้มหดตัวอยู่ สาเหตุหลักจากภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจซึ่งเป็นปัจจัยกดดันอุปสงค์ใน

ประเทศ ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ความเสี่ยงในเรื่องของไข้หวัดใหม่สายพันธุ์

ใหม่ฯ และปัจจัยการเมือง ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในประเทศทั้งปีอาจลดลงร้อยละ 5 ถึง

ร้อยละ 7 (มูลค่าประมาณ 75,000-77,000 ล้านบาท) อย่างไรก็ดี ผลจากการตื่นตัวของประชาชนเรื่อง

ไข้หวัดฯ อาจทำให้สินค้าบางกลุ่ม เช่น เครื่องฟอกอากาศ เครื่องปรับอากาศที่มีเครื่องฟอกอากาศ เครื่อง

อบโอโซน เครื่องทำน้ำอุ่น เติบโตได้ดี นอกจากเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดเล็กซึ่งเป็นกลุ่มที่น่ายังสามารถขยาย

ตัวได้ในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัว

ทั้งนี้ ในช่วงที่ตลาดยังมีความเสี่ยงรอบด้าน ในส่วนของผู้ประกอบการควรมีการปรับตัวโดยการเพิ่ม

ความระมัดระวังในการดำเนินธุรกิจทั้งด้านการผลิต การขาย และการบริหารจัดการ โดยสำหรับการขาย

ในประเทศ ผู้ประกอบการควรเลือกทำแคมเปญการตลาดอย่างคุ้มค่าและมีประสิทธิภาพโดยการเน้นไปยัง

กลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน โดยการพัฒนาภาพลักษณ์ของสินค้าที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของคน เช่น การเน้นใน

เรื่องของดีไซน์ให้มากขึ้น เพื่อจับตลาดกลาง-บน และโดยการรักษาฐานลูกค้าเดิมด้วยการสร้างความเข้ม

แข็งด้านบริการหลังการขาย ทั้งนี้ เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดในภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ผู้ประกอบการควร

ต้องมีการควบคุมต้นทุนเพื่อให้ราคาสินค้าสามารถแข่งขันกับรายอื่นๆ ได้ ส่วนกลยุทธ์ทางการตลาดอื่นๆ ที่จะ

ช่วยกระตุ้นตลาดในช่วงครึ่งปีหลัง อาจทำได้ด้วยการเพิ่มโปรโมชั่นโดยการแถมสินค้าเพื่อดึงดูดผู้ซื้อ การให้

สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับลูกค้าเก่าที่กลับมาซื้อสินค้าอีกครั้ง และการออกสินค้ารุ่นพิเศษที่อาจมีสีสัน

รูปลักษณ์ หรือฟังก์ชั่นที่เปลี่ยนไปเล็กน้อยเพื่อสร้างบรรยากาศทางการตลาด เป็นต้น ในขณะเดียวกัน ผู้

ประกอบการก็ไม่ควรละเลยที่จะลงทุนเพื่อปรับปรุงนวัตกรรมของสินค้าอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาความสามารถ

ในการแข่งขันระยะยาว โดยสินค้าที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีในระยะยาว คือ สินค้ากลุ่มที่มีนวัตกรรมการ

ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยีเพื่อสุขภาพ เช่น ตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศที่

มีระบบปล่อยอนุภาคไฟฟ้าขจัดเชื้อโรค ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่มีมาร์จินสูง

ในด้านที่เกี่ยวข้องการการค้าระหว่างประเทศ ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ส่งออกควรมีการติดตามแนวโน้ม

เศรษฐกิจในต่างประเทศ มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ซึ่งอาจเป็นโอกาสในการส่งออกสำหรับสินค้า

บางประเภทอย่างเช่นที่เกิดขึ้นในจีนและญี่ปุ่น ทั้งนี้ผู้ส่งออกควรมีการกระจายความเสี่ยงไปยังตลาดใน

เอเชียและตะวันออกกลางอื่นๆ ที่ยังสามารถขยายตัวได้ และปรับการผลิตให้มีความยืดหยุ่นเพื่อรองรับการ

กลับมาของคำสั่งซื้อในอนาคต นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังควรมีการทำประกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน

และประเมินสัญญาซื้อขายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในภาวะที่เศรษฐกิจโลกยังไม่นิ่งและแนวโน้ม

ราคาในตลาดโลกยังมีความผันผวน

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจ

รับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ

อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้

ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น

บริษัทฯจะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้

จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น
stock in focus,
************
24/07/52
ซัมซุงทุบสถิติอีก ขาย LEDTV 100 วันยอดทะลุ 5 แสนยูนิต

ซัมซุงทุบสถิติแอลอีดีทีวี กวาดยอดขายทะลุ 500,000 เครื่องทั่วโลกหลังจากเปิดตัวอย่างเป็นทางการเพียง 100 วัน เผยยอดสูงเกินสองเท่าของยอดจำหน่ายแอลอีดีทีวีทั้งหมดรวมกันทั่วโลกเมื่อปี 2551

stock in focus ,กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและครัวเรือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น