วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข่าวการเงิน การธนาคาร การลงทุน

21/09/52
กลุ่มธนาคารพาณิชย์: "เท่ากับตลาด"
- บล.เอเซีย พลัส
Source - บมจ.หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส (Th) Monday, September 21, 2009 08:50 47018 XTHAI XECON XCORP XFINSEC XFINMKT KBANK KTB V%COMMENT P%ASP กลุ่มธนาคารพาณิชย์ (BANK) - เท่ากับตลาด Banking Index 265.66 จุด มูลค่าตลาด 1,081,543 ล้านบาท สถานการณ์สินเชื่อสุทธิเดือน ส.ค.2552 กระเตื้องขึ้น...นำโดย KBANK, SCB * สินเชื่อสุทธิ ส.ค.52 กลับมาเติบโต 0.06% mom นำโดย KBANK SCB * ช่วยสร้างความมั่นใจถึงทิศทางสินเชื่อโดยรวมใน 2H52 * คงน้ำหนักเท่ากับตลาด...Top picks KBANK และ KTB FACT: สินเชื่อสุทธิ ส.ค.52 กลับมากระเตื้องขึ้น 0.06% mom ธ.พ. 6 แห่งที่ฝ่ายวิจัยศึกษา (ไม่รวม BAY เพราะยังไม่นำส่งรายงาน ธ.พ.1.1) มียอดสินเชื่อสุทธิ (หลังหักค่าเผื่อหนี้ฯ) คงค้างในเดือน ส.ค.52 เท่ากับ 4.32 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.63 พันล้านบาท จากเดือน ก.ค.52 หรือเพิ่มขึ้น 0.06% mom ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นครั้งแรกในรอบ 5 เดือนที่ผ่านมา จากที่ติดลบต่อเนื่องกันในระยะ 4 เดือนก่อนหน้า แม้การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อสุทธิรวมจะยังไม่มากนัก แต่ถือว่าเป็นสัญญาณที่ดีขึ้น โดย ธ.พ. ส่วนใหญ่ล้วนรายงานสินเชื่อสุทธิที่เพิ่มขึ้น (KBANK และ SCB) หรือติดลบในอัตราที่ลดลงมาก (BBL, KTB และ SCIB) จากเดือน ก.ค.52 (ยกเว้น TMB ที่ยังแสดงการลดลงของสินเชื่อสุทธิต่อเนื่อง) สำหรับเงินฝากในเดือน ส.ค.52 (ไม่รวม BAY) ซึ่งมียอดคงค้างรวม 5.13 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 7.96 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.58% mom ซึ่งเป็นการเติบโตครั้งแรกในรอบ 4 เดือนที่ผ่านมา จากที่แสดงยอดลดลงต่อเนื่องในช่วง 3 เดือนก่อนหน้า โดย ธ.พ. ที่มีการเพิ่มขึ้นของเงินฝากสูงสุดตามลำดับคือ KBANK, BBL และ KTB IMPACT: ช่วยสร้างความมั่นใจถึงทิศทางสินเชื่อโดยรวมใน 2H52 การกระเตื้องขึ้นของสินเชื่อสุทธิในเดือน ส.ค.2552 น่าจะถือเป็นสัญญาณบวกที่บ่งบอกทิศทางของสินเชื่อสุทธิใน 2H52 ได้ โดยมีปัจจัยสนับสนุนคือ 1) การย่างเข้าสู่ช่วงฤดูกาลสินเชื่อในช่วงครึ่งหลังของทุกปี ซึ่งความต้องการใช้สินเชื่อจะเพิ่มสูงขึ้น และ 2) มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ แม้เม็ดเงินที่อัดฉีดลงสู่ระบบตามแผนการลงทุนของโครงการไทยเข้มแข็ง 2555 มูลค่ารวม 1.4 ล้านล้านบาท ยังเพิ่งอยู่ในช่วงเริ่มต้น โดยผ่านการเพิ่มทุนให้กับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของภาครัฐทันที อาทิ Exim Bank, SME Bank และ ธอส. เพื่อใช้เป็นแกนนำในการปล่อยสินเชื่อสู่ภาคเอกชนไปจนถึงกลุ่มรากหญ้าของระบบเศรษฐกิจ รวมถึงเม็ดเงินที่พร้อมลงทุนในทันทีกว่า 2 แสนล้านบาท แต่ในส่วนหลังนี้ คาดว่าจะต้องใช้เวลากว่าเม็ดเงินจะเข้าสู่ระบบเนื่องจากต้องมีขั้นตอนในการประมูลงานของทางภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ฝ่ายวิจัยมีความเห็นว่ากลไกดังกล่าวจะช่วยสร้างความมั่นใจให้เกิดการลงทุนมากขึ้นของภาคเอกชน โดยเฉพาะกลุ่มที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการลงทุนของภาครัฐ จะเริ่มมีการใช้จ่ายสำหรับการเก็บสต็อคสินค้าเพื่อรองรับการลงทุนในอนาคต ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยบวกที่ช่วยสนับสนุนการเติบโตของสินเชื่อสุทธิในงวด 2H52 ให้เติบโตได้ในระดับ 5.1% เพื่อให้เป็นไปตามประมาณการสินเชื่อสุทธิทั้งปี 2552 ที่ประเมินไว้ 2.9% yoy (งวด 1H52 สินเชื่อสุทธิยังติดลบอยู่ถึง 2.2% จากสิ้นปี 2551) ACTION: คงน้ำหนักเท่ากับตลาด...Top picks คือ KBANK, KTB ฝ่ายวิจัยยังคงน้ำหนักลงทุนเท่ากับตลาด ด้วยมุมมองเชิงบวกสำหรับศักยภาพการเติบโตของธุรกิจในปี 2553 โดยเน้นให้ลงทุนในหุ้น ธ.พ ใหญ่ ที่มีความแข็งแกร่งทางการเงินและได้เปรียบในปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ อีกทั้งยังมีส่วนลดมากจากมูลค่าพื้นฐาน ได้แก่ KBANK และ KTB นักวิเคราะห์: อุษณีย์ ลิ่วรัตน์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 017928 e-mail: usanee@asiaplus.co.th
โดย บมจ. หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ประจำวันที่ 21 กันยายน 2552
**********
14/09/52
ธปท.บีบคอแบงก์ลดค่าต๋ง
ธปท.เล็งจัดตั้ง ระบบศูนย์รวมบิลค่าสาธารณูปโภค น้ำ ไฟ หวังลดค่าธรรมเนียมการชำระเงิน

นางทศชนก ลีลาวรรณกุลศิริ ผู้บริหารส่วนนโยบายและกลยุทธ์ระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผย ว่า ธปท.อยู่ระหว่างศึกษาการตั้ง ศูนย์รวมใบแจ้งหนี้หรือบิลค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำ ค่าไฟฟ้า ค่าโทรศัพท์ ฯลฯ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถแจ้งบิลค่าใช้จ่ายต่างๆ มารวมที่ศูนย์นี้แห่งเดียว เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับความสะดวก
ขณะเดียวกัน จะช่วยลดต้นทุนค่ากระดาษ และค่าจัดส่งทางไปรษณีย์ให้กับหน่วยงาน หรือบริษัทผู้ออกบิล และหากดำเนินการได้น่าจะมีผลดีต่อแนวโน้มการคิดค่าธรรมเนียมชำระเงินให้ลดลงจากปัจจุบันอยู่ที่ 10-15 บาทต่อบิล

“ใครอยากรู้ว่าตัวเองมีบิลค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง ก็เข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของศูนย์นี้ และศูนย์นี้ยังสามารถแจ้งรายละเอียดบิลต่างๆ ได้ทางอิเล็กทรอนิกส์หลายๆ ทาง เช่น ผ่านเอสเอ็มเอสเข้ามือถือ หรือส่งเป็นอีเมล กระทั่งแจ้งแค่เลขบัตรประชาชนของเราเพื่อดูข้อมูลบิล ทั้งหมดได้ที่ร้านเซเว่น อีเลฟเว่น ก็ได้” นางทศชนก กล่าว

อย่างไรก็ตาม ยังไม่ชัดเจนว่า จะสามารถดำเนินการได้เมื่อไร เพราะคณะทำงานที่ธปท. ตั้งขึ้น เพิ่งประชุมได้เพียงครั้งเดียว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังมีความเห็นแตกต่างกัน เช่น บริษัทที่ลงทุนระบบจัดการบิลของตัวเองไปแล้ว ก็กลัวจะเสียผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นธนาคารพาณิชย์ บริษัทการเงินที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (นันแบงก์) ไปรษณีย์ เซเว่น อีเลฟเว่น จึงทำให้ยังไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้

นางทศชนก กล่าวว่า การดำเนินงานของคณะทำงานถือเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายการมุ่งลดการใช้เช็คและเงินสดของธปท. และให้ระบบการชำระเงินอำนวยความสะดวกแก่ผู้บริโภคมากขึ้นตามแผนพัฒนาระบบการชำระเงินของไทย ซึ่งในปี 2553 ธปท.จะมุ่งส่งเสริมการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์

ดังนั้น ในการโอนเงินรายใหญ่ ก็ส่งเสริมระบบบาทเน็ต ที่มีการ ตัดบัญชีผู้โอนทันที และผู้รับก็ได้รับเงินเข้าบัญชีทันที ช่วยลดความเสี่ยงในการชำระเงิน ส่วนของการโอนเงินรายย่อย ธปท.ได้ส่งเสริมให้ประชาชนใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิตการ์ด ซึ่งปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ได้ออกแทนบัตรเอทีเอ็มมากขึ้น แต่ยังติดปัญหาค่าธรรมเนียมที่สูง ซึ่งธปท. ต้องหาแนวทางดูแลให้เหมาะสมต่อไป

นอกจากนี้ ในปี 2553 ธปท. ยังส่งเสริมให้ผู้บริโภครายย่อยชำระ ค่าน้ำ ค่าไฟ ผ่านบัญชีบัตรเดบิตของธนาคารพาณิชย์ ระบบเครดิต ทรานสเฟอร์ คือการโอนเงินด้วยการตัดบัญชีของเจ้าของบัญชีไปบัญชีอื่นๆ และระบบสมาร์ต คือการ เลือกรับโอนเงินเดือนผ่านบัญชีธนาคารอื่นๆ ได้

posttoday***********
08/09/52
สินเชื่อแบงก์ส.ค.โตกระฉูด โบรกจ้องเพิ่มเป้ายอดเงินกู้
ทันหุ้น – โบรกส่องสัญญาณหุ้นแบงก์สัปดาห์หน้าได้ข่าวดีประกาศตัวสินเชื่อเดือน สิงหาคม มีแววสดใส หลังเดือนก่อนนี้ติดลบ 5 หมื่นล้านบาท เชื่อปีนี้แบงก์ปล่อยกู้ได้ดีกว่าคาด ส่วนวันนี้แบงก์ใหญ่ BBL-KBANK ตบเท้าขึ้น XD เป็นปัจจัยกดหุ้นแบงก์ชั่วคราว
นายธนัท รังษีธนานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้า(14-18 ก.ย.2552) เป็นช่วงประกาศตัวเลขสินเชื่อเดือนสิงหาคม และ ใกล้แจ้งผลประกอบการไตรมาส 3/2552 จะเริ่มเห็นนักลงทุนเข้ามา “เก็งกำไร”กลุ่มธนาคารพาณิชย์มากขึ้น โดยสินเชื่อเดือนสิงหาคมจะเป็นบวกได้จากเดือนกรกฏาคม ที่สินเชื่อติดลบที่ 50,000 ล้านบาท หรือติดลบ 1% เมื่อเทีบกับเดือน มิถุนายน 2552
โดยเดือนสิงหาคมและเดือนกันยายนรัฐบาลเริ่มออกมาเบิกจ่ายเพื่อลงทุนในโครงการมากขึ้นอีกทั้งผู้บริหารธนาคารยังให้ความเห็นว่ายอดการเบิกจ่ายสินเชื่อผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อม(SME) เริ่มเข้ามาเบิกจ่ายบ้างแล้วและเริ่มเห็นการขอวงเงินสินเชื่อใหม่ เพราะฉะนั้นสินเชื่อเดือนกรกฏาคมจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว และยังส่งผลให้สินเชื่อในไตรมาส 3/2552 ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วเช่นเดียวกัน
วันนี้ (8 ก.ย.52) เป็นการประกาศหุ้นที่ผู้ซื้อไม่มีสิทธิรับเงินปันผล(XD) ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) BBL โดยธนาคารจะจ่ายปันผล 1 บาทต่อหุ้น และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) KBANK จ่ายปันผล 0.50 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นไปตามที่ฝ่ายจัยคาดการณ์ไว้
โดยมองว่าทั้ง 2 ธนาคารจะจ่ายปันผลทั้งปีเท่ากับปี 2551 ที่ BBL จ่ายปันผล 3 บาทต่อหุ้น และ KBANK จ่ายปันผล 2 บาทต่อหุ้น เพราะมองว่าผลการดำเนินงานของทั้งสองธนาคารจะทรงตัวเท่ากับปีที่ผ่านมา เพราะฉะนั้นผู้บริหารจะใช้นโยบายจ่ายเงินปันผลเท่ากับปีที่ผ่านมา อีกทั้งยังเชื่อว่าผู้บริหารของธนาคารพาณิชย์แห่งอื่นก็จะใช้นโยบายคงที่เงินปันผลด้วยเช่นเดียวกัน
เพราะฉะนั้นมีความเป็นไปได้ที่การประกาศขึ้น XD ของหุ้นดังกล่าวอาจจะกระทบมากแต่อาจจทำให้ราคาหุ้นมีความผันผวนในช่วงแรกหรือโดนเทขายออกมาบ้าง แต่เนื่องจากการจ่ายปันผลในรอบนี้ไม่เป็นที่น่าตกใจโดยเป็นการจ่ายปันผลในอัตราคงที่อาจจะไม่กระทบต่อราคาหุ้นเลยก็เป็นไปได้เช่นกัน เพราะมองว่าช่วงนี้นักลงทุนให้ความสนใจลงทุนหุ้นกลุ่มอื่นมากกว่าหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์
ส่วนการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในช่วงนี้แม้จะเริ่มมีปัจจัยเข้ามาสนับสนุนราคาหุ้นไม่ว่าจะเป็นแผนการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐบาลซึ่งเป็นปัจจัยบวกการขยายตัวสินเชื่อ และภาครวมเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวนั้น กลับไม่ใช่ประเด็นที่ทำให้นักลงทุนเข้ามา “เก็งกำไร”ในหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เพราะนักลงทุนต่างมองว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจยังเป็นเพียงนามธรรมเท่านั้น
นายวรุตม์ ศิวะศริยานนท์รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด(มหาชน) กล่าวว่า สินเชื่อเดือน สิงหาคม2552 จะขยายตัวมากกว่าเดือน กรกฎาคม 2552 อย่างแน่นอนตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการเริ่มเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และยังเชื่อว่าสินเชื่อรวมในไตรมาส 3/2552 จะเป็นบวกได้ ส่วนสินเชื่อทั้งปีนั้นอยู่ในช่วงปรับประมาณการเพราะเชื่อว่าสินชื่อจะสูงกว่าที่ฝ่ายวิจัยประมาณการไว้ที่ 10%
www.thunhoon.com
*************
07/09/52
กลุ่มธนาคารพาณิชย์: "เท่ากับตลาด"
- บล.เอเซียพลัส Source - บมจ.หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส (Th)
Monday, September 07, 2009 08:56 9673 XTHAI XECON XCORP XFINSEC XFINMKT V%COMMENT P%ASP
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ (BANK) - เท่ากับตลาด Banking Index 251.38 จุด มูลค่าตลาด 1,023,415 ล้านบาท กลไกสินเชื่อภาครัฐขับเคลื่อน...SME เริ่มฟื้น...บวกต่อทั้ง KTB, KBANK * แผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 พร้อมเดินหน้าทันที * บวกต่อสินเชื่อกลุ่มฯ ในปี 2553...นำโดยสินเชื่อภาครัฐ * ให้น้ำหนักเท่ากับตลาด...Top pick KBANK และ KTB FACT: แผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 พร้อมลงทุนทันที จากการที่ที่ประชุม ครม. ได้มีมติอนุมัติงบประมาณตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 ในส่วนที่จะใช้เม็ดเงินจาก พรก. ที่ให้อำนาจคลังฯ กู้เงินเฉพาะวงเงินลงทุน 2 แสนล้านบาท ประกอบไปด้วยโครงการกว่า 400 โครงการ ตามแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะ 2 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเพิ่มการจ้างงานผ่านโครงการลงทุนของรัฐ ควบคู่การสร้างขีดความสามารถการแข่งขันระยะยาว ในวงเงินที่อนุมัติทั้งสิ้น 1.43 ล้านล้านบาท (เป็นการลงทุนระหว่างปี 2552-2555)ดังแสดงในตาราง ทั้งนี้ โครงการลงทุนดังกล่าว ประกอบด้วย 1) โครงการที่จะสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ และการจ้างงานได้ในทันที ได้แก่ โครงการลงทุนขนาดกลางและขนาดเล็กที่มีการลงทุนกระจายไปทั่วประเทศ และมีการเบิกจ่ายอย่างรวดเร็ว อาทิเช่น โครงการลงทุนด้านแหล่งน้ำและระบบชลประทานขนาดเล็ก โครงการก่อสร้างถนนในชนบท โครงการก่อสร้างโรงเรียน โครงการก่อสร้างสถานีอนามัยขนาดเล็กในชนบท 2) โครงการที่จะส่งผลในระยะปานกลางได้แก่ โครงการลงทุนขนาดกลางและใหญ่ ในด้านระบบ พลังงาน การสื่อสารโครงการสาขาขนส่งมวลชนและระบบราง ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการขนส่ง และเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่ง การใช้พลังงานของประเทศ และ 3) โครงการที่มีผลในระยะยาว ได้แก่ โครงการลงทุนในด้านการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งเป็นโครงการที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และคุณภาพชีวิตของประชาชนในระยะยาว ส่วนแผนการจัดหาเงินทุนสำหรับการดำเนินโครงการคาดว่าจะเป็นการระดมทุนจากตลาดในประเทศเป็นหลัก เนื่องจากสภาพคล่องในตลาดยังมีอีกมาก IMPACT: บวกต่อสินเชื่อกลุ่มฯ ในปี 2553...นำโดยสินเชื่อภาครัฐ แนวโน้มการเติบโตของสินเชื่อสุทธิของกลุ่มฯ อย่างเต็มที่น่าจะเริ่มคาดหวังได้ในปี 2553 นำโดยความต้องการสินเชื่อสำหรับการลงทุนของภาครัฐตามแผนการลงทุนดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ การฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจจะเริ่มส่งผลบวกต่อการฟื้นตัวของผู้ประกอบการในกลุ่มที่มีปัญหาในช่วงที่ผ่านมา โดยเฉพาะกลุ่ม SME เริ่มต้นจากกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว กลุ่มส่งออกอื่นๆ ที่ประสบปัญหาทางการเงินในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ผลจากฤดูกาลการขายในช่วง 3Q52 ซึ่งความต้องการได้เริ่มกลับมาในประเทศหลักๆ ส่งผลให้สามารถผ่านพ้นวิกฤติทางการเงินไปได้ เป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกลุ่มชิ้นส่วนรถยนต์ซึ่งปัจจุบันเห็นสัญญาณการฟื้นตัวแล้วเช่นกัน ทำให้ความต้องการสินเชื่อในภาคเอกชนจะเริ่มฟื้นตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2552 ACTION: คงน้ำหนักเท่ากับตลาด...Top pick คือ KBANK, KTB ฝ่ายวิจัยยังคงน้ำหนักลงทุนเท่ากับตลาด ด้วยมุมมองเชิงบวกสำหรับศักยภาพการเติบโตของธุรกิจในปี 2553 ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยได้ปรับปรุง Fair value ของหุ้นในกลุ่ม ธ.พ.โดยอ้างอิงจากระดับ PBV ในปี 2553 ดังแสดงในตาราง ทั้งนี้หุ้น Top pick ยังคงเลือกหุ้น ธ.พ ใหญ่ ที่มีความแข็งแกร่งทางการเงินและได้เปรียบในปล่อยสินเชื่อรายหญ่อีกทั้งยังมีส่วนลดมากจากมูลค่าพื้นฐาน ซึ่งได้แก่ KBANK และ KTB นักวิเคราะห์: อุษณีย์ ลิ่วรัตน์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 017928 email: usanee@asiaplus.co.th
โดย บมจ. หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ประจำวันที่ 7 กันยายน 2552
cgs,stock in focus
*************
03/09/52
แบงก์กรุงเทพคาดจีดีพีปีนี้ติดลบ2.8-3.6%
ฝ่ายวิจัยธนาคารกรุงเทพคาดจีดีพีปี"52 ติดลบ 2.8-3.6% คาดปี"53 ขยายตัว 2-4% ยอมรับการฟื้นตัวเศรษฐกิจยังมีปัจจัยเสี่ยงจากราคาน้ำมัน-เศรษฐกิจโลก
เผยว่า ประเมินถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2552 คาดว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะหดตัว 2.8-3.6% โดยเชื่อว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) ไตรมาส 4 ของปีนี้ จะพลิกกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ และจากนั้นในปี 2553 จีดีพีจะเติบโตได้ 2-4%

"การลงทุนภาครัฐเป็นตัวหลักขับเคลื่อนเศรษฐกิจในปีนี้ โดยมองว่าการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและการส่งออกน่าจะขยายตัวดีขึ้น แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องราคาน้ำมันและเศรษฐกิจโลก แม้จะเริ่มฟื้นตัวแต่ยังมีแนวโน้มไม่ชัดเจน"ฝ่ายวิจัยธนาคารกรุงเทพระบุ

กรุงเทพธุรกิจ************
03/09/52
สมาคมธนาคารไทยชี้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ไม่ต่ำไปกว่านี้แล้ว

Posted on Thursday, September 03, 2009
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย บอกว่า การเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ธนาคารแห่งประเทศไทย จำนวน 5 หมื่นล้านบาท ในวันนี้ซึ่งเป็นวันแรก น่าจะได้รับการตอบรับจากประชาชนเป็นอย่างดี

เนื่องจากให้อัตราผลการตอบแทนที่ค่อนข้างสูงกว่าพันธบัตรทั่วไป แต่จะสามารถขายได้หมดหรือไม่ ต้องรอดูสถานการณ์ก่อน เพราะกระทรวงการคลังพึ่งจะทำการออกพันธบัตรจำนวน 8 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้เชื่อว่าการออกพันธบัตรระดมเงินครั้งนี้ จะไม่กระทบต่อเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ เพราะในระบบยังคงมีสภาพคล่องสูง

ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ น่าจะยังคงทรงตัวที่ระดับ 1.25% ต่อไป และไม่มีสัญญาณการปรับขึ้น เนื่องจากยังจำเป็นที่ต้องใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ แม้ว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวขึ้น แต่ก็ยังมีความเปราะบาง ส่วนอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์ จะต้องขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการ ซึ่งหากเห็นว่ามีสภาพคล่องไม่เพียงพอ ธนาคารก็จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝาก เพื่อระดมทุนต่อไป ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้น ไม่น่าจะปรับลดลงได้อีก

นายอภิศักดิ์ บอกด้วยว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในขณะนี้เริ่มมีการฟื้นตัวชัดเจน โดยได้ผ่านจุดต่ำสุดในไตรมาสที่ 1 มาแล้ว จึงทำให้เชื่อว่าเศรษฐกิจจะกลับมาเป็นบวกได้ในไตรมาสที่ 4 ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ แต่คงต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง ที่จะทำให้เศรษฐกิจกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

ทั้งนี้ สมาคมธนาคารไทย และธนาคารพาณิชย์ 16 แห่ง และกรมการปกครอง ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยการขอใช้โปรแกรมสำหรับอ่านข้อมูลจากบัตรประชาชน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของบัตรประชาชน ว่าบัตรประชาชนที่ลูกค้านำมาใช้ทำธุรกรรมทางการเงินเป็นบัตรที่ถูกต้องหรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์จำนวนมากได้รับผลกระทบจากการยื่นเอกสารบัตรประชาชนปลอมมาขอสินเชื่อ ทำให้ธนาคารเกิดความเสียหาย

สำหรับธนาคารสมาชิก ที่ติดตั้งโปรแกรมตรวจสอบในครั้งนี้ ประกอบด้วย / /ธนาคารกรุงเทพ //กสิกรไทย //กรุงไทย//ไทยพาณิชย์ //กรุงศรีอยุธยา //ทหารไทย //นครหลวงไทย //ซีไอเอ็มบีไทย //ธนชาต //แสตนดาร์ดชาร์เตอร์ //ยูโอบี //เกียรตินาคิน //สินเอเชีย //ทิสโก้ //ไทยเครดิตเพื่อรายย่อย //และธนาคารแลนด์แอนด์เฮ้าส์เพื่อรายย่อย
moneyline news
************
1/09/52
FUND VIEW:"โมเบียส"ชูหุ้นแบงก์ไทยน่าลงทุนในช่วงนี้
บังกาลอร์--1 ก.ย.--รอยเตอร์
นายมาร์ค โมเบียส ผู้บริหารกองทุนบริษัทเทมเพิลตัน แอสเซท แมเนจเมนท์ กล่าวว่า การลงทุนที่เขาชื่นชอบในช่วงนี้รวมถึงการลงทุนในหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีของไต้หวัน และการลงทุนในหุ้นกลุ่มธนาคารของไทยและบราซิล นายโมเบียสคาดว่า ราคาหุ้นในตลาดเกิดใหม่จะอ่อนลงมาบ้างในอนาคต แต่จะ ยังคงอยู่ในช่วงขาขึ้นที่มีแนวโน้มสดใส นายโมเบียสกล่าวว่า ตลาดหุ้นที่พุ่งขึ้นอย่างแข็งแกร่งที่สุดในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ตลาดหุ้นที่มีความเสี่ยงสูงสุดที่จะปรับฐานครั้งใหญ่ ซึ่งรวมถึงตลาดหุ้นรัสเซีย นายโมเบียสระบุว่า ตลาดหุ้นกลุ่ม BRIC (บราซิล, รัสเซีย, อินเดีย, จีน) อาจปรับฐานลง แต่จะเป็นการปรับฐานเพียงชั่วคราว นายโมเบียสระบุว่า การไต่ขึ้นของตลาดหุ้นขึ้นอยู่กับความเคลื่อนไหวใน ตลาดตราสารหนี้ระยะสั้นและปริมาณเงิน นายโมเบียสกล่าวว่า ความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดในขณะนี้คือการที่ธนาคารกลาง ของประเทศต่างๆหยุดพิมพ์เงินและปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย แต่เขามองว่ามีโอกาสน้อยที่ จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวในระยะใกล้--จบ--
cgs(รอยเตอร์ โดย จิตร โพธิ์แก้ว แปล; กัลยาณี ชีวะพานิช เรียบเรียง)
*************
27/08/52
BOT:ธปท.คาดความต้องการสินเชื่อ Q3/52 เพิ่มขึ้น, มาตรการกระตุ้นศก.หนุน กรุงเทพฯ--27 ส.ค.--รอยเตอร์ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) คาดความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในไตรมาส 3/52 โดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หลัง เศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้น จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล และนโยบาย เร่งปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบาล ขณะที่คาดว่า ความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นผลจากความต้องการสินเชื่อประเภทที่อยู่อาศัย "ในส่วนของความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจโดยรวม คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ขณะที่ความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือน คาดว่าจะ เพิ่มขึ้นจากสินเชื่อประเภทที่อยู่อาศัย" ธปท.ระบุในรายงานแนวโน้มภาวะสินเชื่อของ สถาบันการเงินในไตรมาส 2/52 และแนวโน้มในไตรมาส 3/52 รายงานดังกล่าว ได้จากผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูง ของสถาบันการเงินต่างๆ ที่ดูแลงานด้านสินเชื่อ ซึ่งเป็นการสำรวจในช่วงเดือนก.ค. 52 โดยมีสถาบันการเงินตอบแบบสอบถาม จำนวน 21 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารพาณิชย์ไทย 12 แห่ง, สาขาธนาคารพาณิชย์ ต่างประเทศ 5 แห่ง และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 4 แห่ง ที่ครอบคลุมสินเชื่อมากกว่า 83% ของสินเชื่อทั้งระบบ ธปท.ระบุว่า ในส่วนมาตรฐานการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน จะยังคง ระมัดระวังการให้สินเชื่อต่อไป ตามความกังวลต่อคุณภาพสินเชื่อ แต่การแข่งขันที่มากขึ้น ทั้งจากสถาบันการเงินอื่น และจากตลาดตราสารหนี้ รวมทั้งสภาพคล่องของสถาบันการเงินที่ยังอยู่ในระดับสูง จะช่วยให้สถาบันการเงิน ผ่อนคลายมาตรฐานการให้สินเชื่อแก่ลูกค้าจัดชั้นปกติในระดับหนึ่ง รายงานดังกล่าวระบุว่า แนวโน้มสินเชื่อภาคครัวเรือน ในไตรมาส 3/52 คาดว่าความต้องการสินเชื่อเพื่อทีอยู่อาศัย และสินเชื่อครัวเรือนอื่นๆ จะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย โดยเฉพาะจากแนวโน้มตลาดอสังหาริมทรัพย์ ที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นในครึ่งปีหลัง และอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิต คาดว่าจะลดลงจากความน่าเชื่อถือ ด้านเครดิตของผู้กู้ที่ลดลง ด้านมาตรฐานการให้สินเชื่อภาคครัวเรือนในทุกประเภท จะยังคงเข้มงวดขึ้น เล็กน้อย เนื่องจากความกังวลต่อคุณภาพสินเชื่อ โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัย สะท้อน ว่าสถาบันการเงินยังคงระมัดระวังมากขึ้น ในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลก ยังมีความเปราะบาง สำหรับภาพรวมการปล่อยสินเชื่อในช่วงไตรมาส 2/52 พบว่า ความต้องการ สินเชื่อภาคธุรกิจโดยรวมลดลงเล็กน้อย แต่ความต้องการสินเชื่อภาคครัวเรือนประเภท ที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนหนึ่งมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ ความต้องการสินเชื่อบัตรเครดิต ลดลงจากไตรมาส 1 เนื่องจาก ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังเปราะบาง จากความไม่มั่นใจในความมั่นคงของรายได้ และมาตรฐานการให้สินเชื่อบัตรเครดิตในไตรมาส 2 ยังคงเข้มงวดต่อเนื่อง เนื่องจาก ความสามารถในการชำะหนี้ของผู้ใช้บัตรเครดิตลดลง ธปท.ระบุว่า มาตรฐานการให้สินเชื่อของสถาบันการเงิน ในไตรมาส 2/52 ทั้งภาคธุรกิจและภาคครัวเรือน ยังเข้มงวดต่อเนื่องจากไตรมาสแรก เนื่องจากความ เสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจ, เสถียรภาพทางการเมือง และการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่ สายพันธุ์ใหม่ 2009 อย่างไรก็ตาม ในไตรมาส 2/52 การให้สินเชื่อของสถาบันการเงินได้ ผ่อนคลายเงื่อนไขการให้สินเชื่อด้านราคา โดยตั้งมาร์จิ้นสำหรับลูกค้าจัดชั้นปกติของธุรกิจ ขนาดใหญ่ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ให้แคบลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ไตรมาส 1/51
cgs,stock in focus
**************
24/08/52
กลุ่มธนาคารพาณิชย์: "ลงทุนมากกว่าตลาด" - บล.เคจีไอ Source - บมจ.หลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) (Th) Monday, August 24, 2009 09:44 59323 XTHAI XECON XCORP XFINSEC XFINMKT XCOMMENT KBANK SCB BBL TMB V%COMMENT P%KGI
กลุ่มธนาคารพาณิชย์: สินเชื่อยังไม่พื้นใน ก.ค แต่คาดว่าแนวโน้มจะดีขึ้นภายในสิ้นปี - ลงทุนมากกว่าตลาด - สินเชื่อยังไม่พื้นในเดือน ก.ค แต่ยังคาดว่าแนวโน้มจะดีขึ้นในสิ้นปี - ยังหวังว่าส่วนต่างดอกเบี้ยอาจดีกว่าคาดและแนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ที่น่าจะอยู่ในการควบคุม - แม้ราคาหุ้นจะขึ้นมามาก YTD แต่ถือว่ายังไม่สะท้อนถึงแนวโน้มการฟื้นตัวในปี 2553 คงให้น้ำหนัก ‘มากกว่าตลาด’ โดยขณะนี้แนะให้เลือกลงทุน ในหุ้น ใหญ่ที่มีคุณภาพสูงและราคายังปรับขึ้นช้ากว่ากลุ่มเช่น KBANK SCB และ BBL ยังไม่เห็นการพื้นตัว สินเชื่อยังขยายตัวลดลงต่อเนื่องในเดือน ก.ค. กลุ่มธนาคารรายงานสินเชื่อหดตัว 0.9 % MoM ในเดือน ก.ค. ตัวเลขดังกล่าวลดลง MoM สูงสุดเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ย 6 ปีที่ -0.2% MoM ในเดือน ก.คที่ผ่านๆมา ซึ่งหมายถึงว่ายังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวของความต้องการสินเชื่อ เราคาดว่าการจ่ายคืนสินเชื่อจำนวนมากและเศรษฐกิจที่ตกต่ำจะเป็นเหตุผลเบื้องหลังตัวเลขที่ลดลงดังกล่าว BBL และ SCB รายงานสินเชื่อหดตัวสูงสุดจากเดือนก่อน (MoM) อย่างไรก็ดี เราคาดว่าสถานการณ์จะเริ่มดีขึ้นในช่วงไตรมาส4/52 อัตราการจ่ายคืนสินเชื่อควรลดลง น่าสังเกตุว่าในปีที่แล้วกลุ่มธนาคารไทยรายงานสินเชื่อขยายตัวสูงมากกว่า 8% ในช่วงครึ่งแรกของปี 51 และโดยส่วนมากก็เป็นสินเชื่อเพื่อเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น ปัจจุบันรอบสินเชื่อดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว และระดับการจ่ายคืนสินเชื่อควรจะลดลงนับจากนี้เป็นต้นไป นอกจากนี้ เรายังมีความหวังเกี่ยวกับสัญญาณการฟื้นตัวภายในสิ้นปีจากความต้องการตามฤดูกาล และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐฯ ที่น่าจะเริ่มเข้ามา TMB และ BBL รายงานสินเชื่อหดตัว YTD สูงสุด ปัจจุบันอัตราการขยายตัวของสินเชื่อนับจากต้นปี (YTD) ลดลงถึง 3.4% ซึ่งต่ำกว่าเป้าประมาณการสำหรับการขยายตัวของสินเชื่อในปี 2552 ของเราที่ 2%อยู่มาก BBL รายงานสินเชื่อหดตัว YTD สูงสุดในเชิงปริมาณจากการคืนสินเชื่อเป็นจำนวนมาก อันเป็นผลจากการปล่อยสินเชื่ออย่างมากในปีที่แล้วถึงกว่า 13% ในขณะที่ TMB รายงานสินเชื่อลงลงมากสุดในเชิงเปอร์เซ็นต์อันเกิดจากทั้งการขาย NPL และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภายในธนาคาร จากความต้องการสินเชื่อที่ฟื้นตัวช้าในปัจจุบัน เป็นไปได้ว่าจะมีความเสี่ยงต่อตัวเลขประมาณการขยายตัวของเรา อย่างไรเราประเมินว่าผลกระทบต่อ ประมาณการก็ไม่ได้หนักหนาอะไร เห็นได้จากถ้าสินเชื่อขยายตัวลดลงทุก ๆ 1% ตัวเลขที่ลดลงดังกล่าวจะกระทบกำไรสุทธิเพียง 0.7% ในปี 2552 และ1.5-2.0% ในปี 2553 ในกรณีเลวร้าย หากสมมติให้สินเชื่อหดตัว 2% จากขยายตัว 2% ในประมาณการกลุ่มปัจจุบันของเรา ผลกระทบต่อประมาณการกำไรควรจำกัดอยู่ที่ประมาณ 2.8% ในปี 2552 และ 6.0-8.0% ในปี 2553 ในความเห็นของเรา ความเสี่ยงต่อประมาณการกำไรสุทธิจะน้อยลงไปอีก หากพิจารณาถึงปัจจัยบวกจากส่วนต่างดอกเบี้ยและคุณภาพสินทรัพย์ที่อาจดีกว่าคาด ในเวลาปัจจุบันที่ราคาหุ้นเริ่มปรับตัวลดลงตามการหดตัวของสินเชื่อ เราเห็นว่านี่เป็นอีกโอกาสที่ดีในการเข้าซื้อสะสมหุ้นก่อนปรับตัวขึ้นตอนปลายปี คาดการณ์ถึงการฟื้นตัวของส่วนต่างดอกเบี้ยในครึ่งหลังของปี 52 การคำนวณของเรา ซึ่งคิดจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยตั้งแต่ไตรมาส 4/51 ระบุว่ามีโอกาสที่ต้นทุนสินเชื่อเฉลี่ย (Average funding cost) จะลดลงอีกประมาณ 21 bps จากไตรมาส 2/52 ซึ่งเป็นปัจจัยบวกต่อส่วนต่างดอกเบี้ยในครึ่งหลังของปี 52 หากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยังทรงตัวที่ระดับปัจจุบัน นอกจากนี้ในไตรมาส 3/52 ส่วนต่างดอกเบี้ยควรได้แรงหนุนจาก i) เงินปันผลตามฤดูกาลจากกองทุนวายุภักษ์และต่อเนื่องไปในไตรมาส 4/52 หากความต้องการสินเชื่อฟื้นตัวจริงดังคาด; ii) ผลตอบแทนจากการลงทุนที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากแรงกดดันทางการเงินของโลกลดลงตามการฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ของเศรษฐกิจ เมื่อสิ้นไตรมาส2/52 ส่วนต่างดอกเบี้ยของกลุ่มลดลง 18 bps ซึ่งก็ยังน้อยกว่าประมาณการของเราที่กว่า 33 bps ในปี 2552 อยู่มาก ซึ่งก็ชัดเจนว่าจากแนวโน้มส่วนต่างดอกเบี้ยที่คาดว่าจะดีขึ้นดังกล่าว อาจมี upside ต่อประมาณการส่วนต่างดอกเบี้ยของเรานปีนี้ได้ โดยส่วนต่างดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 bps จะช่วยเพิ่มกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารได้ประมาณ 5% โดยเฉลี่ย คาดว่าคุณภาพสินทรัพย์จะยังอยู่ในระดับที่จัดการได้ เมื่อดูตัวเลข NPL ล่าสุดของกลุ่มธนาคารในไตรมาส 2/52 กลุ่มธนาคารไทยยังแสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจัดการกับคุณภาพสินทรัพย์ได้ดี ดังจะเห็นได้จากตัวเลข NPL ที่ลดลง 5.4% QoQ (หรือ 1.1% เมื่อหักการขาย NPL ของTMB) เป็นผลให้สัดส่วน NPL ของกลุ่มฯ ลดลงเหลือ 6.2% จาก6.5% ในไตรมาสก่อนหน้า แม้ว่าตัวเลข NPL ในไตรมาส 2/52 จะต่ำเกินคาดค่าใช้จ่ายสำรองยังเพิ่มขึ้น 84.0% QoQ (หรือเพิ่ม 18.1% เมื่อหักรายการบันทึกย้อนสำรองของ TMB) แต่อย่างไรก็ดี ถือเป็นการช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้านสำรองของธนาคารแทนที่จะเกิดจากหนี้เสียที่ไม่คาดคิด ซึ่งก็เห็นได้จากสัดส่วนสำรองต่อหนี้เสีย (coverage ratio) ที่ยังเพิ่มต่อเนื่องเป็น 71.6% หรือเพิ่มขึ้น2.3 ppts QoQ และ 4.3 ppts YoY ต่อไปในอนาคตเราเชื่อว่าธนาคารจะยังสมารถบริหารจัดการหนี้เสียได้อย่างมีประสิทธิภาพจากปัจจัยหลายด้านได้แก่ i)ธนาคารจัดการแก้ปัญหาให้ลูกค้าก่อนกลายเป็น NPL โดยพยายามยืดหยุ่นเงื่อนไขการชำระเงิน; ii) เข้มงวดกับการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น; iii) ตัดเสื่อม NPLและปรับโครงสร้าง; iv) ขาย NPL หากธนาคารยังคงบริหารสินทรัพย์ได้ดี ก็จะทำให้ความเสี่ยงขาลงต่อประมาณการกำไรสุทธิลดลงตามลำดับ สภาพคล่องยังไม่เป็นปัญหาสำหรับธนาคารไทย สภาพคล่องยังไม่เป็นปัญหาสำหรับธนาคารไทยในปัจจุบัน แม้ว่าเงินฝากจะลดลง 1.6% LDR รวมเงินกู้ยืมยังค่อนข้างทรงตัวที่ประมาณ 84% เท่ากับในเดือนก่อนหน้าเนื่องจากสภาวะการปล่อยสินเชื่อที่ยังหดตัวต่อเนื่องนอกจากนี้ เมื่อพิจารณาทั้งระบบ สภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคารที่ ธปท.รายงานเมื่อสิ้นไตรมาส 2/52 ยังสูงสุดในรอบ 13 ปีที่ประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท เราประเมินว่าการออกหุ้นกู้ของรัฐบาล ซึ่งในปัจจุบันอยู่ที่ออกไปแล้วราว 5 หมื่นล้านบาทและที่กำลังจะออกอีกราว 5 หมื่นล้านในรูปของหุ้นกู้ออมทรัพย์ จะไม่มีผลกระต่อสภาพคล่องในระบบมากเท่าไรนัก อย่างไรก็ดีในทางจิตวิทยาการจะเห็นได้ว่าเงินฝากระยะยาวเริ่มปรับขึ้นมาเพื่อรองรับการไหลออกของเงินฝาก ซึ่งในขณะเดียวกันธนาคารก็พยายามออกแผนเงินฝากอัตราดอกเบี้ยพิเศษเพื่อรักษาฐานเงินฝากเอาไว้ ปัจจัยดังกล่าวอาจเพิ่มแรงกดดันต่อส่วนต่างดอกเบี้ยในปลายปีนี้ อย่างไรก็ดี ประมาณการในปัจจุบันของเราที่คาดว่าส่วนต่างดอกเบี้ยจะลดลง 33 bps ควรมากพอที่จะรอบรับความกังวลเกี่ยวกับแรงกดดันด้านสินเชื่อในครึ่งหลังของปี 52 แม้หากมีการลดดอกเบี้ยเงินกู้ที่
หรือการเพิ่มดอกเงินฝากที่ไม่คาดฝัน

กลุ่มธนาคารไทยยังมีการประเมินมูลค่าในระดับที่น่าสนใจ

คาดหวังถึงการฟื้นตัวในอนาคต

ในปีหน้าเราคาดว่าธนาคารฯ จะรายงานกำไรฟื้นตัว โดยมีกำไรสุทธิเพิ่ม 18% ตามสมมุติฐานที่น่าจะเห็นการเติบโตของ GDP ที่ 2.5-3.0% เทียบกับปีนี้ที่คาดว่าจะลดลง 3.9% สินเชื่อที่จะเริ่มพื้นตัวโตราว 6-6.5% ในปีหน้าเทียบกับเพียงที่คาด 2% ในปีนี้ NIM น่าจะพื้นตัวขึ้นราว 15 bps หลังจากหดตัวไปกว่า 30 bps ในปีนี้ ดังนั้นเพื่อสะท้อนถึงแนวโน้มที่ดีขึ้นในปี 2553 เราปรับการประเมินมูลค่าของเราไปในปี 2553 ดังจะเห็นได้ในตารางที่ 12 แต่ยังคงคำแนะนำเดิมสำหรับหุ้นทั้งหมด เมื่อเทียบกับค่า PB ในอดีต ยังมีโอกาสอีกมากที่หุ้นธนาคารจะปรับตัวขึ้นต่อ ส่วนลดในอดีตยังสูงกว่า 11% เมื่อเทียบกับค่า PB ก่อนวิกฤตและ 26% ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 6 ปีในอดีต ดังนั้นเราจึงคงให้น้ำหนัก ‘มากกว่าตลาด’ สำหรับหุ้นกลุ่มธนาคารฯ

เราแนะนำนักลงทุนให้เน้นธนาคารมีคุณภาพขนาดใหญ่ที่ราคายังปรับขึ้นไม่มากเมือเทียบกับกลุ่ม เช่น KBANK, SCB, และ BBL


นักวิเคราะห์: วรวัฒน์ สายสุพัฒน์ผล 66.2658.8888 Ext.8852 email: worawats@kgi.co.th

โดย บมจ.หลักทรัพย์ เคจีไอ(ประเทศไทย) ประจำวันที่ 24 สิงหาคม 2552
*************
24/08/52
สภาพคล่องในงบดุลของธนาคารพาณิชย์ไทย ก.ค.52..:ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
24 ส.ค.--ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
ปีที่ 15 ฉบับที่ 2607 วันที่ 24 สิงหาคม 2552
สภาพคล่องในงบดุลของธนาคารพาณิชย์ไทย ก.ค. 52 ... ลดลงเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้รวบรวมข้อมูลสินทรัพย์สภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยที่ประกอบ ด้วยธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2552 เปรียบเทียบกับสิ้นเดือนก่อนหน้า และสิ้นปี 2551 พบว่า * สภาพคล่องที่วัดจากยอดเงินฝากและสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทย ยังคงลดลงต่อเนื่อง โดยยอดเงินให้สินเชื่อสุทธิ (หลังหักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญ) ของ 14 ธนาคารพาณิชย์ไทย ณ สิ้นเดือน กรกฎาคม 2552 มีจำนวน 5.59 ล้านล้านบาท ลดลง 5.76 หมื่นล้านบาท จากยอดคงค้าง 5.65 ล้าน ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน และลดลง 2.23 แสนล้านบาท จากยอดคงค้าง 5.82 ล้านล้านบาท ณ สิ้นปี 2551 ในขณะเดียวกัน ยอดเงินฝากของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม มีจำนวน 6.30 ล้านล้านบาท ลดลง 1.16 แสนล้านบาท จาก 6.41 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน และลดลง 1.89 แสนล้านบาท จาก 6.49 ล้านล้านบาท ณ สิ้นปี 2551 ทั้งนี้ ขนาดการลดลงจากเดือนก่อนหน้าของยอดเงิน ฝากที่มากกว่ายอดเงินให้สินเชื่อสุทธิในเดือนกรกฎาคม บ่งชี้ว่า ภาวะสภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์ ไทยยังคงมีทิศทางที่ปรับลดลง * สินทรัพย์สภาพคล่อง (รวมเงินสด เงินลงทุนสุทธิในตลาดเงินระยะสั้น และเงินลงทุนสุทธิใน หลักทรัพย์) ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2552 ปรับลดลงจากเดือนก่อนหน้าเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน โดย ณ สิ้น เดือนกรกฎาคม 2552 สินทรัพย์สภาพคล่องดังกล่าว มีจำนวน 2.07 ล้านล้านบาท ลดลง 5.57 หมื่นล้าน บาท จาก 2.13 ล้านล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2552 อันเป็นผลจากการลดลงในองค์ประกอบหลัก คือ เงินลงทุนสุทธิในตลาดเงินระยะสั้น ขณะที่เงินลงทุนสุทธิในหลักทรัพย์และเงินสดเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก ใน ทิศทางเดียวกัน เมื่อพิจารณาข้อมูลสินทรัพย์สภาพคล่องในความหมายที่แคบลง คือ ไม่นับรวมเงินลงทุนสุทธิ ในหลักทรัพย์ หรือมาจากผลรวมเฉพาะของเงินสดและเงินลงทุนสุทธิในตลาดเงินระยะสั้น พบว่า มีจำนวน 8.96 แสนล้านบาท ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2552 ลดลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันอีกจำนวน 5.53 หมื่นล้าน บาท จาก 9.52 แสนล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน * การลดลงจากเดือนก่อนหน้าของสินทรัพย์สภาพคล่องในความหมายกว้างเกิดขึ้นในทุกกลุ่ม ธนาคาร นำโดยการลดลงของสภาพคล่องในกลุ่มธนาคารขนาดเล็กจำนวน 2.58 หมื่นล้านบาท มามียอด คงค้างที่ 2.24 แสนล้านบาท ณ สิ้นเดือนกรกฎาคม 2552 ตามมาด้วยการลดลงของสภาพคล่องในกลุ่ม ธนาคารขนาดใหญ่ในจำนวนใกล้เคียงกันที่ 2.28 หมื่นล้านบาท มามียอดคงค้างที่ 1.36 ล้านล้านบาท ส่วน สภาพคล่องในกลุ่มธนาคารขนาดกลางลดลงจำนวน 7.08 พันล้านบาท มามียอดคงค้างที่ 4.86 แสนล้าน บาท * เมื่อเทียบกับสิ้นปี 2551 สินทรัพย์สภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ไทย 14 แห่ง ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2552 ยังคงเพิ่มขึ้นประมาณ 8.89 หมื่นล้านบาท โดยมาจากการเพิ่มขึ้นของสภาพคล่องใน กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่เป็นหลัก จำนวน 1.72 แสนล้านบาท ขณะที่ สภาพคล่องในกลุ่มธนาคารขนาดกลาง และกลุ่มธนาคารขนาดเล็กลดลง 3.69 หมื่นล้านบาท และ 4.63 หมื่นล้านบาท ตามลำดับ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การลดลงจากเดือนก่อนหน้าของสินทรัพย์สภาพคล่องในงบดุลของ ระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเป็นเดือนที่สามติดต่อกันในเดือนกรกฎาคม 2552 เป็นการยืนยันว่าสภาพคล่องของ ธนาคารพาณิชย์กำลังมีทิศทางที่ปรับลดลง และอาจยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องในระยะที่เหลือของปีนี้ ทั้งนี้ การลดลงของสภาพคล่องในเดือนกรกฎาคมดังกล่าว เป็นผลมาจากขนาดการลดลงของเงินฝากที่มากกว่า การลดลงของเงินให้สินเชื่อสุทธิ ซึ่งส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะผู้ออมมีการโยกเงินออกจากบัญชีเงินฝากที่ ธนาคารพาณิชย์ไปลงทุนในตราสารทางการเงินที่ให้ผลตอบแทนสูง ทั้งพันธบัตรออมทรัพย์ไทยเข้มแข็งของ รัฐบาล หุ้นกู้ของบริษัทเอกชน และกองทุนรวมต่างๆ ที่ถูกเสนอขายออกมาเป็นจำนวนมากในเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา สำหรับแนวโน้มในช่วงที่เหลือของปีนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สภาพคล่องของระบบธนาคาร พาณิชย์ไทยยังเผชิญความท้าทายอย่างต่อเนื่องทั้งจากด้านเงินฝากและสินเชื่อ โดยในด้านเงินฝากนั้น คาด ว่า ภาพการแข่งขันกับช่องทางการออมอื่นๆ น่าจะยังคงดำเนินต่อไปอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะในภาวะที่ ความต้องการระดมเงินทุนยังคงมีมากอย่างต่อเนื่องทั้งจากทางการและภาคเอกชน ส่วนในด้านสินเชื่อนั้น แม้ว่าในเดือนกรกฎาคม สินเชื่อจะยังคงปรับลดลง แต่การทยอยฟื้นตัวกลับมาของเศรษฐกิจ น่าจะค่อยๆ ผลักดันให้เกิดความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจเพิ่มมากขึ้นตามลำดับในระยะถัดไป ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อ เพื่อการขยายการผลิตในบางภาคอุตสาหกรรมที่เริ่มมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศทยอยกลับเข้ามา และสินเชื่อ หมุนเวียน ตามแนวโน้มการปรับตัวสูงขึ้นของราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์ ดังนั้น ธนาคารพาณิชย์คงจะ ต้องมีการติดตามปัจจัยต่างๆ ที่อาจมีผลต่อการบริหารจัดการสภาพคล่องในแต่ละช่วงเวลาให้มีประสิทธิภาพ สูงสุด ซึ่งในการบริหารจัดการสภาพคล่องนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังมองว่า ธนาคารพาณิชย์น่าจะยังไม่เลือก แนวทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเป็นการทั่วไปในระยะอันใกล้นี้ แต่คงจะออกมาในรูปของการปรับ ขึ้นอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะยาวภายใต้โครงการเงินออมพิเศษต่างๆ เช่นเดียวกับที่ได้มีการนำ เสนอมาเป็นระยะๆ ในช่วงที่ผ่านมา มากกว่า "

รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจ

รับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ

อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้

ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น

บริษัทฯจะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้

จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น
cgs
stock ib focus
***************
07/08/52
เปิดช่องแบงก์พาณิชย์ตั้งธนาคารรากหญ้า (Microfinance)
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอกภายหลังการหารือกับ นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่า การด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ว่า ได้มีการพูดคุยในเรื่องแนวทางการจัดทำแผนแม่บทสำหรับการพัฒนาสถาบันการเงินของประเทศ โดยเป้าหมายสำคัญ คือ การทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงแหล่งเงินกู้ที่เป็นธรรมมากขึ้น หลังจากพบว่าปัจจุบันมีประชาชน 20% ต้องกู้เงินนอกระบบ ขณะที่ประชาชนจำนวน 1 ใน 10 ของประชากรทั้งประเทศ ไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนประเภทใด ๆ ได้เลย

ทั้งนี้ เห็นว่าควรมีการจัดตั้งสถาบันการเงินเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนในระดับล่างโดยเฉพาะ (Microfinance) โดยมี 2 แนวทาง คือ ธนาคารพาณิชย์ดำเนินการภายใต้โครงสร้างของธนาคารเอง เหมือนกับกรณีธนาคารออมสิน ที่มีโครงการธนาคารประชาชนหรือการจัดตั้งองค์กร หรือบริษัทลูกขึ้นมาต่างหาก เพื่อทำธุรกิจด้านไมโครไฟแนนซ์เพียงอย่างเดียว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังบอกด้วยว่า การดำเนินการตามแผนแม่บทดังกล่าว อาจต้องแก้ไขกฎหมายและระเบียบการกำกับดูแลสถาบันการเงินของธปท. โดยคาดว่าจะสามารถนำเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้พร้อมกับแผนการพัฒนาตลาดทุนฯ ได้ในช่วงต้นไตรมาส 4/52
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/MoneylineNews/tabid/89/newsid491/94723/Default.aspx
stock in focus
************
06/08/52
ปรับประมาณการกำไรกลุ่มแบงก์เพิ่มขึ้น
นักวิเคราะห์ บล.ธนชาต วิเคราะห์ว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยในปัจจุบัน อยู่ในขั้นที่สามารถผลักดันให้เศรษฐกิจฟื้นตัว

การแข่งขันด้านสินเชื่อกําลังเข้มข้นขึ้น น่าจะทําให้เศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 3 ปี 2552 มีแนวโน้มที่ดีกว่าในช่วงไตรมาส 2 ปี 2552 ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยออกจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยแล้ว
บล.ธนชาต ยังคงมีมุมมองที่เป็นบวกต่อธนาคารพาณิชย์ไทยแม้ว่าในช่วงไตรมาส 3 ปี 2552 ธนาคารจะยังคงมีความเสี่ยงในเรื่องการหดตัวลงขอส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM)

ปัจจุบันธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่เต็มใจที่จะปล่อยกู้มากขึ้น โดยธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่มีความกระตือรือร้นในการปล่อยกู้มากขึ้น และคาดว่าสินเชื่อจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ จากในช่วงครึ่งแรกที่หดตัวลง 2%

ภาวะการแข่งขันด้านสินเชื่อรุนแรงขึ้นในกลุ่มสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่และสินเชื่อการเคหะ (ส่วนประกอบหลักของสินเชื่อบุคคล) และเมื่อบวกกับการที่ไตรมาส 4 เป็นช่วงที่มีความต้องการสินเชื่อเพื่อเงินทุนหมุนเวียนอย่างมาก

“เราจึงมองว่าเป็นข่าวดี เนื่องจากแนวโน้มการฟื้นตัวจะช่วยดึงให้ประเทศไทยออกจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยได้ตั้งแต่ช่วงไตรมาส 2 (คาดตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) จะเติบโต 2.8% จากไตรมาสแรก) และฟื้นตัวต่อเนื่องในช่วงไตรมาส 3

ธนาคารเริ่มให้สินเชื่อเร็วเท่าไหร่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเร็วขึ้นเท่านั้น มีความเสี่ยงในเรื่องการหดตัวลงของ NIM แต่จะเกิดขึ้นในระยะสั้นเท่านั้น เนื่องจากระบบธนาคารยังคงมีสภาพคล่องส่วนเกินอย่างมาก (16% ของ GDP) กอปรกับภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงเปราะบาง มีการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดตราสารหนี้ และอัตราดอกเบี้ยเงินฝากแตะระดับต่ำสุด ดังนั้นการแข่งขันด้านสินเชื่อในช่วงต้นจึงน่าจะทําให้เกิดความเสี่ยง NIM ในช่วงไตรมาส 3 หรือต่อเนื่องไปยังช่วงไตรมาสที่เหลือได้

สําหรับปี 2553 สภาพคล่องส่วนเกินที่ลดลง เนื่องจากอัตราการขยายตัวของสินเชื่อที่แข็งแกร่งและอัตราดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มเปลี่ยนเป็นขาขึ้นในช่วงครึ่งหลังน่าจะทําให้ NIM ขยายตัวขึ้น ปัจจัย 2 ประการที่ช่วยบรรเทาการลดลงของ NIM ในช่วงครึ่งหลังปี 2552 คือการขยายตัวของสินเชื่อและการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลที่มีอัตราผลตอบแทนในระดับสูง (แต่อาจเกิด Mark-to-Market Risk เมื่ออัตราดอกเบี้ยเปลี่ยนทิศทาง)

ทั้งนี้ หุ้นธนาคารกรุงเทพ (BBL) ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) และธนาคารกรุงไทย (KTB) ยังคงเป็นหุ้นที่แนะนำให้ลงทุนสูงสุด เนื่องจากความเสี่ยงในเรื่องการหดตัวลงของ NIM ขึ้นอยู่กับกลุ่มสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่ และสินเชื่อการเคหะ ไม่ใช่สินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ดังนั้น KBANK ซึ่งให้สินเชื่อเพื่อ SME ในระดับสูง จึงน่าจะเผชิญกับความเสี่ยงที่ NIM จะหดตัวลงน้อยที่สุด ขณะที่ NIM ของ BBL เป็นไปได้ที่จะหดตัวลงในช่วงครึ่งหลังของปีนี้เนื่องจากมีสัดส่วนสินเชื่อเพื่อธุรกิจขนาดใหญ่สูง และจากการที่ราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นถึง 64% จากระดับต่ำสุดในปีนี้ BBL จึงอาจจะน้อยกว่าตลาดในระยะอันใกล้นี้

แต่อย่างไรก็ตาม ยังคงชอบ BBL ในระยะยาว เนื่องจากการมีสภาพคล่องส่วนเกินในระดับสูงของธนาคาร จะช่วยผลักดันอัตราการเติบโตของกําไรในปี 2553 สําหรับ KTB การหดตัวลงของ NIM ไม่ได้เป็นข่าวร้ายเสมอไป เนื่องจากให้สินเชื่อแก่ภาครัฐที่มีความเสี่ยง และอัตราผลตอบแทนต่ำในระดับสูง KTB ซึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่เพียงธนาคารเดียวที่สินเชื่อขยายตัวในช่วงครึ่งแรกปีนี้น่าจะได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐมากที่สุด
ด้านสถาบันวิจัยนครหลวงไทยวิเคราะห์ว่าผลประกอบการงวดครึ่งแรกปีนี้ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ปรับลดลงส่วนใหญ่มาจากการหดตัวของสินเชื่อและการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้อย่างรวดเร็ว ทําให้รายได้ดอกเบี้ยชะลอตัวจากปีก่อนในขณะที่การควบคุมคุณภาพสินเชื่อยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีจนทําให้ธนาคารไม่ต้องมีการเพิ่มระดับการสํารองหนี้สูญสูง ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ดีคาดการณ์ไว้ ทําให้มีมุมมองต่อแนวโน้มในระยะกลางที่ดีขึ้น โดยคาดว่าหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในช่วงครึ่งปีหลังจะปรับเพิ่มขึ้นไม่มาก อย่างที่กังวลมากเท่าช่วงต้นปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ปรับเพิ่มประมาณการผลประกอบการปี 2552–2553 และมูลค่าที่เหมาะสมใหม่ ถึงแม้ว่าจะยังแนะนํา “ซื้อ” หุ้นหลายตัวในกลุ่ม แต่เลือกให้ KBANK เป็นหุ้นเด่นของกลุ่มธนาคารพาณิชย์จากประเด็นของ NIM ที่โดดเด่น หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่ำ และโอกาสในการขยายตัวของผลประกอบการอย่างมีเสถียรภาพจากเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว
สถาบันวิจัยนครหลวงไทย ปรับประมาณการผลประกอบการปี 2552–2553 หลังผลประกอบการครึ่งแรกปีนี้ดีกว่าคาด : จากผลประกอบการไตรมาส 2/2552 ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ยังสามารถทรงตัวจากไตรมาสแรก โดยธนาคารหลายแห่ง ได้แก่ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) และธนาคารทหารไทย (TMB) ได้บันทึกรายการพิเศษในไตรมาส 2/2552 และรายได้ ดอกเบี้ยสุทธิที่ทรงตัวของธนาคารขนาดใหญ่ เป็นเหตุผลสําคัญที่ทําให้กําไรสุทธิของกลุ่มทรงตัวจากไตรมาสแรก ทั้งๆ ที่โดยเฉลี่ยแล้วธนาคารมีการตั้งสํารองเพิ่มขึ้นถึง 68% ในขณะที่กําไรจากการดําเนินงานก่อนการตั้งสํารองเพิ่มขึ้น 19% เนื่องจากธนาคารมีรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นสูงมาก 24% จากค่าธรรมเนียมและบริการ ประกอบกับมีค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยที่ลดลงมาจากฐานเงินฝากที่หดตัวและการปรับลดอัตราดอกเบี้ย

อัตราดอกเบี้ยในครึ่งปีหลัง 2552 ยังไม่เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสําคัญ : ถึงแม้ว่า NIM ในช่วงครึ่งแรกปี 2552 ปรับตัวลดลงจากการลดอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อรายได้ดอกเบี้ยจากเงินให้สินเชื่อ แต่สถาบันวิจัยนครหลวงไทย คาดว่าระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะยังทรงตัวอยู่ที่ระดับ 1.25% ไปจนถึงช่วงปลายปีนี้ เพราะเป็นระดับที่เหมาะสมต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจและรักษาเสถียรภาพในตลาดการเงินได้ค่อนข้างดี อย่างไรก็ตาม มองว่าถ้ามีปัจจัยเสี่ยงต่อภาพรวมทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น ระดับอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบัน ยังถือได้ว่ามีช่องว่างในการปรับลดระดับอัตราดอกเบี้ยลงได้อีก โดยประเมินว่าจะอยู่ในช่วง 0.25–0.50%
การเติบโตของสินเชื่อในช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น : เศรษฐกิจที่เริ่มอยู่ในระดับมีเสถียรภาพมากขึ้นโดยสะท้อนจากดัชนีการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มชะลอการปรับลดในอัตราเร่งลง ขณะที่ในด้านของภาคการส่งออกเริ่มมีสัญญาณการขยายตัวเมื่อเทียบเป็นรายเดือนซึ่งเป็นการบ่งชี้ว่าภาพรวมของเศรษฐกิจกําลังจะมีการค่อยๆ ปรับฟื้นตัวขึ้นจากจุดต่ำสุด ส่งผลบวกต่อความต้องการสินเชื่อ SME และสินเชื่อรายย่อย อีกทั้งยังมีความต้องการเงินทุนจากโครงการขนาดใหญ่ของกลุ่มสื่อสาร รับเหมาก่อสร้าง และการลงทุนสาธารณูปโภค ภายใต้โครงการ “ไทยเข้มแข็ง” หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPLs) ในช่วงครึ่งปีแรก ต่ำกว่าคาด
สถาบันวิจัยนครหลวงไทย ประเมินไว้ก่อนหน้าว่า NPLs จะน่าปรับตัวสูงขึ้นในไตรมาส 2552 ตามทิศทางความอ่อนแอของเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะภาวะการส่งออกที่ปรับลดลงทําให้อัตรากําลังการผลิตลดลง และการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบจากการเมือง และการแพร่ระบาดของไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่ 2009 ทําให้จํานวนนักท่องเที่ยวลดลงกว่า 20% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในกลุ่มนี้อย่างมาก จนทําให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กต้องปิดกิจการลง ทั้งนี้ธนาคารพาณิชย์ส่วนใหญ่ใช้หลักระมัดระวังในการควบคุม NPLs อย่างมากเพื่อลดภาระการตั้งสํารอง สําหรับแนวโน้มช่วงครึ่งหลังปี 2552 คาดว่า NPLs จะยังอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ทําให้คุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ไม่น่าจะมีสัญญาณที่แย่ลงไปจากระดับไตรมาส 2/2552 มากนัก
http://www.posttoday.com/stockmarket.php?id=60570
stock in focus

**********
31/07/52
กลุ่มธนาคารพาณิชย์: "เท่ากับตลาด" - บล.เอเซีย พลัส
Source - บมจ.หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส (Th) Friday, July 31, 2009 09:13
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ (BANK) - เท่ากับตลาด Banking Index 243.42 จุด มูลค่าตลาด 990,990 ล้านบาท คาดหวังได้กับแนวโน้ม 2H52...ธ.พ.ส่วนใหญ่ให้มุมมองบวกมากขึ้น * ธ.พ.ส่วนใหญ่ให้มุมมองบวกมากขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจใน 2H52 * สอดคล้องกับมุมมองที่ฝ่ายวิจัยประเมิน ไม่กระทบต่อประมาณการ * ให้น้ำหนักลงทุนเท่ากับตลาด..Top picks คือ KBANK, BAY FACT: ธ.พ.ส่วนใหญ่คงเป้าสินเชื่อทั้งปี 2552 แม้ 1H52 จะติดลบ ฝ่ายวิจัยได้เข้าร่วมประชุม Analyst ของ ธ.พ.ใหญ่ 3 แห่ง ได้แก่ SCB, KTB และ BAY เพื่อรับทราบแนวโน้มธุรกิจใน 2H52 ในช่วงที่ผ่านมา โดยสามารถสรุปประเด็นหลักๆ ที่คล้ายคลึงกันใน 3 ประเด็นคือ 1) ทิศทางการเติบโตของสินเชื่อสุทธิจะเริ่มกระเตื้องขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มสินเชื่อรายใหญ่ซึ่งเป็นสินเชื่อเงินทุนหมุนเวียนที่จะเติบโตสูงขึ้นตามช่วงของฤดูกาล ขณะที่สินเชื่อ SME เห็นการติดลบที่ลดลงมาก และคาดว่าจะเริ่มกลับมาเป็นบวกมากขึ้นใน 2H52 (ส่วนใหญ่ให้ความคาดหวังกับมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ อาทิ การที่ บสย. เข้ามามีบทบาทในการค้ำประกันสินเชื่อ SME ของ ธ.พ. ซึ่งจะช่วยผลักดันให้สินเชื่อกลุ่ม SME เติบโตได้สูงขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา) ส่วนสินเชื่อรายย่อยยังมีแนวโน้มการเติบโตที่ดีต่อเนื่องจาก 1H52 โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัย 2) แนวโน้ม NIM คาดว่าจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องใน 3Q52 เนื่องจากยังได้รับผลบวกจากต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ทยอยปรับตัวลดลงต่อเนื่องในส่วนของต้นทุนเงินฝากประจำระยะ 3-6 เดือน ตามต้นทุนใหม่ที่ได้ทำการปรับลดลงไปในช่วงที่ผ่านมา ขณะที่ Yield จากการปล่อยสินเชื่อน่าจะเริ่มทรงตัวหรือเพิ่มขึ้นได้ตามสินเชื่อใหม่ๆ ที่ปล่อยเพิ่มขึ้น ภายใต้สมมติฐานว่า ธ.พ. ไม่ได้มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงอีกในงวดนี้ หรืออาจมีการปรับลดแต่น้อยกว่างวด 2Q52 ที่ผ่ามา รวมถึง Yield จากพอร์ตลงทุน โดยเฉพาะพันธบัตรหรือตราสารหนี้ระยะกลางที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้นจากที่ผ่านมา ล้วนเป็นปัจจัยที่ช่วยผลักดันให้ NIM ปรับตัวสูงขึ้นใน 2H52 และ 3) การตั้งสำรองหนี้ฯ ซึ่ง ธ.พ. ส่วนใหญ่ประเมินว่าไม่น่าจะสูงเท่าที่ผ่านมา หากสถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวก็อาจไม่มีความจำเป็นต้องประเมินคุณภาพหนี้ตามเกณฑ์เชิงคุณภาพอย่างเข้มงวดมากนัก IMPACT: สอดคล้องกับมุมมองของฝ่ายวิจัย ไม่กระทบประมาณการ ทิศทางธุรกิจดังกล่าวนับว่ายังสอดคล้องกับมุมมองของฝ่ายวิจัยที่เป็นไปในเชิงบวกต่อทิศทางการดำเนินธุรกิจของกลุ่มฯ ใน 2H52 ซึ่งเห็นได้จากสัญญาณบวกของธุรกิจในเดือน มิ.ย.52 ที่ผ่านมา อีกทั้งข้อมูลที่ได้รับการยืนยันจาก ธ.พ. ส่วนใหญ่รวมถึง ธปท. ซึ่งยืนยันถึงการแข่งขันของสินเชื่อในกลุ่ม ธ.พ. ใน 2H52 ที่คาดว่าจะรุนแรงมากขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยบวกที่จะผลักดันให้ผลการดำเนินงาน 2H52 มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นจาก 1H52 ให้น้ำหนักลงทุนเท่ากับตลาด..Top picks คือ KBANK, BAY ฝ่ายวิจัยให้น้ำหนักการลงทุนเท่ากับตลาด ด้วยมุมมองเชิงบวกสำหรับศักยภาพการเติบโตต่อเนื่องของธุรกิจในปี 2553 จากโอกาสทางธุรกิจโดยเฉพาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐซึ่งจะส่งผลบวกโดยตรงต่อกลุ่ม ธ.พ. ฝ่ายวิจัยเลือก KBANK และ BAY เป็นหุ้น Top pick โดย KBANK นั้นมีความได้เปรียบทางการเงินและเงินกองทุนทำให้สามารถเข้าร่วมในการปล่อยสินเชื่อของโครงการภาครัฐขนาดใหญ๋ได้ รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่จะเริ่มส่งผลบวกต่อสินเชื่อ SME และรายย่อย รวมถึงการสร้างรายได้ค่าธรรมเนียมที่มีโอกาสเติบโตเชิงรุกได้เช่นกัน ส่วน BAY มีจุดเด่นในการดำเนินธุรกิจสินเชื่อรายย่อยจากการเติบโตของผลการดำเนินงานที่โดดเด่นในเชิงรุกเหนือ ธ.พ.อื่นๆ นักวิเคราะห์: อุษณีย์ ลิ่วรัตน์ e-mail: usanee@asiaplus.co.th
cgs,stock in focus
*********
23/07/52
กูรูชี้ดัชนี 600จุดสะท้อนภาพกำไร บจ.ปีนี้
กรุงเทพฯ--23 ก.ค.--กระแสหุ้นออนไลน์ บลจ.กสิกรไทย มองดัชนีฯที่ 600 จุดสะท้อนกำไรบริษัทจดทะเบียนปีนี้แล้ว แย้มกลยุทธ์หาจังหวะทำกำไรในช่วงหุ้นผันผวน นางสาวโศภนา เจนบวร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บลจ.กสิกรไทย เปิดเผยว่า มองว่าที่ระดับดัชนีฯ 600 จุด ได้สะท้อนผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนไปเกือบทั้งปีแล้ว สำหรับแนวโน้มดัชนีตลาดหลักทรัพย์ในช่วงไตรมาส 3/52 จะมีการปรับตัวขึ้นลงแบบผันผวนทั้งบวกและลบ ซึ่งนักลงทุนจะมีการเลือกลงทุนมากขึ้นที่ระดับดัชนีฯ 600 จุด ประกอบกับมีแรงเทขายทำกำไรออกมาเป็นระลอกจากความกังวลจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงมีอยู่ และมองเป้าดัชนีฯปีนี้อยู่ที่ 660 จุด สำหรับบทบาทของนักลงทุนในตลาดฯ ทั้งรายย่อยที่มีสัดส่วนซื้อขายอยู่ที่ 62% และนักลงทุนสถาบันที่สัดส่วนอยู่ที่ 16% ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการซื้อขายลักษณะเก็งกำไรระยะสั้นเป็นสัดส่วนสูง อย่างไรก็ดีในช่วงที่ภาวะตลาดฯมีความผันผวนบริษัทฯจะใช้จังหวะจากความผันผวนของตลาดฯเพื่อเป็นโอกาสทำกำไรให้กับลูกค้า ทั้งนี้จะพิจารณาจากบริษัทที่มีฐานะทางการเงินมั่นคง โดยพิจารณาจากมูลค่าที่ต่ำและยังสามารถจ่ายเงินปันผลได้ อีกทั้งยังสามารถปรับตัวขึ้นได้สวนกับภาพรวมของตลาดฯ อย่างไรก็ตามยังคงต้องติดตามการที่เศรษฐกิจจะออกสู่ภาวะถดถอยและจะเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวในปีหน้า ซึ่งยังถือเป็นประเด็นที่เปราะบางและสร้างความกังวล ประกอบกับทิศทางการอ่อนค่าของเงินสหรัฐฯที่จะส่งผลต่อราคาหุ้นในกลุ่มพลังงานและภาพรวมของตลาดหุ้น นอกจากนี้ปัจจัยการเมืองภายในประเทศยังถือเป็นข้อที่ควรระวัง ซึ่งหากเศรษฐกิจสามารถฟื้นตัวได้แล้วหากยังมีปัญหาการเมืองก็อาจจะเป็นปัจจัยลบที่สร้างความกังวลให้นักลงทุนทั้งในและนอกประเทศ ทั้งนี้ การประมาณการของผลกำไรในปีนี้ของบริษัทจดทะเบียนมองว่า ค่อนข้างสะท้อนภาวะความเป็นจริงของตลาด ทั้งนี้หากเศรษฐกิจเริ่มมีการฟื้นตัวอย่างแท้จริงก็อาจที่มีการปรับประมาณการผลกำไรขึ้นได้ในปี 2553
https://www.asl.co.th/default.aspx

stock in focus
**********
23/07/52
bank
ปัจจัยในประเทศ & อุตสาหกรรมและหุ้นเด่น
+ รัฐบาลเล็งออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกรอบ โดยที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีแนะให้ธปท.ใช้เรื่องดอกเบี้ยและค่าเงินอ่อนมาช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจควบคู่กับการรักษาเสถียรภาพด้านการคลัง นอกจากนั้นจะให้แบงค์รัฐปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้น
+ ปัจจัยพื้นฐานของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยยังแข็งแกร่ง จากการสัมมนาเรื่องทิศทางและนโยบายธปท.โดยผู้บริหารแบงก์ชาติ คือ ดร.บัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงินของธปท. สรุปประเด็นสำคัญได้ดังนี้ 1) ธนาคารพาณิชย์ไทยถูกกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวแรงบ้างแต่ไม่ถึงกับรุนแรงมาก โดยใน 2Q52 ยังสามารถทำกำไรเป็นบวกแต่ก็ลดลง YoY และ QoQ เพราะ สินเชื่อหดตัว, NIM แคบลง และตั้งสำรองค่าเผื่อฯสูงขึ้น, 2) คุณภาพสินทรัพย์ของแบงค์โดยรวมด้อยลง ณ สิ้นพ.ค.52 มี NPL ratio เท่ากับ 5.5% แต่ว่าเป็นอัตราการเพิ่มที่ไม่มาก แสดงถึงความสามารถในการรับมือและการจัดการที่ดีของธนาคารพาณิชย์, 3) ใน 1H52 สินเชื่อเพื่อการบริโภคขยายตัวได้ 11% แต่สินเชื่อธุรกิจหดตัวมาก โดยเฉพาะในกลุ่มส่งออก คาดว่าการปล่อยสินเชื่อใน 2H52 จะเพิ่มขึ้น, 4) สภาพคล่องในระบบอยู่ในเกณฑ์ดี สัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ 85%, 5) ฐานะเงินกองทุนแข็งแกร่ง สิ้นพ.ค.52 กลุ่มแบงค์มี BIS ratio ที่ 15.6% โดยเป็น Tier-1 สูงถึง 12.3%, 6) มีโอกาสที่ NPL & NPA ที่คงค้างอยู่เป็นเวลานานจะลดลง เพราะจะอนุมัติให้ธนาคารร่วมลงทุนกับบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อให้จัดการกับสินทรัพย์เหล่านี้ได้ง่ายขึ้น และ 7) ธปท.หนุนให้มีธุรกิจ Micro Finance มากขึ้น โดยจะเน้นทั้งกับธนาคารพาณิชย์ที่มีอยู่เดิม และให้มีผู้เล่นรายใหม่เข้ามาเสริม
แบงค์ชาติเชื่ออัตราดอกเบี้ย R/P 1 วันที่ 1.25% ไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ และพร้อมลดดอกเบี้ยนโยบายหากเศรษฐกิจสะดุดตัว ทางธปท.ระบุว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.25% ในปัจจุบันยังมีความเหมาะสมและไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่หากเศรษฐกิจมีการสะดุดตัวทางธปท.ก็พร้อมที่จะใช้นโยบายการเงินด้วยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยอีกรอบ โดยขณะนี้กำลังกระตุ้นให้ธนาคารพาณิชย์มีการแข่งขันลดดอกเบี้ยเงินกู้เพื่อขยายสินเชื่อให้มากขึ้น
+ คาดเศรษฐกิจไทยปี 53 จะดีกว่าปีนี้...ปัจจัยหนุนหลัก คือ การใช้จ่ายภายในประเทศ โดยจากนี้ไปจะมีการฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ปัจจัยที่ติดตาม คือ 1) โมเมนตัมของการใช้จ่ายในประเทศทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งเป็นตัวหนุนการฟื้นตัวที่สำคัญ เพราะการส่งออกอาจขยายตัวได้ไม่เร็วนัก, 2) การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ และ NPL โดยคาดว่าสินเชื่อเพื่อการบริโภค เช่น สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์, สินเชื่อที่พักอาศัย เป็นต้น จะฟื้นตัวเร็วกว่าสินเชื่อธุรกิจ, 3) กระแสการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ ซึ่งจะมีผลกับอัตราแลกเปลี่ยน โดยมีแนวโน้มว่าใน 2H52 จะมีเงินทุนไหลเข้ามากขึ้น เพราะสภาพคล่องส่วนเกินในตลาดโลกมีสูง & เศรษฐกิจเอเชียฟื้นตัวเร็วกว่าสหรัฐและยุโรป และ 4) การปรับตัวของภาคเอกชน

โดย บริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) ประจำวันที่ 23 กรกฎาคม 2552
stock in focus
************
23/07/52
สินเชื่อแบงก์6เดือนวูบ1.6แสนล.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานสินเชื่อแบงก์ครึ่งปีแรกหดตัว 1.6 แสนล้าน หรือ 2.84% โดย "KTB-TISCO-KK"มียอดสินเชื่อเพิ่ม ขณะที่ "TMB-UOB-CIMBT"หดตัวมากสุด แต่หากเทียบระหว่างเดือนมิ.ย.52กับช่วงเดียวกันของปีก่อนแล้วสินเชื่อเพิ่ม 1.61% และลดลงเล็กน้อย 0.02%เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเปิดเผยว่า ยอดสินเชื่อคงค้างของธนาคารพาณิชย์ไทย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2552 มีจำนวน 5,650,185 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 1,405 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 0.02 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 1.61 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง สินเชื่อปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 8,439 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.22 ตามการเพิ่มของสินเชื่อธนาคารกสิกรไทย และไทยพาณิชย์ จำนวน 12,542 และ 5,948 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ธนาคารกรุงเทพ และกรุงไทย มีสินเชื่อลดลงจำนวน 9,642 และ 409 ล้านบาท ตามลำดับ

ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง สินเชื่อปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า 8,383 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 0.61 นำโดยธนาคารทหารไทย และนครหลวงไทย มีสินเชื่อลดลงจำนวน 9,712 และ 1,099 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนธนาคารธนชาต และกรุงศรีอยุธยา มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น 1,945 และ 483 ล้านบาท ตามลำดับ

และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง สินเชื่อลดลงจากเดือนที่แล้ว 1,461 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 0.28 ตามการลดลงของสินเชื่อธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย ยูโอบี และซีไอเอ็มบีไทย จำนวน 2,382 1,895 และ 703 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนธนาคารสินเอเซีย เกียรตินาคิน และทิสโก้ มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นจำนวน 2,269 635 และ 614 ล้านบาท ตามลำดับ

ทั้งนี้ หากเทียบช่วง 6 เดือนแรกของปีสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ไทยลดลง 165,090.54 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.84 โดยมีธนาคารพาณิชย์เพียง 3 แห่งที่มีสินเชื่อเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธนาคารกรุงไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.50 ธนาคารทิสโก้เพิ่มขึ้นร้อยละ 7.89 และธนาคารเกียรตินาคินเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.12 ขณะที่ธนาคารที่มีสัดส่วนสินเชื่อลดลงมากที่สุด 3 อันดับได้แก่ ธนาคารทหารไทยลดลงร้อยละ 12.74 ธนาคารยูโอบีลดลงร้อยละ 12.21 และธนาคารซีไอเอ็มบีไทยร้อยละ 9.61

ด้านเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเดือนมิถุนายน 2552 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 6,412,793 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 75,060 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 1.16 แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.48 โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง เงินฝากปรับตัวเพิ่มขึ้น 1,567 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 จากการเพิ่มของเงินฝากที่ธนาคารกรุงเทพ และกสิกรไทย จำนวน 18,317 และ 13,173 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ธนาคารกรุงไทย และไทยพาณิชย์ มีเงินฝากลดลงจำนวน 20,417 และ 9,506 ล้านบาท ตามลำดับ

ขณะที่กลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง เงินฝากลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อนหน้า 44,910 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 2.94 โดยเป็นการลดลงทั้งกลุ่ม นำโดยธนาคารธนชาต และทหารไทย จำนวน 22,101 และ 11,907 ล้านบาท ตามลำดับ ขณะที่ธนาคารกรุงศรีอยุธยา และนครหลวงไทย มีเงินฝากลดลงใกล้เคียงกันจำนวน 5,750 และ 5,152 ล้านบาท ตามลำดับ

และกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง เงินฝากลดลงจากเดือนที่แล้วจำนวน 31,718 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลงร้อยละ 5.47 จากการลดลงของเงินฝากแทบทั้งกลุ่ม ยกเว้นธนาคารเกียรตินาคิน ที่เงินฝากเพิ่มขึ้น 2,651 ล้านบาท
www.manager.co.th
stock in focus
************

23/07/52
ธปท.มอง NPL แบบชิวชิว ยันตัวเลขระดับ 5.5% แบงก์รับมือได้
ธปท.ไม่ตำหนิแบงก์ แม้ผลประกอบการไตรมาส 2 ปี 2552 จะลดลง เชื่อครึ่งปีหลังมีทิศทางสดใส ส่วน NPL เดือนพฤษภาคม อยู่ที่ 5.5% เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายนเล็กน้อย มั่นใจแบงก์รับมือได้ ไม่น่าห่วง
stock in focus
************
20/07/52
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินว่า ธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์ไทยทั้งสินเชื่อและรายได้ค่าธรรมเนียมในช่วงครึ่งปีหลังน่าจะเติบโตขึ้นจากครึ่งปีแรก ภายใต้มุมมองที่เชื่อว่าเศรษฐกิจจะหดตัวน้อยลงและเป็นบวกได้ในไตรมาสที่ 4 โดยได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของการส่งออก และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ โดยคาดว่า ช่วงครึ่งปีหลังสินเชื่อธนาคาร-พาณิชย์ไทยจะเติบโตในอัตราเร่งถึงประมาณ แสน 5 หมื่น ถึง 3 แสนล้านบาท เทียบกับครึ่งปีแรกที่คาดว่าจะหดตัว แสน ถึง แสน 5 หมื่นล้านบาท จากความต้องการสินเชื่อภาคธุรกิจ ครัวเรือน รวมถึงภาครัฐ ประกอบกับช่วงครึ่งปีหลัง เป็นช่วงฤดูกาลที่ธนาคารพาณิชย์มักจะเร่งผลักดันสินเชื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายรายปี ซึ่งรายได้ค่ธรรมเนียม มีโอกาสเติบโตตามการทำธุรกรรมขณะที่การระดมเงินฝากอาจเข้มข้นมากขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี โดยเฉพาะการออกตราสารหนี้ของภาครัฐและเอกชน ขณะที่คาดว่า สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยมีโอกาสปรับตัวลดลง แต่อาจสูงถึง 2 ล้านล้านบาท ซึ่งอาจเผชิญข้อจำกัดด้านอัตราผลตอบแทนที่อยู่ในระดับต่ำต่อเนื่องในช่วงครึ่งหลังของปี

สำหรับช่วงไตรมาสที่ 2 ธุรกิจหลักของธนาคารพาณิชย์ที่ประกอบด้วยรายได้ดอกเบี้ยสุทธิและรายได้ค่าธรรมเนียม ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสแรก มีโอกาสพลิกกับมาเป็นบวกได้จากที่ติดลบ 2.7% ในไตรมาสแรก ที่เชื่อว่าจะเป็นช่วงต่ำสุดของวัฏจักรธุรกิจในรอบนี้แล้ว ขณะที่ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยในไตรมาสที่ 2 อาจไม่ลดลงจากในไตรมาสแรก ที่ 3.29% และมีโอกาสเพิ่มขึ้นต่อในช่วงครึ่งหลังของปีนี้
stock infocus
**************
17/07/52
Sector Comment: กลุ่มธนาคารพาณิชย์
Q2/52 ชะลอตัวต่อเนื่อง

AIRA แนะขายทำกำไรหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ หลังดัชนีกลุ่มธนาคาร (SETBANK) เพิ่ม +53% เป็น 230จุด ตั้งแต่เมษ52 เป็นต้นมา ทำให้ (1)ราคาหุ้นส่วนใหญ่ใกล้ราคาเป้าหมายแล้ว (2)มีความเสี่ยงจาก (2.1) การขยายสินเชื่อต่ำกว่าเป้าหมาย อิงการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบ 3.5-4.0% (2.2) ส่วนต่างดอกเบี้ยถูกกดดันจากการออกพันธบัตรของรัฐบาล (2.3) ค่าใช้จ่ายสำรองหนี้เพิ่ม หาก Gross NPL เพิ่ม โดยแนะขายทำกำไรที่จุดสูงสุดรอบที่ผ่านมา เช่น SETBANK @ 244จุด
- Q2/52 ชะลอตัวต่อเนื่อง AIRA คาดกลุ่มธนาคารพาณิชย์จะประกาศกำไรสุทธิ 18,427ล้านบาท -3%qoq และ -13%yoy เนื่องจาก (1) การขยายสินเชื่อยังติดลบใน Q2 และ NIM มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง แนะจับตาธนาคารต่างๆจะปรับลดเป้าหมายสินเชื่อ? (2) รายได้ค่าธรรมเนียมชะลอตัวตามธุรกิจ (3)ที่สำคัญคาด ค่าใช้จ่ายการดำเนินงานมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวตามปริมาณธุรกิจ ทำให้ยังสามารถรักษา Cost/Income ไว้ใกล้เคียงไตรมาสที่แล้ว ยกเว้นกรณีมีการลงทุนพิเศษ หรือมีรายการพิเศษ เช่น ค่าใช้จ่ายการควบรวมกิจการ (4) ภาระสำรองส่วนใหญ่อยู่ในระดับสูงกว่า หรือ ใกล้เคียงไตรมมาสที่แล้ว เนื่องจาก Gross NPL มีแนวโน้มเพิ่มตามการชะลอตัวทางเศรษฐกิจ
- หุ้นที่น่าสนใจ ได้แก่ (1) BAY ได้ประโยชน์จากการควบรวม AIG เนื่องจาก AIG ที่มี Asset Yield สูงกว่า BAY รวมทั้งมี
การขยายสินเชื่อใน Q2 เป็นบวก และจะขยายสินเชื่อให้กลุ่ม GE Money อีก 60,000mn ในQ1/53 (2) KTB มีการขยายสินเชื่อสูงกว่าเป้าหมายจากโครงการรัฐบาล โดยการขยายสินเชื่อสำหรับ 5เดือนแรกสูงกว่ากลุ่มฯ และคาดว่าทั้งปี09 จะเติบโต +9% สูงกว่าเป้าหมายเดิม +5% โดยคาดการขยายสินเชื่อรัฐใน 2H/09 จะสูงกว่า 1H/09 มาก (3) SCIB ได้อานิสงส์จากโครงการรัฐบาลเช่นกัน ที่สำคัญตกเป็นเป้าหมายการควบรวมกิจการ

กลยุทธ์การลงทุน คาด SETBANK มีโอกาสเข้าทดสอบ 244จุด อีกครั้ง โดยมีแนวต้านทางเทคนิค 232-238-244จุด

1. แนะขายทำกำไรในระยะสั้นหุ้นธนาคาร เช่น
- BBL (ราคาเป้าหมาย 109บาท อิง P/E12X) แนะจับตาปัญหา Special Mentioned Loans เพิ่มต่อเนื่องจาก Q1 หรือไม่? โดยมีแนวต้านทางเทคนิค 106-110-113
- SCB (ราคาเป้าหมาย 77บาท อิง P/E14X) ผู้บริหารเคยใหสัมภาษว่า Q2 จะได้รับผลกระทบจากวิกฤติศก.เติมที่ จับตาว่าสามารถรักษา Cost/Income ไว้ในระดับต่ำหรือไม่? โดยมีแนวต้านทางเทคนิค 72-76-81
- KBANK (ราคาเป้าหมาย 71บาท อิง P/E13X) จับตา NIM ยังสูงสุดหรือไม่? โดยมีแนวต้านทางเทคนิค69-71-74
- แนะ เก็งกำไร KTB (ราคาเป้าหมาย 10บาท อิง P/B1X) แนะจับตา NPL เพราะมีสำรองส่วนเกินเล็กน้อย โดยมีแนวต้านทางเทคนิค 8.5-8.7-9.1
- BAY(ราคาเป้าหมาย 15.5บาท อิง P/B1.1X) แนะจับตาการควบคุมค่าใช้จ่าย Cost/Income จากการซื้อกิจการต่อเนื่องจาก GE & AIG โดยมีแนวต้านทางเทคนิค 16.0-16.5

2. แนะถือ SCIB (ราคาเป้าหมาย 19.7บาท อิง P/B1X) เนื่องจากรอประกาศราคาการซื้อกิจการเพื่อควบรวม โดยมีแนวต้านทางเทคนิค 17.6

โดย บริษัทหลักทรัพย์ ไอร่า จำกัด (มหาชน) ประจำวันที่ 17 ก.ค. 2552

www.thunhoon.com

stock in focus

**********
15/07/52
สินเชื่อบุคคลครึ่งหลังยังคงชะลอตัว

ตั้งแต่ต้นปี 2552 เป็นต้นมา ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นหนึ่งในธุรกิจการเงินที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างรุนแรง

โดยเฉพาะปัญหาการเลิกจ้างงานเป็นจำนวนมากในบางภาคอุตสาหกรรมที่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคบางกลุ่มที่มีภาระการผ่อนชำระสินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์หรือนันแบงก์ ไม่สามารถผ่อนชำระสินเชื่อต่อได้ ทำให้ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ผู้ประกอบการมีการยกเลิกบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเห็นได้ว่า ภาพรวมจำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลในเดือนพ.ค. 2552 ที่ผ่านมา มีประมาณ 9,224,365 บัญชี หดตัวลง 16.6% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (ที่มีจำนวนบัญชีประมาณ 11,065,888 บัญชี) นอกจากนี้ผู้ประกอบการทั้งธนาคารพาณิชย์ และ NonBank ต่างเพิ่มความระมัดระวังในการอนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคลมากขึ้น โดยมีการปรับกฎเกณฑ์รายได้ขั้นต่ำ การเลือกเจาะกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงน้อยในภาวะที่เศรษฐกิจยังคงถูกรุมเร้าด้วยปัจจัยลบนานัปการ ซึ่งมีผลทำให้การขยายตัวของธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลนั้นชะลอตัวลงตาม ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สรุปประเด็นสำคัญของธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล ดังนั้นแนวโน้มสินเชื่อส่วนบุคคลท่ามกลางแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจที่คาดว่าอาจจะฟื้นตัวในช่วงครึ่งปีหลังนี้ คาดว่าเป็นดังนี้

ภาพรวมธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลช่วง 5 เดือนแรกของปีที่ผ่านมายังหดตัวลง จากตัวเลขของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งระบบในเดือนพ.ค. 2552 มีมูลค่า 2.23 แสนล้านบาท ขยายตัว 2.4% ลดลงจากที่ขยายตัว 8.2% ในปี 2551

อย่างไรก็ตาม มูลค่ายอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลปรับลดลงต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 โดยมูลค่ายอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลสิ้นเดือนพ.ค. 2552 ลดลง 7,100 ล้านบาท จากสิ้นเดือนต.ค. 2551 ที่มีมูลค่า 2.30 แสนล้านบาท สอดคล้องกับจำนวนบัญชีที่ลดลงอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนต.ค. 2551 โดยจำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลสิ้นเดือนพ.ค. 2552 มี 9.22 ล้าน บัญชี ลดลงถึง 2.22 ล้านบัญชี หรือลดลง 19.4% จากสิ้นเดือนต.ค. 2551

สำหรับมูลค่าของยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลที่ยังคงลดลงในเดือนนี้เป็นผลมาจากผู้ประกอบการมีการปิดบัญชีลูกค้าบางรายที่ประสบปัญหาการผ่อนชำระสินเชื่อและผู้ประกอบการมีการตัดหนี้สูญออกจากระบบเร็วขึ้น รวมถึงระมัดระวังในการอนุมัติสินเชื่อมากขึ้น โดยยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลในเดือนพ.ค. 2552 ปรับลดลงในทุกกลุ่มผู้ประกอบการ

แนวโน้มธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลครึ่งหลังปี 2552 คงมีทิศทางชะลอตัว แม้คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะปรับตัวใน ทิศทางที่ดีขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจใน ต่างประเทศที่เริ่มมีสัญญาณดีขึ้น อีกทั้ง ยังได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่สองของรัฐบาล ที่น่าจะเป็นผลดีต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งน่าจะทำให้ธนาคารพาณิชย์และกลุ่มนันแบงก์เริ่มหันมาทำตลาดขยายฐานสินเชื่อส่วนบุคคลมากขึ้น

แต่เนื่องจากสินเชื่อส่วนบุคคลนั้นเป็นสินเชื่อไร้หลักทรัพย์ค้ำประกัน จึงจัดเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงสูง ดังนั้นท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจไทยก็ยังคงมีความเสี่ยงสูง อาทิ ความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่อาจส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในเมืองไทย จึงอาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วงครึ่งปีหลังนี้ และอาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของสินเชื่อในระบบ รวมถึง แนวโน้มการว่าจ้างงานที่ลดลง ส่ง ผลกระทบลูกค้าใหม่ที่เข้ามาสู่ระบบลดลง

นอกจากนี้ ปัจจัยความไม่แน่นอนทางการเมืองที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคลดลง และการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อาจส่งผลกระทบต่อภาระรายจ่ายที่เพิ่มสูงขึ้นของผู้บริโภค รวมถึงการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ทำให้ธนาคารพาณิชย์และกลุ่มนันแบงก์ยังให้ความสำคัญในการระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อ รวมถึงการปรับระบบการบริหารความเสี่ยง

จากปัจจัยดังกล่าว จึงได้ปรับประมาณการยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลในปี 2552 ลง โดยคาดว่าน่าจะหดตัว 2.0% ถึงหดตัว 2.9% จากปี 2551
ดังนั้น แม้คาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลังนี้มีทิศทางดีขึ้น แต่ภาวะเศรษฐกิจไทยยังคงมีความเสี่ยงสูง ที่อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อาทิ หากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความล่าช้าออกไปและปัญหาความไม่สงบทางการเมือง อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ซึ่งก็ยังเป็นตัวแปรสำคัญต่อธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในระยะที่เหลือของปีนี้เช่นกัน
ทั้งนี้ ในกรณีพื้นฐาน (Base Case) ภายใต้สมมติฐานรัฐบาลสามารถผลักดันนโยบายในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น และสมมติฐานที่เศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2552 มีทิศทางที่ดีขึ้น น่าจะทำให้ธนาคารพาณิชย์และกลุ่มนันแบงก์ เริ่มหันมาทำตลาดขยายฐานสินเชื่อส่วนบุคคลมากขึ้น ทำให้คาดว่ามูลค่ายอดสินเชื่อ คงค้างน่าจะเพิ่มขึ้นจากในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยในปีนี้คาดว่ายอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งระบบ อาจจะหดตัว 2% หรือมีมูลค่าประมาณ 2.24 แสนล้านบาท

สำหรับกรณีเลวร้าย (Worst Case) ภายใต้สมมติฐานการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกมีความล่าช้าออกไป และปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และรายได้ของผู้บริโภค ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อความสามารถผ่อนชำระสินเชื่อของผู้บริโภค และสะท้อนกลับมายังคุณภาพสินเชื่อในระบบ ทำให้เป็นไปได้ว่าในกรณีเลวร้ายนี้ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งระบบในปีนี้ อาจหดตัว 2.9% หรือมีมูลค่า 2.22 แสนล้านบาท

สำหรับประเด็นการหดตัวของยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลนั้นไม่ได้เป็นผลมาจากการที่ธนาคารพาณิชย์และนันแบงก์เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อแต่อย่างเดียว แต่ยังเป็นผลมาจากปัญหาการเลิกจ้างงาน และภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเช่นกัน ซึ่งส่งผลกระทบต่อความสามารถการผ่อนชำระสินเชื่อ ทำให้ผู้ประกอบการอาจยกเลิกบัญชีสินเชื่อ และตัดหนี้สูญเพิ่มขึ้น

สำหรับแนวโน้มการแข่งขันในธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลครึ่งหลังปี 2552 มองว่าธนาคารพาณิชย์และนันแบงก์ ยังคงเดินหน้าทำการตลาดอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าโดยภาพรวมแล้วอุณหภูมิการแข่งขันในธุรกิจนี้อาจจะลดความร้อนแรงลงไป เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ธนาคารพาณิชย์และนันแบงก์ได้ปรับผลิตภัณฑ์สินเชื่อส่วนบุคคลให้มี ระยะเวลาการผ่อนชำระนานขึ้น เพื่อให้ สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบัน นอกจากนี้ผู้ประกอบการยังใช้กลยุทธ์ฟรีค่าธรรมเนียมการจัดการเงินกู้ ค่าอากรแสตมป์ และฟรีค่าธรรมเนียมในการโอน การแจกของสมนาคุณ รวมถึงการใช้กลยุทธ์อัตราดอกเบี้ยเข้ามาจูงใจผู้บริโภค เช่น การคิดอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้น ลดดอก
รายงานโดย :ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
stock in focus


***************
วิเคราะห์หุ้น :กลุ่มธนาคารพาณิชย์

8 ก.ค.--บมจ.เคจีไอ
Distributor - Bisnews AFE
กลุ่มธนาคารพาณิชย์กลยุทธ์ไตรมาส 3/52: เพิ่มน้ำหนักเป็น " มากกว่าตลาด"
-ระดับราคากลุ่มธนาคารในเชิง PB ยังมีส่วนลดกว่า 11% เมื่อเทียบกับช่วงหลังวิกฤติการเงินปี 1997 และ 26% จากPB เฉลี่ย 6 ปีย้อนหลัง หรือกว่า 45% จากระดับสูงสุดที่เคยซื้อขายมา
-แนวโน้มครึ่งหลังของปี 52 ดีขึ้น และค่า ROE จะเริ่มพื้นตัวในปีหน้า
-ปรับเพิ่มน้ำหนักการลงทุนเป็น มากกว่าตลาด ให้เน้นการลงทุนในหุ้นใหญ่ KBANK SCB KTB BBL BAY และหุ้นธนาคารเล็กอย่าง TISCO จังหวะหุ้นอ่อนตัวตามตลาดที่ผันผวนถือเป็นโอกาสในการเข้าเก็บหุ้นยังปรับขึ้นได้อีกแม้จะวิ่งขึ้นมาพอสมควรแล้ว ในขณะที่ความเสี่ยงเกี่ยวกับปัญหาวิกฤตการเงินโลกและความกังวลเกี่ยวกับสภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวเริ่มคลายตัวลงเมื่อเทียบกับต้นปีที่ผ่านมา Setbank ก็ปรับตัวขึ้นอย่างมากกว่า 59% YTD และปรับตัวสูงกว่า SET ถึง 22% (ตารางที่ 1) ในปัจจุบันคำถามจึงมีอยู่ว่า ราคาหุ้นแพงไปหรือยัง? จากมุมมองในด้านการประเมินมูลค่า แน่นอนว่าคำตอบคือ ยังไม่แพง Setbank ยังมีการซื้อขายที่ค่า PB เพียง 1.1x และยังถูกว่าค่า PB Multiple เฉลี่ยหลังวิกฤตการเงินเอเชียในปี 2540-2541 อยู่กว่า 11% แม้ว่าธนาคารไทยจะมีฐานะทางการเงินที่ดีกว่าช่วงนั่นมากๆ[NPL ลดลงเหลือ 6-7% จากกว่า 50% และเงินกองทุนขั้นที่ 1 ที่ 11-12% เทียบกับ 6-7%] แถมยังไม่มีไม่มีสินทรัพย์ที่เสี่ยงต่อการปรับลดมูลค่าเช่น CDS หรือ CDO ที่เห็นในธนาคารที่มีปัญหาทั่วโลก นอกจากนั้นเมื่อเทียบกับค่า PB เฉลี่ยในรอบ 6 ปีที่ผ่านมาที่ 1.45x หุ้น ณ ปัจจุบันก็ยังมีระดับซื้อขายที่ต่ำกว่าถึง 26% หากวัดจากจุดสูงสุดที่ค่า PB 2.0x จะทำให้ส่วนลดสูงถึง 45% แม้ว่าความเสี่ยงในด้านการเมืองจะยังอยู่ แต่เราก็ยังเห็นได้ชัดเจนว่ายังมีโอกาสอีกมากเพียงแค่การที่หุ้นจะปรับตัวขึ้นไปสู่แค่ค่าเฉลี่ยที่ควรจะเป็น (Mean Reversion) และเรายังเชื่อว่าราคาของหุ้นธนาคารไทยที่ระดับปัจจุบันยังไม่สูงเกินไปแม้จะวิ่งขึ้นมามากแล้วก็ตามในระดับภูมิภาค ราคาหุ้นธนาคารไทยก็ยังถูกเมื่อเทียบกับหุ้นธนาคารอื่นๆ เมื่อเทียบกับหุ้นธนาคารอื่นๆในภูมิภาค หุ้นธนาคารไทยยังมีการซื้อขายในระดับต่ำกว่าค่า PB ภูมิภาคเฉลี่ยที่ 1.5x ถึง 23% แม้ว่าราคาที่ต่ำกว่าดังกล่าวจะสะท้อนถึงความเสี่ยงด้านการเมืองในประเทศที่ยังมีอยู่และแนวโน้มค่า ROE ที่ปรับลดลงมาจากค่าเฉลี่ยในอดีต ซึ่งปรับตัวลดต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2547 จากการสิ้นสุดของสิทธิพิเศษทางภาษีและการเปลี่ยนไปใช้กฎระเบียบที่เข้มงวดมากขึ้น เพื่อให้ธนาคารบันทึกค่าใช้จ่ายสำรองเพิ่ม เช่น IAS39 อย่างไรก็ดีในความเห็นของเรา ส่วนลดของราคาธนาคารไทยต่อธนาคารในภูมิภาคต่างๆยังคงสูงเกินไป ประเมินได้จากสัดส่วน ROE/PB ยังอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยในหลายๆประเทศ น่าสังเกตุว่าแม้ว่าเราจะมีมุมมองที่ยังไม่ดีมากต่อการเมืองไทย เราเชื่อว่าช่วงที่เลวร้ายที่สุดได้ผ่านไปแล้ว นอกจากนี้ในแง่ของค่า PE Multiple ธนาคารไทยยังคงซื้อขายอยู่ในอันดับต่ำมากที่เพียง 10x ในปี 2552 หรือถูกกว่าหุ้นอื่นในภูมิภาคที่ 15x กว่า 30% ขณะที่แนวโน้มเศรษฐกิจฟื้นตัว แม้ว่าจะเกิดขึ้นในอัตราที่ไม่ได้เร็วมาก เราก็ยังประเมินว่าส่วนลดของธนาคารไทยน่าจะแคบลงได้อีก เมื่อเทียบกับหุ้นธนาคารอื่นๆในภูมิภาค
อย่างไรก็ดี นับจากครึ่งหลังของปี 52 เป็นต้นไป เราควรเริ่มเห็นแนวโน้มที่ดีและสัญญาณการฟื้นตัวของปัจจัยบวกต่อกำไรกลุ่มธนาคาร เช่น อัตราการขยายตัวของสินเชื่อ ส่วนต่างดอกเบี้ย รายรับค่าธรรมเนียม ซึ่งก็จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ผลของการฟื้นตัวเริ่มชัดเจนขึ้นมากในปีหน้า โดยค่า ROAE จะเริ่มปรับขึ้น และกำไรจะขยายตัวดีถึง 17-18% เทียบกับ -7.5% ในปี 2552 ดังนั้นเราจึงคาดว่าจากแนวโน้มดังกล่าวหุ้นธนาคารยังมีโอกาสปรับขึ้นได้อีก แนวโน้มปีหน้าดีขึ้น
เราขอเน้นย้ำอีกครั้งว่าแม้เราจะคาดว่าช่วงเลวร้ายที่สุดได้ผ่านไปแล้วในครึ่งแรกของปี 52 ตลาดคงไม่ฟื้นตัวเป็นรูปตัว V และในระยะสั้นตลาดจะยังได้รับผลกระทบจากผลประกอบการไตรมาส 2/52 ที่คาดว่าจะอ่อนตัว จากแรงกดดันด้านส่วนต่างดอกเบี้ย อัตราการขยายตัวของสินเชื่อในระดับต่ำ สำรองที่เพิ่มขึ้น และรายรับค่าธรรมเนียมที่ลดลง ในภาพรวมทั้งปี 2552 ผลประกอบการน่าจะยังอยู่ในระดับต่ำ แต่ก็คงไม่เป็นเรื่องแปลกสำหรับตลาด เนื่องจากตลาดได้คาดไว้แล้วว่ากำไรจะลดลง 6% ในปีนี้

จากการฟื้นตัวในระยะกลางถึงยาว และการคาดการณ์เกี่ยวกับส่วนลดต่างของมูลค่าในปัจจุบันกับในอดีตหรือเทียบกับตลาดภูมิภาคจะน้อยลง เราจึงปรับเพิ่มน้ำหนักกลุ่มธนาคารเป็น มากกว่าตลาด จาก เท่ากับตลาด และยังคงเลือกลงทุนในธนาคารขนาดใหญ่ เช่น KBANK, SCB, KTB, BBL, BAY ในกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก เราเลือก TISCO

เรายังคงแนะนำ เก็งกำไร SCIB แม้ว่าปัจจัยพื้นฐานจะต่ำกว่าเพื่อน เนื่องจากหุ้นอาจเป็นเป้าในการซื้อกิจการ และเป็นหุ้นเก็งกำไรที่ดี (คาดว่าราคาซื้อกิจการจะอยู่ที่กว่า 20 บาทต่อหุ้น) สำหรับ TMB และ TCAP เราคงแนะนำ ขาย จากความเสี่ยงในด้าน NPL และความสามารถในการทำกำไรในระดับต่ำสำหรับ TMB และ แนวโน้มค่า ROE ที่ลดลงมากหลังจากไม่มีการบันทึกกำไรพิเศษแล้วสำหรับ TCAPจับตาดูสัญญาณฟื้นตัวสินเชื่อขยายตัวลดลงในปี 2552 แต่คาดว่าแนวโน้มจะดีขึ้นในครึ่งหลังของปี 52 จากการคาดการณ์ที่ว่า GDP จะหดตัว 3.5-5% ในปีนี้และสินเชื่อที่หดตัวไปแล้วถึง 2.4% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือน พ.ค. ตลาดก็คงไม่แปลกใจถ้าสินเชื่อขยายตัวต่ำในปีนี้ ในปัจจุบันเราคาดว่าสินเชื่อจะยังขยายตัวในระดับต่ำเพียง 2% ในปีนี้ ซึ่งลดลงจากกว่า 11% ในปีที่แล้ว อย่างไรก็ดีประมาณการของเรายังสะท้อนถึงกิจกรรมสินเชื่อที่คาดว่าจะค่อย ๆ ฟื้นตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในครึ่งหลังของปี 52 ปัจจัยตามฤดูกาลที่ดีขึ้นในช่วงปลายปี และการกู้ยืมจากรัฐวิสาหกิจและภาครัฐเพื่อปิดงบประมาณขาดดุล และใช้ในโครงการลงทุนใหม่ เราคาดว่า KTB จะรายงานสินเชื่อขยายตัวสูงสุด ถึง 10% YoY (ตารางที่ 14) ในขณะที่เราคาดว่า BBL และ TMB จะรายงานสินเชื่อหดตัว 1.2% และ 9.7% ตามลำดับ ในปี 2553 เรายังคาดว่าสินเชื่อจะพื้นตัวขึ้นโดยขยายตัวประมาณ 6.5% หรือประมาณ 1.1x ของประมาณการ GDP ของเราในปี 2553 ที่ 5.5% (Real GDP ที่ 2.5% อัตราเงินเฟ้อที่ประมาณ 3%)ปรับน้ำหนักกลุ่มธนาคารเป็น ลงทุนมากกว่าตลาด ปรับน้ำหนักกลุ่มธนาคารเป็น มากกว่าตลาด จาก เท่ากับตลาด
จากเศรษฐกิจโลกดีขึ้นและปัญหาวิกฤตการเงินที่คลายตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงปลายปี ความพยายามของธนาคารกลางทั่วโลกในการกระตุ้นเศรษฐกิจและพยุงระบบการเงิน ตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคที่ดีขึ้นในประเทศจีน หรือแม้แต่สัญญาณการมีเสถียรภาพในประเทศไทย ทำให้เราปรับลดค่าความเสี่ยงที่ใช้ประเมินมูลค่าหุ้น (risk premium) ของเราตามลำดับ การปรับดังกล่าวทำให้ต้นทุนการลงทุน (COE) ลดลงจากกว่า 12-13% เป็นประมาณ 11-12% และได้ราคาพื้นฐานที่สูงขึ้นดังจะเห็นได้ในตารางที่ 13 แม้ว่าราคาพื้นฐานใหม่ของเราโดยเฉลี่ยจะยังมี upside กว่า 20% จากระดับในปัจจุบัน ราคาพื้นฐานใหม่ส่วนมากยังถูกกว่าค่า PB เฉลี่ย 6 ปีอยู่กว่า 15% ซึ่งสะท้อนถึงความเชื่อของเราที่ว่าการประเมินมูลค่าที่เพิ่มขึ้นสะท้อนถึงแนวโน้มระยะยาวของหุ้นธนาคารไทยที่ดีขึ้น อย่างไรก็ดีเราไม่อย่างให้มีการเข้าใจผิดว่า เราคาดว่าผลประกอบการของกลุ่มธนาคารจะพื้นตัวอย่างรวดเร็ว แม้เราจะเชื่อว่าช่วงเลวร้ายที่สุดได้ผ่านพ้นไปแล้วก็ตาม โดยรวมเรายังประเมินว่ากำไรของกลุ่มธนาคารและเศรษฐกิจจะต้องใช้เวลาอีกระยะในการฟื้นตัว และโดยเฉพาะในระยะสั้น ผลประกอบการของกลุ่มธนาคารฯ น่าจะยังอยู่ในภาวะถูกกดดันสูง แต่ ณ เราประเมินว่าภาพการพื้นตัวในระยะยาวของกลุ่มธนาคารจะมีนัยสำคัญกว่าผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดในระยะสั้นนี้ ส่วนเกินที่อยู่ในระดับสูงส่งผลกระทบต่อธนาคาร สินเชื่อจะขยายตัวลดลงตามเศรษฐกิจชะลอตัว และอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินที่อยู่ในระดับต่ำตามวงจรอัตราดอกเบี้ยขาลง ผลตอบแทนการลงทุนตกต่ำ เนื่องจากตลาดหุ้นตกตามปัญหาวิกฤตการเงินโลก และปัญหาคุณภาพสินทรัพย์เสื่อมค่า นอกจากนี้ ผลจากการล่าช้าของการปรับลงต้นทุนดอกเบี้ยหลังจากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากจะกระทบส่วนต่างดอกเบี้ยในช่วงต้นของการปรับลดอัตราดอกเบี้ย (สินเชื่ออัตราดอกเบี้ยลอยตัวคิดเป็น 70-90% ของสินเชื่อรวม ในขณะที่เงินฝากประจำคิดเป็น 50-60% ของเงินฝากรวม) ในภาพรวมเราคาดว่าส่วนต่างดอกเบี้ยจะหดตัว 33 bps ในปีนี้ น่าสังเกตุว่าแม้ว่าในช่วงหลายอาทิตย์ที่ผ่านมาจะเกิดความหวังขึ้นด้านโครงการของรัฐบาล เนื่องจากรัฐสภาได้เห็นชอบ พรก. กู้ยืมเงินจำนวน 4 แสนล้านบาท เรามองว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจดังกล่าวเป็นมาตรการช่วยเหลือไม่ให้สถานการณ์แย่ลง แต่ไม่ใช่ยาแก้ที่จะทำให้เศรษฐกิจพื้นตัวได้ในช่วงข้ามคืน เรายังเห็นว่าประเด็นสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่ารัฐบาลจะยืมเงินจากระบบธนาคารเท่าไร แต่อยู่ที่การริเริ่มโครงการก่อสร้างสาธารณูปโภคอย่างจริงจัง ซึ่งจะช่วยสร้างผลในการผลักดันเศรษฐกิจและความต้องการสินเชื่อในภาคเอกชนมากกว่า อย่างไรก็ดีข่าวดีคือกว่า 74% ของงบประมาณรวมหรือประมาณ 1 ล้านล้านบาทจะถูกใช้ในปี 2553 ตามแผนฯ แนวโน้มส่วนต่างดอกเบี้ยน่าจะเริ่มดีขึ้นในครึ่งหลังของปี 52
อย่างไรก็ดีเรายังเชื่อว่าช่วงเวลาที่เลวร้ายได้ผ่านพ้นไปหลังจากที่เราก้าวเข้าสู่ครึ่งหลังของปี 52 ในความเห็นของเรา วงจรอัตราดอกเบี้ยขาลงควรสิ้นสุดลงหรืออย่างมากอัตราดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์อาจจะลดลงอีกครั้งในไตรมาส 3/52 นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยนโยบายควรทรงตัวที่ระดับปัจจุบันอย่างน้อยไปจนถึงไตรมาส 2/53 แม้ว่าเงินเฟ้ออาจเพิ่มขึ้นภายในสิ้นปี เราคาดว่าอัตราเงินเฟ้อหลักจะไม่สูงนัก จากแนวโน้มราคาอาหารที่ค่อนข้างทรงตัว ตามกำลังการผลิตส่วนเกินที่ยังมีมาก อัตราการว่างงานที่เพิ่มขึ้น ความต้องการที่ลดลง และผลกระทบที่มีจำกัดจากอัตราเงินเฟ้อที่ปรับขึ้นตามต้นทุน เราคาดว่าอัตราดอกเบี้ยจะปรับขึ้นอีกครั้งในไตรมาส 2/53 - 3/53 หลังเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว จากประมาณการอัตราดอกเบี้ยของเรา เราควรเริ่มเห็นต้นทุนการเงินทยอยลดลงตามส่วนต่างของสินเชื่อและดอกเบี้ยเงินฝากที่ยังยื่นอยู่ในระดับสูงที่สุดในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา และจะเพิ่มปัจจัยบวกให้กับส่วนต่างดอกเบี้ยในครึ่งหลังของปี 52 หรืออย่างน้อยในไตรมาส 4/52 นอกจากนี้ในครึ่งหลังของปี 52 สินเชื่อควรค่อย ๆ ขยายตัว ซึ่งจะทำให้ธนาคารสามารถใช้สภาพคล่องส่วนเกินคุณภาพสินทรัพย์อยู่ในระดับที่จัดการได้ นับตั้งแต่เราเข้าสู่สภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ธนาคารพูดเป็นแนวทางเดียวกันอยู่เสมอว่าแม้ว่าคุณภาพสินทรัพย์จะตกต่ำแน่ ๆ แต่การเสื่อมสภาพดังกล่าวจะอยู่ในระดับที่จัดการได้และก็ไม่น่าจะเกินกว่าที่คาด นับตั้งแต่ปีที่แล้ว ธนาคารไทยต่างใช้วิธีเดียวกันโดยการปรับมาตรฐานการปล่อยสินเชื่อให้เข้มงวดขึ้นและให้โอกาสลูกค้าชั้นดีในการปรับแผนการชำระสินเชื่อเพื่อหลีกเลี่ยงการเป็น NPL ไปพร้อมกัน อย่างไรก็ดี แม้ว่าเราจะไม่สามารถนอนใจได้ว่าตลาดได้คาดการณ์เกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ NPL อาจเพิ่มขึ้นและความกังวลเกี่ยวกับสำรองไว้แล้ว ในปัจจุบันประมาณการของเรารวมถึงต้นทุนสินเชื่อ (Credit cost) ที่ 103 bps ต่อสินเชื่อคงค้าง และก็คงไม่ต่ำไปกว่าความคาดการณ์ของตลาด ซึ่งเพิ่มจาก 92 bps เมื่อปีที่แล้ว หากธนาคารสามารถควบคุม NPL ได้ดีเหมือนในครึ่งแรกของปี 52 ประมาณการต้นทุนสินเชื่อของเราควรมากพอที่จะจัดการกับ NPLที่เพิ่มได้ อย่างไรก็ดีหากสถานการณ์เลวร้ายลงกว่าที่คาด เราเชื่อว่าความเสี่ยงต่อประมาณการกำไรของกลุ่มธนาคารก็ไม่น่าจะมาก อันเป็นผลจากกำไรพิเศษ ซึ่งเราคาดว่าธนาคารจำนวนมากจะบันทึกในปีนี้ เช่น กำไรพิเศษจากการซื้อกิจการต่ำกว่าราคาประเมิน (negative goodwill) ของ BAY หรือกำไรจากการทำคำเสนอซื้อ Hybrid Tier 1 ของ TMB นอกจากนั้นยังมีกำไรที่อาจเกิดขึ้นจากการขาย ACL ของ BBL และปัจจัยบวกที่จะช่วยเพิ่มกำไรจากการถือหุ้นเพิ่มใน MTFS ของ KBANK ฯลฯ ในขณะนี้เราจะจับตาดูค่าใช้จ่ายสำรองและคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารต่าง ๆอย่างใกล้ชิดและรายงานในทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลงอันไม่คาดคิดเกิดขึ้นความเสี่ยงต่อประมาณการของเรา
1) เศรษฐกิจโลก: แม้เราจะเชื่อว่าช่วงเลวร้ายที่สุดได้ผ่านพ้นไปแล้ว และจากการตอบโต้อย่างรวดเร็วของธนาคารกลางต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อป้องกันระบบเศรษฐกิจและการเงิน ในปัจจุบันเรายังไม่สามารถตัดความเป็นไปได้เกี่ยวกับข่าวร้ายที่ไม่สามารถคาดเดาได้ต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้ทุกอย่างกลับตาลปัตร ข่าวร้ายดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการพื้นตัวของราคาหุ้นและการพื้นตัวของผลประกอบการของธนาคารในระยะยาวที่เรากล่าวไว้
2) การเมืองในประเทศ: แม้ว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและการเห็นชอบ พรก. และพรบ. กู้ยืมเงินของรัฐบาล อันจะทำให้รัฐบาลสามารถกู้ยืมเงิน 8 แสนล้านบาทเพื่อเป็นเงินทุนสำหรับโครงการไทยเข้มแข็งจำนวน 1.43 ล้านล้านบาท จะเพิ่มแนวโน้มบวกให้กับการขยายตัวของสินเชื่อของธนาคารและต่อเศรษฐกิจ เราเห็นว่าปัจจัยเสี่ยงสำคัญ ซึ่งอาจพลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือยังอยู่ที่ปัญหาการเมืองยืดเยื้อ ปัญหาความแตกแยกระหว่างคนไทยด้วยกันยังไม่ได้รับการแก้ไข เพียงแต่ชะลอออกไป เมื่อปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นอีก เสถียรภาพของรัฐบาลจะสั่นไหว ซึ่งจะทำให้นโยบายขาดความต่อเนื่องในที่สุด นโยบายที่ขาดตอนดังกล่าวจะยืดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจออกไปและขยายช่วงกว้างของราคาของ SET และตลาดอื่นในภูมิภาคออกไปอีก--จบ—
Thanks a lot khun muangsombut
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I8058763/I8058763.html
********

08/07/52
Q2 แบงก์กำไรพุงกาง SCB ฟัน 4.8 พันล้านบ. โบรกฯคาดการณ์ผลประกอบการ หุ้นกลุ่มแบงก์ไตรมาส 2 พบยังคงมีกำไรกันถ้วนหน้า ด้าน "ไทยพาณิชย์" แรงสุด ฟากกำไรกว่า 4.8 พันล้านบาท ส่วน "กรุงไทย" ค่อนข้างทรงตัว เหตุมีภาระตั้งสำรอง ขณะที่ TMB แม้จะมีกำไรพิเศษจากไฮบริดเทียร์วัน และ SWAP แต่ก็ต้องตั้งสำรองเพิ่ม ทำให้กำไรอยู่ที่ระดับ 480 ล้านบาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น