วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข่าวกลุ่มพลังงานและทรัพยากรธรรมชาติ

24/09/52
8ด.ปี52ยอดใช้ไฟฟ้าลด4.2%
กฟน.ระบุ 8 เดือนแรกปีนี้ ยอดใช้ไฟฟ้าลดลงร้อยละ 4.2 ภาคอุตสาหกรรมยังติดลบ คาดปลายปีเพิ่มมากขึ้น

นายพรเทพ ธัญญพงศ์ชัย ผู้ว่าการ การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) เปิดเผยว่า กำลังการใช้ไฟฟ้าในเขตนครหลวง 8 เดือนแรกปีนี้ ลดลงร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยการใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรมยังติดลบ แต่การใช้ไฟฟ้าภาคครัวเรือนและศูนย์การค้าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในช่วงปลายปีปริมาณการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นมากกว่าปัจจุบัน ทำให้สิ้นปีนี้การใช้ไฟฟ้ารวมเขตนครหลวงคาดว่าจะติดลบประมาณร้อยละ 1-2 เป็นไปตามที่ กฟน.ประเมินไว้ สำหรับจำนวนผู้ใช้ไฟฟ้าในช่วง 8 เดือนแรกปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3 แต่เนื่องจากภาคอุตสาหกรรมซึ่งมีสัดส่วนใช้ไฟฟ้าสูงถึงร้อยละ 80 มีการใช้ไฟฟ้าลดลง ทำให้ภาพรวม 8 เดือนแรกติดลบ นอกจากนี้ กฟน.กำลังดำเนินการนำสายไฟฟ้าแรงสูงลงใต้ดิน หลังจากดำเนินการแล้วในเขตสีลม โดยกำลังขยายพื้นที่ไปพญาไท สุขุมวิท รอบวังสวนจิตรลดา ใช้งบประมาณ 1,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร (กทม.) นำสายไฟฟ้าลงใต้ดินรอบเกาะรัตนโกสินทร์ และเส้นทางคู่ขนานกับรถไฟฟ้า.
posttoday
***************
23/09/52
เพิ่มเกรดหุ้นน้ำมัน

สถาบันวิจัยนครหลวงไทยคาดการณ์ว่าความต้องการน้ำมันโลกในปี 2554 จะอยู่ที่ระดับ 87.13 ล้านบาร์เรลต่อวัน กลับมาสูงกว่าระดับสูงสุดเดิมในปี 2550 อยู่ 0.61 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือ 0.71%

ทั้งนี้ คาดว่าในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้าความตึงตัวของความต้องการการผลิตกลับมาเพิ่มสูงขึ้น โดยสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นของพลังงานทดแทนคาดจะยังมีผลกระทบค่อนข้างน้อย

สถาบันวิจัยนครหลวงไทยมีการปรับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้น 6% ในปี 2552 เป็น 61.6 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และ 12% ในปี 2553 เป็น 74.5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ส่งผลให้ประมาณการกำไรสุทธิปี 2552-2553 ของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) ขึ้น 1% และ 7% และประมาณการกำไรของบริษัท ปตท.(PTT) เพิ่มขึ้น 27.4% ในปี 2552 และ 12.7% ในปี 2553

ทั้งนี้ คาดกำไรปี 2552 ของ PTT กลับมาฟื้นตัวเร็วกว่าจากผลบวกของธุรกิจโรงแยก โรงกลั่นและปิโตรเคมี แต่ในปี 2553 กำไรของ PTTEP มีแนวโน้มโดดเด่นกว่าจากอัตราการเติบโตที่สูงถึง 85% จากช่วงเดียวกันของ ปีก่อน โดยคาดทำสถิติเป็นประวัติการณ์ ใหม่จากปริมาณการผลิตที่สูงขึ้นกว่าปี 2551 เกือบ 30%

สถาบันวิจัยนครหลวงไทย คาดอัตราการเติบโตของหุ้นในกลุ่มน้ำมันต้นน้ำจะโดดเด่นที่สุดในกลุ่มพลังงานปี 2553 โดยสัดส่วนราคาต่อกำไรต่อหุ้น (PE) ของ PTT และ PTTEP ยังคงซื้อขายต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคและยังคงมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น 22% และ 38% ตามลำดับ คงคำแนะนำ “ซื้อ”

คาดความต้องการน้ำมันฟื้นตัวกลับมา เท่าระดับเดิมในปี 2554 : ผลกระทบจาก วิกฤตเศรษฐกิจในปี 2551 ส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันโลกเติบโตติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี โดยองค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ประเมินตัวเลขความต้องการน้ำมันโลกหดตัวลงไป 0.25% ในปี 2551 และใน ปี 2552 คาดจะยังหดตัวต่อเนื่องอีก 2.2% (อิงคาดการณ์ในเดือนก.ย. 2552) โดยคาดการณ์ฟื้นตัวของความต้องการน้ำมันจะเริ่มเห็นในปี 2553 ซึ่งคาดการฟื้นตัวที่ระดับ 1.5% เป็น 85.70 ล้านบาร์เรลต่อวัน หากพิจารณาระดับของความต้องการในปี 2552 เทียบกับระดับสูงสุดในปี 2550 (ที่ 86.51 ล้านบาร์เรลต่อวัน) ความต้องการน้ำมันโลกหดตัวไป 2.4% และในปี 2553 การหดตัวลดลงเหลือ 0.94%

สถาบันวิจัยนครหลวงไทย คาดความ ต้องการการผลิตน้ำมันจะกลับมาตึงตัวสูงต่อเนื่องในระยะยาว : แม้ในปี 2551-2552 ที่ความต้องการน้ำมันมีการหดตัวลง จะทำให้กำลังการผลิตน้ำมันโลกกลับมามีกำลังการผลิตสำรอง (Spare Capacity) เพิ่มสูงขึ้น ใกล้เคียงระดับ 6 ล้านบาร์เรลต่อวัน (เทียบกับเพียง 2-3 ล้านบาร์เรลในช่วงก่อนหน้า) แต่เมื่อภาวะเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว ความต้องการการใช้น้ำมันโลกก็คาดจะกลับมาเติบโตเป็นปกติซึ่งโดยเฉลี่ยที่ 1%

ความต้องการน้ำมันโลกคาดจะกลับมาเติบโตปีละกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้าคาดความตึงตัวของความต้องการการผลิตกลับมาเพิ่มสูงขึ้น แม้ในช่วงที่ผ่านมาความพยายามในการเร่งพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อช่วยบรรเทาการพึ่งพาการใช้น้ำมันโลก แต่สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน เช่น Bio fuel ที่ยังคงคิดเป็นเพียงไม่ถึง 2% ของปริมาณการผลิตน้ำมันโลกโดยรวมในปัจจุบัน การเข้ามาแทนสัดส่วนการผลิตน้ำมันเดิมอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 5 ปีข้างหน้า

จึงยังคงเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะหากพิจารณาตัวเลขคาดการณ์อุปทานน้ำมันนอกกลุ่มโอเปก (OPEC) หรือผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ของโลก (สัดส่วนประมาณ 60% ของการผลิตน้ำมันรวม) ของ IEA ที่คาดว่าประมาณ 62% ของกำลังการผลิตจะมีกำลังการผลิตที่เสื่อมถอยลงหลังปี 2555 ปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันดิบ ทั้งนี้ ผู้ผลิตน้ำมันต้นน้ำยังคงได้ประโยชน์สูงสุด : ปัจจัยความตึงตัวของอุตสาหกรรมน้ำมันที่คาดจะกลับมาทำให้ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อผู้ผลิตในกลุ่มอุตสาห กรรมน้ำมันต้นน้ำ ซึ่งคาดยังคงได้ประโยชน์สูงสุดจากแนวโน้มการกลับมาทรงตัวสูงของราคาน้ำมัน

ทั้งนี้ ได้ปรับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้น 6% ในปี 2552 เป็น 61.6 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และเพิ่มขึ้น 12% ในปี 2553 เป็น 74.5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทั้งนี้ อิงสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบใหม่คาดราคาเฉลี่ยจะลดลง 34% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนในปี 2552 และกลับมาปรับเพิ่มขึ้น 21% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในปี 2553 สำหรับระยะยาว ยังคงอิงสมมติฐานราคาน้ำมันดิบ ดูไบที่ระดับอนุรักษนิยมที่ 65 เหรียญสหรัฐ ต่อบาร์เรล

คาดอัตราการเติบโตของหุ้นในกลุ่มน้ำมันต้นน้ำโดดเด่นที่สุดในปี 2553 : จากการปรับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบปี 2552-2553 ส่งผลให้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2552-2553 ของ PTTEP ขึ้น 1% และ 7% โดยการปรับประมาณการกำไรของ PTTEP น้อยกว่าการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมัน เนื่องจากปี 2552-2553 มีการเผื่อผลกระทบไว้มากขึ้น จากการเลื่อนการผลิตของโครงการมอนทารา

สำหรับ PTT มีการปรับเพิ่มประมาณการกำไรขึ้น 27.4% ในปี 2552 และ 12.7% ในปี 2553 จากผลบวกราคาน้ำมันที่ส่งผลต่อ PTTEP ธุรกิจโรงแยก โรงกลั่น และปิโตรเคมี คาดกำไรปี 2552 ของ PTT กลับมาฟื้นตัวเร็วกว่าจากผลบวกของธุรกิจโรงแยก โรงกลั่นและปิโตรเคมี แต่ในปี 2553 กำไรของ PTTEP มีแนวโน้มโดดเด่นกว่าจากอัตราการเติบโตที่สูงถึง 85% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยคาดทำสถิติประวัติการณ์ใหม่จากปริมาณการผลิตที่สูงขึ้นกว่าปี 2551 เกือบ 30% ปรับมูลค่าเหมาะสมมาอิงปี 2553 โดย PTTEP อยู่ที่ 202 บาท และ PTT อยู่ที่ 325 บาท โดยเทียบกับราคาปัจจุบัน PTTEP มี upside 38% และ PTT มี upside 22% ทั้งนี้ PE ปี 2552 ของกลุ่มธุรกิจพลังงานและปิโตรเคมี (E&P) ในภูมิภาคในปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 29.9 เท่า ขณะที่ PTTEP 17 เท่า ส่วนธุรกิจ Integrated Oil Company ในภูมิภาคในปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 13.59 เท่า ขณะที่ PTT 12.7 เท่า ซึ่ง PTT และ PTTEP ยังคงถูกกว่า คงคำแนะนำ “ซื้อ”
posttoday

************
23/09/52
ธุรกิจโรงกลั่นแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น: "น้ำหนักเท่ากับตลาด" - บล.เคจีไอ
Source - บมจ.หลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) (Th) Wednesday, September 23, 2009 09:38 53281 XTHAI XECON XCORP XFINSEC XFINMKT XCOMMENT TOP V%COMMENT P%KGI
กลุ่มพลังงาน (ธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมี) : ธุรกิจโรงกลั่นมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น - น้ำหนักเท่ากับตลาด สรุปประเด็นสำคัญ และข่าวล่าสุด - ช่วงเวลายากลำบากสำหรับธุรกิจโรงกลั่นได้ผ่านพ้นไปแล้ว ดังนั้นเรามองเห็นโอกาสการปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าการปรับลดลง - ธุรกิจปิโตรเคมีอยู่ในช่วงขาลง แต่สายอะโรเมติกส์ดูดีกว่าสายโอเลฟิสน์ เนื่องจากวัตถุดิบในการผลิตขาดแคลน - ประเด็นการควบรวมถือเป็นประเด็นเก็งกำไรในระยะสั้น - ปรับเพิ่มคำแนะนำเป็น ‘เท่ากับตลาด’ โดยมี TOP เป็นหุ้นเด่น ช่วงเวลายากลำบากสำหรับธุรกิจโรงกลั่นได้ผ่านพ้นไปแล้ว โรงกลั่นในอเชียต่างได้รับความลำบากตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากความต้องการใช้ในปี 2552 ของเอเชียที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 2.3 แสนบาร์เรลต่อวันจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว และการเริ่มผลิตของกำลังการผลิตใหม่ในช่วงเก้าเดือนแรกของปี 2552 ที่สูงถึง 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน ดังนั้นค่าการกลั่นเฉลี่ยรายไตรมาสได้ปรับตัวลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ไตรมาส 1/52 อย่างไรก็ดี ในความเห็นของเรา สถานการณ์ดังกล่าวน่าเริ่มพลิกกลับในช่วงปลายปีนี้ถึงปีหน้า เนื่องจากความต้องการจากประเทศในเอเชียที่คาดว่าจะเพิ่มอีก 5.5 แสนบาร์เรลต่อวันในปี 2553 ขณะที่กำลังการผลิตใหม่ที่คาดว่าจะเริ่มในไตรมาส 4/52 และปี 2553 จะมีเพียง 2.76 แสนบาร์เรลต่อวัน และ 1.0 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งต่ำกว่าปี 2552 อย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นเราจึงมีมุมมองที่เป็นบวกเพิ่มต่อธุรกิจโรงกลั่นและให้น้ำหนัก ‘เท่ากับตลาด’ สำหรับกลุ่มดังกล่าว ค่าการกลั่นมีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าปรับลดลง ความต้องการผลิตภัณฑ์ที่ตกต่ำและกำลังการผลิตใหม่ที่กำลังเข้าสู่ตลาดได้กดดันส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์น้ำมันกลั่นและค่าการกลั่นในปี 2552 ค่าการกลั่นเฉลี่ยตั้งแต่ไตรมาส3/52 จนถึงปัจจุบัน อยู่ที่ 3.2 เหรียญต่อบาร์เรลเป็นค่าต่ำสุดตั้งแต่ปี 2549 และควรจะสะท้อนถึงปัจจัยลบดังกล่าวเกือบทั้งหมดแล้ว แม้ว่าเราจะไม่ได้คาดการณ์ถึงการฟื้นตัวของค่าการกลั่นอย่างมีนัยสำคัญ ในไตรมาสที่กำลังจะมาถึง แต่เราเชื่อว่าโอกาสที่ค่าการกลั่นจะปรับลดลงนั้นต่ำ กว่าในขณะที่ค่าการกลั่นมีโอกาสเพิ่มจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ดีเกินคาด โดยเฉพาะจากสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศผู้บริโภคน้ำมันใหญ่อันดับหนึ่ง ค่าการกลั่นน้ำมันดีเซลอยู่ที่ระดับต่ำสุด ฝ่ายวิจัยในประเทศจีนของเราเห็นว่าเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องจนถึงปีหน้า ในขณะที่ตลาดเชื่อว่าเศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว การฟื้นตัวของประเทศจีนและอเมริกาเหนือต่อเนื่องในปีหน้า จะช่วยหนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ดังนั้นตลาดน้ำมันคาดว่าจะได้ประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญจากการฟื้นตัวดังกล่าว โดยเฉพาะน้ำมันที่ใช้ในอุตสาหกรรม เช่น ดีเซล จากสภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เราคาดการณ์ถึงโอกาสที่ค่าการกลั่นน้ำมันดีเซลจะปรับขึ้นหลังจากเคลื่อนไหวอยู่ใกล้ช่วงต่ำของค่าการกลั่นในปี 2546-51 ในรอบ 9 เดือนแรกของปี 52 ที่ค่าเฉลี่ย 7.6 เหรียญต่อบาร์เรล ลดลงจากจุดสูงสุดที่ 46.0 เหรียญต่อบาร์เรลเมื่อกลางปี 2551 นอกจากนั้น ในระยะสั้นเราคาดว่าความต้องการดีเซลโดยปกติจะเพิ่มสูงขึ้นก่อนฤดูหนาวจะช่วยหนุนค่าการกลั่นน้ำมันดีเซลและค่าการกลั่นได้อีกประการหนึ่งด้วย ค่าการกลั่นน้ำมันเครื่องบินจะได้ประโยชน์จากแนวโน้มการท่องเที่ยวที่ดีขึ้น ในปีนี้ธุรกิจท่องเที่ยวโลกได้รับผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทำให้ความต้องการสำหรับน้ำมันเครื่องบินลดลง เช่นเดียวกันกับน้ำมันดีเซล ส่วนต่างราคาน้ำมันเครื่องบิน เคลื่อนไหวในช่วงต่ำตั้งแต่ต้นปีนี้ อย่างไรก็ดี จากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้น แนวโน้มของธุรกิจท่องเที่ยวดูจะปรับตัวขึ้นทั่วโลก เราคาดว่าส่วนต่างราคาน้ำมันเครื่องบิน ไม่น่าที่จะปรับลดไปมากกว่านี้ แต่จะมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น ค่าการกลั่นน้ำมันเบนซินมีแนวโน้มปรับลดลงในช่วงไตรมาส 4 แต่โน้มโน้นระยะยาวยังดูดี ส่วนต่างผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ดีเกินคาดในปี 2552... ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน ธุรกิจปิโตรเคมีมีผลประกอบการที่ดีกว่าที่เราคาดไว้มาก โดยส่วนต่าง HDPE-แนฟทา เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันอยู่ที่ 581 เหรียญต่อตัน ซึ่งยังอยู่ในช่วงสูงนับตั้งแต่ปี 2543 เนื่องจากการนำเข้าปริมาณมากของประเทศจีนตามความสำเร็จของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การปรับลดการผลิตของผู้ผลิตที่มีต้นทุนสูง และ การเลื่อนการเปิดดำเนินการของโครงการใหม่ ๆ หลายโครงการในเอเชีย คาดส่วนต่างผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์จะปรับตัวลดลงในปี 2553 แม้ว่าสถานการณ์ความต้องการในประเทศจีนที่ยังอยู่ในระดับสูง ประกอบกับการหยุดโรงงานเพื่อซ่อมบำรุงและปริมาณสินค้าคงคลังในกลุ่มประเทศยุโรปที่อยู่ในระดับต่ำ จะเป็นปัจจัยที่ช่วยรักษาระดับส่วนต่างผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ในช่วงปลายไตรมาส 3/52 ถึงต้นไตรมาส 4/52 เราเชื่อว่าส่วนต่างงดังกล่าวจะค่อย ๆ ปรับตัวลดลงในปลายปี 2552 เนื่องจากการคาดการณ์ต่อการนำเข้าของประเทศจีนว่าจะอยู่ในระดับสูงได้อีกไม่นาน เป็นผลจากอุปสงค์และอุปทานในประเทศจะปรับสู่สมดุลย์มากขึ้นหลังกำลังการผลิตใหม่ในประเทศจีน ซึ่งถูกเลื่อนจากแผนเดิมก่อนหน้านี้เริ่มขึ้นในที่สุด และกำลังการผลิตที่หยุดไปในช่วงต้นปีที่ผ่านมาเนื่องจากการคาดการณ์ว่าอุตสาหกรรมจะตกต่ำมาก จะกลับมาสามารถเดินได้ใหม่ นอกจากนั้นอุปทานจากตะวันออกกลางยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญต่อสถานการณ์ตลาดในปัจจุบัน ดังนั้นเราจะยังคงมุมมองที่เป็นลบต่อสายการผลิตโอเลฟินส์ ธุรกิจอะโรเมติกส์ก็ได้รับแรงกดดันจากกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น... เช่นเดียวกันกับสายโอเลฟินส์ ที่มีกำลังการผลิตจำนวนมากเพิ่มเข้าสู่ตลาด เราเชื่อว่าธุรกิจอะโรเมติกส์ก็จะประสบปัญหาความไม่สมดุลย์จากอุปสงค์และอุปทานที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะผลักดันธุรกิจให้เข้าสู่วงจรขาลง เราเชื่อว่าส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ จะลดลงจากระดับสูงที่เคยเห็นในไตรมาส 2/52 – 3/52 ...แต่ธุรกิจขาลงจะไม่รุนแรงเท่าสายโอเลฟินส์ เราเชื่อว่าสถานการณ์ของอะโรเมติกส์จะรุนแรงน้อยกว่าโอเลฟินส์ เนื่องจากความขาดแคลนไพก๊าซ และรีฟอร์เมต ซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตอะโรเมติกส์ โดยไพก๊าซ ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากการผลิตโอเลฟินส์ มีปริมาณลดลง เนื่องจากการผลิตโอเลฟินส์จากแนฟทา ที่มีต้นทุนสูงต้องปิดตัวลงหลังการเปิดดำเนินการของโรงงานที่ใช้ก๊าซเป็นวัตถุดิบในตะวันออกกลาง ซึ่งกระบวนการดังกล่าวมีผลพลอยได้ ได้แก่ไพก๊าซในระดับต่ำกว่าการผลิตจากแนฟทา นอกจากนั้นจากการขยายตัวของยอดขายยานยนต์ที่อยู่ในระดับสูงโดยเฉพาะในประเทศจีนและอินเดีย เราเชื่อว่าวัตถุดิบอีกชนิดได้แก่รีฟอร์เมตซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตทั้งเบนซีน (38.0%) และพาราไซลีน (74.0%) จะถูกใช้เป็นสารเพิ่มค่าออกเทนในน้ำมันเบนซินอย่างต่อเนื่อง
เนื่องจากมีค่าออกเทน ในระดับสูง ดังนั้นเราจึงคาดว่าส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์จะได้แรงหนุนจากสถานการณ์วัตถุดิบขาดแคลน
แม้ว่าจะอยู่ในช่วงกลางของวงจรขาลง



บทสรุป



มุมมองที่ดีขึ้นต่อธุรกิจโรงกลั่น

เรามีมุมมองที่ดีขึ้นต่อธุรกิจโรงกลั่น เนื่องจากเราเชื่อว่าแนวโน้มอุตสาหกรรมได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว โดยความต้องการพร้อมฟื้นตัวคาดว่าจะเพิ่มขึ้นตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ในขณะที่กำลังการผลิตใหม่จำนวนมากได้เริ่มเดินเครื่องไปแล้วในช่วงตอนต้นปี เราเชื่อว่าธุรกิจโรงกลั่นให้โอกาสที่จะปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าความเสี่ยงที่จะปรับลดลง



ชอบสายอะโรเมติกส์มากกว่าสายโอเลฟินส์

เนื่องจากจะมีกำลังการผลิตจำนวนมากเพิ่มเข้าสู่ตลาดในปลายปีนี้และตลอดปี 2553 เรายังคงมุมมองที่ระมัดระวังต่อธุรกิจปิโตรเคมีโดยรวม อย่างไรก็ดี จากสถานการณ์วัตถุดิบที่ขาดแคลนในอุตสาหกรรมอะโรเมติกส์ เราเชื่อว่าสายอะโรเมติกส์เป็นทางเลือกที่ดีกว่าสายโอเลฟินส์ สำหรับผู้ผลิตโอเลฟินส์ เราเชื่อว่า SCC จะดูดีกว่า PTTCH เนื่องจากกำไรของ PTTCH ขึ้นอยู่กับส่วนต่างปิโตรเคมีเพียงอย่างเดียว ซึ่งมีแนวโน้มอ่อนตัวลง ในขณะที่ SCC มีกระจายความเสี่ยงไปในธุรกิจต่าง ๆ และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมในประเทศ เช่น ปูนซีเมนต์ กระดาษ และวัสดุก่อสร้าง จึงมีแนวโน้มที่จะได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของความต้องการในประเทศ



ประเด็นการควบรวมเป็นปัจจัยสำหรับเก็งกำไรในระยะสั้น

ในเดือน ก.ย. ราคาหุ้นของบริษัทลูกของ PTT ในธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมีปรับตัวขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จากการเก็งกำไรจากประเด็นการควบรวมกิจการ PTTAR เป็นบริษัทที่น่าเก็งกำไรมากที่สุด ในขณะที่ PTT ในฐานะบริษัทแม่ จะได้ประโยชน์สูงสุดจากการควบรวมกิจการดังกล่าว อย่างไรก็ตามในความเห็นของเรา ปัจจัยดังกล่าวเป็นเพียงการเก็งกำไรระยะสั้นก่อนประกาศผลในเดือน ต.ค ขณะที่มูลค่าเพิ่มที่คาดว่าจะได้จากการควบรวมกิจการจะเป็นประโยชน์ระยะยาว ซึ่งต้องใช้เวลากว่าจะรับรู้ได้ ดังนั้นเรายังคงแนะนำ ‘ถือ’ สำหรับ PTTAR โดยมีราคาเป้าหมายใหม่ที่ 28.40 บาท



TOP เป็นหุ้นเด่นของเรา

ในความเห็นของเรา TOP และ PTTAR มีโอกาสได้ประโยชน์ทั้งจากการฟื้นตัวของธุรกิจโรงกลั่นและอะโรเมติกส์ อย่างไรก็ดี เราชอบ TOP มากกว่า PTTAR เนื่องจาก TOP มีสัดส่วนในธุรกิจโรงกลั่นสูงกว่า ซึ่งจะทำให้บริษัทฯ ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของส่วนต่างน้ำมันดีเซลในไตรมาส 4/52 นอกจากนี้ราคาหุ้นยังปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าหุ้นโรงกลั่นและปิโตรเคมีอื่น ๆ ได้แก่ IRPC, PTTAR, และ PTTCH เนื่องจากบริษัทฯ ไม่ได้ถูกคาดหมายว่าจะเป็นหนึ่งในบริษัทที่ถูกควบรวมกิจการ อย่างไรก็ดี เราเชื่อว่ายังมีโอกาสที่ TOP จะยังคงเป้นหนึ่งในตัวเลือกในการควบรวม (ดูรายงานของ KGI หัวข้อเรื่อง Energy Sector (Refinery): Speculating on consolidation, ที่ตีพิมพ์ในวันที่ 7 ก.ย. 2552) และหาก TOP เป็นหนึ่งในบริษัทที่ถูกเลือก คาดว่าจะได้รับการประเมินมูลค่าสูงสุดและจะมีต้นทุนในการแลกหุ้นเป็นหุ้นบริษัทใหม่ต่ำสุด เนื่องจากบริษัทฯ มีพื้นฐานและแนวโน้มทางธุรกิจที่ดีที่สุดในกลุ่ม นอกจากนี้ในกรณีที่ไม่ถูกควบรวมหรือการควบรวมเลื่อนออกไปหรือยกเลิก TOP มีความเสี่ยงต่ำสุดเมื่อเทียบกับบริษัทอื่น ๆ คงแนะนำ ‘ซื้อ’ โดยมีราคาเป้าหมายที่ 56.50 บาท (จาก 47.50 บาท) จากค่า EV/EBITDA ที่ 7.5x



ปัจจัยเสี่ยง



เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวต่ำเกินคาด

ความต้องการสำหรับน้ำมันดีเซลและน้ำมันเครื่องบิน มีความเกี่ยวข้องกัการเติบโตของเศรษฐกิจโลกสูง ดังนั้นหากเศรษฐกิจโลกมีการฟื้นตัวในระดับที่ต่ำกว่าคาด ปัจจัยดังกล่าวจะเป็นความเสี่ยงต่อธุรกิจโรงกลั่น เนื่องจากค่าการกลั่นจะถูกกดดันต่อไป



ราคาน้ำมันปรับลดลงอย่างรุนแรง

เราคาดว่าราคาน้ำมันควรค่อย ๆ ปรับตัวขึ้นตามเศรษฐกิจโลก ทางตรงข้ามหากราคาน้ำมันลดลงอย่างมีนัยสำคัญ ถือเป็นความเสี่ยงหลักต่อกำไรของธุรกิจโรงกลั่น เนื่องจากธุรกิจฯ จะมีขาดทุนจากสินค้าคงคลังจำนวนมาก

ความต้องการสำหรับผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์จำนวนมากในประเทศจีน

เรามีมุมมองที่เป็นลบต่อธุรกิจโอเลฟินส์ เนื่องจากเราเชื่อว่ากำลังการผลิตที่เริ่มใหม่เป็นจำนวนมากและการนำเข้าของประเทศจีนที่ลดลง จะกดดันส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ต่อวัตถุดิบ ดังนั้นการชะลอกำลังการผลิตใหม่ออกไปอีก และความต้องการใช้ในประเทศจีนที่สูงเกินคาดจะเป็นส่งผลให้แนวโน้มส่วนต่างราคาสูงกว่าคาด

นักวิเคราะห์: สุทธิชัย คุ้มวรชัย 66.2658.8888 Ext.8850 sutthichaik@kgi.co.th

โดย บมจ.หลักทรัพย์ เคจีไอ(ประเทศไทย) ประจำวันที่ 23 กันยายน 2552
***********
22/09/52
IEA คาดการผลิตไฟฟ้าทั่วโลกลดลงครั้งแรกรอบกว่า 60 ปีจากพิษศก.ถดถอย ลอนดอน--22 ก.ย.--รอยเตอร์ เจ้าหน้าที่สำนักงานพลังงานสากล (IEA) เปิดเผยว่า คาดว่าการผลิต กระแสไฟฟ้าทั่วโลกจะลดลงเป็นครั้งแรกในปีนี้ นับตั้งแต่ปี 1945 อันเป็นผลจาก ภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว โดยจะลดลง 3.5% นายเปาโล แฟรงเคิล ผู้อำนวยการแผนกพลังงานทดแทนของ IEA กล่าวว่า ขณะที่การผลิตไฟฟ้าในจีนยังคงเพิ่มขึ้น แต่ภาวะเศรษฐกิจถดถอยก็ทำให้ การผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศอื่นๆลดลงโดยรวม ขณะเดียวกัน หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียล ไทม์ของอังกฤษรายงานโดยอ้าง ผลวิจัยของ IEA ว่า ภาวะถดถอยได้ทำให้การแพร่ก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกลดลง อย่างมากเช่นกัน-
***********
21/09/52
News Comment

Energy คาดอัตราการเติบโตของหุ้นในกลุ่มน้ำมันต้นน้ำจะโดดเด่นที่สุดในกลุ่มพลังงานปี 2553

ความเห็นนักวิเคราะห์ :
คาดอุปสงค์น้ำมันฟื้นตัวกลับมาเท่าระดับเดิมในปี 2554: ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2551 ส่งผลให้อุปสงค์น้ำมันโลกเติบโตติดลบเป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี โดย IEA ประเมินตัวเลขอุปสงค์น้ำมันโลกหดตัวลงไป 0.25% ในปี 2551 และในปี 2552 คาดจะยังหดตัวต่อเนื่องอีก 2.2% (อิงคาดการณ์ในเดือนก.ย. 52) โดยคาดการฟื้นตัวของอุปสงค์น้ำมันจะเริ่มเห็นในปี 2553 ซึ่งคาดการฟื้นตัวที่ระดับ 1.5% เป็น 85.70 ล้านบาร์เรลต่อวัน หากพิจารณาระดับของอุปสงค์ในปี 2552 เทียบกับระดับสูงสุดในปี 2550 (ที่ 86.51 ล้านบาร์เรลต่อวัน)อุปสงค์น้ำมันโลกหดตัวไป 2.4% และในปี 2553 การหดดัวลดลงเหลือ 0.94% SCRI คาดอุปสงค์น้ำมันโลกจะกลับมาฟื้นตัวเท่าระดับสูงสุดเดิมได้ในปี 2554 โดยอิงคาดการณ์ของ SCRI จะอยู่ที่ระดับ 87.13 ล้านบาร์เรลต่อวัน กลับมาสูงกว่าระดับสูงสุดเดิมในปี 2550 อยู่ 0.61 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือ 0.71%
คาดอุปสงค์-อุปทานน้ำมันจะกลับมาตึงตัวสูงต่อเนื่องในระยะยาว : แม้ในปี 2551-2552 ที่อุปสงค์น้ำมันมีการหดตัวลงจะทำให้กำลังการผลิตน้ำมันโลกกลับมามี Spare Capacity เพิ่มสูงขึ้นใกล้เคียงระดับ 6 ล้านบาร์เรลต่อวัน(เทียบกับเพียง 2-3 ล้านบาร์เรลในช่วงก่อนหน้า) แต่เมื่อภาวะเศรษฐกิจกลับมาฟื้นตัว อุปสงค์การใช้น้ำมันโลกก็คาดจะกลับมาเติบโตเป็นปกติซึ่งโดยเฉลี่ยที่ 1% อุปสงค์น้ำมันโลกคาดจะกลับมาเติบโตปีละกว่า 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ส่งผลให้ในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้าคาดความตึงตัวของอุปสงค์-อุปทานกลับมาเพิ่มสูงขึ้น แม้ในช่วงที่ผ่านมาความพยายามในการเร่งพัฒนาพลังงานทดแทนเพื่อช่วยบรรเทาการพึ่งพาการใช้น้ำมันโลก แต่สัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน เช่น Bio fuel ที่ยังคงคิดเป็นเพียงไม่ถึง 2% ของปริมาณการผลิตน้ำมันโลกโดยรวมในปัจจุบัน การเข้ามาแทนสัดส่วนการผลิตน้ำมันเดิมอย่างมีนัยสำคัญในช่วง 5 ปีข้างหน้าจึงยังคงเป็นเรื่องยาก โดยเฉพาะหากพิจารณาตัวเลขคาดการณ์อุปทานน้ำมันนอกกลุ่ม OPEC (สัดส่วนประมาณ 60% ของการผลิตน้ำมันรวม) ของ IEA ที่คาดว่าประมาณ 62% ของกำลังการผลิตจะมีกำลังการผลิตที่เสื่อมถอยลงหลังปี 2555
ปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมันดิบ ทั้งนี้ ผู้ผลิตน้ำมันต้นน้ำยังคงได้ประโยชน์สูงสุด : ปัจจัยความตึงตัวของอุตสาหกรรมน้ำมันที่คาดจะกลับมาทำให้ SCRI ยังคงมุมมองเชิงบวกต่อผู้ผลิตในกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันต้นน้ำซึ่งคาดยังคงได้ประโยชน์สูงสุดจากแนวโน้มการกลับมาทรงตัวสูงของราคาน้ำมัน ทั้งนี้ SCRI มีการปรับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบเพิ่มขึ้น 6% ในปี 2552 เป็น 61.6 เหรียญ/บาร์เรล และเพิ่มขึ้น 12% ในปี 2553 เป็น 74.5 เหรียญ/บาร์เรล ทั้งนี้ อิงสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบใหม่คาดราคาเฉลี่ยจะลดลง 34%yoy ในปี 2552 และกลับมาปรับเพิ่มขึ้น 21%yoy ในปี 2553 สำหรับระยะยาว SCRI ยังคงอิงสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบที่ระดับอนุรักษ์นิยมที่ 65 เหรียญ/บาร์เรล
คาดอัตราการเติบโตของหุ้นในกลุ่มน้ำมันต้นน้ำโดดเด่นที่สุดในปี 2553: จากการปรับสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบปี 2552-2553 ส่งผลให้ SCRI มีการปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิปี 2552-2553 ของ PTTEP ขึ้น 1% และ 7% โดยการปรับประมาณการกำไรของ PTTEP น้อยกว่าการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมัน เนื่องจากปี 2552-2553 มีการเผื่อผลกระทบไว้มากขึ้นจากการเลื่อนการผลิตของโครงการมอนทารา(รายละเอียดตามรายงานบทวิเคราะห์ PTTEP วันนี้) สำหรับ PTT มีการปรับเพิ่มประมาณการกำไรขึ้น 27.4% ในปี 2552 และ 12.7% ในปี 2553 จากผลบวกราคาน้ำมันที่ส่งผลต่อ PTTEP ธุรกิจโรงแยก โรงกลั่น และปิโตรเคมี คาดกำไรปี 2552 ของ PTT กลับมาฟื้นตัวเร็วกว่าจากผลบวกของธุรกิจโรงแยก โรงกลั่นและปิโตรเคมี แต่ในปี 2553 กำไรของ PTTEP มีแนวโน้มโดดเด่นกว่าจากอัตราการเติบโตที่สูงถึง 85%yoy โดยคาดทำสถิติประวัติการณ์ใหม่จากปริมาณการผลิตที่สูงขึ้นกว่าปี 2551 เกือบ 30%
ปรับมูลค่าเหมาะสมมาอิงปี 2553 โดย PTTEP อยู่ที่ 202 บาท และ PTT อยู่ที่ 325 บาท : โดยเทียบกับราคาปัจจุบัน PTTEP มี upside 38% และ PTT มี upside 22% ทั้งนี้ PER ปี 52 ของกลุ่มธุรกิจ E&P ในภูมิภาคในปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 29.9 เท่า ขณะที่ PTTEP 17 เท่า ส่วนธุรกิจ Integrated Oil Company ในภูมิภาคในปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 13.59 เท่า ขณะที่ PTT 12.7 เท่า ซึ่ง PTT และ PTTEP ยังคงถูกกว่า คงคำแนะนำ “ซื้อ”
(ติดตามรายละเอียดในรายงาน Sector update ฉบับวันที่ 21 กันยายน 2552)
สถาบันวิจัยนครหลวงไทย

*****************
14/09/52
กระทรวงพลังงานสั่งปตท.วิจัย หวังใช้ก๊าซชีวภาพในรถยนต์แทนดีเซล

Posted on Monday, September 14, 2009
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน บอกว่า คณะอนุกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน มีมติจัดสรรงบประมาณจำนวน 35 ล้านบาท ให้ปตท. เพื่อดำเนินการวิจัยและปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพละผลิตก๊าซชีวภาพอัดที่เรียกว่า CBG สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกในรถยนต์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

การดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการสนับสนุนการใช้เชื้อเพลิงทดแทนในชุมชนที่ห่างไกล เนื่องจากการขยายสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ (NGV) มีข้อจำกัดที่ต้องตั้งอยู่บริเวณแนวท่อก๊าซธรรมชาติและการขนส่ง NGV ไปยังพื้นที่ห่างไกลมีต้นทุนค่อนข้างสูง

สำหรับโครงการดังกล่าวจะนำร่องในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี โดย ปตท. จะติดตั้งระบบสาธิตการปรับปรุงคุณภาพก๊าซชีวภาพและผลิต CBG สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกในรถยนต์

และจะรับซื้อก๊าซชีวภาพที่ผลิตจากระบบบำบัดน้ำเสีย ในโรงงานแป้งมันสำปะหลังในพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อจะทดสอบและเก็บข้อมูลการใช้ CBG ในรถยนต์จริง พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ก่อนขยายผลไปยังพื้นที่ที่มีศักยภาพอื่น ได้แก่ จังหวัดกำแพงเพชร กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชุมพร กระบี่ ต่อไป

นายวีระพล บอกด้วยว่า กระทรวงพลังงาน ตั้งเป้าผลิต CBG เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน NGV จำนวน 2.64 ล้านกิโลกรัมต่อปี ทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลได้ 2.58 ล้านลิตรต่อปีและหากกระตุ้นและดึงดูดให้เอกชนสนใจมาลงทุนผลิต CBG มากขึ้นจะส่งผลให้การส่งเสริมให้เกิดการใช้รถยนต์ NGV โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลจากแนวท่อส่งก๊าซแพร่หลายมากขึ้นและเป็นอีกเชื้อเพลิงทางเลือกแก่ประชาชนต่อไป

**************
07/09/52
IEA หนุนอาเซียนฮับเชื้อเพลิงชีวภาพ

Posted on Monday, September 07, 2009
น.พ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน บอกในการจัดงาน Bangkok Biofuels 2009 ภายใต้หัวข้อ การพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างยั่งยืน ที่กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ องค์การพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 กันยายน เพื่อร่วมระดมสมองการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพในกลุ่มอาเซียน

โดยระบุว่าการประชุมดังกล่าว เป็นการสนับสนุนการพัฒนาพลังงานจากเชื้อเพลิงชีวภาพ ภายใต้แผนปฎิบัติการด้านพลังงานของภูมิภาคอาเซียน ระหว่างปี 2553-2558 ซึ่งสมาชิกจะร่วมพัฒนาเทคโนโลยีเชื้อเพลิงชีวภาพให้สามารถผลิตจากพืชพลังงานที่ไม่ใช่พืชอาหารโดยตรง เช่น การผลิตไบโอดีเซลจากสาหร่าย การผลิตเอทานอลจากเศษไม้ และฟางข้าว

พร้อมกันนี้จะผลักดันให้ประเทศสมาชิกอาเซียนร่วมมือกันเพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกเชื้อเพลิงชีวภาพระดับโลก หรือ โอเปก แห่งเชื้อเพลิงชีวภาพ หลังจากพบศักยภาพของแต่ละประเทศ เช่น อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เป็นผู้ส่งออกปาล์ม อันดับหนึ่งของโลก ขณะที่ ไทย ก็จะเป็นศูนย์กลาง ด้านการพัฒนาผลิตวัตถุดิบ และเชื้อเพลิงชีวภาพสำเร็จรูป เช่น แก๊สโซฮอล์ เอทานอล โดยไทยจะเร่งเดินหน้าตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน ระยะ 15 ปี ที่จะให้มีการใช้เอทานอลให้ได้ 9 ล้านลิตรต่อวัน ขณะที่การใช้ไบโอดีเซล อยู่ที่ 4.5 ล้านลิตรต่อวัน ภายในปี 2565

นาย ริชาร์ด โจนส์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ไอ อี เอ บอกว่า สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพของโลก ยังต่ำอยู่ที่ 1.5% ของภาคการขนส่ง ที่ใช้อยู่ประมาณ 85 ล้านบาร์เรลต่อวัน และคาดการณ์ว่าในปี 2573 จะเพิ่มเป็น 4% แต่หากได้รับการสนับสนุนทั่วโลกจะทำให้ปริมาณการใช้เพิ่มขึ้น เป็น 8% และหากยังสนับสนุนอย่างดีที่สุด ก็มีโอกาสเพิ่มเป็น 25% ในปี 2593 หรือประมาณ 25 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากปริมาณการใช้น้ำมันของโลก ที่คาดว่า จะเพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านบาร์เรลต่อวัน

นายรีชาร์ดประเมินว่าในอนาคตกลุ่มผู้ผลิตน้ำมันนอกโอเปก จะลดกำลังการผลิตลงเรื่อย ดังนั้น เชื้อเพลิงชีวภาพ จะมาช่วยเสริมลดแรงกดดันของตลาดน้ำมันลงได้ ซึ่งไทย และอาเซียน จะมีส่วนสำคัญในการผลิตพลังงานชีวภาพและต้องเร่งพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชพลังงาน ที่ไม่ใช่พืชอาหาร มาผลิตเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น สาหร่าย และสบู่ดำ

ในการประชุมครั้งนี้ ยังจะหารือถึงการกำหนดราคาเอทานอลในแต่ละประเทศให้สะท้อนตามต้นทุนที่แท้จริง เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ กับราคาน้ำมัน โดยไม่มีกลไกการให้เงินช่วยเหลือด้วย


*************
08/08/52
เอทานอลขาดโซฮอล์พุ่ง > โวยรัฐบาลบริหารล้มเหลว/แผนพลังงานไม่ชัดเจน
ผู้ใช้รถยนต์อ่วมอรทัย เตรียมรับมือน้ำมันแก๊สโซฮอล์แพง หลายฝ่ายยืนยันเอทานอลครึ่งปีหลังขาดแคลนหนักแน่ โวยเช็ดรัฐวางนโยบายมั่ว ขาดความต่อเนื่อง บริหารจัดการเรื่องราคา-วัตถุดิบล้มเหลว ปตท.นับถอยหลังจ่อปรับราคาน้ำมันอีก "บางจาก"ห่วงกระทบแผนขยายปั๊มอี 20 ด้านผู้ผลิตเอทานอลตบเท้าเข้าพบรมว.พลังงานจี้ใช้ อี85 เป็นวาระแห่งชาติให้ได้ตามแผน 15 ปี หลังกล่อม"กอร์ปศักดิ์"ขอแป้งมัน 280,000 ตัน ไม่สำเร็จ


นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ถึงปัญหาการขาดแคลนเอทานอลว่า มีความเป็นไปได้สูงที่เอทานอลจะขาดตลาดในปลายปีนี้ โดยประเด็นหลักมาจากที่วิธีบริหารจัดการในแง่ของการกำหนดราคาซื้อ-ขายเอทานอลในประเทศยังไม่มีเสถียรภาพ และไม่จูงใจ ทั้งที่รัฐบาลเพิ่งเปลี่ยนระบบการคำนวณราคาเอทานอล จากที่นำราคาเอทานอลบราซิลมาอ้างอิง มาเป็นคำนวณโดยอ้างอิงตามราคาวัตถุดิบ(กากน้ำตาล,มันสำปะหลัง)ตั้งแต่เมื่อเดือนเมษายน 2552 ที่ผ่านมาซึ่งถือเป็นเรื่องดี


++ราคาอ้างอิงไม่สะท้อนต้นทุนจริง


แต่การคิดราคาตามต้นทุนจริงจะต้องมีรายละเอียดที่เป็นราคาจริงของวัตถุดิบ ทั้งมันสำปะหลังและกากน้ำตาล(โมลาส) ณ ปัจจุบันมาคำนวณ ไม่ใช่คำนวณราคาเอทานอลที่มาจากฐานราคาวัตถุดิบย้อนหลัง 3-4 เดือนแบบที่คำนวณมา เช่น คำนวณโดยยึดฐานราคากากน้ำตาลเฉลี่ยราคาส่งออกต่างประเทศย้อนหลัง 3 เดือนมาเป็นราคาต้นทุน ขณะที่ราคามันสำปะหลังจากกรมการค้าภายในใช้ราคาเฉลี่ยย้อนหลัง 1 เดือน ทำให้การคำนวณราคาเอทานอลออกมาไม่สะท้อนตามกลไกต้นทุนจริงในปัจจุบัน


ทั้งนี้เมื่อรัฐประกาศราคาอ้างอิงออกมาในราคาที่ไม่สะท้อนต้นทุนจริง ก็ทำให้บริษัทที่ผู้ค้าน้ำมันต้องการจะซื้อเอทานอลในราคาอ้างอิงด้วย ทำให้ผู้ผลิตเอทานอลมองว่าหากขายในราคาที่รัฐประกาศก็จะอยู่ไม่ได้ เพราะเป็นราคาขายที่ต่ำกว่าต้นทุนจริง ทำให้ผู้ประกอบการขาดทุน โดยล่าสุด ราคาเอทานอลที่รัฐประกาศอยู่ที่ประมาณ 20.17 บาท/ลิตร แต่ราคาขายจริงอยู่ที่ 23 บาท/ลิตร


++ราคาผวนไม่กล้าสต๊อกวัตถุดิบ


สอดคล้องกับดร.วีระวุฒิ วัจนะพุกกะ ประธานคณะอนุกรรมการเอทานอล สมาคมการค้ามันสำปะหลังไทย ที่กล่าวว่ามีความเป็นไปได้ที่เอทานอลจะขาดตลาดในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 โดยมีสาเหตุมาจากรัฐบาลไม่ได้มีนโยบายส่งเสริมพลังงานทดแทนอย่างจริงจัง เริ่มตั้งแต่การล้มแผนยกเลิกการใช้น้ำมันเบนซิน 95 ขณะที่ผู้ผลิตเอทานอลเอง ก็ไม่กล้าสต๊อกกากน้ำตาล(โมลาส) ไว้ เพราะไม่แน่ใจว่าราคาเอทานอลจะตกต่ำแบบปีที่ผ่านมาหรือไม่ ที่ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 13-16 บาท/ลิตร หากเป็นเช่นนี้ผู้ผลิตเอทานอลก็จะไม่คุ้มทุน และหากเก็บสต๊อกวัตถุดิบไว้ จะเป็นการแบกภาระต้นทุนด้านคลังสินค้า และดอกเบี้ยในการเก็บรักษาวัตถุดิบ
thannews
stock in focus
**********
06/08/52
"มาร์ค" ถกพลังงานวันนี้ ลดเก็บเงินกองทุนน้ำมัน
"พลังงาน" ถูกบีบคอเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯหวังเอาใจประชาชน ใช้น้ำมันราคาถูก "วรรณรัตน์" หวั่นกองทุนถังแตกเสี่ยงเกินไปหากราคาน้ำมันดีดตัวสูงขึ้นอีก เตรียมเสนอลดจัดเก็บกองทุนอนุรักษ์ 50 สตางค์ต่อลิตรแทน ขณะที่ผู้ค้าน้ำมันสุดอั้นปรับขึ้นราคาขายปลีกวันนี้อีก 80 สตางค์ต่อลิตร โอดค่าการตลาดระดับต่ำทำขาดทุน
stock in focus
**************
28/07/52
ราคาน้ำมันโลกอาจพุ่งถึง75 ดอลล่าร์ต่อบาร์เรล
Source - ศูนย์ข่าวแปซิฟิค (Th) Tuesday, July 28, 2009 13:35
สตีเฟน ชอร์ค ประธานบริษัทที่ปรึกษา ชอร์ค กรุ๊ป อิงค์ กล่าวว่า ราคาน้ำมันดิบอาจทะยานแตะ 75 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังตลาดเติมเต็มช่องว่างของราคาที่เป็นแนวต้านทางเทคนิคมาตลอด 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยชอร์คกล่าวว่า ช่องว่างระหว่างราคาน้ำมันต่ำสุดเมื่อวันที่ 2 ก.ค.และสูงสุดเมื่อวันที่ 6 ก.ค.ได้ถูกทำลายลงระหว่างที่ราคาน้ำมันพุ่งถึง ร้อยละ7.1 เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งถือว่าเพิ่มมากสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. และเมื่อสามารถทะลุผ่านแนวต้านไปได้แล้ว ตลาดน้ำมันก็จะดีดตัวอย่างต่อเนื่องอย่างเมื่อช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาน้ำมันทะยานแตะ 68.69 ดอลลาร์/บาร์เรลเมื่อวานนี้ ซึ่งถือเป็นระดับสูงสุดในรอบกว่า 3 สัปดาห์ หลังตลาดหุ้นปรับตัวสูงขึ้นและเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง โดยสัญญาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นถึง 53% แล้วในปีนี้หลังมีกระแสคาดการณ์ว่า อุปสงค์เชื้อเพลิงจะฟื้นตัวไปพร้อมกับเศรษฐกิจ ทั้งนี้ สัญญาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนก.ย.ในตลาดนิวยอร์กซื้อขายที่ระดับ 68.11 ดอลลาร์/บาร์เรล ณ เวลา 8.25 น.ตามเวลาสิงคโปร์ ย้อนไปเมื่อวันที่ 13 ก.ค. ราคาน้ำมันดิบร่วงลงแตะ 58.32 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 8 สัปดาห์ เนื่องจากในตอนนั้นทุกฝ่ายต่างวิตกเกี่ยวกับอุปสงค์น้ำมัน เพราะความเชื่อมั่นผู้บริโภคในสหรัฐลดลง ในขณะที่ปริมาณสต็อกน้ำมันก็เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ หากราคาน้ำมันยังปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องทุกวันก็อาจทะยานแตะระดับ 73.38 ดอลลาร์/บาร์เรลซึ่งเคยทำไว้เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.ภายในช่วงกลางสัปดาห์หน้า และอาจแตะ 75 ดอลลาร์/บาร์เรลซึ่งเคยทำไว้เมื่อวันที่ 21 ต.ค. ในช่วงต้นเดือนหน้า/164R--จบ--
ที่มา: เว็บไซต์ศูนย์ข่าวแปซิฟิก
cgs,stock in focus

************
28/07/52
ผลผลิตถ่านหินในจีนครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้น 8.7 % มาอยู่ที่ 1.36 พันล้านตัน
Source - กระแสหุ้นออนไลน์ (Th) Tuesday, July 28, 2009 15:15
กรุงเทพฯ--28 ก.ค.--กระแสหุ้นออนไลน์ สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า คณะกรรมการปฎิรูปและพัฒนาแห่งชาติหรือเอ็นดีอาร์ซีจีนแถลงว่าผลผลิตถ่านหินจีนในครึ่งปีแรกเพิ่มขึ้น 8.7 % มาอยู่ที่ 1.36 พันล้านตันเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน โดยเอ็นดีอาร์ซีเปิดเผยว่า ในช่วงเดือนมกราคม-พฤษภาคมอุตสาหกรรมถ่านหินมีรายได้ 67.8 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 4.2 % เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน ทั้งนี้ เอ็นดีอาร์ซีระบุว่า ปริมาณถ่านหินสำรองที่ชิงหวงเตาแหล่งผลิตถ่านหินหลักในจีน สิ้นสุด ณ เดือนมิถุนายน อยู่ที่ 6.47 ล้านตันเพิ่มขึ้น 730,000จากต้นปี ขณะที่ถ่านหินเชื้อเพลิงโรงงานไฟฟ้ายังคงอยู่ในระดับปกติที่ 33.08 ล้านตันเพิ่มขึ้น 11.34 ล้านตันเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน
cgs, stock in focus

************
27/07/52
บริษัทสินแร่เหล็กรายใหญ่ของโลกขวางลำจีนขอลดราคา 45% ชี้อุตสาหกรรมเหล็กฟื้นตัว
Source - IQ Biz (Th) Monday, July 27, 2009 13:10
อินโฟเควสท์ (27 ก.ค. 52)--Vale SA ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตสินแร่เหล็กรายใหญ่สุดของโลก ยังไม่ยอมอ่อนข้อตามข้อเรียกร้องของจีนที่ขอให้ลดราคาเหล็กลงอย่างมากถึง 45% เนื่องจากมองว่าอุตสาหกรรมเหล็กเริ่มฟื้นตัวขึ้นแล้ว ขณะที่ราคาสินแร่เหล็กในตลาดเปิดก็ดีดตัวขึ้นมาแล้ว 38% นับตั้งแต่ที่ได้มีการกำหนดราคาสัญญาในปีนี้ และเมื่อเดือนที่แล้ว Vale ก็ได้ลดราคาสินแร่เหล็กที่จัดส่งให้กับโรงเหล็กของญี่ปุ่นลงแล้ว 28% ตามสัญญาประจำปี ซึ่งถือเป็นการลดราคาลงเป็นครั้งแรกในรอบ 7 ปี ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลให้จุดยืนของจีนที่มีต่อเรื่องดังกล่าวไม่แข็งแกร่งนัก โรเจอร์ แอกเนลลี ซีอีโอของ Vale กล่าวว่า บริษัทจะไม่ลดราคาให้กับลูกค้าจีนมากกว่าเดิม หลังจากที่ได้มีการเจรจาอย่างยาวนาน ทางด้านแมคคินซีย์ แอนด์ โค ระบุว่า การกักตัวผู้บริหารด้านสินแร่เหล็กของริโอ ทินโตในจีน ด้วยข้อกล่าวหาที่ว่า มีการล้วงความลับของทางการจีนนั้นทำให้เกิดความไม่ลงรอยกันระหว่างออสเตรเลียและจีน ซึ่งอาจจะเป็นผลดีกับทาง Vale บลูมเบิร์กรายงานว่า พอล คลิฟ นักวิเคราะห์ธุรกิจเหมืองของโนมูระ ซิเคียวริตีส์ กล่าวว่า ความเป็นไปได้ที่บริษัทผู้ผลิตเหล็กของจีนจะได้รับส่วนลดเป็นจำนวนมากนั้นมีน้อยมาก ไม่ว่าจีนจะตกลงใจซื้อสินแร่เหล็กที่ราคาปัจจุบันหรือซื้อในตลาดสปอตก็ตาม สมาคมเหล็กโลกระบุว่า ผลผลิตเหล็กของจีน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณเหล็กทั้งหมดในช่วงครึ่งปีแรกขยายตัวขึ้น 1.2% และการผลิตก็ขยายตัวขึ้นมาแล้วประมาณ 5% ปีนี้ หลังจากที่มาตรการกระตุ้นโครงการสาธารณูปโภคเริ่มมีผลบังคับใช้
stock in focus,
****************
27/07/52
บล.กิมเอ็ง คาดกลุ่มพลังงานทุกตัวมีลุ้นกำไร Q2/51 ฟื้น แต่ให้ระวังแรงขายทำกำไรระยะสั้นด้วย
นายกิติชาญ ศิริสุขอาชา ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า หุ้นกลุ่มน้ำมันและแก๊สธรรมชาติจะน่าสนใจลงทุนในครึ่งปีหลัง เนื่องจากราคาน้ำมันในระยะยาวยังสามารถฟื้นตัวได้อย่างแน่นอน โดยเฉพาะในไตรมาส 4/52 ที่จะได้รับประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลแต่ละประเทศที่จะหนุนให้ความต้องการใช้น้ำมันปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ ทำให้บมจ. ปตท. (PTT) และ บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) จะมีความน่าสนใจเพิ่มขึ้นในครึ่งปีหลัง

ส่วนกลุ่มถ่านหินที่แม้ว่าราคาจำหน่ายถ่านหินจะฟื้นตัวได้ค่อนข้างดี แต่เนื่องจากผู้ประกอบการเหมืองแร่ถ่านหินคือ บมจ. บ้านปู (BANPU) ได้กำหนดราคาจำหน่ายของปีนี้ไว้ล่วงหน้า ทำให้กำไรครึ่งปีหลังอาจแย่กว่าครึ่งปีแรก แต่ในปีหน้าจะเป็นปีที่ดีของธุรกิจถ่านหิน จึงควรลงทุนระยะยาวไปจนถึงปีหน้าแทน

สำหรับกำไรของกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันในครึ่งปีหลังยังมีแนวโน้มอ่อนตัวลงตามค่าการกลั่นที่ลดลงมาแตะ 2-3 ดอลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล จากความต้องการที่ชะลอตัว ขณะที่ปริมาณการผลิตปิโตรเคมีภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น จะกดดันกำไรกลุ่มโรงกลั่นที่มีปิโตรเคมีให้ลดลงได้ เช่น บมจ. ไทยออยล์ ( TOP) และ บมจ. ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น (PTTAR) จึงควรหาโอกาสขายทำกำไรออกมาในช่วงที่ผลประกอบการไตรมาส 2/52 ซึ่งคาดว่าเป็นช่วงที่กำไรแตะจุดสูงสุดของปีนี้ โดยให้ราคาที่เหมาะสมตามปัจจัยพื้นฐานของ TOP ไว้ที่ 36 บาท และ PTTAR ที่ 21 บาท

ทั้งนี้ การที่หุ้นกลุ่มพลังงานมีสัดส่วนเป็น 33-35% ของมูลค่าตลาดรวม ทำให้ราคาหุ้นพลังงานจะมีผลต่อทิศทางงดัชนีด้วย ดังนั้น การที่ประเมินไว้ว่าราคาน้ำมันในไตรมาส 4/52 จะฟื้นตัว ก็จะหนุนให้ราคาหุ้นกลุ่มพลังงานรวมถึงดัชนีฟื้นตัวได้แต่เพียงในระยะสั้นเท่านั้น เพราะหลังการประกาศผลการดำเนินงานออกมา ก็จะมีการขายทำกำไร ซึ่งจะกดดันให้ดัชนีปรับฐานลงตามมา

สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามของกลุ่มพลังงานนั้น จะต้องพิจารณานโยบายการกำหนดราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ความเสี่ยงของตลาด เช่น การเมือง ดัชนีตลาดหุ้นทั่วโลก และความต้องการของสินค้า นอกเหนือจากการติดตามราคาผลิตภัณฑ์เพียงอย่างเดียว

“หุ้นกลุ่มพลังงานในแง่พื้นฐานถือว่ามีปลอดภัย เนื่องจากเป็นสิ่งจำเป็นที่ใช้บริโภคในชีวิตประจำวัน แต่เนื่องจากพลังงานเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ที่ซื้อขายกันตามราคาตลาดโลก ทำให้ราคามีความเหวี่ยงสูง แต่หากลงทุนในจังหวะที่เหมาะสม ก็จะมีความปลอดภัย และหากดูจากราคาหุ้นในปัจจุบัน ก็จะทำให้นักลงทุนมีผลตอบแทนที่ดีได้ในระยะยาว” นายกิติชาญกล่าว

บล. กิมเอ็งยังคาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันดิบในสัปดาห์หน้าจะยังทดสอบที่ระดับ 60 -70 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล โดยยังมีหลายปัจจัยที่ต้องติดตาม ทั้งค่าเงินดอลลาร์สหรัฐที่น่าจะแข็งค่าขึ้นได้อีกในระยะสั้นจากการประมูลพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ และปริมาณน้ำมันดิบสำรองของสหรัฐฯที่จะประกาศออกมาในวันพุธ ซึ่งจะมีผลต่อการเคลื่อนไหวของราคาน้ำมันดิบได้

ทั้งนี้ บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) จะประกาศผลการดำเนินงานวันที่ 28 กรกฎาคม บมจ. ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง (RATCH) 29 กรกฎาคม ส่วน บมจ. ไทยออยล์ (TOP) บมจ. ไออาร์พีซี (IRPC) บมจ. บางจากปิโตรเลียม (BCP) และ บมจ. ปตท. เคมิคอล (PTTCH) จะประกาศออกมาในวันที่ 13 สิงหาคม ส่วนบมจ. ปตท. (PTT) นั้นจะประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 2/52 ออกมาในวันที่ 14 สิงหาคม 2552
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/MoneylineNews/tabid/89/newsid491/93848/Default.aspx
stock in focus , energy
**************
23/07/52
กระทรวงพลังงาน ตรึงราคา NGV-LPG ถึงสิ้นปี
NGV) ในภาคขนส่ง ว่า กระทรวงพลังงานมีนโยบายที่จะตรึงราคา NGV และก๊าซหุงต้ม (LPG) ต่อไปจนถึงสิ้นปีนี้

กระทรวงพลังงานยังจะเร่งหาแนวทางช่วยเหลือ บมจ.ปตท.ที่ขาดทุนจากการจำหน่าย NGV ประมาณกิโลกรัมละ 5 บาท เพราะต้นทุนอยู่ที่กิโลกรัมละ 14 บาท แต่ต้องขายปลีกเพียงกิโลกรัมละ 8.50 บาท รวมขณะนี้ขาดทุนสูงถึงกว่า 3 หมื่นล้านบาทแล้ว โดยแยกเป็นยอดขาดทุนสะสม กว่า 12,000 ล้านบาท และการลงทุน 17,000 ล้านบาท

ซึ่งส่งผลกระทบต่อการขยายการลงทุนสร้างท่อ NGV ไปยังต่างจังหวัด วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท ทำให้โครงการนี้ต้องชะลอออกไปตามราคาน้ำมันที่ลดลง และการที่รัฐบาลไม่อนุมัติปรับขึ้นราคา NGV อีกกิโลกรัมละ 1 บาท เมื่อต้นปีที่ผ่านมา

ด้านนายวีระพล จิรประดิษฐ์กุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) บอกว่า เตรียมใช้จะเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มาช่วยเปลี่ยนเครื่อง LPG เป็น NGV ให้แท็กซี่ในระบบที่เหลืออีกประมาณ 20,000 คันฟรี คิดเป็นค่าใช้จ่าย คันละประมาณ 40,000 บาท วงเงินรวมประมาณ 800 ล้านบาท ซึ่งถือว่าไม่ขัดหลักการ เพราะเป็นการใช้เงิน เพื่อส่งเสริมการประหยัดการใช้น้ำมันของประเทศมากขึ้น
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/MoneylineNews/tabid/89/newsid491/93772/Default.aspx
stock in focus
***************
22/07/52
กระทรวงพลังงานเดินหน้าส่งเสริมใช้พลังงานทดแทน 20% ใน 8 ปี
นายเมตตา บันเทิงสุข รองปลัดกระทรวงพลังงาน บอกว่า แม้สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกปัจจุบัน จะอยู่ในระดับต่ำ แต่ยังมีความผันผวน แม้ขณะนี้ยังไม่มีปัจจัยชัดเจนที่จะทำให้ราคาน้ำมันตลาดโลกปรับตัวสูงเหมือนในอดีต แต่กระทรวงพลังงาน ก็ยังจะเดินหน้าส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ให้ได้ตามเป้าหมาย ที่ตั้งไว้ ที่ 20% ภายในปี 2555-2560 จากปัจจุบัน อยู่ที่ 6% ซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์พัฒนาพลังงานทดแทนในระยะ 15 ปีข้างหน้า

ทั้งนี้ ราคาน้ำมันตลาดโลก ที่อยู่ในช่วงขาลงเฉลี่ยที่ระดับ 60 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล เป็นปัจจัยที่ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทย ทำให้ต้นทุนพลังงานของประเทศลดลง แต่ประชาชนควรหันมาใช้พลังงานทดแทนของประเทศ เช่น น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ไบโอดีเซล และเอ็นจีวี เพราะเชื่อว่าอนาคตราคาน้ำมันตลาดโลก จะปรับตัวสูงขึ้น

ด้านนายปรัชญา ภิญญาวัฒน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น บมจ.ปตท.บอกว่า ราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ขณะนี้ปรับตัวดีขึ้นกว่าช่วงต้นปี เพราะจีนมีนโยบายกระตุ้นกำลังซื้อในประเทศ ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันและปิโตรเคมีเพิ่มสูงขึ้น แต่ทั้งนี้ ต้องจับตาดูว่า หลังมาตรการกระตุ้นกำลังซื้อของจีนสิ้นสุดลงในปลายปีนี้ ความต้องการยังจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาจะฟื้นตัวหรือไม่

ส่วนกรณีที่ตะวันออกกลางมีแผนเปิดโรงงานปิโตรเคมีเร็วขึ้น ยอมรับว่า ส่งผลกระทบต่อธุรกิจโรงกลั่นของไทย เนื่องจากปัจจุบัน ค่าการกลั่นเฉลี่ย ยังอยู่ในระดับต่ำ 1-2 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเท่านั้น โดยครึ่งปีแรกค่าการกลั่นเฉลี่ยอยู่ที่ 3 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ส่วนในครึ่งปีหลัง ค่าการกลั่นจะปรับดีขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวเร็วและแรงแค่ไหน สำหรับค่าการตลาดน้ำมัน เฉลี่ย ขณะนี้อยู่ที่ลิตรละ 1.50 บาท แม้จะเป็นอัตราที่ไม่ขาดทุน แต่หากจะให้คุ้มกับเงินลงทุน ค่าการตลาดน้ำมันควรสูงกว่านี้
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/MoneylineNews/tabid/89/newsid491/93715/Default.aspx
stock in focus
*************
22/07/52
เลิกรีดเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ พลังงานเสนอกพช.ไฟเขียว ราคาน้ำมันลงทันที 50 สต.
"พลังงาน" เตรียมชงกพช. ยกเลิกเก็บเงินเข้ากองทุนอนุรักษ์เพื่อสร้างรถไฟฟ้า ยันเก็บเงินก้อน 6,000 ล้านบาทไว้ก่อน เชื่อส่งผลดีทำให้ราคาขายปลีกเบนซิน-ดีเซล ลดลงทันที 50 สตางค์ ต่อลิตร ขณะที่ "วรรณรัตน์" มั่นใจยอดใช้แก๊สโซฮอล์ อี 85 พุ่ง หลังครม. ไฟเขียวลดภาษีนำเข้าเหลือ 60%
stock in focus
************
17/07/52
เศรษฐกิจซบ ยอดการใช้ไฟหดตัว 3.4%
กฟผ.เผยข้อมูลการใช้ไฟฟ้าในช่วงครึ่งแรกของปี2552 พบว่าใช้ไฟลดน้อยลง 3.4% แต่เชื่อว่าจะดีดตัวขึ้นมาในครึ่งหลังตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้น
นายสมบัติ ศานติจารี ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยถึงยอดความต้องการใช้ไฟฟ้าครึ่งแรกปี 2552 ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วประมาณร้อยละ 3.4

โดยหากนับเฉพาะในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมายอดความต้องการใช้ไฟฟ้าลดลงประมาณร้อยละ 0.5 ส่วนทั้งปีคาดว่า ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะใกล้เคียงกับตัวเลขเศรษฐกิจที่หดตัวลงประมาณร้อยละ 2-4

และได้คาดการณ์ว่านับจากนี้ ยอดการใช้ไฟฟ้าจะค่อยๆ ปรับตัวสูงขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นและส่งผลทำให้การส่งออกไทยดีขึ้น
http://www.bangkokbiznews.com
stock in focus

**************
17/07/52
อดีตที่ปรึกษารัฐบาลสหรัฐคาดราคาน้ำมันร่วงแตะ 20 ดอลลาร์ปีนี้

ฟิลิป เวอร์เลเกอร์ นักวิชาการที่เคยคาดการณ์ว่าราคาน้ำมันจะสูงเกิน 100 ดอลลาร์เมื่อปี 2550 และอดีตที่ปรึกษารัฐบาลสหรัฐคาดว่า ราคาน้ำมันจะร่วงแตะ 20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลในปีนี้ หลังจากที่เศรษฐกิจถดถอยกระทบดีมานด์เชื้อเพลิง

ฟิลิป เวอร์เลเกอร์ กล่าวว่า อุปทานน้ำมันดิบกำลังแซงหน้าอุปสงค์ประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน พร้อมคาดการณ์ว่าน้ำมันดิบส่วนเกินจะสูงถึง 100 ล้านบาร์เรลภายในสิ้นปีนี้ ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการสำรองน้ำมันทั่วโลกตึงตัว และจะทำให้ราคาน้ำมันอ่อนตัวลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี

เวอร์เลเกอร์ ซึ่งเป็นศาสตราจารย์มหาวิทยาลัยคาลการีด้วยนั้น กล่าวต่อไปว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจยังไม่ดีขึ้น การกลั่นน้ำมันทั่วโลกมีแนวโน้มว่าจะลดลงในช่วงฤดูใบไม้ร่วงนี้ หากภาวะถดถอยยังคงเกิดขึ้นต่อไปและฤดูหนาวอากาศไม่หนาวนัก อุตสาหกรรมน้ำมันคงจะย่ำแย่ลงแน่ๆ

บลูมเบิร์กรายงานว่า ราคาน้ำมันดิบที่มีการซื้อขายอยู่ที่ 20 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลนั้นเกิดขึ้นครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนก.พ. 2545 สวนราคาน้ำมันตลาด NYMEX วันนี้อยู่ที่ 61.18 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลนั้น ฟื้นตัวขึ้น 89% จากระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีเมื่อเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว โอเปคก็กำลังใช้มาตรการลดอุปทานลงเพื่อรับมือกับการใช้น้ำมันที่ตกลง แต่เวอร์เลเกอร์ กล่าวว่า โอเปคไม่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการลดอุปทานอย่างที่ควรจะทำ

นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า ราคาน้ำมันเฉลี่ยจะอยู่ที่ 63.91 ดอลลาร์ในไตรมาส 4 โดยราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนธ.ค.ในตลาดน้ำมัน NYMEX วันนี้อยู่ที่ 65.46 ดอลลาร์ ซึ่งดีดตัวขึ้นจากการคาดการณ์ว่าดีมานด์จะฟื้นตัว เพราะจีนและประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายกำลังต้องการน้ำมันเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ยังมีความกังวลเรื่องนโยบายการเงินที่อาจจะทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อและเงินดอลลาร์อ่อนค่าลง อย่างไรก็ตาม เวอร์เลเกอร์มีความเห็นที่แตกต่าง โดยเขามองว่า จีนกำลังเผชิญกับสถานการณ์ที่สิ้นหวัง เนื่องจากผู้บริโภคสหรัฐไม่จับจ่ายใช้สอย กลุ่มผู้ผลิตของจีนจึงได้รับผลกระทบ ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์มองเรื่องการขยายตัวแบบผิดที่ผิดทาง
http://www.moneychannel.co.th/Menu6/MorningBrief/tabid/104/newsid553/93429/Default.aspx
stock in focus

**************
กบง.รีดเงินเข้ากองทุนน้ำมัน
กบง.เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเพิ่ม เบนซิน 50 สต. โซฮอล์-ดีเซล 30 สต. พรุ่งนี้

นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า หากคณะรัฐมนตรี (ครม.) พรุ่งนี้ เห็นชอบเรื่องการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมัน 2.00 บาท/ลิตร ตามที่กระทรวงการคลังอาจจะเสนอนั้น หากลดภาษีสรรพสามิตแล้ว ภาษีอื่น ๆ เช่น ภาษีเทศบาล ภาษีมูลค่าเพิ่มก็จะปรับลดลงไปด้วยรวม ๆ แล้วประมาณ 2.20 บาท/ลิตร อย่างไรก็ตาม หากลดภาษีจริงทางกระทรวงพลังงานก็จะพิจารณาเก็บเพิ่มเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในส่วนที่ติดค้างจากการเข้าไปรับภาระภาษีน้ำมันทันที
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=56825

stock in focus

*********
10/07/52
ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก เริ่มปรากฏสัญญาณบางอย่างว่าอาจจะมีการปรับฐานลงในระดับต่ำกว่า 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล มากขึ้นทุกที เนื่องจากล่าสุดในการประชุม G 8 ประเทศเยอรมัน ฝรั่งเศส และสหรัฐ เห็นพ้องกันว่าอาจจะมีการออกกฏระเบียบในการควบคุมการเล่นสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดล่วงหน้า โดยเฉพาะการเล่นน้ำมันดิบล่วงหน้า เนื่องจากมองว่าเป็นสาเหตุให้เกิดความผันผวนในเกือบทุกตลาด โดยเฉพาะการเข้ามาเล่นของบรรดา Hedge fund และสถาบันการเงินล่าสุดทาง JP Morgan ได้ออกบทวิเคราะห์ว่าในครึ่งปีแรกของปีนี้มีเม็ดเงินเข้าซื้อสินค้าโภคภัณฑ์สูงถึง 25 พันล้านดอลลาร์ นอกจากประเด็นดังกล่าวแล้ว แรงกดดันราคาน้ำมันยังคงเป็นความกังวลที่ว่าเศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวอย่างที่คาดไว้หรือไม่ หลังจากเห็นตัวเลขการว่างงานในสหรัฐพุ่งสูงขึ้นมากจนรัฐบาลสหรัฐกำลังจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบสอง

โดย บริษัทหลักทรัพย์ ซิกโก้ จำกัด (มหาชน) ประจำวันที่ 10 กรกฎาคม 2552


****
วิเคราะห์หุ้น : ENERGY
: บมจ.เคจีไอ8 ก.ค--บมจ.เคจีไอ
Distributor - Bisnews AFE
กลุ่มพลังงาน ได้ประโยชน์จากแนวโน้มการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก"น้ำหนักเท่ากับตลาด
"สรุปประเด็นสำคัญ และข่าวล่าสุด
- อุตสาหกรรมต้นน้ำมีโอกาสปรับตัวเพิ่มตามราคาน้ำมัน
- ไม่ควรเสี่ยงกับอุตสาหกรรมปลายน้ำเช่นโรงกลั่นและปิโตรเคมี
- ฮุตสาหกรรมถ่านหินมีความกังวลจากการนำเข้าที่ลดลงของจีน
- จังหวะซื้อเข้าเก็งกำไรหุ้นปันผลระหว่างกาลและความเสี่ยงต่ำ
- คงให้น้ำหนัก เท่ากับตลาด โดยมี PTTEP เป็นหุ้นเด่นกลุ่มน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ

: การฟื้นตัวของความต้องการที่แท้จริง

ภายหลังจากการบริโภคน้ำมันลดลงติดต่อกันหลายเดือน ความต้องการน้ำมันของโลกเริ่มปรับตัวขึ้นในเดือน พ.ค. โดยความต้องการน้ำมันของโลกอยู่ที่ 83.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2551 หรือเพิ่มขึ้น 0.8% MoM เราเชื่อว่าตลาดน้ำมันได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และควรจะฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องในครึ่งหลังของปีนี้ตามแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้นโดยเฉพาะในตลาดเกิดใหม่ต่าง ๆ จากข้อมูลของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) เป็นที่คาดว่าค่า GDP โลกจะหดตัว 1.3% YoY ในปีนี้ แต่จะเพิ่ม 1.9% ในปี 2553 ซึ่งหมายถึงว่าการบริโภคน้ำมันของโลกคาดว่าจะเพิ่มต่อเนื่องได้ในปี 2553 คาดว่าตลาดจะฟื้นตัวต่อเนื่องในครึ่งหลังของปี 52 จากการฟื้นตัวของตัวเลขเศรษฐกิจและอุปสงค์น้ำมัน เราคาดว่าตลาดน้ำมันจะฟื้นตัวต่อเนื่องในครึ่งหลังของปี 52 และปี 2553 จากประมาณการของ IEA เป็นที่คาดว่าอุปสงค์โลกจะอยู่ที่ประมาณ 83.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในครึ่งหลังของปี 52 เพิ่มขึ้น 0.8% จากไตรมาส 2/52 OPEC ประสบความสำเร็จในการสกัดการปรับลดลงของราคาน้ำมัน ในปีที่แล้ว OPEC ตัดสินใจลดการผลิตลง 4.8 ล้านบาร์เรลต่อวันเพื่อสร้างสมดุลย์ในตลาด และสกัดการปรับลดลงของราคาน้ำมัน ดูเหมือนว่า OPEC จะประสบความสำเร็จ เนื่องจากราคาได้ตกต่ำสุดในปลายปี 2551 ก่อนปรับตัวขึ้นอยู่ใกล้ระดับ 70 เหรียญต่อบาร์เรลเมื่อไม่นานมานี้ OPEC ยังให้สัญญาณว่าราคาน้ำมันควรอยู่ที่ระดับอย่างน้อย 75 เหรียต่อบาร์เรล เพื่อให้บริษัทสำรวจมีความมั่นใจในการลงทุนอย่างต่อเนื่องในอนาคตปริมาณสำรองน้ำมันดิบลดลง จากการบริโภคที่เพิ่มขึ้นและกำลังการผลิตที่มีจำกัด ปริมาณสำรองน้ำมันดิบในประเทศสหรัฐฯ เริ่มปรับตัวลดลงตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. ปริมาณสำรองที่ลดลงอาจถือเป็นปัจจัยบวก ที่สามารถหนุนตลาดน้ำมันได้ อุตสาหกรรมต้นน้ำได้ประโยชน์โดยตรงจากราคาที่เพิ่มขึ้น
EIA คาดว่าราคาน้ำมัน (WTI) จะเฉลี่ยอยู่ที่ 67 เหรียญต่อบาร์เรลในไตรมาส 3/52 เพิ่มขึ้น 13.8% QoQ จากเศรษฐกิจโลกที่ดีขึ้นเป็นหลัก โดยคาดว่าความต้องการน้ำมันดิบของโลกจะเพิ่มต่อเนื่องในไตรมาส 3/52 และจะเป็นปัจจัยสำคัญในการรักษาระดับราคาน้ำมันไม่ให้ตกอย่างรุนแรงหลังจากปรับตัวเพิ่มอย่างมาก นอกจากนี้ การคาดการณ์เกี่ยวกับการอ่อนค่าอย่างต่อเนื่องของเงินเหรียญสหรัฐฯ จะดึงดูดนักเก็บกำไรกลับเข้าสู่ตลาด ประมาณการราคาน้ำมันดิบของเรา (ดูไบ) ในไตรมาส 3/52 อยู่ที่ 62 เหรียญต่อบาร์เรล เพิ่มขึ้น 6.9% QoQ ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็นประโยชน์โดยตรงต่อบริษัทในอุตสาหกรรมต้นน้ำโรงกลั่น

: ค่าการกลั่นในไตรมาส 2/52 ส่งสัญญาณอ่อนตัวลงอย่างเด่นชัด
โดยปกติค่าการกลั่นเฉลี่ยจะพุ่งสูงสุดในไตรมาส 2 ของทุกปี เนื่องจากเป็นช่วงของการซ่อมบำรุงของโรงกลั่นในภูมิภาค อย่างไรก็ดี ค่าการกลั่นเฉลี่ยของสิงคโปร์ในไตรมาส 2/52 กลับอ่อนตัวไปอยู่ที่ 4.1 เหรียญต่อบาร์เรล ลดลง 59.3% YoY และ 24.0% QoQ ทั้งนี้ค่าการกลั่นที่ลดลงในปีนี้เกิดจากสภาวะอุปทานเกินดุลย์ และทำให้ค่าการกลั่นควรอยู่ในระดับต่ำไปอีกหลายปีส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ในปีนี้จะอยู่ในช่วงต่ำของหลายปีที่ผ่านมา ความต้องการใช้ที่ลดลงได้กดดันส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกลั่น ได้แก่ น้ำมันดีเซลและน้ำมันเครื่องบิน ในขณะที่แม้ว่าน้ำมันเบนซินดูจะดีกว่าเพื่อน แต่ราคาก็ยังเคลื่อนไหวอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในปี 2546-51 กำไรไตรมาส 2/52 ของกลุ่มโรงกลั่นจะดีมากจากกำไรสินค้าคงคลัง
เราคาดว่าโรงกลั่นในประเทศไทยทั้งหมดจะรายงานกำไรไตรมาส 2/52 ออกมาดีมาก ตามกำไรจากสินค้าคงคลังหลังราคาน้ำมันพุ่งขึ้น 46.0% ในระหว่างไตรมาส เราคาดว่ากำไรจากสินค้าคงคลังในไตรมาสจะสูงถึง 6.5 เหรียญต่อบาร์เรล อย่างไรก็ดีกำไรในไตรมาสดังกล่าวจะเป็นจุดสูงสุดของปี เนื่องจากค่าการกลั่นที่แท้จริงอ่อนตัวลงอย่างมาก นอกจากนี้เราเชื่อว่าโรงกลั่นจะไม่มีการบันทึกกำไรจากสต๊อกน้ำมันมากเช่นนี้อีกในปีนี้ คาดค่าการกลั่นในตลาดจะลดลงในครึ่งหลังของปี 52 เรายังคงมุมมองที่เป็นลบต่ออุตสาหกรรมการกลั่น เนื่องจากกำลังการผลิตส่วนเกินที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในช่วงปี 2552-54 จะยังคงเป็นปัญหาหลักต่อไป โดยมีค่าการกลั่นของสิงคโปร์ในไตรมาส 2/52 ที่เพียง 4.1 เหรียญต่อบาร์เรล ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2548 เป็นหลักฐานที่ดีที่สามารถระบุได้ว่าอุตสาหกรรมอยู่ในช่วงขาลง แม้อาจมีโรงกลั่นบางแห่งที่มีต้นทุนการผลิตสูงจะลดหรือปิดโรงงาน แต่เราคาดว่าหลังฤดูการซ่อมบำรุงในไตรมาส 2 ผ่านไปและโรงงานใหม่เริ่มเดินการผลิต ค่าการกลั่นจะอ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่องในครึ่งหลังของปี 52

ปิโตรเคมี: ประเทศจีนเริ่มนำเข้าลดลง

จากข้อมูลการนำเข้าของประเทศจีน ตัวเลขนำเข้าปิโตรเคมีในเดือน พ.ค. เริ่มลดลงหลังเพิ่ม 5 เดือนติดต่อกัน ในตารางที่ 3 เราใช้เอทิลีนเป็นตัวแทนของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี เราเชื่อว่าความต้องการจากการกักตุนสินค้าเริ่มลดลง นอกจากนี้ เมื่อต้นเดือนนี้คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (NDRC) ได้ปรับราคาน้ำมันหน้าโรงกลั่นเพิ่ม ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้การใช้กำลังการผลิตของโรงกลั่นเพิ่มขึ้น ดังนั้นแนฟทาซึ่งเป็นผลผลิตที่ได้จากการกลั่น และถูกใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจะเพิ่มขึ้น การเพิ่มขึ้นดังกล่าวอาจก่อให้เกิดอัตราการใช้กำลังการผลิตของอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในประเทศจีนสูงขึ้น ปัจจัยดังกล่าวอาจหมายถึงความต้องการนำเข้าที่ลดลงสำหรับผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจากตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อราคาและอัตรากำไรในที่สุด อุปทานส่วนเกินกดดันส่วนต่างราคา แม้ว่าความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีจะเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และผลักดันให้ส่วนต่างราคาเพิ่มสูงขึ้น เรายังคงมุมมองที่เป็นลบต่อแนวโน้มอุตสาหกรรม จากสภาวะอุปทานเกินดุลที่เกิดขึ้น จากข้อมูลตัวเลขล่าสุดของ CMAI กำลังการผลิตปิโตรเคมีที่เพิ่มขึ้นทั้งในสายการผลิตอะโรเมติกส์และโอเลฟินจะเพิ่มเร็วกว่าความต้องการใหม่จนถึงปี 2554 ส่วนต่างราคาพาลาไซลีนลดอย่างรุนแรง ราคาน้ำมันที่เพิ่มอย่างรุนแรงจะกระทบต่อธุรกิจปิโตรเคมีในที่สุด เนื่องจากโดยปกติราคาวัตถุดิบจะเคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกันกับน้ำมัน ราคาพาราไซลีน (PX) ที่ลดลงขณะที่ต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มขึ้น เป็นปัจจัยกดดันหลัก นับตั้งแต่ต้นเดือน พ.ค. ส่วนต่างราคา PX ได้ปรับตัวลดลงจาก 775 เหรียญต่อตันเหลือ 387 เหลือต่อตัน แม้ว่าส่วนต่างเบนซีน (BZ) จะค่อนข้างทรงตัวที่เกือบ 200 เหรียญต่อตัน ตัวเลขดังกล่าวยังถือว่าต่ำ เมื่อเทียบกับตัวเลขในหลายปีที่ผ่านมา เช่นเดียวกันกับ PX เราเชื่อว่าความต้องการ BZ จะไม่มากพอที่จะดูดซับอุปทานใหม่ทั้งหมด และทำให้ส่วนต่างราคาอ่อนตัวลงในที่สุด ส่วนต่างราคา HDPE คาดว่าจะเริ่มอ่อนตัวตามผลิตภัณฑ์ MEG จากการคาดการณ์เกี่ยวกับสภาวะอุปทานโอเลฟินส์ขั้นปลายที่เกินดุลย์ เราเชื่อว่าส่วนต่างราคาเฉลี่ยของ HDPE-แนฟทา ที่ 625 เหรีญญต่อตันในไตรมาส 2/52 ซึ่งค่อนข้างทรงตัวจากค่าเฉลี่ยในปี 2550 และ 2551 จะลดลง ต้นทุนวัตถุดิบที่อยู่ในระดับสูงตามราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นจะชะลอการฟื้นตัวของความต้องการใช้ แม้เราจะไม่คำนึงถึงโอกาสที่ความต้งการใช้จะต่ำเกินคาด ภาวะอุปทานจำนวนมากที่ไหลเข้าสู่ตลาดก็มากเกินพอที่จะกดดันต้องมีการลดอัตราการใช้กำลังการผลิตโลกและกดดันความสามรถในการทำกำไรของผู้ผลิต HDPE ตามส่วนต่างที่ลดลงอย่างมากของผลิตภัณฑ์ MEG

ถ่านหิน: ความกังวลจากการน้ำเข้าถ่านหินลดลงของประเทศจีน

ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 52 ประเทศจีนนำเข้าถ่านหินให้ความร้อนเพิ่มอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากราคาระหว่างประเทศ รวมค่าระวาง ถูกกว่าราคาถ่านหินในประเทศ อย่างไรก็ดี มีความเป็นไปได้ที่ประเทศจีนจะนำเข้าถ่านหินลดลงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า เนื่องจากราคาถ่านหินในตลาดโลกปรับตัวขึ้นและอัตราค่าระวางที่เพิ่มอย่างรวดเร็วถึง 57.4% QoQ ปัจจัยดังกล่าวจะลดความต้องการนำเข้าถ่านหินของประเทศจีน ในขณะที่ส่งเสริมการส่งออกสู่ตลาดโลก ซึ่งอาจกดดันราคาถ่านหินได้ในระยะสั้น ปัจจัยเสี่ยงระยะสั้นเพิ่ม ความเห็นของเราได้รับการยืนยันจากประมาณการของรัฐบาลออสเตรเลีย(ABARE) เนื่องจากสถาบันดังกล่าวคาดว่าการนำเข้าถ่านหินให้ความร้อนของประเทศจีนจะลดลงตลอดช่วงที่เหลือของปี 2552 จากการคาดการณ์เกี่ยวกับอัตราค่าระวางที่เพิ่มขึ้น และการผลิตที่เพิ่มขึ้นของเหมืองถ่านหินขนาดใหญ่ในประเทศจีน แม้ว่าประเทศจีนจะมีสถานะนำเข้าสุทธิถึง 21.7 ล้านตันในรอบ 5 เดือนแรกของปี 52 แต่ ABARE คาดว่าประเทศจีนมีสถานะส่งออกสุทธิ 3.5 ล้านตันในปี 2552 ซึ่งหมายความว่าประเทศจีนจะส่งออกสุทธิ 25.2 ล้านตันตลอดช่วงที่เหลือของปีนี้ ให้น้ำหนัก เท่ากับตลาด สำหรับธุรกิจถ่านหิน

Thanks a lot khun muangsombut
http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/topic/I8058736/I8058736.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น