วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

ข่าวเศรษฐกิจมหภาค 1

22/12/52
รมว.อุตสาหกรรมชี้โรดโชว์ยุโรปประสบผลสำเร็จเกินคาด

Posted on Tuesday, December 22, 2009
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บอกว่า การเดินทางไปโรดโชว์การลงทุนใน 3 ประเทศ ได้แก่ เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และอิตาลี ประสบความสำเร็จเกินความคาดหมาย โดยภาคเอกชนชั้นนำของแต่ละประเทศ ยืนยันว่า จะยังใช้ประเทศไทยเป็นฐานในการผลิตสินค้าต่อไป รวมทั้งแสดงความสนใจขยายการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต อาทิ นักลงทุนประเทศเยอรมนี เช่น บริษัท บอช สนใจลงทุนด้านการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ และบริษัท บีเอ็มดับเบิลยู และบริษัท เมอร์เซเดสเบนซ์สนใจผลิตรถยนต์ขับเคลื่อนจากพลังงานไฟฟ้า เป็นต้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บอกด้วยว่า นักลงทุนจากประเทศอิตาลี เช่น บริษัท ดาเนียเล่ ผู้ผลิตเครื่องจักรอุปกรณ์และโลหะ สนใจจะใช้ไทยเป็นฐานการผลิตในภูมิภาค โดยได้เพิ่มเป้าหมายการส่งออกสินค้าที่ผลิตในไทย จากมูลค่า 300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็น 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีนโยบายขยายการลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอีกด้วย
money news update***********
21/12/52
ส่งออกพ.ย.โต17.2% คลังแย้มดีขึ้นทุกหมวด
วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ข่าวดีเศรษฐกิจเดือน พ.ย. ยอดส่งออกขยายตัว 17.2% คลังเผยดีขึ้นทุกหมวด โดยเฉพาะเครื่องไฟฟ้า-อิเล็กทรอนิกส์

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ตัวเลขส่งออกเดือนพ.ย. ขยายตัว 17.2% โดยเป็นการขยายตัวทุกหมวดสินค้า ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะแถลงข้อมูลอย่างเป็นทางการในวันจันทร์ที่ 21 ธ.ค.นี้
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ตัวเลขส่งออกดีขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่เดือนต.ค.แล้ว โดยปรับลดมาเหลือติดลบเพียง 3% เท่านั้น ส่วนหนึ่งมาจากหลายอุตสาหกรรมดีขึ้น เช่น เครื่องใช่ไฟฟ้าขยายตัว 5.7% บวกครั้งแรกในรอบปี ซึ่งรายการนี้มีน้ำหนักส่งออกถึง 10%

สำหรับตัวอื่นๆ แม้ไม่เป็นบวกแต่ปรับตัวดีขึ้น เช่น อุตสาหกรรมเกษตรลบ 0.8% มีน้ำหนัก 6% อิเล็กทรอนิกส์ลบ 5.4% มีน้ำหนักส่งออกถึง 17.5% ยานยนต์ ลบ 4.4% มีน้ำหนัก 11% ตัวที่น้ำหนักมากแต่ยังขยายตัวไม่ดี คือภาคเกษตร มีน้ำหนัก 11.3%

แหล่งข่าวเปิดเผยว่า ยอดส่งออก ที่ดีขึ้นถึงเลขสองหลักสะท้อนการฟื้น ตัวอย่างชัดเจนของเศรษฐกิจไทยที่เกิดจากเศรษฐกิจโลก

“ครึ่งปีหน้าการส่งออกจะขยายตัวสูงมาก เพราะไตรมาสแรกปีก่อนลบ 20.5% และไตรมาส 2 ลบ 26.2% เท่ากับว่าครึ่งปีแรกจะสูงมากเป็นประวัติการณ์ เพราะเศรษฐกิจดีและฐานส่งออกต่ำมาก” แหล่งข่าวเปิดเผย

ก่อนหน้านี้ กระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขส่งออกเดือนต.ค. 2552 มีมูลค่า 14,813 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวลดลง 2.98% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 13,050 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 17.9% แต่ยังเกินดุลการค้า 1,760 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าหมวดเกษตรเติบโตมากที่สุด
posttoday**********
17/12/52
คลัง เผย ผลจัดเก็บรายได้รัฐเดือนพ.ย.ทะลุเป้ากว่า 2หมื่นล.
Thursday, 17 December 2009 15:29
นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กระทรวงการคลังเปิด เผยว่า ในเดือนพฤศจิกายน รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1.27 แสนล้านบาท ทะลุเป้ากว่า 20,000 ล้านบาท ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองของปีงบประมาณ 2553 เป็นผลจากการบริโภคและการนำเข้าที่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน ส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรขาเข้าขยายตัวในอัตราที่สูง และผลการจัดเก็บใกล้เคียงกับระดับที่เคยจัดเก็บได้ก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ ขณะเดียวกันภาษีสรรพสามิตรถยนต์ทะลุ 6,000 ล้านบาท สูงสุดในรอบเกือบ 4 ปี

ในเดือนพฤศจิกายน 2552 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 127,445 ล้านบาท สูงกว่า ประมาณการ 20,354 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.0 โดยภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการเป็นอันดับต้น ๆ ได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีสรรพสามิตรถยนต์ อากรขาเข้า และภาษีเบียร์ ซึ่งสะท้อนถึงการบริโภคและการนำเข้าที่ฟื้นตัวอย่างชัดเจน ส่วนภาษีน้ำมันจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3,537 ล้านบาท เป็นผลจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีน้ำมันในเดือนพฤษภาคม 2552 ที่ผ่านมา

สำหรับในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2553 (ตุลาคม – พฤศจิกายน 2552) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 243,080 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 40,419 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.9 โดยทั้ง 3 กรมหลัก ได้แก่ กรมสรรพสามิต กรมสรรพากร และกรมศุลกากร จัดเก็บภาษีได้สูงกว่าเป้าหมาย 17,590 14,074 และ 3,849 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.2 9.8 และ 29.6 ตามลำดับ

นายสาธิตฯ สรุปว่า “จากผลการจัดเก็บภาษีในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทำให้มั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 จะขยายตัวในอัตราที่เป็นบวก ตามที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังได้ประมาณการไว้อย่างแน่นอน”

ทั้งนี้การจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนพฤศจิกายน 2552 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 127,445 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 20,354 ล้านบาท ส่งผลให้ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 (ตุลาคม – พฤศจิกายน 2552) จัดเก็บได้ 243,080 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 40,419 ล้านบาท เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง และการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน สุรา เบียร์ และยาสูบ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2552 โดยมีรายละเอียดสรุปได้ ดังนี้

1. เดือนพฤศจิกายน 2552 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 127,445 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการฯ 20,354 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.0 (สูงกว่าเดือนเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 19.4) เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับการบริโภคและการนำเข้าสูงกว่าประมาณการ ซึ่งสะท้อนถึงภาวะเศรษฐกิจที่ ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 5 อันดับแรกได้แก่

- ภาษีมูลค่าเพิ่ม จัดเก็บได้ 40,512 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 5,720 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.4 เป็นผลจากการบริโภคภายในประเทศและการนำเข้าที่เริ่มมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากสินค้านำเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 25.7 ในขณะที่ภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บจากการบริโภคภายในประเทศ จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 10.6

- ภาษีน้ำมัน จัดเก็บได้ 12,279 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 3,537 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 40.5 เป็นผลจากการปรับเพิ่มอัตราภาษีน้ำมันในเดือนพฤษภาคม 2552

- ภาษีรถยนต์ จัดเก็บได้ 6,113 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,581 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 73.1 เป็นผลจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำ

- อากรขาเข้า จัดเก็บได้ 8,453 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,083 ล้านบาท หรือร้อยละ 32.7 เป็นผลจากการนำเข้าที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยการจัดเก็บเป็นไปในทิศทางเดียวกับการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้า

- ภาษีเบียร์ จัดเก็บได้ 5,428 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 1,570 ล้านบาท หรือร้อยละ 40.7 เป็นผลจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นทำให้มีการบริโภคและผลิตเพิ่มขึ้น รวมทั้งมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีจากร้อยละ 55 เป็นร้อยละ 60 ในเดือนพฤษภาคม 2552

สำหรับรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ 1,210 ล้านบาท เนื่องจากการไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ขอทยอยนำส่งรายได้เป็นงวด (จากเดิมที่คาดว่าจะนำส่งทั้งจำนวนในเดือนตุลาคมที่ผ่านมา) นอกจากนี้ บมจ. กสท โทรคมนาคม ได้เลื่อนการจ่ายเงินปันผลมาจ่ายในเดือนนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะจ่ายในเดือนตุลาคม อย่างไรก็ดี บมจ. การบินไทยไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ตามประมาณการ เนื่องจากมีผลประกอบการขาดทุน

2. ในช่วง 2 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2553 (ตุลาคม – พฤศจิกายน 2552) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 243,080 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 40,419 ล้านบาท หรือร้อยละ 19.9 (สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 22.7) เป็นผลจากการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมจัดเก็บที่สูงกว่าประมาณการ ถึง 35,513 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.4 ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญานการฟื้นตัวที่ชัดเจนแล้ว ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้

2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 157,465 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 14,074 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 9.8 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 2.3) ภาษีที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 10,409 ล้านบาท หรือร้อยละ 15.0 เป็นผลจากยาสูบ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2552 อบการการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตเบียร์ ละธางไรก็ดี ผลจากการนำเข้าที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง เชการบริโภคและการนำเข้าที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 64,926 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 17,590 ล้านบาท หรือร้อยละ 37.2 (สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 74.3) เนื่องจากมีการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมัน สุรา เบียร์ และยาสูบ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2552 ประกอบกับการบริโภคภายในประเทศที่ฟื้นตัว ส่งผลให้จัดเก็บภาษีน้ำมัน ภาษีรถยนต์ และภาษีเบียร์ สูงกว่าประมาณการ 7,116 4,705 และ 2,373 ล้านบาท หรือร้อยละ 40.6 65.5 และ 31.6 ตามลำดับ

2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 16,864 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 3,849 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 29.6 (สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 2.9) เนื่องจากอากรขาเข้าจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 3,401 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.9 โดยมีสาเหตุหลักจากการนำเข้าที่ฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง

2.4 รัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้ 18,590 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 245 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 168.3) โดยมีสาเหตุสำคัญจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ขอทยอยนำส่งรายได้เป็น 6 งวด จากเดิมที่คาดว่าจะนำส่งทั้งจำนวนในเดือนตุลาคม นอกจากนี้ บมจ. การบินไทย ไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้เนื่องจากมีผลประกอบการขาดทุน อย่างไรก็ดี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และธนาคารออมสินนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ 1,290 และ708 ล้านบาท ตามลำดับ

2.5 หน่วยงานอื่น จัดเก็บได้รวม 18,111 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 2,322 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.7 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 5.3) เนื่องจากในเดือนตุลาคม และพฤศจิกายน 2552 ที่ผ่านมามีรายได้จากการไถ่ถอนหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ครบกำหนดของกระทรวงการคลังจำนวน 3,447 ล้านบาท
stock wave
*******
16/12/52
สภาอุตฯคาด ส่งออกปีหน้าโต 10-14%

Posted on Wednesday, December 16, 2009
นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) บอกว่า การส่งออกของไทยขณะนี้เริ่มฟื้นตัว
ดีขึ้น ตามภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า แต่ยังคงติดลบอยู่ประมาณ 15-16 %ในปีนี้ จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบถึง 25 % โดยอุตสาหกรรมที่ฟื้นตัวชัดเจน ได้แก่ อุตสาหกรรมรถยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอ และสินค้าเกษตร โดยเฉพาะข้าว และเชื่อว่า ทิศทางการส่งออกจะปรับตัวดีขึ้นอีกในปีหน้า ซึ่งน่าจะขยายตัวได้ 10-14 % แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตา คือ การลดค่าเงินดองของเวียดนาม ขณะที่ค่าเงินบาทของไทยที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง และเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีความผันผวน รวมทั้งสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศก็ยังคงมีความไม่แน่นอน รวมถึงการชะลอลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด

นายธนิต ย้ำว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และส่งสัญญาณดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ ซึ่งหากไม่มีความรุนแรง และทุกอย่างอยู่ในกรอบกติกา ก็จะทำให้ดึงเม็ดเงินด้านท่องเที่ยวเข้ามาในไทยได้

*****
11/12/52
ลุ้นเศรษฐกิจโลกฟื้น จีดีพีปี53โต3.3-5.3%
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ธปท.ลุ้นเศรษฐกิจโลกในปีหน้าฟื้นตัว ดันจีดีพีขยายตัว 3.3-5.3% รับปัจจัยเสี่ยงตัวเลขว่างงาน-หนี้เสีย-ราคาอสังหาฯขาลงในสหรัฐ กระทบเศรษฐกิจโลก
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังต้องใช้เวลา ซึ่งทำให้เงินดอลลาร์ยังมีความผันผวนในช่วงต่อไป โดยประเด็นสำคัญของเศรษฐกิจโลกที่ต้องติดตาม คือ จีดีพีไตรมาส 3 ของปี 2552 จะปรับตัวดีขึ้นเมื่อเทียบกับปลายปี 2551 ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจโลกกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในปี 2553

ทั้งนี้ ศรษฐกิจโลกยังมีจุดอ่อน 3 ปัจจัย ที่ต้องใช้เวลาเพื่อกลับเข้าสู่ภาวะการขยายตัวปกติ ประกอบด้วย การว่างงานของสหรัฐที่ยังอยู่ระดับสูงถึง 10% เป็นข้อจำกัดในการใช้จ่ายของภาคครัวเรือนสหรัฐ ตัวเลขหนี้เสียของสหรัฐและยุโรปที่มีผลกระทบต่อการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน ขณะที่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ต่างประเทศยังปรับตัวสู่ขาลง ซึ่งกระทบต่อเศรษฐกิจโลก

โดยทั้ง 3 ปัจจัยกระทบต่อการฟื้นตัวของประเทศกลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ทำให้การฟื้นตัวยังไม่เข้มแข็ง และกระทบต่อการส่งออกของไทย รวมทั้งทำให้เงินดอลลาร์อ่อนค่า ส่งผลให้มีเงินไหลเข้าประเทศในภูมิภาคเอเซีย รวมทั้งไทย ซึ่งเป็นแรงกดดันต่อค่าเงินบาท และราคาหลักทรัพย์ในต่างประเทศ ภาวะการเงินต่างประเทศที่ผันผวนยังกระทบต่อตลาดเงินในประเทศ ดังนั้น ภาคธุรกิจยังต้องปรับตัวและตั้งรับให้ดี

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2553 ธปท.คาดว่าจีดีพีจะขยายตัว 3.3-5.3% โดยเศรษฐกิจโลกที่เป็นบวกในปี 2553 จะเป็นปัจจัยที่ทำให้เศรษฐกิจไทยได้รับประโยชน์จากการส่งออกที่ขยายตัวมากขึ้น ประกอบกับมีปัจจัยบวกจากการใช้จ่ายของภาครัฐเข้ามาสนับสนุน ซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง โดยภาวะปัจจุบันเครื่องชี้เศรษฐกิจหลายด้านกลับเป็นบวกขึ้น และน่าจะขยายตัวดีขึ้นในปีหน้า

ส่วนกรณีปัญหาสภาพคล่องของดูไบและตลาดเกิดใหม่ยังมีจุดอ่อนอยู่บ้าง แต่เชื่อว่าไม่กระทบถึงไทย เพราะสถานะของปัญหานั้นตลาดรับรู้ไปก่อนหน้า และวงเงินหนี้สินที่มีปัญหาอยู่ในเกณฑ์ไม่สูงมากเมื่อเทียบกับขนาดสินทรัพย์ที่มี และตลาดเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว คือ ปัญหาไม่ได้ทรุดลง หนี้สินไม่กระทบในวงกว้าง
krungthepturakij
**********
08/12/52
ม.หอการค้าไทยชี้ความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพ.ย.เพิ่มขึ้นเล็กน้อย

Posted on Tuesday, December 08, 2009
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ระบุถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือนพฤศจิกายน พบว่า ดัชนีอยู่ที่ระดับ 69.1จุด ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนตุลาคมซึ่งอยู่ที่ระดับ 68 จุด ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำ อยู่ที่ 67.8 จุด และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคต อยู่ที่ 92.6 จุด

สำหรับปัจจัยบวกที่ทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนพฤศจิกายนปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ประกาศตัวเลขจีดีพีไตรมาส 3 ออกมาติดลบ 2.8% ซึ่งดีกว่าประมาณการครั้งก่อน ทำให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัว ประกอบกับเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้น ราคาน้ำมันเบนซินในประเทศทรงตัว และงบประมาณภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งเริ่มลงไปสู่ระบบอย่างต่อเนื่อง โดยคาดว่าจีดีพีปีหน้าจะขยายตัวได้ในกรอบ 2.5-4% ส่วนปัญหามาบตาพุดอาจจะกระทบจีดีพีประมาณ 0.2%

ทั้งนี้การที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ยังอยู่ต่ำกว่าระดับ 100 จุด แสดงว่าผู้บริโภคยังคงขาดความมั่นใจในสถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่แข็งแกร่ง โดยกังวลต่อสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศ // ปัญหาโครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ถูกคำสั่งศาลให้ระงับชั่วคราว // ยอดการส่งออกของไทยในเดือนตุลาคมที่ยังติดลบ // ปัญหาเศรษฐกิจโลกจากกรณีที่เวียดนามลดค่าเงินดอง และปัญหาการขาดสภาพคล่องของดูไบเวิลด์ // รวมทั้งความกังวลต่อราคาสินค้าและค่าครองชีพที่ยังไม่สอดคล้องกับรายรับ

นายธนวรรธน์ ยังแนะนำให้รัฐบาลยกเลิกมาตรการน้ำ-ไฟฟรี ซึ่งจะสิ้นสุดโครงการในสิ้นเดือนธันวาคมนี้ และปล่อยไปตามกลไกตลาด ส่วนรถเมล์-รถไฟฟรีแนะคงไว้ เพื่อที่จะกดไม่ให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเร็ว เนื่องจากจะส่งผลต่อดอกเบี้ยที่จะปรับเพิ่มขึ้นตามในอนาคต
money news update
*********
04/12/52
วิกฤติเศรษฐกิจฉุดส่งออกของขวัญลด 5%

Posted on Friday, December 04, 2009
นายจิรบูลย์ วิทยสิงห์ นายกสมาคมของขวัญของชำร่วยไทยและของตกแต่งบ้าน บอกวว่า ตลาดการส่งออกของขวัญฯ ในปีนี้คาดว่าจะลดลง 3-5 % โดยมีมูลค่ารวม 5.7 - 5.8 หมื่นล้านบาท เนื่องจากตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกสำคัญประสบปัญหาเศรษฐกิจ ทำให้ยอดการส่งออกสินค้าของขวัญลดลงไปมาก

ทั้งนี้ ยอดการส่งออกในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา ดีขึ้นหลังจากที่ติดลบถึง 40 – 45% ในช่วงต้นปี เหลือติดลบ 16% ซึ่งทางสมาคมฯ ก็มีความพอใจที่สถานการณ์ดีขึ้น โดยผู้ส่งออกได้มีการปรับตัวหาตลาดใหม่ ๆ เช่น อาเซียน เพื่อทดแทนตลาดสหรัฐอเมริกา และพัฒนาดีไซน์สินค้าเจาะตลาดลูกค้าระดับบนมากขึ้น

สำหรับงานไทยแลนด์เบสท์บาย 2009 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ตั้งแต่วันที่ 4-13 ธันวาคม 2552 คาดว่า จะมีเม็ดเงินสะพัดประมาณ 300 ล้านบาท โดยมีผู้ประกอบการนำสินค้าของขวัญและของชำร่วย มาจำหน่าย เพื่อต้อนรับเทศกาลปีใหม่
money news update***********
03/12/52
กนง. คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% หวังกระตุ้นเศรษฐกิจต่อเนื่อง

Posted on Wednesday, December 02, 2009
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาล ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แถลงผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ว่า ที่ประชุมมีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% ต่อปี เพื่อเอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยแม้เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวต่อเนื่อง แต่มีลักษณะอย่างค่อยเป็นค่อยไป และยังจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐด้านนโยบายต่อไป อีกทั้งอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ในระดับต่ำ จึงไม่ถือเป็นแรงกดดันต่อเศรษฐกิจ โดยคณะกรรมการจะดูแลอย่างใกล้ชิด

สำหรับแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยระยะต่อไป คณะกรรมการจะพิจารณาจากความจำเป็นจากภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ การบริโภคและการลงทุนของเอกชน ในด้านความเข้มแข็งและขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งหากมีความมั่นใจในเรื่องดังกล่าว
ก็จะปรับอัตราดอกเบี้ยให้เข้าสู่ภาวะปกติ

นายไพบูลย์บอกด้วยว่า กรณีที่ศาลปกครองสูงสุด ยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลางให้ระงับการลงทุนชั่วคราว 65 โครงการ ส่วนอีก 11 โครงการ ให้ลงทุนต่อไปได้ว่า ปัจจัยดังกล่าวยังมีความคลุมเครือต่อภาคการลงทุนและความเชื่อมั่น ซึ่งคาดว่าจะส่งผลทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจปี 2553 ลดลงประมาณ 0.2% จากที่คาดการณ์ก่อนหน้านี้ว่า จะขยายตัว 3.3-5.3% นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบริษัทที่เกี่ยวข้องในโครงการที่ถูกระงับไป จึงต้องเร่งสร้างความแน่นอนในเรื่องของกฎหมายและกฎเกณฑ์ เพื่อดึงความมั่นใจในการลงทุนกลับคืนมา

นอกจากนี้ กนง. ยังแสดงความกังวลถึงการเบิกจ่ายโครงการลงทุนไทยเข้มแข็งที่อาจล่าช้ากว่ากำหนด โดยรัฐควรเร่งรัดการเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้า เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังอยู่ในระยะเริ่มต้น จึงควรได้รับการสนับสนุนจากทั้งนโยบายการเงินและการคลัง ซึ่งแม้ว่ารัฐบาลจะต่ออายุ 5 มาตรการ 6 เดือนเพื่อช่วยเหลือประชาชน ก็ไม่กดดันต่ออัตราเงินเฟ้อ

นายไพบูลย์กล่าวอีกว่า การลดค่าเงินดองของเวียดนาม และการเลื่อนชำระหนี้ของดูไบ เวิร์ล ไม่ได้เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยในขณะนี้ และไม่ส่งผลกระทบต่อนโยบายการเงินของไทย อีกทั้งค่าเงินดองมีโอกาสลดลงได้อีก เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อของเวียดนามยังอยู่ในระดับสูง อีกทั้งค่าเงินยังแข็งค่ากว่าที่ควรจะเป็น ดังนั้นการปรับลดจึงเป็นการแข่งขันให้สามารถสู้กับประเทศอื่นได้

ผู้บริหารธปท.ยืนยันว่า ขณะนี้ยังไม่เห็นสัญญาณฟองสบู่ทั้งในภาคอสังหาริมทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ไทย แม้หลายประเทศในแถบภูมิภาคเอเชีย จะเริ่มแสดงความกังวลจากการเพิ่มขึ้นของราคาอสังหาริมทรัพย์ เช่น ฮ่องกงและสิงคโปร์ ก็ตาม
money news update
***********
03/12/52
มาบตาพุดฉุดเป้าดัชนีหุ้นไทยปีหน้านับ 100 จุด หากโครงการต้องเลื่อนไป 1 ปี

Posted on Thursday, December 03, 2009
จิตรา อมรธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ฟินันเซียไซรัส กล่าวในรายการ Get SET ว่า ความเสี่ยงจากคำสั่งศาลในโครงการมาบตาพุดยังไม่สิ้นสุด เพราะแม้จะให้ลงมือก่อสร้าง 11 โครงการต่อไปได้ แต่เมื่อถึงเวลาที่จะเปิดดำเนินการจริงก็จะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐก่อนจึงจะเริ่มดำเนินการได้จริง และต้นตอของปัญหาที่แท้จริงคือการที่ NGO ยื่นฟ้องหน่วยงานรัฐยังไม่ได้รับการแก้ไข

จิตราประเมินว่าหากสถานการณ์เลวร้ายจนถึงขั้นที่ 65 โครงการที่เหลือต้องเลื่อนออกไป 1 ปี จะทำให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่เกี่ยวข้องลดลง 20-30% และทำให้เป้าที่ทาง บล. ฟินันเซียไซรัสคาดว่า กำไรเฉลี่ยของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดในปีหน้าจะเติบโต 22% ก็จะลดลงเหลือ 14% และทำให้ต้องมีการทบทวนดัชนีเป้าหมายจากที่เคยคาดไว้ที่ 975 จุด เหลือเพียงกว่า 800 จุด

นอกจากนี้ผลกระทบยังต่อเนื่องไปถึงธนาคารพาณิชย์ที่ปล่อยสินเชื่อในโครงการนี้รวม 9 หมื่นล้านบาท ซึ่งหากกลายเป็นหนี้เสีย (NPL) ก็จะทำให้ NPL ในระบบเพิ่มขึ้น 1.2% โดย NPL ของทั้งระบบในปัจจุบันอยู่ที่ 5.4% ผลเสียยังต่อเนื่องไปยังกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างที่จะต้องเข้ามารับผิดชอบโครงการต่าง ๆ อีกด้วย
money news update
************
02/12/52
ศาลปกครองสูงสุดสั่งระงับ 65 โครงการมาบตาพุด
ศาลปกครองสูงสุดได้อ่านคำสั่งอุทธรณ์ กรณี 8 หน่วยงานรัฐ ให้อัยการสูงสุด เป็นตัวแทนยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง ที่ให้ระงับ 76 โครงการลงทุนในมาบตาพุดชั่วคราว โดยมีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองชั้นต้น แต่แก้ไขคำสั่งบางส่วน โดยให้ 11โครงการที่ไม่มี ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมสามารถเดินหน้าได้ ได้แก่ โครงการประเภท การคมนาคม พลังงานสะอาด

ส่วนโครงการที่เหลือประเภทปิโตรเคมี เหล็ก โรงไฟฟ้า และกำจัดของเสีย ให้ระงับไว้ก่อนตามคำสั่งเดิม เพราะเชื่อว่าจะเป็นโครงการที่ส่งผลกระทบรุนแรง จนกว่าจะมีการแก้ไขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67

ด้านนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บอกว่า กระทรวงพร้อมปฎิบัติตามคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด เพื่อดำเนินการหาทางออกในขั้นตอนต่อไป และจะมอบข้อมูลให้กับคณะกรรมการ 4 ฝ่ายที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยจะให้มีข้อยุติภายใน 1 เดือน

ด้านนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน บอกว่า เห็นด้วยคำสั่งศาลปกครองสูงสุด และต้องการให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ที่มีการตีความให้เอกชนให้เดินหน้าโครงการลงทุน แสดงความรับผิดชอบ นอกจากนี้ยังเตรียมจัดทำหนังสือถึงผู้ประกอบการ 65 โครงการ เพื่อให้ดำเนินการตามมาตรา 67 วรรค 2

ส่วนความคืบหน้าสำหรับ 181 โครงการลงทุนทั่วประเทศที่อาจเข้าข่ายไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ ปี 2550 มาตรา 67 วรรค 2 นั้น ทางสมาคมฯ ได้ส่งจดหมายให้ผู้ประกอบการ 181 โครงการแล้ว โดยจะให้เวลา 1 เดือนในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ และหากหลังปีใหม่ไม่ปฏิบัติตาม ก็จะดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลปกครองต่อไป

ขณะที่นายสุทธิ อัชฌาสัย ตัวแทนเครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก บอกว่า 65 โครงการ จะต้องระงับการลงทุนอย่างเด็ดขาด เพราะเป็นโครงการที่เข้าข่ายส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม และสุขภาพประชาชน และเป็นคดีตัวอย่าง ให้ภาครัฐ นำไปปฎิบัติ ทั้งการอนุมัติการลงทุน และการดูแลประชาชน

สำหรับภาคธุรกิจนั้น ด้านบมจ. ปตท. กังวลว่าโครงการในมาบตาพุดส่วนที่ยังถูกระงับ จะกระทบความเชื่อมโยงสายการผลิตเนื่องจากโครงการยุติเป็นโครงการต้นน้ำ แต่ประชาชนกับเห็นด้วยกับคำสั่งศาลปกครอง เพราะหากภาคเอกชนยังดำเนินการต่อจะทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับความเดือดร้อน

สำหรับ 11 โครงการที่ศาลให้ลงทุนในมาบตาพุดได้ ได้แก่

1.โครงการเชื้อเพลิงสะอาด และปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ บมจ.โรงกลั่นน้ำมันระยอง

2.โครงการปรับปรุงระบบหมุนเวียนก๊าซกลับคืนของโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก บริษัท เอ็ชเอ็มซี โปลีเมอร์ส

3. โครงการผลิตเชื้อเพลิงสะอาด คุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง และเพิ่มผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซล บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง

4.โครงการติดตั้งระบบควบคุมไอน้ำมันเชื้อเพลิง และเพิ่มประเภทผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซล บมจ.ปตท.อะโรเมติกส์ และการกลั่น

5.การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและระบบบำบัดมลพิษทางอากาศ โรงงานผลิต Purified Terephthalic Acid บริษัท อินโดรามา ปิโตรเคม

6. โครงการโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 6 บมจ.ปตท.

7. การเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโรงงานผลิตคลอ-อัลคาลี และ อีพิคลอโรไฮดริน และการปรับเปลี่ยนขนาดถึงบรรจุคลอลีนเหลว บริษัท อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย)

8.โครงการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งและขนาดถังวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ บริษัท มาบตาพุดแท็งค์ เทอร์มินัล

9. โครงการเปลี่ยนแปลงรายละเอียด โครงการท่าเทียบเรือและโครงการผลิตภัณฑ์ บมจ.ปตท. เคมิคอล

10. รายงานการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการขยายท่าเทียบเรือขนถ่ายสารปิโตรเคมี และคลังเก็บวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ บริษัท มาบตาพุดแท็งค์ เทอร์มินัล

11.โครงการติดตั้ง Loading Arm เพิ่มเติมที่ท่าเทียบเรือของโรงกลั่นน้ำมันสตาร์ บริษัท สตาร์ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง
money news update**********
02/12/52
ตค.เก็บรายได้เกินเป้ากว่า1.5หมื่นล.
คลัง ปลื้ม ต.ค.จัดเก็บรายได้เกินเป้า 16.2 %หรือ กว่า 15,000 ล้านบาท

นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลในเดือน ต.ค.52 ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 53 สามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ 111,052 ล้านบาท สูงเกินเป้า 16.2% หรือคิดเป็นเงินจำนวน 15,484 ล้านบาท

"เป็นผลพวงจากการฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจทำให้การนำเข้าและการบริโภคภายในประเทศเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น รวมทั้งการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ทำให้การจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมหลักสูงกว่าเป้าหมายในอัตราที่สูง" นายสาธิต กล่าว

เนื่องจากการนำเข้าที่ปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการนำเข้าสูงกว่าประมาณการถึง 23.2% สอดคล้องกับผลการจัดเก็บอากรขาเข้าที่สูงกว่าประมาณการ 21.1% ขณะที่การบริโภคภายในประเทศมีทิศทางปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้การจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์สูงกว่าประมาณการ 58.2% และภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการบริโภคสูงกว่าประมาณการ 7.2%

กรมสรรพากรจัดเก็บรายได้รวม 72,217 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 10.7% หรือเป็นเงินจำนวน 96,980 ล้านบาท, กรมสรรพสามิตจัดเก็บได้รวม 31,333 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 33.7% หรือเป็นเงินจำนวน 7,890 ล้านบาท และกรมศุลกากรจัดเก็บได้รวม 7,813 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 21% หรือเป็นเงินจำนวน 1,358ล้านบาท

ส่วนรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ 13,922 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ 9.5% หรือเป็นเงินจำนวน 1,456 ล้านบาท และหน่วยงานอื่นจัดเก็บรายได้รวม 4,073 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 31.4% หรือเป็นเงินจำนวน 973 ล้านบาท

สำหรับรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้ต่ำกว่าประมาณการ 9.5% หรือคิดเป็นมูลค่า 1,456 ล้านบาท เนื่องจากการดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนที่ส่งผลให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค(กฟภ.) และการไฟฟ้านครหลวง(กฟน.) ขอทยอยนำส่งรายได้เป็นงวด ทำให้รายได้ในเดือนนี้ต่ำกว่าประมาณการจำนวน 2,663 ล้านบาท และ 638 ล้านบาท ตามลำดับ นอกจากนี้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้ขอเลื่อนการจ่ายเงินปันผลจำนวน 1,105 ล้านบาท จากเดิมในเดือน ต.ค.52 เป็นเดือน พ.ย.52 ขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และธนาคารออมสิน นำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ 1,290 และ 708 ล้านบาท ตามลำดับ

"ผลการจัดเก็บรายได้เดือนนี้ได้ส่งสัญญาณให้เห็นว่าภาวะเศรษฐกิจไทยได้ปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน ทำให้มั่นใจว่าในปีงบประมาณ 2553 รัฐบาลจะจัดเก็บรายได้สูงกว่าเป้าหมายอย่างแน่นอน" นายสาธิต กล่าว
posttoday**************
01/12/52
ดัชนีเงินเฟ้อพ.ย.เพิ่มขึ้น1.9%อยู่ที่105.2
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

(เบื้องต้น) กระทรวงพาณิชย์เผยดัชนีเงินเฟ้อ พ.ย. อยู่ที่ 105.2 เพิ่มขึ้น 1.9% จากพ.ย. 51 ขณะที่เงินเฟ้อ 11 เดือนลดลง 1.2%
กระทรวงพาณิชย์ แถลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป(CPI) ในเดือน พ.ย.52 อยู่ที่ 105.2 เพิ่มขึ้น 1.9% จากเดือน พ.ย.51 และเพิ่มขึ้น 0.3% จากเดือน ต.ค.52 ส่วนดัชนีฯ เฉลี่ย 11 เดือนแรกของปีนี้ คือตั้งแต่ม.ค.-พ.ย.52 ลดลง 1.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน(Core CPI) ไม่รวมหมวดสินค้าอาหารสดและพลังงานในเดือน พ.ย.52 อยู่ที่ระดับ 102.7 เพิ่มขึ้น 0.1% จากเดือน พ.ย.51 แต่ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน ต.ค.52 และ ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเฉลี่ย 11 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้น 0.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มในเดือน พ.ย.52 อยู่ที่ 117.9 เพิ่มขึ้น 0.6% จากเดือน พ.ย.51 แต่ไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน ต.ค.52 ขณะที่ดัชนีหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มอยู่ที่ 97.9 เพิ่มขึ้น 0.4% จากเดือน พ.ย.51 และเพิ่มขึ้น 2.4% จากเดือน ต.ค.52

**********
01/12/52
ECONOMICS : เรามองว่าการปรับตัวดีขึ้นอุปสงค์ในประเทศแผ่วลงเพียงชั่วคราวในเดือนตุลาคม

ตัวเลขเศรษฐกิจชะลอตัวลงในเดือนตุลาคมหลังจากที่ปรับตัวดีขึ้นมากในช่วงที่ผ่านมา
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) รายงานภาวะเศรษฐกิจและการเงินประจำเดือนต.ค. พบว่าเครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจในส่วนของอุปสงค์ภายในประเทศชะลอตัวลง โดยดัชนีการบริโภคภาคเอกชน (PCI) หดตัว 1.1% MoM (-0.9% YoY) ในขณะที่ดัชนีการลงทุนภาคเอกชน (PII) เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 1.0% MoM (-10.4% YoY) อย่างไรก็ดี ดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม (MPI) ค่อนข้างทรงตัว โดยเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.1% MoM และ 0.4% YoY สำหรับการส่งออกนั้น ขยายตัวติดลบน้อยลงจากระดับ -8.3% YoY ในเดือนก.ย. ลดลงมาอยู่ที่ -2.6% YoY ในขณะที่ตัวเลขการนำเข้าใกล้เคียงกับเดือนก่อนหน้า (-19.0% YoY vs. -18.2% YoY ในเดือน ก.ย.) อนึ่ง อัตราการว่างงานค่อนข้างคงที่ที่ระดับ 1.2% ในเดือนก.ย.
การนำเข้าสินค้าไม่คงทนที่ปรับตัวลงส่งผลให้ PCI ปรับตัวลดลง
การปรับตัวลดลง MoM ของ PCI ในเดือนตุลาคม เนื่องจากการปรับตัวลดลงของการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค ณ ราคาคงที่ที่ลดลงจากเดือนก่อน (-11.3% MoM) โดยเฉพาะสินค้าไม่คงทน (non-durable goods) ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ (-1.9%) และการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือน (-0.5%) อย่างไรก็ดี เครื่องชี้การบริโภคในส่วนของสินค้าคงทน (durable goods) ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าจำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าและยอดจำหน่ายรถยนต์ภายในประเทศ สำหรับการลงทุนนั้น ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง 1.0% MoM เนื่องจากการลงทุนในส่วนของเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าทุนที่ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน (+3.8% MoM) ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจ (BSI) ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 50.3 จุด ซึ่งเกินกว่าระดับ 50 จุด เป็นครั้งแรกนับแต่เดือนเม.ย. 47
รายได้ภาคเกษตรกรรมปรับตัวดีขึ้นมากในเดือนตุลาคม
ผลผลิตและราคาพืชผลปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นในเดือนตุลาคม 2552 ส่งผลให้รายได้เกษตรกรเพิ่มสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า (-0.2% YoY เปรียบเทียบกับ -12.8% YoY ในเดือนกันยายน 2552) ผลผลิตทางการเกษตรที่ออกมามากในเดือนตุลาคมได้แก่ข้าวและน้ำมันปาล์ม ในส่วนของภาคการผลิต การผลิตสินค้าเพื่อใช้ในประเทศและเพื่อการส่งออกยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง (+6.3%MoM) ยอดขายรถยนต์เชิงพาณิชย์เพิ่มสูงขึ้น ในทางกลับกัน การผลิตเพื่อพุ่งเป้าไปที่ตลาดส่งออกหดตัว 2.5% เนื่องจากการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟที่ปรับตัวลดลงหลังจากที่มีการเร่งผลิตในรอบหลายเดือนที่ผ่านมา ทั้งนี้ อัตราการใช้กำลังการผลิตได้ปรับเพิ่มขึ้นจาก 65.4% ในเดือนก่อน ขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 66.3% ในเดือนตุลาคม

โดย สำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ประจำวันที่ 1 ธ.ค. 2552

**********
30/11/52
ธปท.เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจต.ค.ฟื้น
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ธปท.เผยดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในเดือนต.ค.อยู่ที่ 50.3 กระเตื้องขึ้นเมื่อเทียบเดือนก.ย.อยู่ที่ 49.0 หลังคำสั่งซื้อ-การผลิต-การลงทุน ขยับ
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน ต.ค.2552 ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้ามาอยู่ที่ระดับ 50.3 ซึ่งเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกหลังจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจการเงินโลกในปลายปี 2551 โดยเป็นผลมาจากองค์ประกอบด้านคำสั่งซื้อ การผลิต การลงทุน และผลประกอบการ โดยเฉพาะคำสั่งซื้อทั้งในและต่างประเทศ จากอุตสาหกรรมเครื่องเรือนและเฟอร์นิเจอร์ ผลิตภัณฑ์แก้ว และอิเล็คทรอนิคส์

ส่วนแนวโน้มในช่วง 3 เดือนข้างหน้า ธุรกิจยังแสดงความเชื่อมั่นต่อภาวะธุรกิจโดยรวม สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวลดลงเล็กน้อย อยู่ที่ 53.0 จากระดับ 54.6 ในเดือนก่อนหน้า แต่ยังคงสูงกว่าระดับความเชื่อมั่นที่ 50
krungthepturakij

***********
27/11/52
กระทรวงการคลัง เชื่อกนง.ยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย ธ.ค.นี้

Posted on Friday, November 27, 2009
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เชื่อว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในช่วงต้นเดือนธันวาคม จะยังไม่พิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากยังมีสภาพคล่องในระบบเพียงพอ ประกอบกับอัตราเงินเฟ้อปัจจุบันอยู่ในระดับที่ไม่เป็นปัญหา และการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะเป็นการดำเนินการที่สวนทางนโยบายหลักของรัฐบาล ขณะเดียวกันรัฐบาลได้พยายามรักษาอัตราแลกเปลี่ยน ไม่ให้เป็นปัญหาต่อการค้าขาย

นายกรณ์บอกด้วยว่า การปล่อยสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิช์ปีหน้า จะกลับมาขยายตัวได้อย่างน้อย 10% ตามการเติบโตของเศรษฐกิจไทยที่กำลังปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเชื่อว่าภาคเอกชนจะกลับมามีบทบาทมากขึ้นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ หลังจากที่ปีนี้การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์หดตัวไปมาก ทำให้สถาบันการเงินของรัฐ ต้องเข้ามามีบทบาทแทน ดังนั้นในปีหน้าบทบาทของสถาบันการเงินของรัฐจะกลับมาทำหน้าที่ตามปกติในการแก้ไขปัญหาสังคม โดยเน้นนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบให้แก่ประชาชน

ด้านนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานกรรมการบริหารธนาคารกรุงเทพ บอกว่า การที่ธนาคารกลางเวียดนาม ประกาศลดค่าเงินดองลง 5.2 % อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยบ้างแต่ไม่มากนัก เนื่องจากเป็นนโยบายของแต่ละประเทศที่จะต้องดูแลตัวเอง เพื่อรองรับสถานการณ์ภายในประเทศ แต่สิ่งที่น่าจับตามอง คือ เสถียรภาพของค่าเงินดองและค่าเงินบาทในอนาคต
money news update
***********
27/11/52
คลังเผยศก.ไทยไตรมาส4ฟื้น ว่างงานลดลง
คลังมั่นใจเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 ฟื้นตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 3 หลังเห็นตัวเลขเดือนต.ค. ส่งออก-การบริโภคในประเทศเริ่มฟื้น ว่างงานลดลง
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เครื่องชี้เศรษฐกิจการคลังในเดือนต.ค. 2552 บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจไทยในเดือนแรกของไตรมาส 4 ของปีนี้ ฟื้นตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 3 จากการปรับตัวดีขึ้นของทั้งการส่งออก และการใช้จ่ายภายในประเทศ

นอกจากนี้ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจทั้งอัตราว่างงาน ทุนสำรองระหว่างประเทศ และฐานะทางการคลังอยู่ในภาวะที่แข็งแกร่ง

สำหรับการส่งออกในเดือนต.ค. 2552 ติดลบเพียง 3.0% จากที่เคยติดลบถึง 17.7% ต่อปีในไตรมาส 3 ส่วนเครื่องชี้การบริโภคจากภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนต.ค. ติดลบลดลงเหลือเพียง 7.0% จากที่เคยติดลบสูงกว่า 15.6% ในไตรมาส 3 ปัจจัยนี้แสดงถึงการฟื้นตัวของการส่งออกและการบริโภคภาคเอกชน

ขณะที่ภาคบริการจากการท่องเที่ยวและภาคเกษตรกรรมนั้นได้กลับมาขยายตัวเป็นบวกในเดือนต.ค. แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มการปรับตัวดีขึ้นในเดือนแรกของไตรมาส 4

นอกจากนี้ อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำที่ 1.2% ของกำลังแรงงานทั้งหมด ประกอบกับทุนสำรองระหว่างประเทศสูงกว่า 135,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สะท้อนถึงเสถียรภาพเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับแข็งแกร่ง

โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวอีกว่า จากข้อมูลเครื่องชี้เศรษฐกิจดังกล่าว ทำให้ สศค. มั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 4 จะสามารถขยายตัวได้ดีกว่าไตรมาส 3 โดยกระทรวงการคลัง จะได้มีการปรับประมาณการเศรษฐกิจและแถลงผลประมาณการเศรษฐกิจสำหรับปี 2552 และ 2553 ในช่วงสิ้นเดือนธันวาคมนี้
krungthepturakij
**********
26/11/52
กสิกรคาดดอกเบี้ยไทยขึ้นหลังสหรัฐ
กสิกรไทยเชื่อธปท. ไม่ขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าสหรัฐ กลัวเงินทุนไหลเข้ากดดันค่าเงินบาท
นายธิติ ตันติกุลานันท์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารประเมินว่าแม้เศรษฐกิจไทยเริ่มดีขึ้นแต่ทิศทางอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทยยังไม่มีปัจจัยมากระตุ้นให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยภายในประเทศและต่างประเทศ
นายธิติ กล่าวว่า คาดว่าธปท.จะไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าสหรัฐแน่นอน เพราะหากขึ้นเร็วก็อาจส่งผลทำให้มีเงินทุนไหลเข้ามายังประเทศไทยมากขึ้น และจะยากต่อการควบคุมค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ซึ่งกสิกรไทยประเมินว่า สหรัฐจะปรับขึ้นดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงกลางปี 2553 ในระดับ 0.25% จากปัจจุบันอยู่ที่ 0-0.25%

ทั้งนี้ ประมาณการดังกล่าวอยู่ภายใต้สมมติฐานแนวโน้มคาดการณ์ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐในตลาดล่วงหน้า เคยมองว่าดอกเบี้ยสหรัฐจะปรับขึ้นเป็น 2% ในเดือนก.ย. 2553 แต่หลังจากประธานธนาคารกลางสหรัฐออกมาระบุว่า จะคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำไปอีกระยะหนึ่ง ตลาดจึงปรับคาดการณ์ดอกเบี้ยสหรัฐลงมาเหลือ 0.5%

ขณะเดียวกันนั้นปัญหาทุนสำรองระหว่างประเทศของไทย ซึ่งมีอยู่สูงถึง 1.5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นถึง 50% ในช่วง 3 ปี ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการเข้าไปดูแลค่าเงินบาทไม่ให้แข็งค่าเกินค่าเงินสกุลอื่น และไทยยังเกินดุลการค้าอย่างต่อเนื่อง ขณะที่อัตราเงินเฟ้อก็ไม่มีแนวโน้มสูงขึ้นจนน่าเป็นห่วง

สำหรับค่าเงินบาทในปีหน้า คาดว่าจะแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปีนี้ โดยในกลางปีจะอยู่ในระดับ 32.25 บาทต่อเหรียญสหรัฐ และในสิ้นปี 2553 จะแข็งค่าเป็น 31.50 บาทต่อเหรียญสหรัฐ

นายธิติ กล่าวว่า ความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทปีนี้ ยังแข็งค่าใกล้เคียงกับประเทศเพื่อนบ้านอยู่ที่ระดับ 3-4% ขณะที่เพื่อนบ้านอยู่ในระดับ 4-5% ซึ่งสาเหตุหลักมาจากดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลสูง จากการนำเข้าสินค้าที่หดตัวแรงและการอ่อนค่าของเงินเหรียญสหรัฐ ทำให้ไทยยังแข็งค่าน้อยกว่าภูมิภาค

นายธิติ กล่าวว่า จากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ในปี 2552 ภาคธุรกิจมีการระดมทุนด้วยการออกหุ้นกู้มากกว่า 3.47 แสนล้านบาท ส่วนในปี 2553 คาดว่าออกหุ้นกู้ 2.25 แสนล้านบาท ซึ่งกสิกรไทยจะรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ 25% คิดเป็นมูลค่า 5.62 หมื่นล้านบาท ส่วนการปล่อยสินเชื่อร่วมในปีนี้อยู่ที่ 6 หมื่นล้านบาท ธนาคารปล่อยกู้ไป 1.9 หมื่นล้านบาท และในปี 2553 จะมีสินเชื่อร่วม 1.3 แสนล้านบาท กสิกรไทยจะปล่อยกู้ไม่น้อยกว่า 4 หมื่นล้านบาท

แหล่งข่าวธปท.เปิดเผยว่า จะใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำกระตุ้นเศรษฐกิจต่อไปอีกระยะหนึ่ง เพราะขณะนี้แรงกดดันในเรื่องค่าเงินบาท และการลงทุนในรูปแคร์รีเทรดคือนักลงทุนกู้เงินสกุลหนึ่งในราคาถูกและใช้เงินนี้มาลงทุนในสกุลเงินอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียรุนแรงมาก กรณีไต้หวันมีเข้ามากว่า 1.55 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และไทยก็กำลังเผชิญกับปัญหานี้
posttoday
*************
25/11/52
"โฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์" เชื่อไทยเข้มแข็งดันเศรษฐกิจปีหน้าโต 3%

Posted on Wednesday, November 25, 2009
นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ประธานสภาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้า จะเติบโตได้ 3% ตามที่หลายฝ่ายคาดการณ์ไว้ โดยมีแรงขับเคลื่อนหลัก มาจากการลงทุนภาครัฐผ่านโครงการลงทุนภายใต้แผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังมีปัจจัยเสี่ยง เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบาง โดยเฉพาะหากประเทศต่างๆ ยุติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ หรือชะลอการกระตุ้นเศรษฐกิจออกไป โดยที่ภาคเอกชนยังไม่มีความพร้อมที่จะเป็นกลไกหลัก ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ก็จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ

นายโฆสิตบอกว่า ปัญหาการเมืองในประเทศเป็นปัจจัยเสี่ยงเฉพาะของประเทศไทย แต่การที่รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร ทั่วกรุงเทพฯ ในระหว่างวันที่ 28 พ.ย. - 14 ธ.ค.52 เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับการชุมนุมของกลุ่มเสื้อแดงนั้น เชื่อว่าคนส่วนใหญ่เข้าใจถึงความตั้งใจของรัฐบาล ที่ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท และไม่ต้องการเห็นความรุนแรงเกิดขึ้นในบ้านเมือง

นายโฆสิต ยังบอกในงานสัมมนาวิชาการเรื่อง “การปฏิรูปเศรษฐกิจ เพื่อความเป็นธรรมในสังคม” ว่าต้นตอของปัญหาเศรษฐกิจไทย ในปัจจุบันมาจาก 3 ด้านคือความยากจน การผูกขาดทางเศรษฐกิจซึ่งเกิดจากการคอรัปชั่น และปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ที่คนจนไม่สามารถเข้าถึงสวัสดิการของรัฐได้อย่างเต็มที่

ขณะที่นโยบายที่ผ่านมาของรัฐบาล เป็นการสร้างคะแนนนิยม โดยไม่ได้คำนึงถึงโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องปฏิรูประบบเศรษฐกิจทั้งในเชิงนโยบายและมาตรการของรัฐ ที่เอื้อประโยชน์ทางการเมือง ขณะเดียวกันต้องแก้ปัญหาความยากจน เพื่อลดความไม่เสมอภาคทางเศรษฐกิจ

นายไพรัช บูรพชัยศรี เลขาธิการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บอกว่า เศรษฐกิจไทยในปี 2553 น่าจะขยายตัวได้มากกว่า 3% แต่ต้องอยู่บนสมมติฐานที่ราคาน้ำมันไม่สูงเกินกว่า 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล และค่าเงินบาทไม่ผันผวน อีกทั้งเสถียรภาพทางการเมืองต้องนิ่ง ไม่เกิดการยุบสภา โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวสู่ระดับปกติ ต้องใช้ระยะเวลาอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 2 ปี
money news update
************
24/11/52
ดัชนีอุตฯตค.ฟื้นเกิน100รอบ42ด.
ส.อ.ท.เผยดัชนีเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ต.ค.ที่ 104.3 จาก 95.9 ใน ก.ย.เกินระดับ 100 ในรอบ 42 เดือน

สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมของไทยในเดือน ต.ค.52 อยู่ที่ 104.3 จาก 95.9 ในเดือน ก.ย.52 ซึ่งเป็นค่าดัชนีที่เกินระดับ 100 เป็นครั้งแรกในรอบเกือบ 42 เดือน และสูงสุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค.49

ส่วนดัชนีคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 107.8 จากเดือน ก.ย.อยู่ที่ 102.9 เนื่องจากผู้ประกอบการคาดว่าเศรษฐกิจจะปรับตัวดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อยอดขายด้วย

สาเหตุที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือน ต.ค.ปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากปัจจัยทุกตัวดีขึ้น ทั้งยอดคำสั่งซื้อ ยอดขายรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนผู้ประกอบการ และ ผลประกอบการ เนื่องจากได้รับปัจจัยบวกจากการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ อย่างจีน รวมทั้งเศรษฐกิจโลกปรับตัวดีขึ้น

นอกจากนั้น ยังมีคำสั่งซื้อเข้ามาเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการขายช่วงเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยบวกจากภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และธุรกิจยานยนต์ที่ฟื้นตัว ซึ่งผลส่งดีต่อภาคการผลิตไปด้วย

ทั้งนี้ผู้ประกอบการมีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล โดยเห็นตรงกันว่าอยากให้ภาครัฐหามาตรการเพิ่มวัตถุดิบและแรงงานภายในประเทศ สนับสนุนการจัดหาแรงงานฝีมือ เร่งแก้ไขปัญหาการเมืองให้มีเสถียรภาพเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติ ปรับโครงสร้างโลจิสติกส์อย่างจริงจัง ดูแลราคาน้ำมันและค่าเงินบาท เพราะเห็นว่าขณะนี้เงินบาทแข็งค่าเกินไป และอยากให้มีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
posttoday**********
23/11/52
ชงกรอบเงินเฟ้อปี53เข้าครม.
ธปท.หารือคลังเตรียมกำหนดกรอบเงินเฟ้อปี53ก่อนเสนอครม.ธ.ค.นี้

นายอัมพร แสงมณี ผู้อำนวยการฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.อยู่ระหว่างการหารือกับกระทรวงการคลัง เพื่อกำหนดกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อในปี 53 ก่อนเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาได้ภายในเดือน ธ.ค.นี้ และสามารถประกาศใช้ได้ทันที ทั้งนี้ คาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะค่อย ๆ พลิกฟื้นขึ้นมาจากติดลบมาตลอดทั้งปี กลายเป็นค่อนมาทางบวกหรือบวกได้ในช่วงไตรมาส 4/52 แต่อาจจะบวกไปไม่ถึง 0.5% ต่ำกว่ากรอบอัตราเงินเฟ้อในปีนี้ที่ ธปท.กำหนดไว้ที่ 0.5-3.0%
แม้ว่าเงินเฟ้อพื้นฐานในเดือนต.ค. 52 ยังติดลบ -0.1% แต่เดือน พ.ย. -ธ.ค. น่าจะบวกขึ้น โดยในช่วงไตรมาส 2/52 และไตรมาส 3/52 อัตราเงินเฟ้อต่ำกว่าเป้าหมาย แต่ ธปท.ยังไม่เห็นสัญญาณของการเกิดเงินฝืด หรือเป็นปัญหาต่อการขยายตัวเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นต่อเนื่องในระยะยาว

นายอัมพร กล่าวว่า สาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อติดลบในช่วงที่ผ่านมาเป็นผลมาจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวรุนแรง กระทบกับอุปสงค์ในประเทศผ่านช่องทางการส่งออก

ขณะที่ในประเทศนั้น ภาครัฐมีมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพให้กับประชาชน และโครงการเรียนฟรี 15 ปี ทำให้เงินเฟ้อลดลงจากระดับปกติ 1-1.8% ในช่วงไตรมาส 2-3 ซึ่งหากไม่มีมาตรการ หรือหักผลจากมาตรการออกไป อัตราเงินเฟ้อจะเป็นบวก 1.7% ในไตรมาส 2/52 และบวก 0.6% ในไตรมาส 3/52

สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในปี 53 คาดว่า จะเร่งตัวขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นมาตรการช่วยเหลือค่าครองชีพฯจะสิ้นสุดลงในปลายปีนี้แล้ว หากตัดมาตรการดังกล่าวออกไปอัตราเงินเฟ้อจะเร่งตัวขึ้นค่อนข้างแรง ประกอบราคาน้ำมันที่เร่งตัวขึ้นด้วย โดย ธปท.ประเมินราคาน้ำมันในตลาดโลกในปีหน้าที่ 75-80 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล

นายอัมพร กล่าวว่า หากใช้กรอบเงินเฟ้อเดิม 0.5-3.0% ก็จะทำให้อัตราเงินเฟ้อเข้าสู่เป้าหมายช้าไปราว 1 ไตรมาส จากเดิมธปท.คาดว่าเงินเฟ้อพื้นฐานจะเข้าเป้าในไตรมาส 1/53 ก็อาจจะเลื่อนไปเป็นไตรมาส 2/53
posttoday breaking news
***********
23/11/52
บีโอไอตั้งเป้ายอดลงทุนปีหน้า 5 แสนล้าน
บีโอไอตั้งเป้ายอดลงทุนรวมปี53 อยู่ที่ประมาณ 5 แสนล้านบาท เผยนักลงทุนกังวลปัญหามาบตาพุด แต่ยังไม่ตัดสินใจเรื่องย้ายฐานการผลิต
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) กล่าวว่า ยอดส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-16 พ.ย.52 มีทั้งสิ้น 3.7 แสนล้านบาท ซึ่งคาดว่าทั้งปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 4 แสนล้านบาท ส่วนปี 53 ได้ตั้งเป้าราว 5 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ นางอรรชกายอมรับว่า นักลงทุนยังมีความกังวลเกี่ยวกับปัญหาการลงทุนในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยมีการสอบถามมาอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีการตัดสินใจย้ายฐานการผลิต

ขณะที่นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รมว.อุตสาหกรรม ระบุว่า หลังจากรัฐบาลแต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามมาตรา 67 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือคณะกรรมการ 4 ฝ่ายเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษมาบตาพุด เชื่อว่าจะสามารถคลี่คลายปัญหาลงได้โดยเร็ว ขณะที่นักลงทุนต่างชาติไม่ได้กังวลแล้ว เนื่องจากเห็นว่านายกรัฐมนตรีลงมาดูแลเรื่องดังกล่าวด้วยตัวเอง
posttoday
************
23/11/52
สภาพัฒน์ฯ คาดส่งออกปี 53 โต 10%นำเข้า โต 18.5%
Monday, 23 November 2009 10:19
นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า มูลค่าการส่งออกในปี 2552 คาดว่าจะติดลบ 13.7% ในขณะที่การนำเข้าติดลบ 26.1% ส่งผลให้ดุลการค้าในปี 2552 เกินดุลการค้า 21.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้การส่งออกของประเทศในช่วงไตรมาส 3 และไตรมาส 4 มีการปรับตัวดีขึ้น โดยได้แรงสนับสนุนมาจากการฟื้นตัวของประเทศคู่ค้า อีกทั้งราคาทองคำในตลาดโลกสูงขึ้นจึงส่งผลดีต่อการส่งออกทองคำที่ทำให้มีราคาดีขึ้นด้วย

สำหรับมูลค่าการส่งออกในปี 2553 คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้น 10% ดีกว่าในปี 2552 ที่คาดว่าจะติดลบ 13.7% เนื่องจากมีแนวโน้มที่ดีจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการปรับตัวเพิ่มขึ้นจากฐานการส่งออกที่ต่ำในช่วงครึ่งแรกของปี 2552 ในขณะที่อุปสงค์ของโลกมีการฟื้นตัว

ส่วนมูลค่าการนำเข้าในปี 2553 จะขยายตัวอยู่ที่ 18.5% ซึ่งถือเป็นการขยายตัวจากฐานที่ต่ำตามแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคการส่งออกการบริโภค รวมทั้งการลงทุน ตามแผนปฎิบัติการไทยเข้มแข็ง ซึ่งจะทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าทุนเพิ่มขึ้น

โดยดุลการค้าในปี 2553 มีแนวโน้มเกินดุล 13 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงจากปี 2552 ที่คาดว่าจะเกินดุล 21.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลจากการนำเข้ามีแนวโน้มขยายตัวสูงกว่าการส่งออก

นายอำพน กล่าวต่ออีกว่า การส่งออกของไทยในไตรมาส 3/2552 มีมูลค่าการส่งออกในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ติดลบ 17.5% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดีเริ่มเห็นการฟื้นตัวที่ดีขึ้นในไตรมาส 4/2552 ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ส่งผลให้อัตราการติดลบลดลงจากไตรมาส 2/2552 ที่ติดลบ 26.1% และไตรมาส 1/2552 ที่ติดลบ 19.9%

สำหรับการนำเข้ามีมูลค่าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ติดลบ 28.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่อย่างไรก็ดี ถือเป็นอัตราการติดลบที่ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2/2552 ที่ติดลบ 33% และไตรมาส 1/2552 ที่ติดลบ 37.5%


ส่วนในไตรมาส 3 ไทย คาดว่า เกินดุลการค้า 5,118 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงขึ้นจากไตรมาสที่ 2 ที่เกินดุล 3,896 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการปรับตัวดีขึ้นของการส่งออกที่เร็วกว่าการนำเข้า ขณะที่ 9 เดือนแรกของปีไทยเกินดุลการค้า 16,815 ล้านเหรียญสหรัฐ

stock wave***********
23/11/52
GDPไตรมาส3ติดลบ2.8%
สภาพัฒน์แถลงGDPไตรมาส3/52ติดลบ2.8%คาดปี53โต3-4%

นายอำพล กิตติอำพน เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลข จีดีพี ไตรมาส 3 ของปีนี้ ติดลบ 2.8% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ขยายตัวเป็นบวก 1.3% เมื่อเทียบไตรมาสก่อนหน้า สำหรับแนวโน้มในปีหน้าคาดเศรษฐกิจไทยขยายตัว 3-4% โดยแรงขับเคลื่อนหลักยังมาจากการลงทุนภาครัฐภายใต้โครงการไทยเข้มแข็ง

"เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างชัดเจน โดยจีดีพีเทียบปีต่อปีติดลบน้อยลง หลังจากจีดีพีเติบโตไตรมาสต่อไตรมาส มาสอย่างต่อเนื่องติดต่อกัน และยังคาดว่าไตรมาส 4 ของปีนี้ จีดีพีจะฟื้นมาขยายตัวเป็นบวกที่ 2.7-3.2% ทำให้คาดว่าทั้งปีของปีนี้ จีดีพีอาจะติดลบน้อยกว่า 3% จากเดิมที่คาดไว้ว่าจะติดลบ 3.0-3.5%"

สำหรับเครื่องชี้สำคัญที่แสดงเห็นการฟื้นตัวเศรษฐกิจต่อเนื่องในช่วงหลังของปีนี้ และในปี 2553 มาจาก 5 ปัจจัยหลัก อัตราการใช้กำลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเป็น 64.7% ในเดือน ก.ย. ,จำนวนผู้ว่างงานลดลงต่อเนื่อง เหลือ 458,000 คนในเดือน ก.ย. จาก 878,000 คนในเดือน ม.ค.2552 , การท่องเที่ยวที่เริ่มฟื้นตัวขึ้น และคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจะเพิ่มมากขึ้นชัดเจนในไตรมาส 4 ของปีนี้ , การส่งออกเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยเดือน ต.ค.2552 การส่งออก ติดลบเพียง 3% และ ราคาสินค้าเกษตรปรับเพิ่มขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้ เชื่อว่าไตรมาส 4 ของปีนี้จีดีพีจะกลับมาขยายตัวเป็นบวก จากการปรับตัวดีขึ้นของภาคการส่งออก การท่องเที่ยว การบริโภค และการลงทุนภาครัฐ
posttoday************
20/11/52
คาดปีหน้าส่งออกฟื้นบวก9-13%
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดส่งออก 2 เดือนท้ายของปี 52 โต 20% ปีหน้าสัญญาณฟื้นบวก 9-13%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดการณ์แนวโน้มการส่งออกในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้(พ.ย.-ธ.ค.52) อาจจะขยายตัวประมาณ 20% ซึ่งจะทำให้การส่งออกในไตรมาส 4/52 ขยายตัวประมาณ 11% และทั้งปี 52 จะหดตัวประมาณ 14% จากนั้นการส่งออกน่าจะฟื้นตัวมาจะขยายตัว 9-13% ในปี 53

ปัจจัยสำคัญสุดที่จะเป็นตัวกำหนดทิศทางการส่งออกในปีหน้ายังคงขึ้นอยู่กับความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในภูมิภาคหลักๆ ของโลกเป็นสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฟื้นตัวของกลุ่มประเทศ G-3 คือ สหรัฐฯ ยูโรโซน และญี่ปุ่น ที่ยังคงเผชิญปัญหาการว่างงานสูง สะท้อนแนวโน้มความอ่อนแอของอุปสงค์ในภาคการบริโภค จึงมีการตั้งคำถามถึงอนาคตการเติบโตของเศรษฐกิจโลกหลังจากที่มาตรการกระตุ้นเหล่านี้ทยอยสิ้นสุดลงในระยะข้างหน้า

สำหรับประเด็นอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อแนวโน้มการส่งออกของไทยในปี 53 ในด้านปัจจัยบวก ได้แก่ การปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยราคาสินค้าเกษตรหลายประเภทมีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นได้มาก และจะมีผลของการลดภาษีภายใต้ความตกลงการค้าเสรีหลายกรอบลงเหลือ 0% ตั้งแต่ 1 ม.ค..53

ส่วนปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออกไทย ได้แก่ แนวโน้มการแข็งค่าของเงินบาท ที่อาจทำให้รายได้ของผู้ส่งออกในรูปเงินบาทมีมูลค่าลดลง สภาพการแข่งขันที่รุนแรง มาตรการการปกป้องทางการค้าของแต่ละประเทศ และปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา เป็นต้น

สำหรับการส่งออกของไทยเดือน ต.ค.52 ปรับตัวดีขึ้น โดยหดตัว 2.98% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ถือเป็นอัตราลบที่น้อยที่สุดในรอบ 12 เดือน โดยมีมูลค่า 14,813 ล้านดอลลาร์ฯ ลดลงเล็กน้อยจากเดือนกันยายน แต่เมื่อปรับผลของฤดูกาลแล้ว พบว่าการส่งออกยังคงขยายตัวได้ 1.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า ขณะที่การส่งออกที่ไม่รวมทองคำ หดตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.4% ชะลอลงจากที่หดตัว 12.7% ในเดือนก่อนหน้า

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ปรับตัวดีขึ้น โดยสินค้าสำคัญหลายรายการที่เคยหดตัวมาตลอดช่วงที่ผ่านมาในปีนี้ได้เริ่มกลับมาขยายตัวเป็นบวก เช่น แผงจรไฟฟ้า, เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ, เครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์, เครื่องใช้ไฟฟ้า, ข้าว, เคมีภัณฑ์, ผลิตภัณฑ์ยาง, น้ำตาลทราย, เครื่องสำอาง, หนังสือและสิ่งพิมพ์, ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง, ส่วนประกอบอากาศยานและอุปกรณ์การบิน กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง เป็นต้น

ในด้านตลาดส่งออก การส่งออกไปยังตลาดจีนขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 ขณะที่ตลาดใหม่โดยรวมก็ขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 2 การส่งออกไปยังตลาดใหม่ที่ยังดำเนินไปได้ค่อนข้างดีในปีนี้ ส่งผลให้สัดส่วนการส่งออกไปยังตลาดใหม่ในปีนี้เพิ่มขึ้นมาเป็น 53.3% จากที่เคยอยู่ที่ 48.5% ในปี 51
posttoday
***********
20/11/52
ส่งออกเดือน ต.ค. ติดลบ 2.98% ต่ำสุดในรอบปี

Posted on Friday, November 20, 2009
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า การส่งออกในเดือนตุลาคมติดลบ 2.98% จากระยะเดียวกันของปีก่อน โดยมีมูลค่า 14,813 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นการติดลบต่ำที่สุดในรอบ 1 ปี นับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2551 ที่ติดลบ 20.89% ซึ่งการส่งออกที่ติดลบน้อยลง เนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าเริ่มปรับตัวดีขึ้น ขณะที่การส่งออกในหมวดสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ก็ปรับตัวดีขึ้น

โดยเฉพาะการส่งออกในตลาดเกิดใหม่ เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งในประเทศออสเตรเลีย จีน และฮ่องกง ส่งผลให้การส่งออกในรอบ 10 เดือนของปีนี้ นับตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนตุลาคมเฉลี่ยติดลบ 19.6% จากระยะเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นมูลค่า 214,114 ล้านดอลลาร์

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ คาดว่า การส่งออกในไตรมาส 4/52 จะขยายตัว 3-5% มีมูลค่า 44,600 ล้านดอลลาร์ ส่งผลให้การส่งออกทั้งปีจะติดลบ 13-15% คิดเป็นมูลค่า 153,913 ล้านดอลลาร์ โดยยอมรับว่าการแข็งค่าขึ้นของค่าเงินบาทส่งผลกระทบต่อการส่งออกบ้าง แต่ภาครัฐจะดูแลให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับภูมิภาค จึงไม่มีผลกระทบรุนแรง ดังนั้นหากค่าเงินบาทอยู่ในระดับ 33 บาทต่อดอลลาร์ก็จะทำให้การส่งออกปีหน้าขยายตัวได้ 10-15%

ส่วนการนำเข้าในเดือนตุลาคมมีมูลค่า 13,050 ล้านดอลลาร์ ลดลง 17.5% ระยะเดียวก่อนปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการนำเข้าสินค้าเชื้อเพลิงและสินค้าทุนที่ลดลง ส่งผลให้ในช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้ การนำเข้ามีมูลค่า 106,594 ล้านดอลลาร์ ติดลบ 31.2% ขณะที่ดุลการค้าเดือนตุลาคมยังคงเกินดุลการค้า 1,763 ล้านดอลลาร์ และ 10 เดือนแรกปีนี้ ไทยมีการเกินดุลการค้า 17,520 ล้านดอลลาร์

นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์บอกว่า ปัญหาไทย-กัมพูชา ขณะนี้ยังไม่ส่งผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศ โดยกัมพูชายังคงมีคำสั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเข้ามาตามปกติ โดยในสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เพื่อดูแลการค้าชายแดนและการค้าระหว่างประเทศของทั้ง 2 ส่วน เพื่อรวมรวบข้อมูลว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้นหรือไม่

ปลัดกระทรวงพาณิชย์ บอกด้วยว่า ในปีหน้ายังคงต้องติดตามปัญหาราคาน้ำมันว่า มีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นหรือไม่ ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการส่งออกสินค้าของไทยในอนาคตได้
money news update
***********
19/11/52
กสิกรไทยชี้ปัจจัยเสี่ยงกดดันศก.ไตรมาส4
ศูนย์วิจัยห่วงปัญหาการเมืองในประเทศ-ความขัดแย้งไทย-กัมพูชา-การฟื้นตัวเศรษฐกิจโลก-มาบตาพุด กดดันจีดีพีไตรมาส 4 ขยายตัวลดลงเมื่อเทียบไตรมาส 3
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด รายงานว่า ตัวเลขเศรษฐกิจที่ได้มีการรายงานจากหน่วยงานต่าง ๆ ก่อนหน้านี้ บ่งชี้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ปีนี้แข็งแกร่งและรวดเร็วกว่าที่คาด ซึ่งคาดการณ์ว่า ตัวเลขผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่ปรับตามฤดูกาลแล้ว อาจมีอัตราขยายตัวประมาณ 2.3% เมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้า และหากเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน จีดีพีอาจติดลบ 3.3% ดีขึ้นจากที่หดตัว 4.9% ในไตรมาสที่ 2

ทั้งนี้ รายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหน่วยงานอื่น ๆ สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ฟื้นตัวได้อย่างแข็งแกร่ง โดยเฉพาะในเดือนกันยายน ดัชนีเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นครอบคลุมเกือบทุกด้าน ภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 11 เดือนที่ 0.4%

ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในรอบ 13 เดือนที่ 12.7% ส่วนการบริโภคของภาคเอกชน การลงทุน และการส่งออกต่างปรับตัวดีขึ้น โดยหดตัวในอัตราที่ชะลอลงกว่าช่วง 2 ไตรมาสแรก

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะถัดไป แม้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 จะมีการเติบโตเป็นบวกได้เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า แต่มีความเป็นไปได้ที่อัตราการขยายตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 อาจมีทิศทางที่ชะลอลง แม้เศรษฐกิจน่าจะได้รับผลบวกจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาล และการลงทุนในโครงการไทยเข้มแข็ง รวมทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายด้าน ทั้งปัจจัยภายนอกประเทศและปัจจัยในประเทศ โดยความเสี่ยงทางเศรษฐกิจที่สำคัญในระยะต่อไป ได้แก่ การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศ G-3 ยังมีความเปราะบาง โดยปัญหาการว่างงานสูงจะยังคงเป็นปัจจัยลบที่จะฉุดรั้งการฟื้นตัว เศรษฐกิจเอเชีย แม้มีแนวโน้มฟื้นตัวแข็งแกร่งแต่ก็มีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวัง โดยเฉพาะการเติบโตที่มาจากเร่งกระตุ้นทางเศรษฐกิจนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ยั่งยืน ในทางกลับกัน อาจนำมาซึ่งความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจ เช่น ภาวะฟองสบู่หรือปัญหาอุปทานล้นเกิน (Oversupply) ซึ่งอาจกลายเป็นจุดเริ่มของวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจครั้งใหม่ได้

นอกจากนี้ แนวโน้มเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่า อาจเป็นปัจจัยเร่งเงินเฟ้อ จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งจะยิ่งกดดันการใช้จ่ายของภาคการบริโภคในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งไทย

อีกทั้งปัญหาการเมืองในประเทศ และการเชื่อมโยงไปสู่ปัญหาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้าน โดยปัญหาการเมืองอาจจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน การท่องเที่ยว และเสถียรภาพของรัฐบาล ซึ่งจะมีผลต่อความคืบหน้าในดำเนินนโยบายเศรษฐกิจ ขณะที่ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับกัมพูชา จะสร้างความรู้สึกไม่สบายใจให้แก่ประชาชนทั่วไป รวมทั้งอาจสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจหากปัญหาลุกลามออกไป ความไม่ชัดเจนของข้อกฎหมายจะกระทบต่อการลงทุนในธุรกิจบางประเภท เช่น การลงทุนในกิจกรรมที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชน ดังกรณีการระงับโครงการลงทุน 76 โครงการในพื้นที่มาบตาพุด

นอกจากนี้ ยังมีกรณีข้อติดขัดของการให้อนุญาตเอกชนลงทุนในธุรกิจโทรคมนาคม

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า โดยรวมแล้วจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 3 ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้ค่อนข้างมาก ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงปรับเพิ่มประมาณการอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปี 2552 มาเป็นหดตัว 3.3% จากเดิมคาดว่าอาจจะหดตัว 3.5-4.1% ขณะที่คาดว่าเศรษฐกิจในปี 2553 อาจขยายตัวได้ในระดับปานกลางอยู่ที่ประมาณ 3.0%
krungthepturakij
**********
19/11/52
นายกฯเชื่อGDP53โต3.5%
วันพฤหัสบดีที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 11:09

นายกรัฐมนตรี ระบุ รัฐบาลเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจ เน้นรักษากำลังซื้อประชาชน เป็นหลัก ยอมรับปีหน้าการเมืองยังวุ่น

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวปรากฐาในหัวข้อ"จากไทยเข้มแข็งสู่ไทยยั่งยืน"ในการสัมมนา"ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 53 เศรษฐกิจไทยอยู่อย่างไรในอนาคต"ของสมาคมเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ว่า รัฐบาลจะเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้วยการเน้นรักษากำลังซื้อของประชาชนเป็นหลัก โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(GDP)ของไทยในปี 53 จะเติบโตในระดับ 3.5% ซึ่งฟื้นตัวจากที่คาดว่าจะติดลบ 3.0-3.5% ในช่วงไตรมาส 4/52

"รัฐบาลจะเน้นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มกำลังซื้อของประชาชนในมากขึ้น เพิ่มรายได้ลดรายจ่าย"นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจของไทยในขณะนี้ถือว่าผ่านพ้นจุดต่ำสุดมาแล้ว และคาดหวังว่าภูมิภาคเอเซียจะสามารถฟื้นตัวได้เร็วที่สุดเพื่อช่วยพยุงให้เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวได้ แต่การฟื้นตัวในขณะนี้ยังมีความเปราะบาง เนื่องจากความกังวลต่อปัญหาเสถียรภาพทางการเงิน เพราะไม่มั่นใจว่ามาตรการต่างๆ ที่นำออกมาใช้จะสามารถแก้ไขปัญหาได้ครบถ้วนทุกด้าน อีกทั้งยังมีปัญหาเรื่องการว่างงานที่มีแนวโน้มจะกลับมาเกิดได้อีก

ดังนั้น รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 55 โดยใช้งบประมาณมากถึง 1.4 ล้านล้านบาท ซึ่งจะครอบคลุมการพัฒนาทั้งด้านการเกษตร การคมนาคม การศึกษา และการสาธารณสุข ที่จะส่งผลให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศมีความแข็งแกร่งในระดับหนึ่ง

"การดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาคำนึงถึงเรื่องความยั่งยืนมาตลอด" นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังมีความท้าทายที่ต้องเผชิญอยู่ 3-4 ประการ ความท้าทายแรกเป็นเรื่องของอาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม แม้เราจะเป็นผู้ผลิตอาหารเพื่อส่งออกรายใหญ่ของโลก แต่ยังมีปัญหาเรื่องการบริหารจัดการ ทั้งในเรื่องต้นทุนการผลิตและราคาสินค้า

"เราพยายามที่จะเป็นครัวของโลก แต่พ่อครัวแม่ครัวยังมีฐานะยากจนอยู่ เป็นสิ่งที่รัฐบางต้องเร่งแก้ไข" นายอภิสิทธิ์ กล่าว

ในเรื่องพลังงานรัฐบาลจะเร่งส่งเสริมการใช้และพัฒนาพลังงานทดแทนให้เร็วกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ว่าจะเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเป็น 20% ภายในปี 2563 ความท้าทายต่อมาเป็นเรื่องการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่สามารถจะหลีกเลี่ยงได้ที่จะเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลก ดังนั้นจำเป็นต้องทำให้เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่งภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และมีความคล่องตัวเพื่อให้สามารถปรับตัวได้ทันความผัวผวนของเศรษฐกิจโลก

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ความท้าทายที่สามเป็นเรื่องของระบบการเงินการคลัง โดยขณะนี้ทุกประเทศมีสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีอยู่ในระดับสูง เนื่องจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัว ซึ่งในส่วนของไทยหากไม่มีปัญหายืดเยื้อก็เชื่อว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีจะกลับสู่ภาวะปกติได้ในเวลา 5-7 ปีข้างหน้า ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังไปทบทวนแผนการกู้เงินในกรณีที่เศรษฐกิจฟื้นตัวรวดเร็วขึ้น โดยอาจปรับลดวงเงินกู้ลง แต่ยังไม่สามารถระบุจำนวนที่ชัดเจนได้ในขณะนี้

นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจในช่วงที่ผ่านมาสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศให้เดินหน้าไปได้ด้วยดี แม้สถานการณ์จะไม่เอื้ออำนวยเนื่องจากยังมีปัญหาด้านการเมือง ซึ่งเชื่อว่าปัญหาดังกล่าวจะยังคงมีต่อเนื่องไปจนถึงปีหน้า

"รัฐบาลจะไม่เสียสมาธิในการแก้ไขปัญหาให้กับประเทศ ไม่เอาเรื่องการเมืองมาเป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน แม้ความแตกต่างจะมีอยู่ในสังคมไทยแต่จะพยายามทำให้ความแตกต่างเหล่านั้นกลับเข้าสู่ระบบ" นายอภิสิทธิ์ กล่าว

นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า จะไม่ปิดกั้นการแสดงออกทางการเมือง แต่มีเงื่อนไขว่าต้องไม่ทำผิดกฎหมายและไม่ใช้ความรุนแรง รัฐบาลจะหาเครื่องมือที่จะเป็นกลไกคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นให้หมดไป โดยพยายามเป็นแบบอย่างเรื่องการเคารพหลักการของรัฐสภาและรับฟังความเห็นของทุกฝ่าย
posttoday************
19/11/52
ม.หอการค้า คาดเศรษฐกิจไทยปี 53 โต 3.2%
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 53 จะขยายตัวในระดับ 3.2% จากที่ขยายตัวติดลบ 3.1% ในปีนี้
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 53 จะขยายตัวในระดับ 3.2% โดยกล่าวว่าในปีหน้าปัญหาเศรษฐกิจโลกชะลอตัวจะเริ่มคลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งส่งผลให้แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยเป็นบวก โดยเฉพาะการขยายตัวภาคการส่งออก

ส่วนสาเหตุที่เศรษฐกิจไทยในปี 52 ขยายตัวติดลบ 3.1% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวส่งผลกระทบรุนแรงต่อภาคการผลิตและภาคการส่ง ออกจนทำให้ขยายตัวในระดับต่ำ นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบต่อการบริโภคและการลงทุนในประเทศให้ชะลอตัวลงด้วย แต่ในช่วงปลายไตรมาสสามของปีนี้เริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวเป็นบวกต่อเนื่องมายังไตรมาสสุดท้าย
krungthepturakij
**********
16/11/52
จีนมาแรงหอบเงินลงทุนในไทยเพิ่ม10เท่า
บีโอไอเผย 10 เดือนแรกของปีนี้ มีการลงทุนตรงจากต่างประเทศ ทั้งสิ้น 157,401 ล้านบาท ญี่ปุ่นยังเป็นที่หนึ่ง แต่จีนมาแรงลงทุนมากขึ้น 10 เท่า
นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยถึง ภาวะการลงทุนในช่วง 10 เดือน (มกราคม-ตุลาคม 2552) ว่าสำหรับการลงทุนตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในช่วง 10 เดือน มีมูลค่าทั้งสิ้น 157,401 ล้านบาท โดยญี่ปุ่นยังเป็นกลุ่มที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทยสูงสุด ทั้งจำนวนโครงการและเงินลงทุน มีมูลค่า 52,307 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 33% ของการลงทุนจากต่างชาติทั้งหมด รองมาคือ การลงทุนจากประเทศสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าการลงทุนรวม 25,546 ล้านบาท กลุ่มประเทศอาเซียน มีมูลค่ารวม 12,325 ล้านบาท และกลุ่มประเทศในยุโรป มีมูลค่ารวม 18,457 ล้านบาท ตามลำดับ

ทั้งนี้ในช่วง 10 เดือน การลงทุนจากประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้ปรับเพิ่มขึ้นมาก เช่น จีน เข้ามาลงทุนในไทยถึง 10,174 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 10 เท่าตัว เกาหลีใต้ มีมูลค่าการลงทุน 6,013 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 39% ในขณะที่อินเดีย มีมูลค่าการลงทุน 4,622 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5 เท่าตัว

"ส่วนหนึ่งที่ทำให้การลงทุนจากประเทศต่างๆ ดังกล่าวเพิ่มขึ้น อาจเป็นเพราะการจัดกิจกรรมร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด เช่น ความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-จีนที่มีอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการเดินทางไปชักจูงการลงทุนที่ประเทศอินเดียอย่างต่อเนื่อง และการเปิดสำนักงานบีโอไอที่กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้" นางอรรชกา กล่าว

พร้อมกันนี้ นางอรรชกา ยังได้เปิดเผยถึงภาพรวมของการลงทุนในช่วงปลายปี 2552 เริ่มมีสถานการณ์ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะเดือน กันยายน-ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา มีโครงการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนรวม 929 โครงการ คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุน 333,400 ล้านบาท ก่อให้เกิดการจ้างงาน 116,756 คน

โครงการลงทุนที่มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ส่วนใหญ่เป็นกิจการขนาดเล็กและ ขนาดกลาง (เอสเอ็มอี) อยู่ในกลุ่มกิจการผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ กิจการผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า

ส่วนโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่มีมูลค่าเกิน 500 ล้านบาท ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนมากถึง 17 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวมกว่า 32,000 ล้านบาท ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงทิศทางการฟื้นตัวและคำสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นของอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ของโลก

ในขณะที่ กิจการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือปานกลาง ที่มีผู้สนใจยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนจำนวน 42 โครงการ ลงทุนรวมกว่า 3,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงครึ่งแรกของปี 2552 ที่มีผู้ยื่นขอรับการส่งเสริมเพียง 3 โครงการ ลงทุนรวม 500 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนสร้างคอนโดมิเนียม และทาวน์เฮาส์

สำหรับภาวะการลงทุนในช่วง 10 เดือน จำนวน 929 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนรวม 333,400 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมบริการและสาธารณูปโภค มูลค่าการลงทุนรวม 180,600 ล้านบาท รองลงมาเป็น อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า มีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 47,400 ล้านบาท ตามด้วยอุตสาหกรรมโลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง มีมูลค่าการลงทุนรวมกว่า 39,700 ล้านบาท

"แม้ว่าภาวะการลงทุนโดยรวมของช่วง 10 เดือน จะลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ทั้งจำนวนโครงการซึ่งลดลง 10% และมูลค่าเงินลงทุนลดลง 9% แต่ก็ถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจ เพราะช่วงหลังๆ เริ่มมีสัญญาณที่ดีให้เห็นอย่างต่อเนื่อง ทั้งจำนวนโครงการที่ขอรับส่งเสริมเพิ่มขึ้น และการขยายตัวของโครงการขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ามากกว่า 500 ล้านบาท" เลขาธิการบีโอไอกล่าว

krungthepturakij***********
16/11/52
นายกรัฐมนตรีคาดปีหน้า GDP อาจขยายตัวสูงกว่า 3.5%

Posted on Monday, November 16, 2009
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี บอกว่า การบริหารประเทศเกือบครบรอบ 1 ปีของรัฐบาล สามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยให้อยู่ในระดับที่ใกล้ฟื้นตัวได้ชัดเจน วัดจากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีขึ้นอย่างตั้งแต่เดือนเมษายน ซึ่งเป็นเพียง 1 เดือนหลังจากรัฐบาลประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านงบกลางปีกว่า 1 แสนล้านบาท ขณะเดียวกันรัฐบาลยังเดินหน้ากระตุ้นเศรษฐกิจตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง 2555 อย่างต่อเนื่อง โดยมีวงเงินรวม 1.43 ล้านล้านบาท สร้างงานได้ 1.5 ล้านตำแหน่ง ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ปีละ 1.3 % ตลอด 3 ปีข้างหน้า

นายกรัฐมนตรี ยังมั่นใจว่า เศรษฐกิจไทยจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในไตรมาส 4/52 ส่วนในปีหน้า จะขยายตัวได้ 3-3.5 % และยังมีโอกาสขยายตัวได้สูงกว่า 3.5 % หลังพบว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเวลานี้ส่วนหนึ่งเกิดจากการบริโภคของภาคเอกชน เห็นได้จากการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลเริ่มดีขึ้น และมั่นใจว่าการลงทุนของเอกชนจะเริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจนได้ในช่วงไตรมาส 2/53

นายกรัฐมนตรีบอกด้วยว่า รัฐบาลยังอยู่ระหว่างเร่งทำความเข้าใจให้ต่างชาติเข้าใจถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ เช่น การชะลอการลงทุนของ 76 โครงการในมาบตาพุด และยังมีนโยบายที่จะลดอุปสรรคการลงทุนโดยการปรับโครงสร้างภาษีในอนาคตอีกด้วย

ด้านนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอกว่า การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เป็นมาตรการเฉพาะหน้า เพื่อช่วยลดปัญหาการว่างงงานลง และในวันที่ 19 พฤศจิกายนนี้นายกรัฐมนตรี จะประกาศนโยบายปฎิรูปปัญหาหนี้นอกระบบให้กับประชาชน ที่ปัจจุบันต้องเสียดอกเบี้ย 50-60 % ให้มาเป็นหนี้ในระบบ หลังจากนั้น จะมีโครงการประกันรายได้เกษตรกร แทนการรับจำนำผลผลิตทางการเกษตร ส่วนการปฎิรูปภาคเอกชนจะมีการลดต้นทุนการขนส่ง โดยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น เพราะปัจจุบัน ไทยลงทุนระบบรางน้อย ทำให้มีต้นทุนขนส่งสูงถึง 19-20 % ต่อจีดีพี

นอกจากนี้ยังจะปฎิรูปภาครัฐ เน้นการพัฒนาระบบธรรมาภิบาล โดยล่าสุดจะเสนอ คณะรัฐมนตรี แก้ไข พ.ร.บ. ศุลกากรในสัปดาห์หน้า เพื่อแก้ปัญหาความไม่โปร่งใส และเดินหน้าแก้ไข พ.ร.บ. สรรพสามิตในแนวทางเดียวกันด้วย พร้อมกันนี้ ได้สั่งการให้ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลัง ต้องรายงานการซื้อขายหุ้น และจะแก้ไขกฎไม่ให้เจ้าหน้าที่สรรพากรเป็นที่ปรึกษาเอกชนป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

ขณะที่นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต คาดว่าเศรษฐกิจปีหน้าจะขยายตัวได้ 2.5 % ภายใต้สมมติฐานความขัดแย้งของรัฐบาลไทยและกัมพูชาไม่ลุกลาม พร้อมเรียกร้องให้ทั้งสองประเทศเร่งเจรจาเพื่อหาข้อยุติ โดยยึดหลังความสันติสุขและความสงบ รวมไปถึงต้องเร่งหาทางออกปัญหาการลงทุนในมาบตาพุดให้ได้ภายในปีนี้ ไม่เช่นนั้นจะกระทบต่อจีดีพีให้ลดลง 0.5 % และกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติที่มีต่อประเทศไทย

นายอนุสรณ์ ยังคาดว่า จีดีพีปีนี้จะติดลบ 3-3.2 % โดยไตรมาส 4/52 จะฟื้นตัวเป็นบวกได้
money news update*************
16/11/52
ความเชื่อมั่นซีอีโอไตรมาส 4 พุ่ง มั่นใจกำไรเพิ่ม12.75%
เปิดผลสำรวจ “กรุงเทพธุรกิจ CEOs Sentiment INDEX” (CSI) ดัชนีความเชื่อมั่นซีอีโอไตรมาส 4 พุ่งถึงระดับ 69.50 มั่นใจกำไรปีนี้เพิ่มขึ้น 12.75%
การจัดทำ กรุงเทพธุรกิจ CEOs Index โดย นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ร่วมกับ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 ถือเป็นวาระพิเศษ โดยกลุ่มตัวอย่าง มาจากนักธุรกิจ และ ผู้ประกอบการ ที่เข้าร่วมการสัมมนา ก้าวสู่ปีที่ 23 ของนสพ.กรุงเทพธุรกิจ ในหัวข้อ "Thailand Tomorrow ประเทศไทย 2553 " เมื่อวันที่ 29-30 ตุลาคม 2552 ที่ผ่านมา
จากผู้เข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้นกว่า 600 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม 270 คน ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มตัวอย่างที่เพิ่มขึ้นจากฐานการสำรวจ กรุงเทพธุรกิจ CEOs Index ตามปกติ และ ต่างจากเดิมที่มีเฉพาะผู้บริหารระดับสูงเป็นองค์ประกอบสำคัญ โดยการสำรวจครั้งนี้จะมีส่วนผสมของผู้บริหารระดับกลางรวมอยู่ด้วย
จากการประมวลผลของ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริหาร "กรุงเทพธุรกิจ CEOs Index" ต่อสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3 ที่ผ่านมา อยู่ในระดับ 66 สูงกว่า การสำรวจครั้งก่อนถึง 10.25
เมื่อจำแนกระหว่าง มุมมองต่ออดีต และ คาดการณ์ทิศทางในอนาคตแล้ว พบว่า ความเชื่อมั่นของผู้บริหารต่อสถานการณ์เศรษฐกิจใน 3 เดือนที่ผ่านมา คิดเป็นระดับความเชื่อมั่นที่ 63.75 ส่วนความเชื่อมั่นต่อทิศทางเศรษฐกิจในไตรมาส 4 หรือใน 3 เดือนข้างหน้า สูงถึง 69.50 สะท้อนถึงระดับความเชื่อมั่นที่สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนอย่างมาก สืบเนื่องจาก สถานการณ์ทางการเมืองที่ไม่มีเหตุการณ์รุนแรง นอกจากนั้นความเชื่อมั่นยังมาจาก นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ภายใต้ยุทธศาสตร์ “ไทยเข้มแข็ง” และการจัดประชุมอาเซียนโดยมีประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เมื่อเดือนกรกฎาคม และตุลาคม ที่ผ่านมา
กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีความเชื่อมั่นต่อภาวะเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 มากที่สุด อยู่ในกลุ่มพลังงานและทรัพยากร ที่มีระดับความเชื่อมั่นอยู่ที่ 75.0 รองลงมาคือกลุ่ม อุตสาหกรรมเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมีความเชื่อมั่นในระดับ 71.50 ทั้งสองกลุ่มมีระดับความเชื่อมั่นที่สูงขึ้นจากไตรมาสก่อนมากถึง 20 จุด ขณะที่กลุ่มธุรกิจการเงิน ซึ่งมีความเชื่อมั่นมากที่สุดในไตรมาสสอง มาถึงไตรมาสนี้ มีระดับความเชื่อมั่นเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 5.25 จุดเท่านั้น สำหรับกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีระดับความเชื่อมั่นสูงเป็นลำดับ 3 ที่ 70 จุด
คาดผลกำไรปีนี้เพิ่ม 12.75%
“กรุงเทพธุรกิจ CEOs INDEX” สอบถามความเห็นเกี่ยวกับมุมมองการขับเคลื่อนธุรกิจภายใต้ไตรมาส 3 ของปี 2552 พบว่า ผู้บริหาร 45% คาดว่าผลกำไรในปีนี้จะเพิ่มขึ้นถึง 12.75% สอดคล้องในทิศทางเดียวกับระดับความเชื่อมั่นเศรษฐกิจที่เป็นภาพบวก เปรียบเทียบกับความเห็นในไตรมาสที่ 2 ของปี 2552 ซึ่งผู้บริหารถึง 42% คาดว่าผลกำไรของบริษัทจะลดลงถึง 20.75% โดยผลกำไรที่เป็นบวกในปีนี้ ความเห็นส่วนใหญ่ หรือ 40.63% มองว่า มาจากการเพิ่มขึ้นของความต้องการสินค้าและบริการ และ 29.69% มาจากการลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ
อย่างไรก็ตามแม้ว่าจะมีมุมมองต่อการดำเนินธุรกิจในอีก 3 เดือนข้างหน้าเป็นบวก แต่เงื่อนไขหลักยังอยู่ที่เสถียรภาพทางการเมือง โดย 85% เชื่อว่าเป็นตัวแปรสำคัญของการดำเนินธุรกิจ ขณะที่แผนการขับเคลื่อนนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ นักธุรกิจมองว่าเป็นประเด็นรอง หรืออยู่ในสัดส่วน 50%
ทั้งนี้เมื่อจำแนกเป็นรายกลุ่มธุรกิจแล้ว จะพบว่า กลุ่มธุรกิจที่คาดการณ์ถึงผลกำไรเป็นบวกในปีนี้ ได้แก่ นักธุรกิจ ในกลุ่มเกษตร และอาหาร ซึ่งมากถึง 71% คาดการณ์ว่า จะมีผลกำไรเป็นบวก 9.6% สำหรับนักธุรกิจในกลุ่มทรัพยากรและพลังงาน 75% คาดการณ์ถึงผลกำไรเพิ่มขึ้น 15.67%
นักธุรกิจในกลุ่มเทคโนโลยี 33% คาดการณ์ว่าในปีนี้น่าจะมีผลกำไรเพิ่มขึ้น 20% ขณะเดียวกัน นักธุรกิจในกลุ่มนี้มากถึง 67% ที่คาดการณ์ว่าจะมีผลกำไรลดลง 12.50%
สำหรับกลุ่มธุรกิจการเงิน 43% คาดการณ์ถึงผลกำไรเพิ่มขึ้น 16.67% ส่วนผู้ตอบอีก 29% มองในทิศทางตรงกันข้าม โดยคาดการณ์ถึงผลกำไรที่ติดลบ 5% ความเห็นที่เหลืออีก 14% คาดการณ์ถึงผลกำไรที่ระดับเดิม
กลุ่มธุรกิจบริการ 46% คาดการณ์ถึงผลกำไรที่เพิ่มขึ้น 7.33% ขณะที่กลุ่มผู้ตอบอีกกว่า 50% คาดการณ์ถึงผลกำไรที่ลดลง 14.6%
ในกลุ่มอุตสาหกรรม 43% คาดการณ์ว่าจะมีผลกำไรเพิ่มขึ้น 6.25% สัดส่วนอีก 57% กลับมองว่าจะมีผลกำไรลดลง 7.5%
กลุ่มอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้าง 33% คาดว่าจะมีผลกำไรเพิ่มขึ้น 6.5% ส่วนอีก 50% เห็นว่าน่าจะผลกำไรที่ลดลง 11.67% ขณะที่กลุ่มที่เหลือเห็นว่า ผลกำไรน่าจะอยู่ที่ระดับเดิม
กลุ่มอื่นๆ คาดการณ์ถึงผลกำไรที่เพิ่มขึ้นไว้ที่ 12.28% จากจำนวนผู้ตอบ 38% อีกกลุ่มซึ่งมีผู้ตอบ 24% มองว่า น่าจะมีกำไรลดลง 23.50% ขณะที่ 36% ของผู้นำที่แสดงความคิดเห็น ยังคงมองสถานการณ์กำไรไว้ที่ระดับเดิมเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา
การเมืองตัวถ่วงธุรกิจ
จากการสำรวจมุมมองต่ออุปสรรคในการดำเนินธุรกิจ ผู้บริหารส่วนใหญ่ ประเมินว่า การขาดเสถียรภาพทางการเมืองยังเป็นประเด็นสำคัญสำหรับเศรษฐกิจไทย และมีผลต่อการดำเนินธุรกิจมากที่สุด โดย 62% คาดการณ์ว่า ประเทศไทยใน 3 เดือนข้างหน้า ยังขาดเสถียรภาพทางการเมืองเช่นเดิม และ 24.62% มีความเห็นว่าการเมือง ยังเป็นปัจจัยที่เป็นอุปสรรคมากที่สุดต่อการดำเนินธุรกิจอีกด้วย
สิ่งที่ผู้นำธุรกิจอยากให้เกิดขึ้นในอีก 3 เดือนข้างหน้า ได้แก่ อยากเห็นรัฐบาล และพรรคร่วมรัฐบาลทำงานอยู่จนครบวาระ การทำงานเป็นทีมของพรรคร่วมรัฐบาล การดำเนินนโยบายที่ชัดเจนมากขึ้น สร้างความเชื่อมั่นต่อการลงทุน รวมถึงให้รัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นธนาคารพาณิชย์ขยายสินเชื่อมากขึ้น
น้ำมันพุ่ง-คอรัปชั่น อุปสรรคไตรมาส 4
เมื่อสอบถามถึงการจัดสรรงบประมาณ นักธุรกิจส่วนใหญ่ ในสัดส่วน 19.79 % ยังคงเห็นว่า ค่าใช้จ่ายด้านสื่อโฆษณาเป็นค่าใช้จ่ายที่ควรปรับลดลงลำดับแรก ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกับไตรมาสก่อน
ในภาพรวมของการบริหารจัดการภายในองค์กร งบประมาณด้านการตลาดเป็นประเด็นแรกที่ได้รับการเพ่งเล็ง โดยนักธุรกิจส่วนใหญ่เห็นว่าค่าใช้จ่ายที่ควรปรับลดลง 3 อันดับแรก คือ ด้านสื่อโฆษณา 24.10% ด้านการตลาด 18.67% และ ด้านบุคลากร 16.27%
ส่วนปัจจัยที่เห็นว่าเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กรในอีก 3 เดือนข้างหน้า คือ ต้นทุนการขนส่งที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง ปัญหาการคอรัปชั่น ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่โครงการมาบตาพุด และ จริยธรรมของคนในภาคธุรกิจ ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการขับเคลื่อนธุรกิจในอนาคต
krungthepturakij
**************
13/11/52
การเมือง-น้ำมันพุ่ง ฉุดเชื่อมั่นผู้บริโภค
โพสต์ทูเดย์
— ดัชนีความเชื่อมั่น ผู้บริโภคปรับตัวลดลงครั้งแรกรอบ 5 เดือน เหตุผู้บริโภคกังวลน้ำมัน ปัญหามาบตาพุด การเมือง

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือนต.ค. 2552 พบว่าค่าดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงจาก 75.6 ในเดือนก.ย. 2552 เป็น 75.4 ในเดือนต.ค. ลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน
ผู้บริโภคกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น สถานการณ์ทางการเมือง ค่าครองชีพที่ยังคงตัวอยู่ในระดับสูง และปัญหาการระงับการลงทุน 76 โครงการในนิคม อุตสาหกรรมมาบตาพุด

ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม ลดลงจากระดับ 68.4 สู่ระดับ 68.0 เป็นการปรับตัวลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือนเช่นเดียวกัน แสดงว่าผู้บริโภคยังขาดความมั่นใจในสถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคต (ใน 6 เดือนข้างหน้า) ปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจาก 72.1 มาอยู่ที่ระดับ 72.4

ผลจากความเชื่อมั่นดังกล่าว ทำให้การบริโภคไตรมาสสุดท้ายจะไม่คึกคักเท่าที่ควร เอกชนจึงต้องใช้การส่งเสริมการตลาดในด้านราคา รักษาฐานลูกค้า ขณะที่รัฐต้องเร่งลงทุนในโครงการไทยเข้มแข็ง ให้เงินเข้าสู่มือประชาชนโดยเร็ว เพื่อให้ประชาชนรับทราบว่าเศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว และต้องเร่งแก้ปัญหามาบตาพุด เพราะประชาชนเห็นว่าเป็นปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
posttoday************
13/11/52
คลังเชื่อศก.Q4เป็นบวก
ปลัดกระทรวงคลัง เชื่อ เศรษฐกิจไตรมาส 4 เป็นบวก ส่งออกขยายตัว

นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ทิศทางเศรษฐกิจไทยขณะนี้เริ่มดีขึ้น เห็นได้จากรายได้การส่งออก เดือนตุลาคมขยายตัวขึ้น โดยการเปลี่ยนตลาดส่งออกจากเดิมที่พึ่งพา 3 ประเทศหลัก คือ สหรัฐฯ ยุโรป และญี่ปุ่น เป็นตลาดส่งออกใหม่ เช่น ประเทศแอฟริกา ตะวันออกกลาง เอเชีย ซึ่งเป็นกลุ่มประเทศที่เริ่มฟื้นตัว

นอกจากนี้ ภาคธุรกิจยังมีการนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักร วัตถุดิบ และสินค้าเพื่อการบริโภค ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มกำลังการผลิตของภาคเอกชน ทำให้มั่นใจว่า เศรษฐกิจไตรมาส 4 จะเป็นบวก ร้อยละ 3-4 และคาดว่าปีหน้าจะขยายตัวร้อยละ 3.3 ซึ่งผลพวงจากเศรษฐกิจฟื้นตัว ทำให้รายได้จากภาษีสูงขึ้น

จากสัญญาณการจัดเก็บภาษีของเดือนตุลาคม ซึ่งเป็นเดือนแรกของปีงบประมาณ 2553 น่าจะทำให้รายได้ปีงบประมาณ 2553 เกินเป้าหมาย ขณะที่รัฐบาลมีแผนควบคุมงบรายจ่ายประจำให้เพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 5-6 ต่อปี การกำหนดงบลงทุนให้อยู่ประมาณร้อยละ 25 ของงบประมาณ การออกกฎหมายเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มีรายได้สูงขึ้น แทนการพึ่งพางบประมาณจากรัฐบาลส่วนกลาง
posttoday*************
11/11/52
สศอ.ชี้ดัชนีผลผลิตอุตฯก.ย.บวกในรอบ11เดือน
สศอ.เผยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนกันยายนบวกเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน โดยขยายตัว 1% คาดทั้งปีติดลบ 8.5% และจะกลับมาบวกได้ในปีหน้า
นางสุทธินีย์ พู่ผกา ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า ภาคการผลิตอุตสาหกรรมปี 2552 มีทิศทางที่ดีขึ้น โดยติดลบน้อยลง และคาดว่าจะกลับมาเป็นบวกได้ไตรมาสสุดท้ายของปี และแนวโน้มในปี 2553 กลับมาขยายตัวเป็นบวก ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก

โดยดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมมีจุดต่ำสุดในช่วงเดือนมกราคม 2552 โดยหดตัวร้อยละ 25.6 แล้วเริ่มปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ อัตราการหดตัวน้อยลงเรื่อยๆ และในเดือนกันยายนที่ผ่านมากลับฟื้นตัวเป็นบวกร้อยละ 1 ครั้งแรกในรอบ 11 เดือน เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน หากพิจารณารายไตรมาส พบว่าไตรมาส 1 ถือเป็นจุดต่ำสุด โดยหดตัวร้อยละ 22.0 ไตรมาส 2 หดตัวร้อยละ 10.7 และไตรมาส 3 หดตัวร้อยละ 5.5 ไตรมาส 4 คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.7 และทั้งปีคาดว่าจะหดตัวร้อยละ 8.5 สำหรับปี 2553 ทิศทางการขยายตัวจะดีขึ้นเป็นลำดับ โดยคาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 6.0-8.0

สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของภาคอุตสาหกรรมในปี 2552 ว่า ภาพรวมจะหดตัวร้อยละ 5.9 และในปี 2553 จะกลับมาขยายตัวเป็นบวกช่วงร้อยละ 4.5-5.5 เช่นเดียวกับอัตราการส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ผ่านโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐเริ่มมีความชัดเจนขึ้น จึงส่งผลต่อการขยายตัวของจีดีพีภาคอุตสาหกรรม อีกปัจจัยหนึ่ง คือการส่งออกเพิ่มขึ้นชัดเจน โดยเดือนกันยายน มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 5.7 หดตัวน้อยลงจากเดือนก่อนที่ลดลงร้อยละ 15.9 นับเป็นการหดตัวน้อยลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน

ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยไตรมาส 3 อยู่ที่ร้อยละ 58.0 จากไตรมาส 2 อยู่ที่ร้อยละ 53.9 และ 9 เดือนแรกอยู่ที่ร้อยละ 54.7 โดยหลายอุตสาหกรรมได้รับปริมาณคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นทั้งตลาดในประเทศและต่าง ประเทศ โดยเฉพาะตลาดต่างประเทศที่เริ่มมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามามากขึ้น

สำหรับ อุตสาหกรรมที่มีสัญญาณการฟื้นตัวดี ได้แก่ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ และสิ่งทอต้นน้ำ โดยเฉพาะ Hard disk drive ที่ยังขยายตัวได้ดี โดยขยายตัวเป็นบวกเป็นเดือนที่ 5 ติดต่อกัน รวมถึงการผลิตรถยนต์ที่มีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศมากขึ้น ส่วนทิศทางการขยายตัวอุตสาหกรรมรายสาขาที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ในปี 2552 เมื่อเทียบกับปีก่อน การผลิตจะปรับตัวลดลงร้อยละ 10

อย่างไรก็ตาม ไตรมาส 4 จะสามารถกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ทั้งการผลิตและการจำหน่าย เนื่องจากตลาดหลักทั้งจีน สหรัฐ และสหภาพยุโรป (อียู) ปรับตัวดีขึ้น โดยแนวโน้มปี 2553 คาดว่าจะมีการปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยการผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.24 และการส่งออกจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.17 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากการที่ไทยเป็นฐานการผลิตหนึ่งที่สำคัญของโลก รวมถึงตลาดสหรัฐซึ่งเป็นตลาดอิเล็กทรอนิกส์ที่มีขนาดใหญ่ของโลก และเป็นตลาดหลักของไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้นแล้ว

ขณะที่อุตสาหกรรมรถยนต์ปีนี้ชะลอตัว โดยมีการผลิตรถยนต์ประมาณ 970,000 คัน ลดลงร้อยละ 30.42 แต่คาดว่าปี 2553 จะขยายตัวร้อยละ 5-10 ซึ่งเป็นไปตามสภาพเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจในประเทศที่เริ่มฟื้นตัว สำหรับตลาดในประเทศ มีปัจจัยบวกจากนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐาน สากล (อีโคคาร์) ซึ่งจะมีค่ายรถยนต์เปิดตัวอีโคคาร์ในช่วงต้นปี 2553 โดยจะเป็นการกระตุ้นตลาดได้อีกทางหนึ่ง และปัจจัยหนึ่งมาจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลผ่านแผนปฏิบัติการไทย เข้มแข็ง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยด้านราคาน้ำมันที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นอาจส่งผลต่อความต้องการหรือ พฤติกรรมการเลือกซื้อรถยนต์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ด้านอุตสาหกรรม อาหาร การผลิตและส่งออกลดลงเล็กน้อย โดยการผลิตลดลงร้อยละ 0.5 ส่วนการส่งออกลดลงร้อยละ 8.4 เนื่องจากผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย โดยเฉพาะตลาดส่งออกหลักของไทย เช่น สหรัฐ ญี่ปุ่น และยุโรป แม้จะเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว แต่ระดับราคาสินค้าในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลง ประกอบกับค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น ทำให้มูลค่าการส่งออกชะลอตัวลง คาดว่าปี 2553 การผลิตจะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ร้อยละ 1.8 ขณะที่การส่งออกอุตสาหกรรมอาหารในรูปดอลลาร์สหรัฐ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 แม้ว่าระดับราคาสินค้าอาหารในตลาดโลกจะปรับลดลง ซึ่งส่งผลดีต่อการส่งออก แต่จากค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากกว่าค่าเงินอื่นในภูมิภาคที่เป็นทั้งคู่แข่ง และคู่ค้า เช่น จีน เวียดนาม รวมถึงการปรับตัวในการรักษาความปลอดภัยของอาหารของทั้งสองประเทศที่ดีขึ้น อาจส่งผลให้การส่งออกอาหารของไทยไม่ขยายตัวมากนัก

สำหรับอุตสาหกรรม สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มเมื่อเทียบกับปีก่อน การผลิต การจำหน่ายในประเทศ การส่งออก รวมทั้งการนำเข้าส่วนใหญ่ปรับตัวลดลงตามภาวะเศรษฐกิจโลกและภาวะเศรษฐกิจของ คู่ค้าหลัก โดยเฉพาะเศรษฐกิจสหรัฐที่ยังไม่ฟื้นตัวมากนัก

อย่างไรก็ตาม เริ่มมีคำสั่งซื้อจากต่างประเทศเข้ามาบ้างแล้วในช่วงไตรมาส 4 ซึ่งโรงงานหลายแห่งเพิ่มกำลังการผลิต ทำให้มีปัญหาขาดแคลนแรงงานตามมาโดยเฉพาะแรงงานที่มีฝีมือ ขณะเดียวกันการส่งออกเส้นใยสิ่งทอของไทย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำ มีแนวโน้มการส่งออกดีขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากแนวโน้มความต้องการบริโภคที่เพิ่มขึ้นในตลาดโลก ประกอบกับไทยเป็นฐานการผลิตที่มีศักยภาพของหลายประเทศในภูมิภาค เช่น เวียดนาม ลาว กัมพูชา และบังกลาเทศ เนื่องจากประเทศเหล่านี้ขาดสิ่งทอต้นน้ำ สำหรับในปี 2553 คาดว่าจะขยายตัวเมื่อเทียบกับปี 2552 เนื่องจากแนวโน้มตลาดมีความต้องการมากขึ้น โดยเฉพาะตลาดญี่ปุ่นจากการทำสัญญาภายใต้กรอบความร่วมมือเจเทปา ซึ่งคาดว่าไทยจะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดตามคำสั่งซื้อของญี่ปุ่นจากร้อยละ 1.2 ในปัจจุบัน เป็นร้อยละ 5 หรือมูลค่าส่งออก 1,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2555
krungthep
************
11/11/52
รัฐเก็บรายได้ในเดือนต.ค. เกินเป้า 1.5 หมื่นล้านบาท

Posted on Wednesday, November 11, 2009
นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ระบุว่า การจัดเก็บรายได้เดือนแรกของ ปีงบประมาณ 2553 หรือ ช่วงเดือนตุลาคมที่ผ่านมา รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ 1.11 แสนล้านบาท สูงกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 15,484 ล้านบาท หรือคิดเป็น 16.2% เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ของ 3 กรมหลักได้สูงกว่าเป้าหมายค่อนข้างมาก หลังจากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ส่งผลให้ การนำเข้าและการบริโภคภายในประเทศเริ่มมีทิศทางที่ดีขึ้น รวมทั้งได้รับผลดีการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา โดยมั่นใจว่า ในปีงบประมาณ 2553 รัฐบาลจะจัดเก็บรายได้สูงกว่าเป้าหมายอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ ในเดือนตุลาคมปีนี้ รัฐบาลสามารถจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการนำเข้าสูงกว่าประมาณการถึง 23.2% สอดคล้องกับผลการจัดเก็บอากรขาเข้าที่สูงกว่าประมาณการ 21.1% ขณะเดียวกันยังสามารถจัดเก็บภาษีสรรพสามิตรถยนต์สูงกว่าประมาณการ 58.2% และภาษีมูลค่าเพิ่มจากฐานการบริโภคสูงกว่าประมาณการ 7.2%

ขณะที่รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,456 ล้านบาท หรือ 9.5% เป็นผลจากการดำเนินมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนที่ส่งผลให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการไฟฟ้านครหลวง ขอทยอยนำส่งรายได้เป็นงวด ทำให้รายได้ในเดือนนี้ต่ำกว่าประมาณการจำนวน 2,663 ล้านบาท และ 638 ล้านบาทตามลำดับ

นอกจากนี้ บมจ.กสท โทรคมนาคม ได้ขอเลื่อนการจ่ายเงินปันผลจำนวน 1,105 ล้านบาท จากเดิมในเดือน ตุลาคม 2552 เป็นเดือน พฤศจิกายน 2552 อย่างไรก็ดีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และธนาคารออมสินนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ 1,290 ล้านบาท และ 708 ล้านบาทตามลำดับ
money news update
***********
11/11/52
คลังเผยหนี้สาธารณะเดือนก.ย.อยู่ที่45.55%

คลังเผยยอดหนี้สาธารณะสิ้นเดือน ก.ย.อยู่ที่ 45.55% ต่อจีดีพี ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนอยู่ 1.6 หมื่นล้านบาท
นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ สบน.กล่าวว่า ยอดหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 ก.ย.52 มีจำนวน 4,001,942 ล้านบาท หรือ 45.55% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) โดยเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2,586,513 ล้านบาท, หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 1,108,580 ล้านบาท, หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน 208,702 ล้านบาท และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 98,147 ล้านบาท

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้าแล้วหนี้สาธารณะลดลง 16,236 ล้านบาท โดยหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงลดลง 22,849 ล้านบาท

ขณะที่หนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน หนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน และหนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้น 2,647 ล้านบาท 2,839 ล้านบาท และ 1,127 ล้านบาทตามลำดับ ส่วนหน่วยงานอื่นของรัฐนั้นไม่มีหนี้คงค้าง

การลดลงสุทธิของหนี้สาธารณะคงค้างเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมาเกิดจากการลดลงของหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง โดยรายการที่สำคัญมาจากการชำระคืนต้นพันธบัตรออมทรัพย์ที่ออกภายใต้ พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินและจัดการเงินกู้เพื่อช่วยเหลือกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินระยะที่สอง พ.ศ.2545 (FIDF 3) ที่ครบกำหนดวงเงิน 54,246 ล้านบาท โดยใช้เงินจากบัญชีสะสม เพื่อการชำระคืนต้นเงินกู้ชดใช้ความเสียหายของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินมาชำระคืนต้นเงินกู้บางส่วนสมทบกับเงินในบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลัง (FIDF 1 และ FIDF 3) มาทดรองจ่ายไปก่อน

ส่วนที่เหลือกระทรวงการคลังได้ดำเนินการกู้เงินระยะยาวจำนวน 23,162 ล้านบาท และกู้เงินระยะสั้นจำนวน 13,935 ล้านบาท จากนั้นจึงทยอยออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อการปรับโครงสร้างหนี้วงเงินรวม 25,000 ล้านบาท ในเดือน ก.ย.-ต.ค.2552 เพื่อทยอยชำระคืนเงินกู้ระยะสั้นและเงินจากบัญชีเงินฝากกระทรวงการคลังดังกล่าว ซึ่งในเดือน ก.ย.52 ได้ดำเนินการประมูลพันธบัตรดังกล่าวแล้วจำนวน 8,000 ล้านบาท และนำเงินที่ได้จากการประมูลไปชำระคืนหนี้เงินกู้ระยะสั้น นอกจากนี้กระทรวงการคลังยังได้ดำเนินการออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อปรับโครงสร้างหนี้พันธบัตรรัฐบาลที่ครบกำหนดในเดือน มิ.ย.52 วงเงิน 37,740 ล้านบาท เพื่อนำเงินที่ได้จากการออกพันธบัตรไปชำระคืนต้นเงินกู้ระยะสั้นที่ใช้เป็น Bridge Financing ในการปรับโครงสร้างหนี้

สำหรับหนี้รัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นสุทธิ 2,647 ล้านบาท มาจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ที่รัฐบาลไม่ค้ำประกันในส่วนของหนี้ในประเทศ รายการที่สำคัญเกิดจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.)ได้ออกพันธบัตรจำนวน 6,955 ล้านบาท และไถ่ถอนพันธบัตร จำนวน 3,200 ล้านบาท

ส่วนหนี้รัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกันเพิ่มขึ้นสุทธิ 2,839 ล้านบาท มาจากการเพิ่มขึ้นของหนี้ในประเทศของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงินที่รัฐบาลค้ำประกัน รายการที่สำคัญเกิดจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)ได้ออกพันธบัตรจำนวน 3,000 ล้านบาท

ขณะที่หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ เพิ่มขึ้น 1,127 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการตั้งดอกเบี้ยค้างจ่ายพันธบัตรของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ หนี้สาธารณะ 4,001,942 ล้านบาท แยกเป็น หนี้ต่างประเทศ 384,377 ล้านบาท หรือ 9.60% และ หนี้ในประเทศ 3,617,565 ล้านบาท หรือ 90.40% ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง และเป็นหนี้ระยะยาว 3,600,958 ล้านบาท หรือ 89.98% และหนี้ระยะสั้น 400,984 ล้านบาท หรือ 10.02% ของยอดหนี้สาธารณะคงค้าง
krungthep
*************
10/11/52
วัดศักยภาพธุรกิจ 5 ภาค "อีสาน" ต่ำสุดทุกด้าน-ต้นทุนสูงสุด

สสว.สำรวจผู้ประกอบการ "เอสเอ็มอี" ทั่วประเทศ โดยแยกเป็น 5 ภูมิภาค ชี้ชัด "ภาคอีสาน" มีศักยภาพต่ำที่สุด แต่ต้นทุนการผลิตสูงสุด โดยมีสาเหตุหลัก จากกระบวนการผลิตที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ใช้เทคโนโลยีการผลิตน้อย เกิดความสูญเสียระหว่างขั้นตอนการผลิตและการขนย้ายสูง ทำให้ต้องลดต้นทุนด้านการขาย

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า สสว.ร่วมกับสถาบันการศึกษาส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวม 5 ภูมิภาค สำรวจสถานการณ์ต้นทุนของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ทั้งอุตสาหกรรมการผลิต และธุรกิจการค้า และบริการรายภูมิภาค จำนวน 4,200 ตัวอย่าง

ทั้งนี้ ผลการสำรวจ พบว่า อุตสาหกรรมการผลิต ต้นทุนส่วนใหญ่จะเป็นการซื้อสินค้าสำเร็จรูปต้นงวด คิดเป็นร้อยละ 42.43 รองลงมาเป็นค่าใช้จ่ายต้นทุนการผลิต คิดเป็นร้อยละ 25.17 และค่าใช้จ่ายในการบริหาร คิดเป็นร้อยละ 23.00 ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขายมีสัดส่วนน้อยที่สุด คิดเป็นร้อยละ 9.40 ส่วนธุรกิจในภาคการค้าและบริการ ส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนซื้อสินค้าเข้า คิดเป็นร้อยละ 48.35 รองลงมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร คิดเป็นร้อยละ 31.25 และค่าใช้จ่ายในการขาย คิดเป็นร้อยละ 10.43 ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการบริการลูกค้ามีสัดส่วนน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 9.98

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาเป็นรายภูมิภาค พบว่า ภาคเหนือ อุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนสินค้าสำเร็จรูปต้นงวด คิดเป็นร้อยละ 38.72 รองลงมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร คิดเป็นร้อยละ 28.16 ต้นทุนการผลิต คิดเป็นร้อยละ 22.33 และค่าใช้จ่ายในการขาย คิดเป็นร้อยละ 10.80 ส่วนธุรกิจการค้าและบริการ ส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนการซื้อสินค้าเข้า คิดเป็นร้อยละ 48.32 รองลงมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร คิดเป็นร้อยละ 36.75 ค่าใช้จ่ายในการขาย คิดเป็นร้อยละ 8.73 และค่าใช้จ่ายในการบริการลูกค้า คิดเป็นร้อยละ 6.26

ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุตสาหกรรมการผลิต ส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนการผลิต คิดเป็นร้อยละ 45.83 รองลงมาเป็นต้นทุนสินค้าสำเร็จรูปต้นงวด คิดเป็นร้อยละ 32.76 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร คิดเป็นร้อยละ 18.21 ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการขาย มีสัดส่วนน้อยที่สุดคิดเป็นร้อยละ 3.20 สำหรับธุรกิจการค้าและบริการส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนซื้อสินค้าเข้า คิดเป็นร้อยละ 45.73 รองลงมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร คิดเป็นร้อยละ 27.19 ค่าใช้จ่ายในการบริการลูกค้า คิดเป็นร้อยละ 15.43 และค่าใช้จ่ายในการขาย คิดเป็นร้อยละ 11.65 ตามลำดับ

ภาคตะวันออก อุตสาหกรรมการผลิตส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนสินค้าสำเร็จรูปต้นงวด คิดเป็นร้อยละ 49.07 รองลงมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร คิดเป็นร้อยละ 21.94 ต้นทุนการผลิต คิดเป็นร้อยละ 20.91 และค่าใช้จ่ายในการขาย คิดเป็นร้อยละ 8.08 ตามลำดับ สำหรับธุรกิจการค้าและบริการ ส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนในการซื้อสินค้าเข้า คิดเป็นร้อยละ 50.86 รองลงมาเป็นค่าใช้จ่ายในการบริหาร คิดเป็นร้อยละ 30.40 ค่าใช้จ่ายในการขาย คิดเป็นร้อยละ 9.50 และค่าใช้จ่ายในการบริการลูกค้า คิดเป็นร้อยละ 9.24 ตามลำดับ

สำหรับภาคใต้ อุตสาหกรรมการผลิต ส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนด้านสินค้าสำเร็จรูปต้นงวด คิดเป็นร้อยละ 37.85 รองลงมาคือต้นทุนการผลิตของกิจการ คิดเป็นร้อยละ 30.41 ค่าใช้จ่ายในการบริหาร คิดเป็นร้อยละ 21.15 และค่าใช้จ่ายในการขาย คิดเป็นร้อยละ 10.59 ส่วนธุรกิจการค้าและบริการ ส่วนใหญ่จะเป็นต้นทุนด้านการซื้อสินค้าเข้า คิดเป็นร้อยละ 46.53 รองลงมาเป็นค่าใช้จ่ายในด้านการบริหาร คิดเป็นร้อยละ 30.73 ค่าใช้จ่ายในการขาย คิดเป็นร้อยละ 12.31 และค่าใช้จ่ายในการบริการลูกค้า คิดเป็นร้อยละ 10.42

นายยุทธศักดิ์ กล่าวสรุปว่า ผลที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้พบว่า ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีต้นทุนการผลิตสูงมากเมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่น ซึ่งอาจจะมีสาเหตุมาจากกระบวนการผลิตที่ยังไม่ได้มาตรฐาน ใช้เทคโนโลยีการผลิตน้อย เกิดความสูญเสียระหว่างขั้นตอนการผลิตและการขนย้ายสูง ทำให้ต้องลดต้นทุนด้านอื่น โดยเฉพาะต้นทุนด้านการขายลง

ส่วนผลที่ตามมา คือ ยอดขายลดลง เนื่องจากสินค้ายังไม่เป็นที่รู้จัก หรือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ภาคตะวันออกมีต้นทุนสินค้าสำเร็จรูปต้นงวดสูง ซึ่งข้อมูลต่างๆ เหล่านี้ จะเป็นตัวสะท้อนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาทำการศึกษาถึงสาเหตุที่แท้จริง เพื่อนำไปสู่การป้องกันและแก้ไขต่อไป
manager online
*************
10/11/52
การค้าไทย-จีน กระฉูด ยอดขอส่งเสริม "บีโอไอ" พุ่ง 9 เท่า

หอการค้าไทย-จีน กระชับสัมพันธ์การค้าครั้งใหญ่ นักธุรกิจไทย-จีนกว่า 1.3 พันคน ร่วมจับคู่ธุรกิจชื่นมื่น เผยยอดขอส่งเสริม "บีโอไอ" พุ่งกระฉูดถึง 9 เท่า คาดก่อนสิ้นปี ยอดการลงทุนพุ่งทะลุเป้า

หอการค้าไทย-จีน จัดสัมมนา ความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย-จีน ( มณฑลกวางตุ้ง) โดยมีผู้เข้าร่วมการสัมมนาถึง 1,300 คน ประกอบด้วยวิสาหกิจที่มีชื่อเสียงและมีศักยภาพ 138 แห่ง ของมณฑลกวางตุ้ง จำนวน 300 คน ครอบคลุม 10 ประเภทอุตสาหกรรม ประมาณ 130 บริษัท และนักธุรกิจไทยอีกหลายร้อยคน ซึ่งมีการลงนามในสัญญาความร่วมมือด้านการค้าและลงทุน และจะมีการเจรจาจับคู่ทางธุรกิจ

โดยมีนายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และนางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการบีโอไอเข้าร่วม ส่วนภาคเอกชน มีนายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เป็นผู้แทนฝ่ายไทย ส่วนผู้แทนฝ่ายจีน เช่น นายหวาง หยาง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์มณฑลกวางตุ้ง นายหลิ่ว จิ่งถิง รองประธานหอการค้าไทย – จีน

นางอรรชกา สีบุญเรือง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากจีนจำนวน 16 โครงการ มูลค่าทั้งสิ้น 10,427 ล้านบาท หรือประมาณ 2,085 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 9 เท่า โดยมีบริษัทใหญ่ๆ อาทิ หมิ่นสือ ซึ่งเป็นบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ บริษัท มีเดีย ซึ่งผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า บริษัท ตงหยุ่น ซึ่งเป็นบริษัทผลิต printing rollers plates และเชิญชวนให้นักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น เนื่องจากบีโอไอประกาศให้ปี 2551 -2552 เป็นปีแห่งการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม 2552 นี้ ซึ่งจะเป็นโอกาสที่ดีที่นักลงทุนจะขอใช้สิทธิประโยชน์ดังกล่าว

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายเพิ่มสำนักงานเศรษฐกิจการลงทุนในจีนเพิ่มอีก 1 แห่ง ที่คุนหมิง หลังจากที่เปิดสำนักงานมา 3 แห่ง ที่เซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง และกวางโจว

สำหรับความร่วมมือระหว่างมณฑลกวางตุ้งกับประเทศไทย ในปี 2551 ยอดการนำเข้าและส่งออกของมณฑลกวางตุ้งกับไทย มีมูลค่า 13,190 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 1 ใน 5 ของยอดการค้าระหว่างประเทศจีนกับไทย ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.2 เมื่อเทียบกับปี 2550 สูงกว่าอัตราการเติบโตของการค้านำเข้าและส่งออกมณฑลกวางตุ้งทั้งหมดร้อยละ 10.4 และธุรกิจไทยไปลงทุนในมณฑลกวางตุ้งโดยตรง มูลค่า 547 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็น 1 ใน 6 ของการลงทุนทั้งหมดในประเทศจีนของไทย ส่วนการลงทุนโดยตรงนอกภาคการเงินของกวางตุ้งในประเทศไทย คิดเป็น 166 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นร้อยละ 41.3 ของการลงทุนในประเทศไทยของจีน เช่น กลุ่ม TCL และบริษัท จงฟู่จูไห่ เป็นต้น

นายหลิว จิ่น ถง รองประธานหอการค้าไทย–จีน กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่างมณฑลกวางตุ้งกับประเทศไทยมีโอกาสทางธุรกิจมากมาย ประเทศไทยเป็นกลุ่มเศรษฐกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ ได้แก่ เกลือโปแตซ ดีบุก ประมง และป่าไม้ เศรษฐกิจการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นเอกลักษณ์ของไทย และยังมีศักยภาพอีกมาก ขณะที่มณฑลกวางตุ้งเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของจีนและของโลก สินค้าแบรนด์เนมจำนวนมากได้รับการยอมรับจากสังคมโลก เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า อุตสาหกรรมเบา และอุตสาหกรรมสิ่งทอ

ขณะนี้กวางตุ้งกำลังดำเนินการแผนพัฒนาและปฏิรูปเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงเป็นเขตสาธิตรูปแบบการพัฒนาตามหลักวิทยาศาสตร์ของจีน เป็นเขตนำร่องในการปฏิรูปเชิงลึกและเป็นหน้าต่างสำคัญที่เปิดสู่โลกของจีน

ด้านนายหวาง หยาง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์มณฑลกวางตุ้ง กล่าวว่า กวางตุ้งจะเสริมสร้างความร่วมมือของไทยใน 6 ด้าน คือ 1.สนับสนุนให้วิสาหกิจของกวางตุ้งให้มาลงทุนในประเทศไทย 2. เพิ่มการนำเข้าสินค้าจากไทยให้มากขึ้น โดยเฉพาะสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ผลไม้ 3.ส่งเสริมนักท่องเที่ยวกวางตุ้งมาเที่ยวไทย 4.ส่งเสริมให้นักธุรกิจไทยไปลงทุนด้านท่องเที่ยวในกวางตุ้ง 5. สร้างความสัมพันธ์บ้านพี่เมืองน้อง ระหว่างกวางโจวกับกรุงเทพฯ และเรียนรู้ประสบการณ์ในการจัดงานกีฬาเอเชียนเกมส์จากกรุงเทพฯ เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐบาล
manager online
***********
07/11/52
เอกชนฟันธงเศรษฐกิจปีหน้าฟื้นตัว
ภาคเอกชนประสานเสียงศก.ปีหน้าฟื้นแต่ห่วงปัญหาการเมือง-มาบตาพุด

ตัวแทนภาคเอกชน 3 สถาบัน ประกอบด้วย สมาคมธนาคารไทย หอการค้าไทย และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท) ประสานเสียงเศรษฐกิจไทยปีนี้ฟื้นตัวแน่ แต่ต้องเผชิญกับปัจจัยเสียงสำคัญ 3 เรื่อง คือ สถานการณ์ทางการเมืองภายในประเทศ การชะลอโครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด และความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

นายดุสิต นนทะนาคร ประธานหอการค้าไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยเริ่มมีสัญญาณฟื้นตัวอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ต่อเนื่องไปยังปีหน้าในลักษณะค่อยเป็นค่อยไป แต่ภาคเอกชนยังเป็นห่วงปัจจัยลบจากการเมืองมากที่สุด เพราะอาจทำให้การดำเนินนโยบายของรัฐบาลไม่ต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นภาคเอกชน

"มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็งมีส่วนสำคัญต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจในปีหน้า หากลงทุนได้ตามแผนก็จะทำให้เศรษฐกิจไทยในครึ่งหลังของปีหน้าขยายตัวอย่างต่อเนื่อง" นายดุสิต กล่าวในงานสัมมนา Thailand Lecture

ประธานหอการค้าไทย กล่าวว่า รัฐบาลควรปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพื่อรองรับกับแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจให้มีความสอดคล้องกับการพัฒนาประเทศในแถบภูมิภาคอาเซียนที่มีกรอบระยะเวลาในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยควรเน้นนโยบายลดภาระต้นทุนให้กับผู้ประกอบการภาคเอกชน เพื่อจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนภายในประเทศเพิ่มขึ้น และต้องหามาตรการรองรับราคาน้ำมันที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในปีหน้า แตะระดับ 90-100 ดอลลาร์/บาร์เรล อีกทั้งต้องเร่งพัฒนาบุคคลาการให้มีประสิทธิภาพให้เพิ่มขึ้น เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเดินทางเข้ามา

ขณะที่นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ ประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยเริ่มกลับมาขยายตัวแดนบวกในช่วงไตรมาส 4 ปีนี้ โดยดูได้จากดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจหลายตัวที่ปรับดีขึ้น ทั้งกำลังการผลิต ยอดคำสั่งซื้อสินค้า การบริโภค และการส่งออก ขณะที่การขอสินเชื่อใหม่เริ่มกลับมาเป็นบวกตั้งแต่ไตรมาส 3 ที่ผ่านมา

โดยปีหน้าคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 3% ทำให้อัตราเงินเฟ้อปรับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปีหน้ามาอยู่ที่ 3% ซึ่งอาจส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้ในช่วงไตรมาส 1-2 และปรับเฉลี่ยทั้งปี 0.75-1.0% ขณะที่การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์น่าจะมีการขยายตัวที่ระดับ 6-7% จากปัจจุบันที่มีอยู่ราว 1 ล้านล้านบาท

ด้านนายสันติ วิลาศศักดานนท์ ประธาน สอ.ท. กล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจโลก ราคาน้ำมันที่ผันผวน และค่าเงินบาทที่แข็งค่าจะเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการขยายตัวเศรษฐกิจในปีหน้า ขณะที่ปัญหาการชะลอโครงการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดน่าจะมีความชัดเจนในเดือน ธ.ค.ปีหน้า ขณะที่ยอดคำสั่งซื้อเริ่มมีกลับมามากขึ้น แม้ว่าจะยังไม่ยาวนานนัก เมื่อเทียบกับช่วงก่อนเกิดวิกฤติ

ส่วนนายคณิต แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปี 53 จะเริ่มฟื้นตัว โดยจีดีพีจะขยายตัวเป็นบวกอยู่ที่ประมาณ 3% เนื่องจากเศรษฐกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในปีนี้ แต่ทั้งนี้ปัญหาที่อาจส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจนั้น ได้แก่ ความเชื่อมั่นของประชาชนที่อาจถูกกระทบจากความขัดแย้งทางการเมือง ความไม่ชัดเจนถึงแนวทางในการแก้ปัญหาของรัฐบาลในประเด็นมาบตาพุด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อจีดีพีประมาณ 0.5%

อย่างไรก็ตาม แนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกยังเป็นประเด็นที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด ซึ่งรัฐบาลควรจัดสรรงบประมาณในส่วนของ พ.ร.บ.เงินกู้ 4 แสนล้านบาท เพื่อนำมาใช้ปรับโครงสร้างเศรษฐกิจในอนาคต หลังจากรัฐบาลได้ใช้งบประมาณจาก พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้านบาทไปกระตุ้นเศรษฐกิจบ้างแล้ว
posttoday
************
05/11/52
พาณิชย์ชี้ความตกลงอาเซียน-ญี่ปุ่น ดันส่งออกไทยปี53เพิ่ม10%
พาณิชย์ระบุความตกลงอาเซียน-ญี่ปุ่น(AJCEP) ช่วยผู้ส่งออกไทยรุกตลาดญี่ปุ่น มั่นใจปี 53 มูลค่าส่งออกขยายตัวไม่ต่ำกว่า10%
เชียงใหม่ -นางอัญชนา วิทยาธรรมธัช รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยหลังงานสัมนาเรื่องการแข่งขันส่งออกได้ด้วยสิทธิ : อาเซียน-ญี่ปุ่น และเกาหลี จัดโดยกรมการค้าต่างประเทศ วันนี้ (5 พ.ย.) ที่โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ ว่า ความตกลงอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) เริ่มมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. 2552 ถือเป็นแต้มต่ออีกช่องทางหนึ่งทำให้ผู้ส่งออกไทยได้เลือกใช้สิทธิประโยชน์ในการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่น จากเดิมที่ประเทศไทยได้ประโยชน์จากความตกลงเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) โดยญี่ปุ่นได้เปิดตลาดให้กับสินค้าไทยภายใต้ความตกลงอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) เพิ่มขึ้นจำนวน 70 รายการ ทั้งผลิตภัณฑ์จากปลา กล้วย อาหารแปรรูป ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ไม้อัด ไม้แปรรูป ฯลฯ

ทั้งนี้ ความตกลงดังกล่าวยังได้ผ่อนปรนกฎแหล่งกำเนิดสินค้าให้ยืดหยุ่นกว่าความตกลงเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) โดยอนุญาตให้นำวัตถุดิบที่ได้แหล่งกำเนิดจากประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ และญี่ปุ่น มาสะสมได้กับทุกสินค้า จากเดิมต้องใช้วัตถุดิบจากไทยและญี่ปุ่นเท่านั้น ทั้งนี้ ในปี 2551 ประเทศไทยและญี่ปุ่นมีมูลค่าการค้าระหว่างกันสูงถึง 53,850.81 ล้านเหรียญสหรัฐ มีอัตราขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.59 เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 ที่มีมูลค่าการค้า 50,053.30 ล้านเหรีญญสหรัฐ

โดยประเทศไทยส่งออกไปญี่ปุ่นมูลค่า 20,085.12 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะเดียวกันประเทศไทยนำเข้าคิดเป็นมูลค่า 33,765.69 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่งผลให้ประเทศไทยขาดดุลการค้ากว่า 13,680.57 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ คาดว่าความตกลงอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) จะกระตุ้นมูลค่าการค้าและการส่งออกระหว่างไทยกับญี่ปุ่นให้ขยายตัวปี2553ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

นอกจากนี้ ประเทศไทยยังได้เข้าร่วมความตกลงอาเซียน-เกาหลี ซึ่งมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 2552 โดยลด เลิกภาษีนำเข้าอละอุปสรรคทางการค้าต่างๆ นับเป็นโอกาสที่จะช่วยขยายสินค้าระหว่างไทยกับเกาหลีให้มายิ่งขึ้น โดยเมื่อปีที่ผ่านมา การค้าระหว่างไทย-เกาหลี มีมูลค่ากว่า 10,567.55 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งภายหลังการทำความตกลงแฃ้วในปี 2553 สินค้าส่งออกจากไทยกว่า 90% จะได้รับสิทธิพิเศษจากการที่เกาหลีลดภาษีนำเข้าเหลือศูนย์

ทั้งนี้ เชื่อว่าสินค้าประเทศอัญมณี เครื่องประดับ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ยางรถยนต์ มอเตอร์ไฟฟ้า กากน้ำตาล ปลาแช่แข็ง แผ่นชิ้นไม้อัด รองเท้ากีฬา ฯลฯ จะได้รับประโยชน์จากการเปิดตลาดเสรีของประเทศเกาหลีได้เป็นอย่างมาก

กรุงเทพธุรกิจ
***********
05/11/52
ไทยพาณิชย์ชี้ระงับโครงการมาบตาพุดส่งผลเสียศก.ระยะยาว
SCB EIC ประเมินกรณีศาลปกครองกลางมีคำสั่งระงับโครงการในนิคมอุตสาหกรรม เขตมาบตาพุดจำนวน 76 โครงการ ส่งผลเสียอย่างมากต่อเศรษฐกิจไทยในระยะยาว
กรณีศาลปกครองกลางมีคำสั่งให้หน่วยงานของรัฐระงับโครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดจำนวน 76 โครงการ เป็นปัญหาจากการที่กฎหมายเก่าตามไม่ทันรัฐธรรมนูญใหม่ เนื่องจากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 มาตรา 67 ได้กำหนดให้โครงการที่มีผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงจะต้องผ่านการพิจารณาอย่างรอบคอบ โดยจะต้องมีการศึกษาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment หรือ EIA) การศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน (Health Impact Assessment หรือ HIA) ต้องมีการรับฟังความเห็นประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย และต้องให้องค์กรอิสระด้านสิ่งแวดล้อมให้ความเห็นประกอบก่อนจะมีการดำเนินโครงการได้

แต่ทว่าตั้งแต่รัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 24 ส.ค. 2550 ยังไม่มีกฎหมายลูกออกมารองรับมาตรา 67 อย่างครบถ้วน จึงมีโครงการลงทุนจำนวนหนึ่งได้รับอนุญาตให้เริ่มดำเนินโครงการได้ โดยมีเพียงผลการศึกษา EIA ประกอบเท่านั้น

การที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งระงับโครงการในเขตมาบตาพุดจึงก่อให้เกิดความกังวลถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทยที่มีความเปราะบาง ทั้งนี้ SCB EIC ได้จำแนกผลกระทบในกรณีนี้ออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ผลกระทบจากโครงการที่เกี่ยวข้องโดยตรง ผลกระทบจากอุตสาหกรรมที่คล้ายคลึงกับโครงการที่ถูกระงับ และสุดท้ายเป็นผลกระทบจากความเสียหายของบรรยากาศการลงทุนโดยรวมซึ่งเป็นผลกระทบที่เกี่ยวเนื่องกันเป็นระลอก (ripple effect) ในระยะยาวที่ยากแก่การประเมินและอาจส่งผลรุนแรง

โดยมีตัวอย่างของกรณีที่มีความอ่อนไหวในอดีตที่มีผลในระยะยาวต่างกัน เช่น เมื่อปี 2550 กรณีการแก้ไข พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 นั้น ทำให้เกิดความกังวลอย่างมากและส่งผลต่อดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ในช่วงสั้น ๆ แต่ในที่สุดก็กลับมิได้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศมากนัก ต่างกับอีกกรณีหนึ่งคือการปิดสนามบินสุวรรณภูมิเมื่อปลายปี 2551 ที่ในวันเดียวกันนั้นดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้แสดงสัญญาณถึงการได้รับผลกระทบ ทว่าผลกระทบจากการปิดสนามบินยังมีอยู่ต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน คือทำให้ธุรกิจท่องเที่ยวทรุดตัวลงอย่างรุนแรงอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ทั้งนี้ ในกรณีของมาบตาพุดนั้น แม้ว่าจะยังไม่อาจคาดเดาผลสืบเนื่องที่จะเกิดขึ้นได้ว่าจะเป็นไปในรูปแบบใด และการที่ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ ไม่หวั่นไหวต่อคำสั่งที่ปรากฏออกมาในวันที่มีคำสั่งระงับ ก็ไม่อาจชี้ได้ว่าผลสืบเนื่องในอนาคตของกรณีนี้จะมีน้อย (ดังเช่นกรณี พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว) หรือมาก (ดังเช่นกรณีการปิดสนามบิน) อย่างไรก็ตามความไม่แน่นอนนี้ได้ส่งผลเสียต่อบรรยากาศการลงทุนโดยรวมแล้ว ซึ่งคงทำให้เกิดผลกระทบต่อเนื่องในระยะยาวอย่างมาก

ในแง่ของผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยนั้น เนื่องจากทั้ง 76 โครงการ ยังมิได้มีการดำเนินงานเต็มรูปแบบ ดังนั้นผลผลิตของโครงการจึงยังไม่ถูกนับรวมในสถิติผลิตภัณฑ์มวลรวมของอุตสาหกรรมนั้นๆ แต่จากการประเมินของ SCB EIC เห็นว่าในจำนวน 76 โครงการนี้ มีเพียง 11 โครงการ (คิดเป็น 20% ของการลงทุนรวม) ที่น่าจะได้รับอนุญาตให้ดำเนินการต่อ เนื่องจากมีผล EIA ก่อนวันที่รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ ส่วนอีก 65 โครงการมีโอกาสถูกสั่งระงับต่อ ซึ่งคิดเป็นมูลค่าการลงทุนรวม 2.3 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้บางโครงการยังไม่มีผลการศึกษา EIA เลย ส่วนบางโครงการมีผลการศึกษา EIA แล้ว แต่เกิดขึ้นหลังจากที่รัฐธรรมนูญปี พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ แต่เป็นช่วงที่ยังไม่มีกฎหมายลูกมารองรับ

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าเป็นกังวลคือ ในอนาคตอาจมีการฟ้องร้องในลักษณะเดียวกันกับโครงการในนิคมอุตสาหกรรมแห่งอื่น ๆ ด้วย ซึ่ง SCB EIC ประเมินว่าผลกระทบโดยตรงต่อ GDP ในระยะสั้นจะมีไม่มาก เนื่องจากอุตสาหกรรมที่คล้ายคลึงกับ 65 โครงการนั้นอยู่ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ น้ำมัน ก๊าซ การกลั่น และโลหะ ซึ่งอุตสาหกรรมเหล่านี้แม้จะมีมูลค่าเกือบ 7% ของ GDP แต่มีการจ้างงานเพียง 0.5% ของการจ้างงานรวม อีกทั้งยังมีสัดส่วนการนำเข้าวัตถุดิบที่สูง ผลสุทธิที่จะเกิดกับเศรษฐกิจและบัญชีเดินสะพัดจึงมีกรอบที่จำกัด อย่างไรก็ดี ความสำคัญของอุตสาหกรรมเหล่านี้อยู่ที่ความเกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ทั้งต้นน้ำและปลายน้ำ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์พื้นฐาน และเหล็ก

SCB EIC เห็นว่าผลกระทบจากกรณีมาบตาพุดในระยะยาวเกี่ยวกับความเชื่อมั่น การลงทุน และผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมเป็นประเด็นที่น่าจับตามองมากกว่าผลกระทบในระยะสั้น เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยต้องอาศัยการลงทุนที่ต่อเนื่อง ในขณะที่ปัจจุบันนี้ก็นับว่าไทยมีปัญหาในเรื่องของการลงทุนอยู่แล้ว เพราะนอกจากจะเติบโตช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคแล้ว ยังมีระดับการลงทุนที่ต่ำเมื่อเทียบกับในอดีตด้วย ซึ่งมูลค่าการลงทุนที่แท้จริงในขณะนี้ยังคงต่ำกว่าระดับที่ถือว่าต่ำอยู่แล้วในปี 2536 ทั้งนี้ การดำเนินการในระยะต่อไปจะขึ้นอยู่กับภาครัฐและกระบวนการทางกฎหมายว่าจะชัดเจน และอำนวยให้โครงการต่าง ๆ สามารถดำเนินไปได้มากน้อยเพียงใด
กรุงเทพธุรกิจ
**********
04/11/52
ธ.โลกคาดศก.ไทยปีนี้ติดลบ2.7% ปีหน้าขยายตัว3.5%
ธ.โลกประมาณการเศรษฐกิจไทย คาดปีนี้ติดลบ 2.7% และปีหน้าโตได้ 3.5% ระบุมีสัญญาณฟื้นตัวแต่ยังผันผวนใน 3-5 ปีข้างหน้า
นายเฟรดเดอริโก้ เกล แซนเดอร์ นักเศรษฐศาสตร์ธนาคารโลกประจำประเทศไทย แถลงว่าขณะนี้มีสัญญาณที่เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวดีขึ้น โดยปีนี้จะติดลบ 2.7% และปี 2553 จะเติบโต 3.5%

แต่ในระยะกลาง 3-5 ปี ยังต้องเผชิญกับปัจจัยเสี่ยงอีกมาก โอกาสที่จะกลับมาเติบโตในอนาคตอันใกล้ยังไม่ชัดเจน เพราะสถานการณ์ทั้งภายในและภายนอกยังผันผวน

คาดว่าว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2553-2556 จะขยายตัวในระดับต่ำไม่ถึง 5%
กรุงเทพธุรกิจ*************
02/11/52
นายกฯคาดจีดีพีปี53 โต 3%รับ ศก.พ้นจุดต่ำสุด
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)ของประเทศไทยในปี53 จะขยายตัว 3% เนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจไทยผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว หลังภาวะการจ้างงาน การส่งออกและการท่องเที่ยวดีขึ้น
'ปัญหาการว่างงานช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาไม่เพิ่มขึ้น และยังมีแนวโน้มลดลง สะท้อนให้เห็นว่าเศรษฐกิจได้ผ่านจุดต่ำสุดและเริ่มฟื้นตัวขึ้น'
สำหรับด้านส่งออก เมื่อเทียบเดือนต่อเดือนจะเริ่มดีขึ้นโดยลำดับ ส่วนด้านการท่องเที่ยวหลังจากที่ติดลบเป็นตัวเลขสองหลักมาเกือบทุกเดือนในปีนี้ แต่ในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ติดลบเพียง 5% และเดือนกันยายน ตัวเลขนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศไทยเพิ่มขึ้น 16% เนื่องจากขณะนี้เศรษฐกิจในต่างประเทศค่อนข้างฟื้นตัวแล้ว
**********
29/10/52
กระทรวงพาณิชย์คาดส่งออกปีนี้ติดลบเพียง 13%

Posted on Thursday, October 29, 2009
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า การส่งออกของไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวขึ้นในไตรมาส 4/52 โดยจะสามารถเติบโตได้ราว 3-5% จากที่ติดลบมาตลอด 3 ไตรมาสแรกของปี และทั้งปีคาดว่าการส่งออกจะติดลบเพียง 13 % ถือว่าดีกว่าที่หลายหน่วยงานประเมินว่าจะติดลบ 20-25%

ส่วนในปีหน้า กระทรวงพาณิชย์ตั้งเป้าว่าการส่งออกจะเติบโตในกรอบ 10-15% แม้ไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ก็มีโอกาสทำได้ เนื่องจากกระทรวงพาณิชย์จะปรับพันธกิจของแต่ละหน่วยงาน รวมถึงบูรณาการการทำงานภายในกระทรวงมากขึ้น ประกอบเศรษฐกิจของตลาดหลักส่งออกของไทยเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น

สำหรับกลยุทธ์การส่งออกในปีหน้า จะเน้นมาตรการในการพัฒนานวัตกรรมสินค้า ทั้งการสร้างตรายี่ห้อ การออกแบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มและทำรายได้มากขึ้น โดยได้แบ่งกลุ่มสินค้าไว้ 4 กลุ่มหลัก คือ กลุ่มสินค้าที่ทำรายได้สูงสุด 10 อันดับ ได้แก่ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และชิ้นส่วน อาหาร อัญมณี-เครื่องประดับ วัสดุก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอ ข้าว และผลิตภัณฑ์ยาง

ส่วนกลุ่มที่สอง คือสินค้าที่เป็นเอกลักษณ์ไทย เช่น ข้าว อาหาร ผ้าไหม สปา และกล้วยไม้ และกลุ่มที่สาม คือ สินค้าที่มีอนาคต เช่น เครื่องสำอาง สบู่ สิ่งพิมพ์ และผลิตภัณฑ์เภสัช กลุ่มสุดท้ายคือสินค้าจากผู้ประกอบการ SMEs และโอท็อป
money news update
**********
29/10/52
ธปท.ปรับเป้าจีดีพีปี52
ธปท.คาดGDPปี52ติดลบ2.5ถึง3.5เงินเฟ้อ0.5-1.5ส่งออก13.5ถึง-16.5

วันนี้(29ต.ค.) ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดแผยรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือน ต.ค.52 โดยปรับคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 52 ขึ้นมาเป็น -3.5% ถึง -2.5% จากเดิมที่คาดว่าจะหดตัวถึง -4.5% ถึง -3.5% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2/52 และ ไตรมาส 3/52 เห็นชัดเจนว่าพ้นจากภาวะถดถอยและเข้าสู่การฟื้นตัวแล้ว

ทั้งนี้ ผลผลิตมวลรวมในประเทศ(GDP)ในไตรมาส 3/52 ฟื้นตัวขึ้นจากไตรมาส 2/52 ราว 2.1-2.6% แต่ยังหดตัวเมื่อเทียบไตรมาสเดียวกันของปีก่อนราว -3.5% ถึง -3%

ส่วนในปี 53 คาดว่าจีดีพีจะขยายตัวเป็นบวกราว 3.3-3.5% จากเดิม 3.0-5.0% โดยมีปัจจัยเสี่ยงเรื่องการลงทุนในมาบตาพุดที่ต้องชะงักลงตามคำสั่งของศาลปกครอง ซึ่งประเมินว่าหากล่าช้าออกไปมากก็จะทำให้รายได้สุทธิและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวน้อยกว่าที่คาดไว้ รวมทั้งกระทบกับการจ้างงาน ส่งผลไปถึง GDP ขยายตัวน้อยกว่าที่ควร
posttoday
***********
28/10/52
S&P มองเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง – แบงก์มั่นคง

Posted on Wednesday, October 28, 2009
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอกว่า สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือแสตนดาร์ดแอนด์พัวร์ส (S&P) ได้เข้าพบ เพื่อทบทวนและปรับมุมมองทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โดย S&P มองว่า ภาพรวมของเศรษฐกิจไทยยังคงมีความแข็งแกร่งและระบบธนาคารไทยมีความมั่งคงมากขึ้น แต่ยังคงเป็นห่วงปัจจัยการเมืองที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อเศรษฐกิจไทย ดังนั้น S&P จึงยังไม่ได้ปรับเครดิตเศรษฐกิจไทยเพิ่มขึ้น

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังยังบอกถึงนกรณีที่ศาลประเทศแคนาดาจะส่งตัวนายราเกซ สักเสนา อดีตที่ปรึกษากรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพพาณิชยการ (BBC) ผู้ต้องหาคดีร่วมยักยอกทรัพย์ของธนาคารกว่า 2 พันล้านบาท กลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย ในวันที่ 30 ตุลาคมนี้ ว่า รัฐบาลไทยจะดำเนินคดีตามกฎหมายอยู่แล้ว ซึ่งคดีดังกล่าวถือเป็นบทเรียนสำคัญของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน แต่ตลอดช่วงเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมา แบงก์ชาติได้พัฒนาหลากหลายแนวทางในการกำกับดูแล เพื่อป้องกันไม่ให้สถาบันการเงินไทยเกิดปัญหาในลักษณะนี้อีก เห็นได้จากความมั่นคงของของระบบสถาบันการเงินในประเทศไทยในปัจจุบัน
money news update
*********
27/10/52
คลัง เผย ดัชนีเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวเด่นชัดขึ้น

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนกันยายน 2552 และไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 ว่า ตัวเลขเศรษฐกิจแสดงถึงการฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชน การลงทุนภาคเอกชน และการส่งออก ที่ต่างหดตัวลดลง ขณะที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการจากการท่องเที่ยวกลับมาขยายตัวเป็นบวก แสดงให้เห็นถึงทิศทางเชิงบวกของเศรษฐกิจไทย นอกจากนั้น อัตราการว่างงานที่กลับมาอยู่ในภาวะปกติที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงาน ก็สะท้อนถึงเสถียรภาพเศรษฐกิจอยู่ในระดับแข็งแกร่งมากขึ้น ขณะที่ทุนสำรองระหว่างประเทศที่กว่า 1 แสน 3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ นั้นอยู่ในระดับสูง

“ปัจจัยส่วนหนึ่งที่มีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย คือนโยบายการคลังแบบขาดดุล ที่เน้นบทบาทการใช้จ่ายของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่การลงทุนและการบริโภคในภาคเอกชนยังอยู่ในระดับต่ำ โดยการขยายตัวการใช้จ่ายของรัฐบาลในไตรมาส 3 ขยายตัวที่ร้อยละ 21.7 โดยเฉพาะอย่างยิ่ง รายจ่ายลงทุนที่ขยายตัวร้อยละ 50.9” นายเอกนิติ กล่าว

นายเอกนิติ กล่าวต่อีกว่า การบริโภคภาคเอกชนในเดือนกันยายนและไตรมาสที่ 3 ปี 2552 มีการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง สะท้อนจากเครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในเดือนกันยายน หดตัวลดลงที่ร้อยละ -9.6 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -15.2 ต่อปี ส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ในไตรมาสที่ 3 ปี 2552 หดตัวที่ร้อยละ -13.7 ต่อปี ดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -15.5 ต่อปี ขณะที่เครื่องชี้การบริโภคภาคเอกชนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวกลับมาเป็นบวกเป็นครั้งแรกที่ร้อยละ 14.7 ต่อปี ทำให้ปริมาณจำหน่ายรถยนต์นั่งในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี สะท้อนถึงการบริโภคสินค้าคงทนในประเทศเริ่มปรับตัวดีขึ้น สำหรับปริมาณการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนกันยายน 2552 หดตัวที่ร้อยละ -4.2 ต่อปี ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -10.2 ต่อปี ทำให้ทั้งไตรมาสหดตัวที่ร้อยละ -10.1 ต่อปี ชะลอลงมากจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -18.6 ต่อปี ด้านดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจโดยรวมในเดือนกันยายน 2552 อยู่ที่ระดับ 68.4 จุด ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4 เดือนติดต่อกัน สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่มีต่อเศรษฐกิจไทยที่เพิ่มขึ้น โดยได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของการบริโภคภาคเอกชนในภูมิภาคยังคงมีความเปราะบาง สะท้อนจากปริมาณการจำหน่ายรถจักรยานยนต์หดตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ -12.9 ต่อปี ในไตรมาสที่ 3 เนื่องจากรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวลดลง ตามราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงหดตัวต่อเนื่อง

2. การลงทุนภาคเอกชนในเดือนกันยายนและไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 มีสัญญาณของการฟื้นตัวเช่นกัน โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักรที่วัดจากปริมาณการนำเข้าสินค้าทุน ในเดือนกันยายนที่หดตัวลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน ส่งผลให้ปริมาณการนำเข้าสินค้าทุนในไตรมาสที่ 3 หดตัวเหลือร้อยละ -12.4 ต่อปี ลดลงจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวถึงร้อยละ -21.9 ต่อปี สอดคล้องกับปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ในไตรมาสที่ 3 ที่หดตัวลดลงเหลือร้อยละ -6.6 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากก่อนหน้าไตรมาสที่หดตัวร้อยละ -30.2 ต่อปี สำหรับเครื่องชี้การลงทุนภาคเอกชนในหมวดการก่อสร้างที่วัดจากภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมในไตรมาส 3 หดตัวในอัตราที่ชะลอลงที่ร้อยละ -6.6 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นมากจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -34.1 ต่อปี บ่งชี้ถึง การลงทุนในหมวดก่อสร้างที่ปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวเช่นกัน

3. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการคลังในเดือนกันยายนและไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 พบว่า นโยบายการคลังมีส่วนช่วยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยอย่างต่อเนื่อง โดยรายจ่ายรัฐบาลประจำเดือนกันยายน เท่ากับ 196.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 31.4 ต่อปี ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 3 รัฐบาลสามารถเบิกจ่ายงบประมาณรวมทั้งสิ้น 503.2 พันล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 21.7 ต่อปี โดยเป็นการเบิกจ่ายของรายจ่ายประจำจำนวน 407.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9 ต่อปี ขณะที่รายจ่ายลงทุนสามารถเบิกจ่ายได้จำนวน 74.7 พันล้านบาท ขยายตัวที่ร้อยละ 50.9 ต่อปี ด้านรายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาล ในเดือนกันยายน 2552 จัดเก็บได้ 80.9 พันล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ -36.2 ต่อปี เนื่องจากปัจจัยฐานสูงของช่วงเดียวกันของปีก่อน จากการเลื่อนนำส่งรายได้ภาษีนิติบุคคลเหลื่อมเดือนในเดือนกันยายน 2551 ส่วนในไตรมาสที่ 3 รายได้จัดเก็บสุทธิของรัฐบาลเท่ากับ 385.4 พันล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ -6.9 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากช่วงไตรมาสก่อนหน้า สะท้อนภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น

4. การส่งออกเริ่มมีสัญญาณของการปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องในเดือนกันยายนและไตรมาสที่ 3 ของปี 2552 โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐในเดือนกันยายน 2552 อยู่ที่ 14.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ร้อยละ -8.5 ต่อปี ทำให้ทั้งไตรมาสที่ 3 มูลค่าการส่งออกอยู่ที่ 41.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวชะลอลงที่ร้อยละ -17.7 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าที่ร้อยละ -26.2 ต่อปี บ่งชี้ว่าสัญญาณการฟื้นตัวของภาคการส่งออกเริ่มชัดเจนขึ้น สินค้าส่งออกที่ปรับตัวดีขึ้นได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรม เช่น อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์ยางและเคมีภัณฑ์ อันเป็นผลจากการฟื้นตัวของตลาดภูมิภาคและตลาดเกิดใหม่ เช่น จีน เวียดนาม ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐพบว่ามีการหดตัวต่ำลงเมื่อเทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมูลค่าการนำเข้าสินค้าในเดือนกันยายนอยู่ที่ 12.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -17.9 ต่อปี ส่งผลให้ทั้งไตรมาสที่ 3 มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 36.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หดตัวร้อยละ -28.0 ต่อปี ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสที่หดตัวร้อยละ -33.3 ต่อปี โดยการปรับตัวดีขึ้นของมูลค่านำเข้ามาจากปริมาณนำเข้าหดตัวลดลงที่ร้อยละ -24.6 ต่อปี และราคาสินค้านำเข้าหดตัวลดลงที่ร้อยละ -4.5 ต่อปี ในขณะที่เมื่อพิจารณาในรายสินค้าพบว่า มูลค่าการนำเข้าปรับตัวดีขึ้นในหมวดสินค้าเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป สินค้าอุปโภคบริโภค สอดคล้องกับการใช้จ่ายลงทุนและการบริโภคในประเทศที่ปรับตัวดีขึ้น ทั้งนี้ มูลค่านำเข้าที่หดตัวมากกว่ามูลค่าส่งออก ทำให้ดุลการค้าในเดือนกันยายนและไตรมาสที่ 3 เกินดุลต่อเนื่องที่ 2.0 และ 4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ

5. เครื่องชี้ภาวะเศรษฐกิจด้านการผลิตในเดือนกันยายนและไตรมาสที่ 3 ในปี 2552 พบว่า ภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการจากการท่องเที่ยวมีการปรับตัวดีขึ้น ขณะที่ภาคเกษตรยังมีสัญญาณชะลอตัวเล็กน้อย เครื่องชี้การผลิตภาคอุตสาหกรรมวัดจากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมในเดือนกันยายน สามารถขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 1.0 ต่อปี ทำให้ทั้งไตรมาสที่ 3 ปรับตัวดีขึ้นที่ร้อยละ -5.5 ต่อปี ทั้งนี้ ภาคอุตสาหกรรมที่เริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจนได้แก่ กลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องอิเล็กทรอนิกส์ เฟอร์นิเจอร์และเครื่องประดับ เคมีภัณฑ์ และน้ำมันปิโตรเลียม เป็นต้น ส่วนเครื่องชี้ภาคบริการจากการท่องเที่ยวเริ่มปรับตัวดีขึ้น โดยจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทยในไตรมาสที่ 3 มีจำนวน 3.3 ล้านคน หดตัวที่ร้อยละ -2.8 ต่อปี ซึ่งเป็นการหดตัวที่ลดลงมากจากไตรมาสก่อนหน้าที่หดตัวร้อยละ -16.5 ต่อปี ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการเริ่มฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่ทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติโดยเฉพาะจากยุโรปและเอเชียเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่เครื่องชี้ภาคการเกษตรวัดจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรในเดือนกันยายน หดตัวที่ร้อยละ -5.1 ต่อปี จากที่เคยหดตัวที่ร้อยละ -0.6 ต่อปีในเดือนก่อนหน้า ส่งผลให้ไตรมาสที่ 3 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร หดตัวร้อยละ -2.8 ต่อปี ตามการลดลงของผลผลิตสำคัญโดยเฉพาะข้าวนาปี ยางพารา และมันสำปะหลัง เนื่องจากฝนตกชุกหนาแน่น เป็นอุปสรรคต่อการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวผลผลิต ขณะที่ผลผลิตมันสำปะหลังลดลง เนื่องจากมีผลผลิตออกมามากในช่วงต้นปี ประกอบกับราคามันสำปะหลังที่ทรงตัวในระดับต่ำ ไม่จูงใจให้เกษตรกรทำการเก็บเกี่ยวมากนัก สอดคล้องกับราคาสินค้าเกษตรที่หดตัวต่อเนื่องในไตรมาสที่ 3 ที่ ร้อยละ -16.2 ต่อปี ทำให้รายได้ของเกษตรกรที่แท้จริงหดตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ -18.3 ต่อปี

6. เสถียรภาพเศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง โดยอัตราการว่างงานในเดือนสิงหาคม 2552 อยู่ที่ร้อยละ 1.2 ของกำลังแรงงานรวม ซึ่งเมื่อพิจารณาจากจำนวนคนว่างงานในเดือนสิงหาคมอยู่ที่ 4.5 แสนคน ลดลงจากเดือนก่อนหน้ามีจำนวน 4.8 แสนคน ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือนกันยายนเริ่มหดตัวน้อยลงมาอยู่ที่ร้อยละ -1.0 และ -0.1 ต่อปีตามลำดับ แต่ยังคงติดลบจากปัจจัยฐานราคาน้ำมันที่สูงในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า สำหรับสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2552 อยู่ที่ร้อยละ 45.7 ต่ำกว่ากรอบความยั่งยืนทางการคลังที่ตั้งไว้ไม่เกินร้อยละ 50 สำหรับเสถียรภาพภายนอกประเทศยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของวิกฤติการเงินโลก สะท้อนได้จากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ สิ้นเดือนกันยายนอยู่ในระดับสูงที่ 131.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นเกินกว่า 5 เท่า
stock wave
***********
27/10/52
คาดจีดีพี Q3/52 ติดลบ 3.5-4.0% กังวลการเมืองเดือนหน้าระอุ
คลัง คาดจีดีพี Q3/52 ติดลบ 3.5-4.0% ส่วนแนวโน้ม Q4/52 พลิกบวกได้ 3-4% พร้อมคาดตัวเลขรวมทั้งปี 52 หดตัวประมาณ 3% ส่วนปัจจัยการเมืองที่เกิดจากความเคลื่อนไหวของกลุ่มไข่แม้วแดง เดือนหน้า อาจจะมีผลกระทบทำให้การบริโภคและการลงทุนในประเทศฟื้นตัวช้าขึ้น หากประเมินในระยะกลาง อาจส่งผลต่อความต่อเนื่องของนโยบายรัฐบาลด้วย

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง คาดแนวโน้มอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (GDP) ของไทยในช่วงไตรมาส 3 ปี 2552 จะขยายตัวติดลบเฉลี่ย 3.5-4.0% และกลับมาขยายตัวเป็นบวก 3.0-4.0% ในช่วงไตรมาสสุดท้าย ส่งผลให้ตลอดทั้งปี 2552 ตัวเลข GDPของไทยจะขยายตัวติดลบประมาณ 3%

โฆษกกระทรวงการคลัง กล่าวว่า GDP ไตรมาส 3 ปี 2552 ปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาส 2 ปี 2552 ประมาณ 2% เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ปี 2552 ได้รับผลดีจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐ และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะประเทศแถบเอเชียและประเทศใหม่ๆ ได้แก่ จีน ออสเตรเลีย และ ฮ่องกง เป็นปัจจัยสนับสนุนสำคัญ

"ปัจจัยที่สนับสนุนให้ตัว้ลข GDP ในไตรมาส 3 ดีขึ้นจากไตรมาส 2 คือรายจ่ายรัฐบาลที่เร่งเบิกจ่ายในไตรมาส 3 ซึ่งเห็นได้ชัดเจน และอีกปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ การฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า"

พร้อมกันนี้ ยังคาดการณ์ว่า GDP ในไตรมาส 4 ปี 2552 จะฟื้นกลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ประมาณ 3-4% ภายใต้สมมติฐานจากราคาน้ำมันดิบดูไบในช่วงไตรมาส 4 ที่เฉลี่ยประมาณ 75 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ทำให้ในช่วงครึ่งปีหลัง GDP ขยายตัวเป็น 0% ส่งผลให้ทั้งปี 2552 ตัวเลข GDP จะยังติดลบประมาณ 3%

ส่วนสถานการณ์ทางการเมืองที่อาจจะกลับมาร้อนแรงอีกครั้งหากมีการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) หรือกลุ่มเสื้อแดง ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2552 นั้น นายเอกนิติ กล่าวว่า อาจจะมีผลกระทบทำให้การบริโภคและการลงทุนในประเทศฟื้นตัวช้าขึ้น หากมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางการเมืองเข้ามา ซึ่งในระยะกลางจะส่งผลต่อความต่อเนื่องของนโยบายรัฐบาลด้วย

อย่างไรก็ดี ตัวเลข GDP ตลอดทั้งปี 2552 ที่คาดว่าจะติดลบประมาณ 3% นั้น ยังไม่ได้ประเมินผลกระทบจากสถานการณ์ทางการเมืองรวมไว้ด้วย
manager online
*********
26/10/52
ฐานะการคลังปี 2552 ยังแข็งแกร่ง

Posted on Monday, October 26, 2009
นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) บอกว่า ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดเดือนกันยายน 2552 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณ จำนวน 21,112 ล้านบาท ส่งผลให้ปีงบประมาณ 2552 หรือช่วงเดือนตุลาคม 2551- เดือนกันยายน 2552 รัฐบาลขาดดุลงบประมาณจำนวน 505,404 ล้านบาท โดยมีรายได้อยู่ที่ 1,411,725 ล้านบาท แต่มีงบประมาณรายจ่าย จำนวน 1,917,129 ล้านบาท และเมื่อรวมกับดุลนอกงบประมาณที่เกินดุล 129,118 ล้านบาท ทำให้รัฐบาลขาดดุลเงินสดรวมทั้งสิ้น 376,286 ล้านบาท หรือคิดเป็น 4.3% ของ GDP

อย่างไรก็ตาม การที่รัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลเงินสดด้วยการออกพันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน และตั๋วเงินคลัง จำนวน 441,061 ล้านบาท ให้ปีงบประมาณ 2552 ทำให้รัฐบาลเกินดุลเงินสด จำนวน 64,775 ล้านบาท และเงินคงคลัง ในสิ้นปีงบประมาณ 2552 อยู่ที่ 293,853 ล้านบาท ซึ่งเป็นระดับที่มีความมั่นคงต่อฐานะการคลังของรัฐบาลอย่างมาก

ผู้อำนวยการสศค. บอกด้วยว่า เศรษฐกิจไทยที่ปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ช่วงครึ่งหลังของปีงบประมาณ 2552 ตอกย้ำว่า การดำเนินนโยบายขาดดุลของรัฐบาลในการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการใช้จ่ายของภาครัฐนั้น ถือได้ว่าเป็นมาตรการที่มีประสิทธิผลต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
money news update
**********
26/10/52
เอกชนมั่นใจส่งออกไตรมาส 4/52 ฟื้น

Posted on Monday, October 26, 2009
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บอกว่า สถานการณ์การส่งออกของไทยในไตรมาส 4/52 มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น และจะฟื้นตัวต่อเนื่องจนถึงในปี 2553 เนื่องจากตลาดหลักเริ่มปรับตัวดีขึ้น ทั้ง สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และยุโรป ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเตรียมความพร้อมเพื่อที่จะผลักดันการส่งออกต่อไป

ทั้งนี้ มั่นใจว่าการส่งออกในปี 2553 จะสามารถเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ทางกระทรวงพาณิชย์วางไว้ที่มูลค่าการส่งออกจะเติบโตจากปี 2552 ไม่ต่ำกว่า 10% ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากฐานมูลค่าการส่งออกในปี 2552 อยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับตลาดหลักที่ประเทศไทยทำการค้าขายเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น

นายดุสิตบอกอีกว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องปรับตัวและเตรียมความพร้อมเพื่อจะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนภายในปี 2558 ซึ่งมองว่าเป็นโอกาสที่ดี เนื่องจากจะส่งผลให้ตลาดเปิดกว้างมากยิ่งขึ้น เพราะในกลุ่มประชาคมอาเซียนมีประชากรอยู่ถึง 560 ล้านคน
money news update
***********
21/10/52
ครม.อนุมัติลงทุนไทยเข้มแข็งเพิ่มอีก 1.5 แสนล้านบาท

Posted on Wednesday, October 21, 2009
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง บอกว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติโครงการที่พร้อมจะลงทุนเพิ่มเติมอีก 1.5 แสนล้านบาท ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ซึ่งได้กำหนดวงเงินกู้เพื่อใช้ลงทุนรวม 3.5 แสนล้านบาท โดยคาดว่าจะเบิกจ่ายเม็ดเงินจำนวนนี้ได้ในปีหน้า

ทั้งนี้ วงเงินลงทุนดังกล่าว จะนำไปใช้ในโครงการเร่งด่วน ได้แก่ การประกันรายได้เกษตรกร 4 หมื่นล้านบาท จัดสรรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3.3 หมื่นล้านบาท โครงการด้านความมั่นคง 3 พันล้านบาท และสมทบกองทุนหมู่บ้านอีก 2 หมื่นล้านบาท เป็นต้น

ด้านนายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ อธิบดีกรมบัญชีกลาง บอกว่า ขณะนี้การเบิกจ่ายงบไทยเข้มแข็งเป็นที่น่าพอใจ โดยมีการเบิกจ่ายไปแล้ว 70 โครงการ ซึ่งรัฐบาลกำลังเร่งจ่ายเม็ดเงินลงสู่ระบบโดยเร็ว และการใช้จ่ายของรัฐบาลก็ต้องกู้เข้ามามาก จึงทำให้มีภาระหนี้และดอกเบี้ยเพิ่มมากขึ้น จึงอยากเสนอให้รัฐบาลเตรียมปรับโครงสร้างทางคลังอย่างจริงจังเพื่อให้เข้าสู่ภาวะสมดุล ตามที่ได้ตั้งเป้าไว้ในปี 2558
money news update
************
20/10/52
ส่งออกก.ย.ยังลบ เชื่อพ.ย.-ธ.ค.บวก
ส่งออกเดือนก.ย. ติดลบ 18% จากนำเข้าวัตถุดิบ ผลิตสินค้าน้อยลง แต่เดือนต.ค. คำสั่งซื้อฟื้น คาดเหลือ 2 เดือน เป็นบวก


พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล
แหล่งข่าวจากวงการผู้ส่งออก เปิดเผยว่า ตัวเลขส่งออกสินค้าไทยประจำเดือนก.ย. 2552 ที่กระทรวงพาณิชย์จะแถลงภายในสัปดาห์นี้ คาดว่ายังคงติดลบอีก 18% เทียบกับเดือนก.ย. ของปีก่อน โดยประเมินจากตัวเลขการนำเข้าสินค้าที่ลดลงต่อเนื่อง โดยเฉพาะวัตถุดิบ ที่นำมาผลิตสินค้าเพื่อส่งออก ซึ่งเดือนส.ค. ตัวเลขนำเข้าลดลง 32.58% จะมีผลต่อการส่งออกเดือนก.ย.นี้เช่นกัน
“การส่งออกเดือนก.ย. คาดว่าจะติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 ของปีนี้ แม้สถานการณ์ส่งออกจะเริ่มดีขึ้น จากคำสั่งซื้อของลูกค้า ที่มีมากขึ้น แต่เป็นออร์เดอร์ที่เข้า มาช่วงเดือนต.ค. เพื่อรับเทศกาล ปีใหม่ในช่วงปลายปี” แหล่งข่าว เปิดเผย

ด้านนายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า การส่งออกสินค้าไทยเดือนก.ย. มีแนวโน้มขยายตัวติดลบต่อเนื่อง โดยคาดว่าการส่งออกทั้งปีจะติดลบ 20% แม้ช่วงปลายปีตัวเลขส่งออกจะขยายตัวดีขึ้น โดยเฉพาะช่วงเดือนพ.ย.-ธ.ค. ที่น่าจะเป็นบวกเล็กน้อย

นอกจากนี้ ยังมีความเป็นไปได้ที่การส่งออกไทยจะต้องเผชิญกับอัตราแลกเปลี่ยนผันผวนไปตลอด เพราะแนวโน้มค่าเงินเหรียญของสหรัฐไม่สามารถกลับมาแข็งค่าได้ในระดับเดิม ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องเร่งปรับตัวรับมือ โดยเฉพาะกลุ่มส่งออกสินค้าเกษตรและกลุ่มที่ใช้วัตถุดิบในประเทศสูง

สำหรับตัวเลขการส่งออกสินค้าไทยเดือนส.ค. ปี 2552 มีมูลค่า 1.32 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเป็นมูลค่าการส่งออกที่สูงสุดในรอบ 8 เดือน แต่ขยายตัวลดลง 18.4% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 1.12 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 32.58% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ส่งผลให้เดือนส.ค. ดุลการค้าเกินดุล 2,079 ล้านเหรียญสหรัฐ
posttoday
**********
17/10/52
ประเมินส่งออก Q4 หืดจับ บาทแข็ง-กีดกันการค้า-สภาพคล่อง
ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดแข็งค่าขึ้นอยู่ในระดับ 33 บาท/เหรียญสหรัฐ และมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลกระทบกับการส่งออกของไทย ทั้งที่เดิมไทยคาดหวังว่าแนวโน้มการส่งออกจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 หลังจากการส่งออกของไทยในระยะ 8 เดือนแรก (ม.ค.-ส.ค.) ปี 2552 ลดลง 23.1% มีมูลค่า 94,396.2 ล้านเหรียญสหรัฐ

กระทรวงพาณิชย์จึงได้จัดประชุมร่วมกับภาคเอกชนกว่า 50 สมาคมที่เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตร สินค้า อุตสาหกรรมเกษตร สินค้าอาหาร สินค้าอุตสาหกรรมสำคัญ และธุรกิจบริการ เพื่อประเมินสถานการณ์การส่งออกและข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน

โดยอาจจะสรุปจากการประชุมพบว่าภาคเอกชนมีความกังวลใน 3 ประเด็นหลัก คือ 1) มาตรการทางการค้าที่ประเทศคู่ค้าจะนำมาปรับใช้ปกป้องอุตสาหกรรมภายในของแต่ละประเทศในช่วงภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ (protectionism) เช่น การใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อม แรงงาน สุขอนามัย และการเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด เป็นต้น 2) ความผันผวน และการปรับแข็งค่าของอัตราแลกเปลี่ยน 3) สภาพคล่องของผู้ประกอบการ

เอกชนแนะรัฐคุมค่าเงินบาทที่ 36 บาท



ด้าน นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย กล่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย รัฐบาลควรดูแลเสถียรภาพค่าเงินบาทให้อ่อนค่าลง 8-10% หรือหากทรงตัวอยู่ใกล้เคียง 36 บาท ซึ่งจะมีส่วนช่วยภาคการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารไทยที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่ให้แข่งขันได้

จากปัจจุบันอัตราแลกเปลี่ยนไทยปรับแข็งค่าขึ้น 8% ทั้งนี้ ปีหน้าคาดว่าสินค้า กลุ่มนี้ขยายตัวได้ 10% หากเป็นมูลค่าเหรียญสหรัฐ แต่ถ้าเป็นเงินบาทยังแข็งค่าอยู่ อัตราเติบโตในรูปเงินบาทอาจไม่ขยายตัวมากนัก

นอกจากนี้อยากให้รัฐบาลกำหนดมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมของไทยโดยเฉพาะเรื่องการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มาตรการอนุรักษ์น้ำ โดยไม่ต้องรอให้ประเทศอย่างสหรัฐ สหภาพยุโรปเป็นผู้กำหนด เพราะทิศทางการค้าปัจจุบันจะมีการนำมาตรการที่ไม่ใช่ภาษีมาเป็นข้อกำหนดทางการค้ามากขึ้น ซึ่งเริ่มส่งผลกระทบต่อเอกชนแล้ว เช่น การบินไทยต้องเสียค่าปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 800 ล้านบาทแล้ว

มาตรการกีดกันการค้าลามทั่วโลก

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ปัจจุบันมีเอกชนถูกฟ้องร้องเรียกเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) แล้วไม่ต่ำกว่า 100 คดี บางคดีต้องใช้เงินมากถึง 11 ล้านบาท โดยสินค้าที่เสี่ยงจะถูกฟ้องร้องเอดี ได้แก่ เหล็ก อาหาร พลาสติก กระจก ส่วนข้อเสนอ ของ ส.อ.ท.เพื่อดูแลการส่งออก ได้แก่ การดูแลต้นทุนสินค้าเพื่อให้แข่งขันได้ การดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพ รวมถึงการหาตลาดใหม่ที่เหมาะสมกับสินค้า แต่ละรายการ



สอดคล้องกับ นายเจน นำชัยศิริ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า อยากให้รัฐช่วยดูแลปัญหามาตรการกีดกันทางการค้าที่หลายประเทศนำมาใช้ในช่วง 1-2 ปีจากนี้ โดยเฉพาะการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) ซึ่งก่อนหน้านี้รัฐเคยมีกองทุนช่วยเหลือกรณีเอกชนถูกมาตรการเอดีจากประเทศคู่ค้าเฉลี่ยคดีละ 5 แสนบาท

แต่ปัจจุบันได้ยกเลิกไปทั้งที่สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศต้องเผชิญความเสี่ยงการถูกฟ้องร้องสูง โดยเฉพาะตลาดหลัก เช่น สหรัฐ สหภาพยุโรป จีน และอินเดีย ต่างมีการนำมาตรการทางการค้าใหม่มาใช้เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายใน โดยล่าสุดไทยถูกอินเดียฟ้องเก็บภาษีเอดี สินค้าใยสังเคราะห์แล้ว

"รัฐควรเข้ามาดูแล เพราะต้นทุนในการต่อสู้คดีแต่ละครั้งใช้เงินอย่างต่ำ 2 ล้านบาท ซึ่งเป็นภาระของธุรกิจขนาดกลางและเล็ก แต่บางบริษัทต้องแบกรับต้นทุนนี้ ทั้งที่ไม่ได้เป็นต้นเหตุการณ์ถูกฟ้องร้อง เรื่องนี้เอกชนเคยส่งหนังสือถึงกระทรวงพาณิชย์แล้ว แต่ได้รับความช่วยเหลือในเชิงว่ารัฐจะช่วยเขียนสำนวนฟ้องร้องให้เป็นประโยชน์กับฝ่ายไทย ซึ่งยังไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเท่าที่ควร" นายเจนกล่าว

แนะคลายเกณฑ์ปล่อยกู้สภาพคล่อง

ด้าน นายวัลลภ วิตนากร เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า รัฐบาลควรเข้ามาดูแลปัญหา สภาพคล่องของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอย่างจริงจัง การผ่อนคลายกฎเกณฑ์เพื่อให้เกิดความสะดวกในการปล่อยกู้ และรัฐบาลควรวางนโยบายการสนับสนุนการลงทุนต่างประเทศอย่างจริงจัง

เพราะมีการคาดการณ์ว่า ในอนาคต อีก 5 ปีข้างหน้า ภาคอุตสาหกรรมจะขาดแรงงานนับล้านคน จากการที่แรงงานอุตสาหกรรมหันกลับสู่ภาคเกษตร และการที่แรงงานมีระดับการศึกษาสูงขึ้นจนขาดแรงงานในภาคอุตสาหกรรม และการเคลื่อนย้ายแรงงานไปในประเทศอาเซียน ภายหลังจากบรรลุการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2558
prachachart
************
09/10/52
คลัง มั่นใจ GDPQ4/52เป็นบวกไม่สนมาบตาพุดชะงัก
นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยว่า กรณีที่ศาลปกครองกลางสั่งระงับโครงการที่ลงทนในเขตอุตสาหกรรมมาบตาพุดทั้ง 76 โครงการ ในจังหวัดระยองมูลค่ากว่า 4 แสนล้านบาทว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(จีดีพี)ในไตรมาสที่ 4 ที่สศค.ได้ประมาณการว่าจีดีพีจะพลิกเป็นบวก เนื่องจากมองว่าผลกระทบการชะลอโครงการดังกล่าวยังไม่กระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในทันที
***********
08/10/52
ม.หอการค้าเผย ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ก.ย.ที่ 68.4 เพิ่มจาก ส.ค.
กรุงเทพฯ--8 ต.ค.--รอยเตอร์
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เผยผลสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ก.ย.อยู่ที่ 68.4 เพิ่มขึ้นจาก 67.4 ในเดือน ส.ค. โดยมีปัจจัยบวกจากการที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ การขยายตัวของเศรษฐกิจในปี 53 ขณะเดียวกัน ยังมีปัจจัยบวกจากราคาขายปลีกน้ำมันเบนซิน ที่ปรับตัวลง ขณะที่ แผนการลงทุนในโครงการไทยเข้มแข็ง และ 5 มาตรการบรรเทาค่าครองชีพ ที่ต่ออายุไปถึงสิ้นปีนี้ ยังส่งผลจิตวิทยาเชิงบวกต่อการบริโภคด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังคงวิตกกังวลกับเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ รวมถึงเรื่องของค่าครองชีพ อีกทั้งการที่ สศค.ยังคงตัวเลขคาดการณ์เศรษฐกิจไทยในปีนี้ ไว้ที่ติดลบ 3% ถือเป็นปัจจัยลบเช่นกัน การสำรวจความเห็นประชาชนทั่วไปเกี่ยวกับความเชื่อมั่นที่มีต่อเศรษฐกิจนั้น ระดับดัชนีที่สูงกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภคยังเห็นว่า ภาวะการณ์นั้นๆ อยู่ในระดับที่ปกติ แต่หากดัชนีต่ำกว่า 100 แสดงว่า ผู้บริโภครู้สึกไม่มั่นใจต่อระบบเศรษฐกิจ
(โดย บุญทิวา วิชกูล รายงาน;ฉัตรฤดี กิตติสุขสถิต เรียบเรียง cgs
***********
07/10/52
เม็ดเงินไทยเข้มแข็งเข้าสู่ระบบปีนี้กว่า 5 หมื่นล้านบาท

Posted on Wednesday, October 07, 2009
น.พ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง บอกว่า การดำเนินโครงการไทยเข้มแข็งในปีนี้ น่าจะมีการเบิกจ่ายเม็ดเงินลงทุนในโครงการต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและโปร่งใส เนื่องจากกรมบัญชีกลางได้ปรับระเบียบวิธีการจัดซื้อจัดจ้างและขั้นตอนต่าง ๆ โดยร่นระยะเวลาลง จากเดิม 85 วันเหลือ 28 วัน

ขณะนี้โครงการถนนปลอดฝุ่นของกระทรวงคมนาคม ได้ประมูลด้วยระบบอี-ออคชั่นไปแล้ว 10,000 ล้านบาท ขณะที่โครงการของกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งใช้งบส่วนใหญ่จากงบไทยเข้มแข็งทั้งหมด 2 แสนล้านบาท น่าจะมีการประมูลออกสู่ระบบ 4-5 หมื่นล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้

ทั้งนี้กรมบัญชีกลางจะเร่งรัดติดตามดูแลการจัดซื้อจัดจ้างให้มีความโปร่งใส แม้ข่าวการทุจริตการจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ของกระทรวงสาธารณสุขที่เกิดขึ้นเป็นเพียงมูลเหตุเบื้องต้น แต่กรระทรวงการคลังก็อยากให้ประชาชนช่วยกันติดตามความคืบหน้าของโครงการต่างๆ และหากพบข้อสงสัยราคากลางไม่เป็นธรรมให้แจ้งที่คลังจังหวัด หรือเว็บไซต์ www.tkk2555.com เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบให้โครงการต่าง ๆ เดินหน้าด้วยความโปร่งใส
money news update
***********
01/10/52
กสิกรไทยชี้ตัวเลขศก.เดือนส.ค. เปราะบาง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ตัวเลขเศรษฐกิจในเดือนสิงหาคม สะท้อนการฟื้นตัวยังมีความเปราะบาง แนะจับตาเงินเฟ้อ-ค่าเงินบาท
บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้ออกบทวิเคราะห์โดยระบุว่า ตัวเลขเศรษฐกิจล่าสุดเดือนสิงหาคม 2552 ที่รายงานโดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในภาพรวม ยังคงสะท้อนถึงแนวทางการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของไทย ถึงแม้ว่าการฟื้นตัวของเครื่องชี้เศรษฐกิจบางรายการ อาทิ การบริโภคภาคเอกชน และการผลิตภาคอุตสาหกรรม จะอ่อนแรงกว่าคาดก็ตาม

แต่ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ความไม่ต่อเนื่องของสัญญาณบวกจากตัวเลขเศรษฐกิจดังกล่าว ถือเป็นสถานการณ์ปกติของเศรษฐกิจที่เพิ่งจะเข้าสู่ช่วงของการฟื้นตัว จากภาวะถดถอย ซึ่งเป็นนัยว่า เศรษฐกิจไทยยังคงต้องการแรงสนับสนุนจากนโยบายการเงิน-การคลังในระยะถัดไปเพื่อประคับประคองการฟื้นตัว และลดความเสี่ยงที่จะกลับมาชะลอตัวอีกครั้ง

ทั้งนี้ คาดว่า แนวนโยบายของทางการไทย ทั้งในส่วนของนโยบายการเงินที่ยืนอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำต่อเนื่อง และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ)น่าที่จะเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจไทยในช่วงที่เหลือของปีนี้และต่อเนื่องไปจนถึงครึ่งแรกของปีหน้า

อย่างไรก็ตาม คงจะต้องจับตา 2 ตัวแปรสำคัญ ก็คือ แรงกดดันเงินเฟ้อที่จะเป็นตัวกำหนดจังหวะเวลาการเริ่มวัฏจักรคุมเข้มนโยบายการเงินของธปท. และเสถียรภาพการเมืองที่อาจส่งผลกระทบต่อการจับจ่ายใช้สอยในประเทศ กดดันบรรยากาศการลงทุนของภาคเอกชน และบั่นทอนประสิทธิภาพของมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

ขณะที่ ยังคงต้องติดตามประเด็นคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ วงเงิน 4 แสนล้านบาท ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินการตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่สองของรัฐบาลในปีหน้า

นอกจากนี้ แม้ว่าการส่งออกของไทยจะเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ทิศทางของค่าเงินบาท และความสามารถในการแข่งขันของภาคส่งออกของไทย ก็คงเป็นประเด็นที่ทางการไทยต้องเฝ้าระวังเช่นกัน เนื่องจากการฟื้นตัวของภาคส่งออกดังกล่าวยังคงต้องพึ่งพาแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจคู่ค้าที่เป็นปัจจัยภายนอกที่อยู่เหนือการควบคุม

ทั้งนี้ แม้ตัวเลขเศรษฐกิจไทยล่าสุดในเดือนสิงหาคมที่ผ่านมาอาจจะไม่แข็งแกร่งเท่าที่ควร แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า อัตราการหดตัวของเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2552 จะยังคงน้อยกว่าการหดตัวในช่วง 2 ไตรมาสแรกของปี 2552 โดยอัตราการหดตัวของ GDP ในไตรมาส 3/2552 อาจน้อยกว่าร้อยละ 4.5 รวมทั้งดีขึ้น

กรุงเทพธุรกิจ
**********
01/10/52
พาณิชย์ เผยเงินเฟ้อทั่วไปเดือน ก.ย. ติดลบ 1%
นางพิมพาพรรณ ชาญศิลป์ รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป ประจำเดือนกันยายน ติดลบ 1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน ส.ค. ที่ติดลบ 1% อย่างไรก็ตามเป็นอัตราที่ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 9 เนื่องจากการลดลงของดัชนีในหมวดต่างๆ อาทิ หมวดยาพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ,หมวดการบันเทิงการศึกษา และศาสนา 10.1% และหมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า อย่างไรก็ตาม ยังมีดัชนี หมวดอาหารและเครื่องดื่มที่ปรับตัวสูงขึ้น 0.9%

ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเดือน ก.ย.2552 ติดลบ 0.1% ลดลงจากเดือนส.ค.2552 ที่ติดลบ 0.2% เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าที่มีทั้งสูงขึ้นและลดลง โดยสินค้าที่มีราคาสูงขึ้นได้แก่ วัสดุก่อสร้าง เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ ขณะที่สินค้าที่มีราคาลดลงคือเครื่องรับอุปกรณ์สื่อสาร

ด้านดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปเฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) อยู่ที่ติดลบ 1.7% เนื่องจากการปรับลดลงของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ค่ากระแสไฟฟ้า และน้ำประปา ส่งผลให้สินค้าที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มปรับตัวลดลง ขณะที่ดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานเฉลี่ย 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 0.4%

30/09/52
BOT:ธปท.เผยการฟื้นตัวศก.ไทยในส.ค.ชะลอลง, การผลิต-บริโภคเอกชนหดตัวมากขึ้น
กรุงเทพฯ--30 ก.ย.--รอยเตอร์
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เผยการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในเดือนส.ค. ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า โดยเครื่องชี้ภาคการผลิต การบริโภคภาคเอกชน และการ นำเข้าหดตัวลง ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ มีลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป "การฟื้นตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 2 แรงขึ้นมาก ก็ไม่ได้หมายความว่า มันจะต้องแรงต่อเนื่อง แต่มันจะฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป" นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธปท. กล่าวแถลงข่าว แต่เขา กล่าวว่า หากพิจารณาภาพรวมเศรษฐกิจช่วง 2 เดือนแรก ใน ไตรมาส 3 คือ เดือนก.ค.และส.ค. จะเห็นว่าเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่องจาก ไตรมาสที่ 2 เกือบทุกด้าน สำหรับเศรษฐกิจในเดือนส.ค.ที่ชะลอลงนั้น เขา มองว่า ส่วนหนึ่งเป็นปัจจัย ชั่วคราว เนื่องจากมีการปิดซ่อมบำรุงโรงงานในหมวดปิโตรเลียมและยาสูบ ทำให้ดัชนี ผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) ซึ่งมีสัดส่วนถึง 40% ของเศรษฐกิจทั้งหมด ปรับตัวลดลง โดย MPI เดือนส.ค.หดตัว 10.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับที่ หดตัว 7.1% ในเดือนก.ค. สอดคล้องกับการใช้กำลังการผลิตเดือนนี้อยู่ที่ 60% ลดลง จาก 61.9% ในเดือนก่อนหน้า ขณะที่ ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน (PCI) เดือน ส.ค. ลดลง 3.2% เมื่อเทียบรายเดือน หลังเพิ่มขึ้น 3.4% ในเดือน ก.ค. และเมื่อเทียบปีต่อปี PCI ลดลง 4.4% จากช่วงเดียวกันปีก่อน เทียบจากที่ลดลง 1.8% ในเดือน ก.ค. **แนวโน้มยังฟื้นตัว อย่างไรก็ตาม เครื่องชี้เศรษฐกิจในเดือนส.ค. ยังมีหลายตัวที่ปรับตัวดีขึ้น อย่างต่อเนื่อง เช่น การลงทุนภาคเอกชน ที่ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องมา 3 เดือนติดต่อกัน แต่ก็เป็นการปรับตัวในลักษณะที่ค่อยเป็นค่อยไป และถือว่ายังห่างจากระดับ ปกติ ในช่วงก่อนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งสอดคล้องกับดัชนีความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ ในเดือนส.ค. ที่ปรับตัวดีขึ้นมาอยู่ที่ 46.1 จาก 45.0 ในก.ค. ขณะที่ความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจใน 3 เดือนข้างหน้า ปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่ 54.2 จาก 51.3 ซึ่งสะท้อนว่าการผลิตของภาคธุรกิจในอนาคต น่าจะดีขึ้น นอกจากนี้ ผลสำรวจความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจ ยังพบด้วยว่า ความกังวล ในเรื่องความไม่แน่นอนทางการเมืองมีลดลง โดยลงไปอยู่เป็นอันดับที่ 3 ขณะที่ภาคธุรกิจ มีความกังวลกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ เป็นอันดับแรก ขณะเดียวกัน เครื่องชี้ทางเศรษฐกิจที่ยังคงปรับตัวดีขึ้นในเดือนส.ค. ยังได้แก่ การท่องเที่ยว ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศเพิ่มขึ้น, ผลผลิตและรายได้เกษตรกร ปรับตัวดีขึ้น รวมถึงแรงกระตุ้นจากการใช้จ่ายภาครัฐที่ดีขึ้น ส่วนการส่งออกยังอยู่ในระดับ ที่ทรงตัว
*************
30/09/52
คาดเศรษฐกิจไทย Q4 ฟื้น เชื่อความเชื่อมั่นผู้ผลิต 3 เดือนข้างหน้า พุ่งสูงสุดในรอบ 10 ปี

Posted on Wednesday, September 30, 2009
นายอดิศักดิ์ โรหิตะศุน รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บอกว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนสิงหาคม อยู่ที่ระดับ 88 ลดลงจาก 89.9 ในเดือนกรกฎาคม และเป็นการลดลงครั้งแรกในรอบ 5 เดือน เนื่องจากยอดคำสั่งซื้อ, ยอดขาย, ปริมาณการผลิต และผลประกอบการลดลง เพราะมีบางอุตสาหกรรมได้สต็อกสินค้าสูง ประกอบกับวัตถุดิบขาดแคลนและมีราคาสูงขึ้นในหลายอุตสาหกรรม จึงทำให้ผู้ประกอบการชะลอคำสั่งซื้อ รวมไปถึงยังกังวลเสถียรภาพการเมืองในประเทศ

แต่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในอีก 3 เดือนข้างหน้า นับจากเดือนสิงหาคม กลับปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 10 ปี มาอยู่ที่ระดับ 102.1 เพิ่มขึ้นจากเดือนกรกฎาคมที่ระดับ 96.7 เนื่องจากผู้ประกอบการคาดว่าผลประกอบการในช่วงนั้นจะปรับตัวดีขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี

นายอดิศักดิ์ บอกด้วยว่า ผู้ประกอบการต้องการให้รัฐบาลควบคุมราคาน้ำมันและมีนโยบายส่งเสริมด้านพลังงานทดแทนอย่างชัดเจน รวมทั้งเร่งสร้างเสถียรภาพทางการเมืองเพื่อช่วยพัฒนาประเทศ และดูแลอัตราแลกเปลี่ยนไม่ให้แข็งค่ามากกว่านี้

ขณะเดียวกันต้องควบคุมอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และให้การสนับสนุนทางการเงินด้วยการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ รวมทั้งช่วยหามาตรการทางภาษีเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนธุรกิจของผู้ส่งออก-นำเข้า

ทั้งนี้ ส.อ.ท. เตรียมจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง ยุทธศาสตร์เชิงรุกเพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยแบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ในวันที่ 21 ตุลาคมนี้ เพื่อให้ผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมได้วางแผน และสร้างความเข้มแข็ง พร้อมทั้งรับมือกับระเบียบด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้นอนาคต รวมไปถึงความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

***********
คลังคาดจีดีพีติดลบ3%ปีหน้าโต2.5-4.1%

คลังคาดเศรษฐกิจไทยปีนี้ติดลบ 3% ส่วนแนวโน้มปี"53 คาดจีดีพีขยายตัว 2.5-4.1%
สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) คาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปี 2552 ไว้ที่เฉลี่ยติดลบ 3% ตามที่เคยประเมินไว้ในเดือนมิ.ย.2552 โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะยังคงติดลบราว 3-4% ในช่วงไตรมาส 3/52 ก่อนที่จะพลิกฟื้นกลัวมาเป็นบวกได้ 3-4% ในช่วงไตรมาส 4/52

ส่วนแนวโน้มในปี 2553 คาดจีดีพีขยายตัว 2.5-4.1%
กรุงเทพธุรกิจ

ข่าวเศรษฐกิจมหภาค