วันอังคารที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553

กลุ่มธุรกิจธนาคารและการเงิน53

13/01/53
กนง.คงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25 %

Posted on Wednesday, January 13, 2010
นายไพบูลย์ กิตติศรีกังวาน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย บอกว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ ที่ 1.25% เนื่องจากเห็นว่ายังคงอยู่ในระดับที่เหมาะสม ที่เอื้อต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ กนง. ประเมินว่า ในปีนี้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงขึ้น ทั้งจากราคาน้ำมัน การยกเลิกมาตรการของรัฐ และการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ จึงจำเป็นต้องติดตามแนวโน้มเงินเฟ้อและภาวะเศรษฐกิจอย่างใกล้ชิดต่อไป ส่วนเศรษฐกิจโลกแม้จะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง แต่ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัว โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก ขณะที่เศรษฐกิจเอเชียมีโอกาสฟื้นตัวได้เร็วกว่า ซึ่งอาจทำให้เกิดความแตกต่างของการดำเนินนโยบาย และส่งผลให้การเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศผันผวนมากขึ้น

นายไพบูลย์บอกด้วยว่า การดำเนินนโยบายการเงินของ กนง.ในระยะต่อไปจะพิจารณาจาก 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ เป้าหมายรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจในระยะยาว โดยดูแลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำและมีเสถียรภาพในการประคับประคองเศรษฐกิจ ประเด็นต่อมา คือ การดูแลให้เศรษฐกิจที่อยู่ในระยะฟื้นตัว โดยการพิจารณาดอกเบี้ยจะให้ความสำคัญกับความต่อเนื่องในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจด้วย ตราบใดที่ไม่ขัดต่อเสถียรภาพเศรษฐกิจในระยะยาว

ส่วนประเด็นสุดท้าย กนง.จะไม่ปล่อยให้อัตราดอกเบี้ยต่ำนานเกินไป หลังจากที่มีการคงอัตราดอกเบี้ยมาแล้วในการประชุมทั้ง 6 ครั้ง เพราะหากอัตราดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำและสภาพคล่องส่วนเกินในระบบค่อนข้างมาก จะทำให้เศรษฐกิจเกิดความไม่สมดุล และอาจกดดันให้เกิดการเร่งตัวของภาวะฟองสบู่ได้
money news update
*******
12/01/53
คลังเล็งคลอดพันธบัตร8มื่นล. แบงก์ลั่นไม่กระทบดอกเบี้ย
ทันหุ้น-นายแบงก์ไม่หวั่นเงินฝากไหลออก แม้คลังเล็งออกพันธบัตรออมทรัพย์หนุนโครงการไทยเข้มแข็งอีก 5-8 หมื่นล้านบาท หลังรอบแรกประชาชนแห่จองล้นหลาม ลั่นไม่กระทบสภาพคล่องธนาคารพาณิชย์ เหตุพันธบัตรเกาหลีใกล้หมดอายุสร้างสภาพคล่องสู่ระบบไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท รองรับพันธบัตรคลังได้สบาย ส่วนดอกเบี้ยในระบบเชื่อยังไม่ได้ผลกระทบ มองดอกเบี้ยขยับไตรมาส 3/2252
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังได้มีการเตรียมแผนการออกพันธบัตรออมทรัพย์วงเงิน 50,000-80,000 ล้านบาท ในช่วงปลายไตรมาส 1/2553 ซึ่งเป็นเงื่อนไขเดิมในการออกพันธบัตรออมทรัพย์ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูงกว่าผลตอบแทนจากเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ เพื่อเป็นการจูงใจให้ประชาชนมีส่วนร่วมกับโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาล
โดยการเปิดขายพันธบัตรดังกล่าวถือเป็นการออกพันธบัตรงวดที่ 2 ของกระทรวงการคลัง ซึ่งหลังการเปิดขายงวดแรกได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นจำนวนมาก และเป็นการออกพันธบัตรตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อใช้ในการฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ
นายอนุรักษ์ ตันติพิพัฒนา ผู้อำนาวยการฝ่ายบริหารผลิตภัณฑ์เงินฝากและการลงทุนลูกค้าบุคคล ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK กล่าวว่า การที่กระทรวงการคลังมีแผนการออกพันธบัตรออมทรัพย์อีกจำนวนไม่เกิน 8 หมื่นล้านบาทในช่วงไตรมาส 1/2553 จะไม่ส่งผลกระทบต่อเงินฝากธนาคารพาณิชย์และสภาพคล่องของระบบ
ทั้งนี้การออกพันบัตรของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) น่าจะเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับเงินจากกองทุนต่างๆของไทยที่ไปลงทุนในต่างประเทศ โดยเฉพาะเงินกองทุนที่ลงทุนในประเทศเกาหลีที่ใกล้ครบกำหนดอายุ คาดว่าเงินจากกองทุนต่างๆที่ใกล้ครบกำหนดน่าจะมีไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท ซึ่งจะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบมีเพิ่มขึ้นกว่าปัจจุบัน
“ตอนนี้น่าจะเริ่มเห็นแบงก์ชาติหรือคลังทยอยออกพันธบัตรออกมา เพราะช่วงนี้กองทุนเกาหลีใกล้ครบกำหนด ซึ่งไม่ต่ำกว่า 2 แสนล้านบาท เชื่อว่าทางราชการคงต้องทำอะไรบ้างอย่างเพื่อดูดซับสภาพคล่องออกจากระบบ เพื่อไม่ให้สภาพคล่องมีล้นจนเกินไป” นายอนุรักษ์ กล่าว
สำหรับในปีนี้ ธนาคารตั้งเป้าหมายการเติบโตในส่วนของเงินฝากไว้ที่ประมาณ 10% ซึ่งแบ่งเป็นเงินฝากรายย่อย 7-8 หมื่นล้านบาท และเงินฝากรายใหญ่อีกประมาณ 2 หมื่นล้านบาท โดยปัจจุบันธนาคารมีฐานเงินฝากอยู่ที่ประมาณ 9 แสนล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีเงินฝากออมทรัพย์และกระแสรายวัน 52% และบัญชีเงินฝากประจำ 48% ซึ่งในปีนี้ธนาคารมีความต้องการเพิ่มสัดส่วนบัญชีออมทรัพย์รายย่อยเป็นหลัก เพื่อลดต้นทุนทางการเงินของธนาคารลง
ขณะที่แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยเงินฝากนั้น มองว่าจะเริ่มเห็นการปรับตัวเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากในช่วงประมาณปลายไตรมาส 3/2552 เนื่องจากขณะนี้สัญญาณการเติบโตสินเชื่อยังไม่เห็นอย่างชัดเจน ประกอบกับสภาพคล่องของธนาคารพาณิชย์ทุกแห่งมีเหลืออีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้อัตราดอกเบี้ยเงินฝากปรับเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้คือ ตัวเลขเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นเร็ว หรือธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นดอกเบี้ยในช่วงนี้ก็จะส่งผลกดดันให้อัตราดอกเบี้ยของไทยต้องขยับเพิ่มขึ้นตาม
ในส่วนของการประชุมคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันพรุ่งนี้(13 ม.ค.53) คาดว่า กนง.จะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% ต่อไป เนื่องจากภาพรวมของเศรษฐกิจหลักยังไม่มีการฟื้นตัวเท่าที่ควร และการเติบโตยังไม่มีเสถียรภาพมากนัก รวมทั้งการที่ตัวเลขเงินเฟ้อยังมีการเพิ่มขึ้นที่ไม่เร็วมากนัก
thunhoon
***********
12/01/53
BANKING : คาดกำไรสุทธิ 4Q52F เพิ่มขึ้น 28% YoY
คำแนะนำ ระดับปกติ

คงน้ำหนักการลงทุน “ระดับปกติ” โดยหุ้นที่ชอบสุดได้แก่ SCB และ KBANK
หุ้นที่ชอบที่สุดในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ได้แก่ SCB (ศักยภาพในการเติบโตที่แข็งแกร่งหลังจากชะลอตัวในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา) และ KBANK (การเติบโตอย่างแข็งแกร่งหลังจากพัฒนารูปแบบของธนาคาร) โดยดูเหมือนว่าตลาดได้สะท้อนการคาดการณ์ถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของหลาย ๆ ธนาคารมากพอสมควรแล้วและการที่ไม่สามารถมีผลประกอบการตามคาด น่าจะส่งผลให้เกิดแรงขายทำกำไร
คาดผลประกอบการโดยรวมลดลง 32% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 28% YoY ใน 4Q52F
เราคาดว่า 9 ธนาคารที่อยู่ภายใต้การวิเคราะห์ของเราจะรายงานกำไรสุทธิลดลง 32% QoQ จาก 1) ฤดูกาลที่มีค่าใช้จ่ายสูงในไตรมาส 4 2) กำไรจากสินทรัพย์ที่ลดลง และ 3) ค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองฯ ที่สูงขึ้นสำหรับบางธนาคารเพื่อเพิ่มอัตราการตั้งสำรอง สำหรับการคาดการณ์ว่ากำไรน่าจะเพิ่มขึ้น YoY มาจากการตัดขาดทุนพอร์ตลงทุนและค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองฯ ที่สูงอย่างมากใน 4Q51
Upside ต่อผลประกอบการปี 2553F มาจากต้นทุนเครดิตที่ลดลง
ปี 2553 น่าจะเป็นปีที่ดีขึ้นสำหรับธนาคารส่วนใหญ่ โดยน่าจะมีอัตราการเติบโตผลประกอบการเฉลี่ย 21% YoY เทียบกับ -0.8% YoY สำหรับปี 2552F โดย upside ต่ออัตราการทำกำไรจากดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) และอัตราการขยายตัวสินเชื่อน่าจะมีค่อนข้างจำกัด แต่น่าจะมีความเป็นไปได้ของ upside จากต้นทุนเครดิตที่ลดลงกว่าสมมติฐานในปัจจุบันของเรา (0.82% ของสินเชื่อในปี 2553F เทียบกับ 0.9% ในปี 2552F) หลังจากเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นของ NPLs
การประเมินมูลค่า
เราประเมินมูลค่าหุ้นธนาคารโดยอิงจาก PBV ซึ่งได้มาจากวิธี RoE-g/CoE-g ด้วยสมมติฐาน CoE ที่ 12% และ g ที่ 6-8% (ขึ้นอยู่กับการคาดการณ์การเติบโต BV ในแต่ละธนาคาร) โดย upside ต่อประมาณการของเรามาจากต้นทุนเครดิตที่ลดลง (ภาระการตั้งสำรองฯ) และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวแข็งแกร่งกว่าคาด ส่วนความเสี่ยง downside มาจากการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และคุณภาพสินเชื่อที่แย่ลงในกรณีที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสะดุด
โดย สำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ประจำวันที่ 12 ม.ค. 2553
*********
11/01/53
จับตานโยบายการเงิน "กนง." คาดคงดอกเบี้ย 1.25%
ในวันที่ 13 มกราคม 2553 คณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารแห่งประเทศไทย (กนง.) จะมีการประชุมรอบแรกของปี 2553 เพื่อกำหนดทิศทางนโยบายการเงิน หรืออัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และปัจจุบันอยู่ที่ร้อยละ 1.25 ทั้งนี้ แม้ว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยจะปรับตัวไปในทิศทางที่เป็นบวกมากขึ้น แต่เส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่ยังมีแนวโน้มต้องเผชิญกับปัจจัยท้าทายอีกหลายประการ
pantip
*********
07/01/53
แบงก์ชาติคาดสินเชื่อปีนี้ฟื้นตามเศรษฐกิจ

Posted on Thursday, January 07, 2010
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ประเมินว่า ยอดการให้สินเชื่อปีนี้จะเติบโตดีขึ้นกว่าปี 2552 โดยเฉพาะสินเชื่ออุปโภคบริโภคและสินเชื่อที่อยู่อาศัยจะเร่งตัวขึ้นตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่สภาพคล่องในระบบธนาคารพาณิชย์ก็ยังมีค่อนข้างมาก ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ การเร่งตัวของสินเชื่อเห็นได้ชัดเจนตั้งแต่ปลายปี 2552 โดยในเดือนพฤศจิกายน 2552 สินเชื่อสามารถขยายตัวเป็นบวกติดต่อกันเป็นเดือนที่ 4 และเมื่อเทียบกับเดือนพฤศจิกายน 2551 ขยายตัว 1.8% โดยสินเชื่อผู้บริโภคและสินเชื่อที่อยู่อาศัยเติบโตมากกว่า 10%

นายบัณฑิตบอกด้วยว่า การแข่งขันของธนาคารพาณิชย์จะรุนแรงขึ้นในปีนี้ ซึ่งภาวะเศรษฐกิจจะเป็นสิ่งกำหนดการเร่งตัวของสินเชื่อด้วย

ด้านนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย บอกว่า ธนาคารตั้งเป้าการเติบโตสินเชื่อปีนี้ที่ 7-9% ภายใต้จีดีพีที่คาดว่าจะขยายตัว 3-3.5 % และอัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 3-4% โดยธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อในธุรกิจขนาดใหญ่เพิ่มขึ้น 2-4% สินเชื่อ SMEs เพิ่มขึ้น 8-10% สินเชื่อบุคคลเพิ่มขึ้น 15-16%

นายประสารยอมรับว่า แม้เศรษฐกิจปีนี้จะมีแนวโน้มที่ดีขึ้นจากปีก่อน แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะปัญหาการเมืองที่อาจส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ลงทุนและนักธุรกิจ โดยประเมินว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยจะค่อยเป็นค่อยไป ส่วนแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยคาดว่าจะปรับขึ้นช่วงหลังของปีนี้

สำหรับภาพรวมสินเชื่อของธนาคารในปีที่ผ่านมามั่นใจว่าจะขยายตัวในแดนบวกเล็กน้อย ส่วน NPL ของธนาคารยังไม่น่าเป็นห่วง
money news update
***********
สินเชื่อบุคคลร้อนรับปีเสือ
วันพุธที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2553

เอชเอสบีซี เลิกเก็บเนื้อเก็บตัว ติดเครื่องลุยชิงเค้กสินเชื่อบุคคล หลังคนไทยกลับมาใช้จ่าย

นายวิชิต พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการบริหาร ฝ่ายบุคคลธนกิจ ธนาคารเอชเอสบีซี ประเทศไทย เปิดเผยว่า ในปีนี้ธนาคารจะหันมาลุยตลาดสินเชื่อบุคคลไม่มีหลักประกันอย่างเต็มที่ จากที่หยุดทำการตลาดไป 1 ปี เพราะภาวะเศรษฐกิจ โดยได้ปรับลดฐานเงินเดือนขั้นต่ำผู้สมัครสินเชื่อลงมาเหลือ 1.5 หมื่นบาท จากเดิมที่กำหนดเพดานไว้ 3 หมื่นบาท เพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้นกว่าเดิม
สำหรับอัตราดอกเบี้ยนั้นถือว่าใกล้เคียงกับตลาดระหว่าง 20-28% ขึ้นอยู่กับวงเงินสินเชื่อ กรณีกู้เงิน 3 แสนบาท ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ระดับ 20% อนุมัติสูงสุด 5 เท่าของเงินเดือน ผ่อนชำระตั้งแต่ 12-60 เดือน

ผู้บริหารเอชเอสบีซี กล่าวว่า ในช่วง 1 ปีที่หยุดทำตลาดธุรกิจมีกำไรดี เพราะควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ไว้ได้ แต่ปีนี้สภาพเศรษฐกิจดีขึ้น ผู้คนเริ่มมั่นใจกลับมาใช้จ่ายเงินอีกครั้ง ความต้องการสินเชื่อบุคคลในตลาดจะกลับมาคึกคัก ธนาคารจึงกลับมาลุยในธุรกิจนี้เพื่อขยายฐานสินเชื่อให้ใหญ่ขึ้น

นายวิชิต ยอมรับว่า การปรับลดฐานเงินเดือนลูกค้าทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดหนี้เสียมากขึ้น อาจทำให้กำไรเฉลี่ยของลูกค้าต่อรายปรับลดลง แต่การมีฐานลูกค้าที่ใหญ่ขึ้นมากจะทำให้การทำกำไรดีขึ้น

ปัจจุบัน ธนาคารเอชเอสบีซี มียอดสินเชื่อบุคคลไม่ถึงหมื่นล้านบาท มีส่วนแบ่งตลาดเพียง 2% แต่ธนาคารตั้งเป้าจะขยายฐานสินเชื่อให้โตขึ้นเป็น 2 เท่าภายในปี 2555 โดยจัดโปรโมชันดอกเบี้ย 0% และกำนัลเงินสด 500 บาท สูงสุดไม่เกิน 5,000 บาท คาดว่าภายใน 2 เดือนจะปล่อยกู้ได้ 500 ล้านบาท

นายวิชิต กล่าวว่า จากสถิติลูกค้าสินเชื่อบุคคลทั่วโลกจะพิจารณาแหล่งเงินกู้โดยเน้นการเข้าถึงเงินกู้ได้ง่ายเป็นลำดับแรก รองลงมา คือ อนุมัติเร็ว แต่คนไทยมีบุคลิกภาพเป็นคนขี้อาย จึงต้องใช้กลยุทธ์เพิ่มเติมด้วยการสร้างทีมขายสินเชื่อทางโทรศัพท์ เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าทั้งในกทม. และต่างจังหวัด

อย่างไรก็ดี ได้ให้ข้อกำหนดในการขายแก่บริษัทภายนอกที่ธนาคารได้ว่าจ้างมาว่า หากได้รับการร้องเรียนจากลูกค้าจะทำการขึ้นบัญชีดำพนักงานคนนั้นทันที และไม่ว่าจ้างอีก แต่การบริการลูกค้านับแสนรายหากมีเสียงบ่นบ้าง 5-10 รายก็ถือ ว่าปกติ

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ปีนี้สินเชื่อบุคคลจะกลับมาคึกคัก โดยน่าจะเติบโตได้ 4-5% จากปีที่แล้วเติบโต 0% ผู้เล่นที่จะรุกตลาดชัดเจนได้แก่ธนาคารพาณิชย์ไทยอย่างกสิกรไทย กรุงศรีอยุธยา ไทยพาณิชย์ หรือธนาคารต่างประเทศอย่างเอชเอสบีซี ซิตี้แบงก์ ยูโอบี

ขณะที่ผู้เล่นที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน (นันแบงก์) ซึ่งได้ชะลอการปล่อยกู้หรือหยุดการขยายธุรกิจไปในปีที่แล้ว เพราะฐานลูกค้าคือกลุ่มเงินเดือน 5,000-7,000 บาท มีความเสี่ยงต่อหนี้เสีย แต่เชื่อว่าปีนี้จะกลับมาทำตลาดกันมากขึ้น

สำหรับธนาคารกสิกรไทยจะรุกสินเชื่อบุคคลไม่มีหลักประกันให้เติบโต 50% โดยเจาะกลุ่มลูกค้าเงินเดือน 1 หมื่นบาทขึ้นไป ต่ำกว่าระบบที่มีเพดาน 1.5 หมื่นบาท

“ตอนนี้ยังไม่เห็นการแข่งขันด้านราคากันมากนัก สำหรับกสิกรไทยจะคิดดอกเบี้ย 20-27% กรณีกู้เงิน 2.4 แสนบาทขึ้นไป จะคิดดอกเบี้ย 20% หากกู้เงินตั้งแต่ 8 หมื่น-2.4 แสนบาท จะคิดดอกเบี้ย 24% แต่ถ้ากู้เงินต่ำกว่า 8 หมื่นบาท จะคิดดอกเบี้ย 27%” นายชาติชาย กล่าว

ธนาคารแห่งประเทศไทยรายงานยอดสินเชื่อเพื่อการอุปโภคและบริโภค ซึ่งประกอบด้วยสินเชื่อบุคคล สินเชื่อหมุนเวียน และสินเชื่อบุคคลซึ่งมีบ้านเป็นหลักประกันในระบบอยู่ที่ 2.1 แสนล้านบาท มีฐานลูกค้า 8.8 ล้านบัญชี
posttoday

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น