วันอาทิตย์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2552

2553 views

14/01/53
AYSคาดดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้อยู่ที่740-800
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
บล.อยุธยาคาดดัชนีตลาดหุ้นไทยปีนี้อยู่ที่ 740-800 จุด กำไรบจ.โตลดลงเหลือ 11% จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 36% คาดจีดีพีขยายตัว 2.5-3.5%
นายอดิศักดิ์ ผู้พิพัฒน์หิรัญกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (AYS) กล่าวว่า แนวโน้มดัชนีตลาดหุ้นไทยในปี 2553 คาดว่าจะอยู่ในกรอบ 740-800 จุด ภายใต้คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวในระดับ 2.5-3.5% จากปี 2552 ที่คาดว่าเศรษฐกิจจะหดตัว 3-4%

ส่วนผลประกอบการบริษัทจดทะเบียน (บจ.) คาดว่ากำไรในปี 2553 จะเติบโต 11% ซึ่งรวมผลกระทบจากการระงับ 65 โครงการลงทุนในมาบตาพุดมูลค่าราว 2.5 แสนล้านบาทแล้ว จากปี 2552 ที่คาดกำไรบจ.จะเติบโต 36.1%

"ตลาดหุ้นปี 2553 จะสร้างผลตอบแทนไม่ดีเท่าปี 2552 เพราะราคาหุ้นไม่ถูกแล้ว"

บริษัทหลักทรัพย์กรุงศรีอยุธยามองว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวในทุก ๆ ด้าน ทั้งการส่งออก การบริโภค และ การลงทุน ขณะที่ valuation ของ SET ยังไม่แพงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในอดีต และเทียบกับตลาดหุ้นในภูมิภาค อีกทั้งคาดว่าเม็ดเงินจากนักลงทุนต่างชาติยังคงจะไหลเข้ามาลงทนในตลาดหลักทรัพย์อย่างต่อเนื่อง เพราะขณะนี้การถือครองหุ้นยังไม่มากเมื่อเทียบกับในอดีต

อย่างไรก็ตาม นายอดิศักดิ์ มองว่า การขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติตั้งแต่กลางเดือน ต.ค.2552 ที่มีเกือบ 2.7 หมื่นล้านบาท เป็นเพียงการปรับพอร์ตการลงทุนเพื่อตอบรับกับความเสี่ยงทางการเมืองและการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุดในระยะสั้นๆ เพื่อรอความชัดเจนในด้านต่าง ๆ เท่านั้น

บล.กรุงศรีอยุธยาแนะนำให้"ทยอยสะสมหุ้น"กลุ่มหลักเมื่อราคาอ่อนตัว โดยเน้นเข้าซื้อหุ้นกลุ่มพลังงาน ธนาคาร วัสดุก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ ยานยนต์ โรงแรม โรงพยาบาล เกษตรและอาหาร

ในแง่ของความเสี่ยงการลงทุนในขณะนี้ คือ ปัญหาการลงทุนในพื้นที่มาบตาพุดยังไม่ได้ข้อสรุป, เสถียรภาพการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการปรับสูงขึ้นของอัตราดอกเบี้ยที่อาจจะเร็วกว่าตลาดคาดการณ์ไว้
krungthep
***********
12/01/53
BANKING : คาดกำไรสุทธิ 4Q52F เพิ่มขึ้น 28% YoY
คำแนะนำ ระดับปกติ

คงน้ำหนักการลงทุน “ระดับปกติ” โดยหุ้นที่ชอบสุดได้แก่ SCB และ KBANK
หุ้นที่ชอบที่สุดในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ได้แก่ SCB (ศักยภาพในการเติบโตที่แข็งแกร่งหลังจากชะลอตัวในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา) และ KBANK (การเติบโตอย่างแข็งแกร่งหลังจากพัฒนารูปแบบของธนาคาร) โดยดูเหมือนว่าตลาดได้สะท้อนการคาดการณ์ถึงการฟื้นตัวที่แข็งแกร่งของหลาย ๆ ธนาคารมากพอสมควรแล้วและการที่ไม่สามารถมีผลประกอบการตามคาด น่าจะส่งผลให้เกิดแรงขายทำกำไร
คาดผลประกอบการโดยรวมลดลง 32% QoQ แต่เพิ่มขึ้น 28% YoY ใน 4Q52F
เราคาดว่า 9 ธนาคารที่อยู่ภายใต้การวิเคราะห์ของเราจะรายงานกำไรสุทธิลดลง 32% QoQ จาก 1) ฤดูกาลที่มีค่าใช้จ่ายสูงในไตรมาส 4 2) กำไรจากสินทรัพย์ที่ลดลง และ 3) ค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองฯ ที่สูงขึ้นสำหรับบางธนาคารเพื่อเพิ่มอัตราการตั้งสำรอง สำหรับการคาดการณ์ว่ากำไรน่าจะเพิ่มขึ้น YoY มาจากการตัดขาดทุนพอร์ตลงทุนและค่าใช้จ่ายการตั้งสำรองฯ ที่สูงอย่างมากใน 4Q51
Upside ต่อผลประกอบการปี 2553F มาจากต้นทุนเครดิตที่ลดลง
ปี 2553 น่าจะเป็นปีที่ดีขึ้นสำหรับธนาคารส่วนใหญ่ โดยน่าจะมีอัตราการเติบโตผลประกอบการเฉลี่ย 21% YoY เทียบกับ -0.8% YoY สำหรับปี 2552F โดย upside ต่ออัตราการทำกำไรจากดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) และอัตราการขยายตัวสินเชื่อน่าจะมีค่อนข้างจำกัด แต่น่าจะมีความเป็นไปได้ของ upside จากต้นทุนเครดิตที่ลดลงกว่าสมมติฐานในปัจจุบันของเรา (0.82% ของสินเชื่อในปี 2553F เทียบกับ 0.9% ในปี 2552F) หลังจากเห็นสัญญาณที่ดีขึ้นของ NPLs
การประเมินมูลค่า
เราประเมินมูลค่าหุ้นธนาคารโดยอิงจาก PBV ซึ่งได้มาจากวิธี RoE-g/CoE-g ด้วยสมมติฐาน CoE ที่ 12% และ g ที่ 6-8% (ขึ้นอยู่กับการคาดการณ์การเติบโต BV ในแต่ละธนาคาร) โดย upside ต่อประมาณการของเรามาจากต้นทุนเครดิตที่ลดลง (ภาระการตั้งสำรองฯ) และเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวแข็งแกร่งกว่าคาด ส่วนความเสี่ยง downside มาจากการปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ และคุณภาพสินเชื่อที่แย่ลงในกรณีที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสะดุด
โดย สำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ประจำวันที่ 12 ม.ค. 2553
*********
05/01/53
อุตสาหกรรมเด่น
SCRI มีมุมมองเป็น Bullish ต่อหุ้นในกลุ่มค้าปลีก : รายงานดัชนีค้าปลีกของไทย ในเดือน ต.ค. 2552 เท่ากับ 156.9 จุด เพิ่มขึ้น 2.1% mom และเพิ่มขึ้น 2.1% yoy ซึ่งเป็นการปรับขึ้นของดัชนีติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 นับตั้งแต่เดือน ส.ค. 2552 เป็นต้นมา และยังเป็นการปรับขึ้น yoy ครั้งแรกในรอบปี ทั้งนี้ SCRI คาดดัชนีค้าปลีกเดือน พ.ย. – ธ.ค. 2552 จะปรับตัวขึ้นต่อเนื่องจากเดือน ต.ค. 2552 ส่งผลบวกต่อผลประกอบการของกลุ่มพาณิชย์ ซึ่งโดยปกติแล้วช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี จะเป็นช่วง High Season ของธุรกิจค้าปลีก การฟื้นตัวของดัชนีค้าปลีกในเดือน ต.ค. 2552 และแนวโน้มการฟื้นตัวในเดือน พ.ย. – ธ.ค. 2552 ดังนั้น SCRI จึงประเมินว่าแนวโน้มผลการดำเนินงานของกลุ่มพาณิชย์ใน Q4/52 จะเติบโตอย่างโดดเด่น โดยเฉพาะผลประกอบการของ BIGC และ MAKRO ที่อ่อนแอตลอดในช่วง Q1/2552 – Q3/2552 ซึ่งเป็นไปตามแนวโน้มดัชนีค้าปลีกของประเทศไทย
โดย สถาบันวิจัยนครหลวงไทย ประจำวันที่ 5 มกราคม 2553
**********
05/01/53
JANUARY EFFECTมาแน่ ธปท.ชี้สภาพคล่องโลกดี
ทันหุ้น
- โบรกมั่นใจปีนี้ January Effect มาแน่ แนะดูจังหวะอีก 2 สัปดาห์ดัชนีมีลุ้นแตะ 758 จุด ชูกลุ่มแบงก์ วัสดุก่อสร้าง เกษตรและพลังงานเด่นสุด ส่วนค่าเงินบาทส่อแววผันผวน ผู้ว่าแบงก์ชาติชี้เป็นตามกระแสเงินไหลเข้าออก หลังจากสภาพคล่องโลกเริ่มเข้าสู่ภาวะปกติ
นายเผดิมภพ สงเคราะห์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า
การเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยในช่วงต้นปีนี้ ยังต้องรอดูทิศทางต่อไประยะหนึ่ง โดยเชื่อว่าในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนมกราคมยังคงเกิด January Effect โดยนักลงทุนน่าจะมีการปรับพอร์ตการลงทุนมากขึ้น ตามเศรษฐกิจโลก โดยมองแนวรับที่ 720 จุด แนวต้านที่ 740 จุด ซึ่งหากผ่าน 758 จุด จะถือเป็นสัญญาณที่ดี แต่ช่วงปลายไตรมาส 1/2553 อาจจะมีแนวโน้มปรับลดลงมา
ทั้งนี้ในเดือนมกราคม 2553 หากเป็นไปตามคาดที่ได้คาดการณ์ว่าทุนต่างชาติจะกลับมาซื้อตลาดหุ้นเอเชีย ยกเว้นญี่ปุ่น แนะถือหุ้นในกลุ่มพลังงาน โดยแนะนำ PTTEP อีกทั้งยังแนะหุ้นขนาดกลาง MCOT, TVO, KSL BGH, CENTEL โดยให้กรอบการเคลื่อนไหวทั้งปี 2553 ต่ำสุดที่ 600 จุด และสูงสุดที่ 840 จุด
นางสาวจิตรา อมรธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.ฟินันเซียไซรัส จำกัด(มหาชน) มองแนวโน้มการตลาดหุ้นไทยวันนี้ (5 ม.ค.) มีทิศทางปรับตัวดีขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจต่างประเทศ ซึ่งในช่วงนี้ถือว่าเป็นช่วง January Effect เนื่องจากมีแรงขายจากการเก็งกำไรในปีที่แล้ว ส่งผลให้การซื้อขายยังเบาบาง
โดย มองว่าในช่วง1-2 สัปดาห์เป็นต้นไป ดัชนีจะขึ้นทดสอบแตะระดับที่ 750 จุด โดยแนะถือหุ้นกลุ่มธนาคารเช่น BAY, KBANK กลุ่มวัสดุก่อสร้างเช่น TASCO, DCC, SCC กลุ่มเกษตรเช่น TUF, TVO, KSL กลุ่มพลังงานเช่น PTT, IRPC โดยคาดว่าตลาดหุ้นจะเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบแนวรับที่ 740 จุด และแนวต้าน 728 จุด
ด้านนางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในปี 2553 ค่าเงินบาทมีความผันผวนมากจากการที่มีเงินไหลเข้าไหลออก เนื่องจากสภาพคล่องโลกกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงแรกของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ขณะที่ความเชื่อมั่นของภูมิภาคเอเชียมีมากกว่าที่อื่น
อย่างไรก็ตาม ธปท.พร้อมจะเข้าไปดูแลค่าเงินบาทตามปกติ ถ้าเกิดความผันผวนมาก แต่ไม่ได้เตรียมมาตรการพิเศษ และที่ผ่านมาไม่พบการเก็งกำไรค่าเงินอย่างผิดปกติ
สำหรับนโยบายอัตราดอกเบี้ยนั้น ธปท.จะพิจารณาภาวะเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ หากเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นแรงมาก ธปท.ก็พร้อมจะปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นแรงเช่นกัน แต่ถ้าเงินเฟ้อปรับตัวขึ้นมาในลักษณะค่อยๆเป็นค่อยๆไป ดอกเบี้ยก็จะปรับแบบค่อยๆเป็นค่อยไปเช่นกัน
ทั้งนี้ อัตราเงินเฟ้อในปี 2553 คงสูงกว่าปีที่แล้ว โดยเฉพาะช่วงไตรมาส 1/2553 และไตรมาส 2/2553 มาจากปัจจัยหลายด้าน โดยเฉพาะฐานราคาน้ำมันปีก่อนต่ำกว่า โดย ธปท.จะเข้าไปดูอัตราเงินเฟ้อที่แท้จริงที่เกิดจากราคาสินค้าสูงขึ้นจริง ๆ ขณะที่มาตรการช่วยค่าครองชีพของประชาชนจะต่ออายุอีกเพียงไตรมาสเดียว ซึ่งจะทำให้โอกาสเงินเฟ้อเร่งตัวสูงขึ้น แต่ยังไม่น่าจะตื่นเต้นมากนัก
ทันหุ้น*********
05/01/53
บล. เอเซียพลัสเชื่อครึ่งแรกของเดือนม.ค. หุ้นไทยสดใสกว่าครึ่งหลัง

Posted on Tuesday, January 05, 2010
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิจัย บล. เอเซียพลัส กล่าวในรายการ Get SET ว่า แม้ตลาดหุ้นไทยจะได้แรงหนุนจากตลาดหุ้นต่างประเทศและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับเพิ่มขึ้น แต่ก็ไม่ได้เป็นการเพิ่มขึ้นแบบไร้ความกังวล เพราะจากสถิติย้อนหลังจะพบว่า ในช่วงเดือนม.ค.และก.พ.จะมีแรงขายของนักลงทุนสถาบันออกมา เนื่องจากครบกำหนดการถือหุ้นในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) โดยในปีนี้ผู้ที่ซื้อ LTF ตั้งแต่ปี 2549 คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 1.16 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นแรงหน่วงให้ตลาดหุ้นปรับบวกขึ้นได้ไม่มาก

อีกทั้งในช่วงครึ่งหลังของเดือนม.ค. 53 ปัจจัยทางการเมืองจะกดดันดัชนีตลาดหุ้นไทยมากขึ้น จากปัญหาการเมืองทั้งในและนอกสภาผู้แทนราษฎร ได้แก่ การชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดง การตัดสินคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาทของอดีตนายกรัฐมนตรีที่จะมีการไต่สวนนัดสุดท้ายในวันที่ 14 ม.ค. 53 รวมไปถึงการเปิดประชุมสภาฯสมัยสามัญในวันที่ 21 ม.ค. 53 ตลอดจนแรงกดดันให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ

อย่างไรก็ตาม บล. เอเซียพลัสยังมองภาพรวมของตลาดหุ้นไทยในปีนี้ดีกว่าปีที่ผ่านมา โดยมองว่ากรอบดัชนีต่ำสุดคือ 690 จุด และสูงสุดที่ 892 จุด ซึ่งหากเทียบกับดัชนีในขณะนี้ก็เท่ากับว่ามีโอกาสปรับเพิ่มขึ้นได้อีกมาก ในขณะที่การปรับลดลงอยู่ในกรอบที่จำกัด

********
04/01/53
บลจ. อยุธยามองกองทุนหุ้น - สินค้าโภคภัณฑ์ยังเป็นทางเลือกการลงทุนที่ดีในปี 2553

Posted on Tuesday, December 29, 2009
นายประภาส ตันพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บลจ. อยุธยา กล่าวผ่านรายการ Smart Money ว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยในปี 2551 ปรับลดลงไปประมาณ 47% แต่ในปี 2552 ได้ปรับเพิ่มขึ้นมาประมาณ 60% แล้ว แม้ว่าดัชนีการเติบโตของเศรษฐกิจในปี 2552 จะยังคงเป็นลบก็ตาม โดยเฉพาะในไตรมาส 1-2/52 แต่เริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาส 3/52 แล้ว จึงคาดว่าจีดีพีในปี 2553 น่าจะติดลบเพียง 3% โดยประเทศไทยยังมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่ำประเทศอื่น เช่น จีน อินเดีย ญี่ปุ่น และเกาหลี ที่เริ่มฟื้นตัวอย่างชัดเจน

นายประภาสกล่าวว่า ตลาดหุ้นไทยใน 10 ปีที่ผ่านมา มีขนาดเล็กลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นต่างประเทศ ทำให้สัดส่วนการลงทุนจากเงินทุนต่างประเทศน้อยลงไปด้วย แม้ว่าจะมีข่าวดีทางเศรษฐกิจหรือมีเงินทุนไหลมาเอเชียแล้วก็ตาม โดยมีปัจจัย ลบที่สำคัญ คือ การเมือง จึงควรเร่งแก้ไขปัญหาความขัดแย้งดังกล่าว เพื่อไม่ให้บั่นทอนความเชื่อมั่นของนักลงทุนในระยะยาวและเบนเมไปลงทุนในประเทศอื่น ๆ มากไปกว่านี้ นอกจากนี้ ประเด็นมาบตาพุดก็ยังเป็นสิ่งที่นักลงทุนให้ความสนใจเช่นกัน ซึ่งหากมีการแก้ปัญหาให้ชัดเจนและรวดเร็ว จะเป็นผลดีต่อหุ้นไทยได้

สำหรับตลาดหุ้นไทยในปี 2553 ยังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นได้ต่อเนื่อง โดยมีโอกาสขึ้นไปแตะที่ 800 จุดได้ แต่หากมีข่าวร้ายเข้ามา ก็ยังมีโอกาสร่วงลงมาแตะ 600 จุดได้เช่นกัน โดยในช่วงไตรมาส 1/53 จะเป็นจังหวะที่ดีในการลงทุนในกองทุนหุ้น เพราะกองทุนรวมจะช่วยในการเลือกสรรบริษัทที่จะลงทุนได้ โดยควรศึกษานโยบายการลงทุนด้วยว่า มีนโยบายการลงทุนเชิงรุก ลงทุนตามดัชนี ลงทุนหุ้นที่เติบโต หรือ หุ้นคุณค่า เพราะราคาจะเคลื่อนไหวแตกต่างกัน

นายประภาสกล่าวอีกว่า การลงทุนในกองทุนหุ้นยังเป็นทางเลือกที่ดีในปี 2553 โดยเฉพาะกองทุนที่มีนโยบายการลงทุนในหุ้นปันผล เพราะหุ้นไทยจ่ายปันผลที่ค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับภูมิภาค และยังมีความผันผวนของราคาหุ้นต่ำกว่าหุ้นอื่น ๆ จึงเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับกับนักลงทุนที่ชอบความมั่นคงในระยะยาว ขณะที่การลงทุนในสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ ก็ยังเป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน เพราะราคาน่าจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องในปี 2553
money channel
**********
30/12/52
ธุรกิจขานรับ′ศก.ปีเสือ′ อสังหาฯ-รถยนต์-แบงก์ชี้หลายปัจจัยหนุนโตต่อเนื่อง ห่วงปัจจัยเสี่ยงศก.โลก !

ธุรกิจมองแนวโน้มปี53 ได้โมเมนตัมเศรษฐกิจเริ่มฟื้น ดันกำลังซื้อโตต่อเนื่อง บิ๊กบ้านพฤกษาชี้ความเชื่อมั่นกลับมาแล้ว อุตฯยานยนต์คาดแนวโน้มโตได้ถึง 20% ดีแทคหวังรัฐไฟเขียวไลเซนส์ 3G มั่นใจช่วยหนุน ศก. ส่วน "บุญทักษ์ หวังเจริญ" เอ็มดีทหารไทย ชี้ธุรกิจไทยแกร่งกว่าที่คิด เรื่องร้าย ๆ รอบตัวแต่ยังพยุงตัวเองได้ ห่วงปัจจัยเสี่ยงจากศก.โลก !!

การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงท้ายปีซึ่งปรากฏภาพชัดเจนว่า กำลังซื้อเริ่มกลับมา หลาย ๆ กลุ่มธุรกิจยอดขายกลับมาคึกคัก บวกกับดัชนีเศรษฐกิจที่มีทิศทางดีขึ้น ทำให้ภาคธุรกิจมีความมั่นใจว่า ในปี 2553 การค้าขายน่าจะกลับมาคึกคักได้ อย่างไรก็ตามตัวแปรสำคัญที่ยังสร้างความวิตกกังวลให้ก็คือ การแก้ปัญหามาบตาพุด และความขัดแย้งทางการเมือง

นายทองมา วิจิตรพงศ์พันธุ์ ประธานกรรมการและกรรมการผู้จัดการ บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) มองว่าจะมีทิศทางเป็นบวกต่อเนื่องจากช่วงครึ่งปีหลังและปลายปี 2552 ที่สถานการณ์โดยรวมดีขึ้นมาก ซึ่งเป็นผลมาจากเศรษฐกิจและกำลังซื้อในตลาดอสังหาฯกระเตื้องขึ้นมาก ความเชื่อมั่นทั้งของผู้ประกอบการและผู้บริโภคมีมากขึ้น เห็นได้จากหลายบริษัทมียอดขายดีขึ้นชัดเจน ซึ่งตนมองว่าปัจจัยบวกดังกล่าวจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงต้นปี 2553 ด้วย

อย่างไรก็ตามผู้สื่อข่าวรายงานว่า สิ่งที่ภาคอสังหาฯให้ความสนใจเป็นพิเศษคือ การแสดงท่าทีแข็งขันที่จะผลักดันร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของรัฐบาลชุดนี้ โดยมีนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง เป็นโต้โผใหญ่ แต่ถูกเลื่อนแล้วเลื่อนอีก จนล่าสุดมีข่าวว่า รมว.คลังจะเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้เข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีภายในต้นปี 2553 ซึ่งต้องจับตามองต่อไป เช่นเดียวกับมาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาฯด้วยการลดค่าโอน ค่าจดจำนอง และภาษีธุรกิจเฉพาะที่จะสิ้นสุดลงวันที่ 28 มีนาคม 2553

นายบุญทักษ์ หวังเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปี 2552 เป็นปีที่ผันผวนมากที่สุด คือต้นร้ายปลายดี และคงต่อเนื่องมาจนถึงปี 2553 แต่อย่างไรก็ตามปี 2553 เป็นปีที่ต้องเหนื่อยต่อไป เพราะปัจจัยลบอยู่ทั้งเรื่องการเมือง เรื่องมาบตาพุด แต่เชื่อว่าภาคธุรกิจเอกชนไทยมีความแข็งแกร่ง สามารถที่จะเดินหน้าต่อไปได้ ถ้าสังเกตจะพบว่าหลังปี 2540 เป็นต้นมา นักธุรกิจไทยมีความสามารถในการบริหารความเสี่ยงได้ดีมากขึ้น

นายศุภรัตน์ ศิริสุวรรณางกูร นายกสมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด มองว่า อุตสาหกรรมยานยนต์ในปี 2553 มีแนวโน้มเติบโตเพิ่มขึ้นแน่ 20% จากยอดรวมเฉียด 6 แสนคัน คาดว่ายอดผลิตน่าจะทะลุ 1.2 ล้านคัน แบ่งเป็นตลาดในประเทศและตลาดส่งออกในสัดส่วน 50/50
ปัจจัยที่ทำให้ตลาดโต คือ ราคาน้ำมันในตลาดโลกเริ่มมีการปรับตัวลดลง สภาพเศรษฐกิจโดยรวมเริ่มมีการฟื้นตัว ราคาพืชผลทางการเกษตรมีราคาดีขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายการประกันราคาของภาครัฐ และมาตรการปล่อยสินเชื่อที่มีความคล่องตัวมากขึ้น
@ ดีแทคชี้ 3G ช่วยขับเคลื่อน ศก.ไทย
นายทอเร่ จอห์นเซ่น ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า ถ้าในปี 2553 มีการออกใบอนุญาตโทรศัพท์มือถือ 3G จะทำให้ตลาดมือถือก้าวเข้าสู่การแข่งขันในการให้บริการอินเทอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง เพิ่มโอกาสให้คนไทยเข้าถึงบริการอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้จีดีพีของประเทศสูงขึ้น โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญจากผู้ใช้ภาคธุรกิจที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้น เพราะอินเทอร์เน็ตมีศักยภาพในการสร้างธุรกิจใหม่มากถึง 52,000 ธุรกิจต่อปี เท่ากับสร้างงานใหม่ 114,000 อัตราต่อปี โดยปราศจากการกระตุ้นหรือเงินสนับสนุนจากรัฐบาล

แต่หากในปี 2553 การให้ใบอนุญาต 3G ไม่มีข้อสรุป บริษัทจะหันมาเพิ่มโฟกัสในการพัฒนาเครือข่าย 2G ต่อไป โดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการอินเทอร์เน็ตควบคู่ไปกับการนำเสนอบริการเสริมอื่น ๆ ซึ่งมีโอกาสโตได้อีกมาก ให้ความสำคัญกับการนำสมาร์ตโฟนมาใช้มากขึ้น ทั้งแบล็คเบอร์รี่และอื่น ๆ เพื่อเพิ่มประสบการณ์การใช้งานดาต้า และการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ

@ สศค.คาดจีดีพีปีี53 ขยายตัว 3.5%
นายสาธิต รังคสิริ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า แม้เศรษฐกิจไทยใน 3 ไตรมาสแรกของปี 2552 หดตัวลงมาก แต่ผลของการเร่งใช้จ่ายภาครัฐและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าที่ทำให้ภาคส่งออกกลับมาขยายตัว ประกอบกับฐานที่ต่ำในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2551 ส่งผลให้เศรษฐกิจจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกในไตรมาส 4 และคาดว่าแนวโน้มเศรษฐกิจในปี 2552 จะดีขึ้น จากเดิมคาดการณ์ว่าจะหดตัว 3% (ณ เดือน ก.ย.) ล่าสุดปรับคาดการณ์ใหม่เศรษฐกิจจะหดตัวเพียง 2.8%

ส่วนปี 2553 จากประสิทธิผลของการดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทำให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวที่ 3.5% โดยมีช่วงคาดการณ์ที่ 3.0-4.0% ซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่คำนึงผลกระทบจากปัญหามาบตาพุดแล้ว จากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 3%

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค กล่าวว่า ประมาณการเศรษฐกิจในครั้งนี้อยู่ภายใต้สมมติฐาน ดังนี้ 1) เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก 14 ประเทศฟื้นตัวดีขึ้น จะส่งผลให้ภาคส่งออกของไทยปรับตัวสูงขึ้น โดยในเดือน พ.ย.ที่ผ่านมามูลค่าส่งออกขยายตัว 17.2% ส่วนปี 2553 ส่งออกจะขยายตัว 15.5% 2) ราคาน้ำมันดิบในปี 2553 ที่คาดว่าจะเฉลี่ย 80 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ซึ่งราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ 10 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล จะส่งผลต่ออัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 0.5% และมีผลต่อ GDP ลดลงอีก 0.2% ต่อปี เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการฟื้นตัวช้าลงของเศรษฐกิจในปีหน้า

3) ภาคการส่งออกปรับตัวดีขึ้น โดยคาดปี 2553 ราคาสินค้าส่งออกและสินค้านำเข้าจะปรับตัวสูงขึ้นตามราคาน้ำมัน 4) แนวโน้มค่าเงินบาทแข็งขึ้นเฉลี่ยที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยจะเคลื่อนไหวในช่วง 32-34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ 5) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นจะทำให้ภาคบริโภคภายในประเทศอ่อนแอลง ดังนั้นในช่วงครึ่งแรกของปี 2553 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) อาจจะยังไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย แต่ในช่วงครึ่งปีหลังอาจจะพิจารณาปรับขึ้นประมาณ 0.25-0.75% คาดว่าทั้งปีน่าจะมีอัตราเฉลี่ยอยู่ที่ 1.5% ต่อปี และ 6) การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณและงบฯไทยเข้มแข็งจะต้องไม่ต่ำกว่า 80% ของวงเงินลงทุนทั้งหมด

"ปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ ความเปราะบางของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก การปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าตามราคาน้ำมันในตลาดโลก และความล่าช้าในการแก้ปัญหาการระงับการลงทุนในเขตมาบตาพุด รวมทั้งสถานการณ์การเมืองในประเทศที่อาจกระทบให้ภาคเอกชนฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ดังนั้นภาครัฐยังจำเป็นต้องเร่งเบิกจ่ายให้เป็นไปตามเป้าหมายในช่วงที่เอกชนยังฟื้นตัวไม่เต็มที่ และต้องเร่งผลักดันให้ภาคเอกชนกลับมาเป็นเครื่องยนต์หลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยโดยเร็ว" นายเอกนิติกล่าว

สอดคล้องกับศูนย์วิจัยกสิกรไทยที่มีมุมมองปัจจัยหนุนการเติบโตของเศรษฐกิจไทยมาจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่กลับมาเป็นบวก และโครงการลงทุนไทยเข้มแข็ง แต่ยังกังวลการเบิกจ่ายอาจจะยังล่าช้า ส่วนปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ การฟื้นตัวของประเทศพัฒนาที่ยังมีความไม่แน่นอนและเสถียรภาพของเศรษฐกิจประเทศเกิดใหม่ ปัญหาความไม่ชัดเจนของข้อกฎหมายที่ส่งผลต่อโครงการลงทุนบางสาขา และความไม่แน่นอนทางการเมืองที่กระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคเอกชน จึงประมาณการเติบโตของจีดีพีในปี 2553 ที่ 2.5-3.5% (ดูตารางประกอบ)

"ปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้จีดีพีอยู่ในกรอบล่างที่ 2.5% คือ การเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐบาลที่ล่าช้า รวมถึงปัญหาทางการเมือง ปัญหามาบตาพุด สิ่งที่รัฐบาลควรทำ คือ ลงทุนไทยเข้มแข็งให้ได้ตามเป้าหมาย นี่เป็นบททดสอบสำคัญ เพราะมันเป็นการเบิกจ่ายงบฯข้ามปี ไม่ใช่เบิกแล้วจบในครั้งเดียวเหมือนงบฯกลางปี" ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุ

สำหรับคาดการณ์ราคาน้ำมันในปี 2553 จะปรับตัวขึ้นมาที่ 75.0-85.0 ดอลลาร์/บาร์เรล จากปี 2552 ที่เฉลี่ย 62.0 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งจะนำไปสู่แรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อและการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งคาดว่าในครึ่งปีหลังจะขยับขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปประมาณ 0.75% จากปัจจุบันที่อยู่ 1.25% ส่วนค่าเงินบาทปี 2553 คาดว่าจะอยู่ที่ 31.50 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าราว 3% จากคาดการณ์ ณ สิ้นปี 2552 เฉลี่ยอยู่ที่ 32.70 บาท/ดอลลาร์
@ ศก.โลกฟื้นแต่ปัจจัยเสี่ยงเพียบ
นักวิเคราะห์หลายสถาบันรวมถึงกองทุนการเงินระหว่างประเทศคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวแข็งแกร่งขึ้นในปี 2553 โดยประมาณการว่า อัตราการเติบโตจะอยู่ที่ 3.1% หลังจากหดตัว 1.1% ในปี 2552 (ตัวเลขประมาณการ) ซึ่งถือเป็นอัตราการหดตัวที่เลวร้ายที่สุดนับจากสงครามโลกครั้งที่ 2

ด้านโจชิม เฟลส์ นักเศรษฐศาสตร์ มอร์แกน สแตนเลย์ และทีมงานคาดการณ์ว่า เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวที่ 4% แต่เฉพาะเศรษฐกิจพัฒนาแล้วมีแนวโน้มจะเติบโตแค่ 2% ขณะที่เศรษฐกิจหลายแห่งมีโอกาสได้เห็นการฟื้นตัวโดยปราศจากการปล่อยสินเชื่อ เนื่องจากธนาคารลังเลใจจะปล่อยสินเชื่อ พร้อมทำนายว่า กลุ่มจี-10 ซึ่งประกอบด้วยเบลเยียม แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ อังกฤษ และสหรัฐ จะเผชิญกับการฟื้นตัว โดยเต็มไปด้วยภาวะว่างงาน ด้วยตัวเลขคนตกงานที่สูง ในสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่น

อย่างไรก็ตามแม้เศรษฐกิจโลกจะฟื้นตัวในระดับที่แข็งแกร่งขึ้น แต่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่เตือนว่า ปัญหาท้าทายหลายประการยังคงอยู่ อาทิ ปัญหาว่างงานสูง และการขาดดุลงบประมาณที่ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ ในสหรัฐ ปัญหาหนี้สินที่พอกพูนขึ้นในหลายประเทศ โดยเฉพาะหลังเกิดวิกฤตหนี้ดูไบเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

บทวิเคราะห์เรื่อง Too Much Debt: Risks For 2010 And Beyond โดยโรเบิร์ต เลนซ์เนอร์ บรรณาธิการข่าวในประเทศ นิตยสารฟอร์บส ระบุว่า ปัจจุบัน สหรัฐมีหนี้สินเฉลี่ยอยู่ที่ 3.50 ดอลลาร์ ต่อทุก ๆ 1 ดอลลาร์ของมูลค่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจ สัดส่วนหนี้สินต่อรายได้ของสหรัฐที่เพิ่มสูงขึ้นในระดับอันตรายนี้เกิดขึ้น แม้ว่าผู้บริโภคจะสามารถลดหนี้ครัวเรือนลงแล้ว ในช่วงที่ต้องดิ้นรนรับมือกับการผ่อนชำระบัตรเครดิต ชำระเงินกู้ซื้อบ้าน และสินเชื่อรถยนต์

ปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกในปี 2553 ยังครอบคลุมถึงความเสี่ยงจากฟองสบู่สินทรัพย์ในหลาย ๆ ประเทศ ทั้งอสังหาริมทรัพย์ ตลาดหุ้น ทองคำ และคอมโมดิตีส์อื่น ๆ ดังที่เดวิด กุย นักยุทธศาสตร์การลงทุนในตลาดจีนของธนาคารแบงก์ ออฟ อเมริกา เตือนว่า มีโอกาสที่จะเห็นฟองสบู่สินทรัพย์ที่โป่งพองเต็มที่ในจีน ในปี 2553
prachachat**********
29/12/52
กลยุทธ์ลงทุนหุ้นปี’53

รายงานโดย :บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเชียไซรัส: วันอังคารที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ฝ่ายกลยุทธ์ของเราประเมิน SET Target ปลายปี 2010 ที่ 860 จุด ปรับลงจากเดิมที่คาดไว้ที่ 975 จุด

หลังจากปรับประมาณการหุ้นที่เกี่ยวข้องกับมาบตาพุดซึ่งมีกำไรรวมกันประมาณ 40% ของกำไรของทั้งตลาด โดยตั้งสมมติฐานว่าโครงการในมาบตาพุดจะล่าช้าออกไปอีก 1 ปี ซึ่งทำให้ประมาณการกำไรสุทธิปี 2010 ของบริษัทที่ได้รับผลกระทบ ลดลงจากเดิม 2030% และส่งผลให้การเติบโตของ EPS ของบริษัทที่อยู่ใน FSS Coverage ในปี 2010 ลดลงเป็น 13.9% จากเดิมที่คาดว่าจะเติบโต 22.3% ดัชนีเป้าหมายดังกล่าวประเมินจาก PE 14.0 เท่า หรือคิดเป็น PE/Growth 1.0 เท่า

- ฝ่ายกลยุทธ์ได้ประมาณการ EPS ของตลาดในปี 2010 ที่ 61.4 บาท/หุ้น ดังนั้น ณ ระดับ SET Index ปิดวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ 730.41 จุด คิดเป็น PE ปี 2010 ที่ 11.4 เท่า ต่ำกว่าหุ้นในภูมิภาคเอเชียที่ซื้อขายที่ PE 14–15 เท่าอยู่ประมาณ 14-20% และยังให้อัตราเงิน ปันผลตอบแทน 3.4% ระดับดัชนีปัจจุบันยังถือว่าน่าลงทุน โดยดัชนีเป้าหมายที่ 860 จุด มี Upside จากปัจจุบัน 17.7%

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจและความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนในปีนี้จะสดใสกว่าปีที่ผ่านมา และเชื่อว่าตลาดหุ้นจะมีพัฒนาการไปในทิศทางเดียวกัน แต่ความเสี่ยงที่สำคัญของตลาดหุ้นในปี 2010 ที่นักลงทุนควรต้องจับตาและจับจังหวะในการลงทุน มีดังนี้

- Exit Strategy ที่เริ่มพูดถึงตั้งแต่ช่วงปลายปีนี้จะเริ่มเป็นจริงในทางปฏิบัติในปีหน้า แม้ว่าธนาคารกลางประเทศต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสหรัฐต่างทยอยพูดถึงการถอนมาตรการผ่อนคลายทางการเงินหรือการดึงเม็ดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจตั้งแต่ช่วงที่ผ่านมา เพื่อลดความคาดหวังของนักลงทุน แต่เมื่อเม็ดเงินส่วนเกินของระบบถูกดึงกลับจริง ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นครึ่งปีหลังปีหน้า และแม้ว่าจะเป็นการทำแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นและในตลาดพันธบัตรจะปรับขึ้นโดยอัตโนมัติ แรงบวกที่มีต่อตลาดหุ้นในภูมิภาคเอเชียจากสภาพคล่องส่วนเกินจำนวนมากในปีนี้ จะชะลอลงทันทีซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้น ในทางตรงกันข้าม หาก Exit ช้าเกินไป ความเสี่ยงที่จะเกิดฟองสบู่ในสินทรัพย์ต่างๆ จะพุ่งสูงขึ้น และอัตราเงินเฟ้อสูงก็จะตามมา และการขึ้นดอกเบี้ยก็จะตามมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

- การปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ธนาคารกลางทั่วโลกโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งเศรษฐกิจฟื้นตัวได้เร็วกว่าสหรัฐและยุโรป กำลังเผชิญกับความท้าทายในการรักษาสมดุลระหว่างอัตราเงินเฟ้อที่มาจากราคาสินทรัพย์ที่ปรับสูงขึ้นจากเงินร้อนในช่วงที่ผ่านมา (เช่นราคาอสังหาริมทรัพย์ในจีนและฮ่องกง) และเงินเฟ้อที่จะเกิดจากราคาน้ำมันที่อาจปรับสูงขึ้น กับการรักษาเสถียรภาพของเศรษฐกิจที่ยังฟื้นตัวอย่างเปราะบางจนหากปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไปและมากเกินไป กลับจะเป็นการทำร้ายให้เศรษฐกิจกลับมาชะงักงันเพราะต้นทุนของผู้ประกอบการที่เพิ่มขึ้น และต้นทุนการกู้เงินเหรียญสหรัฐระยะสั้นที่เริ่มแพงขึ้น

สำหรับประเทศไทย ฝ่ายกลยุทธ์ของเรายังได้คาดการณ์ว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2010 จะปรับขึ้น 0.5% เป็น 1.75% จากสิ้นปีก่อนที่ 1.25% และคาดว่าจะปรับขึ้นในช่วง 3Q10 เป็นอย่างเร็ว รวมทั้งเชื่อว่าธนาคารกลางอื่นๆ จะปรับขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไป และขยับขึ้นในอัตราที่ไม่ชัน แต่ในช่วงแรกที่เกิดการกลับทิศทางของนโยบายการเงิน ตลาดหุ้นมักถูกกระทบแรงเสมอ นอกจากนี้ การปรับขึ้นดอกเบี้ยย่อมส่งผลกระทบต่ออัตราแลกเปลี่ยนทำให้ค่าเงินแข็งค่า หากประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศขยับขึ้นดอกเบี้ยก่อนเรา อาจเป็นแรงกดดันให้เราต้องขยับดอกเบี้ยเพื่อรักษาส่วนต่างของอัตราแลกเปลี่ยน
posttoday
************
24/12/52
นักวิเคราะห์ คาดการณ์ SET Index ปลายปี 53 ที่ระดับ 812 จุด

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
สมาคมนักวิเคราะห์ คาดการณ์ SET Index สิ้นปี 53 อยู่ที่ระดับ 812 จุด ส่วนในช่วงโค้งสุดท้ายปี 52 อยู่ที่ 726 จุด พร้อมเพิ่มประมาณการตัวเลขการขยายตัวทาง ศก.ปี 53 ขยายตัวได้ 3.5%

สมาคมนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ เผยนักวิเคราะห์ปรับเพิ่มคาดการณ์เป้าหมายดัชนีตลาดหุ้นไทย (SET Index) ปลายปี 2552 เป็นเฉลี่ยที่ระดับ 726 จุด จากคาดการณ์ครั้งก่อนในเดือนกันยายน 2552 ที่ระดับ 674 จุด หลังจากมีการปรับเพิ่มคาดการณ์ตัวเลขสำคัญทางเศรษฐกิจ

พร้อมกันนี้ สมาคมนักวิเคราะห์ยังคาดการแนวโน้ม SET Index ปลายปี 2553 อยู่ที่ 812 จุด โดยจุดสูงสุดจะอยู่ที่ 845 จุด และต่ำสุดที่ 625 จุด

ทั้งนี้ การเพิ่มคาดการณ์ SET Index มีปัจจัยบวกมาจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของไทย รวมถึงแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกและประเทศคู่ค้าของไทย

ปัจจัยดังกล่าว ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2552 จะติดลบ 3.2% ดีกว่าที่เคยคาดว่าจะติดลบ 3.4% และในปี 2553 เศรษฐกิจไทยจะขยายตัวถึง 3.5% สูงกว่าที่เคยคาดไว้ที่ 3.2%

*********
24/12/52
บล. DBS บอกขายไปก่อนตอน 730 – 740 จุด แล้วค่อยซื้อใหม่ หรือถือยาวข้ามปีก็ได้

Posted on Thursday, December 24, 2009
อาภาภรณ์ แสวงพรรค ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล. ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) กล่าวในรายการ Get SET ว่า บรรยากาศการลงทุนในระยะสั้นยังเป็นบวก เหตุจากสต็อกน้ำมันดิบในสหรัฐฯที่เคยอยู่ในระดับสูงลดลงมากกว่าคาดถึง 4.9 ล้านบาเรล ทำให้ราคาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัสดีดกลับมาอยู่ที่ 77 เหรียญ ซึ่งจะช่วยหนุนหุ้นในกลุ่มน้ำมันได้

นอกจากนี้ อาภาภรณ์ยังเชื่อว่า ประเด็นเรื่องการระงับโครงการในมาบตาพุดน่าจะผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และมีแนวโน้มที่จะคลี่คลายลง โดยล่าสุดคณะกรรมการ 4 ฝ่ายได้เกณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับการประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) และผลกระทบด้านสุขภาพ (HIA) พร้อมการประชาพิจารณ์ได้แล้ว ซึ่งจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้วประกาศออกมาเป็นกฎกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ในเวลาต่อมา

ดังนั้น โครงการที่ถูกระงับก็จะต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนในการทำ HIA ในขณะที่ภาครัฐก็จะต้องตั้งองค์กรอิสระควบคู่กันไป โครงการในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ถูกระงับก็จะล่าช้าออกไปอีกประมาณ 6 เดือน และน่าจะเริ่มลงมือก่อสร้างได้ในกลางปีหน้า แต่ไม่จำเป็นต้องกังวลในเรื่องราคาหุ้น เพราะปัจจัยนี้กดราคาหุ้นไปล่วงหน้าแล้ว

ในขณะที่ปัญหาด้านการเมืองจะกลับมากดดันตลาดหุ้นไทยเป็นระยะ ซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ค่า P/E ของตลาดหุ้นไทยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภูมิภาคมาโดยตลอด โดยปัจจุบันของไทยอยู่ที่ 11-12 เท่า ส่วนของภูมิภาคอยู่ที่ 14 เท่า

อาภาภรณ์ยังแนะนำกลยุทธ์การลงทุนช่วงนี้ว่า นักลงทุนอาจขายทำกำไรออกมาก่อนเมื่อดัชนีอยู่ที่ระดับ 730 – 740 จุด แต่หากดัชนีทะยานขึ้นไปยืนเหนือ 740 จุด ก็มีโอกาสที่จะทะลุขึ้นไปถึงระดับ 780 หรือ 800 จุดได้ ดังนั้นหากขายออกไปก่อน ก็อาจกลับมาซื้อใหม่เมื่อดัชนีเหนือ 740 จุด หรืออาจไม่ขายแล้วถือหุ้นข้ามปี เพื่อรอลุ้น January Effect ในเดือนม.ค. 53 ก็ได้
money news update
**********
24/12/52
ปี’53หุ้นผันผวน นโยบายรัฐเสี่ยง
สถาบันวิจัยนครหลวงฯ ชี้ปีหน้าหุ้นผันผวนกรอบ 530-880 จุด หมดรอบเล่นตามภาวะตลาด เน้นหุ้นปันผลรายตัวหรือกลุ่มอุตสาหกรรม

นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการอาวุโส สถาบันวิจัยนครหลวงไทย เปิดเผยว่า ภาวะตลาดหุ้นไทยปี 2553 ดัชนียังมีโอกาสปรับขึ้นได้ แต่จะไม่สูงเท่าปีนี้และจะผันผวนในกรอบ 530-880 จุด โดยยังไม่รวมปัจจัยมาบตาพุด จากสิ้นปีนี้ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 750 จุด
ขณะที่กำไรสุทธิต่อหุ้น (EPS) ของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ปีหน้าอยู่ที่ 67 บาทต่อหุ้น เทียบกับปีนี้ที่ 55 บาทต่อหุ้น

นายสุกิจ กล่าวว่า ประเด็นที่ต้องจับตาคือเงินทุนที่ไหลเข้าในเอเชียจำนวนมาก จากการทำเยน แครี่เทรด หลังญี่ปุ่นจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยซึ่งอาจทำให้เงินไหลตลาดหุ้นมากขึ้น และมีมาตรการควบคุมการไหลเข้าของเงินทุนอย่างเช่นที่ผ่านมา ซึ่งเป็นมาตรการที่นักลงทุนต่างชาติกังวลมาก

พร้อมทั้งต้องจับตามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะ 2 เพราะโครงการไทยเข้มแข็งจะสะท้อนราคาหุ้นได้ถึงไตรมาส 1 ขณะที่แนะซื้อหุ้นปันผลหรืออุตสาหกรรมที่ดีตามเศรษฐกิจเช่นเกษตร เป็นต้น

ตลาดหุ้นไทยวานนี้ซึ่งเป็นวันที่รัฐบาลแถลงผลงานรอบ 1 ปี และตลาดต่างประเทศสดใส ส่งผลให้ดัชนีปรับตัวขึ้นต่อ ปิดที่ 729.80 จุด เพิ่มขึ้น 5.40 จุดหรือ 0.75% มูลค่าซื้อขาย 14,090 ล้านบาทต่างชาติซื้ออีก 265 ล้านบาท

มาร์เก็ตติงกล่าวว่า ตลาดหุ้นที่บวกขึ้นมาส่วนหนึ่งเป็นผลจากแรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นขนาดใหญ่ทั้งบริษัท ปตท. และบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) หลังศาลมีคำสั่งถอนโครงการลงทุนเหล็กสยามยามาโตะของกลุ่มปูนซิเมนต์ไทยออกจากโครงการที่ถูกระงับเพราะได้ใบอนุญาตก่อนรัฐธรรมนูญบังคับใช้

ขณะที่ความคืบหน้าในการเปิดประมูลใบอนุญาต 3จี ทางรมว.คลังออกมาระบุว่าจะมีความชัดเจนในอีก 2-3 เดือนข้างหน้าซึ่งในเรื่องนโยบายจากรัฐบาลยังคงเป็นความเสี่ยงกับการลงทุน
posttoday**********
21/12/52
ตลาดหุ้นปี'53 : ผันผวน
รายงานโดย :พิชัย เลิศสุพงศ์กิจ: วันจันทร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ตลาดหุ้นปี 2553 จะขึ้นกับตัวแปรสำคัญดังนี้ 1) ความยั่งยืนของการฟื้นตัว ของเศรษฐกิจโลก 2) จังหวะเวลาในการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ 3) เสถียรภาพการเมือง และ 4) ปัญหามาบตาพุด

ก่อนจะพูดถึงตัวแปรเหล่านี้ ต้องประเมินเศรษฐกิจและมูลค่าหุ้นที่เหมาะของตลาดไทยก่อน ขณะนี้เป็นที่รับรู้กันในวงกว้างแล้วว่า เศรษฐกิจโลกและของไทยฟื้นตัวชัดเจนขึ้นเป็นลำดับ มองไปในปี 2553 การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกจะช่วยกระตุ้นการส่งออกของไทยที่มีสัดส่วนสูง ถึงราว 70% ของจีดีพี โดยคาดว่าการส่งออกน่าจะขยายตัวได้ 10-12% ขณะที่งบประมาณไทยเข้มแข็งมูลค่า 1.43 ล้านล้านบาท ได้เริ่มทยอยฉีดเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจปีละประมาณ 5% ของจีดีพี
การเร่งตัวขึ้นของภาคส่งออกและการใช้จ่ายภาครัฐจะมีบทบาทผลักดันเศรษฐกิจปี 2553 ให้ขยายตัวราว 3% (รวมผลกระทบจากมาบตาพุดที่คาดว่าจะถ่วงเศรษฐกิจราว 0.3-0.5% ของจีดีพีแล้ว) และหนุนกำไรสุทธิของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นให้ขยายตัวราว 18-20% ในปีหน้า และดึงค่าพี/อีตลาดหุ้นไทยลงมาเหลือราว 11 เท่าเศษ ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10 ปี ที่อยู่ใกล้ๆ 12 เท่า เล็กน้อย นักวิเคราะห์ค่ายธนชาตประเมินดัชนีหุ้นปลายปีหน้าจะอยู่ที่ 820 จุด

มูลค่าตลาดหุ้นไทยจึงอยู่ในข่ายปานกลาง ไม่ถูกไม่แพง แม้จะดีดขึ้นมาถึงราว 60% ในปี 2552 แต่ก็มีโอกาสทำกำไรจำกัด และมีโอกาสเกิดความผันผวน ขึ้นอยู่กับ ตัวแปรดังนี้
ประการแรก ความยั่งยืนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก นักเศรษฐศาสตร์ส่วนหนึ่งวิจารณ์ว่า การฟื้นตัวในช่วงที่ผ่านมาเกิดจากการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งมโหฬารพร้อมๆ กันทั่วโลก จนทำให้เกิดการผลิต เพื่อทดแทนสต๊อกสินค้าที่อยู่ในระดับต่ำ ผิดปกติ อันเป็นผลจากการเคลียร์สต๊อกเดิมและดีมานด์ที่หดตัวกะทันหันหลังเกิดวิกฤต ซับไพรม์ในช่วงไตรมาส 4 ปี 2551

อย่างไรก็ดี ความต้องการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคยังคงอ่อนแอ เนื่องจากปัญหาคนตกงานจำนวนมาก อย่างในสหรัฐอเมริกาอัตราการว่างงานยังสูงถึง 10% หรือมีคนตกงานมากถึง 15.7 ล้านคนทีเดียว ยุโรปก็เผชิญปัญหาคนตกงานไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน

นอกจากนั้นสหรัฐยังเผชิญปัญหาหนี้สินสูงลิ่ว ทั้งในภาคธนาคารและภาคครัวเรือน รวมถึงของภาครัฐอีกด้วย ขบวนการ De-leveraging หรือลดสัดส่วนหนี้สินต่อทุน ทั้งในภาคธนาคารและภาคครัวเรือนจะเป็นข้อจำกัด ทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐและยุโรปเป็นไปอย่างเชื่องช้า และมีความเสี่ยงที่อาจทรุดตัวลงมาอีก หากมีการดำเนินนโยบายผิดพลาด
ประการที่ 2 จังหวะเวลาในการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ผลข้างเคียงจากการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ครั้งมโหฬารพร้อมๆ กันทั่วโลก ทำให้หลายประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาหนี้สาธารณะพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก และมีแรงกดดันเงินเฟ้อในตลาดสินทรัพย์ เนื่องจากเงินอัดฉีด ส่วนใหญ่แทนที่จะถูกนำไปลงทุนในภาคเศรษฐกิจจริง กลับถูกนำไปเก็งกำไรในตลาดสินทรัพย์ ทั้งตลาดหุ้น ตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงอสังหาริมทรัพย์

หากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะด้านพลังงานยังคงพุ่งขึ้นต่อในปีหน้า จะเพิ่มแรงกดดันเงินเฟ้อและเป็นข้อจำกัดในการกดดอกเบี้ยให้อยู่ในระดับต่ำ

อย่างไรก็ดี หากถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเร็วเกินไป สภาพคล่องอาจตึงตัว อัตราดอกเบี้ยที่ปรับสูงขึ้นจะเป็นอุปสรรคต่อการบริโภคและการลงทุน พลอยฉุดให้เศรษฐกิจมีความเสี่ยงที่อาจทรุดลงอีกครั้ง เหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นกับญี่ปุ่นในทศวรรษ 90 ที่เศรษฐกิจฟื้นๆ ฟุบๆ ดังนั้น จังหวะเวลาในการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด

แต่ที่แน่ๆ คือ การดึงเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ ก็เหมือนการปล่อยลมออกจาก ลูกโป่ง จะส่งผลข้างเคียงทำให้ตลาดหุ้นที่เคยฟูฟ่องมีความเสี่ยงที่จะแฟบลง หากกำไรของบริษัทโตไม่ทัน

ล่าสุด ธนาคารกลางสหรัฐส่งสัญญาณไม่ต่ออายุมาตรการเสริมสภาพคล่องฉุกเฉินที่จะหมดอายุลงในวันที่ 1 ก.พ. 2553 นี่อาจเป็นบันไดขั้นแรกของการถอนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ จึงต้องติดตามประเมินผลอย่างใกล้ชิดต่อไป

ประการที่ 3 เสถียรภาพการเมือง รัฐบาลนายกฯ อภิสิทธิ์ฝ่ามรสุมเศรษฐกิจและการเมืองมาได้ 1 ปี อย่างกระท่อน กระแท่นเต็มที ปัญหาภายในพรรคร่วมรัฐบาลก็สั่งสมมากขึ้นทุกที ขณะที่แรง สนับสนุนจากประชาชนก็ขึ้นๆ ลงๆ แต่จะออกทางลงซะมากกว่า ความคืบหน้าของ คดีความต่างๆ โดยเฉพาะคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาท ของอดีตนายกฯ ทักษิณ อาจทำให้การเมืองกระเพื่อมแรงเป็นระยะ การชุมนุมของคนสีเสื้อต่างๆ ล้วนมีส่วน บั่นทอนเสถียรภาพการเมือง และเป็นปัจจัยลบต่อการลงทุน

นักลงทุนต่างชาติก็ไม่ต่างจากนักลงทุนไทยที่เอือมระอากับปัญหาการเมืองที่เรื้อรังมาหลายปี แต่เขามีทางเลือกในการลงทุนมากมาย เงินทุนส่วนหนึ่งจึงเปลี่ยนทิศทางไปยังตลาดหุ้นอื่นที่การเมืองนิ่งกว่าของไทย

น่าสังเกตว่าปีนี้เม็ดเงินซื้อสุทธิของต่างชาติเข้าไทยน้อยกว่าของประเทศ เพื่อนบ้านส่วนใหญ่ โดยเงินซื้อสุทธิของต่างชาติเทียบกับมาร์เก็ตแคปของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ระดับเพียง 1% ขณะที่ของตลาดหุ้นเพื่อนบ้านเฉลี่ยจะอยู่ที่ราว 2% ของมาร์เก็ตแคป

การเมืองที่ขาดเสถียรภาพ หากไปไกลถึงขั้นยุบสภาจะส่งผลลบต่อเศรษฐกิจและตลาดหุ้น เนื่องจากการจัดทำงบประมาณรายจ่าย ตลอดจนการเบิกจ่ายงบจะมีความล่าช้า นอกจากนั้นไม่ว่าขั้วใดจะได้กลับมากุมอำนาจรัฐก็จะถูกต่อต้านจากขั้วหนึ่ง เป็นวังวนเช่นนี้ต่อไป จนมองไม่ออกว่าการเมืองไทยจะกลับเข้าสู่มีเสถียรภาพได้อย่างไร และเมื่อใด

ประการที่ 4 ปัญหามาบตาพุด กระทรวงอุตสาหกรรมและพลังงานประเมินว่าปัญหามาบตาพุดจะส่งผลกระทบโดยตรงจากเม็ดเงินลงทุนมูลค่า 2 แสนล้านบาท ผลกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่องมูลค่า 4 แสนล้านบาท และมีผลกระทบด้าน แรงงานอีก 2.3 หมื่นคน ดังนั้นหากปัญหานี้ ยืดเยื้อหรือขยายวงออกไปยังเขตอุตสาห กรรมอื่นจะเป็นอุปสรรคต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

สำนักเศรษฐกิจต่างๆ ประเมินว่า หากใช้เวลา 1 ปี ในการแก้ปัญหานี้ เศรษฐกิจจะชะลอตัวลง 0.3-0.5% ทำให้ปีหน้าเศรษฐกิจโตแค่ 3%

ส่วนผลกระทบต่อกำไรของบริษัทที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะกลุ่ม PTT และ SCC นั้นมีตั้งแต่ 5-30% ของประมาณการกำไรปีหน้า แต่จะกระทบมูลค่าหุ้นไม่มากนัก เนื่องจากกระแสเงินสดจะถูกกระทบประมาณ 1 ปี (หวังว่าจะไม่เกินนี้) ดังนั้น การประเมินมูลค่าหุ้นโดยการคิดลดกระแสเงินสดจึงมีผลกระทบไม่มากนัก

ต้องยอมรับความจริงว่า หากเราเลือก ที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เราต้องยอมแลกด้วยการที่เศรษฐกิจจะโต ช้าลง แต่มิได้หมายความว่าจะมุ่งแต่พัฒนาเศรษฐกิจจนละเลยปัญหาสิ่งแวดล้อม ในช่วงเปลี่ยนผ่านนี้ ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ต้องช่วยกันเยียวยาผลกระทบที่จะเกิดขึ้นทุกด้าน

จะเห็นได้ว่าตัวแปรทั้ง 4 อาจเกิด ต่างกรรมต่างวาระ หรือถ้าแย่ๆ ก็เกิดในจังหวะใกล้เคียงกัน ทำให้ตลาดหุ้นเสี่ยง ที่จะผันผวนด้านลบ การจัดพอร์ตลงทุนจึงต้องพิถีพิถันมากขึ้น และต้องมีการทบทวนเป็นระยะ

เพื่อกระจายความเสี่ยง อาจใช้กลยุทธ์บาร์เบล คือมีหุ้นชั้นดีที่อ่อนไหวกับภาวะเศรษฐกิจและหุ้นชั้นดีที่ไม่เหวี่ยงตามเศรษฐกิจ

กลุ่มแรก หากเศรษฐกิจฟื้นตัวไปเรื่อยๆ จะให้ผลตอบแทนเด่นกว่ากลุ่มหลัง หุ้นที่อยู่ในข่ายนี้ได้แก่ AMATA, AOT, CPN, KBANK, SCC, PTT, HANA, CPF เป็นต้น

ส่วนกลุ่มหลังจะให้ปันผลในเกณฑ์สูง ไม่ว่าเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร แถมราคาหุ้นยังซื้อขายกันต่ำกว่ามูลค่าที่ควรจะเป็น หุ้นที่อยู่ในข่ายนี้ได้แก่ GLOW, TTW, ADVANC, CPALL เป็นต้น
posttoday
**********
17/12/52
กูรู เผย ถึงเวลาเลี่ยงหุ้นหลักทรัพย์อย่างจริงจังแล้ว
Thursday, 17 December 2009 14:24
บทวิเคระาห์ บล.ธนชาต ระบุว่า ปีหน้าค่าคอมฯจะเป็นแบบขั้นบันได (sliding scale) อีก 2 ปีถัดไปจะเปิดเสรี (liberalization) เต็มรูปแบบ กระตุ้นให้เกิดการปรับตัวและ/หรือควบรวมกิจการมากขึ้น จากนี้ไปฝ่ายวิเคราะห์คาดว่า จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจของบรรดาบริษัทหลักทรัพย์ที่ต้องสร้างจุดขายและกระจายรายได้ไปด้วยในเวลาเดียวกัน (จากปัจจุบันที่ 80-90% ของรายได้ บล.มาจากนายหน้าค้าหลักทรัพย์) หรือมิฉะนั้นก็ต้องเกิดการควบรวมกิจการกันมากขึ้นเพื่อการประหยัดต่อขนาดและลดจำนวนคู่แข่งขัน

ทั้งนี้ ประเทศไทยกำลังจะปูทางไปสู่การเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นอย่างเต็มรูปแบบในอีก 2 ปีข้างหน้า (เริ่ม 1 ม.ค. 55) โดยจะใช้ปี 53-54 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนถ่ายจากค่าคอมฯแบบคงที่ (0.25%) มาเป็น 'ขั้นบันได' (วอลุ่มเยอะจะเสียค่าคอมฯถูกลง) ซึ่งจากการคำนวณในเบื้องต้นพบว่าการใช้ค่าคอมฯแบบขั้นบันไดจะทำให้รายได้ของโบรกเกอร์หายไปอัตโนมัติ 15-20% แม้ตัวแปรอื่น (วอลุ่ม) จะคงที่ก็ตาม

ล่าสุดเช้านี้โบรกเกอร์สัญชาตสิงคโปร์อย่าง UOBKH เข้าเทคโอเวอร์โบรกเกอร์ขนาดเล็กนอกตลาดฯอย่าง 'บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์' โดยคาดว่าใช้เงินเพียง 20-30 ลบ.ในการเทคโอเวอร์ โดยบล.เมอร์ชั่นมีมาร์เก็ตแชร์นับแต่ต้นปีที่
ประมาณ 0.8% (อันดับที่ 32 จากทั้งหมด 35 โบรกเกอร์) ซึ่งเมื่อรวมกับ UOBKH แล้วคาดจะทำให้แชร์ขยับขึ้นเป็น 2.8% (อันดับที่ 17-18) โดย 11 โมงเช้าของวันนี้ UOBKH แจ้งตลาดฯเพื่อขอหยุดพักการซื้อขายชั่วคราว (H=Halt)

ทั้งนี้ เป็นไปได้ที่หลังปลด H ราคาหุ้น UOBKH จะวิ่งต่อ แต่ก็แค่ชั่วคราว เพราะระยะยาวยังต้องปรับตัวอีกมาก เพราะฉนั้น 'อย่ายุ่ง' ราคาหุ้น UOBKH บวกไป 13% มาอยู่ที่ 4.08 บาท เทรดไปแค่ 4 ลบ. ก่อนที่จะขึ้นเครื่องหมาย H ดังนั้นหากชี้แจงข้อมูลผ่านตลาดฯเรียบร้อยและกลับมาซื้อขายตามปกติ (อาจเป็นบ่ายนี้หรือพรุ่งนี้เช้า) ราคาหุ้นอาจวิ่งต่อเพื่อรับข่าวดีดังกล่าวและราคาปัจจุบันยังต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี (BV @ 6.30 บาท) อยู่มาก แต่ทั้งนี้เราไม่แนะนำให้เข้าไปเก็งกำไร จาก 3 เหตุผลหลัก

เช้านี้โบรกเกอร์สัญชาตสิงคโปร์อย่าง UOBKH เข้าเทคโอเวอร์โบรกเกอร์ขนาดเล็กนอกตลาดฯอย่าง 'บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์' โดยคาดว่าใช้เงินเพียง 20-30 ลบ.ในการเทคโอเวอร์ โดยบล.เมอร์ชั่นมีมาร์เก็ตแชร์นับแต่ต้นปีที่ประมาณ 0.8%(อันดับที่ 32 จากทั้งหมด 35 โบรกเกอร์) ซึ่งเมื่อรวมกับ UOBKH แล้วคาดจะทำให้แชร์ขยับขึ้นเป็น 2.8% (อันดับที่ 17-18) โดย 11 โมงเช้าของวันนี้ UOBKH แจ้งตลาดฯเพื่อขอหยุดพักการซื้อขายชั่วคราว (H=Halt)

ทั้งนี้ เป็นไปได้ที่หลังปลด H ราคาหุ้น UOBKH จะวิ่งต่อ แต่ก็แค่ชั่วคราว เพราะระยะยาวยังต้องปรับตัวอีกมาก เพราะฉนั้น 'อย่ายุ่ง' ราคาหุ้น UOBKH บวกไป 13% มาอยู่ที่ 4.08 บาท เทรดไปแค่ 4 ลบ. ก่อนที่จะขึ้นเครื่องหมาย H ดังนั้นหากชี้แจงข้อมูลผ่านตลาดฯเรียบร้อยและกลับมาซื้อขายตามปกติ (อาจเป็นบ่ายนี้หรือพรุ่งนี้เช้า) ราคาหุ้นอาจวิ่งต่อเพื่อรับข่าวดีดังกล่าวและราคาปัจจุบันยังต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี (BV @ 6.30 บาท) อยู่มาก แต่ทั้งนี้เราไม่แนะนำให้เข้าไปเก็งกำไร จาก 3 เหตุผลหลัก

1) การควบรวมดังกล่าวไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
2) การแข่งขันในอนาคตยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในขณะที่ UOBKH แทบไม่มีจุดแข็ง/จุดขาย และ
3) ความสามารถในการทำกำไรถอยหลังลงคลองโดยเฉพาะเมื่อเปิดเสรค่าคอมฯ และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมหุ้นกลุ่มหลักทรัพย์ส่วนใหญ่จึงเทรดที่มีส่วนลดจาก BV ส่วนโบรกเกอร์ในตลาดฯที่มาร์เก็ตแชร์ต่ำกว่า 2% (GBX -SSEC- TNITY-BSEC) ก็ต้องดิ้นเพื่อความอยู่รอด

จึงแนะนำสำหรับกลุ่มโบรกเกอร์ คือ 'หลีกเลี่ยง'

*******
16/12/52
"ตลาดหุ้นปี 2553"
By paiboon

สวัสดีครับ วันนี้ผมขอเขียนถึงทิศทางตลาดหุ้นไทยในปี 2553 ที่กำลังจะมาถึงนี้ ซึ่งต้องยอมรับว่ายังดูค่อนข้างยาก ถึงแม้สภาวะเศรษฐกิจทั้งของไทยและของโลกจะมีความชัดเจนขึ้นมาก และหลายๆ ประเทศรวมทั้งไทยได้ออกจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปแล้วเมื่อไตรมาสที่ 3 ที่ผ่านมา แต่การที่ราคาหุ้นได้ปรับเพิ่มขึ้นถึง 58% นับตั้งแต่ช่วงต้นปี และถ้านับจากจุดต่ำสุดเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ตลาดหุ้นไทยได้ปรับเพิ่มขึ้นถึง 72% แล้ว ทำให้การคาดการณ์ทิศทางตลาดในปีหน้าทำได้ไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะถ้าดูจากค่า Forward P/E Ratio (ค่า P/E ที่ใช้ประมาณการกำไรในปีหน้าเป็นตัวหาร) ที่อยู่ที่ประมาณ 11 เท่า ซึ่งเป็นค่า P/E ที่ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา ทั้งหมดนี้ทำให้เกิดคำถามว่า ราคาหุ้นได้สะท้อนถึงภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและผลประกอบการไปมากแล้วหรือยัง?

ประเด็นที่ถูกกล่าวขานถึงอยู่บ่อยครั้งในช่วง 5-6 เดือนที่ผ่านมา และน่าจะเป็น 3 ปัจจัยหลักที่จะกำหนดทิศทางตลาดหุ้นทั่วโลกในปีหน้าก็คือ 1) ปริมาณสภาพคล่องส่วนเกินในระบบการเงินโลก 2) แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยทั่วโลก โดยเฉพาะของสหรัฐ และ 3) ความยั่งยืนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ผมได้เขียนไว้ในเดือนที่แล้วว่าเหตุผลหลักที่ทำให้ตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวอย่างรุนแรงในปีนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการฉีดสภาพคล่องจำนวนมหาศาลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจและตลาดเงิน โดยธนาคารกลางของหลายๆ ประเทศ อาทิเช่น สหรัฐ สหราชอาณาจักร สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น เป็นต้น เพื่อช่วยบรรเทาผลกระทบจาก US Subprime Mortgage Crisis และ Global Financial Crisis แต่การที่เม็ดเงินส่วนใหญ่เหล่านี้ไม่ได้ถูกนำไปใช้ในการลงทุนเพิ่มขึ้นของภาคธุรกิจ ทำให้สภาพคล่องส่วนเกินนี้ไหลเข้าสู่ตลาดทุนแทน และทำให้ปี 2009 กลายเป็นปีที่ตลาดหุ้นทั่วโลกฟื้นตัวสูงที่สุดในรอบหลายปีที่ผ่านมา



นอกจากปริมาณสภาพคล่องที่มากมายแล้ว ตลาดหุ้นส่วนใหญ่ รวมทั้งของไทยยังได้แรงสนับสนุนจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก ทั้งดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งเมื่อบวกกับทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวเร็วกว่าที่คาดไว้ และผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนที่แย่น้อยกว่าที่คาด ทำให้ปีนี้กลายเป็นปีทองของนักลงทุนทั่วโลกโดยไม่ได้ตั้งใจ ถ้าจะให้สรุปง่ายๆ ก็คือ Bull Market (ตลาดกระทิง) รอบนี้ เกิดขึ้นได้ส่วนหนึ่งก็เป็นเพราะอานิสงส์จากนโยบายการเงินของธนาคารกลางชาติต่างๆ ที่อัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมากเข้าสู่ระบบ



สิ่งที่นักลงทุนทั่วโลกเป็นกังวลมากที่สุดในช่วงนี้ก็คือ Exit Plans ของธนาคารกลางชาติต่างๆ Exit Plans ที่ว่านี้ก็คือการหยุดอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบ และเริ่มดำเนินนโยบายทางการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งแน่นอนการทำลักษณะนี้ ผลที่ตามมาก็คือสภาพคล่องส่วนเกินในระบบจะลดลงและดอกเบี้ยในตลาดพันธบัตรจะปรับขึ้นทันที ดอกเบี้ยระยะสั้นก็มีโอกาสปรับสูงขึ้นเช่นกัน ถ้านักลงทุนเริ่มคาดการณ์ว่าธนาคารกลางจะต้องเริ่มปรับดอกเบี้ยนโยบายขึ้นเพื่อรองรับเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวและแนวโน้มเงินเฟ้อที่อาจจะสูงขึ้นในอนาคต ซึ่งถ้าเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ขึ้นในระยะเวลาไล่เลี่ยกัน ก็ไม่น่าจะเป็นผลดีต่อตลาดหุ้น



แต่ Exit Plans ที่ว่านี้ก็ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เป็นยาวที่ต่ำสุดปัจจัยที่ถูกพูดถึงมาสักระยะหนึ่งแล้ว แต่ทุกครั้งที่ดูเหมือนตลาดทุนจะเริ่มกังวลกับเรื่องนี้ Fed (ธนาคารกลางสหรัฐ) ก็มักจะออกมาสร้างความมั่นใจกับตลาดเสมอว่าจะยังคงใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำไปอีกระยะหนึ่ง เพราะความเสี่ยงของเศรษฐกิจยังมีค่อนข้างสูง ซึ่งก็ทำให้นักลงทุนคลายกังวลเรื่อง Exit Plans ของ Fed ไปได้ทุกครั้ง และทำให้ตลาดหุ้นโลกยังอยู่ในขาขึ้นมาจนทุกวันนี้



แต่ที่ผมเป็นห่วงก็คือ Fed คงไม่สามารถที่จะดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลายนี้ไปได้ตลอดทั้งปีหน้า โดยเฉพาะถ้าTrend ของอัตราการว่างงานในสหรัฐยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ก็มีความเป็นไปได้สูงว่า Fed อาจจะต้องเริ่มทำ Exit Plans อย่างจริงจังภายในไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า และอาจจะเป็นไปได้อีกว่า Fed จะต้องเริ่มขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย (Fed Funds Rate) ภายในไตรมาสที่ 3 ของปีหน้า ที่น่าสนใจก็คือ ถ้าเราดูจากสถิติย้อนหลัง จะพบว่าช่วง 3-4 เดือนแรกของการขึ้นดอกเบี้ย Fed Funds Rate ผลกระทบต่อตลาดหุ้นสหรัฐจะมีเพียง 2 อย่าง คือ อยู่กับที่ หรือไม่ก็ปรับลดลง



ไม่เพียงแต่สหรัฐเท่านั้น ที่จะต้องทำ Exit Strategies หรือดำเนินนโยบายทางการเงินที่รัดกุมมากขึ้นในปีหน้า แต่ธนาคารกลางเกือบทุกประเทศโดยเฉพาะใน Asia ก็จะต้องลดปริมาณสภาพคล่องและปรับดอกเบี้ยขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะ จีน เกาหลีใต้ น่าจะเป็นประเทศแรก ๆ ใน Asia ที่ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายและอาจจะเริ่มทำในไตรมาสแรกที่จะถึงนี้เลย



ซึ่งถ้าสภาพคล่องส่วนเกินในระบบการเงินโลกลดลง อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกเริ่มปรับตัวสูงขึ้น และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกไม่สามารถสร้าง Positive Surprise ให้กับตลาดอีกต่อไป ผมคิดว่าน่าจะเป็นการยากที่จะเห็นตลาดหุ้นทั่วโลกปรับเพิ่มขึ้นในระดับ 50-60% แบบปีนี้อีก แต่โอกาสที่จะเห็นตลาดหุ้นทั่วโลกยังคงปรับตัวสูงขึ้นยังมีอยู่ เนื่องจากค่า Forward P/E Ratio ของตลาดหุ้นส่วนใหญ่ ถึงแม้จะอยู่ใกล้เคียงหรือสูงกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยในอดีตเล็กน้อย ก็ยังไม่ได้จัดว่าสูงจนเกินไป แต่ Potential Upside ของตลาดหุ้นส่วนใหญ่น่าจะใกล้เคียงกับ EPS Growth ของปีหน้า เช่น ของตลาดหุ้นไทยก็น่าจะอยู่ประมาณ 15% ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลข Recurring EPS Growth ของปี 2553 ที่ประมาณการโดยสำนักวิจัย ทิสโก้ ที่ 14%



ตัวแปรสำคัญก็คือ Timing ในการทำ Exit Strategies ถ้า Fed ยังคงเป็นห่วงแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ และไม่รีบร้อนทำ Exit Strategies โดยใช้วิธีค่อย ๆ ดึงสภาพคล่องออกจากระบบ ก็มีความเป็นไปได้ว่าตลาดหุ้นทั่วโลกอาจจะปรับเพิ่มขึ้นได้มากกว่าระดับของ EPS Growth ในทางกลับกัน โอกาสที่จะเกิด Correction ในปีหน้าก็ยังมีอยู่ ถ้าเศรษฐกิจโลกไม่ฟื้นตัวตามคาด หรืออัตราดอกเบี้ยระยะยาวเพิ่มขึ้นสูงมาก แต่ก็ไม่น่าจะเป็น Correction ที่รุนแรงมากนัก น่าจะเป็นลักษณะของ Bull Market Correction หรือการพักฐานเพื่อปรับขึ้นต่อไปมากกว่าที่จะเป็น จุดเริ่มต้นของ Bear Market

http://newsroom.bangkokbiznews.com/comment.php?id=7858&user=paiboon
***********
16/12/52
ตลาดหลักทรัพย์คาดกำไรบริษัทจดทะเบียนในปีหน้าโตกว่า 3.5%

Posted on Wednesday, December 16, 2009
นางภัทรียา เบญจพลชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บอกว่า ผลกำไรของบริษัทจดทะเบียน ในปีหน้าจะเติบโตดีขึ้นในทิศทางเดียวกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่คาดว่าจะขยายตัว 3-3.5% ถือว่าปรับตัวดีขึ้นจากปีนี้ ที่เศรษฐกิจจะติดลบ 3% เนื่องจากผลกำไรของบจ.จะเติบโตมากกว่าจีดีพีเป็นปกติ แต่ยังคงจะต้องติดตามสถานการณ์ ที่อาจเป็นปัจจัยกดดัน เช่น กรณีปัญหาการสั่งระงับการดำเนินโครงการในเขตพื้นที่อุตสาหกรรมมาบตาพุด และเห็นว่าผู้ที่เกี่ยวข้องควรร่วมมือในการเร่งแก้ไขปัญหา เพื่อเรียกความมั่นใจของการลงทุน

กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ บอกด้วยว่า ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ เช่น ธุรกิจปิโตรเคมีและพลังงาน ซึ่งหากปัญหาดังกล่าวไม่มีความชัดเจนโดยเร็ว อาจส่งผลกระทบให้มีการย้ายการลงทุน และจะส่งผลกระทบในหลายส่วน เช่น การลงทุนโดยรวม การจ้างงานและเศรษฐกิจของประเทศ แม้อาจมีข่าวที่ส่งผลต่อความมั่นใจบ้าง จากกรณีของปัญหา Dubai World

นางภัทรียาบอกด้วยว่า หลังจากที่จะเริ่มใช้การเก็บค่าคอมมิชชั่นแบบขั้นบันไดในวันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป มีความเป็นห่วงว่า บริษัทหลักทรัพย์อาจแข่งขันกันตัดราคาค่าธรรมเนียมการให้บริการมากกว่าที่จะตกลงกำหนดค่าคอมมิชชั่น หลังจากที่มีข่าวว่าสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ตกลงที่จะคิดอัตราค่าคอมมิชชั่น สำหรับปริมาณการซื้อขายที่ 20 ล้านบาทขึ้นไปในอัตราเดียว เนื่องจากหากมีการแข่งขันกันลดค่าบริการ อาจจะส่งผลต่อการเติบโตของพัฒนาของตลาดหลักทรัพย์ฯ

*********
07/12/52
ลุ้น January Effect ดันตลาดหุ้นขึ้น

นายประภาส ตันติพิบูลย์ศักดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่สายงานลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ จัดการกองทุน (บลจ.) กล่าวว่า ปีนี้ผลตอบแทนตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นสูงเกือบ 60% แต่ผลตอบแทนตราสารหนี้โดยรวมเฉลี่ยที่ 1% ซึ่งเป็นผลจากความกังวลอัตราดอกเบี้ยจะเริ่มปรับตัวขาขึ้นรับเศรษฐกิจฟื้นตัว ส่วนในปีหน้าเชื่อว่าตลาดหุ้นในครึ่งปีแรกจะยังไปต่อได้ และจะเริ่มเห็นการขายทำกำไรแรงครึ่งปีหลัง ส่วนตราสารหนี้เมื่อมีการขึ้นดอกเบี้ยตามที่คาดไตรมาส 2 จะส่งผลให้ ผลตอบแทนตราสารหนี้กลับมาดีขึ้น

"หุ้นต้องระวัง เพราะกระแสเงินที่จะยังไหลเข้ามาตลาดเอเชียต่อเนื่อง ต้นปีอาจเกิด January Effect ที่เข้ามาคาดการณ์ข่าวดีล่วงหน้าทั้งเศรษฐกิจและผลประกอบการ แต่จากนั้นอาจมีแรงขายทำกำไรให้เห็นระหว่างทาง ซึ่งจะทำให้ดัชนีผันผวนจนดัชนีวิ่งได้ตั้งแต่ 600-800 จุด ส่วนตราสารหนี้ นักลงทุนจะเริ่มหันมาล็อกอายุที่สั้น ๆ 3-6 เดือน เพื่อรับกับการขึ้นดอกเบี้ย"

นายอดิเทพ วรรณพฤกษ์ ผู้จัดการกองทุนตราสารทุน บลจ.อเบอร์ดีน กล่าวว่า ทิศทางตลาดหุ้นจะผันผวนตามผลกระทบของเศรษฐกิจ แม้ว่าจะมีการชี้ว่าเศรษฐกิจเข้าสู่ทิศทางการฟื้นตัวแต่เชื่อว่าอาจจะเห็นข่าวร้ายอย่างกรณีดูไบ เวิลด์ ดังนั้นการลงทุนต้องเน้นระยะยาวมากกว่าระยะสั้น เพราะไม่สามารถจับจังหวะตลาดได้ทันแน่ ทั้งนี้บริษัทคาดปี"53 รายได้ของ บจ. โต 6-7% เงินปันผลเฉลี่ย 5%

โดยปัจจุบันกลุ่มธุรกิจที่ลงทุนยังคงนโยบายเหมือนเดิม ในธุรกิจที่มีรายได้เข้าแน่นอนและไม่ผันผวน เช่น ธนาคารที่ได้ผลดีจากเศรษฐกิจ ทำให้รายได้สินเชื่อและค่าธรรมเนียมดีขึ้น กลุ่มพลังงานที่มีเรื่องราคาน้ำมันที่ขยับตัวสูงขึ้น บวกกับความต้องการใช้ที่สูงตามภาวะเศรษฐกิจจึงส่งผลดีต่อรายได้ ส่วนสินค้าเกษตรยังไม่ลงทุน เพราะรายได้มีความผันผวนสูง บวกกับมาตรการภาครัฐเข้ามาเสริมทำให้รายได้ไม่สม่ำเสมอ
**********
5 เซียนหุ้น..ตีแตก SET ปี 2553 ไม่มีแจ๊คพอต-ผันผวนสูง

โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เซียนหุ้น-นักวิเคราะห์คนดังเตือน 'หุ้นปีเสือ' กัดเจ็บ-ผันผวนสูง ให้ยึดกฎ 'มักเท่าเมื่อไร ให้ 'ถอย' ทันที

ตลาดหุ้นปีเสือทำท่าจะกลายเป็น "เสือดุ" เล่นยากกว่าปี 2552 เยอะ หลังปีนี้ดัชนีราคาหุ้นทะยานขึ้นไปแล้วเกือบ "เท่าตัว" เข้าตำรา "ของถูกไม่ดี-ของดีไม่ถูก" ของดีและถูกวันนี้ "หายาก" มากขึ้นเรื่อยๆ

เซียนหุ้นคุณค่าระดับปรมาจารย์ของไทย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ถึงกับเอ่ยปากยอมรับตลาดหุ้นตอนนี้ “เต็มมูลค่า” ไปเกือบหมดแล้ว การเลือกหุ้นที่จะลงทุนระยะยาวทำได้ยาก ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์หรือธนาคารพาณิชย์ก็ทำ "นิวไฮ" ไปแล้วเป็นส่วนใหญ่

“จะซื้อหุ้นตอนนี้แล้วถือยาว 3 ปีมันก็ยังไม่ชัดเลย ยอมรับว่าหุ้นที่ตรงกับสเปคของแวลูอินเวสเตอร์มีน้อยลงไม่ครบทุกข้อ”

ที่สำคัญตลาดหุ้นปี 2553 "คงไม่มีแจ๊คพอต" เหมือนปีนี้ที่ขึ้นมาขาเดียวอีกแล้ว การปรับตัวก็จะไม่หวือหวา ถึงตรงนี้เศรษฐกิจโลกคงจะฟื้นตัวแน่ แต่ยังไม่รู้ว่าฐานจะแข็งแกร่งพอจะพยุงตลาดหุ้นได้แค่ไหน ปัจจัยเสี่ยงสำคัญคือเรื่องของ "อัตราดอกเบี้ย" แม้แนวโน้มจะขึ้นไม่เร็ว แต่ก็อาจทำให้ฟันด์โฟลว์ต่างชาติถอนหุ้นออกไปได้

กรณีของดูไบ เวิลด์ที่ผิดนัดชำระหนี้ ดร.นิเวศน์ เชื่อว่าผลกระทบไม่น่าลามจนเกิดเป็นวิกฤติอีกรอบเพราะดูไบมีสัดส่วนต่อเศรษฐกิจโลกไม่สูงมาก แต่อาจจะกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุนว่าอาจจะเกิดฟองสบู่อสังหาริมทรัพย์ขึ้น โดยเฉพาะที่ประเทศจีน ความฮึกเหิมของนักลงทุนจะลดลง

กูรูหุ้นคุณค่ารายนี้ แนะนำว่า การเลือกหุ้นอย่ามองที่ค่าพี/อี เรโช เพียงอย่างเดียว เท่าที่สังเกตการณ์เห็นว่าหุ้นหลายตัวพี/อีถูกจริง แต่ค่า P/BV (ราคาต่อมูลค่าตามบัญชี) กลับไม่ต่ำ จุดนี้อันตรายเพราะไม่ได้ถูกจริง ถ้าจะซื้อหุ้นต้องเฟ้นมากๆ ให้ทั้งสองข้อนี้ (P/E, P/BV) สมดุลกัน อาจจะพอมีเหลือบ้างแต่เป็นหุ้นขนาดเล็กที่สภาพคล่องต่ำ

สำหรับหุ้นที่มีโอกาส "เทิร์นอะราวด์" ถึงตอนนี้แทบไม่เหลือแล้วยกเว้นหุ้น "กลุ่มท่องเที่ยว" ที่ราคายังพอ “สู้ได้” แต่ต้องเลือกกับความเสี่ยงว่าการท่องเที่ยวฟื้นกลับมาได้จริงหรือไม่

ถ้าคิดไม่ออกว่าจะเลือกซื้อหุ้นอะไร ลองจับตาที่ "กลุ่มสินค้าเกษตร" ตอนนี้ราคาน่าสนใจ รวมถึงกองทุน ETF ที่ไปลงทุนในหุ้น SET50 แต่ถ้าคิดจะเลือกหุ้นเป็นรายตัว ขอให้มั่นใจว่าพื้นฐานต้องดี อยู่ในอุตสาหกรรมที่เป็นขาขึ้น และจ่ายเงินปันผลต้องน่าสนใจ

“กลยุทธ์ในปีหน้าคงต้องมองแบบพอเพียงอย่าหวังผลตอบแทนสูงๆ ถึงยังไงถ้าเลือกหุ้นดีๆ ผลตอบแทนน่าจะอยู่ที่ 10-15% ก็ยังสูงกว่าสินทรัพย์อื่นๆ”

มาถึงเซียนหุ้นร้อยล้าน "ก๋อย" ยุทธพงษ์ เสรีดีเลิศ เจ้าตัวออกปากว่าตลาดหุ้นปีหน้าต้องระวังเรื่อง “การเมือง” ให้มากๆ เพราะเศรษฐกิจโลกฟื้นแล้ว แต่ถ้าสีเหลืองสีแดงยังตีกันอยู่แบบนี้ต่างชาติไม่ชอบ

"ปีหน้าผมจะเปลี่ยนสไตล์มาเล่นหุ้นแบบอนุรักษนิยมมากขึ้น คงไม่บู๊ล้างผลาญ และคงถอนตัวจากหุ้นตัวใหญ่ เพราะฝรั่งซื้อๆ ขายๆ แบบนี้เวียนหัว (ทำกำไรยาก)"

แผนการลงทุนปีหน้า ก๋อยจะเลือกลงทุนหุ้นที่ "ภาครัฐ" เป็นฝ่ายออกมา "ให้ข่าว" อย่างเช่นหุ้นธนาคารนครหลวงไทย (SCIB) ที่จะเปิดประมูลขาย รวมถึงหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก "โครงการไทยเข้มแข็ง" หุ้นพวกนี้ต้อง "เล่นสั้น" และถือคติว่า "อย่าโลภ"

ยุทธพงษ์ ไม่ปิดบังว่าตอนนี้เริ่มทยอยเข้าเก็บหุ้น "กลุ่มสื่อสาร" ADVANC และ DTAC ไปแล้ว ไม่ว่าจะดึงเรื่องยังไงปีหน้า 3G ก็ต้องเกิดชัวร์! รีบเข้าเก็บหุ้นตอนนี้ยังพอมีช่องว่างให้ทำกำไร

อีกกลุ่มที่เริ่มสะสมแล้วคือ "กลุ่มอาหารส่งออก" TUF และ CPF ที่ผลการดำเนินงานดีมาก ไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติ แถมจ่ายปันผลสูงด้วย นอกจากนี้ "กลุ่มค้าปลีก" และ "โรงพยาบาล" ก็น่าสนใจเช่นเดียวกัน ส่วนหุ้นที่ยังมองว่าจะ "เทิร์นอะราวด์" ยังชอบหุ้น "กลุ่มชิ้นส่วนรถยนต์" ภาพรวมน่าจะขึ้นได้ยกแผงเพราะตอนลงก็ลงมาด้วยกัน แถมปีหน้ายังมีสตอรี่เรื่อง "อีโคคาร์" ให้เล่นอีก

ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงาน ก๋อยส่ายหน้าโดยเฉพาะ BANPU ที่เล่นประจำ ปีหน้าอาจจะพักไว้ก่อนหุ้นขึ้นมามากเกินไป แล้วฝรั่งถือเยอะขายเมื่อไรจะ "ลงแรง" แต่อาจจะสลับมาเล่นรอบตัว LANNA แทน

ถามมุมมองต่อ SET Index ก๋อยยังเชื่อว่าสิ้นปีนี้มีโอกาสแตะ 800 จุด ส่วนปีหน้าช่วงกลางปีอาจขึ้นไปแตะ 900 จุดได้ แต่หลังจากนั้นต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าการเมืองจะเป็นอย่างไร ถ้าคิดจะเล่นหุ้นตัวใหญ่ต้องคิดให้ละเอียดขึ้น ก่อนเปิดตลาดขอให้ดูสัญญา Long และ Short ประกอบถึงจะคาดเดาทิศทางได้ ยังย้ำคำเดิมได้กำไรแล้ว "ขอให้พอ" อย่าหวังทำกำไรเยอะๆ สุดท้ายจะ "เจ็บตัว"

ด้านกูรูฟันด์โฟลว์ วิศิษฐ์ องค์พิพัฒนกุล กรรมการบริหารสายงานวิจัย บล.ทิสโก้ บอกว่า ปีหน้าต้องจับตา "สี่ปัจจัย" ที่จะมีผลต่อการลงทุน หนึ่ง.สภาพคล่อง สอง.มูลค่าหุ้น (ถูก-แพง) สาม.กำไรบริษัทจดทะเบียน (ฟื้นได้แค่ไหน) และ สี่.เม็ดเงินต่างชาติที่จะไหลเข้า ข้อนี้ "สำคัญที่สุด"

กูรูฟันด์โฟลว์ เชื่อว่า ไตรมาสแรกปี 2553 น่าจะเป็นช่วง "ดีที่สุด" สำหรับการลงทุน หลังจากนั้นธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) จะหยุดใส่เม็ดเงินเข้าระบบในเดือนมีนาคมปีหน้า อัตราเงินเฟ้อในสหรัฐและยุโรปจะขึ้นมาอยู่ที่ 3-4% ในเดือนธันวาคมปีนี้ ทำให้มีเม็ดเงินไหลออกจากตลาดพันธบัตรมาสู่หุ้นและทองคำ และศูนย์วิจัยทิสโก้คาดการณ์ว่า จีดีพีไทยไตรมาส 1 ปี 2553 จะโตที่สุดในรอบปีที่ประมาณ 5%

"คาดการณ์ว่าปีนี้ น่าจะเกิด January Effect หรืออาจจะเลื่อนออกไปเกิดในเดือนกุมภาพันธ์เป็นอย่างช้า แต่พอถึงไตรมาสสอง จะเกิดปรากฏการณ์เงินสกุลดอลลาร์เมื่อเทียบกับยูโรและเยนจะแข็งค่าขึ้น เนื่องจากตอนนี้เงินเยนแข็งค่าเกินความจริง น่าจะทำให้เม็ดเงินไหลเข้าหุ้นไทยน้อยลง"

ประกอบกับคาดว่าเฟดจะขึ้นอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งแรกในเดือนสิงหาคมปี 2553 ส่วนของไทยคาดว่าจะขึ้นใน "ต้นไตรมาสสอง" ตลาดหุ้นก็จะตอบสนองด้วยการ “แตะเบรก” ทันที แต่ถ้าเกิดอีกกรณีถ้าเฟดไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเลยตลอดทั้งปีก็แปลว่า "เศรษฐกิจแย่กว่าที่คิด" ตลาดหุ้นไทยจะผันผวนรุนแรงจากเม็ดเงินที่ไหลเข้าออก มีโอกาสจะได้เห็นจุดสูงสุดและต่ำสุดบวกลบ 400 จุด ซึ่งกว้างกว่าปีนี้ที่บวกลบ 350 จุด

“ปีหน้า SET Index จะมีอัพไซด์ที่จำกัด เพราะปีนี้ขึ้นมาเยอะแล้ว จุดสูงสุดน่าจะอยู่ที่ 815 จุด”

คำแนะนำในการลงทุน วิศิษฐ์ บอกขอให้เลือกหุ้นที่คาดว่าจะมี Earning Growth สูงๆ จะ Out Perform ตลาดมากกว่าหุ้นที่ราคายังต่ำอยู่ พอไตรมาสสองเปลี่ยนมาลงทุนหุ้น Defensive ไตรมาสสามมาลงตราสารหนี้

"ธีมการลงทุนปีหน้า ให้ลงหุ้นกลุ่มแบงก์ในไตรมาสแรกถึงสอง กลุ่มพลังงานยกเว้นปิโตรเคมีและพวก Soft Commodity อย่างสินค้าเกษตร แต่ต้องดูบริษัทที่ไม่ไปทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้าราคาถูกๆ จะเสียโอกาสได้" กูรูฟันด์โฟลว์ แนะนำ

ทางฝั่งโบรกเกอร์อีกค่าย กวี ชูกิจเกษม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กสิกรไทย มอง SET Index ปีหน้าในลักษณะ "ไซด์เวย์อัพ" เป็นขาขึ้นแต่มีความ “ผันผวน” มากกว่าปีนี้ เพราะปีหน้าคนจะกังวลเรื่องเศรษฐกิจสหรัฐว่าอาจไม่ฟื้นจริงรวมถึงการเมืองไทยยังไม่สงบ

“ปีนี้ตลาดหุ้นขึ้นมาข้างเดียวแต่ปีหน้าจะมีทั้งขึ้น-ทั้งลงเพราะนักลงทุนจะเฉยๆ กับข่าวดีแล้ว เราประเมินว่าตลาดหุ้นไทยจะสวิงตัวแรงในกรอบบวกลบ 200 จุด หรืออยู่ระหว่าง 600-800 จุด”

กวีเชื่อว่า SET Index จะถึงยอดเขาที่ 840 จุด ตัวขับเคลื่อนจะมาจากผลกำไรของบริษัทจดทะเบียนที่จะดีขึ้น ในแง่ราคาค่าพี/อี เรโชตลาดหุ้นไทยตอนนี้อยู่ที่ 11-12 เท่า ถ้ามองไปข้างหน้าพี/อี น่าจะไปถึง 14 เท่า เท่ากับก่อนเกิดวิกฤติยังมี "อัพไซด์" ให้เล่น

“แต่ถ้าพี/อี ขึ้นไปอยู่ที่ 14 เท่าเมื่อไรต้องระวังตัวอย่างยิ่ง สถิติเก่าบอกว่าเป็นจุดที่ถูกเทขายแน่”

ถามว่าเล่นหุ้นกลุ่มไหนดี กวีแนะนำกลุ่มธนาคารพาณิชย์เพราะสินเชื่อฟื้นตัวแน่ และหุ้นกลุ่มพลังงานภายใต้ราคาน้ำมันที่จะอยู่ในระดับ 85 เหรียญต่อบาร์เรล รวมถึงกลุ่มค้าปลีก โรงแรม และโรงพยาบาล ส่วนที่ควรหลีกเลี่ยงคือพวกที่อยู่ในช่วงขาลงอย่าง "เดินเรือ" และ "ปิโตรเคมี" ที่จะ Under Perform ตลาดแน่นอน

ปิดท้ายที่มุมมองผู้จัดการกองทุน มนรัฐ ผดุงสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการ บลจ.วรรณ มองภาพรวม SET Index ปีหน้า เส้นกราฟน่าจะเป็นรูป “ตัวเอ็มขาขวาขาด” มีความผันผวนในช่วงกลางปีแต่พอถึงไตรมาสสี่จะทะยานขึ้นอีกครั้ง

“กราฟน่าจะขึ้นถึงจุดสูงสุดในช่วงต้นปี 2553 และจะเริ่มถอยหลังลงมาขึ้นอีกทีตอนเดือนกันยายนและจะไม่ลงมาอีกแล้ว”

เขาให้เหตุผลว่า หลังจากไปพูดคุยกับผู้บริหารเริ่มเห็นสัญญาออเดอร์จากต่างประเทศที่ชะลอตัวลง ประกอบกับยังไม่มีความเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจสหรัฐฟื้นตัวจริง อาจทำให้เกิด Negative Surprise และเทขายหุ้นออกมา

“ช่วงไตรมาสสองอาจไม่มีข่าวดีเท่าไรพอถึงไตรมาสสามจะเริ่มมีออเดอร์ใหม่กลับเข้ามาทำให้ไตรมาสสี่น่าจะได้เห็นตัวเลขผลประกอบการที่ดีขึ้นและหุ้นจะขึ้นไปได้อีก”

มนรัฐ บอกว่า จุดคุ้มทุนของต่างชาติรอบนี้อยู่ที่ 650 จุด ถ้า SET Index สูงกว่านี้ก็ยังมีโอกาสถูกทิ้งได้ ส่วนกรณีมาบตาพุดน่าจะเป็นความกังวลแค่เฉพาะหุ้นบางกลุ่ม เท่าที่สำรวจสถิติย้อนหลังแล้วมั่นใจว่า P/B ของหุ้นเครือ ปตท.ตอนนี้ "ยังไม่แพง" ถ้าดู P/E ตัว Earning ในปัจจุบันน่าจะถูกแล้ว แม้แต่เคสของ ปตท.สผ. แม้จะมีไฟไหม้ที่มอนทาราแต่เชื่อว่าไตรมาส 2-3 ปีหน้า จะเป็นช่วงพีคของการใช้น้ำมัน หุ้นกลุ่มนี้น่าจะขึ้นได้ “ยกแผง” และ Out Perform ตลาด

สำหรับกลุ่มหุ้นที่น่าลงทุน ผู้จัดการกองทุนรายนี้ชี้ไปที่ "หุ้นที่พึ่งพาการบริโภคภายในประเทศ" เป็นหลัก เพราะเม็ดเงินจากโครงการไทยเข้มแข็ง 4 แสนล้านบาทมีความคาดหวังว่าจะสร้างเม็ดเงินในระบบได้เป็นสองเท่าหรือ 8 แสนล้านบาท

“หุ้นกลุ่มธนาคารน่าจะเริ่มเข้าได้ตั้งแต่ตอนนี้แล้วตามสถิติเก่าน่าจะ Out Perform ตลาด ส่วนหุ้นกลุ่มก่อสร้างและค้าปลีกก็น่าสนใจ”

ถ้าเฉพาะเจาะจงลงไปที่หุ้น SCC น่าจะได้รับอิทธิพลจากโครงการไทยเข้มแข็ง "ครึ่งหนึ่ง" และขาลงของปิโตรเคมี "ครึ่งหนึ่ง" ปัจจัยเสี่ยงปีหน้าต้องจับตาซัพพลายใหม่จากอินเดียและตะวันออกกลางที่จะเพิ่มเข้ามา แต่เชื่อว่าการบริโภคในประเทศน่าจะเป็นปัจจัยบวกที่มีน้ำหนักมากกว่า

แล้วหุ้นที่ไม่น่าลงทุน มนรัฐ บอกว่า ปีหน้าตลาดหุ้นไทยจะมี “สตอรี่” ให้เล่นเยอะ ดังนั้นหุ้นที่ไม่มีข่าวดีสนับสนุนก็ไม่ควรไปเล่น เช่นหุ้นกลุ่มชิ้นส่วนรถยนต์ที่น่าจะเทิร์นอะราวด์ได้ แต่กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ออเดอร์อาจจะจบแค่ช่วงคริสต์มาสนี้ก็ได้

มนรัฐ ยกสถิติย้อนหลังมาทำนายอนาคต SET Index มีโอกาสขึ้นถึงจุดสูงสุดที่ 750-800 จุด ถ้าคำนวณค่าพี/อีเรโชในอนาคตนับจากไตรมาสแรก 2553 จะอยู่ที่ P/E 13-14 เท่า แต่ถ้าคิดแบบย้อนหลัง 4 ไตรมาสจะอยู่ที่ 15-16 เท่า ถ้าขึ้นไปมากกว่านี้ต้องใช้วิจารณญาณอย่างยิ่งยวด เพราะมีโอกาสจะถูกเทขายอย่างมาก

"ถ้ามองข้ามช็อตไปถึงปี 2554 ต้องจับตาที่ตัวอัตราเงินเฟ้อรวมถึงเรื่องเฟดจะขึ้นดอกเบี้ย ถ้าเกิดสองสิ่งนี้ก็ตัวใครตัวมัน เพราะหุ้นจะกลัวเป็นพิเศษ"
krungthepturakij

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น