วันจันทร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข่าวกลุ่มสื่อ สิ่งพิมม์ และบันเทิง

16/09/52
กลุ่มสื่อน้ำหนักลงทุนยังปกติ

นักวิเคราะห์ยังคงให้น้ำหนักลงทุนหุ้นกลุ่มสื่อระดับปกติ (Neutral) แม้ว่าตัวเลขค่าใช้จ่ายโฆษณาเดือนส.ค. ปรับตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน

บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ยูไนเต็ด ยังคงให้น้ำหนักการลงทุนระดับ “ปกติ” ในหุ้นกลุ่มสื่อ จากที่คาดว่าปลายปีเศรษฐกิจฟื้นและความเชื่อมั่นในการบริโภคจะกลับมา โดยยังคงแนะนำให้เลือกลงทุนสูงสุดหุ้นบริษัท บีอีซี เวิลด์ (BEC) ราคาเป้าหมาย 23 บาท และบริษัท อสมท (MCOT) ให้ราคาเป้าหมาย 22.70 บาท เชื่อว่าผลประกอบไตรมาส 3 ปี 2552 ยังคงเติบโตได้ดีทั้งคู่
บล.ทิสโก้ ยังคงน้ำหนักการลงทุน “ระดับปกติ” โดยมีความเห็นว่า BEC ยังคงปรับตัวช้ากว่าหุ้นตัวอื่นในอุตสาหกรรม (Laggard)

“เราใช้วิธีส่วนลดกระแสเงินสด (DCF) สำหรับการประเมินมูลค่าของธุรกิจโทรทัศน์และภาพยนตร์จากกระแสเงินสดที่ต่อเนื่องและธรรมชาติของเงินทุน รวมทั้งเรายังคงน้ำหนักการลงทุน ‘ระดับปกติ’ สำหรับอุตสาหกรรม โดยยังคงแนะนำ ‘ซื้อ’ สำหรับ BEC ให้ราคาเป้าหมาย 23.50 บาท”

บล.ทิสโก้ คาดว่าผู้ประกอบการโทรทัศน์ช่อง 3 จะมีการฟื้นตัวของผลประกอบการอย่างแข็งแกร่งในครึ่งหลังปี 2552 และ 2553 เนื่องจากรายได้ค่าโฆษณาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้นทุนการดำเนินงานที่กลับสู่ระดับปกติ สำหรับบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป (MAJOR) ยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างสดใส

“เรายังคงแนะนำ ‘ถือ’ ให้ราคาเป้าหมาย 6.90 บาท โดยเรายังคงแนะนำ ‘ขาย’ สำหรับ MCOT ให้ราคาเป้าหมาย 15.50 บาท เนื่องจากอัตราส่วนความเสี่ยง/ผลตอบแทนที่ไม่ดีนัก

ปัจจัยเสี่ยงมาจากความชะลอตัวของผู้บริโภคที่ยาวนาน และความไม่แน่นอนทางด้านกฎระเบียบจากการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (NBTC) ส่วนปัจจัยเสี่ยงมาจากการโยกงบประมาณโฆษณาจากช่อง 7 ไปยังช่องอื่นๆ ของ Unilever
บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) คงให้น้ำหนักการลงทุน ‘เท่ากับตลาด’ โดยมี BEC เป็นหุ้นเด่น โดยมีมุมมองเป็นบวกต่อค่าใช้จ่ายโฆษณาที่แข็งแกร่งในเดือนก.ค.-ส.ค. ปัจจัยบวกดังกล่าวจะทำให้ผลประกอบการที่เราคาดว่าจะอ่อนตัวลงตามปัจจัยฤดูกาลในไตรมาส 3/2552 นั้น ออกมาดีกว่าที่คาดได้ คงให้น้ำหนักการลงทุน ‘เท่ากับตลาด’ โดยมี BEC เป็นหุ้นเด่น”

บริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช (ประเทศไทย) รายงานเม็ดเงินโฆษณาเดือนส.ค. 2552 มีมูลค่า 7,738 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 และเป็นการขยายตัวเป็นบวก 3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นครั้งแรกในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และเป็นเม็ดเงินโฆษณาที่สูงที่สุดนับตั้งแต่ต้นปี 2552 การฟื้นตัวยังคงมาจากกิจกรรมของสื่อโทรทัศน์ที่มีมูลค่าโฆษณาเพิ่มขึ้น 5% เป็นมูลค่าสูงสุดของปี

สถาบันวิจัยนครหลวงไทย คาดว่าเป็นผลจากการใช้งบโฆษณาของผลิตภัณฑ์และผู้ซื้อโฆษณารายใหญ่ 10 ราย ที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้การชะลอตัวของสื่อหนังสือพิมพ์และสื่อวิทยุเริ่มทรงตัวได้ โดยลดระดับการลดลง ถึงแม้ว่ามูลค่าโฆษณารวมของปี 2552 (8 เดือนแรก) ยังคงลดลง 4% แต่ก็ถือว่าเป็นไปตามคาดหมายที่คาดว่ามูลค่าโฆษณารวมของปี 2552 จะต่ำกว่าปี 2551 อย่างแน่นอน

ทั้งนี้ สถาบันวิจัยนครหลวงไทยมั่นใจได้ว่ามูลค่าโฆษณาโดยรวมได้ผ่านพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว และคาดว่ามูลค่าโฆษณาในไตรมาส 3/2552 จะสูงขึ้นจากไตรมาส 2/2552 ประมาณ 5%

สถาบันวิจัยแห่งนี้ คาดว่ารายได้โฆษณาของทั้ง MCOT และ BEC จะปรับสูงขึ้นในช่วงไตรมาส 3/2552 สำหรับเม็ดเงินโฆษณาผ่านโทรทัศน์คาดว่าทั้งปีอาจทรงตัวจากปีก่อนได้จากโมเมนตัมที่ดีขึ้นเป็นลำดับ มองการที่ยูนิลีเวอร์ยังตกลงกับช่อง 7 ไม่ได้ ทำให้ช่อง 3 และช่อง 9 ยังคงได้รับอานิสงส์จากเม็ดเงินของยูนิลีเวอร์ซึ่งยังคงไหลเข้าอยู่ คาดว่าผลประกอบการไตรมาส 3/2552 ของทั้ง BEC และ MCOT ยังน่าจะดีอยู่

สำหรับสื่ออื่นๆ อย่างวิทยุ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร ยังคงได้รับผลกระทบโดยตรงจากภาวะเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นสื่อที่ทางเอเยนซีโฆษณาเลือกตัดงบเป็นอันดับแรก รวมถึงสื่อโรงภาพยนตร์ แม้ในเดือนนี้จะเติบโตขึ้นมาก อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาแม้ตัวเลข AGB Neilsen Media Research ยังรายงานเป็นบวก แต่นักวิเคราะห์สถาบันวิจัยนครหลวงไทยเคยสอบถามไปทาง MAJOR ตามตัวเลขเม็ดเงินโฆษณาผ่านสื่อโรงภาพยนตร์ยังคงหดตัวอยู่ คงต้องรอตรวจสอบอีกครั้ง ซึ่งข้อมูลดังกล่าวที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการยืนยันว่าในภาวะเศรษฐกิจที่ไม่ดี สื่อหลักที่ยังคงดีมีเพียงสื่อโทรทัศน์เท่านั้น ซึ่งเป็น Mass Media ที่เข้าถึงผู้ชมได้มากที่สุด และสื่อที่ยังเติบโตได้คือสื่อขนาดเล็กที่ใช้เงินไม่มากและเจาะกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ ส่วนสื่ออื่นๆ จะถูกลดเม็ดเงินอย่างเห็นได้ชัด

สถาบันวิจัยนครหลวงไทยยังคงให้น้ำหนักกลุ่มสื่อที่ปกติเช่นเดียวกับนักวิเคราะห์รายอื่น

**************
15/09/52
กลุ่มบันเทิง : คำแนะนำ “Neutral”
เดือน ส.ค. 52 การใช้เม็ดเงินโฆษณารวมทั้งอุตฯ พลิกกลับมาเติบโต 3% yoy เป็นครั้งแรกหลังจากที่หดตัวระดับประมาณ 2% - 9% yoy มาอย่างต่อเนื่องในช่วงเดือน ก.พ. – ก.ค. 52 คาดว่าเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจมีสัญญาณฟื้นตัวทำให้ผู้ประกอบการเริ่มมีความมั่นใจและกลับมาใช้งบโฆษณาเพิ่มขึ้น เราคาดว่าการใช้เม็ดเงินโฆษณารวมทั้งอุตฯ ในครึ่งปีหลังจะฟื้นตัวจากครึ่งปีแรกตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ โดยนายกสมาคมโฆษณาแห่งประเทศไทยคาดว่าการฟื้นตัวของอุตฯ สื่อโฆษณาในครึ่งปีหลังจะทำให้อุตฯ สื่อโฆษณาปี 2552 จะพลิกกลับมาเป็นเติบโต 5% yoy หลังจากในงวด 8 เดือนแรกของปี 52 อุตฯ สื่อโฆษณาหดตัว 3% yoy แต่อย่างไรก็ตาม เรามองว่าอุตฯ สื่อโฆษณายังมีความเสี่ยงจากปัจจัยทางการเมืองในประเทศยังมีความไม่แน่นอนกรณีการนัดชุมนุมใหญ่ของกลุ่มคนเสื้อแดงในวันที่ 19 ก.ย. นี้หากมีความรุนแรงอาจส่งผลต่อการใช้เม็ดเงินโฆษณาของผู้ประกอบการในครึ่งปีหลัง เราจึงแนะนำ “Neutral” (“ปานกลาง”) สำหรับกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์

เกียรตินาคิน
***************
14/09/52
MEDIA : เข้าสู่ช่วงการฟื้นตัว
คำแนะนำ ระดับปกติ

ค่าใช้จ่ายด้านโฆษณาเพิ่มขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน
Nielsen Media Research รายงานค่าใช้จ่ายด้านโฆษณา (gross adex) โต +2% YoY ในเดือน ส.ค. ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้น 2 เดือนติดต่อกัน หลังจากอุตสาหกรรมแตะจุดต่ำสุดในเดือน มิ.ย. ซึ่งสอดคล้องกับการบริโภคภายในประเทศที่มีแนวโน้มดีขึ้น โดยสื่อโทรทัศน์ยังเป็นตัวขับเคลื่อนหลักและมีการฟื้นตัวเป็นอันดับแรก เราคาดว่าจะมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องสำหรับเดือนสุดท้ายของไตรมาส 3 นี้ และตลอดไปจนถึงสิ้นปีนี้
สื่อโทรทัศน์ยังมีการฟื้นตัวเป็นอันดับแรก
จากการตรวจสอบข้อมูลของเรา ค่าใช้จ่ายด้านโฆษณา (Adex) ของโทรทัศน์ 2 ช่องที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (BEC และ MCOT) ในช่วง 2 เดือนแรกของไตรมาส 3Q52 ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องจากปีก่อน โดย Nielsen ยังรายงานค่าใช้จ่ายด้านโฆษณาทางโทรทัศน์ +5% ในเดือนส.ค. หลังจากการฟื้นตัว +3% ในเดือนก.ค. ไม่เพียงการโฆษณาจาก Unilever ที่เพิ่มขึ้นอย่างมากเท่านั้น แต่ผู้โฆษณารายอื่น ๆ ก็ยังมีการโฆษณาเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยมีค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมากกว่า 20% YoY สำหรับ 2 เดือนแรกในครึ่งปีหลัง แม้ว่าในเดือน ก.ย. อาจจะอ่อนตัวตามผลกระทบด้านฤดูกาล แต่ความเชื่อมั่นโดยรวมยังคงมีแนวโน้มที่ดีขึ้น
แต่การโฆษณาในสื่อโรงภาพยนตร์ยังไม่แข็งแกร่ง
แม้ว่าค่าใช้จ่ายด้านโฆษณาในโรงภาพยนตร์จะเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่ง YoY จากการรายงานของ Nielsen แต่เราเชื่อว่ายังคงมีการให้ส่วนลดอย่างมากและทำให้รายได้ที่รับแท้จริงน่าจะต่ำกว่าปีที่แล้ว สัญญาณการฟื้นตัวใน 2H52 อาจจะไม่แข็งแกร่งสำหรับสื่ออื่นที่มีลำดับรองลงมาจากสื่อโทรทัศน์ แต่เราเชื่อว่าเรื่องเลวร้ายต่าง ๆ ได้ผ่านพ้นไปแล้ว จากการประชุมกับผู้บริหารของ MAJOR ซึ่งกล่าวว่ารายได้โฆษณาน่าจะดีขึ้น QoQ ในไตรมาส 3 นี้ แม้ว่าเรายังคาดว่าจะลดลงอย่างมาก YoY ก็ตาม
ยังคงน้ำหนักการลงทุน “ระดับปกติ” ; BEC ยังคงปรับตัวช้ากว่าหุ้นตัวอื่นในอุตสาหกรรม (laggard)
เราใช้วิธี DCF สำหรับการประเมินมูลค่าของธุรกิจโทรทัศน์และภาพยนตร์จากกระแสเงินสดที่ต่อเนื่องและธรรมชาติของเงินทุน รวมทั้งเรายังคงน้ำหนักการลงทุน “ระดับปกติ” สำหรับอุตสาหกรรม โดยยังคงแนะนำ “ซื้อ” สำหรับ BEC (ราคาเป้าหมาย 23.50 บาท) เราคาดว่าผู้ประกอบการโทรทัศน์ช่อง 3 จะมีการฟื้นตัวของผลประกอบการอย่างแข็งแกร่งใน 2H52 และปี 2553 เนื่องจากรายได้ค่าโฆษณาที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและต้นทุนการดำเนินงานที่กลับสู่ระดับปกติ สำหรับ MAJOR เนื่องจากยังไม่มีสัญญาณการฟื้นตัวอย่างสดใส เรายังคงแนะนำ “ถือ” (ราคาเป้าหมาย 6.90 บาท) โดยเรายังคงแนะนำ “ขาย” สำหรับ MCOT (ราคาเป้าหมาย 15.50 บาท) เนื่องจากอัตราส่วนความเสี่ยง/ผลตอบแทนที่ไม่ดีนัก ปัจจัยเสี่ยงมาจากความชะลอตัวของผู้บริโภคที่ยาวนานและความไม่แน่นอนทางด้านกฎระเบียบจากการจัดตั้ง NBTC ส่วนปัจจัยเสี่ยง upside มาจากการโยกงบประมาณโฆษณาจากช่อง 7 ไปยังช่องอื่น ๆ ของ Unilever

โดย สำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ประจำวันที่ 14 ก.ย. 2552


************
14/09/52
อุตฯบันเทิงฟุ้ง 5ปีแซงเกาหลี
อุตสาหกรรมภาพยนตร์-สิ่งพิมพ์ ยิ้มรับงบไทยเข้มแข็งรวมกว่า 5,000 ล้าน ช่วยกระตุ้นคึกปีหน้า หวัง 5 ปี แซงเกาหลี


จาฤก กัลย์จาฤก
นายจาฤก กัลย์จาฤก นายกสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยรับอานิสงส์จากงบประมาณไทยเข้มแข็ง 2 ผ่านทางกระทรวงพาณิชย์และกระทรวงวัฒนธรรม
ทั้งนี้ ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ สมาคมของบ ประมาณปีละ 500 ล้านบาท ต่อเนื่อง 5 ปี รวมเป็น 2,500 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนผู้สร้างภาพยนตร์ ให้สร้างสรรค์งานคุณภาพ เน้นแสดงถึงเอกลักษณ์ ศิลปะ วัฒนธรรมของไทย และสามารถแข่งขันในตลาดโลกได้

เบื้องต้นกระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างร่างหลักเกณฑ์ร่วมกับภาคเอกชน ซึ่งเกณฑ์ของสมาคมจะเน้นสนับสนุนผู้กำกับภาพยนตร์ที่มี ผลงานได้รางวัลระดับโลก 5 คน ให้เข้ามาสร้างภาพยนตร์ในโครงการนี้ คาดว่าจะใช้งบประมาณเรื่องละ 100 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ได้วางเป้าหมายว่าภายใน 5 ปี อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยจะแซงหน้าอุตสาห กรรมภาพยนตร์ของเกาหลีได้

ด้านนายวรพันธ์ โลกิตสถาพร อุปนายกฝ่ายในประเทศ สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ธุรกิจหนังสือและสิ่งพิมพ์ได้รับผลดีจากงบประมาณไทยเข้มแข็งผ่านทางกระทรวงศึกษา ธิการ ภายใต้นโยบายรักการอ่านเป็นวาระแห่งชาติ ซึ่งมีงบประมาณสนับสนุนราว 3,000 ล้านบาท

ทั้งนี้ สนับสนุนให้โรงเรียนต่างๆ หาซื้อหนังสืออ่านนอกเวลาเข้าห้องสมุดเพิ่มมากขึ้น เชื่อว่าจะทำให้อุตสาหกรรมหนังสือในช่วงไตรมาสสุดท้ายกระเตื้องขึ้น และทั้งปีน่าจะเติบโต 5-7%

อย่างไรก็ตาม ในส่วนสมาคมเองได้จัดโครงการ Book for Gift ขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อสนับสนุนและกระตุ้นให้ผู้บริโภคซื้อหนังสือเป็นของขวัญมอบให้แก่กันในช่วงเทศกาลต่างๆ โดยเฉพาะในเทศกาลปีใหม่ ที่ทุกอุตสาหกรรมต่างลงมาแข่งขันเพื่อแย่งชิงตลาดของขวัญกันมากเป็นพิเศษ โครงการนี้จะทำต่อเนื่องอย่างน้อย 5 ปี ตั้งเป้าหมายว่าหากเปลี่ยนพฤติกรรม ผู้บริโภคให้ซื้อหนังสือให้แก่กันได้ จะช่วยผลักดันให้อุตสาหกรรมนี้เติบโตมากยิ่งขึ้น
posttoday
***********
27/07/52
กรมส่งออกดันอุตฯบันเทิง ขยายตลาด 6 พันล้านสู่เวทีโลก Source - ทรานสปอร์ต เจอร์นัล (Th) Monday, July 27, 2009 14:03
กรมส่งเสริมการส่งออกรุกจัดงาน "มหกรรมอุตสาหกรรมบันเทิงไทย 52" หรือ "Thailand Entertainment Expo 09" วันที่ 16-20 กันยายนนี้ ณ พารากอน ฮอลล์ หวังกระตุ้นการลงทุนและสร้างเครือข่ายระหว่างประเทศด้านธุรกิจบันเทิง รวมทั้งดึงต่างชาติใช้ไทยเป็นสถานที่ถ่ายทำหนังโกยเงินเข้าประเทศ ด้านสมาคมอุตสาหกรรมบันเทิงไทย และ TACGA มั่นใจสามารถขยายตลาดแอนิเมชั่น มูลค่า 5,000-6,000 ล้าน เติบโตต่อเนื่อง นายประมุข มนตริวัต ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมธุรกิจบริการ กรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กรมส่งเสริมการส่งออก ได้จับมือกับหน่วยงานภาครัฐ และกลุ่มธุรกิจบันเทิงภาคเอกชน อาทิ สมาคมอุตสาหกรรมบันเทิงไทย, สมาคมผู้กำกับภาพยนตร์ ไทย, สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งประเทศไทย, สมาคมแอนิเมชั่นและคอมพิวเตอร์กราฟฟิคแห่งประเทศไทย (TACGA) ฯลฯ ร่วมจัดงาน" Thailand Entertainment Expo 2009" หรือ "งานมหกรรมอุตสาหกรรมบันเทิงไทย ครั้งที่ 2" ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16-20 กันยายน 2552 ที่พารากอน ฮอลล์ ศูนย์การค้าสยาม พารากอน โดยวันที่ 16-17 กันยายน 2552 เป็นวัน Trade Days และในวันที่ 18-20 กันยายน 2552 จะเปิดให้ประชาชนทั่วไปเข้าชมงาน สำหรับการจัดงานในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประชาสัมพันธ์ศักยภาพของอุตสาหกรรมบันเทิงไทยในการเป็นศูนย์กลางของอุตสาหกรรมบันเทิงในเอเชีย รวมทั้งยังเป็นการส่งเสริมสนับสนุน และกระตุ้นให้ผู้ซื้อ ผู้ลงทุนจากนานาชาติเกิดความสนใจในธุรกิจบันเทิงของประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้น ทั้งงานภาพยนตร์ โทรทัศน์ วิทยุ งานโฆษณา มัลติมีเดีย และการ์ตูนแอนิเมชั่น พร้อมทั้งผลักดันให้เกิดการซื้อขายลิขสิทธิ์ต่างๆ ขยายไปยังตลาดต่างประเทศ รวมทั้งการสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นแหล่งถ่ายทำภาพยนตร์ระดับโลก "ปีที่แล้วถือเป็นปีแรกของการจัดงานมหกรรมอุตสาหกรรมบันเทิงไทย โดยมีผู้เข้าร่วมงานจำนวน 74 บริษัท 147 คูหา และมีผู้เข้าชมงานทั้งสิ้น 16,785 คน มีเงินหมุนเวียนจากการสั่งซื้อในงานประมาณ 12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และมีมูลค่าการซื้อขายใน 1 ปี ประมาณ 79 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปีนี้ถือเป็นอีกปีที่อุตสาหกรรมบันเทิงไทย สามารถขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนได้" ทั้งนี้ จากศักยภาพของธุรกิจบันเทิงไทยไม่ว่าจะเป็นการผลิตสื่อบันเทิงต่างๆ อาทิ ภาพยนตร์ ละคร หรือการให้บริการทางด้านบันเทิง เช่น บริการก่อนการผลิต (Pre-Production) บริการการผลิต (Production) บริการหลังการผลิต (Post-Production) ตลอดจนการให้บริการแก่กองถ่ายต่างประเทศ ที่เข้ามาใช้สถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทย สามารถพัฒนาให้เกิดการจ้างงาน และเกิดธุรกิจต่อเนื่องในอุตสาหกรรมบันเทิงได้ ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งช่องทางในการนำเข้าเงินตราจากต่างประเทศ กรมส่งเสริมการส่งออก จึงให้การสนับสนุนและส่งเสริมนักธุรกิจไทย ให้มีการส่งออกผลงานไปยังต่างประเทศมากขึ้น และยังกระตุ้นให้นักธุรกิจต่างชาติสนใจผลงาน และเข้ามาใช้บริการธุรกิจบันเทิงในประเทศไทยมากขึ้นเช่นกัน นายประมุข กล่าวอีกว่า ไทยมีจุดแข็ง คือ มีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ มีประสบการณ์ และความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งยังมีความเป็นศิลปินอยู่ในตัว มีอุปกรณ์ เครื่องมือในการถ่ายทำ การตัดต่อและล้างฟิล์มที่ทันสมัย ในขณะที่ค่าบริการในการรับจ้างผลิต และค่าแรงงานของไทยถูกกว่าประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ฮ่องกง สิงคโปร์ นอกจากนี้ ผลงานของคนไทยยังมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากอุตสาหกรรมบันเทิงไทยมีการแข่งขันระหว่างผู้ประกอบการในประเทศด้วยกันเองสูง ส่งผลให้ผู้ประกอบการตื่นตัว และมีการพัฒนาต่อเนื่อง นายปราโมทย์ โชคศิริกุลชัย นายกสมาคมอุตสาหกรรมบันเทิงไทย กล่าวว่า เป้าหมายการจัดงานในปีนี้คือ ความต้องการสร้างประเทศไทยให้เข้าไปเป็นหนึ่งในแผนที่โลกของการจัดงานอุตสาหกรรมบันเทิงให้ประสบความสำเร็จ และยังเป็นการผลักดันให้เกิดการผนึกกำลังกันระหว่างผู้ประกอบการธุรกิจบันเทิงหลากหลายสาขา ทั้งในส่วนของภาพยนตร์ เพลงแอนิเมชั่น เพื่อสร้างศักยภาพในการนำเสนอผลงานให้กับต่างชาติได้เห็นว่าประเทศไทยมีความพร้อม และมีความสามารถในหลากหลายสาขาของอุตสาหกรรมบันเทิง ด้าน นายลักษณ์ เตชะวันชัย นายกสมาคมแอนิเมชั่นและคอม พิวเตอร์กราฟฟิคแห่งประเทศไทย (TACGA) กล่าวว่า จากนโยบายของภาครัฐ ที่จะพัฒนาให้ไทยเป็น Creative Economy และการเติบโตของอุตสาหกรรมแอนิเมชั่นทั่วโลกที่ขยายตัวต่อเนื่อง การจัดงาน Thailand Entertainment Expo 2009 จึงถือเป็นการจุดประกายให้เกิดการพัฒนางานในประเทศไทย และยังเป็นการเชิญชวนนักลงทุนชาวต่างชาติ ให้รู้จักประเทศไทย และได้เห็นผลงานของคนไทยมากขึ้น โดยเป้าหมายในเบื้องต้น คือ ต้องการให้ประเทศไทยเป็นหนึ่งในแผนที่โลกของประเทศที่มีศักยภาพในการจัดงานด้านนี้ "สมาคม TACGA จะพยายามผลักดันให้ตลาดแอนิเมชั่นไทยขยายตัวมากขึ้น จากปัจจุบันที่มีมูลค่าตลาดประมาณ 5,000-6,000 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ยปีละ 10% ขณะที่ผลงานของคนไทยได้รับการยอมรับจากต่างชาติอยู่แล้ว หากได้รับการส่งเสริมและผลักดันที่ดี จะทำให้ธุรกิจแอนิเมชั่น ของไทยเติบโตต่อเนื่องได้ทุกปี"
https://www.asl.co.th/default.aspx
stock in focus

************
18/07/52
กสิกรไทยคาดตลาดหนังสือปี 52 ขยายตัวลดลง

คุณภาพ ของประชากรมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ ธุรกิจสำนักพิมพ์และหนังสือจึงมีส่วนช่วยส่งเสริมและผลักดันให้ประชาชนเกิด การเรียนรู้ ซึ่งที่ผ่านมาคนไทยให้เวลากับการอ่านหนังสือค่อนข้างน้อย อาจเนื่องจากใช้เวลาส่วนมากหมดไปกับสื่อบันเทิง ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนตร์ แผ่น VCD/DVD ประกอบกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ทำให้การค้นคว้าหาความรู้สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วโดยใช้สื่ออินเทอร์เน็ต

อย่างไรก็ตาม การผลักดันให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ รวมถึงการยกระดับมาตรฐานงานพิมพ์ของไทยที่มีการพัฒนามาโดยตลอด เพื่อก้าวสู่ความเป็นศูนย์กลางการพิมพ์ในภูมิภาคอาเซียน (Asian Printing Hub) นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ตลาดหนังสือของไทยยังขยายตัวได้ ส่งผลถึงธุรกิจสำนักพิมพ์ในประเทศมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ทั้งในด้านปริมาณและประเภทสิ่งพิมพ์ โดยในปี 2551 จำนวนหนังสือใหม่ที่เข้าสู่ร้านหนังสือเฉลี่ยประมาณ 1,112 ชื่อเรื่องต่อเดือน เพิ่มขึ้นร้อยละ 16.4 จากปีก่อนหน้า ส่วนสำนักพิมพ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 อยู่ที่ 512 สำนักพิมพ์ [1] และจำนวนร้านหนังสือเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.8 อยู่ที่ 2,483 ร้าน

โดยคาดว่าในปี 2552 ตลาดหนังสือในประเทศยังคงขยายตัวได้ แต่ด้วยอัตราที่ชะลอลง และมีแนวโน้มที่การแข่งขันจะรุนแรงขึ้น เนื่องจากข้อจำกัดเรื่องพื้นที่การวางสินค้าของร้านหนังสือ และกำลังซื้อของประชาชนที่ยังคงชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ ส่วนตลาดต่างประเทศ การ ยกระดับในงานพิมพ์ของไทยให้เป็นที่ยอมรับจากต่างชาติส่งผลให้มูลค่าการส่ง ออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ของไทยขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และยังมีความต้องการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากประเทศในแถบเอเชีย คาดว่าปี 2552 มูลค่าการส่งออกหนังสือและสิ่งพิมพ์ของไทยจะขยายตัวร้อยละ 1-2 จากปีที่แล้ว โดยตลาดส่งออกสำคัญ คือ ประเทศในภูมิภาคเอเชีย

ดังนั้น ในภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัว ผู้บริโภคมีกำลังซื้อลดลง สำนักพิมพ์ควรเร่งปรับตัวเพื่อเพิ่มยอดขายและสร้างช่องทางการตลาด โดยเร่งพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพ เลือกเรื่องที่มีเนื้อหาสาระน่าสนใจ ทันตามกระแสสังคมและทันต่อเหตุการณ์ในขณะนั้น สอดคล้องกับช่วงงาน/เทศกาลต่างๆของปี ซึ่งหนังสือนิยาย/วรรณกรรมและการ์ตูนยังคงเหมาะสำหรับกลุ่มเด็กและเยาวชน ส่วน ธรรมะประยุกต์ แนวสร้างสรรค์พัฒนาตนเอง และกระแสเหตุการณ์ปัจจุบัน ยังคงอยู่ในความสนใจของกลุ่มคนวัยทำงาน

อีกทั้ง ควรใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย ออกแบบรูปเล่ม/หน้าปกให้มีรูปลักษณ์สวยงาม สะดุดตา ใช้กระดาษที่มีคุณภาพ อาทิ เช่น กระดาษถนอมสายตาซึ่งเป็นแนวใหม่ที่เริ่มเป็นที่นิยมในหมู่นักอ่าน รวมถึงการประสานสื่อสมัยใหม่เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกแก่ผู้อ่าน และที่สำคัญควรมีราคาที่ไม่แพงจนเกินไป สอดคล้องกับกำลังซื้อของกลุ่มเป้าหมายและต้นทุนการผลิตที่แท้จริง การขยายช่องทางการตลาด วางแผนการโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆอย่างต่อเนื่อง การจัดโปรโมชั่น/ส่วนลดสมาชิก เพื่อจูงใจให้ผู้อ่าน/สมาชิกซื้อหนังสือบ่อยขึ้น หรือให้สิทธิในการจองซื้อหนังสือก่อนลูกค้าปกติ เป็นต้น รวมถึงการเลือกทำเลที่ตั้งร้านหนังสือก็ เป็นส่วนสำคัญ โดยควรเลือกจุดตั้งร้านที่เป็นแหล่งชุมชนตรงตามกลุ่มเป้าหมาย เดินทางสะดวก มีที่จอดรถรองรับ พร้อมทั้งประเมินศักยภาพของคู่แข่งในกรณีที่มีร้านหนังสืออื่นในพื้นที่ เดียวกัน เป็นต้น

สำหรับสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ที่มีร้านหนังสือเป็นของตนเองควรปรับเปลี่ยนรูปแบบของร้านหนังสือให้ดูทันสมัย เพื่อดึงดูดความสนใจลูกค้าทุกวัย รวมถึงการเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าเพื่อนำฐานข้อมูลมาใช้วางแผน การตลาดของร้านหนังสือและสำนักพิมพ์ต่อไป ส่วนสำนักพิมพ์ขนาดเล็กที่ ไม่มีโรงพิมพ์และร้านหนังสือเป็นของตน ก็ควรหาช่องทางการผลิตที่มีคุณภาพและต้นทุนไม่สูงนัก อีกทั้งแสวงหาช่องทางการตลาดที่สามารถกระจายหนังสือได้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย สอดคล้องกับแนวหนังสือของสำนักพิมพ์ และอาจอาศัยเทคโนโลยีเป็นตัวช่วย เช่น การขายตรงผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต เป็นต้น เพราะ จากภาวะที่เศรษฐกิจชะลอตัวทำให้ธุรกิจสำนักพิมพ์มีการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาด สำนักพิมพ์ขนาดใหญ่จึงได้เปรียบสำนักพิมพ์ขนาดเล็ก เนื่องจากมีเครือข่ายการผลิตครบวงจร เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเงินทุนที่เข้มแข็งกว่า

http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20090718/61016/กสิกรไทยคาดตลาดหนังสือปี-52-ขยายตัวลดลง.html

stock in focus

**********
16/07/52
กลุ่มสื่อกำไร Q2 ฟื้นสวนอุตสาหกรรม BEC-MCOT ทีเด็ด รับยูนิลีเวอร์โยกงบใส่
กลุ่มสื่อกำไรไตรมาส 2 ฟื้นสวนอุตสาหกรรม BEC กำไรไม่ต่ำ 544 ล้านบาท แถมยึดแท่นเม็ดเงินโฆษณาอันดับหนึ่ง 6 เดือนซ้อน อัพไซด์หุ้นยังเพียบ เป้าหมาย 25 บาท ด้าน MCOT ไม่น้อยหน้า กำไรเกิน 293 ล้านบาท ได้อานิสงส์ยูนิลีเวอร์โยกงบ แถมขึ้นค่าโฆษณา ด้านโบรกฯ ชี้ช่องซื้อเก็งกำไรรับประเด็นปรับสัมปทาน
สรุปข่าว หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น
16 ก.ค.--ข่าวหุ้น
stock in focus

***********
15/07/52
กลุ่มสื่อน้ำหนักลงทุนปกติ

ตัวเลขมูลค่าโฆษณาเดือนมิ.ย. ออกมายังลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ ทำให้นักวิเคราะห์ยังคงมุมมองหุ้นกลุ่มสื่อที่ลงทุนปกติ

บล.ธนชาต ยังยืนยันมุมมองและยังคงประมาณการของเราที่คาดว่างบค่าใช้จ่ายโฆษณารวมและงบค่าใช้จ่ายโฆษณาผ่านสื่อโทรทัศน์ในปีนี้จะลดลง 6% และ 4% ไว้เหมือนเดิม และยังคงชอบบริษัท อสมท (MCOT) มากกว่าบริษัท บีอีซีเวิลด์ (BEC) เนื่องจากมีมูลค่าที่ถูกกว่า มีอัตราการเติบโตที่แข็งแกร่งกว่า และให้อัตรา ผลตอบแทนปันผล (Dividend Yield) ที่สูงกว่า โดยความเป็นไปได้ที่จะมีการปรับเพิ่มค่าสัมปทานของ BEC จะกลายเป็นปัจจัยกดดันราคาหุ้น BEC ขณะที่เป็นบวกต่อ MCOT
สําหรับบริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป (MAJOR) เนื่องจากได้คาดไว้อยู่แล้วว่างบค่าใช้จ่ายโฆษณาผ่านสื่อโรงภาพยนตร์จะฟื้นตัวขึ้นตามภาพยนตร์ที่เข้าฉายแข็งแกร่ง แต่การเพิ่มขึ้นของฐานต้นทุนจะทําให้อัตรากําไรของบริษัทเพิ่มขึ้นได้อย่างจํากัด ดังนั้นคงคําแนะนํา “ถือ” โดยมีราคาเป้าหมายที่ 6 บาทต่อหุ้น

ด้านสถาบันวิจัยนครหลวงไทยยังคงให้น้ำหนักลงทุนหุ้นกลุ่มสื่อปกติ ประเมินว่าแนวโน้มผลประกอบการไตรมาส 2 ของกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์จะปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสแรก แต่คาดว่าไม่โดดเด่นมาก แต่จะเป็นไปตามภาวการณ์เปลี่ยนแปลงฤดูกาลเท่านั้น สำหรับน้ำหนักลงทุนยังคงไม่เห็นปัจจัยบวกต่อกลุ่มนี้ในระยะสั้น และแนะนำซื้อ MCOT และ MAJOR เท่านั้น

ข้อมูล Nielsen พบว่างบค่าใช้จ่ายโฆษณารวมเดือนมิ.ย. 2552 ลดลง 9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยค่าใช้จ่ายโฆษณาลดลงในเกือบทุกสื่อ นั่นคือ สื่อโทรทัศน์ (ลบ 8%) สื่อวิทยุ (ลบ 19%) สื่อหนังสือพิมพ์ (ลบ 14%) และสื่อนิตยสาร (ลบ 26%) โดยมีเพียงสื่อโรงภาพยนตร์เท่านั้นที่งบค่าใช้จ่ายโฆษณาเพิ่มขึ้น 34%
http://www.posttoday.com/stockmarket.php?id=57085
stock in focus

*************
13/07/52
เม็ดเงินโฆษณาปีนี้ลบแน่8%

อุตสาหกรรมโฆษณาลบหนัก คาดสิ้นปีติดลบ 8% ชี้ปัจจัยลบไม่จาง ทำผู้โฆษณาขายไม่ออก หั่นงบ

นางสุภาณี เดชาบูรณานนท์ รองประธานกรรมการบริหาร และผู้อำนวยการกลุ่มกลยุทธ์การค้าและการลงทุนในสื่อ กรุ๊ปเอ็ม บริษัท มายด์แชร์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า สถานการณ์ของอุตสาหกรรมโฆษณายังคงน่าเป็นห่วงในช่วงครึ่งปีหลัง เนื่องจากปัจจัยลบต่างๆ ยังไม่คลี่คลาย ทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคยังหดตัว

“เมื่อเจ้าของสินค้าขายของได้ยาก จึงไม่ลงทุนด้านโฆษณา ทำให้ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมโฆษณาโดยรวม” นางสุภาณี กล่าว

ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าตลอดทั้งปีนี้อุตสาหกรรมโฆษณาจะติดลบ 8% จากเดิมที่คาดว่าจะติดลบ 3% ถึงลบ 5%
http://www.posttoday.com/business.php?id=56751

stock in focus
**********

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น