วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

ข่าวกลุ่มค้าปลีก

15/09/52
หุ้นค้าปลีกสดใสรับ Q4 ไฮซีซั่น เชียร์ซื้อ HMPRO เป้า 8.30 บ.
หุ้นกลุ่มค้าปลีก BIGC-MAKRO-CPALL-HMPRO-ROBINS ได้ดีไตรมาส 4 ไฮซีซั่น ดันครึ่งปีหลังสดใสความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้นมาตรการรัฐช่วยกระตุ้นการใช้จ่าย โดย HMPRO เป็น Top Picks แนะนำซื้อเป้าหมาย 8.30 บาท
***********
08/09/52
ธุรกิจค้าปลีกปี 52 : ครึ่งแรกอ่อนแรง...
: ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 8 ก.ย.--ศูนย์วิจัยกสิกรไทย Distributor - Bisnews AFE
ที่ 15 ฉบับที่ 2626 วันที่ 8 กันยายน 2552
ธุรกิจค้าปลีกปี 52 : ครึ่งแรกอ่อนแรง...
ครึ่งหลังดีขึ้น แต่ยังต้องระวังปัจจัยเสี่ยง (ฉบับส่งสื่อมวลชน)
จากการที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาภาวะเศรษฐกิจซบเซาอย่างรุนแรงนับตั้งแต่ปลายปี 2551 ได้ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้บริโภคไม่ใช่น้อย โดยเฉพาะกลุ่มที่ถูกเลิกจ้างงาน หรือถูกปรับลดเงิน เดือน ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคบางกลุ่มซึ่งยังไม่ได้รับผลกระทบจากการเลิกจ้างหรือลดเงินเดือน ก็ได้ปรับ เปลี่ยนพฤติกรรมการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน โดยลดการใช้จ่ายที่ฟุ่มเฟือยลง เนื่องจากมีความกังวล ต่อสถานการณ์เศรษฐกิจ ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของตนในอนาคต ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงคาดว่า มูลค่าค้าปลีกในปี 2552 มีแนวโน้มค่อนข้างสูงที่จะต้องเผชิญกับตัวเลขการเติบโตที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์ ค้าปลีกครึ่งแรกปี 52 : ซึม...ไตรมาสแรกซบ...แม้จะกระเตื้องขึ้นบ้างในไตรมาส 2 เนื่องด้วยภาวะเศรษฐกิจไทยที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกที่เข้าสู่ภาวะถด ถอย ประกอบกับปัญหาราคาน้ำมันและอาหารที่ยังคงทรงตัวในระดับสูง ซึ่งมีผลต่อภาวะค่าครองชีพของผู้ บริโภคเป็นอย่างมาก ผนวกกับปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่ซ้ำเติมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในต้น ปี 2552 ซึ่งส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายรวมถึงการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ทั้งเหตุการณ์ ความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ของไทย เหตุการณ์จลาจลในช่วงสงกรานต์ปี 2552 และการ ชุมนุมเรียกร้องทางการเมืองที่ยังมีต่อเนื่องมาเป็นระยะๆทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด โดยเฉพาะภาพ ลักษณ์ด้านความสงบและปลอดภัยภายในประเทศไทยในสายตาของนักท่องเที่ยวต่างชาติซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมาย สำคัญของวงการค้าปลีกไทย ที่พบว่าตกต่ำอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน นอกจากนี้ ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งยัง ต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 นับตั้งแต่ช่วง กลางเดือนเมษายน 2552 เป็นต้นมา ส่งผลให้ภาพรวมธุรกิจค้าส่งค้าปลีกในครึ่งแรกปี 2552 จึงหดตัว ลงเป็นครั้งแรกในรอบ 10 ปี โดยเติบโตในอัตราที่ลดลงร้อยละ 3.3 อัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภาคค้าปลีกค้าส่ง ณ ราคาคงที่ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า 2551 2552 ไตรมาส1 ไตรมาส2 ครึ่งแรก ไตรมาส1 ไตรมาส2 ครึ่งแรก 3.0% 2.8% 2.9% -3.7% -2.8% -3.3%



ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย



โดยผู้บริโภคได้ชะลอการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการเกือบทุกหมวด ยกเว้นหมวดอาหารที่

ขยับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และด้านบริการที่ยังคงขยายตัวบ้าง โดยส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลมาจากฐานการใช้จ่ายที่

อยู่ในระดับต่ำของปีก่อน ทั้งนี้ประเภทของสินค้าที่พบว่ามีการใช้จ่ายชะลอตัวลงมากได้แก่ สินค้าคงทน

(เช่นยานยนต์ เครื่องเรือน และเครื่องใช้ไฟฟ้าขนาดใหญ่ เป็นต้น) ที่หดตัวถึงร้อยละ 15.9 เมื่อเทียบกับ

ช่วงเดียวกันปีก่อน และสินค้ากึ่งคงทน( เช่น เสื้อผ้า รองเท้า ภาชนะ และสิ่งทอที่ใช้ในครัวเรือน เป็น

ต้น) ที่หดตัวร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน

อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเทียบอัตราการเติบโตระหว่างไตรมาสแรกกับไตรมาสสองของปีนี้

เพิ่มเติม พบว่า การค้าส่งค้าปลีกในไตรมาสสองได้หดตัวในอัตราที่ชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 2.8 จากร้อยละ

3.7 ในไตรมาสก่อน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับดัชนีการบริโภคภาคเอกชนที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นตั้งแต่ปลาย

ไตรมาสแรก โดยปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนให้ผู้บริโภคมีความมั่นใจและเริ่มใช้จ่ายมากขึ้นในไตรมาสที่

2/2552 คือ 2,000 บาท โครงการ

เงินช่วยเหลือผู้สูงอายุ และโครงการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เป็นต้น รวมถึงการเร่งใช้จ่าย

งบประมาณของรัฐในด้านต่างๆ และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอื่นๆ ประกอบกับการฟื้นตัวของภาค

อุตสาหกรรมตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มดีขึ้น ที่อาจส่งผลให้ปัญหาการว่างงานบรรเทาความรุนแรง

ลง อีกทั้งในช่วงครึ่งแรกปี 2552 ผู้ประกอบการค้าปลีกหลายรายต่างเร่งเปิดเกมรุกแข่งขันกันอย่างเข้ม

ข้น เพื่อกระตุ้นยอดขายและรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ให้ได้ จึงส่งผลให้บรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยในธุรกิจ

ค้าปลีกในช่วงไตรมาสที่ 2/2552 ไม่เลวร้ายจนเกินไปนัก โดยแม้จะมีอัตราการเติบโตหดตัวลง แต่ก็เป็น

ไปในอัตราที่ลดลงเมื่อเทียบกับการหดตัวลงของไตรมาสแรกปี 2552


ครึ่งหลังปี 2552 : น่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าครึ่งแรก

แนวโน้มเม็ดเงินหมุนเวียนของธุรกิจค้าปลีกค้าส่งในช่วงครึ่งหลังปี 2552 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

มองว่า น่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะปรับตัวในทิศทางที่

ดีขึ้น ซึ่งเครื่องชี้เศรษฐกิจไทยโดยรวมบ่งชี้การปรับตัวดีขึ้นมาบ้างแล้ว แม้จะยังเป็นภาวะที่เศรษฐกิจหดตัว

แต่ก็มีอัตราลบที่ชะลอลง อีกทั้งรายได้เกษตรกรของไทยก็มีแนวโน้มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้นด้วย โดยได้รับ

อานิสงส์จากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสินค้าเกษตรตามตลาดโลก อีกทั้งยังได้รับแรงหนุนจากมาตรการ

กระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่สองของรัฐบาล ที่น่าจะเป็นผลดีต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยใน

กรณีที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ตัวเลขจีดีพีที่เทียบกับช่วง

เดียวกันของปีก่อน (YoY) น่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในช่วงไตรมาสที่ 4/2552 ส่งผลให้ในช่วงครึ่ง

ปีหลัง อัตราการขยายตัวของจีดีพีอาจมีค่าเฉลี่ยติดลบน้อยลงมาที่ประมาณร้อยละ 1.0 จากที่หดตัวร้อยละ

6.0 ในช่วงครึ่งปีแรก ซึ่งก็น่าจะส่งผลดีต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค และบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยใน

ธุรกิจค้าปลีกค้าส่งตามมาด้วย ซึ่งในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนับได้ว่าเป็นฤดูแห่งการใช้จ่าย หรือเทศกาล

ของขวัญปีใหม่ และยังเป็นอีกช่วงหนึ่งที่คนไทยนิยมเดินทางท่องเที่ยว ทำให้ในช่วงนี้ผู้บริโภคจะมีการใช้จ่าย

มากเป็นพิเศษ จึงเป็นช่วงเวลาที่สำคัญที่ผู้ประกอบการต่างต้องเร่งทำแคมเปญกระตุ้นการใช้จ่าย

อย่างไรก็ตาม ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เห็นว่าแนวโน้มธุรกิจค้าปลีกค้าส่งในช่วงครึ่งหลังปี 2552

ผู้ประกอบการยังคงต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินธุรกิจพอสมควร เพราะแม้ว่าจะมีปัจจัยบวก แต่

ขณะเดียวกันภาวะเศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงหลายประการที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด ซึ่งปัจจัยที่คาดว่า

จะมีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจค้าปลีกค้าส่งในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 ที่สำคัญได้แก่

ปัจจัยด้านบวก

* เศรษฐกิจไทยน่าจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น เนื่องจากได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้น

เศรษฐกิจของรัฐบาล ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

* ภาครัฐมีการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ

* สัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทยอย่างสหรัฐฯ หรือตลาดจีน

และอินเดีย ที่มีแนวโน้มขยายตัวดีเกินคาด ที่น่าจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกไทยในช่วงเวลาที่เหลือของปี

* ช่วงไตรมาสสุดท้ายเป็นเวลาของเทศกาลเฉลิมฉลองส่งท้ายปลายปี และยังเป็นอีกช่วงหนึ่งที่

คนไทยนิยมเดินทางท่องเที่ยว ทำให้ผู้บริโภคจะมีการใช้จ่ายมากขึ้นเป็นพิเศษ



ปัจจัยด้านลบ

* ความไม่แน่นอนของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะประเทศคู่ค้าหลักของไทย ที่แม้จะ

เริ่มดีขึ้นจากที่ภาครัฐของแต่ละประเทศมีมาตรการสนับสนุนเศรษฐกิจภายในประเทศ แต่หลายประเทศยังคง

ประสบปัญหาการว่างงาน และการชะลอการใช้จ่ายของผู้บริโภค

* ภาวะเศรษฐกิจโลก ซึ่งหากการฟื้นตัวมีความล่าช้าออกไป อาจจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัว

ของเศรษฐกิจไทย และรายได้ของผู้บริโภคด้วยเช่นกัน

* แนวโน้มการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์ฯ ที่อาจจะมีผลต่อค่าเงินบาทและความสามารถในการ

แข่งขันของภาคการส่งออกไทย

* แนวโน้มการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน ที่จะส่งผลกระทบต่อภาระค่าใช้จ่าย และการตัดสิน

ใจซื้อของผู้บริโภค

* แนวโน้มพฤติกรรมการระมัดระวังค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคที่ต่อเนื่อง อันเกิดมาจากความเคยชิน

กับการประหยัดรัดเข็มขัด นับตั้งแต่ที่เศรษฐกิจซบเซาเมื่อปลายปี 2551

* ทิศทางสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ที่อาจจะส่งผลต่อ

กระแสความตื่นตระหนกของผู้บริโภคในการใช้บริการในสถานที่หรือแหล่งชุมชนที่มีคนพลุกพล่าน

* ความไม่แน่นอนทางการเมือง ที่สร้างความกังวลต่อธุรกิจและประชาชน



ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จึงคาดว่า ยอดขายค้าปลีกค้าส่งในครึ่งหลังปี 2552 จะยังคงมีอัตรา

การเติบโตหดตัวร้อยละ 1.0-2.5 (ณ ราคาคงที่) แต่ก็เป็นการหดตัวในอัตราที่ลดลงจากครึ่งแรกปี

2552 ที่เติบโตติดลบ 3.3



ผู้บริโภค : เริ่มเคยชินกับการประหยัด...เสาะแสวงหาข้อมูลมากขึ้น

* จากการที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับภาวะวิกฤติเศรษฐกิจ ปัญหาการว่างงานและการปรับลด

เวลาทำงาน ที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ปลายปี 2551 จวบจนปัจจุบัน หรือเหตุการณ์ความไม่สงบภายในประเทศ

เป็นต้น ล้วนมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคภายในประเทศอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงมีความ

เป็นไปได้ว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทยในช่วงครึ่งหลังปี 2552 อาจจะเป็นไปดังต่อไปนี้

* แนวโน้มพฤติกรรมผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยน่าจะยังคงมีความระมัดระวังในการจับจ่ายใช้สอย

ไม่แตกต่างจากปีก่อนหน้า เพราะผู้บริโภคต่างเริ่มเคยชินกับการประหยัดรัดเข็มขัด หรือการให้ความสำคัญ

กับการออมเงินเพิ่มมากขึ้น นับตั้งแต่ที่เศรษฐกิจซบเซาในปลายปีก่อน ประกอบกับผู้บริโภคยังคงมีความหวั่น

วิตกต่อสถานการณ์เศรษฐกิจและรายได้ในอนาคตพอสมควร ทำให้พฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้าในช่วงครึ่ง

หลังปี 2552 อาจจะเป็นไปในลักษณะที่เลื่อนซื้อสินค้าใหม่ๆเข้าบ้านแทนของเก่า และเลือกมองหาร้านค้าที่

มีโปรโมชั่นลดราคา ล้างสต็อกสินค้า ส่งผลให้ร้านค้าจำนวนมากต่างจำเป็นต้องแข่งขันกันด้วยโปรโมชั่นส่วน

ลดที่สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถึงแม้ว่าจะเป็นกลยุทธ์ที่เสี่ยงพอสมควร และลดทอนรายได้ของร้านค้าลงไป

บ้าง แต่ก็จะช่วยระบายสินค้าออกไปได้มากเช่นกัน

* ผู้บริโภคจะคำนึงถึงความคุ้มค่าในการซื้อสินค้าอย่างชัดเจนมากขึ้น เนื่องจากธุรกิจค้าปลีกเป็น

กิจการที่ขึ้นอยู่กับการใช้จ่ายของผู้บริโภคโดยตรง ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า ในยุคเศรษฐกิจซบเซาผู้บริโภคจะ

หันมาเน้นความคุ้มค่าคุ้มราคามากขึ้นอย่างชัดเจน โดยเฉพาะความต้องการสินค้าที่มีคุณภาพดี และมีราคาที่

สมเหตุสมผล ขณะเดียวกัน ผู้บริโภคมักจะเลือกซื้อสินค้าในร้านค้าปลีกที่คุ้นเคย หรือมีความน่าเชื่อถือมาก

ที่สุด โดยไม่จำเป็นต้องลองเข้าไปใช้บริการในร้านค้าใหม่ๆ ดังนั้น ผู้ประกอบการจึงควรพยายามสร้าง

ความภักดีหรือความผูกพันต่อแบรนด์ของกิจการ เพื่อเพิ่มความถี่ในการใช้บริการ และเป็นการดึงดูดให้ลูกค้า

แวะเวียนมาใช้บริการสาขาในเครือ รวมถึงการหาจุดอ่อนของคู่แข่งที่เป็นเจ้าตลาดเดิม และนำเสนอทาง

เลือกที่ดีกว่า เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อให้ได้

* แหล่งช้อปราคาถูกกว่าจะได้รับความสนใจค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในส่วนของสินค้าจำเป็นที่

ใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะผู้บริโภคจำนวนไม่น้อยยังมีความกังวลต่อรายได้ในอนาคต จึงต้องเน้นการใช้

จ่ายอย่างประหยัด และนิยมอยู่บ้านมากขึ้น ด้วยการเลือกซื้อหรือใช้บริการร้านค้าใกล้บ้านมากขึ้น และซื้อ

สินค้าด้วยความถี่ที่น้อยลง โดยที่บางส่วนอาจจะซื้อในปริมาณที่น้อยลงด้วย ทำให้สมรภูมิค้าปลีกในรูปแบบ

ดิสเคานท์สโตร์ รวมถึงซูเปอร์มาร์เก็ตในครึ่งหลังปี 2552 จะยังคงเข้มข้นไปด้วยสงครามราคา และการ

แย่งชิงลูกค้า หลังผ่านยุคของการแย่งชิงทำเลเพื่อขยายสาขาให้ครอบคลุมมากที่สุด จนนำไปสู่การพัฒนารูป

แบบใหม่ๆที่มีขนาดเล็กลง และกระจายตัวไปทั่วทุกพื้นที่ในขณะนี้แล้ว

* ผู้บริโภคไม่ต้องการเดินทางไกล และต้องการความสะดวกสบายมากขึ้น ปัจจุบันผู้บริโภคให้

ความสำคัญกับทำเลที่ตั้งของสถานที่และความสะดวกสบายในการเดินทางค่อนข้างมาก ควบคู่กับความครบ

ครันของสินค้าและบริการ แม้อาจจะต้องจ่ายแพงกว่าปกติ ส่งผลให้ธุรกิจค้าปลีกรูปแบบคอมมูนิตี้มอลล์น่า

จะยังคงมาแรง โดยเฉพาะการขยายตัวไปยังชุมชนเกิดใหม่แถบชานเมืองและปริมณฑล รวมถึงในทำเลหัว

เมืองใหญ่ๆที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ หรือชุมชนบ้านหลังที่สองของคนกรุงเทพฯด้วย โดยมีกลุ่มเป้าหมาย

เป็นผู้บริโภคระดับบีบวกขึ้นไป จึงนับเป็นคู่แข่งทางอ้อมที่ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้า และศูนย์การค้าย่าน

ใจกลางเมืองไม่ควรมองข้าม

* ผู้บริโภคเสาะแสวงหาข้อมูลมากขึ้น สำหรับพฤติกรรมการจับจ่ายกลุ่มสินค้าที่ไม่จำเป็นต่อการ

ดำรงชีวิต รวมถึงสินค้าแฟชั่นก็เปลี่ยนไป โดยกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางลงมานั้น มีแนวโน้มจะมีการ

เปรียบเทียบราคาของห้างร้านต่างๆมากขึ้น และหันไปซื้อตามตลาดนัดในย่านต่างๆที่นับวันจะได้รับความนิยม

จากผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นตามลำดับแทนการซื้อสินค้าแบรนด์เนมจากห้างสรรพสินค้า หรือจะซื้อในห้างสรรพ

สินค้าก็ต่อเมื่อมีกิจกรรมส่งเสริมการขาย และอาจจะถึงขั้นชะลอการซื้อหรือเลิกซื้อสินค้าไปโดยปริยาย

ขณะที่กลุ่มผู้บริโภคระดับกลางขึ้นไป กลุ่มพนักงานบริษัท และกลุ่มวัยรุ่นที่มีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีสมัยใหม่

อย่างอินเตอร์เน็ต ก็อาจจะมีเสาะหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตกันมากขึ้น



บทสรุป

แม้แนวโน้มธุรกิจค้าปลีกค้าส่งในช่วงครึ่งหลังของปี 2552 น่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้นกว่าในช่วงครึ่ง

แรกของปี เนื่องจากคาดว่าเศรษฐกิจไทยในช่วงเวลาที่เหลือของปีน่าจะปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ตามภาวะ

เศรษฐกิจในต่างประเทศที่เริ่มมีสัญญาณดีขึ้น อีกทั้งยังได้รับแรงหนุนจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่

สองของรัฐบาล ที่น่าจะเป็นผลดีต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย และยิ่งหากปัญหาการเมืองมีความ

สงบเรียบร้อย ผู้บริโภคก็น่าจะเริ่มมีความเชื่อมั่นมากขึ้น จึงเป็นไปได้ว่ากลุ่มผู้บริโภคที่มีความพร้อมทางการ

เงิน ก็อาจจะตัดสินใจซื้อสินค้ากันคึกคักขึ้นในช่วงสุดท้ายของปีนี้ โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ยอดขาย

ค้าปลีกค้าส่งน่าจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ในช่วงไตรมาสที่ 4/2552 ส่งผลให้ อัตราการขยายตัวของ

มูลค่าค้าปลีกค้าส่งในช่วงครึ่งปีหลัง อาจมีค่าติดลบน้อยลงมาที่ประมาณร้อยละ 1.0-2.5 (ณ ราคาคงที่)

จากที่เติบโตติดลบร้อยละ 3.3 ในช่วงครึ่งปีแรก

แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกก็ยังต้องเผชิญกับความท้าทายในการดำเนินกลยุทธ์

กระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น เมื่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงมีความไม่แน่นอนรอบด้าน

จนอาจจะมีผลให้ผู้บริโภคบางกลุ่มมีการใช้จ่ายบนพื้นฐานของความระมัดระวังมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อเร่งยอด

การใช้จ่ายและรักษาส่วนแบ่งตลาดไว้ให้ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเปิดสงครามราคา การสร้างความภักดีหรือ

ความผูกพันกับแบรนด์ร้านค้า การขยายช่องทางการจำหน่ายในยุคเฟื่องของอินเทอร์เน็ต และการหา

พันธมิตรทางการค้า เป็นต้น จึงมีความเป็นไปได้สูงว่า การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกในช่วงครึ่งหลังของปีนี้

จะทวีความเข้มข้นเพิ่มมากขึ้นอย่างแน่นอน


รายงานวิจัยฉบับนี้จัดทำเพื่อเผยแพร่ทั่วไป โดยจัดทำขึ้นจากแหล่งข้อมูลต่างๆที่น่าเชื่อถือ แต่บริษัทฯ มิอาจ

รับรองความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือ หรือความสมบูรณ์เพื่อใช้ในทางการค้าหรือประโยชน์อื่นใด บริษัทฯ

อาจมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงข้อมูลได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า ทั้งนี้ผู้ใช้ข้อมูลต้องใช้

ความระมัดระวังในการใช้ข้อมูลต่างๆ ด้วยวิจารณญาณของตนเองและรับผิดชอบในความเสี่ยงเองทั้งสิ้น

บริษัทฯจะไม่รับผิดต่อผู้ใช้หรือบุคคลใดในความเสียหายใดจากการใช้ข้อมูลดังกล่าว ข้อมูลในรายงานฉบับนี้

จึงไม่ถือว่าเป็นการให้ความเห็นหรือคำแนะนำในการตัดสินใจทางธุรกิจ แต่อย่างใดทั้งสิ้น
***************
03/09/52
Commerce กระทรวงพาณิชย์เตรียมจัดทำประชาพิจารณ์ร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกฯ (ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย)

ความเห็นนักวิเคราะห์ :
กระทรวงพาณิชย์เตรียมจัดทำประชาพิจารณ์ร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกฯ: กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เตรียมจัดทำประชาพิจารณ์ร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด รวม 9 ครั้ง โดยเริ่มที่ กรุงเทพ และต่อเนื่องในจังหวัดต่างๆ เช่น อุบลราชธานี ขอนแก่น พิษณุโลก ชลบุรี ระยอง สุพรรณบุรี และตรัง เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งค้าปลีกรายย่อย (โชวห่วย) ค้าปลีก ค้าส่งรายใหญ่ นักวิชาการ ภาครัฐและเอกชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้มีความเหมาะสมและทุกฝ่ายยอมรับได้ โดยตั้งเป้าหมายที่จะทำประชาพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน และจากนั้นจะนำมาปรับปรุงร่างกฎหมายสุดท้าย และเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไปคาดว่าน่าจะเสร็จสิ้นก่อนสิ้นปีนี้ สำหรับประเด็นที่จะจัดทำประชาพิจารณ์ จะมุ่งเน้นใน 4 ประเด็นหลักได้แก่
1) การกำหนดประเภทธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ที่ต้องขออนุญาตในการประกอบธุรกิจ
2) วิธีการออกใบอนุญาต ว่าจะเป็นแบบรวมศูนย์ไว้ที่ส่วนกลาง หรือกระจายอำนาจให้แต่ละจังหวัดเป็นผู้พิจารณา
3) กำหนดมาตรการส่งเสริมและพัฒนาค้าปลีกรายย่อย
4) โทษปรับตามกฎหมาย ทั้งอาญา และโทษปรับ
ทั้งนี้ในร่างกฎหมายเดิมที่ทางกระทรวงพาณิชย์ได้ผ่านความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วาระ 1 แล้ว แต่ถูกท้วงติง เนื่องจากสาระในกฎหมายไม่รอบคอบเพียงพอ
ผลกระทบต่อผู้ประกอบการในกลุ่มพาณิชย์: หากพิจารณาจากรายละเอียดเบื้องต้นในร่างกฎหมายฉบับเดิมของกระทรวงพาณิชย์ที่จะควบคุมธุรกิจค้าปลีกที่มีพื้นที่ขายเกินกว่า 1 พันตารางเมตร / รายได้รวมใน 1 ปีที่ผ่านมาของทุกสาขาสูงกว่า 1 พันล้านบาทขึ้นไป และครอบคลุมถึงร้านค้าที่เป็นแฟรนไชน์ จะเห็นได้ว่าเป็นรายละเอียดที่ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการในกลุ่มพาณิชย์ทั้ง CPALL / BIGC / MAKRO /และ HMPRO อย่างไรก็ตามจากรายละเอียดของกฎหมาย SCRI ประเมินว่าไม่ได้เป็นการห้ามการขยายสาขาใหม่เพียงแต่ต้องทำการขออนุญาตจากผู้มีอำนาจตามกฎหมาย (ซึ่งยังไม่สามารถสรุปได้ว่าการจะเปิดสาขาแห่งใหม่ต้องขออนุญาตจากฝ่ายใด)
คงน้ำหนักการลงทุนเป็น “Neutral”: SCRI ยังคงน้ำหนักการลงทุนเป็น “Neutral” และการหยิบยกประเด็นพ.ร.บ. ค้าปลีกฯ ขึ้นมาในเดือนก.ย. 2552 ของกระทรวงพาณิชย์ที่เป็นไปตามที่ SCRI คาดการณ์ไว้อาจส่งผลลบต่อจิตวิทยาการลงทุนในกลุ่มฯ อย่างไรก็ตาม SCRI เริ่มมีมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นต่อผลประกอบการกลุ่มพาณิชย์ หลังจากที่ SCRI ประเมินภาพรวมของอุตสาหกรรมค้าปลีกของประเทศไทยจากการวิเคราะห์ดัชนีค้าปลีก (Retail Sales Index) ว่าได้พ้นจุดต่ำสุดในเดือนเม.ย. 2552 ไปแล้วและเริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้นในเดือน พ.ค.– มิ.ย. 2552 ทั้งนี้คาดว่าดัชนีค้าปลีกจะค่อยๆฟื้นตัวอย่างช้าๆในช่วง Q3/52 ก่อนที่จะฟื้นตัวอย่างชัดเจนในไตรมาสสุดท้ายของปี 2552 และในปี 2553 เนื่องจาก 1) สถานการณ์เศรษฐกิจที่เริ่มมีเสถียรภาพมากขึ้น 2) อัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะกลับมาเป็นบวกได้ใน Q4/52 และ 3) อัตราการว่างงานที่เริ่มคงที่ ปัจจัยต่างๆเหล่านั้นได้สะท้อนมายังดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่เริ่มฟื้นตัวจากจุดต่ำสุดในเดือนเม.ย. 2552 ทั้งนี้ SCRI ประเมินว่า BIGC และ MAKRO จะมีผลประกอบการที่ฟื้นตัวได้อย่างโดดเด่นใน Q4/52 หลังจากที่ผลประกอบการลดลงใน Q1/52 และทรงตัวใน Q2/52 สำหรับคำแนะนำการลงทุนในกลุ่มพาณิชย์ SCRI แนะนำ “ถือ” CPALL ที่มูลค่าเหมาะสม 15.20 บาท และแนะนำ “ซื้อ” HMPRO ที่มูลค่าเหมาะสม 8.80 บาท และราคาเหมาะสมหลังขึ้นเครื่องหมาย XD เท่ากับ 4.60 บาท และอยู่ระหว่างพิจารณาปรับประมาณการและคำแนะนำการลงทุนใน BIGC และ MAKRO

โดย สถาบันวิจัยนครหลวงไทย ประจำวันที่ 3 กันยายน 2552
stock in focus
*************
26/08/52
กลุ่มค้าปลีก: "เท่ากับตลาด" - บล.เอเซีย พลัส Source - บมจ.หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส (Th) Wednesday, August 26, 2009 09:18
กลุ่มค้าปลีก (Retail) - เท่ากับตลาด งวด 2H52 รับ High Season และเศรษฐกิจฟื้นตัว....ให้ HMPRO เป็น Top Pick
* กำไรทั้งกลุ่มงวด 2Q52 เพิ่มขึ้น 7.4%yoy...HMPRO โดดเด่นสุด
* งวด 2H52 สดใสกว่างวด 1H52 รับ High Season และเศรษฐกิจฟื้น
* คงน้ำหนักลงทุนกลุ่ม “เท่ากับตลาด”...เลือก HMPRO เป็น Top pick
กำไรทั้งกลุ่มงวด 2Q52 เพิ่มขึ้น 7.4%yoy...HMPRO โดดเด่นสุด กลุ่มค้าปลีกทั้ง 5 แห่งที่ศึกษามีกำไรสุทธิงวด 2Q52 เพิ่มขึ้น 7.4%yoy ซึ่งหากพิจารณาในรายละเอียด พบว่า มีเพียง CPALL และ HMPRO ที่กำไรงวด 2Q52 เพิ่มขึ้น 42.8%yoy และ 25.9%yoy ตามลำดับ โดย CPALL รับผลดีจากธุรกิจร้านสะดวกซื้อในไทยที่ยังแข็งแกร่ง และหยุดรับรู้ผลขาดทุนที่จีนทั้งไตรมาสเป็นไตรมาสที่ 2 อย่างไรก็ตามหากนับเฉพาะธุรกิจในไทย CPALL จะเติบโตเพียง 14.9%YoY ซึ่งเติบโตต่ำกว่า HMPRO ที่ได้รับปัจจัยบวกจากการขยายตัวของตลาดบ้านเก่า และความสำเร็จในการขายสินค้า Direct Sourcing (มีอัตรากำไรขั้นต้นสูงกว่าสินค้าปกติ) ที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นจาก 10% เป็น 13% ของสินค้าทั้งหมด ขณะที่อีกด้านหนึ่ง พบว่า MAKRO, ROBINS และ BIGC ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัวโดยตรง ทำให้ทั้ง 3 บริษัทมีกำไรงวด 2Q52 ลดลงจากงวด 2Q51 โดย MAKRO และ ROBINS มีกำไรสุทธิลดลงอย่างมีนัยสำคัญถึง 33.1%yoy และ 28.9%yoy ตามลำดับ เพราะมีรายการพิเศษ กล่าวคือ ในงวด 2Q51 MAKRO มีกำไรพิเศษจากการขายแม็คโครออฟฟิศหลังหักภาษี 118 ล้านบาท ส่วน ROBINS มีผลขาดทุนทางภาษีจากการขายสินค้าล้าสมัยมาช่วยลดหย่อนภาษี ทำให้ในงวด 2Q51 มีภาษีเงินได้ต่ำกว่าปกติที่ต้องจ่าย 67 ล้านบาท เหลือเพียง 16 ล้านบาท งวด 2H52 สดใสกว่างวด 1H52 รับ High Season และเศรษฐกิจฟื้น ในงวด 2H52 กำไรของกลุ่มค้าปลีกมีแนวโน้มดีกว่างวด 1H52 เพราะนอกจากปกติเป็นช่วง High Season แล้ว ฝ่ายวิจัยเห็นว่า ปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองที่ได้คลี่คลายไปในทางที่ดีขึ้น เม็ดเงินจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจรอบ 2 ราว 2 แสนล้านบาท ที่กำลังเข้ามาในปีงบประมาณ 2553 (1 ต.ค. 2552- 30ก.ย. 2553) การยกเลิกเก็บภาษีสรรพสามิตแอร์บ้าน (คาดทำให้ราคาแอร์ลดลง 10-15%) และการเพิ่มความถี่จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย น่าจะช่วยกระตุ้นให้บรรยากาศในการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตามลำดับ ส่งผลให้คาดว่าในงวด 2H52 ยอดขายสาขาเดิมทั้งกลุ่มจะยังเติบโตไม่ต่ำกว่า 1%YoY และเมื่อรวมกับ การรับรู้ยอดขายจากการเปิดสาขาใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าสาขาใหม่จะช่วยเพิ่มทั้งยอดขาย รายได้ค่าเช่า และรายได้อื่นๆ ให้เติบโตได้อย่างมีนัยสำคัญ จึงทำให้เชื่อว่าทั้งปี 2552 กลุ่มค้าปลีกจะยังคงมีกำไรสุทธิเติบโต 11.2%YoY และ เติบโตต่อเนื่อง 13.0%YoY ในปี 2553 จากภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวอย่างชัดเจนขึ้นนับตั้งแต่ต้นปี 2553 คงน้ำหนักลงทุนกลุ่ม “เท่ากับตลาด”...เลือก HMPRO เป็น Top pick คงนำหนักลงทุนกลุ่มฯ “เท่ากับตลาด” โดยเลือก HMPRO (FV@B8.30) เป็นหุ้น Top Pick เพราะนอกจากราคาปัจจุบันจะถูกซื้อขายด้วย PER ต่ำสุดในกลุ่มแล้ว ยังคาดว่าทั้งปี 2552 จะเติบโตโดดเด่น จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันมาปรับปรุงซ่อมแซมบ้านกันเพิ่มขึ้น บวกกับ ยอดการจองบ้านรายไตรมาสยังมีสัญญาณที่ดีขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่งวด 1Q52 และคาดจะดีขึ้นอีกในช่วง 2H52 เพราะสถาบันการเงินต้องแข่งขันกันปล่อยสินเชื่อเพื่อเร่งทำยอดในช่วงปลายปี อีกทั้งผู้ซื้อต้องรีบโอนบ้านเพื่อรับสิทธิประโยชน์จากมาตรการภาษีอสังหาฯ ซึ่งจะสิ้นสุดลงในงวด 1Q53 สำหรับ ROBINS (FV@B11.00) และ BIGC (FV@B54.00) ยังแนะนำ “ซื้อ” ลงทุนระยะยาว โดยคาดทั้ง 2 บริษัทจะกลับมาเติบโตโดดเด่นในปี 2553 ส่วน CPALL (FV@B19.00) และ MAKRO (FV@B75.20) คงแนะนำ “ถือ” เพื่อรับเงินปันผล เพราะราคาปัจจุบันได้สะท้อนมูลค่าพื้นฐานแล้ว นักวิเคราะห์: ณัฏฐ์วริน ไตรภพสกุล เลขทะเบียนนักวิเคราะห์ : 027445 e-mail: natwarin@asiaplus.co.th
โดย บมจ. หลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ประจำวันที่ 26 สิงหาคม 2552
******************
24/08/52
โมเดิร์นเทรดแข่งลดไซส์ ยอมรับแก้เกมกม.ค้าปลีก
นายกค้าปลีกไทยชี้โมเดิร์นเทรด หันผุดไซส์เล็กรับมือกฎหมายค้าปลีก ยันตรึงราคาสินค้าถึงสิ้นปีเชื่อเศรษฐกิจฟื้น

ธนภณ ตังคณานันท์
นายธนภณ ตังคณานันท์ นายกสมาคมผู้ค้าปลีกไทยเปิดเผยในงานสัมมนา “25 ปี สมาคมผู้ค้าปลีกไทย...ร่วมใจพัฒนาเศรษฐกิจ” ว่า ธุรกิจผู้ประกอบการร้านค้าปลีกขนาดใหญ่ข้ามชาติ (โมเดิรน์เทรด) มีแนวโน้มจะใช้ รูปแบบร้านที่มีขนาดพื้นที่เล็กลง เพื่อให้เหมาะสมกับกฎหมายผังเมือง หรือกฎหมายค้าปลีกที่จะควบคุมผู้ประกอบการธุรกิจกลุ่มนี้ในการขยายสาขาขนาดใหญ่
ขณะเดียวกันยังรองรับความต้องการของผู้บริโภครุ่นใหม่ที่มีพฤติกรรม การจับจ่ายซื้อสินค้าใกล้บ้านหรืออยู่ในชุมชน อาทิ ในโครงการคอนโดมิเนียมต่างๆ ที่เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งเป็นโอกาสของร้านค้าปลีกครบวงจรแต่มีขนาดเล็กลง

นายธนภณ ยังกล่าวด้วยว่า ขณะนี้ยังให้ความร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ ตรึงราคาสินค้าออกไปจนถึงสิ้นปีนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการค้าปลีกส่วนใหญ่ประกอบธุรกิจซื้อมาขายไปขณะที่ต้นทุนส่วนใหญ่จะอยู่ที่การผลิต ซึ่งยังไม่มีแนวโน้มที่จะปรับราคาขึ้น ดังนั้นผู้ประกอบการในสมาคมจึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องปรับราคาขายสินค้าขึ้นแต่อย่างใด

สำหรับกำลังซื้อเชื่อว่าในไตรมาส 4 ปีนี้ น่าจะเติบโตดีที่สุดในรอบปี จากสถานการณ์เศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวแล้ว มีนักท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ มากขึ้น รวมถึงการที่ภาครัฐได้ทุ่มงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวนมาก ในปี 2552-2553 คาดว่าส่งผลให้ห้างค้าปลีกสมัยใหม่ในปีนี้เติบโตได้ 3-4% มีมูลค่าประมาณ 5 แสนล้านบาท ส่วนปัจจัยที่น่าห่วงคือเสถียรภาพทางการเมือง หากเกิดปัญหาความวุ่นวาย จะส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกและเศรษฐกิจไทยมากที่สุด

“สิ่งที่รัฐบาลต้องทำคือสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค เพราะด้วยกำลังซื้อจริงๆ ยังมีอยู่แต่ ไม่กล้าใช้เงิน เห็นได้จากช่วง ที่ผ่านมา รัฐได้ออกพันธบัตร ยังมีประชาชนไปซื้อจำนวนมากและหมดในเวลารวดเร็ว หรือการเปิดจองรถยนต์รุ่นใหม่ๆ ราคาสูง ก็ยังมีผู้สั่งจองอยู่” นายธนภณ กล่าว
posttoday
stock in focus
****************
15/07/52
ค้าปลีกเฮลั่นโกยทรัพย์ยกกลุ่ม

ทันหุ้น-ค้าปลีกเฮลั่น ฉลองกระเป๋าตุง หลังครม.ทุ่มงบ 1.1 หมื่นล้าน ต่ออายุ 5 มาตรการ อีก 5 เดือน บรรเทาความเดือดร้อนประชาชน โบรกคาดกลุ่มค้าปลีกรับอนิสงส์เต็มสูบ เหตุประชาชนจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น ชี้ทั้งกลุ่มผลการดำเนินโต 6-10 % สวนเศรษฐกิจซบ แนะเก็งกำไรยกกลุ่ม
นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบให้ต่อระยะเวลาโครงการ 5 มาตรการ เพื่อบรรเทาภาระค่าครองชีพของประชาชน ออกไปอีก 5 เดือน จนถึงสิ้นปี 2552 หรือ 5 มาตรการ 5 เดือน โดยใช้งบประมาณกว่า 1.1 หมื่นล้านบาท เพื่อช่วยเหลือประชาชนจากปัญหาด้านเศรษฐกิจ
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าหากเม็ดเงินจากแผนปฏิบัติไทยเข็มแข้มเริ่มเข้าสู่ระบบ เศรษฐกิจจะเริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่เงื่อนไขและรายละเอียดเกี่ยวกับมาตรการทั้ง 5 มาตรการ ยังคงหลักการเดิม โดยมาตรการค่าไฟฟรี สำหรับผู้ใช้ไฟไม่เกิน 90 หน่วย โดยจะมีผลต่อประชาชน 8.5 ล้านครัวเรือน
มาตรการค่าน้ำฟรี ซึ่งจะครอบคลุมการใช้น้ำไม่เกิน 30 ยูนิต จะมีผลต่อประชาชน 4 ล้านครัวเรือน มาตรการรถไฟฟรี ในส่วนของรถไฟชั้น 3 จะมีผลต่อประชาชน 2.8 ล้านรายต่อเดือน มาตรการรถโดยสารประจำทางขององค์ การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯ (ขสมก.) ให้บริการฟรีในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล 800 คัน รวม 73 เส้นทาง ซึ่งจะมีผลต่อประชาชน 4.3 แสนรายต่อวัน และมาตรการก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) จะตรึงเอาไว้เช่นเดิม
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์กรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เชื่อว่าการต่ออายุมาตรการ 5 มาตรการ 5 เดือนออกไปจนถึงสิ้นปีนั้นน่าจะส่งผลดีต่อกลุ่มค้าปลีกให้ปรับตัวดีขึ้น จากกำลังซื้อของประชาชนที่มีเงินจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นในช่วงที่รัฐบาลประกาศใช้มาตรการดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ากลุ่มค้าปลีกยังเป็นกลุ่มที่ยังโตสวนกระแสของเศรษฐกิจ เพราะส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็น และประชาชนหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยเราคาดว่าในช่วงไตรมาส 2/2552 ที่ผ่านมา กลุ่มค้าปลีกส่วนใหญ่ อาทิHMPRO ,CPALL,BIGC,MAKRO ยังเติบโตได้ต่อเนื่องเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มอื่น
ขณะเดียวกัน ทั้งปีเราประเมินว่า กลุ่มค้าปลีกข้างต้นน่าจะเติบโตในปีนี้ประมาณ 6-10 % เพราะการจับจ่ายใช้สอยของประชาชนมากเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกัน ในช่วงไตรมาส 3 ไตรมาส 4/2552 จะเป็นช่วงฤดูการท่องเที่ยว ซึ่งน่าจะทำให้เกิดการใช้จ่ายเพิ่มมากเข้ามาในช่วงดังกล่าวเป็นจำนวนมาก
ส่วนกรณี ที่รัฐบาลจะประกาศใช้พ.ร.บ.ค้าปลีก ซึ่งคาดว่าน่าจะเข้าสู่คณะรั ฐมนตรีได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้นั้น ยอมรับว่ากระทบต่อกลุ่มค้าปลีกรายใหญ่อย่าง BIGC,MAKRO เนื่องจากกฏหมายดังกล่าวมีกฏเกณฑ์ในการจัดสรรเกี่ยวกับพื้นที และการขยายสาขาที่อาจทำได้ยากขึ้น
อย่างไรก็ตามเชื่อว่าในส่วนของ CPALLนั้นเชื่อว่ายังไม่ได้รับผลกระทบมากเนื่องจากพื้นที่ในการใช้สอยยังเป็นลักษณะโชห่วยแต่มีความทันสมัยเท่านั้น ซึ่งถือว่าไม่ผิดกฎของรัฐบาล โดยแนะนำซื้อเก็งกำไรสำหรับกลุ่มค้าปลีกทั้งPRO,CPALL,BIGC,MAKRO เนื่องจากมองว่ายังไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจ และแนวโน้มผลประกอบการยังเติบโตต่อเนื่อง
ด้านนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ สินเอเชีย เปิดเผยถึงสัญญาณเทคนิคของกลุ่มค้าปลีกส่วนใหญ่ยังสามารถเก็งกำไรได้ โดยให้กรอบการลงทุนของ HROPRO ที่แนวรับที่5.40 บาท แนวต้านที่5.70 บาท ,BIG C แนวรับที่ 43.00 บาท แนวต้านที่ 44.46 บาท CPALL แนวรับที่ 16.00 บาท แนวต้านที่ 19.00 บาท MAKRO แนวรับที่ 71.80 บาท แนวต้านที่ 73.50 บาท
http://www.thunhoon.com/home/default.asp

stock in focus
******************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น