วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

กลยุทธ์การขายของเซียน

กลยุทธ์การขายของเซียน
แล้วจะขายเมื่อไหร่ดี
เป็นคำถามที่สั้น กระชับ และดูเหมือนง่ายสำหรับนักลงทุนที่ชำนาญแล้ว แต่สำหรับนักลงทุนมือใหม่แล้ว ปัญหานี้ทำให้มึนตึ๊บเลยทีเดียวครับ ผมเองเคยประสบปัญหาที่ว่านี้เหมือนกันเมื่อครั้งเริ่มต้นลงทุนใหม่ๆ หรือแม้แต่ทุกวันนี้จะพอมีประสบการณ์บ้างแล้ว แต่บ่อยครั้งที่ผมต้องหยิบตำราของปราชญ์ด้านการลงทุนขึ้นมาอ่านทบทวนอยู่บ่อยๆเพื่อตอกย้ำความเข้าใจหลักการในเรื่องนี้ โดยเฉพาะทุกครั้งที่มีความรู้สึกแวบเข้ามาว่าอยากขายหุ้น การซื้อหุ้นลงทุนมาแล้วคำถามที่เกิดก็คือ แล้วเมื่อไหร่จะถึงเวลาขาย แล้วจะขายอย่างไรให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด หากขายไม่ถูกจังหวะเวลาจะมีผลให้ผลตอบแทนต่ำไปด้วย ผมลองเรียบเรียงหลักการของปราชญ์ด้านการลงทุนที่กล่าวถึงหลักการขายหุ้น มาเล่าให้ฟังนะครับ
PHILIP A. FISHER
(COMMON STOCK AND UNCOMMON PROFITS)
วัตถุประสงค์ของการขายหุ้นเพียงประการเดียว ที่มีแรงจูงใจในการขายหุ้นก็คือขายอย่างไรให้ทำกำไรสูงที่สุดจากเม็ดเงินที่นักลงทุนได้ลงทุนไป
โดยปราชญ์ท่านนี้กล่าวว่ามีเหตุผล3ข้อของการขายหุ้น
1)เมื่อตรวจพบอย่างชัดเจนว่าเกิดการซื้อที่ผิดพลาด และมีหลักฐานชัดเจนขึ้นเรื่อยๆว่าข้อมูลพื้นฐานที่แท้จริงของบริษัทนั้นแย่กว่าที่คิดไว้ในตอนแรก ไม่ว่าจะได้กำไรหรือขาดทุนก็ตามต้องตัดใจขาย กล้าที่จะ cut loss ทันที อย่ารอโดยหวังว่าราคาที่มันลงไปจะกลับคืนมาเท่าทุนที่ซื้อ นักลงทุนต้องซื่อสัตย์ต่อตนเอง ส่วนใหญ่จะไม่ยอมรับความผิดพลาดของการตัดสินใจของตนเอง และรอไปเรื่อยๆไม่กล้าที่จะขาย จนในที่สุด ความเสียหายอย่างหนักก็เกิดขึ้น จงขายแล้ว เก็บความผิดพลาดไว้เป็นบทเรียน
2)ขายเมื่อบริษัทเกิดการเปลี่ยนแปลงไปจนไม่เข้ากฎเกณฑ์ที่เขาตั้งไว้ 15ข้อ คือ
2.1)บริษัทไม่มีสินค้าหรือบริการที่มีศักยภาพของตลาดเพียงพอที่จะทำให้มีการเพิ่มขึ้นของยอดขายเป็นเวลาอย่างน้อยหลายๆปี
2.2)ฝ่ายจัดการหมดความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสินค้าหรือกระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง ที่จะยังคงสามารถเพิ่มยอดขายรวมในอนาคต เมื่อโอกาสการเติบโตของสินค้าที่น่าสนใจในปัจจุบันใกล้ถึงจุดอิ่มตัวแล้ว
2.3)ประสิทธิภาพของงานวิจัยและพัฒนาของบริษัทด้อยลงอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับขนาดของบริษัทและบริษัทของคู่แข่ง หรือบริษัทในอุตสาหกรรมเดียวกัน
2.4)บริษัทมีศักยภาพของหน่วยงานขายที่ย่ำแย่ลงกว่าค่าเฉลี่ย และไม่โดดเด่นเหนือคู่แข่ง
2.5)บริษัทมีกำไรต่อยอดขายไม่คุ้มค่าและด้อยลงกว่าบริษัทอื่นๆในอุตสาหกรรมเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทคู่แข่ง
2.6)บริษัทไม่ทำอะไร หรือไม่มีแผนการจะทำอะไรเพื่อรักษาหรือทำให้กำไรต่อยอดขายสูงขึ้น
2.7)บริษัทมีแรงงานสัมพันธ์ที่ไม่โดดเด่น หรือสหภาพแรงงานสัมพันธ์แย่ลง ก่อให้เกิดการหยุดงาน หรือประท้วง
2.8)บริษัทที่ความสัมพันธ์ของผู้บริหารในองค์กรดูเสื่อมทรามลง หรือมีความขัดแย้งในบริษัท
2.9)บริษัทมีฝ่ายบริหารไม่เพียงพอ หรือไม่มีการพัฒนาผู้บริหารอย่างต่อเนื่อง
2.10)ระบบการวิเคราะห์ต้นทุนและการควบคุมทางบัญชีของบริษัทไม่ดีและส่อไปในทางแย่ลง
2.11)บริษัทสูญเสียความโดดเด่นในคุณลักษณะที่เป็นลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรม เช่น
-กิจกรรมที่สำคัญที่สุดเกี่ยวกับการค้าปลีกคือระดับของทักษะที่บริษัทมีในการจัดการเรื่องของอสังหาริมทรัพย์ และการจัดการและควบคุมการหมุนเวียนของสต็อกสินค้า
-การวิเคราะห์กิจการและการติดตามเร่งรัดหนี้สิน เป็นคุณสมบัติเด่นของกลุ่มธนาคาร เป็นต้น
2.12)บริษัทมีภาพระยะสั้นและระยะยาวเกี่ยวกับกำไรของบริษัทที่ไม่ชัดเจน
2.13)การเจริญเติบโตของบริษัทต้องการเงินจากผู้ถือหุ้นหรือไม่ หากต้องเพิ่มทุนจะไปมีผล dilution effect มากน้อยอย่างไร
2.14)เมื่อพบว่าผู้บริหารเปิดเผยเมื่อกิจการดีแต่หมกเม็ดเมื่อกิจการมีปัญหา
2.15)บริษัทมีฝ่ายจัดการที่ไม่โปร่งใส
3)ขายเมื่อพบการลงทุนในบริษัทอื่นน่าสนใจกว่า,มีอนาคตกว่าและมั่นใจว่าให้ผลตอบแทนดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
ประโยคสำคัญ FISHER กล่าวว่า*****ถ้าคุณทำหน้าที่ของคุณอย่างดีตอนที่คุณซื้อหุ้น เวลาที่จะขายก็คือ เกือบจะไม่มีวันขาย*****

PETER LYNCH
ONE UP ON WALL STREET
Peter Lynch เป็นนักลงทุนที่มีแนวคิดในการลงทุนคือ ท่านจะจำแนกหุ้นออกเป็นกลุ่มก่อน โดยเหตุผลก็คือหุ้นแต่ละกลุ่มจะมีอัตราการเจริญเติบโตและลักษณะเฉพาะที่แตกต่างกันไป(ซึ่งวิธีการแบ่ง จะยังไม่กล่าวถึงในที่นี้) ดังนั้นหุ้นแต่ละกลุ่มจะใช้กลยุทธ์การจัดการต่างกันไป ไม่ว่าการเข้าซื้อ การติดตาม ระยะเวลาการถือครอง ผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้ และการกำหนดกลยุทธ์การขายก็แตกต่างกันไปด้วย ลินช์ แบ่งหุ้นออกเป็นกลุ่มๆดังนี้
1)หุ้นโตช้า
2)หุ้นแข็งแกร่ง
3)หุ้นวัฏจักร
4)หุ้นโตเร็ว
5)หุ้นฟื้นตัว
6)หุ้นทรัพย์สินมาก
ปราชญ์ ลินช์ ท่านมีแนวความคิดในเรื่องการขายในหุ้นแต่ละกลุ่มว่า
1)หุ้นโตช้า
ขายเมื่อ
***ราคาขึ้นไป30-50 % หรือ
***พื้นฐานของบริษัทนั้นเสื่อมทรามลง หรือ
***มีสัญญาณบางอย่างเช่น
1.1)บริษัทสูญเสีย market share 2ปีติดต่อกัน และกำลังจ้างบริษัทโฆษณาแห่งใหม่
1.2)หากินกับบุญเก่า ไม่มีการพัฒนาสินค้าหรือบริการใหม่ๆ และงบ r&d ก็ถูกตัดทอนลง
1.3)ซื้อกิจการใหม่เพิ่มสองแห่งโดยที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจเดิม (diworsification,กระจายความเสียหาย)
1.4)บริษัทได้จ่ายเงินมากมายเพื่อซื้อกิจการ ทำให้งบดุลเสื่อมทรามลง จากเคยมีเงินสดเหลือมาก กลายเป็นว่ามีหนี้เพิ่มจำนวนมาก และไม่มีเงินสดเหลือที่จะซื้อหุ้นคืนแม้ว่าราคาหุ้นของตัวเองตกลงอย่างหนัก
1.5)แม้ราคาหุ้นจะต่ำลงแต่ dividend yield ก็ยังไม่สูงพอที่จะดึงดูดใจนักลงทุน

2)หุ้นแข็งแกร่ง
***หลักการคืออย่าถือเพื่อคาดหวังผลตอบแทน10เด้งจากหุ้นกลุ่มนี้
***หากราคาวิ่งเหนือเส้นกำไรพอสมควรก็ขาย หรือ
***ค่าp/e วิ่งฉีกห่างจากช่วงปกติมากๆ ก็ขาย หรือ
***มีสัญญาณ ดังต่อไปนี้
2.1)ออก new product มาแล้ว2ปีแล้วยังไม่ work และสินค้าหรือบริการตัวอื่นยังอยู่ในช่วงทดสอบคงใช้เวลาอีกนานเป็นปีจึงจะเห็นผล แบบนี้ก็ขาย หรือ
2.2)หุ้นราคาขึ้นไปถึง p/e 15เท่า ในขณะที่หุ้นในกลุ่มที่มีลักษณะใกล้เคียงหรืออยู่ในอุตสาหกรรมเดียวกันมีค่า p/e แค่11-12เท่า แบบนี้ก็ขายซะ
2.3)ไม่มีพนักงานหรือกรรมการ หรือผู้บริหารซื้อหุ้นเลยในปีที่แล้ว หรือ
2.4)business unit ที่สร้างกำไรหลัก25 % กำลังอยู่ในภาวะเสี่ยง หรือแนวโน้มถดถอย
2.5)แม้ว่าจะลดต้นทุนแล้วแต่ growth rate ยังชะลอตัวลง และยังมองไม่เห็นอนาคตว่าจะดีขึ้นได้อย่างไร

3)หุ้นกลุ่มวัฏจักร
***หลักการคือขายให้ใกล้เคียงจุดสูงสุดของวัฏจักร
***พวกกองหน้าที่รู้ดีเริ่มขาย สังเกตจากราคาของหุ้นเริ่มตกต่ำแบบไม่ค่อยมีเหตุผล p/e ratio อยู่ในระดับต่ำ
***เริ่มมีบางสิ่งบางอย่างเริ่มแย่ลงเช่น ต้นทุนการผลิตเริ่มเพิ่มขึ้น กำลังการผลิตเริ่มเต็ม และบริษัทต้องใช้เงินในการขยายกำลังการผลิต
***สินค้าคงคลังเริ่มเพิ่มขึ้น ราคาสินค้าเริ่มต่ำลง และกำไรเริ่มลดลง
***สำหรับสินค้าโภคภัณฑ์ เช่นเหล็กและน้ำมัน ราคาในตลาดล่วงหน้าจะเริ่มต่ำกว่าราคาปัจจุบัน และราคา spot
***เริ่มมี สงครามราคา ออกกลยุทธ์ทางการตลาดลดแลกแจกแถมให้เห็น
***ความต้องการสินค้าปลายทางสำหรับสินค้าเริ่มชะลอตัวลง
***บริษัทเพิ่มงบลงทุนเป็นสองเท่าสร้างโรงงานใหญ่หรูหรา แทนที่จะปรับปรุงโรงงานเก่าด้วยต้นทุนต่ำ
***บริษัทพยายามลดต้นทุนลงแล้วแต่ยังสู้คู่แข่งไม่ได้

4)หุ้นโตเร็ว
***เคล็ดลับการขายคือพยายามไม่พลาดโอกาส10เด้ง และขายให้ใกล้จุดสิ้นสุดของช่วงที่สองของการเจริญเติบโต( s -curve)
***อย่าบริษัทพลาดและกำไรหด ค่า p/e ที่นักลงทุนไล่ราคาขึ้นไป จะกลายเป็น2เด้งที่ราคาแพงสำหรับนักลงทุนที่จงรักภักดีต่อบริษัทที่ถือ
***นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่แนะนำให้ซื้อในระดับสูงสุด
***60%ของหุ้นถูกถือโดยนักลงทุนสถาบัน
***magazine ที่มีชื่อเสียงระดับชาติต่างพร้อมใจออกมาชื่นชม ซีอีโอของบริษัท ว่าเจ๋ง
*** ค่า p/e สูงขึ้นจนดูน่าขันและไม่มีเหตุผล
***ยอดขายร้านเดิมลดลง3%ในไตรมาสสุดท้าย
***ยอดขายร้านใหม่ก็น่าผิดหวัง
***ผู้บริหารสูงสุด2คน และพนักงานหลายคนย้ายไปทำงานให้กับบริษัทคู่แข่ง
***หุ้นมีการซื้อขายกันที่ p/e30เท่า ขณะที่การประมาณการที่ดีที่สุดบริษัทจะกำไรโตได้15-20เท่าในช่วง2ปีข้างหน้า

5)หุ้นฟื้นตัว
***ขาย ณ.จุดที่มันฟื้นตัวสมบูรณ์แล้ว คือผ่านปัญหาทุกอย่างแล้ว ทุกคนในตลาดรับรู้ว่ามันฟื้นตัวสำเร็จแล้ว และมันกลับมาเป็นบริษัทที่มันเคยเป็นแล้ว
***หลังจากฟื้นตัวแล้ว ก็จัดกลุ่มใหม่
***หนี้สินที่ได้ลดลงติดต่อกัน5ไตรมาส เริ่มเพิ่มขึ้นอย่างมากในไตรมาสล่าสุด
***อัตราการเพิ่มขึ้นของสินค้าคงคลังเป็น2เท่าของการเติบโตของยอดขาย
***ค่า p/e สูงเกินไปเมื่อเทียบกับการคาดการของกำไร
***ลูกค้าของบริษัทรายใหญ่กำลังประสบปัญหายอดขายตกต่ำ

6)หุ้นสินทรัพย์มาก***ถือรอน่าล่ากิจการ
***ผู้บริหารประกาศว่าจะเพิ่มทุน เพื่อเอาเงินไปซื้อกิจการอื่นเพื่อกระจายความเสี่ยง
***ขายแผนกงานสำคัญของบริษัทขายได้ราคาต่ำกว่าที่ควร
***นักลงทุนสถาบันถือหุ้นเพิ่มขึ้นจาก25%เป็น60 %

วอร์เรน บัฟเฟตต์

***ปรัชญาการลงทุนของปราชญ์ท่านนี้คือลงทุนในหุ้นของบริษัทที่ได้เปรียบเชิงแข่งขันอย่างยั่งยืน(durable competitive advantage)แล้วถือไว้เป็นระยะเวลานานๆ
***ขายที่จุดสูงสุดของตลาดและตลาดให้ราคาที่สูงมากพอ เช่น
กรณีตัวอย่างที่1 ช่วงตลาดฟองสบู่สุดๆในปี1969 หุ้นท่าถือ p/e ขึ้นไป 50เท่า ขายล้างพอร์ต แล้วออกจากตลาดและบอกหุ้นส่วนของเขาว่าไม่สามารถจะหาซื้อหุ้นที่มีคุณค่าน่าซื้อได้อีกต่อไป
กรณีตัวอย่างที่2 เกิดขึ้นในปี1998 ช่วงนั้นหุ้นหลายๆตัวในพอร์ตเบิร์กไซร์ มีค่า p/e ขึ้นไป50เท่า หรือมากกว่า ท่านเลยขายหุ้นโดยวิธีการพิเศษคือเอาไปแลกกับบริษัทประกันภัยซึ่งขนาดใหญ่ที่มีเงินสดจำนวนมาก โดยการขายครั้งนี้ทำให้ขายหุ้นได้ราคาเพิ่มขึ้นจากพอร์ตธรรมดาและไม่ต้องเสียภาษีอีกต่างหาก
***เอาคาดการณ์ผลตอบแทนผลกำไรใน10ปีข้างหน้าของบริษัทรวมกันมาเปรียบเทียบกับผลตอบแทนของหุ้นกู้ หรือผลตอบแทนของพันธบัตร หากสูงกว่าถือต่อ หากต่ำกว่าขายซะ
***มีโอกาสซื้อที่น่าสนใจกว่า แต่จงจำไว้ว่า อย่าขายดอกไม้แล้วไปซื้อวัชพืช
***ขายเมื่อธุรกิจหรือสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป
***ขายเมื่อราคาหุ้นปรับสูงขึ้นจนถึงราคาเป้าหมาย
การลงทุนก็คงเหมือนกับการค้าขายกระมังครับ หากซื้อแล้วขายไม่เป็นหรือขายไม่ถูกจังหวะตอบแทนที่ได้ก็คงไม่ดีเท่าที่ควร กลยุทธ์เหล่านี้เป็นหลักแนวความคิดและการปฏิบัติที่ปราชญ์ท่านว่าไว้ ส่วนเทคติกที่เป็นรายละเอียดและความชำนาญและการประยุกต์ใช้ในทางปฏิบัติก็คงต้องฝึกปรือกันไปให้ชำนาญ
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=26308

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น