วันศุกร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2552

ข่าวอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร 1

09/12/52
ส่งออกกุ้ง สมาคมกุ้งไทย โชว์ส่งออกกุ้งไทยแข็งแกร่ง เดือนม.ค.-ต.ค.52 ปริมาณเพิ่มขึ้น 8% มูลค่าเพิ่มขึ้น 12% คาดปี 53 ผลิตได้
5.40 แสนตัน ระดับเดียวกับปีนี้ พร้อมร้องรัฐดูแลเรื่องเอดีกุ้ง, แรงงานเด็ก, ค่าเงินบาท และการเปิดเสรีการค้าในกรอบอาฟต้า (ข่าวหุ้น)
**********
08/12/52
หุ้นกลุ่มเกษตรไฟแรง ชูLST-UVANเด่นสุด
ทันหุ้น
– โบรกส่องหุ้นกลุ่มเกษตรแนวโน้มสดใส ชี้ LST–UVAN เด่นสุด แนะเพิ่มน้ำหนักลงทุน หลังภัยแล้งหนุนดีมานด์กากถั่วเหลือง และน้ำมันปาล์มในจีน-อินเดียพุ่ง ส่วน TVO แนะนำ “ซื้อ” ย้ำธุรกิจแข็งแกร่ง ปันผลสูง เล็งเป้าหมาย 19.30 บาท
บทวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) BLS ระบุว่า ภาวะภัยแล้งหนุนให้ความต้องการถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์มจากอินเดียและจีนปรับเพิ่มขึ้น ขณะที่อาร์เจนติน่าและบราซิลยังคงรักษาระดับราคากากถั่วเหลือง
สำหรับการปรับอัตราภาษีนำเข้าน้ำมันปาล์ม, น้ำมันปาล์มบริสุทธิ์(RBD)และน้ำมันถั่วเหลือง ของอินเดียไม่น่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากประเทศกำลังเผชิญปัญหาภัยแล้งอย่างรุนแรง ยังคงแนะนำเพิ่มการลงทุน ในกลุ่มธุรกิจเกษตรโดย LST และ UVAN เป็นหุ้นแนะนำอันดับแรกของธุรกิจเกษตร
ขณะที่ปรับลดคำแนะนำ TVO ลงมาเป็นหุ้นแนะนำอันดับ 2 เนื่องจากมี dilution จากการใช้สิทธิTVO –W2 และ TVO-W3 ในเดือนธันวาคม และราคากากถั่วเหลืองมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้นอย่างจำกัด
อย่างไรก็ตามอาจมีการปรับลดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองอีกครั้ง หลังสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์เรียกร้องให้กระทรวงภาณิชย์ยืดระยะเวลาการบังคับใช้อัตราภาษีนำเข้ากากถั่วเหลืองอยู่ที่ 2% จนถึงสิ้นปี 2553(เดิมจะหมดอายุในปี 2552) โดยคณะรัฐมนตรีจะพิจารณากลางเดือนธันวาคม
ด้านบริษัทหลักทรัพย์ ดีบีเอส วิคเคอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด แนะนำ "ซื้อ" หุ้น TVO ให้ราคาเป้าหมาย 19.30 บาท/หุ้น เนื่องจากมองว่าธุรกิจยังแข็งแกร่ง และมีอัตราการจ่ายเงินปันผลที่สูง อีกทั้งราคาถั่วเหลืองกระเตื้องขึ้นตั้งแต่ต้นพ.ย. และเป็น 10.44 US$/บุชเชลในปัจจุบัน ซึ่งสูงกว่าระดับต่ำสุดที่ 8.91 US$/บุชเชลเมื่อ 5 ต.ค.52 เท่ากับ 18% ซึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคากระเตื้องขึ้น คือ 1) อุปสงค์ที่แข็งแกร่งของจีนทั้งในส่วนน้ำมันถั่วเหลืองและอาหารสัตว์
ทั้งนี้จีนเป็นผู้นำเข้าถั่วเหลืองรายใหญ่ โดยคิดเป็น 54% ของปริมาณนำเข้าในโลกปี 52 ซึ่งคาดว่าจีนจะนำเข้าประมาณ 3 ล้านตันในเดือนพ.ย.52 และเพิ่มเป็นมากกว่า 4 ล้านตันในเดือนธ.ค.52 สำหรับการบริโภคถั่วเหลืองของจีนทั้งปี 52 มีการประมาณการว่าจะเท่ากับ 54 ล้านตัน
ขณะที่ผลิตเองในประเทศได้เพียง 14.5 ล้านตัน ส่วนที่เหลือต้องนำเข้า, 2) กังวลกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนของอาร์เจนตินา ทำให้ USDA คาดการณ์ว่าปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองจะลดลงมากกว่าตัวเลขประมาณการล่าสุดที่ 53 ล้านตันในปีนี้ ทั้งนี้อาร์เจนตินาเป็นผู้ผลิตถั่วเหลืองรายใหญ่อันดับ 3 คิดเป็นประมาณ 15% ของปริมาณการผลิตของโลกในปี 52 และ3)เงินUS$อ่อนค่า
อย่างไรก็ตามปริมาณขายน้ำมันถั่วเหลือง และกากถั่วเหลืองมีแนวโน้มขยับขึ้นในปี 53 ตามการบริโภคที่ดีขึ้น โครงการขยายกำลังการผลิตของ TVO(+50%) จะเริ่มผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในช่วงครึ่งปีหลัง 53 ซึ่งเป็นไปตามแผน โดยปริมาณการผลิตกากถั่วเหลืองที่เพิ่มขึ้นจะทดแทนการนำเข้า ส่วนปริมาณน้ำมันถั่วเหลืองดิบที่เพิ่มขึ้นจะส่งออก
ดังนั้นทางฝ่ายยังคงประมาณการกำไรสุทธิปี 52-53 ไว้เท่าเดิม และให้ราคาตามพื้นฐาน 19.30 บาท โดยอิงกับ P/E ปี 53 เท่ากับ 9 เท่า ณ ราคาปัจจุบันซื้อขายที่ P/E ปี 53 เท่ากับ 8.1 เท่า ต่ำกว่าเฉลี่ยของกลุ่มที่ 9 เท่า คาดการณ์ Dividend Yield ปี 52-53 เท่ากับ 7.8% และ 7.4% ตามลำดับ
www.thunhoon.com*************
07/12/52
ส่งออกอาหารสำเร็จรูปปี53รุ่ง
ส่งออกอาหารสำเร็จรูปไทยปี 2553 ทะยาน 150,000 ล้านบาท จากปีนี้คาดติดลบ 10% สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ชี้ปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจโลกฟื้น เป็นกลุ่มสินค้าจำเป็น ได้อานิสงส์จากความตื่นตระหนกโลกขาดแคลนอาหาร แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามทั้งขาดแคลนแรงงาน วัตถุดิบราคาสูง ถูกกีดกันการค้า ค่าเงินบาท ค่าระวางเรือพุ่ง นายณัฐ อ่อนศรี นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ถึงแนวโน้มการส่งออกสินค้าอาหารสำเร็จรูปในปี 2553 ซึ่งประกอบด้วย 6 กลุ่มสินค้าได้แก่ กลุ่มทูน่า อาหารทะเล สับปะรด ผักและผลไม้ ข้าวโพดหวาน เครื่องปรุงและอาหารพร้อมรับประทานว่า คาดจะส่งออกมูลค่าไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท จากในปี 2552 จะส่งออกที่ระดับ 140,000 ล้านบาท มีปัจจัยหลักจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น และสินค้าอาหารเป็นกลุ่มสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิต
อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด รวมถึงต้องได้รับการสนับสนุนหรือแก้ไขปัญหาจากรัฐบาล ที่สำคัญคือ ในกลุ่มสินค้าทูน่า และอาหารทะเล ต้นทุนวัตถุดิบยังสูง นอกจากนี้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวเพื่อปฏิบัติให้ได้ตามระเบียบการทำประมงที่ผิดกฎหมาย(IUU)ของสหภาพยุโรป(อียู)ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2553 ทำให้ต้องมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นในการขอใบรับรองจากกรมประมงของไทย ในสินค้าสับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด รวมถึงสินค้าผักและผลไม้ มีต้นทุนวัตถุดิบที่สูง เนื่องจากต้นทุนการผลิตของเกษตรกรไทยยังค่อนข้างสูง และขาดแคลนในบางช่วง
ขณะที่สินค้าข้าวโพดหวานไทยยังถูกอียู ใช้มาตรการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(เอดี)เพื่อกีดกันทางการค้า อีกทั้งในปีนี้และปีหน้าผลผลิตข้าวโพดหวานในอียูจะมีออกมาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะสินค้าจากฝรั่งเศส และฮังการีซึ่งเป็นผู้ผลิตรายสำคัญของอียู จะมีผลทำให้สินค้าไทยได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในตลาดนี้ ส่วนสินค้าเครื่องปรุงรสและอาหารพร้อมรับประทานถือเป็นกลุ่มสินค้าดาวรุ่งที่ผู้บริโภคเริ่มให้ความนิยม และเป็นกลุ่มเดียวที่ยังมีอัตราการขยายตัวที่เป็นบวกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 (+17%)
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกันของทุกกลุ่มสินค้าคือ การขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปคนไทยไม่นิยมทำงานเพราะมองว่าเป็นงานลำบาก ทำให้ที่ผ่านมาต้องมีการใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งปัจจุบันไทยใช้แรงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปรวมถึงการทำเกษตรในไร่นาที่เกี่ยวเนื่อง 4-5 แสนคน แต่จากที่ในปีหน้าทางการไทยได้บังคับให้มีการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 เชื่อว่าแรงงานบางส่วนจะมีการหลบเลี่ยงและกลายเป็นแรงงานเถื่อน
เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านไม่ยอมรับว่าเป็นคนของตัวเอง ซึ่งจะส่งผลให้โรงงานอาหารสำเร็จรูปขาดแคลนแรงงานเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันขาดแคลนนับหมื่นคน อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงจากต้นทุนค่ากระป๋องที่ใช้บรรจุสินค้า จากเหล็กแผ่นทำกระป๋องมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น น้ำตาลในประเทศที่ใช้เป็นส่วนผสมอาหารและน้ำผลไม้ราคายังค่อนข้างสูง รวมถึงปัจจัยเสี่ยงจากเสถียรภาพค่าเงินบาท ค่าระวางเรือที่อาจปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน
"แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงมากมายแต่เชื่อว่าในปีหน้าการส่งออกอาหารสำเร็จรูปของไทยในภาพรวมจะส่งออกไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีนี้ไม่ต่ำกว่า 10% โดยจะส่งออกได้ดีขึ้นทุกตัว มีปัจจัยบวกจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว และอาจได้รับอานิสงส์จากความตื่นตระหนกเกรงจะขาดแคลนอาหารของโลกที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีกรอบ ซึ่งจะทำให้มีการสั่งซื้อสินค้าอาหารเพื่อเก็บสต๊อกมากขึ้น"
จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปรายงานตัวเลขการส่งออกสินค้าอาหารสำเร็จรูปของไทยช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 114,121 ล้านบาท ขยายตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5% (10 เดือนปี 2551 ส่งออก 120,716 ล้านบาท) ขณะที่การส่งออกในปี 2551 มีมูลค่า 146,249 ล้านบาท ส่วนในปี 2552 ทั้งปี นายณัฐประเมินว่า การส่งออกจะขยายตัวลดลงจากปีที่แล้วในรูปเงินบาทประมาณ 6-7% ส่วนรูปดอลลาร์สหรัฐฯจะขยายตัวลดลง 10-11% ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

************
07/12/52
เกษตรฯ คาดส่งออกข้าวไทยปี 52/53 สดใส
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
เกษตรฯคาดสถานการณ์ส่งออกข้าวไทย ปี 52/53สดใสหลังผู้ส่งออก-นำเข้าหลายประเทศประสบภัยธรรมชาติส่งผลความต้องการใช้ข้าวของโลกเพิ่มจากเดิม 0.31%
นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคาข้าว ว่า ราคาข้าวไทยจะมีแนวโน้มสูงขึ้น ในปี 2552/53 เนื่องมาจากปัจจัยหลัก คือ ผลผลิตข้าวของโลกลดลง โดยคาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตรวม 432.09 ล้านตันข้าวสาร ซึ่งลดลงจากปีที่ผ่านมา ที่มีปริมาณ 445.77 ล้านตันข้าวสาร หรือคิดเป็น ร้อยละ 3.07 เพราะในหลายประเทศผู้ผลิตต้องประสบภัยธรรมชาติ อาทิ อินเดีย ที่ผลผลิตข้าวจำนวนหนึ่งได้รับความเสียหายจากภัยแล้งในช่วงต้นฤดู และน้ำท่วมในช่วงปลายฤดู ส่งผลให้ผลผลิตข้าวลดลง

อีกทั้งประเทศผู้นำเข้าข้าวจากเอเชีย ได้แก่ ฟิลิปปินส์ก็ประสบภัยจากพายุใต้ฝุ่น Ondoy, Ketsana และ Prama ที่ได้รับความเสียหายเป็นผลให้ผลผลิตข้าวลดลงเช่นกัน

สถานการณ์ข้างต้นอาจทำให้ความต้องการใช้ข้าวของโลกเพิ่มขึ้นจากเดิม ทั้งจากการนำเข้าปกติและการทดแทนส่วนที่เสียหายจากภัยพิบัติ โดยคาดว่าปริมาณความต้องการใช้จะอยู่ที่ 436.84 ล้านตันข้าวสารมากกว่าปีที่ผ่านมา ร้อยละ 0.31 ดังนั้น เมื่อความต้องการใช้มากกว่าปริมาณผลผลิต จึงทำให้เกิดอุปสงค์ส่วนเกินที่จะดึงราคาข้าวให้สูงขึ้น
ประกอบกับการที่อินเดียประสบความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ทำให้มีการประกาศห้ามส่งออกข้าวขาวที่ไม่ใช่ข้าวบาสมาติ จนถึงช่วงกลางปี 2553 ซึ่งส่งผลต่อการส่งออกข้าวของอินเดียที่จะมีปริมาณลดลง และหากปริมาณสต๊อกข้าวในอินเดียไม่เพียงพอ อาจมีการซื้อข้าวจากต่างประเทศรวมถึงไทยด้วย

ส่วนประเทศเวียดนาม จากรายงานพบว่า มีผลผลิตข้าวออกสู่ตลาดลดลงและเวียดนามได้มีการทำสัญญา ขายข้าวล่วงหน้า ตามเป้าหมายแล้วประมาณ 6 ล้านตันข้าวสาร ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากหลายปัจจัยแล้ว จะเห็นว่าในช่วงต่อไปข้างหน้า จะเป็นโอกาสดีของไทยในการส่งออกข้าวได้เพิ่มมากขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า ทั้งในตลาดเดิมและการขยายตลาดในพื้นที่ซึ่งมีลู่ทางสดใสอย่างแอฟริกา

การส่งออกข้าวของประเทศไทย ในปี 2552 ระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม ที่ผ่านมา พบว่า มีปริมาณ 5,796,864 ตัน คิดเป็นมูลค่า 3,299 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีการส่งออกไปยังทวีฟแอฟริกามากที่สุด คือ 3,168,021.82 ตัน รองลงมาคือ เอเชีย 1,105,204.23 ตัน และตะวันออกกลาง 668,096.26 ตัน ตามลำดับ

กระทรวงเกษตรฯ จะเดินหน้าดำเนินงานพัฒนาการผลิต การส่งเสริมและสนับสนุนชาวนา การจัดระบบตลาดและพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ข้าวไทย ปี 2550 - 2554 ที่มีเป้าหมายผลักดันการส่งออกให้ได้ปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นจากช่วงปี 2545-2549 ซึ่งมีปริมาณเฉลี่ย 7.4 ล้านตัน มูลค่า 2.057 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มเป็นปริมาณส่งออก 8.5 - 9.5 ล้านตัน มูลค่า 2,550 - 2,850 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ในปี 2550 - 2554 ให้ได้ ซึ่งนอกจากจะทำให้ชาวนามีรายได้มั่นคงแล้ว ยังจะทำให้ไทยเป็นผู้นำด้านคุณภาพข้าวและผลิตภัณฑ์ของโลกด้วย" นายธีระ กล่าว
krungthepturakij
**********
07/12/52
อุตสาหกรรมสุราไทยปี'53 ปัจจับลบรุมเร้าส่งออกเน้นประเทศเพื่อนบ้าน
รายงานโดย :กลุ่มวิจัยด้านอุตสาหกรรม
ฝ่ายบริหารความเสี่ยงสินเชื่อ

บริษัทธนาคารนครหลวงไทย:
วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

ในช่วงที่ผ่านมาอุตสาหกรรมสุราไทยต้องเผชิญกับปัจจัยลบต่างๆ มากมายซึ่งได้แก่ การประกาศปรับภาษีสรรพสามิตสุราเพิ่มขึ้นเมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา

ทำให้ผู้ประกอบการสุราต้องปรับราคาขายเพิ่มขึ้นตาม ส่งผลให้ผู้บริโภคหันมาดื่มสุราราคาถูกมากขึ้น และการดำเนินมาตรการรณรงค์ประชาชนให้งด ลดเลิกดื่มเครื่งดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างจริงจัง

รวมทั้งการที่กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลงอันเป็นผลมาจากการหดตัวของภาวะเศรษฐกิจ ตลอดจนการขยายตัวของสุรานอกกฎหมายอย่างต่อเนื่อง เฉพาะอย่างยิ่งสุราชุมชนที่ไม่ต้องเสียภาษีสรรพสามิต รวมทั้งการลักลอบนำเข้าสุราจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาวะการค้าเครื่องดื่มสุราภายในประเทศมีความยากลำบากมากขึ้น

ขณะที่ภาวะการแข่งขันทางการค้าทวีความรุนแรงมากขึ้น จากการมีสินค้าทดแทนที่หลากหลายทั้งจากเบียร์ ไวน์ และเครื่องดื่มผสมแอลกอฮอล์พร้อมดื่มที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการจำเป็นต้องหันมาเร่งขยายการส่งออกสุราไปจำหน่ายในตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เพื่อทดแทนตลาดในประเทศที่หดตัวลงมาก

การผลิตเตรียมย้ายฐานไปต่างประเทศ

ในปี 2552 การผลิตสุราของไทยขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 การผลิตมีปริมาณเพียง 500 ล้านลิตร เพิ่มขึ้น 4.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ขยายตัวสูงถึง 11.1% แต่ปริมาณการผลิตสุราทั้งปี 2552 คาดว่าจะมีปริมาณ 670 ล้านลิตร หรือเพิ่มขึ้น 6.2% จากปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการขยายตัวในอัตราที่ชะลอลงหากเทียบกับปี 2551 ที่การผลิตสุราขยายตัวถึง 14.5% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากการหดตัวลงของภาวะเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลกระทบต่อการจ้างงานและกำลังซื้อของผู้บริโภค

นอกจากนั้น อุตสาหกรรมสุราของไทยยังถูกกดดันจากข้อตกลงความร่วมมือเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2553 อันจะทำให้ภาษีนำเข้าสินค้าหลายชนิดลดลงเหลือ 0% ซึ่งในจำนวนนั้นได้ครอบคลุมสินค้าในกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ที่จะเข้ามาขยายตลาดในประเทศอีกเป็นจำนวนมาก จึงทำให้ผู้ผลิตสุราของไทยบางรายเตรียมแผนที่จะขยายการลงทุนในต่างประเทศ เช่น บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ ที่จะขยายการลงทุนในจีนเพื่อใช้เป็นฐานการผลิตสุราและส่งกลับมาขายในประเทศไทย เพื่ออาศัยสิทธิพิเศษทางภาษีนำเข้าที่ลดลงเหลือ 0% และเพื่อการลดต้นทุนการผลิต


ตลาดในประเทศเผชิญปัจจัยลบรุมเร้า

ในปี 2551 ปริมาณการจำหน่ายสุราภายในประเทศอยู่ที่ 812 ล้านลิตร ลดลง 3.3% จากปีก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง จากการชะลอตัวของภาวะเศรษฐกิจและราคาน้ำมันที่ยังผันผวนอยู่ในระดับสูง ประกอบกับยังถูกกระทบจากนโยบายของภาครัฐที่ดำเนินมาตรการคุมเข้มในการรณรงค์ให้ประชาชนลดและเลิกดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง เช่น มาตรการจำกัดการโฆษณาผ่านสื่อ การจำกัดเวลา และมาตรการห้ามจำหน่ายสุราใน 4 วันพระใหญ่ ตลอดจนให้งดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงเทศกาล

นอกจากนี้ มาตรการในการปรับเพิ่มขึ้นภาษีสรรพสามิตสุรา ที่ครม.มีมติให้ปรับภาษีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 6 พ.ค. 2552 การปรับขึ้นอัตราภาษีสุราขาว จากเดิมที่เคยจัดเก็บตามมูลค่าอยู่ที่ 110 บาท ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 120 บาท สุราผสม ได้แก่ หงษ์ทอง มังกรทอง จากเดิมที่เคยจัดเก็บตามมูลค่าอยู่ที่ 280 บาท ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 300 บาท สุราพิเศษ ได้แก่ บรั่นดี จากที่เคยเก็บตามมูลค่าอยู่ที่ 45 บาท ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 48 บาท ทำให้สุราขาว สุราผสม และสุราพิเศษ มีราคาจำหน่ายต่อขวดเพิ่มขึ้น ประมาณ 1.7–2.5 บาท 4–5 บาท และ 19 บาท ตามลำดับ

จากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ประเภทสุราของภาครัฐ ทำให้ผู้ประกอบการสุราจำเป็นต้องปรับราคาจำหน่ายให้สอดคล้องกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ภาวะตลาดเครื่องดื่มสุราโดยรวมขยายตัวได้ไม่มากนัก โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 ปริมาณการจำหน่ายสุราอยู่ที่ 706 ล้านลิตร หรือเพิ่มขึ้น 9.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และคาดว่าการจำหน่ายสุราทั้งปีจะมีปริมาณอยู่ที่ 830 ล้านลิตร หรือเพิ่มขึ้น 2.2% จากปีที่ผ่านมา โดยผู้ประกอบการสุราจะเร่งนำมาตรการส่งเสริมการขายมาใช้ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ เพื่อกระตุ้นยอดขายผ่านช่องทางที่เป็นออนพรีมิส หรือสถานบันเทิงกลางคืน รวมทั้งร้านที่เป็นทั้งร้านค้าส่งและค้าปลีกเพิ่มมากขึ้น

ทั้งนี้ เพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดจากคู่แข่งขันสำหรับกลยุทธ์ทางการตลาดที่โดดเด่นและหลากหลาย ที่ผู้ประกอบการนิยมนำมาใช้เพื่อให้สินค้าของตนอยู่ในความทรงจำของผู้บริโภคมากที่สุด (Brand Awareness) ได้แก่ กลยุทธ์การตั้งราคาให้อยู่ในระดับต่ำ การจัดกิจกรรมการตลาดที่ไม่ผ่านสื่อมากขึ้น หรือการใช้กลยุทธ์มิวสิกมาร์เก็ตติงเป็นหลัก หลังจากถูกจำกัดการโฆษณาผ่านสื่อทางโทรทัศน์ โดยมีการทำตลาดที่เน้นการสร้างภาพลักษณ์ขององค์กรเป็นหลัก

การส่งออกยังเน้นประเทศเพื่อนบ้าน

ในปี 2551 การส่งออกเครื่องดื่มสุราของไทยได้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดเป็น 40.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเพิ่มขึ้น 72.8% จากปีก่อนหน้า อันเป็นผลมาจากการเร่งขยายการส่งออกเครื่องดื่มสุราในตลาดต่างประเทศของผู้ประกอบการ ส่วนหนึ่งเพื่อทดแทนส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศที่หดตัวลง โดยเฉพาะการส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง ที่กำลังเร่งส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อดึงดูดเงินตราเข้าประเทศ ทำให้การส่งออกเครื่องดื่มสุราของไทยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นมาก แต่ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 การส่งออกสุรากลับมีมูลค่าเพียง 25.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือลดลง 21.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการหดตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลกระทบไปยังหลายประเทศทั่วโลก

ส่วนในปี 2553 คาดว่า ส่งออกสุราของไทยจะมีมูลค่าใกล้เคียงกับปี 2551 คือ ประมาณ 40.0 ล้านเหรียญสหรัฐ หรืออาจต่ำกว่าเล็กน้อย โดยเฉพาะการส่งออกไปกัมพูชา ที่ปัจจุบันความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยและกัมพูชาไม่ราบรื่นเท่าที่ควร และหากความขัดแย้งเลวร้ายลงอีก อาจส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางการค้าต่อไป สำหรับตลาดพม่าซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักโดยมีสัดส่วนมูลค่าการส่งออกสูงถึง 56.3% ของมูลค่าการส่งออกสุราทั้งหมดของไทย รองลงมา คือ กัมพูชา 31.3% ลาว 3.6% และตลาดอื่นๆ อีก 8.8%


ปัญหาและอุปสรรคกระทบต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรม

ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาน้ำมัน และราคาบรรจุภัณฑ์สุรา เช่น ขวดแก้วและพลาสติกปรับตัวสูงขึ้น รวมทั้งการกำหนดให้เครื่องดื่มสุราเสียภาษีในอัตราภาษีอบายมุข (Sin Tax) ซึ่งมีอัตราที่ค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นสินค้า ฟุ่มเฟือยและก่อให้เกิดปัญหาสังคม

นโยบายของภาครัฐที่มีการรณรงค์ให้ประชาชนลด และ/หรือเลิกดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่อง และห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แก่บุคคลอายุต่ำกว่า 18 ปี พร้อมกับการเข้มงวด กวดขันในการวัดระดับแอลกอฮอล์ของผู้ขับขี่ยานพาหนะ ส่งผลให้ผู้บริโภคลดการดื่มเครื่องดื่มสุรามากขึ้น

ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงขึ้นจากการปรับตัวสูงขึ้นของราคาสุรากลั่นทุกประเภทภายในประเทศ ทำให้ผู้ประกอบการหันมานำเข้าสุราราคาถูกจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเปิดเขตการค้าเสรีกับต่างประเทศ ทั้งภายใต้กรอบข้อตกลงเขตเสรีการค้าอาเซียน (AFTA) ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 ม.ค. 2553 มีผลทำให้ภาษีนำเข้าสุราลดลงเหลือ 0% ส่งผลให้มีการนำสุราเข้ามาจำหน่ายภายในประเทศมากขึ้น ประกอบกับการเผชิญกับการแข่งขันจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดอื่นๆ ที่มีการเติบโตสูงเช่นกัน เฉพาะอย่างยิ่งเบียร์และไวน์ ทำให้ส่วนแบ่งตลาดของผู้ประกอบการลดลง

แนวโน้มปี’53

คาดว่ามูลค่าตลาดในประเทศโดยรวมจะมีประมาณ 6.4 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2.4% จากปีที่ผ่านมา จากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจทำให้กำลังซื้อของผู้บริโภคเพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้ประกอบการจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเพื่อกระตุ้นยอดขาย และการถ่ายทอดมหกรรมฟุตบอลโลกในปี 2553 ซึ่งจัดขึ้นที่แอฟริกาใต้ จะส่งผลให้การจำหน่ายสุราภายในประเทศของไทยคึกคักขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม จากการปรับราคาจำหน่ายสุราสูงขึ้นตามภาระต้นทุนด้านภาษีที่ปรับเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตของทางการ อาจทำให้ผู้บริโภคบางส่วนลดการบริโภคสุราลง และผู้บริโภคบางส่วนอาจหันไปดื่มเบียร์ซึ่งปัจจุบันมีราคาจำหน่ายต่ำกว่าสุรา

อีกทั้งการดำเนินมาตรการคุมเข้มของภาครัฐที่มีการรณรงค์ให้ประชาชนเลิกดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และมาตรการจำกัดการโฆษณาผ่านสื่อ การจำกัดเวลา และสถานที่จำหน่าย ประกอบกับ ข้อตกลงอาฟตาที่มีผลบังคับใช้ จะทำให้มีสุราจากประเทศเข้ามาทำตลาดในประเทศไทยมากขึ้น

ภาวการณ์ดังกล่าวจะกดดันผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสุราไทยให้ดำเนินธุรกิจได้ยากลำบากมากขึ้น จนต้องมีการนำกลยุทธ์ทางการตลาดในรูปแบบใหม่ๆ มาใช้กระตุ้นความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ ขณะเดียวกัน ก็เร่งขยายการส่งออกสุราไปจำหน่ายในต่างประเทศให้มากขึ้น เฉพาะอย่างยิ่งตลาดในประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง เพื่อชดเชยตลาดภายในประเทศที่ชะลอตัวลง
posttoday
*********
04/12/52
กสิกรไทยชี้ปี 53 เปิดเสรีอาเซียนหวั่นกระทบกาแฟไทย
โดย : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุการเปิดเสรีอาเซียนปี 2553 จำนวน 23 รายการ โดยมีกาแฟสำเร็จรูปเป็นหนึ่งเงื่อนไขลดภาษีเหลือ 0%
จากกรณีที่ไทยจะต้องลดอัตราภาษีนำเข้าและยกเลิกมาตรการโควตาภาษีสินค้าเกษตรตามข้อตกลงการเปิดการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA จำนวนทั้งสิ้น 23 รายการ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป เมล็ดกาแฟ และกาแฟสำเร็จรูปจัดเป็นสินค้าเกษตรที่จะต้องทำการลดอัตราภาษีนำเข้าตามข้อตกลงดังกล่าวด้วย โดยที่กาแฟสำเร็จรูปจะต้องทำการลดอัตราภาษีให้เหลือ 0% ในขณะที่เมล็ดกาแฟ จัดเป็นสินค้าที่อยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหวสูง จะยังคงอัตราภาษีนำเข้าที่ 5%

สำหรับการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าของแต่ละประเทศในอาเซียนนั้น จะมีการปรับลดอัตราภาษีที่แตกต่างกัน ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 เป็นต้นไป แต่ละประเทศจะมีการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าเมล็ดกาแฟ กาแฟสำเร็จรูปที่แตกต่างกัน (สามารถดูรายละเอียดได้จากไฟล์ที่แนบไว้)

ในปี 2552 ประเทศไทยผลิตเมล็ดกาแฟได้ประมาณ 56,315 ตัน ส่วนใหญ่ใช้แปรรูปเพื่อการบริโภคในประเทศถึง 89.0% ของปริมาณการผลิต หรือประมาณ 50,000 ตัน ส่วนที่เหลืออีก 11.0% จะเป็นการส่งออกไปยังตลาดสำคัญในรูปของเมล็ดกาแฟ และแปรรูปเป็นกาแฟสำเร็จรูป

แต่ทั้งนี้ คาดการณ์ว่า ในปี 2552 ความต้องการใช้เมล็ดกาแฟเพื่อบริโภคภายในประเทศนั้นจะมีประมาณ 68,000 ตัน ซึ่งผลผลิตที่ได้มีไม่เพียงพอกับความต้องการ ดังนั้น ประเทศไทยจึงต้องมีการนำเข้าเมล็ดกาแฟจากต่างประเทศเพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ ซึ่งปริมาณการนำเข้าเมล็ดกาแฟในแต่ละปีมีไม่สูงนัก เนื่องจากจะต้องเสียภาษีนำเข้าสูง และผู้ที่นำเข้าจะต้องมีใบอนุญาตจากหน่วยงานราชการเท่านั้น ซึ่งปริมาณการนำเข้ากว่า 84.0% เป็นการนำเข้ามาแปรรูปและบริโภคในประเทศ ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 16.0 เป็นการนำเข้ามาแปรรูปเพื่อการส่งออก

นอกจากนี้ ไทยยังมีการนำเข้ากาแฟในรูปของกาแฟสำเร็จรูปเพื่อมาบริโภคในประเทศโดยตรง อาทิ กาแฟกระป๋อง กาแฟผงสำเร็จรูป เป็นต้น และไทยยังมีการนำเข้ากาแฟสำเร็จรูปมาผ่านกระบวนการปรุงแต่งเพื่อจำหน่ายในประเทศ และบางส่วนก็ส่งออกไปยังต่างประเทศอีกด้วย

ดังนั้น จะเห็นได้ว่าโครงสร้างอุตสาหกรรมกาแฟของไทยมีความซับซ้อน หากมีการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าตามกรอบอาฟตาในปี 2553 คาดว่า จะเกิดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในแต่ละภาคส่วนที่แตกต่างกันไป สำหรับผลกระทบที่คาดว่า จะเกิดขึ้นตามมาหลังจากการลดอัตราภาษีนำเข้าตามกรอบข้อตกลงอาฟตา มีรายละเอียดดังนี้

• เกษตรกร ในส่วนของเกษตรกรของไทยที่ผลิตเมล็ดกาแฟนั้น คาดว่า จากการลดอัตราภาษีนำเข้าเมล็ดกาแฟจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรไทยที่จะต้องเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวียดนามซึ่งถือเป็นผู้ค้ารายใหญ่ติด 1 ใน 3 ของโลก รองจากบราซิล และโคลัมเบีย ซึ่งมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำกว่าไทยมาก แต่ทั้งนี้ ไทยยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ และมาตรฐานที่แตกต่างจากเมล็ดกาแฟของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งยังตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ และต่างประเทศ ส่งผลให้ผู้ประกอบการแปรรูปในประเทศยังคงต้องการเมล็ดกาแฟของไทย ดังนั้น เกษตรกรไทยควรที่จะรักษาข้อได้เปรียบในส่วนนี้ไว้

อย่างไรก็ตาม จะต้องตระหนักอยู่เสมอว่าคู่แข่งที่สำคัญก็มีการพัฒนาคุณภาพของเมล็ดกาแฟด้วยเช่นกัน ดังนั้น ไทยควรที่จะส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อที่จะขยายโอกาสในการส่งออกเมล็ดกาแฟจากการเปิดการค้าเสรี และสามารถแข่งขันกับประเทศต่างๆ ในอาเซียนได้

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรไทย ในส่วนของภาครัฐก็ควรที่จะเข้ามาดูแล สำหรับในส่วนของการนำเข้าเมล็ดกาแฟนั้น การนำเข้าจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานสินค้า ซึ่งการนำเข้าเมล็ดกาแฟจะบริหารการนำเข้าโดยองค์การคลังสินค้า (อคส.) โดยกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมในส่วนของเอกสารประกอบการนำเข้าที่ต้องมีใบรับรองปลอด GMOs และให้มีการนำเข้าได้เฉพาะช่วงเดือนพ.ค.-ส.ค. เท่านั้น ผู้มีสิทธินำเข้าจะต้องเป็นโรงงานแปรรูปที่ใช้เมล็ดกาแฟเป็นวัตถุดิบ และจะต้องรับซื้อเมล็ดกาแฟภายในประเทศให้หมดก่อนถึงจะนำเข้าได้

• ผู้ประกอบการโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์กาแฟ คาดว่า ในส่วนของผู้ประกอบการแปรรูปจะได้รับผลกระทบไม่มากนัก และมีแนวโน้มว่า หากมีการเปิดนำเข้าเสรีภายใต้กรอบอาฟตา ผู้ประกอบการบางรายจะหันไปนำเข้าเมล็ดกาแฟจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีราคาถูกกว่า ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการผลิตกาแฟสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ของผู้ประกอบการในประเทศถูกลง

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในส่วนนี้จะเน้นในเรื่องของรสชาติและรสนิยมของผู้บริโภคมากกว่า และกาแฟสำเร็จรูปของไทยยังมีความได้เปรียบในเรื่องของรสชาติ และคุณภาพที่ดีกว่าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน ฉะนั้น หากนำเข้าเมล็ดกาแฟที่มีต้นทุนถูกกว่าจากต่างประเทศ มาผ่านกระบวนการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์กาแฟของไทย โดยอาศัยความได้เปรียบในเรื่องของเทคโนโลยีในการผลิต ประกอบกับคุณภาพ และรสชาติที่เป็นที่ต้องการแล้วนั้น คาดว่า จะส่งผลให้สามารถเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์กาแฟของไทย และสามารถสร้างรายได้ให้กับประเทศเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การแปรรูปผลิตภัณฑ์ที่ทำจากเมล็ดกาแฟที่ปลูกโดยเกษตรกรของไทยนั้น ย่อมให้รสชาติและความหอมที่เป็นเอกลักษณ์กว่า ดังนั้น ก็ยังมีผู้ประกอบการแปรรูปบางรายที่ยังให้การสนับสนุน และต้องการเมล็ดกาแฟของไทยที่ปลูกโดยเกษตรไทยเช่นกัน

สำหรับประเด็นที่ผู้ประกอบการแปรรูปต้องพึงระวัง คือ จากการปรับลดอัตราภาษีนำเข้าเมล็ดกาแฟ อาจทำให้ผู้ผลิตหันไปนำเข้าเมล็ดกาแฟเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกกว่า และทำให้มีการผลิตกาแฟสำเร็จรูปด้วยต้นทุนที่ต่ำลงด้วย ซึ่งสิ่งที่ต้องพึงระวังในการผลิตกาแฟสำเร็จรูป คือ คุณภาพของเมล็ดกาแฟที่นำเข้ามาอาจไม่ได้คุณภาพตามเกณฑ์ อีกทั้งรสชาติของผลิตภัณฑ์อาจเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจทำให้ความเป็นเอกลักษณ์ในเรื่องของรสชาติ และความหอมของกาแฟไทยเสียไปได้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการในประเทศยังต้องเผชิญกับการแข่งขันกับกาแฟสำเร็จรูปที่จะเข้ามาจากประเทศต่าง ๆ ในอาเซียนด้วย เนื่องจากมีต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า

ดังนั้น ผู้ประกอบการไทยควรมีการรับมือกับกาแฟสำเร็จรูปที่อาจจะเข้ามาตีตลาดในประเทศ ทั้งนี้ ควรอาศัยความได้เปรียบในเรื่องของคุณภาพของรสชาติ และความหอมของกาแฟไทยในการแข่งขัน มากกว่าการแข่งขันทางด้านราคา ควรมีการคิดค้น และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายโดยอาศัยเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้นในการผลิต อีกทั้ง ผู้ประกอบการก็ควรที่จะศึกษาพฤติกรรมของผู้บริโภคในอาเซียนเพื่อที่จะทำการขยายผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาดได้ คาดว่า กาแฟสำเร็จรูปของไทยจะสามารถแข่งขันกับสินค้านำเข้า และขยายช่องทางในการส่งออกไปยังประเทศอาเซียนมากขึ้น

• ผู้บริโภค ปัจจุบันพฤติกรรมการดื่มกาแฟของคนไทยมีอัตราเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 200 แก้วต่อปี จาก 50 แก้วต่อปี เมื่อ 10 ปีที่ผ่านมา จึงคาดว่า จากการเปิดเสรีการนำเข้ากาแฟสำเร็จรูปตามกรอบข้อตกลงอาฟตา ทำให้ผู้บริโภคในประเทศมีทางเลือกในการเลือกซื้อกาแฟสำเร็จรูปมาบริโภคมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นกาแฟสำเร็จรูปที่ผลิตในประเทศ หรือกาแฟสำเร็จรูปที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะผู้บริโภคที่เน้นปัจจัยทางด้านราคาเป็นสำคัญจะมีทางเลือกที่หลากหลายจากกาแฟนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านที่มีราคาถูกกว่า อย่างไรก็ตาม ยังคงมีผู้บริโภคบางรายที่นิยมบริโภคกาแฟสำเร็จรูปของไทยซึ่งมีคุณภาพ และรสชาติที่เป็นที่นิยม

สำหรับสิ่งที่ผู้บริโภคในประเทศต้องพึงระวัง คือ กาแฟที่นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน อาจไม่ได้คุณภาพ และมาตรฐาน ส่งผลให้ผู้บริโภคในประเทศอาจเสียประโยชน์จากกรณีที่ผู้ประกอบการบางรายมีการนำกาแฟที่ไม่ได้คุณภาพมาปลอมปนได้

จากการปรับลดอัตราภาษีตามข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียนเพื่อให้กาแฟของไทยมีศักยภาพในการแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ ในอาเซียน ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งทางภาครัฐ ผู้ประกอบการแปรรูปกาแฟ รวมทั้งเกษตรกรควรมีการวางแผนเพื่อรองรับกับสถานการณ์การแข่งขันที่จะเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ดังนี้

• ส่งเสริม ให้ปลูกกาแฟพันธุ์ดีทดแทนพันธุ์เก่า ทั้งนี้ เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพของกาแฟ รวมทั้งเป็นการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้น เพื่อเป็นการลดต้นทุนในการผลิต อีกทั้ง เมล็ดกาแฟถือเป็นวัตถุดิบสำคัญที่จะกำหนดถึงคุณภาพของตัวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่แปรรูปออกมา ดังนั้น การเริ่มต้นจากการพัฒนาพันธุ์กาแฟให้มีคุณภาพจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้ไทยสามารถแข่งขันในตลาดต่างประเทศได้ นอกจากนี้ ยังเป็นการลดการนำเข้ากาแฟจากต่างประเทศอีกด้วย

• ปลูกกาแฟในพื้นที่ที่เหมาะสม สนับสนุนให้ผู้ปลูกกาแฟมีการปรับตัวไปปลูกกาแฟที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศในประเทศมากขึ้น โดยเฉพาะในดอยอ่างขาง ดอยขุนวาง ดอยแม่พลูหลวง ซึ่งสามารถผลิตกาแฟที่มีคุณภาพสูงได้ เป็นต้น

• กำหนดและบังคับใช้มาตรฐานการนำเข้าสินค้ากาแฟที่มีความชัดเจน เพื่อให้การบริโภคสินค้าชา และกาแฟของผู้บริโภคในประเทศมีมาตรฐานและปลอดภัยต่อสุขภาพ รวมทั้งควรมีมาตรการการออกใบอนุญาตอัตโนมัติ (Automatic Licensing) เพื่อเก็บข้อมูลการนำเข้ากาแฟด้วย

• ให้ความรู้แก่เกษตรกร และส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตและแปรรูป ทั้งนี้เพื่อให้เกษตรกรมีความรู้ ความเข้าใจในการเพาะปลูกที่ถูกต้อง เพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพ และลดต้นทุนในการผลิต และให้กระบวนการผลิต และแปรรูปเป็นไปตามาตรฐานที่ตั้งไว้

• วิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟรูปแบบใหม่ ๆ ทั้งตลาดในประเทศ และตลาดต่างประเทศเพื่อที่จะสามารถเจาะกลุ่มผู้บริโภคได้ตรงกับความต้องการ เช่น กาแฟสำเร็จรูปรสชาติใหม่ ๆ ชนิดนอนชูการ์ เป็นต้น และต้องตระหนักอยู่เสมอว่า ในระหว่างที่เรากำลังวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟของเรานั้น ประเทศคู่แข่งที่สำคัญต่าง ๆ ก็กำลังวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพด้วยเช่นกัน

จากข้อตกลงภายใต้กรอบอาเซียนที่จะต้องทำการปรับลดอัตราภาษีนำเข้ากาแฟสำเร็จรูปให้เหลือ 0% ยกเว้น เมล็ดกาแฟที่ถูกจัดให้อยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหวสูงจะยังคงอัตราภาษีที่ร้อยละ 5 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 นั้น คาดว่า จะเปิดโอกาสให้สินค้าของไทยสามารถขยายช่องทางในการส่งออกไปยังประเทศอาเซียนได้มากขึ้น โดยอาศัยความได้เปรียบในเรื่องของคุณภาพ และมาตรฐานของกาแฟไทย ในขณะที่ผู้ประกอบการแปรรูปกาแฟสำเร็จรูป จะได้รับประโยชน์จากการนำเข้าวัตถุดิบเมล็ดกาแฟจากประเทศอาเซียนที่มีต้นทุนต่ำลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวียดนาม และอินโดนีเซีย

อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในส่วนนี้จะเน้นในเรื่องของรสชาติและรสนิยมของผู้บริโภคมากกว่า และกาแฟสำเร็จรูปของไทยยังมีความได้เปรียบในเรื่องของรสชาติ และคุณภาพที่ดีกว่าประเทศอื่น ๆ ในอาเซียน ส่วนผู้บริโภคในประเทศนั้น จะได้รับประโยชน์จากการมีทางเลือกในการเลือกซื้อกาแฟเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้บริโภคที่เน้นปัจจัยด้านราคาเป็นสำคัญ แต่ก็ยังคงมีผู้บริโภคบางรายที่นิยมบริโภคกาแฟสำเร็จรูปของไทยซึ่งมีคุณภาพ และรสชาติที่เป็นที่นิยม ซึ่งทำให้ไทยสามารถขยายตลาดในกลุ่มผู้บริโภคนี้ได้ อย่างไรก็ตาม อาจจะต้องระวังในเรื่องของการปลอมปนกาแฟที่ไม่ได้คุณภาพ

ในขณะเดียวกันผลจากการเปิดตลาดตามข้อตกลงอาฟตาดังกล่าว ย่อมส่งผลกระทบต่อกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟของไทย เนื่องจากต้นทุนในการผลิตสูงกว่าประเทศในอาเซียน แต่ทั้งนี้ ไทยยังมีข้อได้เปรียบในเรื่องของเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ และมาตรฐานที่แตกต่างจากเมล็ดกาแฟของประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งยังตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในประเทศ และต่างประเทศ ดังนั้น เกษตรกรไทยควรที่จะรักษาข้อได้เปรียบในส่วนนี้ไว้

อย่างไรก็ตาม จะต้องตระหนักอยู่เสมอว่าคู่แข่งที่สำคัญของเราก็มีการพัฒนาคุณภาพของเมล็ดกาแฟด้วยเช่นกัน ดังนั้น ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาให้ความช่วยเหลือเกษตรกรเพื่อให้สามารถแข่งขันได้ ไม่ว่าจะเป็นส่งเสริม ให้ปลูกกาแฟพันธุ์ดี และปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม มีการกำหนดและบังคับใช้มาตรฐานการนำเข้ากาแฟที่มีความชัดเจน ควรให้ความรู้แก่เกษตรกร และส่งเสริมให้มีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตและแปรรูป รวมทั้งมีการวิจัย และพัฒนาผลิตภัณฑ์กาแฟรูปแบบใหม่ ๆ ทั้งนี้ เพื่อให้กาแฟของไทยสามารถแข่งขันได้
krungthepturakij
*********
03/12/52
ส่งออกอาหารสำเร็จรูปปี53รุ่ง
ส่งออกอาหารสำเร็จรูปไทยปี 2553 ทะยาน 150,000 ล้านบาท จากปีนี้คาดติดลบ 10% สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ชี้ปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจโลกฟื้น เป็นกลุ่มสินค้าจำเป็น ได้อานิสงส์จากความตื่นตระหนกโลกขาดแคลนอาหาร แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามทั้งขาดแคลนแรงงาน วัตถุดิบราคาสูง ถูกกีดกันการค้า ค่าเงินบาท ค่าระวางเรือพุ่ง นายณัฐ อ่อนศรี นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ถึงแนวโน้มการส่งออกสินค้าอาหารสำเร็จรูปในปี 2553 ซึ่งประกอบด้วย 6 กลุ่มสินค้าได้แก่ กลุ่มทูน่า อาหารทะเล สับปะรด ผักและผลไม้ ข้าวโพดหวาน เครื่องปรุงและอาหารพร้อมรับประทานว่า คาดจะส่งออกมูลค่าไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท จากในปี 2552 จะส่งออกที่ระดับ 140,000 ล้านบาท มีปัจจัยหลักจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัวดีขึ้น และสินค้าอาหารเป็นกลุ่มสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีวิต
อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงหลายปัจจัยที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด รวมถึงต้องได้รับการสนับสนุนหรือแก้ไขปัญหาจากรัฐบาล ที่สำคัญคือ ในกลุ่มสินค้าทูน่า และอาหารทะเล ต้นทุนวัตถุดิบยังสูง นอกจากนี้ผู้ประกอบการต้องปรับตัวเพื่อปฏิบัติให้ได้ตามระเบียบการทำประมงที่ผิดกฎหมาย(IUU)ของสหภาพยุโรป(อียู)ที่จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2553 ทำให้ต้องมีขั้นตอนเพิ่มขึ้นในการขอใบรับรองจากกรมประมงของไทย ในสินค้าสับปะรดกระป๋อง น้ำสับปะรด รวมถึงสินค้าผักและผลไม้ มีต้นทุนวัตถุดิบที่สูง เนื่องจากต้นทุนการผลิตของเกษตรกรไทยยังค่อนข้างสูง และขาดแคลนในบางช่วง
ขณะที่สินค้าข้าวโพดหวานไทยยังถูกอียู ใช้มาตรการเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด(เอดี)เพื่อกีดกันทางการค้า อีกทั้งในปีนี้และปีหน้าผลผลิตข้าวโพดหวานในอียูจะมีออกมาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะสินค้าจากฝรั่งเศส และฮังการีซึ่งเป็นผู้ผลิตรายสำคัญของอียู จะมีผลทำให้สินค้าไทยได้รับผลกระทบจากการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในตลาดนี้ ส่วนสินค้าเครื่องปรุงรสและอาหารพร้อมรับประทานถือเป็นกลุ่มสินค้าดาวรุ่งที่ผู้บริโภคเริ่มให้ความนิยม และเป็นกลุ่มเดียวที่ยังมีอัตราการขยายตัวที่เป็นบวกในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 (+17%)
นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงร่วมกันของทุกกลุ่มสินค้าคือ การขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากในโรงงานอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปคนไทยไม่นิยมทำงานเพราะมองว่าเป็นงานลำบาก ทำให้ที่ผ่านมาต้องมีการใช้แรงงานต่างด้าว ซึ่งปัจจุบันไทยใช้แรงานต่างด้าวในอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปรวมถึงการทำเกษตรในไร่นาที่เกี่ยวเนื่อง 4-5 แสนคน แต่จากที่ในปีหน้าทางการไทยได้บังคับให้มีการพิสูจน์สัญชาติแรงงานต่างด้าวให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 เชื่อว่าแรงงานบางส่วนจะมีการหลบเลี่ยงและกลายเป็นแรงงานเถื่อน
เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านไม่ยอมรับว่าเป็นคนของตัวเอง ซึ่งจะส่งผลให้โรงงานอาหารสำเร็จรูปขาดแคลนแรงงานเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันขาดแคลนนับหมื่นคน อีกทั้งยังมีปัจจัยเสี่ยงจากต้นทุนค่ากระป๋องที่ใช้บรรจุสินค้า จากเหล็กแผ่นทำกระป๋องมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น น้ำตาลในประเทศที่ใช้เป็นส่วนผสมอาหารและน้ำผลไม้ราคายังค่อนข้างสูง รวมถึงปัจจัยเสี่ยงจากเสถียรภาพค่าเงินบาท ค่าระวางเรือที่อาจปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมันส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน
"แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงมากมายแต่เชื่อว่าในปีหน้าการส่งออกอาหารสำเร็จรูปของไทยในภาพรวมจะส่งออกไม่ต่ำกว่า 150,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปีนี้ไม่ต่ำกว่า 10% โดยจะส่งออกได้ดีขึ้นทุกตัว มีปัจจัยบวกจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่เริ่มฟื้นตัว และอาจได้รับอานิสงส์จากความตื่นตระหนกเกรงจะขาดแคลนอาหารของโลกที่มีแนวโน้มจะเกิดขึ้นอีกรอบ ซึ่งจะทำให้มีการสั่งซื้อสินค้าอาหารเพื่อเก็บสต๊อกมากขึ้น"
จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปรายงานตัวเลขการส่งออกสินค้าอาหารสำเร็จรูปของไทยช่วง 10 เดือนแรกของปี 2552 ว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 114,121 ล้านบาท ขยายตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 5% (10 เดือนปี 2551 ส่งออก 120,716 ล้านบาท) ขณะที่การส่งออกในปี 2551 มีมูลค่า 146,249 ล้านบาท ส่วนในปี 2552 ทั้งปี นายณัฐประเมินว่า การส่งออกจะขยายตัวลดลงจากปีที่แล้วในรูปเงินบาทประมาณ 6-7% ส่วนรูปดอลลาร์สหรัฐฯจะขยายตัวลดลง 10-11% ซึ่งเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ

**********
03/12/52
ค่าเงินด่องพ่นพิษส่งออกไทย กุ้ง-ยาง-ข้าวหวั่นสู้ญวนไม่ได้

เวียดนามลดค่าเงินด่องกระทบส่งออกเกษตรไทย ผู้ส่งออก "กุ้ง-ยาง-ข้าว" หวั่นไทยสูญความสามารถในการแข่งขัน วอนรัฐเร่งปรับค่าบาทให้อ่อนตัวลง ชี้ 36 บาท/เหรียญสหรัฐเหมาะสมที่สุด

นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย เปิดเผยกรณีที่เวียดนามปรับลดค่าเงินด่องว่า ส่งผลกระทบกับการส่งออกกุ้งของไทย ที่ผ่านมาไทยไม่สามารถแข่งขันด้านราคากับกุ้งเวียดนามที่มีราคาต่ำกว่าได้ เมื่อเวียดนามประกาศลดค่าเงินด่อง ยิ่งทำให้กุ้งเวียดนามได้เปรียบในเรื่องราคาและมีโอกาสช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดของกุ้งไทยในตลาดโลกมากยิ่งขึ้น จึงอยากเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งปรับค่าเงินบาทให้อ่อนตัวลงใกล้เคียงกับค่าเงินด่อง โดยให้อยู่ที่ 36 บาท/เหรียญสหรัฐ เพื่อให้สินค้าไทยมีศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดเพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ด้านนายหลักชัย กิตติพล นายกสมาคมยางพาราไทย เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาสินค้ายางแผ่นรมควันของเวียดนามจำหน่ายในราคาถูกกว่าไทยประมาณ 10% เมื่อรัฐบาลเวียดนามประกาศลดค่าเงินดองในระยะนี้ยิ่งทำให้ยางเวียดนามได้เปรียบเรื่องราคามากขึ้น เพราะเดือนธันวาคมกำลังเข้าสู่ ฤดูการซื้อขายยางพาราในตลาดโลก จึงเป็นเรื่องที่น่าห่วงอย่างยิ่งว่า ไทยอาจสูญเสียส่วนแบ่งตลาดในปีหน้าให้แก่เวียดนามมากขึ้นด้วย จึงอยากให้รัฐบาลไทยช่วยดูแลค่าเงินบาทให้อ่อนตัวลงประมาณ 35-36 บาท/เหรียญสหรัฐ เพื่อให้สินค้าไทยมีศักยภาพในการแข่งขันราคากับสินค้าเวียดนามมากขึ้น

นายวัลลภ พิชญ์พงศา รองกรรมการผู้จัดการ บริษัทนครหลวงค้าข้าว จำกัด เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ข้าวขาวเวียดนาม มีราคาต่ำกว่าไทยตันละหลายสิบเหรียญสหรัฐ แต่เมื่อรัฐบาลเวียดนามประกาศ ลดค่าเงินด่องจะทำให้ข้าวเวียดนามมีราคาต่ำลงไปอีก คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อ ภาพรวมการส่งออกข้าวของไทยเป็นอย่างมาก เพราะทำให้ข้าวไทยมีราคาแพง ขึ้นเมื่อเทียบกับราคาข้าวเวียดนาม โดยเฉพาะการเปิดประมูลซื้อข้าวจำนวน 1.8 ล้านตัน ของประเทศฟิลิปปินส์ในเดือนธันวาคมนี้

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า การลดค่าเงินด่องของเวียดนามจะทำให้ราคาข้าวปรับลดลง 6-7 เหรียญสหรัฐต่อตัน อาจจะกระทบต่อการส่งออกข้าวไทยในระยะสั้น เนื่องจากเวียดนามมีโอกาสที่จะชนะการประมูลข้าวของรัฐบาลฟิลิปปินส์ในเดือน ธ.ค.นี้ แต่ระยะยาวจะไม่ส่งผลกระทบมากนัก เพราะตลาดข้าวยังอิงเรื่องดีมานด์และซัพพลายเป็นหลัก โดยยังขึ้นอยู่กับปัจจัยว่าอินเดียจะนำเข้าข้าวมากน้อยเพียงใดเป็นหลัก ดังนั้นปี 2553 ไทยก็ยังคงเป้าหมายส่งออก 10 ล้านตันเช่นเดิม

ไทยน่าจะส่งออกได้ 10 ล้านตันปีหน้า ซึ่งผลจากการลดค่าเงินด่องจะทำให้ ส่วนต่างราคาเพิ่มจากตันละ 80 เป็น 90 เหรียญสหรัฐ ซึ่งก็ยังต่ำกว่าปีก่อนที่มีความต่างถึง 150 เหรียญสหรัฐ แต่หลังจากนี้หากอัตราแลกเปลี่ยนไทยปรับ แข็งค่า จากปัจจุบัน 33 บาท เป็น 31-32 บาท อาจจะทำให้ส่วนต่างราคาข้าวไทยและเวียดนามเพิ่มขึ้นเป็น 100 เหรียญสหรัฐ/ตัน
prachachart***********
02/12/52
กลุ่มอาหาร...ถูกค่าด่องฉุด 6%
รายงานโดย :บล.ธนชาติ
: วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2552

นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ธนชาต ระบุว่า การลดค่าเงินด่องเวียดนามส่งผลต่อกำไรของบริษัท ไทยยูเนียน โฟรเซ่น โปรดักส์ (TUF) และบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF) อย่างมากที่สุด 6%

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางเวียดนามตัดสินใจลดค่าเงินด่องลง เพื่อป้องกันผลกระทบจากค่าเงินเหรียญสหรัฐ ซึ่งส่งผลให้ค่าเงินด่องอ่อนค่าลงราว 5% ถึงแม้ว่าเวียดนามซึ่งเป็นผู้ส่งออกกุ้งรายสำคัญ และการลดค่าเงินด่องจะทำให้ราคากุ้งของเวียดนามถูกลง ผลกระทบต่อกำไรของ TUF และ CPF มากที่สุดได้เกิน 6% และ 3% ตามลำดับ
ยอดส่งออกกุ้งคิดเป็น 19% ของ ยอดขายของ TUF และ 6% ของ CPF แต่อย่างไรก็ตามสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ของทั้งสองบริษัท (68% สำหรับ TUF และ 70% ของ CPF) จะเป็นผลิตภัณฑ์กุ้งแปรรูป (Value Added Processed) (เช่น เทมปุระแช่แข็ง เกี๊ยวกุ้ง และ ขนมจีบ) ซึ่งความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) เป็นเรื่องที่สำคัญ ทำให้เป็นการยากที่เวียดนามจะเข้ามายังตลาดนี้ได้

ขณะที่การส่งออกกุ้งดิบแช่แข็งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับผลกระทบ แต่ก็ไม่มากนัก เนื่องจาก TUF และ CPF ส่งออกกุ้งแช่แข็งในสัดส่วนเพียง 6% และ 2% ของยอดขายรวมเท่านั้น ส่วนแบ่งกำไรจาก CP Vietnam (CPV) ที่ลดลง ถูกชดเชยโดยผลการดำเนินงานของบริษัท ซีพี ออลล์ (CPALL)

การลดค่าเงินด่องนอกจากจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกกุ้งแช่แข็งของ CPF แล้ว ยังจะทำให้บริษัทได้รับส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม CPV ลดลงอีกด้วย

ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2552 กำไรที่ได้จาก CPV คิดเป็น 3% ของกำไรรวมของ CPF และเพื่อสะท้อนการลดลงของค่าเงินด่อง

“เราจึงปรับลดส่วนแบ่งกำไรของ CPV ลงราว 5% แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจาก เราได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรของ CPALL ขึ้น 7-10% ประมาณการกำไรของเราสำหรับ CPF จึงไม่เปลี่ยนแปลง และเมื่อรวมราคาเป้าหมายใหม่ของ CPALL ที่เพิ่มขึ้น 18% ราคาเป้าหมายของ CPF จึงปรับเพิ่มขึ้นราว 5% มาอยู่ที่ 13.60 บาท/หุ้น”

เนื่องจากมีการเติบโตที่ดีกว่า บล.ธนชาต จึงชอบ CPF มากกว่า TUF เนื่องจากมีถั่วเหลืองและข้าวโพดราคาถูก ในสต๊อกพอใช้ได้จนถึงช่วงครึ่งแรกปี 2553 CPF จึงน่าจะยังคงมีอัตรากำไรที่อยู่ในระดับสูงอยู่ ดังนั้นกำไรของ CPF จึงน่าจะเติบโตต่อเนื่องไปยังช่วงไตรมาสแรกปี 2553 คาดว่าในช่วงดังกล่าวกำไรของบริษัทจะเติบโตมากกว่า 190% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับ TUF เติบโต 20%

ขณะที่เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นส่งผลกระทบต่อ CPF น้อยกว่ามาก เนื่องจากยอดขายในเทอมของเงินเหรียญสหรัฐคิดเป็น 30% ของรายได้ เทียบกับ TUF ที่ 90% นอกจากนี้ CPF ยังคงถูก โดยซื้อขายที่อัตราเติบโตสัดส่วนราคาต่อกำไร (P/E) ปี 2552 ที่ 1.1 เท่า ต่ำกว่า TUF ที่ 2.5 เท่า ขณะที่ให้อัตราผลตอบแทนปันผล (Dividend Yield ) ที่เท่ากันที่ 6% นอกจากนี้ CPF ยังให้ราคาเพิ่มที่ 27% สูงกว่า TUF ที่ให้ราคาเพิ่ม 5%
posttoday***********
23/11/52
เก็งราคาข้าวปีหน้าสู่ยุคทอง ทะลุ800เหรียญ-เวียดนามสต๊อกเกลี้ยง

ยุคทองข้าวราคาแพงคัมแบ็ก "วิจักร" อธิบดีกรมการค้า ต่างประเทศชี้ ราคาข้าวขาวตลาดโลกมีโอกาสแตะ 700-800 เหรียญสหรัฐ/ตัน หลัง "อินเดีย" เจอภัยแล้งต้องประกาศ นำเข้าข้าว 2 ล้านตัน สมาคมผู้ส่งออกข้าวเผยไทยรอโอกาส ข้าวเวียดนามหมดสต๊อก หลังเวียดนามมีโอกาสชนะประมูลขายข้าวให้ฟิลิปปินส์ 1.2 ล้านตัน มั่นใจผู้ซื้อต่างประเทศที่ต้องการซื้อ เบนเข็มหา "ไทย" ขณะที่ความต้องการข้าวเหนียวจากจีน-อินโดฯพุ่งไม่หยุด ทำให้ข้าวเหนียวขาดตลาด ราคาพุ่งเป็นประวัติการณ์เกินหมื่นบาท/ตัน


นายวิจักร วิเศษน้อย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยถึงแนวโน้มราคาข้าวในตลาดโลกว่า ราคาข้าวขาวมีโอกาสเพิ่มขึ้นแตะ 700-800 เหรียญสหรัฐต่อตัน จากราคาปัจจุบันอยู่ที่ 400-500 เหรียญสหรัฐต่อตัน จากสาเหตุสำคัญคือ ภาวะภัยแล้งในอินเดีย ซึ่งเป็น 1 ในผู้ส่งออกข้าวสำคัญของโลก ผลผลิตข้าวอินเดีย ลดลง 16-17% จนอินเดียต้องประกาศนำเข้าข้าว 2 ล้านตัน เช่นเดียวกับเวียดนามที่เพิ่งหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยวเมื่อ 1-2 เดือนที่แล้ว และอยู่ระหว่างปลูกข้าวรอบใหม่ทำให้มีปริมาณข้าวจำกัดในการส่งออก ขณะเดียวกันผู้นำเข้าข้าวหลายประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มีความต้องการนำเข้าข้าวที่สูงขึ้น ส่งผลให้แนวโน้มราคาข้าวในช่วงปลายปี 2552 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2553 ปรับตัวสูงขึ้น แต่คงจะไม่ปรับตัวสูงขึ้นมากเหมือนปี 2551 เนื่องจากนักเก็งกำไรไม่ได้เข้ามาปั่นราคาข้าวเหมือนช่วงปี 2551 ซึ่งถือว่าน่าพอใจสำหรับไทย ในฐานะผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลก ที่ต้องการเห็นราคาข้าวตลาดโลกค่อย ๆ ปรับขึ้น และจะส่งผลดีกับราคาข้าวในประเทศ

ไทยรอโอกาสข้าวเวียดนามหมดสต๊อก

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย เปิดเผยว่า ในเดือนธันวาคมนี้ ทางรัฐบาลฟิลิปปินส์จะเปิดประมูลข้าวอีก 2 ลอตครั้งละ 6 แสนตันน่าจะซื้อจากเวียดนามทั้งหมด 1.2 ล้านตัน ซึ่งจะส่งผลให้เวียดนามไม่มีข้าวที่จะส่งออกอีก เพราะปัจจุบันเวียดนามอยู่ระหว่างปลูกข้าวฤดูกาลใหม่ คาดว่าจะเก็บเกี่ยวได้ในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ส่งผลให้ในระหว่างช่วงนี้จะเหลือเพียงไทยที่มีข้าวส่งออกเพียงรายเดียว ผู้ที่ต้องการซื้อข้าวจะต้องติดต่อขอซื้อกับไทยเท่านั้น ส่งผลดีทำให้ราคาข้าวขาวน่าจะปรับสูงขึ้น 600-700 เหรียญสหรัฐ เพราะล่าสุดที่ฟิลิปปินส์เปิดประมูล 2.5 แสนตัน ซื้อในราคาเฉลี่ย 475 เหรียญสหรัฐ

ส่วนทิศทางการส่งออกข้าวไทยในปี 2553 มีปริมาณ 9.5-10 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ที่คาดว่าจะส่งออกได้ 8.7-8.8 ล้านตัน สูงกว่าเป้าหมายที่คาดว่าจะส่งออกได้ 8.5 ล้านตัน โดยล่าสุด 11 เดือนแรกส่งออกไปแล้ว 7.5 ล้านตัน ลดลง 18.40%

"ส่วนผลผลิตนาปี ทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวเจ้าของไทย เพิ่มไม่ต่ำกว่า 10% ในปีนี้ เพราะพื้นที่เสียหายจากภัยพิบัติอย่าง น้ำท่วมลดลง ซึ่งเดือนก่อนสมาคมได้มาสำรวจแล้วทุกฝ่ายก็บอกว่าเพิ่ม 20-30% แต่ตอนนี้กลับไม่มีสินค้าในตลาด ซึ่งผู้ส่งออกที่ไปรับออร์เดอร์ไว้ กลับไม่สามารถหาข้าวส่งออกได้ บางรายก็ต้องชะลอการรับออร์เดอร์ เพราะกลัวเหมือนปี 2551 แต่การส่งออกข้าวเหนียวปีนี้กลับร้อนแรง สูงสุดเป็นประวัติการณ์ 3.6 แสนตัน จากที่จีนและอินโดนีเซียมีปัญหาเรื่องผลผลิตและราคาข้าวเหนียวถูกกว่าข้าวเจ้า ต้นปีแค่ 400 เหรียญสหรัฐ แต่ก็น่าห่วงว่าเวียดนามจะมีแย่งส่วนแบ่งการส่งออกข้าวเหนียวปีหน้า"

นอกจากนี้ในวันที่ 23 พ.ย. ทางสมาคมจะประชุมร่วมกับกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อหารือถึงแผนการทำตลาดข้าวในปี 2553 ตามที่กระทรวงพาณิชย์ต้องการที่จะเชิญภาคเอกชนเข้าร่วมเดินทางไปเปิดตลาดข้าวในต่างประเทศ ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ก็มีแผนจะเร่งเจรจาขายข้าวแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) โดยมีเป้าหมายว่าทั้งปีน่าจะมีปริมาณส่งออกข้าวจีทูจี 1.77 ล้านตัน

ราคาข้าวเหนียวพุ่งทะลุหมื่นบาท/ตัน

ด้านนายสมศักดิ์ ตั้งพิทักษ์กุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท โรงสีเลียงฮงไชย จำกัด และประธานกลุ่มโรงสีข้าวเหนียว ภายใต้สมาคมโรงสีข้าวไทย กล่าวว่า ปีนี้ปริมาณผลผลิตข้าวเหนียวเบา (ข้าวดอ) ลดลงไม่ต่ำกว่า 90% จากปีก่อน เพราะราคาประกันข้าวเหนียว 9,500 บาทต่อตัน ต่ำกว่าข้าวชนิดอื่นจึงไม่จูงใจในการเพิ่มผลผลิต ขณะที่ปริมาณการส่งออกต้นข้าวเหนียว 11 เดือนแรกของปี 2552 อยู่ที่ 2.41 แสนตัน เพิ่มขึ้นถึง 55% สูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพราะหลายตลาด เช่น จีน ฟิลิปปินส์ มีความต้องการมากขึ้น

ด้านนายวิเชียร ธีรธนานนท์ ที่ปรึกษาชมรมโรงสีอีสานเหนือ จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า ปีนี้ผลผลิตข้าวเหนียวหายไปไม่ต่ำกว่า 30% จากปีก่อน ตั้งข้อสังเกตว่า เกิดจาก โรงสีบางแห่งเริ่มซื้อข้าวเหนียวเก็บสต๊อกไว้ จนทำให้ราคาข้าวเหนียวปัจจุบันสูงถึง 10,500 บาท สูงกว่าราคาประกันที่ 9,500 บาทแล้ว และมีโอกาสที่จะสูงเท่ากับปี 2551 ที่ 16,000-17,000 บาท ส่วนข้าวสารเหนียวใหม่ขึ้นไปถึง 18,000 ถึง 20,000 บาท เพราะว่าราคาข้าวเหนียวมีความผันผวนจากการที่ผลผลิตข้าวลดลง

ผลผลิตข้าวไทยปี"52/53 เพิ่ม 10%

รายงานข่าวแจ้งว่า ผลการสำรวจข้าวพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 12 จังหวัด ได้แก่ ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ มหาสารคาม ร้อยเอ็ด เลย สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำพู และอุดรธานี พบว่า ผลผลิตข้าวน่าจะมีปริมาณเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิ ซึ่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีปริมาณ 4 ล้านตันข้าวเปลือกจากทั้งประเทศที่มีประมาณ 5-6 ล้านต้น

ดังนั้นคาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตข้าวนาปีทั้งประเทศ น่าจะเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% ทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวเจ้า หรือไม่ต่ำกว่า 25 ล้านตัน จากเป้าหมายเดิมที่คาดว่าจะมีปริมาณ 23 ล้านต้น เพราะพื้นที่เสียหายจากภัยพิบัติอย่างน้ำท่วมลดลง โดยเฉพาะ จ.ร้อยเอ็ด ปีนี้มีพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้และทุ่งน้ำชี ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมเพียง 7 หมื่นไร่ ลดลงจากปีก่อนที่ความเสียหาย 9 แสนไร่ ทำให้ราคาข้าวปรับตัวสูงขึ้นใกล้เคียงกับราคาประกัน เช่น ข้าวเหนียว ตันละ 9,500-10,500 บาท ข้าวหอมมะลิ ความชื้น 15% ไม่ต่ำกว่าตันละ 13,000 บาท แต่ถ้าความชื้นสูง อยู่ที่ 10,000-10,300 บาท

แต่ในที่ประชุมส่วนใหญ่เกษตรกรยังประสบปัญหาจากการดำเนินโครงการประกันรายได้ โดยเฉพาะการทำสัญญากับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การ เกษตร (ธ.ก.ส.) ล่าช้า เช่น จ.เลย ขึ้นทะเบียน 5.8 หมื่นราย ทำสัญญา 6 ราย จ.ร้อยเอ็ด ขึ้นทะเบียน 1.7 แสนราย ทำสัญญาเพียง 7.5 หมื่นราย จ.นครราชสีมา ขึ้นทะเบียน 1.9 แสนราย ทำสัญญา 5.2 หมื่นราย
prachachart
************
14/11/52
เตือนผู้ส่งออกรับมือสหรัฐเข้มความปลอดภัยอาหาร
สหรัฐเพิ่มงบประมาณแสนล้านบาทปีหน้า ดูแลความปลอดภัยของอาหาร เตรียมออกกฎหมายรวดเดียว 3 ฉบับ ป้องกันผู้บริโภค เตือนผู้ส่งออกไทยรับมือ
รายงานข่าวจากสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครลอสแองเจลิส แจ้งว่า ในปี 2553 สหรัฐจะเพิ่มความเข้มงวด ในการจัดทำระบบการป้องกันความปลอดภัยของอาหาร โดยได้มีการเพิ่มงบประมาณจำนวน 3,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่าแสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 19% จากงบประมาณปัจจุบัน เพื่อป้องกันและส่งเสริมสุขภาพของประชาชน โดยจะเน้นในเรื่องความปลอดภัยของอาหารเป็นส่วนใหญ่ รองลงมาจะเป็นการดูแลเรื่องยา และเครื่องมือเครื่องใช้
ขณะเดียวกัน ยังได้เตรียมออกกฎหมายความปลอดภัยของอาหารพร้อมๆ กันถึง 3 ฉบับ และเป็นกฎหมายที่มีเนื้อหาไปในแนวทางเดียวกัน โดยคาดว่ากฎหมายจะผ่านการพิจารณาและมีผลบังคับใช้ในเร็วๆ นี้
สำหรับเนื้อหาสาระของกฎหมายความปลอดภัยของอาหาร จะใช้บังคับโรงงานผลิตสินค้าอาหารทั้งในสหรัฐและนอกสหรัฐ ที่ส่งสินค้าเข้าไปจำหน่ายต้องจดทะเบียนโรงงานกับหน่วยงานอาหารและยาสหรัฐ (เอฟดีเอ) ทุกปี และต้องรับผิดชอบจ่ายค่าจดทะเบียนปีละ 1,000 ดอลลาร์สหรัฐ จ่ายค่าตรวจสินค้า ค่าเรียกเก็บสินค้า รวมไปถึงการบังคับให้โรงงานผลิต จัดทำแผนความปลอดภัย ที่มีการระบุและการป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับอาหาร โดยเอฟดีเอ มีอำนาจที่จะระบุข้อบังคับ สำหรับแผนความปลอดภัยของอาหารในระดับต่ำสุดและมีอำนาจที่จะทำการตรวจสอบแผนความปลอดภัยดังกล่าว
สหรัฐยังเพิ่มมาตรการที่เข้มงวดอื่นๆ อีก เช่น การออกกฎระเบียบบังคับให้โรงงานผลิต ผู้ขนส่ง และผู้เก็บรักษาอาหาร ทำการเก็บประวัติของผู้กระจายสินค้าอาหารก่อนที่จะมาถึงตนไว้อย่างละเอียด ที่สามารถจะทำให้สืบสาวแหล่งที่มาของอาหารได้อย่างรวดเร็ว จากปัจจุบันที่ให้เก็บบันทึกในรูปแบบกระดาษหรืออิเล็กทรอนิกส์ ให้อำนาจเอฟดีเอในการกักเก็บ สั่งเก็บ ผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ปลอดภัย โดยสามารถเพิ่มโทษทางอาญาและทางแพ่งกับโรงงานที่ไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับ และกำหนดให้สินค้าอาหารทุกชนิด ที่ผ่านกระบวนการผลิตปิดฉลาก ระบุประเทศที่เป็นแหล่งสุดท้ายของขบวนการผลิต และจะต้องระบุแหล่งกำเนิดของเครื่องปรุงอาหารทุกรายการ ลงบนเว็บไซต์ของตนเอง ส่วนอาหารสดทุกชนิดต้องปิดฉลากระบุแหล่งกำเนิดสินค้า
“สหรัฐได้เพิ่มความสำคัญ ในเรื่องการดูแลผู้บริโภคให้ปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร ซึ่งได้เพิ่มทั้งงบประมาณ และการออกกฎหมายมาบังคับใช้ โดยผู้ส่งออกไทยที่ส่งสินค้าอาหารไปยังสหรัฐ จะต้องศึกษาและติดตามกฎระเบียบข้อบังคับที่จะออกมาให้ดี และต้องปรับตัวให้ได้ตามที่สหรัฐกำหนด เพราะสหรัฐบังคับทั้งกับโรงงานในประเทศและนอกประเทศ ซึ่งหากทำไม่ได้ จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าอาหารไปยังสหรัฐ”
กรุงเทพธุรกิจ**************
10/11/52
เวียดนามส่งออกข้าวสูงสุดเป็นประวัติการณ์

Posted on Tuesday, November 10, 2009
สำนักงานสถิติเวียดนาม บอกว่า ยอดส่งออกข้าวช่วง 10 เดือนแรกของปีนี้อยู่ที่ 5.33 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 32.8% เมื่อเทียบกับปีก่อ แต่เมื่อเทียบเป็นมูลค่ารายปีแล้ว มูลค่าการส่งออกลดลง 7.8% เหลือ 2,370 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สมาคมอาหารเวียดนาม บอกว่า เวียดนามได้เซ็นสัญญาส่งออกข้าวทุกประเภทไปแล้ว 6.04 ล้านตัน ถือเป็นตัวเลขส่งออกที่สูงเป็นประวัติการณ์ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ทางด้านกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทคาดว่า เวียดนามจะเซ็นสัญญส่งออกข้าวได้มากขึ้น เนื่องจากประเทศผู้นำเข้า อย่างฟิลิปปินส์และอินเดีย ได้แสดงความสนใจที่จะนำเข้าข้าวของเวียดนาม

ล่าสุด เวียดนามได้ทำสัญญาส่งออกข้าว 25% จำนวน 150,000 ตัน ที่ราคา 480 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันกับรัฐบาลฟิลิปปินส์ ซึ่งจะมีการจัดส่งในปีหน้า และความเคลื่อนไหวดังกล่าวคาดว่า จะผลักดันราคาข้าวของเวียดนามให้ปรับตัวสูงขึ้นในตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะราคาข้าว 25%
money news update
************
05/11/52
ราคาข้าวเริ่มปรับตัวดีขึ้นหลังอินเดียเกิดภัยแล้ง

Posted on Thursday, November 05, 2009
นายประสิทธิ บุญเฉย นายกสมาคมชาวนาไทย บอกว่า สถานการณ์ราคาข้าวในตลาดขณะนี้ เริ่มมีราคาสูงขึ้นในช่วง 2-3
วันที่ผ่านมา จากความต้องการข้าวที่มีมากขึ้นในตลาด หลังอินเดียเกิดภัยแล้งทำให้ผลผลิตเสียหาย ดังนั้นเห็นว่ารัฐบาลยังไม่ควรเร่งระบายข้าวในสต็อก เพราะจะทำให้ข้าวเปลือกของชาวนาฤดูกาลใหม่ราคาตกต่ำลง

สำหรับการเข้าร่วมโครงการประกันรายได้เกษตรกรนั้น ขณะนี้ รัฐบาลเริ่มทยอยจ่ายส่วนต่างราคาอ้างอิงให้กับเกษตรกรแล้ว โดยได้จ่ายให้กับเกษตรกรที่ขายข้าวไปแล้วและย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป

นายกสมาคมชาวนาไทย บอกอีกว่า รัฐบาลควรเร่งประชาสัมพันธ์ โครงการประกันรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจ และไม่ต้องกดดันรัฐบาลด้วยการปิดถนนประท้วง
money news update
************
29/10/52
News Comment

Agro&Foods สินค้าเกษตรหลายชนิดได้รับความเสียหายจากสภาพอากาศที่เลวร้าย
(ที่มา : Bloomberg)

ความเห็นนักวิเคราะห์ :
สมาคมผู้ผลิตข้าวของสหรัฐฯ คาดการณ์ราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับสูงขึ้น : สมาคมผู้ผลิตข้าวสหรัฐฯ ได้ประเมินทิศทางราคาข้าวเปลือกในตลาดโลก (Rough Rice) จะปรับสูงขึ้นเป็น 16 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน จากในปัจจุบันอยู่ที่ระดับราคา 12 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน เนื่องจากทางสมาคมฯ ได้คาดการณ์ว่าอากาศที่หนาวเย็นและชื้นมากกว่าปกติ จะทำให้ผลผลิตข้าวของสหรัฐฯลดลงต่ำกว่าที่กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ถึง 15% และภัยธรรมชาติที่ประเทศฟิลิปปินส์จะทำให้ผลผลิตข้าวได้รับความเสียหาย จนต้องนำเข้าข้าวสำหรับปี 2553 เร็วกว่ากำหนดเพื่อให้สต๊อกข้าวเพียงพอสำหรับการบริโภค ชดเชยผลผลิตที่เสียหายจากพายุ รวมทั้งปัจจัยสำคัญอีกหนึ่งปัจจัยคือการนำเข้าข้าวของประเทศอินเดีย เนื่องจากผลผลิตข้าวที่ได้รับความเสียหายจากปัญหาภัยแล้งในช่วงต้นฤดูมรสุม และประสบปัญหาน้ำท่วมในช่วงต้นเดือนต.ค. 2552 ทั้งนี้ในช่วงปี 2550 – ต้นปี 2551 ราคาข้าวในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นจนทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากประเทศอินเดียและเวียดนามงดการส่งออกข้าว ขณะที่ประเทศฟิลิปปินส์ต้องเร่งนำเข้าข้าวชดเชยผลผลิตที่เสียหายจากพายุ ทั้งนี้ในรายงานฉบับล่าสุดเดือน ต.ค. 2552 ของ USDA ประเมินผลผลิตข้าวทั่วโลกปี 2552/53 จะเท่ากับ 433.6 ล้านตัน ปริมาณความต้องการบริโภคข้าวทั่วโลกอยู่ที่ 438.4 ล้านตัน และปริมาณสำรองข้าวปลายปี 2552/53 จะอยู่ที่ 85.9 ล้านตัน ลดลงราว 5.3% yoy ซึ่งเป็นไปตามที่ SCRI คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ว่า USDA จะต้องทำการทบทวนประมาณการผลผลิตข้าวของโลกลดลงจากประมาณการในปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าจะมีการปรับประมาณการผลผลิตข้าวของโลกในรายงานประจำเดือน พ.ย. 2552
อากาศที่หนาวเย็นและชื้นกว่าปกติในสหรัฐฯ กระทบผลผลิตถั่วเหลืองและข้าวโพด : Bloomberg รายงานปริมาณน้ำฝนในสหรัฐฯ แถบ Midwest ที่เป็นแหล่งเพาะปลูกถั่วเหลืองและข้าวโพดแหล่งใหญ่ของสหรัฐฯ มีฝนตกในปริมาณมาก ในช่วงหลายวันที่ผ่านมา ทำให้มีความกังวลว่าผลผลิตสินค้าเกษตรทั้ง 2 ชนิดในสหรัฐฯ จะมีผลผลิตที่ลดลง จากที่ USDA ได้ประมาณการไว้ก่อนหน้านี้ ทั้งนี้ USDA คาดผลผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองปี 2552/53 จะเพิ่มขึ้นราว 0.16% yoy และ 16.8% yoy เป็น 792.5 ล้านตัน และ 246 ล้านตันตามลำดับ นอกจากนี้ในปีเพาะปลูกปัจจุบันที่สหรัฐฯ มีการเพาะปลูกที่ล่าช้ากว่าปกติ โดยล่าสุดมีการรายงานตัวเลขการเพาะปลูกถั่วเหลืองที่สหรัฐฯว่าในสัปดาห์ก่อนมีการเก็บเกี่ยวไปเพียง 30% ของของผลผลิตทั้งหมด ขณะที่โดยปกติแล้ว (เฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง) ในช่วงเวลานี้จะต้องมีการเก็บเกี่ยวไปแล้ว 72% เช่นเดียวกันผลผลิตข้าวโพดที่สหรัฐฯในสัปดาห์ที่ผ่านมามีการเก็บเกี่ยวไปเพียง 17% ของผลผลิตทั้งหมด ทั้งที่ในอดีตจะมีการเก็บเกี่ยวไปแล้ว 46% (เฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง) ผลดังกล่าวทำให้ในระยะสั้นอุปทานถั่วเหลืองและข้าวโพดในตลาดโลกอาจตึงตัว ทั้งนี้ในส่วนของราคาถั่วเหลืองนั้น SCRI คาดว่าจะยังคงมีความกังวลเรื่องปริมาณอุปทานปริมาณมากที่จะเพิ่มขึ้นในแถบประเทศอเมริกาใต้ (บราซิล / อาร์เจนติน่า และ ปารากวัย) อย่างไรก็ตามประเด็นเรื่องสภาพภูมิอากาศในอเมริกาใต้ก็ยังต้องเป็นปัจจัยที่ต้องติดตามเช่นกัน เนื่องจากในกรณีที่สภาพภูมิอากาศที่อเมริกาใต้เกิดความผันผวนอาจทำให้ผลผลิตถั่วเหลืองไม่มากดังที่หลายฝ่ายกังวลได้เช่นกัน
SCRI คาดราคาข้าวมีแนวโน้มปรับสูงขึ้น ขณะที่ราคาถั่วเหลืองระยะสั้นยังคง Side Way : จากข้อมูลในปัจจุบัน SCRI ประเมินทิศทางราคาข้าวในตลาดโลกจะปรับตัวสูงขึ้นจากปัจจัยเรื่องอุปทานที่จะลดลงจากปัญหาสภาพภูมิอากาศที่เลวร้ายในหลายประเทศ ส่วนทิศทางราคาถั่วเหลืองนั้น SCRI มีมุมมองที่ดีขึ้นจากเดิม โดยคาดว่าในระยะสั้นจนถึงปลายปี 2552 ราคาถั่วเหลืองจะเป็นลักษณะ Side Way อยู่ในกรอบราคา 9 – 11 ดอลลาร์สหรัฐฯ/บุชเชล เนื่องจากมีทั้งปัจจัยบวกและลบเข้ามากระทบ ขณะที่ยังไม่สามารถประเมินผลกระทบได้ ซึ่งปัจจัยที่ต้องติดตามคือปริมาณผลผลิตถั่วเหลืองในประเทศอเมริกาใต้ ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญต่อทิศทางราคาถั่วเหลืองในต้นปี 2553
scib
*************
26/10/52
นายกฯห่วงเปิดเสรีกระทบสินค้าเกษตร

Posted on Monday, October 26, 2009
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี บอกภายหลังงานสัมมนา ASEAN Business Forum 2009 ว่า ภาครัฐจะร่วมหารืออย่างใกล้ชิดกับเอกชนและประชาชนถึงการเตรียมตัวในการเป็นประชาคมอาเซียน (AEC) ในปี 2558 เนื่องจากกังวลว่าภาคเอกชนส่วนใหญ่จะปรับตัวไม่ทันเมื่อใกล้ถึงเวลาบังคับใช้

ทั้งนี้ มีความเป็นห่วงสินค้าภาคการเกษตรของไทยที่อาจสูญเสียตลาดจากการปฏิบัติตามข้อตกลงลดภาษีนำเข้าเหลือ 0% ซึ่งจะเริ่มในต้นปีหน้า โดยภาครัฐกำลังเร่งทบทวนว่าจะคงข้อสงวนใดบ้างเพื่อป้องกันผลกระทบ โดยคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) จะสรุปก่อนสิ้นปี 2552 นี้ รวมไปถึงอาจจะการใช้กฎหมายภายในมาเป็นกลไกช่วยดูแลคุ้มครองได้

นายกรัฐมนตรีบอกด้วยว่า หากต้องการให้ประเทศได้ประโยชน์จากการเปิดการค้าเสรี ภาคเอกชนต้องทำงานหนักในการส่งออก และรัฐบาลพร้อมสนับสนุนเพื่อผลักดันให้ภาคเอกชนได้รับประโยชน์จากการค้าเสรีอย่างเต็มที่

*********
26/10/52
กระทรวงพาณิชย์ชงลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบ 300 รายการ

Posted on Monday, October 26, 2009
นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ บอกภายหลังการหารือร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และ หอการค้าไทย โดยได้ข้อสรุปร่วมกันว่าจะเสนอให้กระทรวงการคลังปรับลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบประมาณ 300 รายการ เพื่อช่วยลดต้นทุนผู้ส่งออก และช่วยกระตุ้นการส่งออกสินค้า โดยจะนำข้อสรุปเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน (กรอ.) ในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ และคาดว่า กระทรวงการคลังจะสามารถปรับลดภาษีสินค้าทุกรายการได้เสร็จตามข้อเสนอได้ภายในต้นปี 2553 แน่นอน

นายพรทิวาบอกว่า การปรับลดภาษีวัตถุดิบ 300 รายการนี้ จะช่วยกระตุ้นให้การส่งออกปีหน้าขยายตัวได้ไม่ต่ำกว่า10-15% และสามารถดำเนินการได้รวดเร็วกว่าการลดภาษีมุมน้ำเงินที่ต้องใช้เวลาเป็นปี ทั้งนี้หากไม่เร่งลดภาษีอาจกระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยได้ โดยเฉพาะในปีหน้าจะเริ่มมีการเปิดเสรีตามข้อตกลงอาฟต้า ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตของประเทศคู่แข่งของไทยลดลง

นายอนุรัตน์ โค้วคาสัย ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า สำหรับวัตถุดิบที่เสนอให้ลดภาษีนำเข้าประกอบด้วย 4 หมวด คือ สินค้าวัตถุดิบที่ไม่มีในประเทศไทย และต้องนำเข้าจากต่างประเทศ จะเสนอให้มีการลดภาษีนำเข้าเป็น 0% สินค้ากลุ่มที่สามารถขอคืนภาษี 19 ทวิ นั้น จะเสนอให้จัดกลุ่มใหม่ เพื่อลดความซ้ำซ้อนในการเก็บภาษี สินค้าวัตถุดิบนำเข้าที่รัฐบาลกำหนดให้ใช้วัตถุดิบภายในประเทศ 3 ส่วนผลิต เพื่อการส่งออกไปจำหน่ายต่อ เสนอให้ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้า และสินค้ากลุ่มที่ขอคืนภาษีมุมน้ำเงินได้ แต่จะจัดกลุ่มให้มีขนาดเล็กลงเน้นเฉพาะกลุ่มสินค้าเกษตร เป็นต้น

ขณะที่นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บอกว่า การส่งออกของไทยในไตรมาส 4/52 มีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น ขณะที่ในปีหน้าก็จะเติบโตได้ไม่ต่ำกว่า 10% ตามเป้าหมายที่กระทรวงพาณิชย์วางไว้ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากฐานมูลค่าการส่งออกในปีนี้ที่อยู่ในระดับต่ำ ประกอบกับเศรษฐกิจคู่ค้าของไทยเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น
money news update
***********
26/10/52
กระทรวงอุตสาหกรรมดันส่งออกอาหารปีนี้ทะลุ 8 แสนล้านบาท

Posted on Monday, October 26, 2009
นายชายชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บอกว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับงบประมาณจากโครงการไทยเข้มแข็งจำนวน 300 ล้านบาท โดยได้จัดสรรงบประมาณ 100 ล้านบาท เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมอาหารและผลักดันโครงการครัวไทยสู่โลก ทำให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักในตลาดโลกมากขึ้น ซึ่งในปีนี้กระทรวงฯได้ ตั้งเป้าจะส่งออกสินค้าอาหารให้ได้ 800,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่มีมูลค่า 700,000 ล้าน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมบอกด้วยว่า ผลการดำเนินโครงการครัวไทยสู่โลกตั้งแต่ปี 2547 ที่ผ่านมาสามารถทำให้อาหารไทยเป็นที่รู้จักในตลาดโลกมากขึ้น โดยจะเห็นได้จากการสร้างร้านอาหารไทยทั่วโลกกว่า 13,149 แห่ง และพัฒนาแม่ครัว-พ่อครัวไทย 1,151 คน

พร้อมทั้งสนับสนุนด้านการเงินแก่ผู้ประกอบการอาหารไทย ผ่านทางธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME BANK) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย ได้อนุมัติสินเชื่อไปแล้ววงเงินกว่า 1,372 ล้านบาท และยังอยู่ระหว่างการอนุมัติอีก 19 ราย คิดเป็นวงเงิน 142 ล้านบาท โดยส่วนใหญ่เป็นการขอสินเชื่อ เพื่อขยายกิจการร้านอาหารในสหรัฐมากเป็นอันดับ 1
money news update
**********
17/10/52
ตลาดส่งออกเมล็ดพันธุ์ไทยฟ้าเปิด วิกฤตธรรมชาติกระหน่ำเอเชียคาดออร์เดอร์พุ่ง30%

แนวโน้มตลาดส่งออกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไร่และพืชผักสดใส หลังเอเชียเจอวิกฤตภัยธรรมชาติ ออร์เดอร์เพิ่ม 30% ปลายปีจัดงาน "เมล็ดพันธุ์โลก" เปิดโต๊ะเจรจาธุรกิจ คาดรายได้เข้าประเทศ 1,000 ล้านเหรียญ จี้กระทรวงเกษตรฯเร่งแก้ไข พ.ร.บ. คุ้มครองพันธุ์พืช สร้างความเป็นธรรมทางการค้า

นายพาโชค พงษ์พานิช นายกสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย (THASTA) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ภายหลังจากภูมิภาคเอเชียประสบภาวะวิกฤตภัยธรรมชาติ จากกรณีปัญหาโลกร้อน ทำให้พื้นที่ เพาะปลูกจำนวนมากได้รับความเสียหาย คาดว่าหลายประเทศ เช่น ฟิลิปปินส์ จีน อินโดนีเซีย ฯลฯ จะมีความต้องการนำเข้าเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดไร่และพืชผักจากไทยในช่วงปลายปีนี้เพิ่มขึ้นกว่าปี 2551 ไม่ต่ำกว่า 20-30% อย่างแน่นอน

สำหรับช่วงปลายปีนี้ ทางสมาคมจะร่วมมือกับพันธมิตร ได้แก่สมาคมเมล็ดพันธุ์ แห่งภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก (APSA), สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.), กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, สมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย จัดงานประชุม ASIAN SEED CONGRESS 2009 ระหว่างวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2552 ในหัวข้อ "เมล็ดพันธุ์เพื่ออาหารโลก" เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าทางวิชาการและอุตสาหกรรมการเกษตร ณ โรงแรม Centara Grand & Bangkok Convention Centre, Central World กรุงเทพมหานคร

นายพาโชคกล่าวอีกว่า การจัดงานดังกล่าว คาดว่าจะมีผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการค้าเมล็ดพันธุ์จากทั่วโลกกว่า 46 ประเทศเข้าร่วมประชุม เพื่อรายงานความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของเมล็ดพันธุ์ และภายในงานดังกล่าวจะมีนิทรรศการแสดงความก้าวหน้าของพันธุ์พืช รวมทั้งเพิ่มโอกาสทางการค้า ที่ประเทศไทยจะก้าวไปสู่การเป็นศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์ของภูมิภาคอาเซียน โดยภายในงานจะเปิดโต๊ะเจรจาธุรกิจการค้าระหว่างนักลงทุนไทยกับทั่วโลก คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศไม่ต่ำกว่า 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

ขณะนี้ทางสมาคม ค่อนข้างห่วงกังวลกับประเด็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเมล็ดพันธุ์ ที่กำลังเป็นอุปสรรคทางการค้า เช่น พรบ. คุ้มครองพันธุ์พืช ซึ่งล่าสุดทางคณะกรรมการสมาคม ได้เข้าพบ นายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อเรียกร้องให้มีการพิจารณาทบทวนแก้ไขกฎหมายดังกล่าว โดยเสนอให้ แยกพันธุ์พืชใหม่ ออกจาก พันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปและพันธุ์ป่า รวมทั้งพิจารณาแก้ไขเรื่องคำจำกัดความของพันธุ์พืชพื้นเมืองทั่วไปให้เกิดความชัดเจนมากขึ้น

ด้านนายธีระ วงศ์สมุทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายบางมาตราของพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การพัฒนาเมล็ดพันธุ์ใหม่และการส่งออกเมล็ดพันธุ์ในปัจจุบัน ทั้งนี้เห็นด้วยกับข้อเรียกร้องของสมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย ที่เสนอให้แยกประเภทและลักษณะการคุ้มครองระหว่างพันธุ์พืชใหม่พันธุ์พืช พื้นเมือง และพันธุ์พืชป่า ออกจากกันเพื่อให้เกิดศักยภาพในกระบวนการคุ้มครองเมล็ดพันธุ์พืชพื้นเมืองของไทย อาทิ ข้าวหอมมะลิ ไปพร้อมๆกับการที่เมล็ดพันธุ์พืชใหม่ของไทยได้รับการคุ้มครองเมื่อส่งออกไปยังตลาดโลก

อนึ่ง ปัจจุบัน ประเทศไทยจะเป็นแหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์พืชที่ดีแห่งหนึ่งของโลกมีศักยภาพที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิต เมล็ดพันธุ์ได้ในเชิงพาณิชย์ ด้วยภูมิอากาศที่หลากหลาย อีกทั้งมูลค่าการค้าเมล็ดพันธุ์มีมูลค่าต่อปีสูงถึงประมาณ 6,000 ล้านบาท
prachachart
*************
16/10/52
ดัชนีราคาสินค้าเกษตร ลดลง12.88%
นายอภิชาต จงสกุล เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาสินค้าเกษตรที่เกษตรกรขายได้ที่ไร่นาเดือนกันยายน 2552 อยู่ที่ 127.99 ลดลงร้อยละ12.88 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เนื่องจากปีที่ผ่านมา ประเทศคู่แข่งขันทางการค้าของไทยประสบปัญหาภัยธรรมชาติ ขณะที่ความต้องการของตลาดเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสินค้าเกษตรหลายชนิดปรับตัวสูงขึ้นมาก แตกต่างจากปีปัจจุบันที่ประเทศคู่แข่งขันของไทยกลับมาส่งออกได้เป็นปกติ ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยทั่วโลก ทำให้การส่งออกและการบริโภคภายในประเทศชะลอตัวส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรไม่เพิ่มขึ้นนัก : โดยสินค้าสำคัญที่ราคาลดลงได้แก่ ข้าวเจ้านาปี ข้าวนาปรัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ยางพารา และกุ้งขาวแวนนาไม แต่ยังมีสินค้าหลายชนิดที่ราคาเพิ่มขึ้นจากปีก่อน ข้าวหอมมะลิ ข้าวเหนียว สุกร ไก่เนื้อ ไข่ไก่ และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2552 ที่ผ่านมาดัชนีราคาเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.79

ด้านดัชนีผลผลิตในเดือน กันยายน 2552 อยู่ที่ 81.21 ลดลงร้อยละ 5.08 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา สินค้าสำคัญที่ผลผลิตลดลงได้แก่ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง มันสำปะหลัง สับปะรดโรงงาน ยางพารา สุกรและไก่เนื้อ ส่วนสินค้าที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมันไข่ไก่ และเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนสิงหาคม 2552 ภาพรวมดัชนีผลผลิตลดลงร้อยละ 0.06

ที่มา สำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์

*******
14/10/52
นักธุรกิจจีนเตรียมนำเงินพันล้าน$ ลงทุนแปรรูปสินค้าเกษตร
นักธุรกิจจีนเตรียมนำเม็ดเงิน 1พันล้านเหรียญสหรัฐ จัดตั้งกองทุนอุตสาหกรรมไทย-จีน รุกอุตฯแปรรูปสินค้าเกษตร ยาพารา พลังงานทดแทนในไทย-อาเซียน
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังร่วมเจรจาจัดตั้งกองทุนอุตสาหกรรมไทย-จีน ร่วมกับนายซ่าน เสียง ซวง ประธานบริษัท บริหารการลงทุนทางด้านวิทยาศาสตร์และการค้าจีน (Chaina Sciene and Merchants Investment Management Co,Lte. และสมาคมวัฒนธรรมเศรษฐกิจไทย-จีน ว่า ในการหารือได้มีมติจัดตั้งคณะทำงาน 2 ฝ่ายไทย-จีน เพื่อร่างบันทึกความเข้าใจการร่วมมือจัดตั้งบริษัทบริหารกองทุนไทย-จีน

คาดว่า จะเริ่มดำเนินการทำงานได้ในต้นปีหน้า (2553) ซึ่งระยะแรก จีนจะนำเม็ดเงิน 1 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ เข้ามาลงทุนในไทยและประเทศอาเซียนใกล้เคียง

โดยเลือกลงทุนอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร ยางพารา การก่อสร้างพื้นฐาน คมนาคม ไฟฟ้าและพลังงานทดแทน

สำหรับการจัดตั้งบริษัทบริหารกองทุนไทย-จีน จะมีการเปิดสำนักงานใหญ่ทั้งในประเทศไทยและจีน โดยนายซ่าน เสียง ซวง ประธานบริษัทบริหารการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์และการค้าจีน หวังจะใช้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าเชื่อมโยงในภูมิภาคอาเซียนในอนาคต
กรุงเทพธุรกิจ
**********
12/10/52
Agro&Food ประมาณการอุปสงค์ – อุปทานสินค้าเกษตรที่สำคัญประจำเดือนต.ค. 2552
(ที่มา : กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ)

ความเห็นนักวิเคราะห์ :
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ปรับประมาณการผลผลิตถั่วเหลืองของโลกขึ้น : กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) รายงานประมาณการผลผลิตถั่วเหลืองของโลกประจำปี 2552/53 เดือน ต.ค. 2552 เพิ่มขึ้นจากประมาณการเดือน ก.ย. 2552 เล็กน้อยราว 2.13 ล้านตัน หรือคิดเป็นประมาณ 0.9% โดย USDA ได้ทำการปรับประมาณการผลผลิตถั่วเหลืองของประเทศต่างๆอาทิ สหรัฐฯ / อาร์เจนติน่า และปารากวัยขึ้น แต่ได้ทำการปรับประมาณการผลผลิตถั่วเหลืองของประเทศจีนลงราว 5 แสนตัน โดยรวมในส่วนของปริมาณความต้องการนำเจ้าถั่วเหลืองของประเทศต่างๆ คงที่ เว้นเพียงประเทศจีนที่คาดว่าจะมีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมราว 1 ล้านตันเป็น 39.5 ล้านตัน โดยรวมปริมาณผลผลิตที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมาก แต่ปริมาณความต้องการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยกว่าทำให้ ปริมาณสำรองถั่วเหลืองปลายปี 2552/53 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากประมาณการเดิมราว 4.266 ล้านตัน เป็น 54.794 ล้านตัน อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นของปริมาณสำรองถั่วเหลืองโลกนี้ ยังเป็นปริมาณที่น้อยกว่านักวิเคราะห์ในสหรัฐฯคาดการณ์ และในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีความกังวลเรื่องอากาศที่เริ่มหนาวเย็น และน้ำท่วมในสหรัฐฯ ว่าจะทำให้ผลผลิตถั่วเหลืองได้รับความเสียหาย จึงทำให้ราคาถั่วเหลืองมีการปรับตัวขึ้น ล่าสุดอยู่ที่ 9.64 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบุชเชล ทั้งนี้ SCRI ประเมินว่าเป็นการปรับตัวขึ้นระยะสั้นหลังการปรับตัวลงมาอย่างต่อเนื่องก่อนหน้านี้
กระทรวงเกษตรสหรัฐฯคาดปริมาณสำรองน้ำมันปาล์มดิบจะเพิ่มขึ้นจากปีก่อนเล็กน้อย : USDA คาดการณ์ปริมาณสำรองน้ำมันปาล์มดิบของโลกจะเพิ่มขึ้นจากเดิมราว 7.6 แสนตันเป็น 4.6 ล้านตัน และเป็นการเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนเล็กน้อยราว 1.28 แสนตัน ทั้งนี้จากการพิจารณาในประมาณการอุปสงค์ – อุปทานน้ำมันปาล์มดิบของ USDA พบว่าประมาณการผลผลิตน้ำมันปาล์มค่อนข้างคงที่ ที่ระดับ 45.04 ล้านตัน แต่ปริมาณความต้องการนำเข้าโดยรวมของทุกประเทศลดลงราว 6.4 แสนตัน แม้ว่าประเทศอินเดียถูกคาดการณ์ว่าจะเพิ่มการนำเข้าขึ้นจากเดิมราว 8 แสนตันก็ตาม ประเด็นดังกล่าวจึงทำให้คาดว่าราคาน้ำมันปาล์มดิบในตลาดโลกจะมีแนวโน้มอ่อนตัวลง
USDA ยังม่ปรับประมาณการผลผลิตข้าวของโลกสะท้อนภัยธรรมชาติในช่วงต้นเดือน ต.ค. 2552 : ข้อมูลจากประมาณการล่าสุดของ USDA ปริมาณผลผลิตข้าวของโลกยังคงใกล้เคียงกับประมาณการในเดือน ก.ย. 2552 โดยคาดว่าผลผลิตข้าวของโลกในปี 2552/53 จะเท่ากับ 433.514 ล้านตัน และ USDA ได้ปรับประมาณการความต้องการบริโภคข้าวของโลกขึ้นเล็กน้อยราว 4.9 ล้านตัน เป็น 438.464 ล้านตัน แต่ USDA คาดปริมาณสำรองข้าวของโลกในปี 2551/52 จะเพิ่มขึ้นจาก 89.319 ล้านตันเป็น 90.710 ล้านตัน โดยรวม USDA คาด ปริมาณสำรองข้าวของโลกจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเป็น 85.901 ล้านตัน ทั้งนี้ SCRI ประเมินว่า USDA ยังไม่ได้คำนึงถึงประเด็นเรื่องภัยธรรมชาติในภูมิภาคเอเชีย ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นเดือน ต.ค. 2552 เช่นพายุไต้ฝุ่นในประเทศฟิลิปปินส์ และเวียดนาม / น้ำท่วมที่ประเทศอินเดีย เป็นต้น ดังนั้น SCRI คาดว่า USDA จะทำการปรับประมาณการลงสำหรับรายงานในเดือน พ.ย. 2552

โดย สถาบันวิจัยนครหลวงไทย ประจำวันที่ 12 ตุลาคม 2552
********
03/10/52
อนาคตปศุสัตว์ไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า ในมุมมองเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์
เมื่อเร็วๆนี้นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหาร เครือเจริญโภคภัณฑ์ แสดงปาฐกถาพิเศษหัวข้อ "อนาคตปศุสัตว์ไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า" ในงานเสวนา "อนาคตปศุสัตว์ไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า" ซึ่งสมาคมผู้ค้าเวชภัณฑ์สำหรับสัตว์ และสมาคมนิสิตเก่าคณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันจัดขึ้น ซึ่ง"ฐานเศรษฐกิจ" ได้เก็บรวบรวมประเด็นเนื้อหาที่น่าสนใจมานำเสนอ


++ชี้เลี้ยงสุกรมีอนาคต++

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ กล่าวว่า อนาคตการเลี้ยงสุกรไทยในอีก 5 ปีข้างหน้า เชื่อว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงจะสามารถอยู่รอดได้และมีอนาคตที่ดีอย่างแน่นอน แต่เกษตรกรต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงใหม่และเรียนรู้การลงทุนอย่างไรให้ได้ผลคุ้มค่าสูงสุด เพื่อสู้กับการแข่งขันที่นับวันจะทวีความรุนแรง อาทิ การพัฒนาพันธุ์สุกรอย่างต่อเนื่อง ให้อาหารที่เหมาะกับพันธุ์สัตว์

แต่ทั้งนี้ก็ต้องปรับเปลี่ยนฟาร์มการจัดการโรงเรือนเลี้ยงสุกรให้มีความทันสมัยได้มาตรฐานควบคู่ไปด้วยเช่นกัน โดยสร้างให้เหมาะสมกับพันธุ์ เพื่อการผลิตสุกรที่ดี ตอบสนองความต้องการอาหารที่ถูกสุขอนามัยปลอดภัยต่อการบริโภค ทั้งยังสามารถช่วยลดการเกิดโรคกับสัตว์ได้ แต่ผู้เลี้ยงสุกรส่วนใหญ่มักไม่ให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าว ทำให้ขาดโอกาสในการพัฒนา

นอกจากนี้เจ้าสัวธนินท์ยังเห็นว่า หากมีเกษตรกรหันมาเลี้ยงสุกรเพิ่มขึ้น ก็จะทำให้เกิดการขยายกิจการ เพิ่มการผลิต ตลอดจนการจ้างงาน และตลาดยาในสัตว์ก็จะสามารถเติบโตควบคู่ไปกับธุรกิจสัตว์เลี้ยงได้ อย่างไรก็ตาม หากอนาคตเศรษฐกิจไทยดีขึ้น เชื่อว่าจะทำให้มีผู้บริโภคเนื้อสุกรเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าอีกด้วย


++โลกบริโภคไข่ไก่เพิ่ม++

เมื่อมองสถานการณ์ปัจจุบันของไก่เนื้อ นายธนินท์ กล่าวว่า ผู้เลี้ยงไก่เนื้อทุกวันนี้ มีความได้เปรียบและไม่มีความเสี่ยง แต่ซีพีหรือนักลงทุนมีความเสี่ยง ดังนั้นดีที่สุด ก็คือ หากนักธุรกิจทำได้ก็คือซื้อมาขายไป เพราะไม่ต้องไปรับผิดชอบการันตีราคา เพราะตลาดหวือหวามาก

ในส่วนของไก่ไข่สาเหตุที่ซีพีลงทุนในไทยไม่ได้ เพราะจะทำให้สินค้าล้นตลาดจะต้องไปลงทุนที่จีนถึง 3 จุด จุดละ 3 ล้านตัว มีทั้งโรงงานอาหารสัตว์ มีโรงปุ๋ย มีโรงแปรสภาพไข่ ให้อุตสาหกรรมทำขนมปัง เค้ก

อย่างไรก็ดีเมื่อมองถึงดัชนีการบริโภคไก่เนื้อต่อหัวต่อคนต่อปีต่อกิโลกรัม(กก.)ของประชากรโลก พบว่ากลุ่มผู้บริโภคในสหรัฐอเมริกา รับประทานไก่เนื้อ 46 กก.ต่อคนต่อปี, บราซิล 39 กก. ต่อคนต่อปี กลุ่มประเทศยุโรป 16 กก.ต่อคนต่อปี ,ญี่ปุ่น 15 กก.ต่อคนต่อปี ส่วนคนไทยบริโภคไก่เนื้อ 14-15 กก.ต่อคนต่อปี

ส่วนไก่ไข่ต่อฟองต่อคนต่อปี ประชากรจีนบริโภค 330 ฟองต่อคนต่อปี, ญี่ปุ่น 322 ฟองต่อคนต่อปี , สหรัฐอเมริกา 296 ฟองต่อคนต่อปี , เยอรมนี 200 ฟองต่อคนต่อปี และไทย 165 ฟองต่อคนต่อปี

"จะเห็นได้ว่าจากข้อมูลสถิติดังกล่าวแนวโน้มอนาคตไก่ไข่ดี สดใส มีการบริโภคไข่ไก่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในไทยยังสามารถขยายตัวได้อีก"


++แนะรัฐอย่าไปยุ่มย่าม++

ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ ยังพูดถึงปศุสัตว์ที่สำคัญอีกตัวนั้นก็คือ"วัว" ว่า ซีพีเพียงแค่ทดลองเลี้ยง ไม่ได้เลี้ยงเป็นเรื่องเป็นราวเพราะคุณแม่ห้าม หลังจากที่ได้ทดลองเลี้ยงประมาณ 3 เดือน ผลที่ได้คือ วัว 1 ตัวสามารถให้น้ำนมเฉลี่ยได้ 20 กก.บางตัวเฉลี่ยถึง 40 กก. คือไปเอาพันธุ์ที่ดีที่สุดแล้ว และสร้างสิ่งแวดล้อมให้ดี

"การเลี้ยงวัวนั้นจะต้องสร้างสิ่งแวดล้อมก่อน ไม่ใช่ปรับปรุงพันธุ์ หลังจากที่เข้าไปเปลี่ยนแปลง ให้วัวนมมีความสุข ความสบาย พอถึงเวลารีดนม นมจะได้ปริมาณดี มีการควบคุมอุณหภูมิ และควบคุมเวลาไปจนถึงโรงงานผลิต ที่สำคัญรัฐบาลอย่าไปยุ่ง ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ หากนมขาด ราคาสูง ถ้าเลี้ยงมากราคาตกต่ำ แล้วปล่อยให้ผู้เลี้ยงดีก็อยู่รอด ส่วนผู้เลี้ยงไม่ดีก็ปล่อยให้ออกจากวงการไป ให้เดินไปตามกลไกธรรมชาติ อย่าไปฝืน"

ที่สำคัญในการแสดงปาฐกถาพิเศษรอบนี้นายธนินท์ ยังฝากข้อคิดไปถึงรัฐบาลว่าเวลาไปส่งเสริมให้กับคนยากคนจน ให้เงินเขาไปบริหารดีกว่า เพราะจะรู้ว่าซื้ออะไร ดีกว่าไปซื้อของให้เขา และตั้งกรรมการหมู่บ้านขึ้นมา


++หวังไทยยิ่งใหญ่เทียบสิงคโปร์++

ขณะเดียวกันนายธนินท์ ยังบ่นเสียดายถึงเรื่องการเมืองว่า ถ้าการเมืองนิ่ง เมืองไทยในวันนี้ จะเป็นที่ 1 ของเอเชียไปแล้ว ดังนั้นไทยจะต้องก้าวเป็นบริษัทที่ส่งออกยิ่งใหญ่เหมือนสิงคโปร์ เนื่องจากในยุคศตวรรษที่ 21 จะเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่มีปล่องควัน ไม่ต้องไปสร้างโรงงาน แต่ต้องสร้างคน สร้างโลจิสติกส์ และมีการบริหารการจัดการที่ดี มีความทันสมัย เพราะเทคโนโลยีจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมีโอกาสที่ผลิตได้มากขึ้น แต่ขณะเดียวกันผมห่วงว่าเงินฝืดมากกว่าเงินเฟ้อ ห่วงว่าสินค้าที่ผลิตจะขายไม่ได้


++อนาคตไทยไม่พ้นพืชจีเอ็มอี++

ในตอนท้ายๆของการปาฐกถา เจ้าสัวซีพี ยังกล่าวถึงการรับมือภาษี 0% ที่จะเกิดขึ้นในต้นปีหน้าว่า เป็นโอกาสของไทยที่จะขยายการลงทุนในแถบเพื่อนบ้าน พร้อมกับให้ความเห็นเกี่ยวกับพืชจีเอ็มโอ(GMOs)ว่า อยากฝากเรื่องนี้ให้รัฐบาลพิจารณาทบทวนให้มีการปลูกพืชจีเอ็มโอในประเทศไทยด้วย เพราะในอนาคตประเทศไทยจะไม่มีทางหลีกเลี่ยงจากพันธุ์พืชจีเอ็มโอได้เลย

"ที่ผ่านมายังไม่มีผลวิจัยใดยืนยันว่าพืชจีเอ็มโอสร้างปัญหาต่อสิ่งแวดล้อม ผมจึงสนับสนุนให้ใช้พืชจีเอ็มโอในการเพาะปลูก"
ฐานธุรกิจ********
03/10/52
44ชาติร่วมงาน 'เมล็ดพันธุ์2009' ไทยหวังเป็นฮับภูมิภาคเขตร้อน
วงการเมล็ดพันธุ์พืชไทยคึกคัก ต้อนรับงานประชุมเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชียแปซิฟิก ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพต้นเดือนพ.ย.นี้ นายกสมาคมเผยจะมี 44 ประเทศเข้าร่วมงานครั้งนี้ เชื่อไทยได้ประโยชน์อย่างแน่นอนทั้งด้านการค้า ลงทุน หวังเวทีนี้ดันไทยเป็นผู้นำฮับเมล็ดพันธุ์ภูมิภาคเขตร้อนของโลก


รศ.ดร.จวงจันทร์ ดวงพัตรา รองประธานคณะกรรมการจัดการประชุมเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชียแปซิฟิก (Asian Seed Congress 2009) เปิดเผยว่าจากการที่ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมเมล็ดพันธุ์แห่งเอเชียแปซิฟิก ระหว่างวันที่ 8-11 พฤศจิกายน ศกนี้ การประชุมครั้งนี้จะมีนักวิชาการและองค์กรต่างๆ กว่า 1,000 คน จาก 44 ประเทศเข้าร่วมประชุม ประเทศไทยในฐานะเจ้าภาพเชื่อมั่นว่าจะได้รับประโยชน์อย่างมาก เพราะนอกจากจัดประชุมวิชาการแล้วยังจัดให้มีการเจรจาธุรกิจทั้งด้านการค้า การลงทุน สำหรับผู้ประกอบการด้วย


"เวทีนี้นอกจากมีการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านวิชาการ การติดตามความก้าวหน้าวิวัฒนาการด้านเมล็ดพันธุ์แห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกแล้ว ภาคเอกชนจากทุกประเทศจะได้มีการเจรจา การค้า การลงทุน ระหว่างกัน คือคนที่มีธุรกิจอยู่แล้วจะได้มีโอกาสพบปะลูกค้าทั้งเก่าและใหม่ โดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยจะได้ประโยชน์อย่างมาก มีโอกาสจะได้ผู้ร่วมทุนใหม่ๆ เพราะผู้ประกอบการที่มาจาก 44 ประเทศ เมื่อเขามาถึงประเทศไทยแล้ว มีความเป็นไปได้สูงที่เขาจะเลือกประเทศไทยเป็นแหล่งลงทุนผลิตเมล็ดพันธุ์เพื่อการส่งออกเพราะไทยมีศักยภาพ"


ดร.เกรียงศักดิ์ สุวรรณธราดล กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ศูนย์วิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนและกรรมการสมาคมเมล็ดพันธุ์แห่งประเทศไทย กล่าวสอดคล้องว่าประเทศไทยมีศักยภาพเมล็ดพันธุ์พืชเพราะยังมีที่ดินจำนวนมาก ประกอบกับตลาดเมล็ดพันธุ์มีโอกาสเติบโตสูง ดังจะเห็นได้จากเวลานี้มีนักลงทุนญี่ปุ่นได้แสดงความสนใจจะมาลงทุนธุรกิจเมล็ดพันธุ์พืชในประเทศไทย เพราะญี่ปุ่นมีปัญหาเรื่องของที่ดิน ซึ่งรูปแบบอาจว่าจ้างบริษัทเมล็ดพันธุ์ในไทยผลิตแล้วส่งกลับไปจำหน่ายที่ญี่ปุ่นรวมถึงส่งออกไปประเทศอื่นๆ หรือเข้ามาลงทุนผลิตเองทั้งหมดเพราะฉะนั้นมีความเป็นไปได้ที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชเขตร้อน


"จากการที่ประเทศไทยกำหนดยุทธศาสตร์ด้านเมล็ดพันธุ์ปี 2550-2554 ประเทศไทยจะส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชได้มูลค่า 3,000 ล้านบาท แต่ปรากฏว่าเกือบครึ่งทางของยุทธศาสตร์คือปี 2551 สามารถส่งออกได้แล้ว 2,500 ล้านบาท จะเห็นได้ว่ายุทธศาสตร์ที่วางไว้ได้บรรลุเป้าหมาย เร็วๆ นี้ผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้ร่วมกันทบทวนว่าผ่านครึ่งทางของยุทธศาสตร์จะปรับปรุงอะไรบ้าง ที่แน่ๆ คิดว่าจะต้องมีการปรับเป้าส่งออกให้สูงกว่านี้อย่างแน่นอน ยิ่งหากประเทศไทยเป็นเจ้าภาพประชุมเมล็ดพันธุ์ภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกครั้งนี้ เวทีนี้จะมีส่วนช่วยผลักดันอีกด้วย"


อย่างไรก็ดีเวลานี้การพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชของไทยยังมีปัญหาอุปสรรค โดยเฉพาะพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนา เช่นเมล็ดพันธุ์สมุนไพรต่างๆ หากมีนักวิจัยจะนำสมุนไพรมาพัฒนาเพิ่มคุณค่าเชิงพาณิชย์ ไม่สามารถนำมาได้เพราะไม่ทราบว่าสมุนไพรใครเป็นเจ้าของ หากมีการแก้ไขพ.ร.บ.ดังกล่าว เชื่อว่าจะมีนักวิจัยนำสมุนไพรต่างๆมาพัฒนาได้เมล็ดพันธุ์เพื่อปลูกทั้งในประเทศและส่งออกต่างประเทศจะยิ่งมีส่วนดันยอดการส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชของไทยได้อีก เพราะปัจจุบันการส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชของไทยมูลค่า 2,500 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดมากที่สุดคือประมาณ 1,000 ล้านบาท รองลงมามะเขือเทศ 238 ล้านบาท แตงโม 218 ล้านบาท ผักบุ้ง 160 ล้านบาท
ฐานธุรกิจ
**********
28/09/52
เดินหน้าโครงการครัวไทยสู่โลก หวังเพิ่มมูลค่าส่งออกอาหารปีหน้าอีก 1 แสนล้านบาท

Posted on Monday, September 28, 2009
นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม บอกว่า กระทรวงอุตสาหกรรมจะเร่งผลักดันให้ไทยเป็นครัวของโลก โดยจะส่งเสริมการแปรรูปอาหารให้มีความหลากหลาย และง่ายต่อการส่งออกมากขึ้น ตั้งเป้ามูลค่าการส่งออกอาหารในปีหน้าที่ 8 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1 แสนล้านบาทจากปีนี้ที่คาดว่าจะส่งออกอาหารได้ 7 แสนล้านบาท

นอกจากนี้ยังได้มอบหมายให้ธนาคารเพื่อการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการอาหารรายย่อยวงเงินสินเชื่อประมาณ 2,500 ล้านบาท โดยที่ผู้ประกอบการสามารถค้ำประกันกันเองได้ ซึ่งโครงการนี้จะสิ้นสุดในเดือนกุมภาพันธ์ปีหน้า

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร บอกว่า อุตสาหกรรมอาหารได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว และการส่งออกอาหารช่วงครึ่งปีหลังจะปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง
เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาล โดยมูลค่าการส่งออกอาหารปีนี้จะติดลบไม่เกิน 8% หรือ คิดเป็นมูลค่าการส่งออกประมาณ 722,000 ล้านบาท
money channel
***********
28/09/52
พาณิชย์คาดได้ข่าวดีอาร์เจนตินารับรอง 14 รง.ส่งออกอาหารทะเลแช่แข็งไทย
Source - IQ Biz (Th) Monday, September 28, 2009 15:35 30967 XTHAI XECON XCORP XCOMMER V%WIREL P%IQ
อินโฟเควสท์ (28 ก.ย. 52)--
น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า จากการที่คณะผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรของอาร์เจนตินา หรือ SENASA (Servicio Nacional de Sadidady Calidad Agrolimentaria) เดินทางมาตรวจสอบเพื่อรับรองโรงงานผลิตสินค้าประมงของไทยที่จะส่งออกไปยังอาร์เจนตินา 14 โรงงานนั้น การตรวจสอบโรงงานในภาพรวมเป็นที่พอใจของเจ้าหน้าที่ SENASA และคาดว่าโรงงานทั้ง 14 แห่งจะได้รับการรับรอง ซึ่งอาร์เจนตินาจะได้แจ้งผลให้ทราบอย่างเป็นทางการต่อไป ทั้งนี้ ตามข้อกำหนดของอาร์เจนตินากำหนดว่าสินค้าประมงที่จะส่งเข้าไปขายในอาร์เจนตินาต้องผลิตจากโรงงานที่ได้รับการตรวจสอบและรับรองจาก SENASA เท่านั้น นอกจากนี้ สินค้าประมงที่ส่งออกจะต้องมีใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) ที่ออกโดยกรมประมงประกอบพิธีการนำเข้าด้วย "การเดินทางมาตรวจรับรองโรงงานผลิตสินค้าประมงของไทยของผู้เชี่ยวชาญจากอาร์เจนตินาในครั้งนี้ จะเป็นโอกาสอันดีที่ไทยได้จะขยายการส่งออกสินค้าดังกล่าวในตลาดอาร์เจนตินาต่อไป" น.ส.ชุติมา กล่าว สำหรับสินค้าประมงของไทยที่ส่งออกไปยังอาร์เจนตินาส่วนใหญ่เป็นอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป โดยในปี 51 ไทยส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป มูลค่า 577 ล้านบาท เป็นการส่งออกปลาทูนากระป๋องมูลค่า 559 ล้านบาท คิดเป็น 97% ของการส่งออกอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูปที่ส่งออกไปอาร์เจนตินา ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 52 (ม.ค.-ส.ค.) ไทยส่งออกปลาทูนากระป๋อง คิดเป็นมูลค่า 388 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 14%
cgs,stock in focus
**********
28/09/52
คาดส่งออกอาหารปีนี้ติดลบไม่เกิน 8%

Posted on Monday, September 28, 2009
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร บอกว่า สถานการณ์การส่งออกอาหารในช่วงครึ่งปีหลังเริ่มปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การส่งออกอาหารปีนี้จะติดลบไม่เกิน 8% หรือ คิดเป็นมูลค่าการส่งออกประมาณ 722,000 ล้านบาท เพราะในช่วงครึ่งปีหลัง เป็นช่วงใกล้เทศกาล ทำให้มีคำสั่งซื้อสินค้าเข้ามามากขึ้น และ สะท้อนว่าอุตสาหกรรมอาหารได้ผ่านจุดต่ำสุดแล้ว

ส่วนปีหน้าคาดว่า การส่งออกอุตสาหกรรมอาหารจะกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้ 5-6% ตามประเทศคู่ค้า เช่น ญี่ปุ่น กับสหรัฐฯ ที่เริ่มมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง หลังจากเศรษฐกิจโลกเริ่มฟื้นตัว

ขณะที่ปัจจัยเสี่ยงที่ผู้ประกอบการยังคงกังวล ได้แก่ เรื่องค่าเงินบาทที่ยังแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง โดยค่าเงินบาทไม่ควรแข็งค่าขึ้นเกิน 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ สถาบันอาหารได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับ บริษัท TSN WORLD SUPPLY จำกัด เจ้าของธุรกิจแฟรนไชส์ ภายใต้แบรนด์ ขาหมูเจ้าสัว และอูเอโนะ ราเมน เพื่อสร้างเข้มแข็งและความน่าเชื่อถือให้กับอุตสาหกรรมอาหารไทย ผลักดันให้เกิดการส่งออกอาหารไทยให้เป็นที่รู้จักในตลาดต่างประเทศตาม ยุทธศาตร์ครัวไทยสู่โลก
money channel
**************
ตลาดอาหารแช่แข็งในจีน : โอกาสของสินค้าไทย : ศูนย์วิจัยกสิกรไทย 25 ก.ย.
--ศูนย์วิจัยกสิกรไทย Distributor - Bisnews AFE
ปีที่ 15 ฉบับที่ 2648 วันที่ 25 สิงหาคม 2552
ตลาดอาหารแช่แข็งในจีน : โอกาสของสินค้าไทย (ฉบับส่งสื่อมวลชน)
ปัจจุบันตลาดอาหารแช่แข็งในจีนเป็นตลาดที่น่าจับตามอง โดยยังมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิตของคนจีนที่เปลี่ยนมาดำเนินชีวิต ในลักษณะคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่มากขึ้น กล่าวคือ ที่พักอาศัยนั้นเปลี่ยนเป็นคอนโดมิเนี่ยม หรืออาคารชุด ระยะเวลาในการประกอบอาหารรับประทานเองน้อยลง หรือไม่มีเวลาในการประกอบอาหารรับประทานเอง ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการบริโภค โดยหันมานิยมอาหารจานด่วนหรืออาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง มากขึ้น ซึ่งตลาดนี้ยังมีช่องว่างทางการตลาดในการที่ผู้ประกอบการส่งออกสินค้าอาหารของไทยจะรุกเข้าไป เจาะขยายตลาดได้อีกมาก แต่ผู้ประกอบการไทยต้องปฏิบัติตามระเบียบด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของ สินค้าตามมาตรฐานของจีนให้ได้ เพราะแต่ละมณฑลของจีนค่อนข้างเข้มงวดในเรื่องนี้ ซึ่งการเจาะตลาดจีน น่าจะใช้ช่องทางจำหน่ายผ่านร้านสะดวกซื้อ ประเภทคอนวีเนียนสโตร์ มินิมาร์ท หรือ เฟรชมาร์ท ซึ่งจะ สะดวกต่อผู้บริโภคมากกว่าร้านค้าปลีกสมัยใหม่ เพราะอยู่ใกล้ที่พักอาศัยมากกว่า เดิมตลาดส่งออกหลักๆ ของผู้ส่งออกอาหารแช่แข็งไทยอยู่ที่สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น โดย สินค้าผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งที่ส่งออกไปในตลาดเหล่านั้น ส่วนใหญ่เป็นสินค้าพรีเมียมสำหรับตลาดบนเกือบทั้ง หมด เมื่อเกิดวิกฤติเศรษฐกิจส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อียู และญี่ปุ่น ทำให้การนำเข้าสินค้า อาหารแช่แข็งมีแนวโน้มลดลง เพราะแม้ว่าอาหารจะเป็นสินค้าจำเป็น แต่ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าอาหารที่มี

ราคาถูกมากกว่า ดังนั้น ผู้ส่งออกอาหารแช่แข็งของไทยจึงหันมาขยายตลาดจีนทดแทน ปัจจุบันผลิตภัณฑ์

อาหารแช่แข็งที่ไทยส่งออกไปยังตลาดจีนนั้น ถือว่ายังมีส่วนแบ่งตลาดค่อนข้างน้อย เพียงประมาณร้อยละ 3-4

ของผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งส่งออกทั้งหมดเท่านั้น นับว่าไทยยังมีโอกาสในการเจาะขยายตลาดอาหารแช่แข็ง

ในจีนได้อีกมาก โดยเฉพาะในปี 2553 ซึ่งคาดการณ์ว่าแนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งของจีน

เพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากการฟื้นตัวของกำลังซื้อของคนจีน ตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้

จีนยังมีการจัดงานเซี่ยงไฮ้เอ็กซ์โปในเดือนพฤษภาคม และงานเอเซียนเกมส์ในเดือนพฤศจิกายน รวมทั้ง

รัฐบาลจีนประกาศให้ปี 2553 เป็นปีท่องเที่ยวจีน คาดว่าจะส่งผลให้ความต้องการสินค้าอาหารของจีน

มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น



ตลาดอาหารแช่แข็งในจีนขยายตัว...ตอบสนองพฤติกรรมการบริโภคเปลี่ยน

ตลาดอาหารแช่แข็งในจีนมีแนวโน้มเติบโตอย่างน่าสนใจ ทั้งนี้เพื่อตอบสนองพฤติกรรมการบริโภค

อาหารของคนจีนมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

- ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ๆ ที่มีชีวิตประจำวันที่เร่งรีบ ทำกิจกรรมต่างๆแข่งขันกับเวลา

ดังนั้นเวลาในการปรุงอาหารน้อยลง และผู้บริโภคบางกลุ่มไม่สะดวกที่จะปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้าน

เนื่องจากอาศัยอยู่ในห้องเช่าหรืออพาร์ตเม้นต์ ดังนั้น ผู้บริโภคกลุ่มนี้จึงหันไปรับประทานอาหารสำเร็จรูป

มากขึ้น

- ปริมาณการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น ปัจจุบันสัดส่วนของเนื้อสัตว์ในแต่ละมื้ออาหารมากขึ้น ใน

ขณะที่สัดส่วนอาหารประเภทแป้งลดลง รวมทั้งมีการเพิ่มความหลากหลายของประเภทอาหารที่บริโภคด้วย

เช่นกัน เนื่องจากระดับรายได้เฉลี่ยของคนจีนเพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีกำลังซื้อเพิ่มขึ้น และมีโอกาสในการเลือก

ซื้ออาหารได้หลากหลายประเภทมากขึ้นด้วย

- การยอมรับการบริโภคอาหารแบบตะวันตกมากขึ้น นับเป็นปัจจัยสนับสนุนการขยายตัวของ

อาหารแช่แข็ง ประเภทผลิตภัณฑ์มันฝรั่ง และพิซซ่า ในขณะที่สินค้าอาหารแช่แข็งประเภทผัก ผลไม้ และ

ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน

- การกระจายตัวอย่างรวดเร็วของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ทั้งซุปเปอร์มาร์เก็ตและไฮเปอร์มาร์เก็ต

ซึ่งมีจำนวนตู้แช่ที่สามารถเก็บรักษาคุณภาพของสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นอย่างมากตามไปด้วย รวมทั้งมีการพัฒนา

และปรับปรุงระบบโลจิสติกส์ในการส่งสินค้าแช่เย็น (Cold Chain Infrastructure)

- จำนวนครัวเรือนที่มีตู้เย็นเพิ่มขึ้น เดิมนั้นจำนวนครัวเรือนที่มีตู้เย็นของจีนจำกัดอยู่เฉพาะใน

เมืองใหญ่ๆ ในปัจจุบันจำนวนครัวเรือนที่มีตู้เย็นเริ่มกระจายไปในเขตชนบท โดยได้รับอานิสงส์จากนโยบาย

กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจีนที่สนับสนุนสินเชื่อเครื่องใช้ไฟฟ้า โดยเฉพาะตู้เย็น นับเป็นแรงผลักดันสำคัญ

ของการเติบโตของสินค้าอาหารแช่แข็งในเขตชนบทของจีน ซึ่งหมายถึงจำนวนครัวเรือนที่มีประสิทธิภาพใน

การเก็บอาหารแช่แข็งได้เท่าเทียมกับร้านค้าปลีกสมัยใหม่มีมากขึ้น นับเป็นโอกาสของอาหารแช่แข็งที่จะได้

รับการยอมรับมากขึ้น และเข้าถึงผู้บริโภคในแต่ละท้องถิ่นได้มากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันมีโรงงานผลิตอาหารแช่แข็งในจีนประมาณ 3,000 โรงงาน โดยที่ตั้งของโรงงานผลิต

อาหารแช่แข็งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ในจำนวนโรงงานผลิตอาหารแช่แข็งมี 2 แบรนด์

ใหญ่ที่ครองตลาดร้อยละ 16 ของตลาดอาหารแช่แข็งทั้งประเทศ คือ "Synear" และ "Sanquan" ซึ่ง

ทั้งสองโรงงานตั้งอยู่ในจังหวัด Henan เนื่องจากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของตลาดอาหารแช่แข็ง ทำให้

มีการขยายการลงทุนเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมนี้ในช่วงระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมแปร

รูปเนื้อสัตว์ ในเขตShuanghui , Jinluo, Yurun และ Zhongpin นอกจากนี้ ยังมีนักลงทุนจากต่าง

ประเทศสนใจเข้ามาลงทุนในจีน ในลักษณะการร่วมทุนระหว่างนักลงทุนจากญี่ปุ่น สหรัฐฯ และนักลงทุนของจีน

ในการผลิตสินค้าอาหารแช่แข็งประเภทติ่มซำและเกี๊ยว ซึ่งเป็นอาหารยอดนิยมของชาวจีน โดยลูกค้าเป้า

หมายคือ ผู้มีรายได้ระดับสูงในเซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง และกวางโจว

ประเด็นที่น่าสนใจคือ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก โดยเริ่มมีสัญญาณตั้งแต่ช่วงปลายปี

2551 ซึ่งส่งผลให้กำลังซื้อของผู้บริโภคในหลายประเทศลดลง และผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการ

ใช้จ่าย ซึ่งส่งผลให้ความสนใจเลือกซื้อสินค้าอาหารประเภทใหม่ๆที่เข้าสู่ตลาดลดน้อยลง สินค้าอาหาร

ประเภทใหม่ๆเหล่านี้จึงมียอดจำหน่ายลดลงอย่างมาก แต่ในตลาดจีนเหตุการณ์นั้นกลับแตกต่างออกไป สินค้า

ประเภทอาหารแช่แข็ง ซึ่งนับว่ายังเป็นสินค้าที่ค่อนข้างใหม่ในกลุ่มผู้บริโภคชาวจีน ยังมีแนวโน้มเติบโตอย่าง

ต่อเนื่อง แม้ว่าอัตราการขยายตัวจะลดลง แต่ก็ไม่ถึงกับหดตัวเช่นเดียวกันตลาดในสหรัฐฯ สหภาพยุโรป

และญี่ปุ่น ทั้งนี้เนื่องจากลักษณะของสินค้าอาหารแช่แข็งในตลาดจีนส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่มุ่งลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย

ที่มีรายได้ระดับกลาง และตอบสนองพฤติกรรมการบริโภคและวิถีชีวิตของคนจีนเปลี่ยนไปจากเดิม เช่น นิยม

อาหารจานด่วนหรืออาหารสำเร็จรูปมากขึ้น เนื่องจากระยะเวลาในการปรุงอาหารรับประทานเองลดลง

และไม่สะดวกในการปรุงอาหารรับประทานเองเนื่องจากชาวจีนในเมืองใหญ่ต้องพักอาศัยคอนโดมิเนียม

หรืออาคารชุด หรือแฟลตมากขึ้น

คาดการณ์ว่าในปี 2552 มูลค่าตลาดสินค้าอาหารแช่แข็งในจีนเพิ่มขึ้นเป็น 15,207.1 ล้าน

ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเมื่อเทียบกับปี 2551 แล้วเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.6 และมีการคาดการณ์ว่าในปี 2556 มูลค่า

19,528.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวเฉลี่ยในช่วงปี 2552-2556 ประมาณร้อยละ

7.1 ต่อปี โดยอิงอัตราการบริโภคต่อหัว แสดงให้เห็นว่าตลาดอาหารแช่แข็งของจีนยังเป็นตลาดที่น่าสนใจ

เนื่องจากยังมีอัตราการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง



จีนปรับมาตรฐานสินค้าอาหาร...ข้อมูลต้องเร่งปรับตัวตาม

ในช่วงระยะไม่กี่ปีที่ผ่านมา "จีน" ในฐานะผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลกประสบปัญหาด้านภาพลักษณ์

การผลิตสินค้าอาหาร เนื่องจากประเทศผู้นำเข้าหลายประเทศตรวจสอบพบการปนเปื้อนในสินค้าอาหาร เช่น

สารพิษตกค้างในเกี๊ยวซ่าที่ตรวจสอบพบในตลาดญี่ปุ่น ปัญหาผลิตภัณฑ์นมปนเปื้อนสารเมลามีน ส่งผลให้

ประเทศผู้นำเข้าสินค้าอาหารจากจีน รวมถึงผู้บริโภคในจีนเองขาดความเชื่อมั่นต่อสินค้าอาหารที่ผลิตจากจีน

กระทบกับทั้งการผลิตและส่งออกสินค้าอาหารของจีน

รัฐบาลจีนต้องเร่งแก้ปัญหายกระดับมาตรฐานสินค้าอาหาร โดยการประกาศใช้กฎหมาย Food

Safety Law (FSL) ฉบับใหม่ ซึ่งผ่านการรับรองจากสมาชิกรัฐสภาจีน และกำหนดให้มีผลบังคับใช้แทนที่

กฎหมาย Food Hygiene Law 1995 มาตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2552 เป็นต้นมา โดยกฎหมายฉบับนี้ออก

มาเพื่อกำกับดูแลการออกใบอนุญาต การจดทะเบียน การพัฒนาคุณภาพมาตรฐาน เฝ้าระวัง ตรวจสอบย้อน

กลับ และดำเนินการด้านกฎหมายอย่างเข้มงวด ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบและอาหารจนกระทั่งถึงผู้บริโภค ผล

จากการออกกฎหมาย FSL กระทบกับการส่งออกไทย ในแง่ที่จีนจะกลายเป็นคู่แข่งในด้านการส่งออกอาหาร

ที่สำคัญของไทยไปยังตลาดหลักเดิมคือ สหรัฐฯ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่น เพราะหากจีนสามารถยกระดับ

มาตรฐานสินค้าได้ย่อมจะได้รับความเชื่อมั่นจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่อย่างไรก็ตามจะทำให้การแข่งขัน

เปลี่ยนไปในด้านคุณภาพ เพราะสินค้าจากจีนจะมีต้นทุนในด้านนี้เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน

ส่วนการส่งออกสินค้าอาหารไทยไปจีนนั้นปัจจุบันไทยพยายามเข้าไปเจาะตลาดจีน โดยเน้นว่า

สินค้าอาหารจากไทยมีมาตรฐานสูงอยู่แล้ว เพราะมีการส่งออกไปตลาด สหรัฐฯ สหภาพยุโรปและญี่ปุ่นซึ่ง

ตลาดเหล่านี้มีมาตรฐานสูง จึงเชื่อว่ากฎหมายฉบับนี้ไม่กระทบกับการส่งออกจากไทยมากนัก และในอีก 3-5

ปีข้างหน้าไทยสามารถขยายการส่งออกสินค้าอาหารแช่แข็งไปจีนได้ จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนการส่งออกไปจีน

เพียงร้อยละ 3-4 เท่านั้น นอกจากการปรับมาตรฐานด้านสินค้าอาหารแล้ว รัฐบาลจีนออกมาตรการซื้อ

สินค้าจีน (Buy Chinese) เพื่อสนับสนุนให้รัฐบาลท้องถิ่นซื้อสินค้าภายในประเทศ ซึ่งอาจจะกระทบกับการ

ส่งออกสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมและบริการของไทย ทั้งนี้ประกาศดังกล่าวมีสาระสำคัญระบุว่า

1.การจัดซื้อของรัฐบาลจะต้องซื้อสินค้าและบริการที่ผลิตในประเทศจีน ยกเว้นกรณีที่สินค้า

/บริการนั้นๆ ไม่มีการผลิตในจีน หรือมีปริมาณไม่เพียงพอ โดยการจัดหาซื้อสินค้าและบริการที่จำเป็นต้องนำ

เข้าจากต่างประเทศจะต้องขออนุมัติจากหน่วยงานรัฐบาลที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะทำการจ่ายเงิน

2. รัฐบาลจีนได้จัดตั้งหน่วยงานสืบสวนข้อเท็จจริง ในกรณีที่มีการร้องเรียนจากสมาคม

อุตสาหกรรมภายในประเทศว่า รัฐบาลท้องถิ่นมีการใช้เงินงบประมาณของโครงการที่ดำเนินการภายใต้

มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจจีน เพื่อจัดซื้อสินค้าบริการที่ไม่ได้ผลิตในประเทศ

3.คำสั่งดังกล่าวรวมถึงการห้ามหน่วยงานของรัฐและรัฐบาลท้องถิ่นให้เลือกปฏิบัติในการจัดซื้อ

สินค้าบริการจากธุรกิจในท้องถิ่นและบริษัทต่างชาติที่ลงทุนในท้องถิ่น

ซึ่งผู้ส่งออกสินค้าอาหารของไทยต้องเร่งติดตามผลกระทบของทั้งการปรับมาตรฐานสินค้าอาหาร

และการปรับนโยบายซื้อสินค้าจีน รวมทั้งต้องเร่งปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐานสินค้าอาหารของจีน และ

เร่งเจาะขยายตลาดสินค้าอาหารแช่แข็งในจีน เนื่องจากเป็นตลาดที่ยังมีศักยภาพในการเติบโตได้อีกมาก



โอกาสสินค้าอาหารแช่แข็งในตลาดจีน

จีนเป็นตลาดส่งออกอาหารที่สำคัญลำดับที่ 4 ของไทย รองจากสหรัฐฯ สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น

เมื่อแยกพิจารณาเฉพาะมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งแล้ว ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2552 ไทย

ส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งไปยังจีน 52.98 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับในช่วงเดียวกันของปี 2551

แล้วหดตัวร้อยละ 27.3 ทั้งนี้เนื่องจากการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งประเภทผักแช่แข็ง กุ้งแช่แข็ง และ

ปลาแช่แข็ง อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งที่ยังคงมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกอย่างต่อเนื่อง

ได้แก่ ผลไม้แช่แข็ง ปลาหมึกแช่แข็ง เนื้อปลาแช่แข็ง และปูแช่แข็ง

สัดส่วนการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งไปยังตลาดจีนเฉลี่ยในช่วงระยะ 5 ปีที่ผ่านมาคิดเป็น

เพียงร้อยละ 4.0 ของการส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งทั้งหมด แต่ก็ยังเป็นตลาดที่น่าสนใจที่จะมาเป็น

ตลาดใหม่ที่มีศักยภาพการขยายตัวเพื่อทดแทนการส่งออกไปยังตลาดหลักเดิม คือ สหรัฐฯ สหภาพยุโรป และ

ญี่ปุ่น

นอกจากนี้ สินค้าอาหารแช่แข็งที่น่าสนใจสำหรับตลาดจีน คือ อาหารแปรรูปและอาหารสำเร็จรูป

แช่แข็ง ซึ่งอาหารทั้งสองประเภทนี้ยังไม่มีการแยกพิกัดศุลกากร แต่จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคของ

ชาวจีนแล้ว อาหารทั้งสองประเภทนี้มีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง และผู้ประกอบการของไทยมีโอกาสใน

การเข้าไปเจาะขยายตลาดอย่างมาก โดยต้องเริ่มตั้งแต่การเข้าไปสำรวจพฤติกรรมและรสนิยมการบริโภค

ของชาวจีนในแต่ละท้องที่ ทั้งนี้เพื่อผลิตสินค้าอาหารแปรรูป และอาหารสำเร็จรูปให้สอดคล้องกับความต้อง

การของตลาดในแต่ละท้องที่ด้วย



บทสรุป

แม้ว่าในปัจจุบันไทยส่งออกผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็งไปจีนเพียงร้อยละ 4.0 ของผลิตภัณฑ์อาหารแช่

แข็งทั้งหมดของไทย แต่ตลาดอาหารแช่แข็งในจีนก็ยังเป็นตลาดใหม่ที่ผู้ประกอบการของไทยมีโอกาสในการ

เจาะขยายตลาด สินค้าที่มีศักยภาพคือ ผลไม้แช่แข็ง ปลาหมึกแช่แข็ง เนื้อปลาแช่แข็ง และปูแช่แข็ง รวมไป

ถึงอาหารแปรรูปและอาหารสำเร็จรูปแช่แข็ง ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีการแยกพิกัดศุลากร แต่สินค้าทั้งสองประเภท

นี้มีโอกาสเติบโตในตลาดจีน เนื่องจากในปัจจุบันคนจีนเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเป็นคนเมืองมากขึ้น โดยอาศัยอยู่

ในคอนโดมิเนียมหรือห้องชุด ระยะเวลาในการปรุงอาหารรับประทานเองลดลง หรือไม่สะดวกในการปรุง

อาหารรับประทานเอง ดังนั้น จึงหันมานิยมบริโภคอาหารจานด่วนหรืออาหารสำเร็จรูปมากขึ้น ส่งผลให้

ตลาดอาหารแช่แข็งในจีนนั้นมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่อง แม้ในช่วงที่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ อัตราการขยาย

ตัวของตลาดอาหารแช่แข็งในจีนก็ยังเติบโตแม้จะชะลอตัวลงบ้างก็ตาม อย่างไรก็ตาม คาดการณ์ว่าใน

ปี 2553 จีนมีความต้องการนำเข้าสินค้าอาหารเพิ่มขึ้นอย่างมาก เนื่องจากการฟื้นตัวของกำลังซื้อของคนจีน

ตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจ นอกจากนี้ จีนยังมีแผนการจัดงานเซี่ยงไฮ้เอ็กซ์โปในเดือนพฤษภาคม

และงานเอเซียนเกมส์ในเดือนพฤศจิกายน รวมทั้งรัฐบาลจีนประกาศให้ปี 2553 เป็นปีท่องเที่ยวจีน คาดว่า

จะส่งผลให้ความต้องการสินค้าอาหารของจีนมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น