วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

ข่าวอุตสาหกรรมการเงิน การลงทุนและธนาคาร 1

29/12/52
โบรกชูROEแบงก์ปี53พุ่ง
โบรกคาด ROE กลุ่มแบงก์ปีหน้าหรูหรา ชูแบงก์เล็กโดดเด่น TISCO โชว์ ROE สูงสุดในระบบ ส่วนแบงก์ใหญ่ ROE แผ่วตามภาวะเศรษฐกิจ แต่มอง SCB ดีสุด ด้านผู้บริหาร TISCO ย้ำ ปีหนี้และปีหน้า ROE ไม่ต่ำกว่า 15-17% คุยกำไรโตต่อเนื่อง
นายธนัท รังษีธนานนท์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรีอยุธยา จัดกัด(มหาชน) กล่าวว่า ปี 2553 แนวโน้มอัตราผลตอบแทนผู้ถือหุ้น(ROE) ของกลุ่มธนาคารพาณิชย์คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นกว่าปี2552 เพราะมองว่าเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นจะส่งผลให้สินเชื่อและกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งคาดว่าสินเชื่อปีหน้าของกลุ่มธนาคารจะเติบโตกว่าปีนี้ที่ติดลบ
โดย ROE ของปีนี้มองว่าจะใกล้เคียงกับปี 2551 ที่อยู่ประมาณ 11% ซึ่งธนาคารขนาดเล็กจะเป็นกลุ่มที่ ROE ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงนำโดยธนาคารทิศโก้ จำกัด(มหาชน)TISCO มี ROE อยู่ที่ 16.3% เพิ่มขึ้นต่อเนื่องจากปีก่อนหน้าเป็นธนาคารที่มี ROE สูงที่สุดในระบบหลังจากธนาคารได้ซื้อพอร์ตเช่าซื้อเข้าบริษัทส่งผลให้สินเชื่อปี 2552-2553 ขยายตัวโดดเด่นประมาณ 10%เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ด้านส่วนต่างดอกเบี้ย(NIM)อยู่ที่ 4.7%และหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดขึ้นรายได้(NPL)อยู่ที่ 2.6%ต่ำที่สุดในกลุ่มธนาคารพาณิชย์
ส่วน KK มี ROE อยู่ที่ 13% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 10.46%และ TCAP มี ROEอยู่ที่ 12% เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 10.49%เนื่องจากสินเชื่อและยอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แต่ ROE ของธนาคารขนาดใหญ่ปรับตัวลดลงเช่น SCB มี ROEอยู่ที่ 15.7% ลดจากปีก่อนอยู่ที่ 17.99%แต่เป็นธนาคารที่มี ROE สูงสุดในกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ เนื่องจากกำไรสุทธิปีนี้อยู่ที่ 2.12 หมื่นล้านบาทหรือลดลงจากปีก่อนหน้า 1.2% และกำไรปี2553 อยู่ที่ 2.24 หมื่นล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 6% สินเชื่อขยายตัวสูงขึ้นในปีหน้า4%และรายได้ค่าธรรมเนียมขยายตัวได้ต่อเนื่อง
ส่วน BBL มี ROEอยู่ที่ 10.6%จากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 11.87%, KBANK มี ROEอยู่ที่ 12.3% จากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 14.35% และ KTB มี ROEอยู่ที่ 10%จากปีก่อนหน้าอยู่ที่ 12.32% ซึ่งส่งผลให้ROE ทั้งระบบธนาคารในปีนี้เท่ากับปีที่ผ่านมา โดยการที่4 ธนาคาร BBL SCB KBANKและ KTB เป็นธนาคารขนาดใหญ่และพอร์ตสินเชื่อส่วนใหญ่จะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ เช่น สินเชื่อรายใหญ่และสินเชื่อผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อม(SME) เพราะฉะนั้นการที่สินเชื่อปรับตัวลดลง และไม่มีการเบิกจ่ายขณะเดียกันการตั้งสำรองที่เพิ่มขึ้นจึงส่งผลให้ ROE ธนาคารขนาดใหญ่ปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามในปีหน้า ROE จะเริ่มทรงตัวดีขึ้น
นายธนัท กล่าวถึง ROE ในไตรมาส 4/2552 ยังไม่สามารถประเมินได้เพราะต้องรอประเมินผลกระทบจากปัญหาการปิดโครงการมาบตาพุดและดูไบ อย่างไรก็ตามหลังจากเข้าพบผู้บริหารธานาคารได้ทั้งหมดภายในสัปดาห์หน้าจะสามารถประเมิน ROE ได้ โดยในไตรมาส 3/2552 ธนาคารมี ROE อยู่ที่ BBL อยู่ที่ 11.17%,KBANK อยู่ที่ 12.27%,SCBอยู่ที่ 15.55%, KTB อยู่ที่ 11.24%,BAYอยู่ที่ 6.64%, SCIBอยู่ที่ 8.80%, TISCOอยู่ที่ 16.41%, KKอยู่ที่ 11.99%, TCAPอยู่ที่ 16.84%และ TMBติดลบ5.56%
นายศักดิ์ชัย พีชะพัฒน์ รองกรรมการอำนวยการ เปิดเผยว่า ROE ในปี 2552-2553จะอยู่ที่15-17%ซึ่งสูงที่สุดในระบบธนาคารพาณิชย์ เนื่องจากสินเชื่อในปีนี้จะเติบโตอยู่ที่ 15%แม้ในปีหน้าสินเชื่อจะเติบโตลดลงเหลือ 10%ก็ตาม แต่เนื่องจากในปีหน้าธนาคารจะเน้นสินเชื่อเพื่อการพาณิชย์และสินเชื่อผู้ประกอบการรายกลางและรายย่อมเพราะเป็นสินเชื่อที่มีความต้องการสูงกว่าสินเชื่อเช่าซื้อในช่วงภาวะเศรษฐกิจฟื้นตัว ขณะที่กำไรสุทธิทั้งปีนี้และปีหน้าจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง และกำไรสุทธิไตรมาส4/2552จะเติบโตกว่าไตรมาส3/2552ที่มีกำไรสุทธิอยู่ที่513 ล้านบาท
ส่วนการซื้อพอร์ตปัจจุบันธนาคารมีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นเรื่องฐานเงินทุนและบุคคลกรที่จะสามารถดำเนินการอย่างมีคุณภาพเมื่อซื้อพอร์ตเข้ามาบริหาร เพราะฉะนั้นถ้าในปีหน้ามีบริษัทไหนเข้ามาเสนอขายและทางธนาคารมองว่าเหมาะสมที่จะซื้อธนาคารจะดำเนินงานซื้อทันที ซึ่งการซื้อกิจการในปีหน้านั้นอาจจะส่งผลให้สินเชื่อปีหน้าเติบโตจากที่ธนาคารตั้งเป้าไว้
www.thunhoon.com
***********
19/12/52
แบงก์กรุงเทพส่งสัญญาณ ขยับดอกรูดปรื๊ดเกิน18%
โพสต์ทูเดย์
— ธนาคารกรุงเทพเลิกใจดี จ้องทบทวนดอกเบี้ยบัตรเครดิต 18% ตามต้นทุนที่สูงขึ้นปีหน้า

นายโชค ณ ระนอง ผู้จัดการสายบัตรเครดิต ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า ธนาคารจะทบทวนดอกเบี้ยบัตรเครดิตในปีหน้า เนื่องจากปัจจุบันอยู่ที่ 18% ต่ำที่สุดในระบบและต่ำกว่าเพดานดอกเบี้ยที่ทางการกำหนดไว้ไม่เกิน 20% โดยจะดูการแข่งขันในตลาด หากรุนแรงขึ้นจนต้องเพิ่มงบการทำตลาด หรือกรณีที่เห็นสัญญาณหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) เพิ่มขึ้น ก็อาจต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยให้เหมาะสมกับต้นทุนใหม่
“ตอนที่เราลดดอกเบี้ยจาก 20% ลงมาเหลือ 18% ก็เพื่อช่วยลูกค้ามากกว่า แบงก์ไม่ได้ธุรกิจเพิ่มขึ้น ลูกค้าไม่ได้สมัครบัตรเครดิตโดยดูจากดอกเบี้ย เพราะในความรู้สึกลูกค้าจะ 18% หรือ 20% ก็แทบไม่ต่างกัน แต่จะเลือกบัตรที่ให้ สิทธิประโยชน์มากกว่า” นายโชค กล่าว

สำหรับแผนการขยายฐานบัตรใหม่ปีหน้าคาดว่าจะเพิ่มเป็น 1 ล้านใบ จากสิ้นปีนี้ฐานบัตรเพิ่มขึ้นมาที่ 9.5 แสนใบ เทียบกับสิ้นปีก่อนอยู่ที่ 8 แสนใบ โดยบัตรที่มียอดใช้จ่ายจริงอยู่ที่ 55-57% ของบัตรทั้งหมด แต่ถ้าเป็นการใช้จ่ายรายไตรมาสของลูกค้า ยอดใช้จ่ายจริงจะอยู่ที่ 70-75% ของบัตรทั้งหมด

นายโชค กล่าวว่า กรณีที่กระทรวงยุติธรรมมีแนวคิดให้ธุรกิจบัตรเครดิตคิดดอกเบี้ยไม่เกิน 15% ตามพ.ร.บ.ธุรกิจธนาคารพาณิชย์นั้น มองว่าคนที่ได้รับผลกระทบคือลูกค้า เพราะบัตรเครดิตเป็นสินเชื่อไม่มีหลักประกัน ความเสี่ยงจึงสูง และดอกเบี้ย 15% ไม่คุ้มความเสี่ยง จะทำให้คนเข้าถึงบริการได้น้อยลง เพราะธนาคารต้องเลือกลูกค้ามากขึ้น เป็นการผลักดันให้คนจำนวนมากต้องหันไปพึ่งหนี้นอกระบบแทน

นายอำพล โพธิ์โลหะกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ธนาคารยังเน้นอนุมัติบัตรให้กับกลุ่มลูกค้าที่มีรายได้ตั้งแต่ 2 หมื่นบาทขึ้นไป แต่ถ้าปีหน้าเศรษฐกิจดีขึ้นก็อาจผ่อนคลายเกณฑ์กลับมาอนุมัติบัตรให้แก่ลูกค้ากลุ่มที่มีเงินเดือน 1.5 หมื่นบาท ปัจจัยบวกคือเอ็นพีแอลที่ไม่ได้เพิ่มขึ้น

ด้านเป้าหมายปีหน้าจะขยายบัตรใหม่อีก 3 แสนใบจากฐาน 1.38 ล้านใบปีนี้ โดยเน้นลูกค้าบัตรทองและบัตรแพลทินัมเป็นหลัก ขณะที่ยอดยกเลิกบัตรปีนี้อยู่ในหลัก หมื่นใบ โดยครึ่งหนึ่งมาจากธนาคารเป็นผู้ยกเลิก หากพบว่าลูกค้ามีพฤติกรรมไม่ดีหรือเป็นเอ็นพีแอล อีกครึ่งหนึ่งมาจากลูกค้าที่ยกเลิกเพราะมีบัตรเครดิตหลายใบจึงต้องการลดความเสี่ยงบ้าง
posttoday**********
17/12/52
กูรู เผย ถึงเวลาเลี่ยงหุ้นหลักทรัพย์อย่างจริงจังแล้ว
Thursday, 17 December 2009 14:24
บทวิเคระาห์ บล.ธนชาต ระบุว่า ปีหน้าค่าคอมฯจะเป็นแบบขั้นบันได (sliding scale) อีก 2 ปีถัดไปจะเปิดเสรี (liberalization) เต็มรูปแบบ กระตุ้นให้เกิดการปรับตัวและ/หรือควบรวมกิจการมากขึ้น จากนี้ไปฝ่ายวิเคราะห์คาดว่า จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงการทำธุรกิจของบรรดาบริษัทหลักทรัพย์ที่ต้องสร้างจุดขายและกระจายรายได้ไปด้วยในเวลาเดียวกัน (จากปัจจุบันที่ 80-90% ของรายได้ บล.มาจากนายหน้าค้าหลักทรัพย์) หรือมิฉะนั้นก็ต้องเกิดการควบรวมกิจการกันมากขึ้นเพื่อการประหยัดต่อขนาดและลดจำนวนคู่แข่งขัน

ทั้งนี้ ประเทศไทยกำลังจะปูทางไปสู่การเปิดเสรีค่าคอมมิชชั่นอย่างเต็มรูปแบบในอีก 2 ปีข้างหน้า (เริ่ม 1 ม.ค. 55) โดยจะใช้ปี 53-54 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนถ่ายจากค่าคอมฯแบบคงที่ (0.25%) มาเป็น 'ขั้นบันได' (วอลุ่มเยอะจะเสียค่าคอมฯถูกลง) ซึ่งจากการคำนวณในเบื้องต้นพบว่าการใช้ค่าคอมฯแบบขั้นบันไดจะทำให้รายได้ของโบรกเกอร์หายไปอัตโนมัติ 15-20% แม้ตัวแปรอื่น (วอลุ่ม) จะคงที่ก็ตาม

ล่าสุดเช้านี้โบรกเกอร์สัญชาตสิงคโปร์อย่าง UOBKH เข้าเทคโอเวอร์โบรกเกอร์ขนาดเล็กนอกตลาดฯอย่าง 'บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์' โดยคาดว่าใช้เงินเพียง 20-30 ลบ.ในการเทคโอเวอร์ โดยบล.เมอร์ชั่นมีมาร์เก็ตแชร์นับแต่ต้นปีที่
ประมาณ 0.8% (อันดับที่ 32 จากทั้งหมด 35 โบรกเกอร์) ซึ่งเมื่อรวมกับ UOBKH แล้วคาดจะทำให้แชร์ขยับขึ้นเป็น 2.8% (อันดับที่ 17-18) โดย 11 โมงเช้าของวันนี้ UOBKH แจ้งตลาดฯเพื่อขอหยุดพักการซื้อขายชั่วคราว (H=Halt)

ทั้งนี้ เป็นไปได้ที่หลังปลด H ราคาหุ้น UOBKH จะวิ่งต่อ แต่ก็แค่ชั่วคราว เพราะระยะยาวยังต้องปรับตัวอีกมาก เพราะฉนั้น 'อย่ายุ่ง' ราคาหุ้น UOBKH บวกไป 13% มาอยู่ที่ 4.08 บาท เทรดไปแค่ 4 ลบ. ก่อนที่จะขึ้นเครื่องหมาย H ดังนั้นหากชี้แจงข้อมูลผ่านตลาดฯเรียบร้อยและกลับมาซื้อขายตามปกติ (อาจเป็นบ่ายนี้หรือพรุ่งนี้เช้า) ราคาหุ้นอาจวิ่งต่อเพื่อรับข่าวดีดังกล่าวและราคาปัจจุบันยังต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี (BV @ 6.30 บาท) อยู่มาก แต่ทั้งนี้เราไม่แนะนำให้เข้าไปเก็งกำไร จาก 3 เหตุผลหลัก

เช้านี้โบรกเกอร์สัญชาตสิงคโปร์อย่าง UOBKH เข้าเทคโอเวอร์โบรกเกอร์ขนาดเล็กนอกตลาดฯอย่าง 'บล.เมอร์ชั่น พาร์ทเนอร์' โดยคาดว่าใช้เงินเพียง 20-30 ลบ.ในการเทคโอเวอร์ โดยบล.เมอร์ชั่นมีมาร์เก็ตแชร์นับแต่ต้นปีที่ประมาณ 0.8%(อันดับที่ 32 จากทั้งหมด 35 โบรกเกอร์) ซึ่งเมื่อรวมกับ UOBKH แล้วคาดจะทำให้แชร์ขยับขึ้นเป็น 2.8% (อันดับที่ 17-18) โดย 11 โมงเช้าของวันนี้ UOBKH แจ้งตลาดฯเพื่อขอหยุดพักการซื้อขายชั่วคราว (H=Halt)

ทั้งนี้ เป็นไปได้ที่หลังปลด H ราคาหุ้น UOBKH จะวิ่งต่อ แต่ก็แค่ชั่วคราว เพราะระยะยาวยังต้องปรับตัวอีกมาก เพราะฉนั้น 'อย่ายุ่ง' ราคาหุ้น UOBKH บวกไป 13% มาอยู่ที่ 4.08 บาท เทรดไปแค่ 4 ลบ. ก่อนที่จะขึ้นเครื่องหมาย H ดังนั้นหากชี้แจงข้อมูลผ่านตลาดฯเรียบร้อยและกลับมาซื้อขายตามปกติ (อาจเป็นบ่ายนี้หรือพรุ่งนี้เช้า) ราคาหุ้นอาจวิ่งต่อเพื่อรับข่าวดีดังกล่าวและราคาปัจจุบันยังต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชี (BV @ 6.30 บาท) อยู่มาก แต่ทั้งนี้เราไม่แนะนำให้เข้าไปเก็งกำไร จาก 3 เหตุผลหลัก

1) การควบรวมดังกล่าวไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ
2) การแข่งขันในอนาคตยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นในขณะที่ UOBKH แทบไม่มีจุดแข็ง/จุดขาย และ
3) ความสามารถในการทำกำไรถอยหลังลงคลองโดยเฉพาะเมื่อเปิดเสรค่าคอมฯ และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมหุ้นกลุ่มหลักทรัพย์ส่วนใหญ่จึงเทรดที่มีส่วนลดจาก BV ส่วนโบรกเกอร์ในตลาดฯที่มาร์เก็ตแชร์ต่ำกว่า 2% (GBX -SSEC- TNITY-BSEC) ก็ต้องดิ้นเพื่อความอยู่รอด

จึงแนะนำสำหรับกลุ่มโบรกเกอร์ คือ 'หลีกเลี่ยง'
********
17/12/52
KBANK มองสินเชื่ออสังหาฯ ทั้งระบบปี 53 โต 8%
Thursday, 17 December 2009 16:01
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานธุรกิจลูกค้าบุคคลและเครือข่ายบริการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (KBANK) กล่าวว่า ภาพรวมตลาดสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ปี 2553 คาดว่าจะเติบโตประมาณ 8% ซึ่งทางธนาคารมั่นใจว่าการปล่อยสินเชื่ออสังหาฯ จะโตมากกว่าระบบ โดยเติบโตประมาณ 13% หรือคิดเป็นวงเงินสุทธิ 1.5 หมื่นล้านบาท จากสินเชื่อปล่อยใหม่ทั้งสิ้นที่คาดมีมูลค่า 3.6 หมื่นล้านบาท

ขณะที่สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ในปีนี้ของธนาคารเติบโต 9% เป็นมูลค่า 3.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งถือว่าเกินกว่าที่ตั้งเป้าไว้ว่าจะโต 6-7% คิดเป็นมูลค่า 2.7-2.8 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ สัดส่วนการเติบโตของประเภทอสังหาฯ ในปีนี้ พบว่าคอนโดมิเนียมอยู่ที่ 49% บ้านเดี่ยว 37% ทาวน์เฮ้าส์ 12% ส่วนบ้านแฝดอยู่ที่ 2% สำหรับในปี 2553 คาดว่าสัดส่วนจะยังคงใกล้เคียงกับปีนี้ แต่คอนโดฯ จะลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 40-45% เนื่องจากตัวยอดขายคอนโดฯ ใหม่จะเริ่มลดลง ส่วนบ้านเดี่ยวจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 40%
stock wave
**********
11/12/52
การบริโภคฟื้นรูดปรื๊ดพุ่ง
ธปท.เผยยอดใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตต.ค. เพิ่มจากเดือนก่อนหน้าถึง 5,045 ล้านบาท ส่งสัญญาณการใช้จ่ายในประเทศฟื้น

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ปริมาณการให้บริการบัตรเครดิตของสถาบันการเงินทั้งระบบล่าสุดในเดือนต.ค.ปีนี้ พบว่ามียอดการใช้รวมทั้งสิ้น 7.99 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,045 ล้านบาท หรือ 6.73% จากเดือนก่อนหน้าที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตรรวม 7.49 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ แบ่งเป็นการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้น 3,396 ล้านบาท หรือ 6% การใช้จ่ายในต่างประเทศเพิ่ม 425 ล้านบาท หรือ 13.4% และการเบิกเงินสดล่วงหน้าผ่านบัตรเครดิตเพิ่ม 1,223 ล้านบาท หรือ 8.04%

สำหรับประเภทบัตรเครดิตที่มีปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้นมากที่สุด คือ บัตรเครดิตที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ในประเทศเพิ่มขึ้น 4,020 ล้านบาท รองลงมาเป็นบัตรที่ออกโดยบริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่มิใช่สถาบันการเงิน (นันแบงก์) 897 ล้านบาท และบัตรที่ออกโดยสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ 128 ล้านบาท

ปัจจุบันบัตรเครดิตทั้งระบบมีจำนวน 13.27 ล้านใบ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 5.08 หมื่นใบ หรือเพิ่มขึ้น 0.38%

สำหรับยอดสินเชื่อคงค้างทั้งระบบมีจำนวน 1.84 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,273 ล้านบาท หรือ 0.7% จากเดือนก่อนหน้า

อย่างไรก็ดี หากพิจารณาปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตทั้งระบบ เปรียบเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน จะพบว่าเริ่มปรับดีขึ้นแล้วเช่นกัน เพราะปริมาณการใช้จ่ายโดยรวมทั้งระบบเพิ่มขึ้น 3,543 ล้านบาท หรือ 4.63% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน

ทั้งนี้ โดยแบ่งเป็นการใช้จ่ายในประเทศเพิ่มขึ้น 4,134 ล้านบาท การใช้จ่ายในต่างประเทศเพิ่ม 278 ล้านบาท แต่การเบิกเงินสดผ่านบัตรเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อนกลับลดลง 869 ล้านบาท ซึ่งสามารถจะสะท้อนทิศทางการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่ปรับดีขึ้นกว่าปีก่อนค่อนข้างชัดเจนแล้ว

แหล่งข่าวจากฝ่ายเศรษฐกิจใน ประเทศ ธปท. เปิดเผยว่า ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นน่าจะเป็นตัวสะท้อนการฟื้นตัวของการใช้จ่ายในประเทศที่เริ่มปรับดีขึ้น ตามทิศทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 3 และ 4 แสดงว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มดีขึ้น เป็นสัญญาณว่าการใช้จ่ายในประเทศเริ่มฟื้นตัว

นอกจากนี้ ธปท.ยังรายงานปริมาณการให้บริการสินเชื่อบุคคลของสถาบันการเงินทั้งระบบ ล่าสุดในเดือนต.ค.ว่า มีจำนวนบัญชีเงินกู้รวมทั้งสิ้น 8.87 ล้านบัญชี ลดลง 3.49 หมื่นบัญชี หรือลดลง 0.39% จากเดือนก่อนที่มี 8.9 ล้านบัญชี ซึ่งในจำนวนนี้บัญชีของกลุ่มนันแบงก์ลดลงมากที่สุด 3.39 หมื่นบัญชี สาขาธนาคารต่างประเทศลดลง 3,377 บัญชี และบัญชีของธนาคารพาณิชย์ในประเทศลดลงน้อยที่สุด 1,831 บัญชี

ขณะที่ยอดสินเชื่อบุคคลคงค้างล่าสุดมีจำนวน 2.16 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนเพียง 4 ล้านบาท ซึ่งสินเชื่อบุคคลคงค้างที่ เพิ่มขึ้นทั้งหมดมาจากสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ไทย
posstoday
*********
10/12/52
ธปท.คาดสินเชื่อปี53โต5-9%
ธปท.คาดสินเชื่อปี 53 กลับมาเป็นขาขึ้นโต 5-9% จาก 3 ปัจจัย

นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงแนวโน้มสินเชื่อปี 2253 ว่า การปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ในปีหน้าจะอยู่ในช่วงขาขึ้นหรือกลับมาเป็นบวกได้ เห็นได้จากตัวเลขยอดการปล่อยสินเชื่อ ล่าสุด เดือน ตุลาคมที่ผ่านมาพบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 เทียบจากระยะเดียวของปีก่อน และ เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.4 หลังจากที่ 9 เดือนแรกของปีนี้การปล่อยสินเชื่อชะลอตัวลงต่อเนื่อง ตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป
ทั้งนี้ สินเชื่อจะขยายตัวกลับมาเป็นบวกได้จะจากแรงผลัดดันจาก 3 ปัจจัย คือ 1.สภาพคล่องที่มีมากถึง 5 เท่าของสภาพคล่องที่ต้องดำรง ซึ่งเพียงพอเพื่อธนาคารพาณิชย์ดูแลภาคธุรกิจให้เดินต่อไปได้ 2.ระดับของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ในขณะนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้น ล่าสุด เดือนกันยายน พบว่าเอ็นพีแอลของสถาบันการเงินอยู่ที่ ร้อยละ 5.3 ซึ่งเป็นระดับที่เท่ากับสิ้นปี 2551 ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีความพร้อมและมีแรงจูงในที่จะปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และ 3.ภาวะจากการแข่งขัน โดยคาดว่าธนาคารพาณิชย์จะเร่งปล่อยสินเชื่อให้กับสินเชื่ออุปโภคบริโภค ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และสินเชื่อที่เกี่ยวกับการใช้จ่ายของภาครัฐมากขึ้น ซึ่งจะมีส่วนผลักดันให้ธนาคารพาณิชย์เร่งปล่อยสินเชื่อได้ต่อไป

“คาดว่าการปล่อยสินเชื่อในปีหน้าจะเป็นบวกได้ จากปีนี้ทั้งปีที่คาดว่าสินเชื่อจะหดตัว ซึ่งสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในปีหน้า และสอดคล้องกับการประเมินของธนาคารพาณิชย์ที่คาดว่าสินเชื่อปี 2553จะเป็นบวกหรือจะขยายตัวได้ร้อยละ 5-9 ด้วย” นายบัณฑิตกล่าว

ส่วนการที่ธนาคารกรุงไทย ได้ออกเงินฝากประจำ 3 เดือน โดยให้อัตราดอกเบี้ย ร้อยละ 4 นั้น สะท้อนว่าบางธนาคารคงเตรียมสภาพคล่องของตนไว้ เพื่อให้เพียงพอที่จะแข่งขันในปีหน้า จากที่คาดกันว่าสินเชื่อจะสามารถเติบโตได้ ตามที่ภาวะเศรษฐกิจที่ปรับตัวดีขึ้น

“ไม่ใช่เรื่องที่น่าแปลกใจที่จะเห็นบางธนาคารจะมีการแข่งขันออกมาให้ดอกเบี้ยสูง ซึ่งคิดว่าภาวะการแข่งขันระดมเงินฝาก เพื่อเตรียมปล่อยสินเชื่อต่อไป แต่ยังไม่ได้เป็นการส่งสัญญาณว่าดอกเบี้ยจะเริ่มเข้าสู่ขาขึ้น เพราะเป็นการขึ้นดอกเบี้ยเพียงธนาคารเดียวและคิดว่าเป็นช่วงสั้นเท่านั้น” นายบัณฑิต กล่าว
posttoday
**********
07/12/52
ธปท.เผยสินเชื่อที่แบงก์ปล่อยในโครงการมาบตาพุดยังไม่มีปัญหา
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้โครงการในมาบตาพุดประมาณ 2 แสนล้านบาท โดยมีการเบิกใช้แล้วประมาณ 9.5 หมื่นล้านบาท

ซึ่งผลการสำรวจเบื้องต้นมีการเบิกใช้เงินตามโครงการและยังมีเงินหมุนเวียนได้ทุกโครงการ ซึ่งไม่ได้สะดุดเรื่องนี้ ธนาคารพาณิชย์จึงไม่ต้องกันสำรองหนี้ และเชื่อว่าสินเชื่อที่เบิกจ่าย
ไปแล้วทั้งหมด 9.5 หมื่นล้านบาท คงไม่กลายเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล)

ขณะที่ตัวเลข ณ สิ้น พ.ย.52 ระบบธนาคารพาณิชย์ มียอดคงค้างสินเชื่อใน 65 โครงการที่ถูกระงับราว 78,056 ล้านบาท คิดเป็น 1.15% ของสินเชื่อรวม โดยหากประเมินในแง่เลวร้ายที่สุดกรณีเกิดความเสียหายทั้งหมดก็จะกระทบต่อเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง(BIS)ประมาณ 0.1% ซึ่งจะทำให้ระดับ BIS ในปัจจุบันลดลง 0.1% มาอยู่ที่ประมาณ 15.8% ซึ่งธปท.ประเมินว่าไม่น่าจะกระทบกับฐานะของธนาคาร

"ในระยะสั้นกรณีโครงการลงทุน 65 โครงการในพื้นที่มาบตาพุดยังไม่สามารถเดินหน้าได้ คงไม่มีผลกระทบต่อธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหาหนี้ไม่ควรทิ้งไว้นาน "นายสรสิทธิ์กล่าว
thansnews********
07/12/52
สินเชื่อรายย่อยปรอทแตก
“กสิกรไทย” บุกหนักปีหน้าตั้งเป้าสินเชื่อรายย่อยโต 15% ลุยสินเชื่อบ้าน สินเชื่อบุคคล บัตรเครดิต ไทยพาณิชย์รักษาแชมป์

นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารได้ตั้งเป้าหมายสินเชื่อรายย่อยปีหน้า ได้แก่ สินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อบุคคล และสินเชื่อบัตรเครดิตเติบโตรวม 15% จากสินเชื่อรายย่อยคงค้างในปีนี้ที่ 1.5 แสนล้านบาท ถือเป็นการเติบโตมากกว่าสินเชื่อรายย่อยทั้งระบบที่คาดว่าจะขยายตัว 7-9%
นายชาติชาย กล่าวว่า สินเชื่อที่อยู่อาศัยปีหน้าจะฟื้นตัวมากกว่าปีนี้ และมีทิศทางที่ดีขึ้นจากทิศทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น

“เราคาดว่าปีหน้าตลาดอสังหาริมทรัพย์จะเติบโต 5-7% จากปีนี้เติบโต 3-5% ขณะที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งระบบปีหน้าคาดว่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่า 8% จากปีนี้ที่เติบโต 6-7%” นายชาติชาย กล่าว

สาเหตุที่มั่นใจว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยปีหน้าจะไปได้นั้น เนื่องจากดอกเบี้ยยังต่ำ และกว่าดอกเบี้ยจะขึ้นก็คาดการณ์ว่าต้องผ่านกลางปีหน้าเป็นต้นไป โดยคาดว่าดอกเบี้ยจะขยับขึ้น 0.5-0.75% ซึ่งเป็นทิศทางตามตลาดดอกเบี้ยโลก

“ปีหน้ายังจะเห็นการแข่งขันด้านราคาไปพร้อมๆ กับการแข่งขันให้บริการของแต่ละธนาคาร ด้านสินเชื่อส่วนบุคคล คาดว่าจะเห็นการเติบโต 2 หลัก เพราะธนาคารได้หันมามุ่งลูกค้าที่มีรายได้เดือนละ 1 หมื่นบาทขึ้นไป ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีสินเชื่อบุคคลคงค้าง 9,000 ล้านบาท ส่วนบัตรเครดิตก็จะขยายเพิ่มจาก 3 แสนบัตร” นายชาติชาย กล่าว

นายชาติชาย กล่าวว่า ตลาดนี้มีช่องว่างที่จะปล่อยได้อีก 2 แสนล้านบาท จากที่มีอยู่ 2.2 แสนล้านบาท

นายรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปีหน้าธนาคารจะรักษาส่วนแบ่งตลาดสินเชื่อรายย่อยเพื่อคงความเป็นผู้นำ และทิ้งห่างคู่แข่งให้มากที่สุด โดยเฉพาะสินเชื่อที่อยู่อาศัย บัตรเครดิต ซึ่งไทยพาณิชย์เป็นเจ้าตลาด
posttoday
**********
03/12/52
เบรกลงทุนมาบตาพุด สินเชื่อแบงก์ปี53สะดุด
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

โบรกฯประเมินผลกระทบระงับลงทุน 65 โครงการใน "มาบตาพุด" ทำสินเชื่อแบงก์ในปี"53 สะดุด! แต่ยังมั่นใจไม่ถึงขั้นกลายเป็น "หนี้เน่า"
บทวิเคราะห์ของบริษัทหลักทรัพย์ธนชาต รายงานว่า มีความเป็นไปได้ที่ธนาคารพาณิชย์จะได้รับผลกระทบจากกรณีมาบตาพุด จากการที่ความต้องการสินเชื่อลดลงในปีหน้า โดยเฉพาะสินเชื่อเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนระยะสั้น ซึ่งจะมีการเบิกเงินกู้เมื่อโครงการเริ่มดำเนินการ

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากบริษัทที่ถูกระงับการดำเนินการส่วนใหญ่เป็นบริษัทชั้นนำที่มีปัจจัยพื้นฐานดี ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้จึงไม่น่าจะเกิดขึ้น นอกจากนี้ บริษัทส่วนใหญ่ยังใช้เงินจากการออกหุ้นกู้เป็นแหล่งเงินทุนในการก่อสร้างอีกด้วย

ธนาคารที่มีสัดส่วนลูกค้า corporate ในระดับสูงอย่างธนาคารกรุงไทย (50% ของพอร์ตสินเชื่อ) ธนาคารกรุงเทพ (42%) และธนาคารไทยพาณิชย์ (35%) น่าจะได้รับผลกระทบมากกว่า

ขณะที่ ธนาคารกสิกรไทย และ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ซึ่งให้สินเชื่อแก่ SME และรายย่อยในสัดส่วนที่สูง น่าจะได้รับผลกระทบที่น้อยกว่า

สำหรับธนาคารทิสโก้ ซึ่งเน้นธุรกิจเช่าซื้อ จึงไม่น่าจะได้รับผลกระทบจากประเด็นนี้ และเนื่องจากยอดซื้อยานยนต์ที่ฟื้นตัว และการเข้าซื้อกิจการล่าสุด สินเชื่อของธนาคารก็น่าจะยังคงขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าธนาคารอื่นไปอีกในปีหน้า (เติบโต 9% เทียบกับสินเชื่อทั้งระบบที่หดตัว 3% ในช่วง 9M09) คงคำแนะนำ “ถือ"

"เราอยู่ในช่วงทบทวนประมาณการ จึงยังไม่ให้คำแนะนำ และราคาเป้าหมายสำหรับธนาคารอื่นในขณะนี้"

ด้านบทวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ระบุว่า นักวิเคราะห์ของ ASP ได้ทยอยสอบถามผลกระทบดังกล่าวจาก ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ ได้รับการยืนยันจาก KBANK ว่าผลกระทบไม่มีนัยสำคัญ โดย KBANK ได้เคยสำรวจ และประเมินผลกระทบมาก่อนหน้านี้แล้ว

ขณะที่คาดว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่า เป็นเจ้าหนี้หลักของ PTT และกลุ่ม SCG ผลกระทบจึงน่าจะอยู่ในระดับที่ควบคุมได้ เพราะทั้ง 2 บริษัทมีกระแสเงินสดสูงถึงปีละ 1 แสนล้านบาท และ 4 หมื่นล้านบาทตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ธนาคารพาณิชย์อื่นเช่น ธนาคารกรุงเทพ, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา, ธนาคารทหารไทย, ธนาคารนครหลวงไทย, ธนาคารกรุงไทย อยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบ หากได้ข้อสรุปจะนำเสนอเป็นรายงานอีกครั้ง
krungthepturakij
****************
30/11/52
กสิกรไทยคาดกนง.ตรึงดบ.อารพีถึงกลางปี53
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดกนง.ตรึงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับ 1.25% จนถึงกลางปี"53 ประคองเศรษฐกิจไทยฝ่าปัญหาการเมือง-เศรษฐกิจโลก
คาดว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) ในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ จะมีมติให้คงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.25% ตามเดิม และอาจต่อเนื่องต่อไปจนถึงช่วงกลางปี 2553 เป็นอย่างน้อย โดยการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปสู่ทิศทางขาขึ้นนั้นจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ กนง.มีความเชื่อมั่นมากพอต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย

ทั้งนี้ ภายใต้สภาวะแวดล้อมที่ความเสี่ยงด้านเศรษฐกิจยังคงมีน้ำหนักเมื่อเทียบกับความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อ เนื่องจากเส้นทางการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยยังมีความท้าทายที่รออยู่ข้างหน้าจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 1.ปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศ ทั้งความต่อเนื่องของการฟื้นตัวของเศรษฐกิจแกนหลักในโลก และสมดุลของเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศเกิดใหม่

2.ปัจจัยในประเทศ ได้แก่ เสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งจะมีผลต่อความคืบหน้าของการใช้จ่ายของรัฐบาล โดยเฉพาะการลงทุนภายใต้ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง ตลอดจนความชัดเจนของโครงการลงทุนในบางสาขา เช่น โครงการในลักษณะเดียวกับกรณีที่มาบตาพุด และโครงการด้านโทรคมนาคม เป็นต้น

ขณะที่การเร่งตัวของแรงกดดันเงินเฟ้อโดยเฉพาะที่มาจากด้านอุปสงค์ในประเทศน่าจะเกิดขึ้นในขอบเขตที่จำกัด เพราะเศรษฐกิจเพิ่งอยู่ในช่วงแรกของการฟื้นตัว และยังมีความเป็นไปได้ที่รัฐบาลอาจพิจารณาต่ออายุบางมาตรการลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนออกไปอีก รวมถึงการส่งผ่านต้นทุนจากผู้ผลิตไปสู่ผู้บริโภคอาจยังทำได้ไม่เต็มที่นัก ท่ามกลางภาวะการแข่งขันสูง โดยเฉพาะหลังการเปิดตลาดภายใต้กรอบการค้าเสรีอาเซียนในช่วงต้นปี 2553

"การดำเนินนโยบายการเงินด้วยอัตราดอกเบี้ยที่ระดับต่ำของ กนง.ยังคงเป็นสิ่งจำเป็นในการช่วยประคับประคองเศรษฐกิจไทยให้สามารถฟื้นตัวขึ้นได้อย่างมีเสถียรภาพ และ กนง.ก็น่าจะยังพอมีความยืดหยุ่นให้สามารถดำเนินการได้อยู่อย่างน้อยก็ในระยะเวลาอันใกล้นี้" เอกสารเผยแพร่ ระบุ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ระบุว่า แม้จังหวะเวลาของการปรับเปลี่ยนนโยบายการเงินจากระดับผ่อนคลายเป็นพิเศษไปสู่ระดับในภาวะปกติหรือนโยบายที่มีความเข้มงวดมากขึ้นกว่าเดิมอาจมีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับพื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ แต่การตัดสินใจนโยบายอัตราดอกเบี้ยของไทย โดย กนง.คงไม่อาจละเลยการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางที่สำคัญในโลกโดยเฉพาะธนาคารกลางสหรัฐฯ ไปได้

ทั้งนี้ เนื่องจากความแตกต่างของอัตราดอกเบี้ยในและต่างประเทศอาจมีอิทธิพลส่วนหนึ่งต่อกระแสการเคลื่อนย้ายเงินทุนระหว่างประเทศและทิศทางอัตราแลกเปลี่ยน ดังนั้น กนง.คงจะต้องชั่งน้ำหนักและพิจารณาถึงปัจจัยนี้ในการกำหนดนโยบายการเงินเพื่อรักษาสมดุลของเสถียรภาพทางเศรษฐกิจโดยรวม ซึ่งรวมถึงเสถียรภาพของค่าเงินบาท

สำหรับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในเวียดนามและดูไบนั้น แม้ว่าโดยพื้นฐานแล้วคาดว่าผลกระทบต่ออัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ(GDP) ของไทยในปี 53 จะมีจำกัด แต่สถานการณ์ดังกล่าวสะท้อนถึงความเปราะบางของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจโลก และยังคงไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนในทันทีขณะนี้ว่าสถานการณ์ของทั้ง 2 ประเทศจะใช้เวลานานเพียงใดกว่าที่จะคลี่คลายเป็นปกติ

ดังนั้น ธนาคารกลางทุกแห่งทั่วโลก รวมถึง ธปท.คงจะต้องติดตามความคืบหน้าของประเด็นซึ่งถือว่าเป็นความเสี่ยงนี้อย่างใกล้ชิดต่อไป ขณะที่การเข้าไปดูแลความเสี่ยงของภาวะฟองสบู่ในตลาดสินทรัพย์ของเศรษฐกิจบางประเทศ เช่น จีน, ฮ่องกง, ไต้หวัน และเกาหลีใต้ เป็นต้น อาจมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มความเสี่ยงขาลงให้กับเศรษฐกิจไทยไม่มากก็น้อย และส่งผลตามมาให้ กนง.จำเป็นต้องตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำเป็นเวลานานขึ้นกว่าที่คาดไว้เดิม
krungthepturakij**********
27/11/52
สินเชื่อบ้านบูมส่งท้ายปี มาตรการลดภาษีใกล้จบ
ทันหุ้น – แบงก์เตรียมโกยสินเชื่อบ้าน เชื่อไตรมาส 4 ลูกค้าแห่ขอสินเชื่อแน่น เหตุใกล้หมดมาตรการกระตุ้น จากการนำเงินต้นไปลดภาษี SCB โว 10 เดือนยอดปล่อยกูบ้านโต 4 หมื่นล้านบาท ด้าน KBANK เผย 10 เดือน กวาดสินเชื่อ 2.6 หมื่นล้านบาท คุยอีก 2 เดือนคว้าอีก 6 พันล้านบาท
นายรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) SCB เปิดเผยว่า
มาตราการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์โดยให้ผู้กู้ซื้อที่อยู่อาศัยนำเงินต้น3แสนบาทมาลดหย่อนภาษีที่จะหมดอายุภายในปีนี้นั้น ส่วนตัวมองว่าในช่วงที่แหลือของปีนี้จะเริ่มมีกลุ่มลูกค้าเริ่มทยอยกู้ซื้อที่อยู่อาศัยมากขึ้นซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนให้สินเชื่อของธนาคารเป็นไปตามเป้ามากขึ้นด้วย ส่วนในกรณีมาตรการเว้นค่าโอนที่อยู่อาศัยที่จะหมดอายุภายในเดือน มีนาคม 2553 นั้นส่วนตัวยังไม่สามารถประเมินได้เพราะเป็นการประมาณการที่ไกลเกินไปอย่างไรก็ตามคาดว่ารัฐบาลจะไม่ต่ออายุมาตราการดังกล่าวแต่จะหามาตราการอื่นมาใช้แทน
โดย ช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารเพิ่มมาที่ 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งคาดว่าสิ้นปีจะสามารถปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยอยู่ที่ 5.5 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2551 ที่ปล่อยสินเชื่ออยู่ที่ 5.4 หมื่นล้านบาท ขณะที่สินเชื่อคงค้างปีนี้อยู่ที่ 2.5 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่อยู่ 2 แสนล้านบาท หรือเติบโต 5-10% ส่วนสินเชื่อใหม่ที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยนั้นเนื่องจากในช่วงต้นปีเป็นช่วงที่เศรษฐกิจชะลอตัว
นายชาติชาย สุนทรเกียรติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) KBANKกล่าวว่ามาตราการภาษีว่า รัฐบาลจะไม่ต่ออายุภาษีเงินต้น 3 แสนล้านบาทที่จะหมดอายุภายในปีนี้ เพราะฉะนั้นในช่วงท้ายปีจะเริ่มมีกลุ่มลูกค้าโอนที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันเชื่อว่าทางรัฐบาลจะต่ออายุมาตรการเว้นค่าโอนที่จะหมดอายุในเดือนมีนาคม 2553 เพื่อเป็นการกระตุ้นความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น
สำหรับการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมาอยู่ที่ 2.5-2.6 หมื่นล้านบาทและในช่วง 2 เดือนที่เหลือของปีนี้คาดว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อเพิ่มได้อีกอย่างน้อย 6 พันล้านบาท เนื่องจากการที่เศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้นส่งผลให้ความต้องการสินเชื่อที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น อีกทั้งยังเป็นช่วงที่อัตราดอกเบี้ยทรงตัวอยู่ในระดับต่ำส่งผลให้ความต้องการที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น
โดยปีนี้คาดว่าจะสามารถปล่อยสินเชื่อใหม่อยู่ที่ 3.1-3.2 หมื่นล้านบาท ซึ่งสินเชื่อจะเติบโตสุทธิอยู่ที่ 2.2 หมื่นล้านบาทหรือเติบโตอยู่ที่ 10% ขณะที่สินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 1.25 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่มีสินเชื่อคงค้างอยู่ที่1.13แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเป้าที่ตั้งไว้ตั้งแต่ต้นปีที่สินเชื่อเติบโตเพียง 5% ขณะที่สินเชื่อที่อยู่อาศัยในระบบคาดเติบโตเพียง 6-7%เท่านั้น
ซึ่งสินเชื่อใหม่ที่เริ่มเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมานั้น ครึ่งหนึ่งเป็นการปล่อยสินเชื่อให้กับโครงการของผู้ประกอบการที่เป็นพันธมิตรกับทางธนาคารและอีกครึ่งหนึ่งเป็นการปล่อยสินเชื่อให้กับรายย่อยทั่วไป ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีพันธมิตรที่เป็นผู้ประกอบการมากกว่า 100 บริษัท ซึ่งแบ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) 30 บริษัท
ทั้งนี้คาดว่าในปี 2553 ธนาคารจะมีพันธมิตรที่เป็นผู้ประกอบการมากขึ้นซึ่งเป็นทั้งผู้ประกอบการที่จดทะเบียนในตลาดและไม่ได้จดทะเบียนในตลาดซึ่งคาดว่าจะมีพันธมิตรไม่น้อยกว่า 200 บริษัท เพราะเป็นช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มขยายตัวดีขึ้น เพราะฉะนั้นมั่นใจว่าในปี 2553 สินเชื่อที่อยู่อาศัยของธนาคารจะเติบโตมากกว่า 10%อย่างแน่นอน
ขณะเดียวกันในช่วงที่ภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้นในปี 2553 และสภาพคล่องในระบบยังทรงตัวสูงนั้น ส่วนตัวเชื่อว่าจะยังไม่เห็นการเข้า “เก็งกำไร” ที่อยู่อาศัยเนื่องจากหลังจากการเข้าสำรวจพบว่าดัชนีราคาที่อยู่อาศัยไม่ปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงเร็ว ซึ่งเฉลี่ยแล้วราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้นเพียง 4-5%ต่อปีเท่านั้น เพราะฉะนั้นการซื้อที่อยู่อาศัยในปัจจัยจะเป็นการซื้อเพื่ออยู่ไม่ใช่ซื้อเพื่อ “เก็งกำไร”

*************
24/11/52
หุ้นกลุ่มแบงก์ยังลงทุนได้ 3 โบรกใจตรงกัน KBANK น่า "ซื้อ"

Posted on Tuesday, November 24, 2009
บริษัทหลักทรัพย์หลายรายได้ให้น้ำหนักการลงทุนกลุ่มธนาคาร “มากกว่าตลาด” (Overweight) จากมุมมองเชิงบวกต่อแนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ทรงตัวในระดับต่ำ ประกอบกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐช่วยกระตุ้นความต้องการสินเชื่อเพิ่มขึ้นส่งผลบวกต่อรายได้ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามมา

บล. กรุงศรีอยุธยา - เลือกหุ้น Top Pick ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไว้ 2 ตัว คือ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) และบมจ. ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (TISCO) โดยแนะนำ “ซื้อ” KBANK ให้ราคาที่เหมาะสมไว้ที่ 96 บาท เพราะเชื่อว่า KBANK จะได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ช่วยกระตุ้นสินเชื่อเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การซื้อหุ้นเพิ่มในบริษัท เมืองไทย กรุ๊ป โฮลดิ้ง ส่งผลให้ KBANK สามารถขยายขอบเขตไปยังธุรกิจประกันชีวิต ซึ่งสนับสนุนการขยายตัวของรายได้ค่าธรรมเนียม และช่วยเพิ่มศักยภาพของยุทธศาสตร์การให้บริการครบวงจรแข็งแกร่งขึ้นในระยะยาว

นอกจากนี้ ยังได้แนะนำ “ซื้อ” TISCO โดยให้ราคาที่เหมาะสมไว้ที่ 27.50 บาท จากสินเชื่อที่ขยายตัวโดดเด่น และคุณภาพสินเชื่อที่แข็งแกร่ง โดยมีอัตราส่วนหนี้เสีย (NPL ratio) ต่ำที่สุดในกลุ่มธนาคาร อีกด้วย

บล. ฟิลลิป - แนะนำ "ลงทุนมากกว่าปกติ" สำหรับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ โดยมองหุ้นกลุ่มธนาคารยังน่าเข้าสะสมจากเป้าสินเชื่อปีหน้าที่แสดงการขยายตัวในทิศทางที่ดีขึ้น รวมถึงคุณภาพสินทรัพย์ที่ยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยหุ้น Top Pick ได้แก่
- ธนาคารกรุงเทพ (BBL) ให้ราคาไว้ที่ 140 บาท
- ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) ที่ 102.20 บาท
- ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ให้ราคาไว้ที่ 101 บาท
- บมจ. ทิสโก้ไฟแนนเชียลกรุ๊ป (TISCO) ไว้ที่ 28.75 บาท

บล. ยูไนเต็ด - ยังคงแนะนำ "ซื้อ" KBANK ให้ราคาไว้ปี 2553 ไว้ที่ 95 บาท โดยมองว่า KBANK มีความสามารถในการบริหารส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) และจัดการหนี้เสียที่มีประสิทธิภาพ ส่วน BBL จะได้รับผลดีจากการเป็นธนาคารขนาดใหญ่ที่น่าจะได้เงินกู้ร่วม (Syndicate Loans) จากสินเชื่อโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ และคาดว่าน่าจะมีกำไรในจำนวนที่มีนัยสำคัญจากการขายหุ้นธนาคารสินเอเซีย (ACL) ในเร็วๆ นี้ โดยให้ราคาหุ้นที่เหมาะสมของ BBL ปี 2553 ไว้ที่ 140 บาท

นอกจากนี้ บล. ยูไนเต็ด ยังให้ราคาที่เหมาะสมปี 2553 ของ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) ไว้ที่ 24.40 บาท โดยมองว่ากำไรจะเติบโตสูงขึ้นมากในปี 2553 จากผลการรวมกิจการที่ซื้อเข้ามาสร้างรายได้ให้เต็มปี จึงยังแนะนำ "ซื้อ"
money news update
**********
19/11/52
ปีหน้าธนาคารเพื่อการบริโภคจะดี
บทวิเคราะห์ซิตี้กรุ๊ป วันที่ 18 พ.ย. 2552 วิเคราะห์กลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย และแนะนำซื้อหุ้นธนาคารที่มุ่งสินเชื่อเพื่อการบริโภค

ทั้งธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ธนาคารกรุงศรีอยุธยา (BAY) และบริษัท ทิสโก้ ไฟแนนเชียล กรุ๊ป (TISCO)

การใช้จ่ายของภาครัฐที่ล่าช้าและอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ต่ำส่งผลกระทบต่อการลงทุนของทั้งภาครัฐและเอกชนที่จะทำให้อัตราการเติบโตเศรษฐกิจ (จีดีพี) ปี 2553 ไม่ได้เกิดจากการลงทุน แต่จะเกิดจากการบริโภคของเอกชนและการส่งออก เช่นเดียวกับที่เคยเกิดขึ้นในปี 2543-2546 หลังวิกฤตการณ์สถาบันการเงินปี 2540

ภายใต้โครงสร้างเศรษฐกิจปัจจุบันที่การบริโภคของภาคเอกชนใกล้ 60% ของจีดีพีทั้งหมด การออมของภาคครัวเรือนที่มีมาก หนี้ต่ำและดอกเบี้ยต่ำส่งผลดีต่อการบริโภคสินค้า โดยเฉพาะตัวเลขการว่างงานที่นิ่ง

ซิตี้กรุ๊ปเชื่อว่า การบริโภคของภาคเอกชนจะเป็นตัวผลักดันจีดีพี ปี 2553 แทนที่การฟื้นตัวจากการลงทุนของภาครัฐและเอกชน

ท่ามกลางธนาคารพาณิชย์ไทยทั้งกลุ่มทั้ง SCB, BAY และ TISCO เป็นธนาคารที่ปล่อยสินเชื่อรายย่อยในสัดส่วนสูง ท่ามกลางความหวังผลดีจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจไทยเข้มแข็งจากความต้องการสินเชื่อเพื่อการลงทุนที่จะทำให้เกิดสินเชื่อรายใหญ่

“เราคาดว่าการเติบโตของจีดีพีปีหน้าจะมาจากการบริโภคภายในมากกว่าการลงทุนของภาครัฐและเอกชน”

ซิตี้กรุ๊ปทบทวนประมาณการกำไรธนาคารปีนี้และปีหน้าภายหลังผลประกอบการไตรมาส 3 ประกาศออกมาแล้ว ที่การบริโภคภายในนำการลงทุน ได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรสุทธิ 10%, 16% และ 11% สำหรับปี 2552, 2553 และ 2554 ด้วยประมาณการสำรองที่ลดลงซึ่งส่งผลให้กำไรเพิ่มขึ้น

ส่งผลให้ประมาณการกำไร SCB เพิ่มขึ้น 19% จากปี 2552 ด้วยส่วนต่างดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ที่สูงขึ้นจากการเน้นปล่อยกู้เช่าซื้อรถยนต์ขนาดใหญ่และสินเชื่อเพื่อลูกค้าขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs)

BAY กำไรเพิ่มขึ้น 16% เพราะ NIM สูงขึ้นรวมถึงรายได้ค่าธรรมเนียมที่เติบโตจากการรวมกิจการกับจีอี มันนี่

TISCO กำไรเติบโต 15% จากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของสินเชื่อและ NIM อยู่ในช่วงขาขึ้น

ซิตี้กรุ๊ปปรับเกรดหุ้น SCB และ BAY จากขายเป็นซื้อและยังคงคำแนะนำซื้อหุ้น TISCO และธนาคารนครหลวงไทย (SCIB)

นอกจากนั้น ยกเกรดหุ้นธนาคารกรุงไทย (KTB) จากขายเป็นถือและยังคงคำแนะนำขายหุ้นธนาคารกรุงเทพ (BBL) ธนาคาร กสิกรไทย (KBANK) และธนาคารทหารไทย (TMB)

KBANK และ SCB แถลงถึงเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อในปี 2553 โดย KBANK ตั้งเป้าสินเชื่อเติบโต 7-9% จากปี 2552 หรือเพิ่มขึ้น 6.3-8.1 หมื่นล้านบาท โดยเน้นการเติบโตในกลุ่ม SMEs (10% จากปี 2552) และรายย่อย

ส่วน SCB ตั้งเป้าสินเชื่อสุทธิ ปี 2553 คาดว่าจะเติบโตได้เกือบ 2 เท่าของจีดีพีที่คาดการณ์ไว้ 3-4% โดยเน้นการเติบโตทั้งกลุ่มสินเชื่อรายย่อย ซึ่งประกอบด้วยสินเชื่อที่อยู่อาศัยและเช่าซื้อรถยนต์ รวมไปถึงสินเชื่อ SMEs และสินเชื่อรายใหญ่

เป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อสุทธิ ปี 2553 ของธนาคารทั้งสองแห่ง เป็น เครื่องบ่งชี้ทิศทางการเติบโตของสินเชื่อสุทธิ ปี 2553 ของทั้งกลุ่มได้ โดยฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส ประเมินการเติบโตของสินเชื่อสุทธิ ปี 2553 ของกลุ่มธนาคาร (7 แห่งที่ศึกษา) ที่ระดับ 7.2% จากปี 2552

ทั้งนี้ ธนาคารส่วนใหญ่มีการคาดหมายการเติบโตของจีดีพีในระดับที่ใกล้เคียงกันราว 3-4% ซึ่งโดยปกติแล้วการเติบโตของสินเชื่อสุทธิจะสอดคล้องกับการเติบโตของจีดีพีและส่วนใหญ่จะเติบโตในระดับสูงกว่า คือในระดับเฉลี่ย 1.5-2 เท่าของจีดีพี

เป้าหมายการเติบโตของสินเชื่อสุทธิของทั้ง KBANK และ SCB ได้มีการให้ข้อมูลแล้วจากการประชุมนักวิเคราะห์ในช่วงที่ผ่านมาภายหลังการประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3 ปี 2552 ซึ่งฝ่ายวิจัยได้ทยอยนำเสนอไปแล้ว

อย่างไรก็ตาม สำหรับทิศทางการเติบโตของสินเชื่อสุทธิในปี 2552 พบว่าส่วนใหญ่ทำได้ต่ำกว่าเป้าหมายทั้ง KBANK และ SCB โดย KBANK ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า สินเชื่อสุทธิ ปี 2552 จะเติบโตต่ำกว่า 3% เทียบกับเป้าที่ตั้งไว้ 4-5% ปี 2551

เช่นเดียวกับ SCB แม้ประเมินว่าสินเชื่อสุทธิทั้งปี 2553 จะพลิกกลับมาแสดงการเติบโตที่เป็นบวกได้ แต่ยังคงต่ำกว่าเป้าหมายเช่นกัน ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยยังคงคำแนะนำลงทุนด้วยน้ำหนักเท่ากับตลาดในหุ้นกลุ่มธนาคาร โดยหุ้นที่นักวิเคราะห์ บล.เอเซีย พลัส แนะนำให้ลงทุนสูงสุด คือ KBANK (ซื้อ : มูลค่าที่เหมาะสม 103.06 บาท), KTB (ซื้อ : มูลค่าที่เหมาะสม 11.02 บาท) และ BAY (ซื้อ : มูลค่าที่เหมาะสม 25.64 บาท)

สินเชื่อ 9 เดือนแรกปี 2552 (7 แห่งที่ บล.ยูไนเต็ด วิเคราะห์) แม้ยังติดลบ 4% แต่มีแนวโน้มดีขึ้นจากแผนกระตุ้นเศรษฐกิจระยะ 2 ขณะที่หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Gross NPL) เดือนมิ.ย. 2552 เริ่มลดเหลือ 5.98% จาก 6.21% เมื่อเดือนมี.ค. 2552

NIM ที่ลดลงในไตรมาสแรก ปี 2552 จากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยตั้งแต่ต้นปีเริ่มทรงตัวในไตรมาส 2-3 ปี 2552 แต่จะดีขึ้นในไตรมาส 4 ปี 2552 หลังต้นทุนเงินฝากสูงถูกแทนด้วยต้นทุนเงินฝากต่ำ คาดว่ากลุ่มธนาคาร (7 แห่ง) ในไตรมาส 4 ปี 2552 มีกำไรสุทธิ 20,328 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 4% จากไตรมาส 3 แต่ลดลง 2% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน

ธนาคารไทยมีฐานะเงินกองทุนแข็งแกร่งเพราะไม่มีปัญหางบดุล (Balance Sheet Problem) เหมือนในต่างประเทศ โดย ณ สิ้นเดือน พ.ค. 2552 อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงสูงถึง 15.6%

บริษัทใหญ่ที่หันมากู้ในประเทศมากขึ้น และสินเชื่อภาครัฐและรัฐวิสาหกิจจะทำให้สินเชื่อรายใหญ่เติบโตแทนสินเชื่อ SMEs ที่ธนาคารระมัดระวังในการปล่อยกู้มากขึ้น นอกจากนี้ สินเชื่อรายย่อยโดยเฉพาะสินเชื่อเคหะของทุกธนาคารก็เติบโตได้ดีมากจากดอกเบี้ยที่ยังต่ำอยู่

มองในเชิงพื้นฐาน บล.ยูไนเต็ด ชอบ BAY (เป้าหมาย 24.40 บาท), KBANK (เป้าหมาย 95 บาท)
posttoday**************
18/11/52
แบงก์เฮโล ขอโตเท่าตัว
สองแบงก์ใหญ่วางเป้าปีหน้าโตพรวดพราด มั่นใจเศรษฐกิจฟื้นดันสินเชื่อรายย่อย-เอสเอ็มอีตัวชูโรง

ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งเตรียมเปิดเกมรุกสินเชื่อในปีหน้า หลังจากปีนี้อัตราขยายตัวของสินเชื่อปีนี้ต่ำกว่าเป้าหมาย โดยส่วนใหญ่มองว่าสินเชื่อรายย่อย ที่อยู่อาศัยและเช่าซื้อยังคงเป็นเป้าหมายหลัก
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อปี 2553 วงเงิน 6.3-8.1 หมื่นล้านบาท เติบโต 7-9% จากฐานสินเชื่อรวมที่ 8-9 แสนล้านบาท โดยคาดการณ์ว่าจีดีพีขยายตัว 3-3.5% เน้นการเติบโตจากสินเชื่อธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) และสินเชื่อรายย่อยเป็นหลัก

นายประสาร กล่าวว่า สินเชื่อ เอสเอ็มอีมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้น ปีหน้าตั้งเป้าเติบโต 10% เช่นเดียวกับสินเชื่อรายย่อยเพื่อการอุปโภคบริโภคยังเติบโตได้ต่อเนื่อง เพราะไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจมากนัก และหากความเชื่อมั่นในตลาดฟื้น ความต้องการบริโภคจะยิ่งเพิ่มขึ้น ส่วนสินเชื่อองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่มีแนวโน้มเติบโตน้อยลง โดย ปีหน้าจะขยายตัว 3-4%

นายประสาร กล่าวว่า ปีนี้คาดว่าสินเชื่อรวมของธนาคารจะเติบโต 3% ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ 4-5% และสินเชื่อทั้งระบบปีนี้น่าจะโต 0%

สำหรับปัจจัยเสี่ยงเศรษฐกิจไทยคือ ปัญหาการเมืองที่จะกลายเป็นตัวฉุด หากแก้ไขไม่ได้ก็แย่ เพราะปัจจัยด้านอื่นๆ เริ่มฟื้นตัวหมดแล้ว

นอกจากนั้น การที่รัฐบาลใช้งบประมาณเพื่อประคองเศรษฐกิจเป็นสิ่งจำเป็น แต่หากใช้มาตรการนี้ไปเรื่อยๆ จะกลายเป็นภาระทางการคลัง และรัฐบาลต้องมีความโปร่งใสในการใช้เงิน เพราะทุกวันนี้ประชาชนเริ่มตั้งข้อสังเกตบ้างแล้วในการทำโครงการต่างๆ เพราะเงินทุกบาททุกสตางค์เป็นเงินภาษีของประชาชน

นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า การเติบโตสินเชื่อปีหน้าจะเป็นไปอย่างก้าวกระโดด เน้นไปยังสินเชื่อที่อยู่อาศัย สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อเอสเอ็มอีและสินเชื่อลูกค้ารายใหญ่ เนื่องจากปีนี้การเติบโตสินเชื่อถือว่าต่ำสุด โดย 9 เดือนที่ผ่านมา สินเชื่อยังติดลบ 1% แต่คาดว่าสิ้นปีนี้สินเชื่อจะกลับมาเป็นบวก

สำหรับสินเชื่อปีหน้าจะเป็นไปตามทิศทางการขยายตัวเศรษฐกิจ ซึ่งปกติจะเติบโตมากกว่า 1 เท่าของจีดีพี โดยคาดการณ์ว่าจีดีพีปีหน้าจะเติบโต 3-4% และอาจเห็นสินเชื่อปีหน้าขยายตัวมากกว่า 5%

นางกรรณิกา กล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐบาลสามารถทำผลงานออกงานได้ดีบางส่วน และไม่ดีบางส่วน ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่จะให้ดีหมดทุกอย่างไม่ได้ แต่หากเศรษฐกิจ ดีขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ก็ต้องยกให้เป็นผลงานของรัฐบาลด้วย

สำหรับทิศทางอัตราดอกเบี้ยในระบบนั้น ธุรกิจธนาคารส่วนใหญ่เห็นตรงกันว่าในช่วงไตรมาสแรกปีหน้ามีโอกาสที่ดอกเบี้ยจะปรับขึ้น

นางกิตติยา โตธนะเกษม รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า อัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์จะเริ่มปรับขึ้นปลายไตรมาสแรกปีหน้า หรืออย่างช้าต้นไตรมาส 2 เพราะธนาคารรู้สึก ได้ถึงเศรษฐกิจที่ดีขึ้นแล้ว ยอดปล่อยสินเชื่อคึกคักขึ้นมากจากหลากหลายอุตสาหกรรม มีเพียงภาคท่องเที่ยวที่ยังไม่ฟื้นเต็มที่
posttoday************
16/11/52
สมาคมธนาคารเชื่อดอกเบี้ยนโยบายปีหน้าขึ้น 0.75 - 1.00%

Posted on Monday, November 16, 2009
นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกรุงไทย ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย ประเมินว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย น่าจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาส 1/53 ทำให้ทั้งปีอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะขยับขึ้นจากปัจจุบันที่อยู่ 1.25% เพิ่มขึ้นอีกประมาณ 0.75 - 1% ตามอัตราเงินเฟ้อที่มีแนวโน้มขยายตัวประมาณ 2-3% แต่สำหรับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารทั้งระบบเชื่อว่าจะขยับเพิ่มขึ้นหลังขึ้นดอกเบี้ยนโยบายสักระยะ เนื่องจากปัจจุบันสภาพคล่องในระบบยังมีอีกเป็นจำนวนมากประมาณ 1.1-1.2 ล้านล้านบาท ดังนั้นโอกาสที่ธนาคารจะปรับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากขึ้นก่อนคงมีน้อย

นายอภิศักดิ์บอกด้วยว่า ภาพรวมการปล่อยสินเชื่อของธนาคารกรุงไทยในปีนี้ คาดว่าจะเติบโตได้เพียง 3-4% หรือ มียอดปล่อยสินเชื่อสุทธิ 3 - 4 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ในระดับ 6-7% ขณะที่ในปีหน้า ธนาคารตั้งเป้าการขยายตัวของสินเชื่อไว้ที่ 7% หรือ มียอดปล่อยสินเชื่อสุทธิ 7.5 หมื่นล้านบาท โดยธนาคารจะได้รับผลดีจากงบลงทุนในโครงการไทยเข้มแข็งของภาครัฐที่จะเบิกใช้ในปีหน้าจำนวน 1.06 ล้านล้านบาท ซึ่งคาดกว่าจะมีส่วนแบ่งในการปล่อยกู้ประมาณ 25% จากงบลงทุนทั้งหมด

ส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้สุทธิ (Net NPL) คาดว่า สิ้นปีจะอยู่ที่ประมาณ 4% และปีหน้าจะลดลงตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย บอกว่า การปล่อยสินเชื่อของธนาคารในปีนี้น่าจะขยายตัวได้ 3% เนื่องจากในไตรมาส 3/52 การปล่อยสินเชื่อเริ่มมีสัญญาณการติดลบน้อยลง ดังนั้นสินเชื่อในไตรมาส 4/52 น่าจะกลับมาเป็นบวกได้ และคาดว่าทั้งปีธนาคารจะปล่อยสินเชื่อได้สุทธิ 3 หมื่นล้านบาท

ส่วนปีหน้าตั้งเป้าไว้ว่าสินเชื่อจะขยายตัวได้ถึง 9% ตามภาวะเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศที่ขยายตัวตามเศรษฐกิจโลก โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ประมาณ 3% อัตราเงินเฟ้ออยู่ที่ 2-3% ทำให้เชื่อว่าการขยายตัวของสินเชื่อน่าจะขยายตัวดีขึ้นในปีหน้า

กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย บอกด้วยว่า ธนาคารตั้งเป้ารายได้จากค่าธรรมเนียมในปีนี้น่าจะขยายตัวได้ 25% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ขณะที่ในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ มีการขยายตัวถึง 14% และในปีหน้าจะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากค่าธรรมเนียมเป็น 30% ของรายได้ทั้งหมดของธนาคาร
money news update
************
13/11/52
3ปัจจัยเสี่ยงกดหุ้นปีขาลไม่สดใส
โพสต์ทูเดย์
— 3 ปัจจัยเสี่ยงทำ หุ้นปีหน้าไม่หวือหวาเท่าปีนี้ เต็มที่ดัชนี 780 จุด บนพื้นฐานกำไรบจ. โต 20%

น.ส.อุสรา วิไลพิชญ์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) เปิดเผยว่า ตลาดหุ้นปีหน้ายังปรับขึ้นได้แต่จะไม่หวือหวาเท่าปีนี้ และมีปัจจัยเสี่ยงที่กระทบคือ 1.เศรษฐกิจโลกไม่ฟื้นอย่างที่คาด แม้ว่าจีนจะโตดี แต่การบริโภคของจีนไม่สามารถชดเชยการบริโภคของสหรัฐที่หายไปได้ สุดท้ายจะกระทบการส่งออก
2.ธนาคารกลางสหรัฐ สหรัฐ ยุโรป และอังกฤษ จะถอนมาตรการอัดฉีดสภาพคล่องออกจากระบบ ซึ่งจะมีผลทำให้สภาพคล่องหายไป และ 3.สถาบันการเงินสหรัฐต้องเพิ่มทุน จะทำให้เม็ดเงินไหลออกจากเอเชีย

นายไพบูลย์ นรินทรางกูร ประธานกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ทิสโก้ กล่าวว่า หุ้นปีหน้าไม่สดใสเพราะสภาพคล่องจะหายไปจากผลการถอนมาตรการกระตุ้นของธนาคารกลางของประเทศต่างๆ และมองว่าดัชนีน่าจะอยู่ที่ระดับ 780 จุดบนพื้นฐานบริษัทจดทะเบียน (บจ.) มีกำไรสุทธิโต 20% ส่วนปีนี้หุ้นขึ้นเกินพื้นฐานไปแล้ว โดยพื้นฐานที่เหมาะสมจะอยู่ที่ 650 จุด

นายก้องเกียรติ โอภาสวงการ ประธานกรรมการบริหาร บล.เอเซีย พลัส (ASP) กล่าวว่า ดัชนีหุ้นมีโอกาสขึ้น 15-20% จากระดับปัจจุบัน เพราะกำไรปี 2552 จะเติบโต 40% จากปี 2551 ส่วนปีหน้าอัตรากำไรจะเติบโตได้อีก 16% แต่หากขึ้นไป 15-20% ต้องระวังเพราะกลางปีหน้าดอกเบี้ยจะขึ้น

นายวิศิษฏ์ องค์พิพัฒน์กุล กรรมการบริหารและหัวหน้าฝ่ายวิจัย บล.ทิสโก้ กล่าวว่า ต้องดู ทิศทางดอกเบี้ยเป็นหลัก เพราะ จะเป็นตัวกำหนดการไหลเข้าของเม็ดเงิน กลยุทธ์ลงทุนช่วงนี้แนะนำลงทุนทองคำ 20-30% อีก 20-30% ลงทุนในตราสารหนี้ และ ที่เหลือ 30-50% แนะลงทุนหุ้นที่มีกำไรโตดี
posttoday************
11/11/52
ยอดรูดปรื๊ดสิ้นปีคึก
กสิกรไทยมั่นใจสัญญาณท่องเที่ยวฟื้นและเทศกาลปลายปี หนุนยอดใช้จ่ายบัตรเครดิตกระเตื้องชัด

นายรุ่งเรือง สุขเกิดกิจพิบูลย์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ สายผลิตภัณฑ์สินเชื่อลูกค้าบุคคล ธนาคารไทยพาณิชย์ เปิดเผยว่า แนวโน้มการใช้จ่ายผ่านบัตรในช่วงปลายปี เริ่มตั้งแต่เดือนต.ค.จนถึงต้นปี 2553 จะปรับดีขึ้นได้ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ
ทั้งนี้ เนื่องจากการใช้จ่ายในประเทศที่เริ่มเพิ่มขึ้น มาจากการท่องเที่ยวเริ่มมีสัญญาณดีขึ้น รวมถึงการเดินทางไปต่างประเทศที่กลับมาคึกคักอีกครั้ง

“อีกไม่นานก็เป็นช่วงเทศกาลปีใหม่และปิดเทอมด้วย น่าจะช่วยกระตุ้นยอดใช้จ่ายให้เพิ่มขึ้นได้ไม่ตกลงอีก” นายรุ่งเรือง กล่าว

ทั้งนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยได้รายงานตัวเลขการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตของธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ ล่าสุด ณ เดือนก.ย. 2552 พบว่า มียอดการใช้จ่ายรวมทั้งสิ้น 7.49 หมื่นล้านบาท ลดลง 2,437 ล้านบาท หรือ 3.15% จากเดือน ส.ค. ที่มี 7.74 หมื่นล้านบาท

สำหรับบัตรเครดิตที่มียอดการใช้จ่ายลดลงมากที่สุด คือบัตรที่ออกโดยธนาคารพาณิชย์ในประเทศซึ่งมียอดใช้จ่ายลดลง 1,694 ล้านบาท บริษัทประกอบธุรกิจบัตรเครดิตที่ มิใช่สถาบันการเงินลดลง 702 ล้านบาท และสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศลด 39 ล้านบาท

ทั้งนี้ ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในประเทศมีจำนวน 5.66 หมื่นล้านบาท ลดลง 1,968 ล้านบาท หรือลบ 3.36% จาก เดือนก่อน ต่างจากปริมาณการใช้จ่ายในต่างประเทศที่มี 3,171 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 422 ล้านบาท หรือ 15.35%

นายรุ่งเรือง กล่าวว่า การปรับลดปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตร รวมระดับ 2,000 กว่าล้านบาท ไม่ได้มีนัยสำคัญต่อการใช้จ่าย ผ่านบัตร และไม่มีผลอะไรเมื่อ เทียบปริมาณการใช้จ่ายทั้งหมด ซึ่งปกติการใช้จ่ายผ่านบัตรจะเน้นการกิน การใช้สันทนาการในครอบครัวและการเดินทาง ซึ่งผันแปรตามภาวะเศรษฐกิจ สุดท้ายคือค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน เจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาล

นายรุ่งเรือง กล่าวว่า ในส่วนของยอดคงค้างของสินเชื่อบัตรเครดิต และสินเชื่อบุคคลที่ลดลงบ้างเป็นเรื่องปกติ แต่ธนาคารยังยึดแนวทางการออกโปรโมชันเพื่อกระตุ้นยอดการใช้จ่ายผ่านบัตรต่อไป เพื่อรักษาระดับการใช้จ่ายให้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตลอดปีต่อไป
posttoday************
10/11/52
'มันนี่ เอ็กซ์โป'ทะลุเป้าหมื่นล้าน สินเชื่อบ้านครองแชมป์กู้มากสุด

'มันนี่ เอ็กซ์โป'ทะลุเป้าหมื่นล้าน สินเชื่อบ้านครองแชมป์กู้มากสุด ผู้เข้าชมงานใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมากว่า 50,000 ราย ส่งผลให้มียอดธุรกรรมรวม 10,000 ล้านบาท จากผู้สมัครใช้บริการรวมกว่า 23,000 ราย

นายสันติ วิริยะรังสฤษฎ์ บรรณาธิการ วารสารการเงินธนาคาร ในฐานะประธานจัดงาน มหกรรมการเงิน เชียงใหม่ ครั้งที่ 4 Money Expo Chiangmai 2009 เปิดเผยผลการจัดงานมหกรรมการเงิน เชียงใหม่ ครั้งที่ 4 ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 6-8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 ที่ผ่านมาว่า ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง มีผู้เข้าชมงานใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมากว่า 50,000 ราย ส่งผลให้มียอดธุรกรรมรวม 10,000 ล้านบาท จากผู้สมัครใช้บริการรวมกว่า 23,000 ราย

ทั้งนี้ สินเชื่อบ้านยังคงเป็นบริการทางการเงินที่ชาวเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงให้ความสนใจสมัครใช้บริการสูงสุดเป็นอันดับ 1 มูลค่าธุรกรรมกว่า 7,200 ล้านบาท จากจำนวนผู้สมัครใช้บริการกว่า 3,500 ราย ส่วนบริการที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับ 2 คือ สินเชื่อเอสเอ็มอี กว่า 1,300 ล้านบาท จากผู้สมัครใช้บริการประมาณ 500 ราย อันดับที่ 3 คือ สินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งมีผู้สมัครใช้บริการ กว่า 3,100 ราย รวมมูลค่าธุรกรรม 260 ล้านบาท ตามติดด้วยอันดับ 4 กองทุนรวม ที่มีผู้ลงทุนในกองทุนสูงถึงกว่า 1,000 ราย รวมเป็นมูลค่ากว่า 230 ล้านบาท

“การที่ผู้เข้าชมงานได้ขอสินเชื่อบ้านจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงความต้องการสินเชื่อบ้านว่ามีสูงมาก ประกอบกับภายในงาน ธนาคารและสถาบันการเงินต่างแข่งขันกันนำเสนอแคมเปญโปรโมชั่นดอกเบี้ยต่ำ เริ่มต้นตั้งแต่ 0% ต่อปีในช่วง 4 – 6 เดือนแรก ทั้งการกู้เงินซื้อบ้านใหม่และการรีไฟแนนซ์ รวมถึงยังมีข้อเสนอพิเศษ เช่น ฟรีค่าธรรมเนียมจัดการสินเชื่อ และของสมนาคุณอีกจำนวนมาก ที่เสนอให้ในงานนี้โดยเฉพาะ ซึ่งทำให้มีผู้มาขอสินเชื่อเป็นจำนวนมาก” นายสันติกล่าว

สินเชื่อเอสเอ็มอี ที่มียอดเป็นอันดับ 2 ก็มีจุดเด่นที่ให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ทั่วไป และยังมีโปรโมชั่นพิเศษ ส่งผลให้ผู้ประกอบการรายใหญ่และรายเล็กให้ความสนใจสมัครขอสินเชื่อจำนวนมาก สะท้อนถึงการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจังหวัดเชียงใหม่และภาคเหนือ

ในปีนี้ กองทุนรวมก็ได้รับความสนใจจากผู้เข้าชมงานจำนวนมากเช่นกัน โดยเฉพาะกองทุนรวม LTF/RMF เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนภาษีช่วงปลายปี อีกทั้งธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนยังได้มอบของสมนาคุณเป็นพิเศษเฉพาะในงานอีกด้วย
manager online
***********
10/11/52
ลดน้ำหนักลงทุนกลุ่มหลักทรัพย์
รายงานโดย :บริษัทหลักทรัพย์ ฟินันเชียไซรัส
มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ 3Q09 ทรงตัว Q-Q แต่เพิ่มขึ้น 77% Y-Y

มูลค่าการซื้อขายหลักทรัพย์ใน 3Q09 อยู่ที่ 2.18 หมื่นล้านบาทต่อวัน ทรงตัว Q-Q แต่เพิ่มขึ้นในอัตราก้าวกระโดดราว 77% Y-Y ตามกระแสเงินทุนไหลเข้าลงทุนในตลาดหุ้นภูมิภาคตามความเชื่อมั่นที่ฟื้นตัว การคาดการณ์ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวขึ้น ค่าเงินเหรียญสหรัฐที่อ่อนค่าลง และผู้เล่นรายใหม่ คือ พอร์ตการลงทุนของโบรกเกอร์ (12-15% ของมูลค่าการซื้อขาย)
นักลงทุนรายย่อยเป็นผู้เล่นหลักครองสัดส่วนการซื้อขายมากที่สุดที่ราว 63% ในไตรมาสนี้ ขณะนักลงทุนต่างชาติยังคงมีสัดส่วนการซื้อขายที่อยู่ในระดับต่ำเพียง 18.1% ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง ซึ่งอยู่ที่ราว 28% แต่กลับมาเป็นผู้ซื้อสุทธิที่ราว 3.5 หมื่นล้านบาท เป็นไตรมาสที่สองติดต่อกัน

คาดกำไรสุทธิกลุ่มหลักทรัพย์ใน 3Q เพิ่ม 335% Y-Y และ 10% Q-Q

คาดการณ์กำไรกลุ่มหลักทรัพย์ 3Q จะเพิ่มขึ้น 335% Y-Y และ 10% Q-Q จากรายได้ค่านายหน้าหลักทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นราว 81% Y-Y และ 6% Q-Q ตามมูลค่าการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ที่ฟื้นตัว และคาดรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการจะเพิ่มขึ้น 73% Y-Y และ 41% Q-Q เนื่องจากมีหุ้น IPO 6 หลักทรัพย์ (BLA GLOBAL S2 SENA SMT และ MOONG) มูลค่าระดมทุนราว 4,400 ล้านบาท เข้าเสนอขายในไตรมาสนี้ (เทียบกับที่ไม่มีเลยใน 3Q09 และเม็ดเงินระดมทุนที่เพียง 768 ล้านบาท ในไตรมาสก่อน) ซึ่งประโยชน์จะตกอยู่กับ KEST BLS และ ASP มากที่สุด ขณะที่คาดบล. ที่มีพอร์ตการลงทุนจะมีกำไรจากเงินลงทุนทรงตัว Q-Q (ตามดัชนีตลาดหุ้นที่ปรับขึ้นราว 20% Q-Q) แต่จะเพิ่มขึ้นราว 320% Y-Y เมื่อเทียบกับ 3Q08 ซึ่งเป็นไตรมาสที่เริ่มเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ

คงคำแนะนำ Underweight โดย Top Pick ของกลุ่มคือ KEST

เรามีแนวโน้มปรับคาดการณ์กำไรกลุ่มหลักทรัพย์ปี 2553 ขึ้นจากอัตราค่าคอมมิชชันแบบใหม่ ซึ่งส่งผลต่อรายได้ค่านายหน้าน้อยกว่าเดิม โดยคาดว่ามูลค่าการซื้อขายปี 2553 เป็น 2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากคาดการณ์ที่ 1.81 หมื่นล้านบาท สำหรับปี 2552
posttoday
************
30/10/52
ธปท.เชื่อภาคธุรกิจฟื้นตัว

ธปท. มั่นใจสินเชื่อภาคธุรกิจฟื้นตัวตามสัญญาณเศรษฐกิจดีขึ้น-ลงทุนภาครัฐเพิ่ม

นางสาวนวพร มหารักขกะ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า ช่วงไตรมาส 4/52 คาดว่าสินเชื่อในระบบธนาคารพาณิชย์จะขยายตัวได้ดีขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อภาคธุรกิจที่หดตัวไปมากในช่วงก่อนหน้านี้ เนื่องจากในช่วงปลายปีนี้เศรษฐกิจมีสัญญาณที่ดีขึ้น ประกอบกับการลงทุนโครงการด้านสาธารณูปโภคภาครัฐเพิ่มขึ้น น่าจะทำให้ความต้องการสินเชื่อของภาคธุรกิจเร่งตัวขึ้นด้วย

"ก็ต้องดูว้าภาคธุรกิจจะเกิดความต้องการสินเชื่อมีมากแค่ไหน เพราะการลงทุนยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน แต่ไตรมาส 3 เทียบกับ 2 ไตรมาสที่ผ่านมาก็มีมากขึ้นแล้ว"นางสาวนวพร กล่าว

อย่างไรก็ตาม ธปท.ยังมุ่งให้ธนาคารพาณิชย์ดูแลความเสี่ยงในระดับที่เหมาะสม ซึ่งหากเศรษฐกิจดีขึ้น การทำกำไรก็อาจจะดีขึ้น แต่ ธปท.คงไม่ห้ามเรื่องการปล่อยสินเชื่อ แต่ธนาคารพาณิชย์ต้องอ่านให้ขาด เพราะที่ผ่านมาธนาคารพาณิชย์บางแห่งหย่อนยานเรื่องหลักเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อ เพราะหากเป็น NPL แล้ว ธนาคารพาณิชย์จะมีภาระเรื่องการกันสำรองมากขึ้น

ธปท.เปิดเผยผลการดำเนินงานของระบบธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3/52 ว่า ระบบธนาคารพาณิชย์โดยรวมมีเสถียรภาพ แต่สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์หดตัวจากช่วงเดียวกันปีก่อนจากที่สินเชื่อธุรกิจหดตัว อย่างไรก็ตาม สินเชื่อ SME เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน ขณะที่เงินฝากขยายตัวชะลอลง สภาพคล่องทรงตัว สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ลดลงเล็กน้อย ทำให้กำไรจากการดำเนินงานค่อนข้างทรงตัว ส่งผลให้ฐานะเงินกองทุนสูงขึ้นเล็กน้อย

สิ้นไตรมาส 3/52 ยอดคงค้างสินเชื่อ 6,471 พันล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 2/52 ประมาณ 9 หมื่นล้านบาท ซึ่งอยู่ที่ 6,560 พันล้านบาท ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของความต้องการสินเชื่อหมุนเวียน ขณะที่สินเชื่อภาคธุรกิจหดตัว แต่ช่วงไตรมาส 4 ความต้องการสินเชื่อน่าจะเพิ่มขึ้น

ด้านเงินฝากขยายตัวชะลอลงจากช่วงเดียวกันปีก่อน 2.2% จากการเบิกถอนเงินของส่วนราชการตามงบประมาณ และการถอนเงินฝากของลูกค้ารายย่อยเพื่อซื้อพันธบัตรรัฐบาลและกองทุนรวม หากรวมการระดมเงินจากการออกตั๋วแลกเงิน (B/E) เข้ากับเงินฝากแล้ว สภาพคล่องของระบบธนาคารพาณิชย์นับว่าทรงตัวเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อน โดยสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากและ B/E เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 85.3% ในไตรมาสก่อน เป็น 85.4%

ทั้งนี้ เงินฝากไตรมาส 3/52 อยู่ที่ 6,845 พันล้านบาท จากไตรมาส 2/52 อยู่ที่ 6,913 พันล้านบาท ลดลงประมาณ 7 หมื่นล้านบาท ส่วนสินทรัพย์ของระบบธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ 9,989 พันล้านบาท

สัดส่วน NPL ต่อสินเชื่อรวมลดลงเล็กน้อยทั้ง gross และ net NPL เหลือ 5.3% และ 2.9% ตามลำดับ เนื่องจาก NPL รายใหม่เพิ่มขึ้นในอัตราที่ชะลอลง ประกอบกับมีการรับชำระคืนหนี้อย่างต่อเนื่อง ส่วนสินเชื่อจัดชั้นกล่าวถึงเป็นพิเศษลดลงเช่นกัน เหลือ 3.5% ของสินเชื่อรวม เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ยังคงดูแลคุณภาพสินเชื่ออย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด NPL ใหม่ อย่างไรก็ดี ความสามารถในการชำระหนี้และคุณภาพสินทรัพย์ขึ้นอยู่กับแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ดังนั้นจึงต้องติดตามอย่างต่อเนื่อง

ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรจากการดำเนินงานใกล้เคียงกับไตรมาสก่อนที่ประมาณ 5 หมื่นล้านบาท อัตราส่วนรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิและเงินปันผลต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Net Interest Margin - NIM) ทรงตัวที่ 2.9% แต่ค่าใช้จ่ายสำรองที่ลดลงในไตรมาสนี้ ทำให้ระบบธนาคารพาณิชย์มีกำไรสุทธิ 2.6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 6 พันล้านบาท อัตราผลตอบแทนต่อสินทรัพย์เฉลี่ย (Return on Asset - ROA) เพิ่มขึ้นเป็น 1% ผลกำไรที่มีอย่างต่อเนื่องดังกล่าว ส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS ratio) เพิ่มขึ้นเป็น 16.5% โดยอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ต่อสินทรัพย์เสี่ยง (Tier - 1 ratio) เพิ่มขึ้นเป็น 12.9%

posttoday************
28/10/52
NPL ไตรมาส 3/52 ทรงตัวที่ 5.7 %

Posted on Wednesday, October 28, 2009
นายสรสิทธิ์ สุนทรเกส ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) บอกว่า ยอดสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทย 16 แห่ง ในไตรมาส 3/52 มียอดคงค้างอยู่ที่ 3.877 แสนล้านบาท คิดเป็น 5.7 % ของสินเชื่อรวม 6.7 ล้านล้านบาท ซึ่งลดลงเล็กน้อยจากไตรมาส 2/52 ที่อยู่ระดับ 3.84 แสนล้านบาท โดยยอด NPL คงค้างส่วนใหญ่ จะอยู่ในภาคอุตสาหกรรมมากที่สุด

ทั้งนี้ NPLไตรมาส 3/52 ที่ทรงตัวจากไตรมาสก่อน เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ที่ขยายตัวไม่มาก ประกอบกับหนี้ NPL ไม่ได้เร่งตัวขึ้น รวมทั้งธนาคารพาณิชย์ได้ปรับโครงสร้างหนี้ ประนอมหนี้ และตัดหนี้สูญด้วย สะท้อนว่า ธนาคารพาณิชย์มีความมั่นคง

นายสรสิทธิ์บอกอีกว่า NPLไตรมาส 4/52 น่าจะทรงตัวในระดับใกล้เคียงกับไตรมาส 3/52 เนื่องจากช่วงหลังธนาคารพาณิชย์เร่งแก้ปัญหาสินเชื่อ ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ ประนอมหนี้ ซึ่งจะทำให้หนี้ NPL ไม่น่าจะสูงขึ้น ส่วนผลกำไรของธนาคารพาณิชย์ ในไตรมาส 3/52 อยู่ในเกณฑ์ดี เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ไม่มีภาระการกันสำรองหนี้เสียมาก และได้ดำเนินการตามเกณฑ์ IAS 39 ที่กันสำรองหนี้เสียไปแล้วตั้งแต่ปลายปี 2551
money news update
**********
26/10/52
สรุปไตรมาส 3 แบงก์กำไรพุ่ง สวนทางเศรษฐกิจซบ

Posted on Monday, October 26, 2009
นายเกริก วณิกกุล รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย บอกว่า ในไตรมาส 3 ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบ มีกำไรสุทธิสูงถึง 24,987 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 5.63% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 23,644 ล้านบาท เนื่องจากในปี 2549 และ 2550 ที่ผ่านมาระบบธนาคารพาณิชย์มีการกันสำรองหนี้สูญ ตามเกณฑ์การบัญชีระหว่างประเทศ หรือ IAS39 ครบถ้วนแล้ว ซึ่งนับเป็นการกันสำรองที่สูงเกินกว่าเกณฑ์กำหนดไว้ 85% ของรายได้ โดยมีทั้งสิ้น 149,000 ล้านบาท ทำให้ในปีนี้ธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องกันสำรองหนี้สูญ

ส่วนแนวโน้มการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ จะยังเห็นภาพที่มีความระมัดระวังในการปล่อยสินเชื่อต่อไป เพื่อไม่ให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือ หนี้ NPL เพิ่มขึ้น

สำหรับกำไรของธนาคารพาณิชย์ในไตรมาส 3 ธนาคารไทยพาณิชย์ มีกำไรสุทธิสูงสุด 5,200 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 ธนาคารกรุงไทย มีกำไรสุทธิ 4,250 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.45% จากช่วงเดียวกันปีก่อน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา มีกำไรสุทธิ 2,176 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 114% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันปีก่อน

ด้านของ NPL ช่วง 9 เดือน ของธนาคารพาณิชย์ทั้ง 12 แห่ง เพิ่มขึ้นเพียง 3,405 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นไม่ถึง 1% ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 7% ของสินเชื่อรวม หลังจากธนาคารพาณิชย์คุมเข้มการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และหันมาสร้างรายได้จากค่าธรรมเนียมแทน
money news update
**********
22/10/52
สินเชื่อแบงก์เดือนก.ย.ลดกว่า1.2หมื่นล้าน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยสินเชื่อแบงก์ทั้งระบบในเดือนก.ย.ลดลงกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท สวนทางเงินฝากเพิ่มขึ้นกว่า 2.91% เมื่อเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน
รายงานตัวเลขสินเชื่อ เงินฝาก และสินทรัพย์ ในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ตามฐานข้อมูลที่ปรากฏในแบบรายงาน ธ.พ. 1.1 ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 ดังนี้ ยอดคงค้างสินเชื่อ (หักค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญแล้ว) ในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย เดือนกันยายน 2552 มีจำนวน 5,580,448 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 12,895 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลง 0.23% และลดลงเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันปีก่อน 2.10% สำหรับการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า พอสรุปได้ดังนี้

โดยกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง สินเชื่อปรับตัวลดลงจากเดือนก่อนหน้า จำนวน 23,143 ล้านบาท หรือลดลง 0.62% ตามการลดลงของสินเชื่อธนาคารกรุงไทยเป็นหลัก จำนวน 30,783 ล้านบาท และธนาคารไทยพาณิชย์ สินเชื่อลดลงจำนวน 1,570 ล้านบาท ส่วนธนาคารกรุงเทพ และกสิกรไทย มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นจำนวน 7,513 และ 1,697 ล้านบาท ตามลำดับ

กลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง สินเชื่อปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า 10,715 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเพิ่ม 0.80% ตามการเพิ่มของสินเชื่อธนาคารกรุงศรีอยุธยา และทหารไทย จำนวน 9,966 และ 1,573 ล้านบาทตามลำดับ ขณะที่ธนาคารนครหลวงไทย และธนชาต มีสินเชื่อลดลงเล็กน้อย

ส่วนกลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง สินเชื่อลดลงจากเดือนที่แล้ว 467 ล้านบาท หรือลดลง 0.09% ตามการลดลงของสินเชื่อธนาคารสินเอเซีย สแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย ซีไอเอ็มบีไทย และทิสโก้ จำนวน 1,002 928 241 และ 236 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนธนาคารยูโอบี และเกียรตินาคิน มีสินเชื่อเพิ่มขึ้นจำนวน 1,586 และ 355 ล้านบาท ตามลำดับ

ส่วนผลการดำเนินงานด้านเงินฝากในระบบธนาคารพาณิชย์ไทยเดือนกันยายน 2552 มียอดคงค้างทั้งสิ้น 6,367,033 ล้านบาท ลดลงจากเดือนที่แล้ว 16,858 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการลดลง 0.26% แต่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อน 2.91% สำหรับการเปลี่ยนแปลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า พอสรุปได้ดังนี้

กลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ 4 แห่ง เงินฝากปรับตัวลดลง 41,332 ล้านบาท หรือลดลง 0.94% นำโดยธนาคารกรุงเทพ กรุงไทย และไทยพาณิชย์ มีเงินฝากลดลงจำนวน 18,609 18,504 และ 9,892 ล้านบาทตามลำดับ ส่วนธนาคารกสิกรไทย มีเงินฝากเพิ่มขึ้นจำนวน 5,673 ล้านบาท

กลุ่มธนาคารขนาดกลาง 4 แห่ง เงินฝากเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 17,452 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.19% นำโดยธนาคารกรุงศรีอยุธยา และทหารไทย มีเงินฝากเพิ่มขึ้น 26,008 และ 14,067 ล้านบาทตามลำดับ ขณะที่ธนาคารนครหลวงไทย และธนชาต มีเงินฝากลดลงจำนวน 13,696 และ 8,927 ล้านบาทตามลำดับ

กลุ่มธนาคารขนาดเล็ก 6 แห่ง เงินฝากเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วจำนวน 7,021 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเพิ่ม 1.40% นำโดยธนาคารเกียรตินาคิน สินเอเซีย ยูโอบี และทิสโก้ มีเงินฝากเพิ่มขึ้น 7,585 3,214 2,922 และ 1,137 ล้านบาทตามลำดับ ขณะที่ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดไทย และซีไอเอ็มบีไทย มีเงินฝากลดลง 5,152 และ 2,684 ล้านบาท ตามลำดับ

ขณะที่ สินทรัพย์รวมในระบบธนาคารพาณิชย์ไทย ณ วันที่ 30 กันยายน 2552 มีจำนวน 8,622,882 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้า 12,534 ล้านบาท หรือ 0.15% ตามการเพิ่มของสินทรัพย์ธนาคารไทยพาณิชย์ และกรุงศรีอยุธยา เป็นหลัก จำนวน 37,474 และ 36,865 ล้านบาทตามลำดับ
กรุงเทพธุรกิจ
**********
21/10/52
แบงก์กำไรโต5.6%ไตรมาส3 อนาคตรุ่ง-ร่วงลุ้นยอดสินเชื่อ
12 ธนาคาร โชว์กำไรไตรมาส 3 กว่า 2.4 หมื่นล้านดีขึ้น 5.68% จับตาไตรมาส 4 มีโอกาสโตตามสินเชื่อ

ธนาคารพาณิชย์รวม 12 แห่ง ประกาศผลการดำเนินงานงวด ไตรมาส 3 ปี 2552 มีกำไรสุทธิรวมทั้งสิ้น 2.49 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.68% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ที่มีกำไรสุทธิ 2.36 หมื่นล้านบาท
นายอดิศักดิ์ คำมูล ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์ บล.เคจีไอ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า ภาพรวมกำไรไตรมาส 3 ของธนาคารพาณิชย์ถือว่าดีกว่าที่ตลาดคาดไว้ และถ้าดูเฉพาะ 5 ธนาคารขนาดใหญ่ จะเห็นว่ามีกำไรเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้าประมาณ 12% ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ดี

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ต้องดูว่าไตรมาส 4 กำไรจะดีขึ้นหรือลดลง เพราะในไตรมาสสุดท้ายของปีจะเป็นช่วงที่ธนาคารจะมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการตั้งสำรองหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และหากขยายสินเชื่อได้ดีก็จะช่วยชดเชยรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นได้

“แม้กำไรธนาคารจะออกมาดี แต่ราคาหุ้นได้ขึ้นไปรับข่าวแล้วก่อนหน้า จึงอาจเห็นการขายทำกำไรหุ้นออกมาของนักลงทุนที่มีต้นทุนต่ำ” นายอดิศักดิ์ กล่าว

นอกจากนี้ ในระยะยาวหากนักลงทุนมองว่าเศรษฐกิจฟื้นตัว และปีหน้าจะเติบโตได้ 3-4% ก็มีโอกาสที่สินเชื่อจะขยายตัวได้ในระดับเดียวกัน ก็จะทำให้มีแรงซื้อหุ้นธนาคารและช่วยดันดัชนีหุ้นได้ แต่ทางกลับกันหากนักลงทุนมองสั้นๆ ว่าไตรมาส 4 จะไม่ดีเท่าไตรมาส 3 ก็จะเห็นการขายหุ้นออกมาได้เช่นกัน

นายวิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ผลประกอบการที่ดีของธนาคารแสดงให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและมีความพร้อมที่จะเข้าสู่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจด้วยการมีเงินกองทุน ผลกำไรสุทธิ และผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้นในระดับสูง มีมูลค่าตลาดรวมสูงเป็นอันดับ 1 ในกลุ่มสถาบันการเงินของประเทศ

สำหรับผลกำไรสุทธิที่ดีขึ้นนั้น มาจากการเติบโตอย่างแข็งแกร่งของรายได้ค่าธรรมเนียม โดยเฉพาะจากธุรกิจบัตรเครดิตและผลิตภัณฑ์กองทุนรวม
posttoday
***********
20/10/52
KBANKคาด กนง.ขึ้น ดบ.นโยบาย Q2/53
นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กล่าวว่า คาดการณ์ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) จะมีมติขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงประมาณไตรมาส 2 ปี 2553 โดยการปรับขึ้นดังกล่าวเพื่อไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงคาดว่าการปรับขึ้นจะเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยอาจปรับขึ้นประมาณ 0.25% จากระดับปัจจุบันอยู่ที่ 1.25%

อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าในช่วงต้นไตรมาส 2/2553 จะเริ่มมีการแข่งขันทางด้านอัตราดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์รุนแรงมากขึ้น โดยภาวะการแข่งขันจะขึ้นอยู่กับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและความต้องการสินเชื่อ โดยแม้ขณะนี้ความต้องการสินเชื่อดีขึ้น แต่ยังไม่เข้มแข็งเต็มที่

'ช่วงนี้อัตราดอกเบี้ยต่ำทั้งประเทศไทยและตลาดโลก คาดว่า Q2/53 ราวๆ กลางปี น่าจะมีการปรับขึ้นของดอกเบี้ยนโยบายได้ ส่วนดอกเบี้ยภาคเอกชนถ้าเมื่อไหร่เริ่มเห็นสัญญาณที่ดอกเบี้ยนโยบายขยับขึ้น ก็เป็นไปได้ว่าดอกเบี้ยของธนาคารพาณิชย์จะปรับขึ้นก่อนเล็กน้อย ซึ่งตอนแรกคาดว่าจะขยับขึ้นช่วงปลายปีนี้ แต่ตอนนี้คาดว่าน่าจะขยับประมาณต้นไตรมาส 2/2553 เพราะความต้องการสินเชื่อยังไม่เข้มแข็งเต็มที่นัก โดยจะขึ้นมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับภาวะการแข่งขัน' นายประสาร กล่าว

ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กล่าวแสดงความคิดเห็นสอดคล้องกันว่า ที่ประชุม กนง.ในวันที่ 21 ต.ค.นี้ จะยังคงอัตราดอกเบี้ยไว้อยู่ที่ 1.25% เนื่องจากปัจจัยเศรษฐกิจภายในประเทศเพิ่งเริ่มต้นด้านการฟื้นตัว จึงต้องพึ่งพาการใช้นโยบายการเงินเพื่อทำการกระตุ้นต่อไป โดยหาก กนง. มีมติปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในขณะนี้จะส่งผลให้การลง
ทุนและการบริโภคชะงักลง

อย่างไรก็ดี คาดว่าอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวจะทรงตัวไปจนถึงต้นปีหน้า จากนั้นจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปไม่เกิน 0.5% โดยดูจากภาวะเศรษฐกิจ เงินเฟ้อ และภาวะการเงินทั้งโลก

'ถ้าแบงก์กลางทั่วโลกขยับดอกเบี้ยขึ้น น่าจะประมาณไตรมาส 2-3 ซึ่งดอกเบี้ยนโยบายของไทยน่าจะขยับตามไม่เกิน 0.5% กลางปีหน้า เพราะสภาพคล่องเราสูงไม่จำเป็นต้องขยับไปก่อน ส่วนด้านดอกเบี้ยเงินฝากอาจแกว่งตัวเล็กน้อยเป็นไปตามภาวะการแข่งขันเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดไม่ใช่เป็นแบบถาวร' นายชาติชาย กล่าว
stockwave
*************
15/10/52
สินเชื่อส่วนบุคคลไตรมาส 4 ปี 2552 : แนวโน้มดีขึ้น ... ผู้ประกอบการเริ่มทำตลาด
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า ภาพรวมของธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วง 8 เดือนแรก ของปี 2552 ยังคงหดตัวลงอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าเศรษฐกิจไทยจะเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัวก็ตาม โดยผลกระทบจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างรุนแรงในช่วงต้นปีที่ผ่านมานั้น ยังคงส่งผลกระทบต่อความสามารถในการผ่อนชำระสินเชื่อของผู้บริโภคบางกลุ่ม ทำให้ผู้ประกอบการได้ทำการยกเลิก
บัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลในกลุ่มผู้บริโภคที่มีปัญหา และมีการตัดหนี้เสียออกจากระบบ ทำให้ภาพรวมของจำนวนบัญชีและยอดสินเชื่อคงค้างยังคงชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง จากรายงานของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า จำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลในเดือนสิงหาคม 2552 ที่ผ่านมา มีประมาณ 8,943,857 บัญชี ลดลงร้อยละ 20.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (ที่มีจำนวนบัญชีประมาณ 11,292,783 บัญชี) และลดลงร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2552 (ที่มีจำนวนบัญชีประมาณ 9,019,628 บัญชี) ซึ่งลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 10 สำหรับแนวโน้มสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2552 นี้ คาดว่า น่าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น ตามภาวะ
การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่น่าจะเป็นปัจจัยหลักที่ทำให้ผู้ประกอบการเริ่มกลับมาทำตลาดมากขึ้น ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สรุปประเด็นสำคัญภาพรวมธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วงที่ผ่านมา และวิเคราะห์แนวโน้มสินเชื่อส่วนบุคคลในไตรมาส 4 ปี 2552 ดังนี้


ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลยังคงหดตัวลง
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้สรุปภาพรวมธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วง 8 เดือนแรกของ ปี2552 ดังนี้
ภาพรวมจำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2552 : กลุ่ม Non –Bank หดตัวรุนแรง ... ผลจากวิกฤตเศรษฐกิจ
ภาพรวมปริมาณสินเชื่อส่วนบุคคลในทุกกลุ่มผู้ประกอบการในช่วง 8 เดือนแรกของปีมีปริมาณบัญชีทั้งสิ้น 8,943,8571 บัญชี หดตัวร้อยละ 20.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แย่ลงกว่าที่หดตัวร้อยละ 4.7 ในปี 2551 ทั้งนี้ปริมาณบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลที่หดตัว ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สาเหตุส่วนหนึ่งน่าจะมาจาก ผู้ประกอบการมีการปิดบัญชีลูกค้าบางรายที่ประสบกับปัญหาในการผ่อนชำระสินเชื่อในช่วงภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัว รวมถึงสถาบันการเงินได้เพิ่มความระมัดระวังมากขึ้นในการอนุมัติสินเชื่อ โดยเฉพาะในเรื่องของความสามารถในการผ่อนชำระของผู้ขอสินเชื่อท่ามกลางภาวะที่เศรษฐกิจไทยกำลังเผชิญกับความเสี่ยงสูง ทำให้จำนวนบัญชีใหม่มีสัดส่วนการเพิ่มขึ้นที่ไม่สูงนัก
นอกจากนี้ยังมีสาเหตุมาจากการทำตลาดของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ที่ได้ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อรีไฟแนนซ์ด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ อีกทั้งภาครัฐยังมีโครงการช่วยเหลือข้าราชการ เช่น ทางกรุงเทพมหานคร มีการจัดโครงการสินเชื่อแก่ข้าราชการและลูกจ้างกรุงเทพฯ โดยร่วมกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ในการช่วงเหลือข้าราชการ โดยเสนออัตราดอกเบี้ยที่ต่ำและมีระยะเวลาการผ่อนชำระที่นาน จึงคาดว่าน่าจะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้สินเชื่อส่วนบุคคลหดตัวลงในช่วงที่ผ่านมา ทั้งนี้ เมื่อแยกพิจารณาตามกลุ่มผู้ประกอบการ พบว่า
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2552 มีบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลประมาณ 1,767,141 บัญชี หดตัวร้อยละ 7.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แย่ลงจากที่มีการเติบโตร้อยละ 4.8 ในปี 2551
กลุ่มสาขาธนาคารต่างประเทศ ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2552 มีบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลประมาณ 736,608 บัญชี หดตัวร้อยละ 4.3 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แย่ลงจากที่มีการหดตัวร้อยละ 0.6 ในปี 2551
กลุ่มสถาบันที่ไม่ใช่ธนาคาร หรือ Non-Bank ในช่วง 8 เดือนแรกของปีมีบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคลประมาณ 6,440,108 บัญชี หดตัวร้อยละ 25.3 มากขึ้นจากที่หดตัวร้อยละ 7.2 ในปี 2551


ภาพรวมยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2552 : กลุ่มสาขาธนาคารต่างประเทศหดตัวรุนแรง
จากรายงานตัวเลขยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคารแห่งประเทศไทย พบว่า ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งระบบในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2552 มีมูลค่าประมาณ 218,161 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 3.4 ลดลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 8.2 ในปี 2551 โดยมูลค่าของยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลที่ปรับลดลงอย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 10 ทั้งนี้มูลค่าของยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลที่ยังคงลดลงเป็นผลมาจากผู้ประกอบการมีการปิดบัญชีลูกค้าบางรายที่ประสบกับปัญหาในการผ่อนชำระสินเชื่อ ทำให้ยอดคงค้างสินเชื่อบุคคลจึงชะลอตัวลงอย่างมาก ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาเป็นรายผู้ประกอบการแล้ว พบว่า
ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลของธนาคารพาณิชย์ไทยในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2552 มีอัตราติดลบเป็นครั้งแรก โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 101,552 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 0.6จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แย่ลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 19.3 ในปี 2551
ยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลสาขาธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2552 หดตัวอย่างรุนแรง โดยมีมูลค่าอยู่ที่ 19,333 ล้านบาท หดตัวลงร้อยละ 11.2 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่อเนื่องจากที่หดตัวร้อยละ 6.9 ในปี 2551
สถาบันที่ไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ (Non-Bank) มียอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2552 หดตัวลงเช่นกัน โดยมีมูลค่าประมาณ 97,276 ล้านบาท หดตัวร้อยละ 4.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แย่ลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 2 ในปี 2551

สินเชื่อส่วนบุคคลไตรมาส 4 ปี 2552 : แม้มีทิศทางดีขึ้น ... แต่ผลกระทบจากเศรษฐกิจยังคงมี
แนวโน้มธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2552 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า เมื่อภาวะเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งธนาคารพาณิชย์ไทย สาขาธนาคารต่างประเทศ และ Non-Bank ต่างเริ่มกลับมาทำตลาดมากขึ้น ภายหลังจากที่ผู้ประกอบการต่างชะลอแคมเปญการตลาดในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเมื่อต้นไตรมาส 4 นี้ ผู้ประกอบการบางรายเริ่มออกแคมเปญกระตุ้นสินเชื่อส่วนบุคคล ทำให้คาดว่าธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในไตรมาสสุดท้ายนี้ น่าจะกลับมาคึกคักอีกครั้ง อย่างไรก็ตามสินเชื่อส่วนบุคคล ซึ่งจัดเป็นสินเชื่อที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ทำให้ผู้ประกอบการยังคงดำเนินกลยุทธ์บนพื้นฐานของความระมัดระวัง โดยเฉพาะเงื่อนไข กฎเกณฑ์การอนุมัติสินเชื่อยังคงมีความเข้มงวด เช่น ระดับรายได้ และประวัติการผ่อนชำระสินเชื่อ เป็นต้น
สำหรับแนวโน้มการขยายตัวของสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งปี 2552 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สินเชื่อส่วนบุคคลในปีนี้ น่าจะมีอัตราที่หดตัวลง ทั้งในด้านของจำนวนบัญชี และยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคล โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ปรับประมาณการสินเชื่อส่วนบุคคลในปี 2552 ลง โดยคาดว่า ยอดสินเชื่อคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลในปี 2552 น่าจะมีมูลค่าประมาณ 220,000-215,700 หดตัวร้อยละ 4 ถึงหดตัวร้อยละ 5.9 ลดลงจากที่ขยายตัวร้อยละ 8.2 ในปี 2551 โดยมีสาเหตุมาจาก
ผู้บริโภคบางกลุ่มยังคงได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่หดตัว แม้ว่าสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในขณะนี้จะเริ่มมีสัญญาณการฟื้นตัว แต่ผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่างรุนแรงในช่วงที่ผ่านมา ยังคงส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคบางกลุ่ม ทำให้ในช่วงนี้คาดว่าจะยังคงเห็นจำนวนบัญชีปรับลดลงจากปีก่อนหน้า (ลดลงร้อยละ 14.5 ถึงลดลงร้อยละ 17.6) และยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลนี้ปรับลดลงจากปีก่อนหน้า (ลดลงร้อยละ 4.0 ถึงลดลงร้อยละ 5.9)
การอนุมัติสินเชื่อยังคงอยู่บนพื้นฐานของความระมัดระวัง แม้ว่าจะเริ่มเห็นการกลับเข้ามาทำตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลของผู้ประกอบการมากขึ้นในระยะที่ผ่านมาก็ตาม แต่ภายใต้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังคงมีความเปราะบางสูง ทำให้ผู้ประกอบการเองยังคงต้องระมัดระวังในการอนุมัติสินเชื่อ รวมถึงการปรับระบบการบริหารความเสี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต
โครงการสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ สถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบางแห่งที่เน้นการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคล ในช่วงที่ผ่านมาได้มีการทำแคมเปญสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ในอัตราดอกเบี้ยที่จูงใจ อีกทั้งภาครัฐยังได้มีนโยบายการปล่อยสินเชื่อให้แก่ลูกจ้าง และข้าราชการ โดยผ่านทางสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำพิเศษ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวอาจจะมีผลต่อธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และกลุ่ม Non-Bank ได้ เนื่องจากผู้บริโภคบางกลุ่มอาจจะหันไปใช้บริการกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ โดยเฉพาะโครงการรีไฟแนนซ์สินเชื่อ
โดยสรุป ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มีความเห็นว่า ธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลในช่วงไตรมาส 4 ปี 2552 นี้ น่าจะเริ่มเห็นการกลับมาทำตลาดของผู้ประกอบการมากขึ้น ตามภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ซึ่งธนาคารพาณิชย์ และ Non-bank ต่างปรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจที่แตกต่างไป โดยผู้ประกอบการบางกลุ่มก็อาจจะใช้กลยุทธ์อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าคู่แข่ง ระยะเวลาการผ่อนชำระที่นานขึ้น เช่น สูงสุด 60 เดือน รวมถึงฟรีค่าธรรมเนียมในการจัดการสินเชื่อ เป็นต้น นอกจากนี้ผู้ประกอบการบางรายเริ่มผ่อนกฎเกณฑ์ระดับรายได้ของผู้สมัครบริการสินเชื่อลงมา จากที่ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจผู้ประกอบการต่างเพิ่มเงื่อนไขการขอสินเชื่อให้มีความเข้มงวดขึ้น แต่อย่างไรก็
ตาม ในภาวะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังคงมีความผันผวนสูงเช่นนี้ ทั้งธนาคารพาณิชย์ และ Non-Bank ยังคงให้ความสำคัญต่อการบริหารความเสี่ยงและการอนุมัติวงเงินของสินเชื่อ ทำให้การฟื้นตัวของสินเชื่อส่วนบุคคล น่าจะเกิดขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป จนกว่าผู้ประกอบการจะเชื่อมั่นว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและภาวะการจ้างงานมีความแข็งแกร่งกลับคืนมา ทำให้ในส่วนของผู้ขอสินเชื่อใหม่ยังคงมีสัดส่วนที่ไม่สูงนัก
สำหรับการขยายตัวของสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งปี 2552 นี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า สินเชื่อส่วนบุคคลในปีนี้ทั้งปี น่าจะมีอัตราที่หดตัวลง โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ปรับประมาณการสินเชื่อส่วนบุคคลในปี 2552 ลง โดยคาดว่าน่าจะหดตัวร้อยละ 4.0 ถึงหดตัวร้อยละ 5.9 (222,000- 215,700 ล้านบาท) จากปี 2551 โดยมีสาเหตุมาจาก ผลพวงจากภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวอย่าง
รุนแรงในช่วงต้นปี ที่ยังคงมีผลกระทบต่อเนื่องมายังผู้บริโภคบางกลุ่ม ทำให้ในช่วงที่เหลือของปีนี้ จึงยังคงเห็นการลดลงของจำนวนบัญชีสินเชื่อส่วนบุคคล (ลดลงร้อยละ 14.5 ถึงลดลงร้อยละ 17.6) และยอดคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลนี้ปรับลดลงจากปีก่อนหน้า (ลดลงร้อยละ 4 ถึงลดลงร้อยละ 5.9) นอกจากนี้การอนุมัติสินเชื่อยังคงอยู่บนพื้นฐานของความระมัดระวัง ภายใต้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ยังคงมีความเปราะบาง ทำให้ผู้ประกอบการเองยังคงต้องระมัดระวังในการอนุมัติสินเชื่อ รวมถึงการปรับระบบการบริหารความเสี่ยง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในอนาคต ส่งผลให้การเพิ่มขึ้นของบัญชีใหม่จึงยังไม่สูงนัก อีกทั้งโครงการสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ซึ่งสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐบางแห่งที่เน้นการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคล ได้มีการทำแคมเปญสินเชื่อรีไฟแนนซ์ ในอัตราดอกเบี้ยที่จูงใจ ซึ่งอาจจะมีผลให้ผู้บริโภคบางกลุ่มหันไปใช้บริการกับสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐได้ โดยปัจจัยดังกล่าวข้างต้นอาจส่งผลต่อการขยายตัวของสินเชื่อส่วนบุคคลทั้งในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และ Non-Bank ในปีนี้


ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

********
06/10/52
BANKING : คาดกำไรสุทธิ 3Q52F โดยรวมของกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทยค่อนข้างคงตัว YoY

คงน้ำหนักการลงทุน “ระดับปกติ” สำหรับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย
เรายังคงน้ำหนักการลงทุน “ระดับปกติ” สำหรับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ไทย เนื่องจากราคาหุ้นได้สะท้อนถึงการฟื้นตัวไปมากแล้ว ในปัจจุบัน หุ้นกลุ่มธนาคารซื้อขายที่ Forward PER ในระดับสูง (สำหรับผลประกอบการปี 2553F) ความต้องการสินเชื่อใน 3Q52 ยังคงอ่อนตัว ขณะที่คาดว่าจะฟื้นตัวขึ้นในฤดูกาลที่มีความต้องการสินเชื่อสูงใน 4Q52F นี้ และยังไม่เห็นความต้องการสินเชื่อที่ยั่งยืนต่อเนื่องในปีหน้า
คาดผลประกอบการโดยรวมเพิ่มขึ้น 0.6% YoY ใน 3Q52F
จากการประมาณการผลประกอบการ 9 ธนาคารพาณิชย์ภายใต้การวิเคราะห์ของเรา คาดว่าจะรายงานกำไรสุทธิโดยรวมประมาณ 2.18 หมื่นล้านบาทใน 3Q52F ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.6% YoY การขาดทุนจากพอร์ตลงทุนจำนวนมากใน 3Q51 น่าจะช่วยให้กำไรของธนาคารดูดีขึ้นเมื่อเทียบ YoY ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานก่อนการตั้งสำรองฯ (PPOP) น่าจะลดลง 2.6% YoY จากอัตราการทำกำไรจากดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ที่แคบลง (0.1% YoY) และค่าใช้จ่ายจากการดำเนินงานที่สูงขึ้น
NPL อาจจะสูงขึ้น QoQ แต่ยังสามารถควบคุมได้
การเพิ่มขึ้นของ NPLs ใน 3Q52 ชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับ 2-3 ไตรมาสก่อน ฐานเงินทุนที่แข็งแกร่งของธนาคาร (CAR 14-15%) และสถานะการตั้งสำรองฯ ที่ดีพอสมควร (LLR/NPL 70% และมูลค่าการตั้งสำรองฯ ทั่วไป 1.1%) น่าจะเพียงพอที่จะรองรับ NPLs ที่สูงขึ้นในช่วงเศรษฐกิจรอบนี้
CoE ที่ลดลง 0.5% จะส่งผลให้มูลค่าเป้าหมายของหุ้นธนาคารเพิ่มขึ้น 8-13%
Upside ต่อประมาณการของเรามาจากความต้องการสินเชื่อที่แข็งแกร่ง เนื่องจากกิจกรรมทางธุรกิจที่ฟื้นตัวและการแก้ไขปัญหาด้าน NPLs อย่างรวดเร็ว ส่วน downside มาจาก NIM ที่แคบลงจากการแข่งขันด้านเงินฝากและแรงถ่วงจากแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า โดย CoE ที่ลดลงเป็นผลมาจากการประเมินการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ทำให้มีการยอมรับความเสี่ยงได้มากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าเป้าหมายของธนาคารสูงขึ้น

โดย สำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ประจำวันที่ 6 ต.ค. 2552

***********
05/10/52
โบรกฯส่องกำไรแบงก์ไตรมาส3โตลุ้นQ4บัวหลวงรับรู้รายได้ขายACL-ยอดสินเชื่อฟื้น

นักวิเคราะห์ชี้กำไรแบงก์ไตรมาส 3 โตต่อเนื่อง ยกเว้นแบงก์กรุงเทพสะดุดรายได้ ส่วนต่างดอกเบี้ยลด-สินเชื่อหด ลุ้นไตรมาส 4 ฟื้นตัวหลังคลายกฎเข้มสินเชื่อ โล่งอกปัญหาสภาพคล่อง-NPL คลี่คลาย ลดภาระกันสำรองหนี้ดันกำไรพุ่ง มองกลุ่มแบงก์ 2 ปีหน้ากำไรโต 19% รับกระแสการลงทุน


นางสาวอุษณีย์ ลิ่วรัตน์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.เอเซีย พลัส กล่าวถึงแนวโน้มผลดำเนินงานของกลุ่มธนาคารในช่วงครึ่งปีหลังว่า ในส่วนธนาคารใหญ่อย่างธนาคารกรุงเทพ คาดว่าจะมีกำไรในไตรมาส 3/52 ที่ 4.78 พันล้านบาท ลดลง 1.6% จากไตรมาส 2/52 ซึ่งเป็นผลจากรายได้ดอกเบี้ยที่ลดลงตามยอดสินเชื่อ 9 เดือนแรกติดลบราว 7.8% ขณะที่ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายทรงตัว และยังมี NPL เพิ่มขึ้นจากลูกค้าขนาดเล็ก 3-5 พันล้านบาท จึงคาดว่าส่วนต่างดอกเบี้ยจะลดลงจาก 2.96% เหลือ 2.89% แต่ในไตรมาส 4 มีแนวโน้มกำไรสูงขึ้นจากการรับรู้กำไรสุทธิการขายหุ้นธนาคารสินเอเซียให้ธนาคารไอซีบีซีของจีน 1 พันล้านบาท

ส่วนธนาคารไทยพาณิชย์คาดว่า ไตรมาส 3 จะมีส่วนต่างดอกเบี้ยดีขึ้นเป็น 3.51% ตามการปรับลดดอกเบี้ยเงินฝากประจำที่เริ่มส่งผลบวก ขณะที่สินเชื่อรายใหญ่และเอสเอ็มอีเริ่มขยายตัวตามฤดูกาล และสินเชื่อรายย่อยขยายตัวได้ต่อเนื่อง นอกจากนี้ยังมีรายการพิเศษเงินปันผลจากกองทุนวายุภักษ์ 320 ล้านบาท จึงคาดไตรมาสนี้จะทำกำไรได้ 6.08 พันล้านบาท

ด้านธนาคารกสิกรไทยคาดการณ์ไตรมาส 3 มีกำไรสุทธิ 3.81 ล้านบาท จากการเติบโตของค่าธรรมเนียม 5.3% จากธุรกรรมแบงก์แอสชัวรันซ์และธุรกรรมผ่านบัตร ส่วนสินเชื่อ 9 เดือนแรกติดลบ 0.5% ทำให้คาดช่วงที่เหลือจะเติบโตได้ตามเป้า 3-5%และตั้งสำรองลดลงตามแนวโน้ม NPL

นางสาวอุษณีย์กล่าวว่า ธนาคารกรุงศรี อยุธยาเป็นอีกแห่งที่คาดว่า การกันสำรองจะกลับสู่ภาวะปกติที่ 2.2 พันล้านบาท หลังสำรองหนึ้ขึ้นสู่ระดับ 67.6% ส่วนสินเชื่อมีแนวโน้มฟื้นตัว ขณะที่ต้นทุนเงินฝากลดลงต่อเนื่อง จึงคาดส่วนต่างดอกเบี้ยจะเพิ่มเป็น 4.08% ส่งผลต่อรายได้ดอกเบี้ยโต 5.9% ประกอบกับรายได้ค่าธรรมเนียมจะเติบโต 5% จากธุรกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับรายย่อย ทำให้คาดไตรมาส 3 ธนาคารจะมีกำไร 2.09 พันล้านบาท สูงที่สุดในรอบ 2 ปี

สำหรับธนาคารทหารไทยจะได้ประโยชน์จากการลดลงของการกันสำรองหนี้ เนื่อง จากสินเชื่อที่ยังติดลบ ซึ่งคาดจะมีการโอนเงินสำรองหนี้ในไตรมาสก่อนหน้าที่ 3.73 พันล้านบาท กลับมาเป็นรายได้ราว 500 ล้านบาท ดังนั้นแม้จะไม่มีรายการพิเศษจากการไถ่ถอนตราสาร Hybrid Tier 1 เหมือนไตรมาสก่อนหน้า แต่คาดไตรมาสนี้ธนาคารจะมีกำไร 1.02 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 161.4% จากไตรมาส 2

อย่างไรก็ตาม จากสัญญาณสินเชื่อที่ทรงตัวตั้งแต่ ส.ค.ที่ผ่านมา และแนวโน้มที่ ดีขึ้นทำให้คาดผลดำเนินงานของทหารไทยจะดีขึ้นปีหน้าและยังสามารถคาดหวังเงินปันผลได้เป็นครั้งแรกในรอบหลายปีหลังมีการล้างขาดทุนสะสมประมาณเดือน พ.ค.2553

นางสาวชาลี กือเย็น นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เคทีซีมิโก้กล่าวว่า จากปัจจัยการฟื้นตัวของสินเชื่อหลังธนาคารขนาดใหญ่เริ่มผ่อนคลายความเข้มงวดปล่อยสินเชื่อ รวมทั้งไม่มีแรงกดดันต่อกำไร เนื่องจากคลายความกังวลปัญหาสภาพคล่องและความเสี่ยงหนี้ NPL ลดลง ที่สะท้อนผ่านการกันสำรองต่อ สินเชื่อที่มีแนวโน้มลดลง ขณะที่ส่วนต่างดอกเบี้ยมีแนวโน้มดีขึ้นตามทิศทางดอกเบี้ยที่จะขยับขึ้น ทำให้ผลดำเนินงานของกลุ่มธนาคารปรับตัวดีขึ้น โดยเฉพาะในปี 2553-2554 ที่จะมีการลงทุนในประเทศสูงขึ้น จะทำให้สินเชื่อของธนาคารเติบโต 8 และ 11% ตามลำดับ หรือเท่ากับ 1.2 และ 1.4 เท่าของจีดีพี ทำให้คาดกำไรของกลุ่มธนาคารจะกลับมาเติบโตเฉลี่ย 19% ใน 2 ปีข้างหน้า
prachart
***********
ข่าวอุตสาหกรรมการเงิน การลงทุนและธนาคาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น