วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

ข่าวอุตสาหกรรมการสื่อสารและเทคโนโลยี 1

18/12/52
บ.ไอทีเกาะกระแส3จีจุดพลุเน็ตบุ๊ก จับตาโมเดลธุรกิจเปลี่ยนซุ่มจีบค่ายมือถือขายพ่วง

ยักษ์ไอทีเกาะกระแส "3จี" ประกาศ ยกทัพโน้ตบุ๊ก-เน็ตบุ๊กรองรับ 3จี ลุยตลาด เผยโมเดลธุรกิจเปลี่ยน ทุกค่ายซุ่มเจรจาผู้ให้บริการมือถือวางแผนขายเน็ตบุ๊กบันเดิลไปกับซิม "3จี" ทุกค่ายมั่นใจดันตลาดเน็ตบุ๊กพุ่ง 20% "เอเซอร์" ประกาศแผนปี"53 เดินหน้าเต็มสตรีม มองปัจจัยเศรษฐกิจการเมืองอยู่ในทิศทางที่ดี

นายนิธิพัทธ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายการตลาด บริษัท เอเซอร์ คอมพิวเตอร์ จำกัด กล่าวว่า จากการที่ผู้ให้บริการโทรคมนาคมเริ่มเปิดให้บริการ 3จี โดยเฉพาะใน กทม.ซึ่งทำให้การใช้งานคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสะดวกรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งคาดว่าการเกิดขึ้นของ 3จี จะมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นให้ตลาดคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเน็ตบุ๊ก มีการเติบโตแบบก้าวกระโดด ด้วยจุดขายด้านการพกพาและการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ทำให้เน็ตบุ๊กกลายเป็นทางเลือกของลูกค้าในพื้นที่อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแบบมีสายเข้าไม่ถึง ดังนั้น การใช้งาน 3จี จะเข้ามาเติมเต็มมากขึ้น เหมือนในประเทศญี่ปุ่น ซึ่ง 3จี เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เน็ตบุ๊กเติบโตอย่างมาก

การเข้ามาของ 3จี จะทำให้รูปแบบการทำตลาดของเน็ตบุ๊กเปลี่ยนไป เป็นลักษณะการบันเดิลไปพร้อมซิม 3จี หรือการทำ โคโปรโมชั่นร่วมกับโอเปอเรเตอร์ ขณะที่การจำหน่ายเน็ตบุ๊กผ่านร้านไอทีต่าง ๆ ก็ยังคงดำเนินต่อไป เชื่อว่าทุกค่ายก็จะใช้ทั้ง 2 วิธีควบคู่กันไป

อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบอื่น อาทิ ราคาแพ็กเกจของผู้ให้บริการที่ถูกลง และเครือข่ายที่ครอบคลุมทั่วประเทศมากขึ้น เป็นส่วนสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของ ผู้ใช้งาน นอกเหนือจากปัจจุบันที่กระจุกตัวการใช้งานอยู่ใน กทม.เป็นหลัก

"ตอนนี้ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์แต่ละรายมีการพูดถึง 3จี มากขึ้น คาดว่าแต่ละแบรนด์จะนำสินค้าเข้ามาทำตลาดมากขึ้น ทั้งการจับมือกับโอเปอเรเตอร์ บันเดิลแอร์ไทม์ ให้ลูกค้าได้ทดลองใช้ เพื่อขยายตลาดลูกค้ากลุ่มไอทีและสื่อสารมากขึ้น"

สำหรับเอเซอร์ ล่าสุด ร่วมมือกับบริษัท สามารถ ไอ-โมบาย ทำโปรโมชั่นเน็ตบุ๊ก กับซิม 3GX ของไอ-โมบาย และกำลังคุยกับผู้ให้บริการรายอื่น ๆ เพื่อทำโปรโมชั่นลักษณะเดียวกัน รวมไปถึงปีหน้าจะมีการนำเน็ตบุ๊กที่รองรับ 3จี เข้าสู่ตลาดจำนวนมากขึ้น ปีนี้อัตราการเติบโตของตลาดอยูˆที่ 15-20% แต่ปีหน้าหาก 3จี เปิดให้บริการ น่าจะกระตุ้นการเติบโตได้มากกว่า 20%

สำหรับภาพรวมปีนี้ ไอดีซีคาดว่าตลาดรวมพีซีและโน๊ตบุ๊กอยู่ที่ 2.4 ล้านเครื่อง สำหรับปีหน้าปัจจัยเศรษฐกิจและการเมืองอยู่ในทิศทางที่ดีขึ้น ยังไม่เห็นปัจจัยลบ จึงไม่น่าทำให้ตลาดคอนซูเมอร์และตลาดคอร์ปอเรตชะลอการใช้จ่าย

นายนิธิพัทธ์กล่าวว่า ปีหน้าแผนการตลาดของเอเซอร์จะเดินหน้าอย่างเต็มที่ แม้ว่างบฯการตลาดใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา แต่รูปแบบการทำตลาดจะมีความเปลี่ยนแปลง เช่น จะมีการเลือกสื่อโฆษณามากขึ้น เพื่อหารูปแบบที่เหมาะสม และมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเทรนด์ของสินค้าปีหน้าจะอยู่ที่โน๊ตบุ๊กขนาดเล็ก บางเบา แบตเตอรี่นาน รวมถึงเน็ตบุ๊ก 3จี, โน‰ตบุ๊ก 3 มิติ และสินค้ากลุ่มทัชสกรีนในราคาที่คอนซูเมอร์หาซื้อได้

ด้านนายพันธกร พรศิริธิเวช ผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจอาวุโส บริษัท เบนคิว (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ปีหน้าหาก 3จี เปิดให้บริการ จะเป็นตัวกระตุ้นทำให้เน็ตบุ๊กเติบโตได้มากขึ้น เพราะมีข้อมูลยืนยันว่า 3จี เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ช่วยทำให้ยอดขายเน็ตบุ๊กเติบโตในตลาดเอเชีย-แปซิฟิก โดยโมเดลการทำธุรกิจที่ได้รับความนิยม คือการบันเดิลกับโอเปอเรเตอร์รายต่าง ๆ จะโตขึ้นอย่างชัดเจน และคาดว่ายอดขายเน็ตบุ๊กประมาณครึ่งหนึ่งในปีหน้า จะมาจากการผูกกับโอเปอเรเตอร์

"ปีหน้าเน็ตบุ๊กจะมีสัดส่วนมากกว่า 20% ของโน๊ตบุ๊กทั้งหมด จากปัจจุบันไม่เกิน 15% หรือประมาณ 2 แสนเครื่อง เพราะ 3จี เป็นปัจจัยที่ผลักดันตลาด และปีหน้าคาดว่าทุกค่ายจะนำสินค้าที่รองรับ 3จี เข้ามาทำตลาด"

สำหรับเบนคิว ปัจจุบันยังไม่มีเน็ตบุ๊กที่รองรับ 3จี ทำตลาดในไทย แต่ปีหน้ามีแผนจะนำเน็ตบุ๊ก 3จี เข้ามาทำตลาดในไทยอย่างแน่นอน โดยจะบันเดิลไปกับโอเปอเรเตอร์รายต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในช่วงการเจรจา โดยที่ผ่านมา เบนคิวเคยนำเน็ตบุ๊กทำ ตลาดร่วมกับกลุ่มทรูแล้ว แต่ยังไม่เห็นผลตอบรับที่ชัดเจน แต่เชื่อว่า เมื่อ 3จี เปิดบริการ จะเห็นการเปลี่ยนแปลงและผลตอบรับที่ชัดเจนขึ้น

ด้านนายถกล นิยมไทย ผู้จัดการประจำประเทศไทย กลุ่มธุรกิจไอที บริษัท โตชิบา ไทยแลนด์ จำกัด กล่าวว่า ปีหน้า หาก 3จี เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ คาดว่าแต่ละแบรนด์จะนำสินค้าทั้งโน้ตบุ๊กและเน็ตบุ๊กที่สามารถใส่ซิม 3จี ได้มาทำตลาดมากขึ้น รวมถึงโตชิบาด้วย ซึ่งมีสินค้าพร้อมนำเข้าสู่ตลาดอยู่แล้ว ขึ้นอยู่กับโครงสร้างพื้นฐานในไทย ว่ามีความพร้อมเมื่อใด
prachachat***********
16/12/52
News Comment

Media งบโฆษณาของเดือน พ.ย. ทำสถิติสูงสุดของปีอีกครั้ง
งบโฆษณาของเดือน พ.ย. ทำสถิติสูงสุดของปีอีกครั้ง : มูลค่าโฆษณาในเดือน พ.ย. ที่ระดับ 8,437 ล้านบาท ถือว่าเป็นตัวเลขที่เติบโตสูงกว่าที่ SCRI คาดหมายไว้ และจัดเป็นการทำสถิติมูลค่าโฆษณาที่สูงที่สุดของปีนี้ต่อเนื่องเป็นเดือนที่สองติดต่อกัน การเพิ่มขึ้นของเม็ดเงินโฆษณาในเดือนที่แล้วกว่า 12% yoy เป็นผลมาจากการใช้งบโฆษณาที่เพิ่มมากขึ้นของสื่อในโรงภาพยนตร์ที่มีการขยายตัวสูงมากถึง 76% yoy และ 30% mom ทั้งนี้ สื่อโรงภาพยนตร์ยังเป็นตัวแปรที่สำคัญที่ทำให้มูลค่าโฆษณาในเดือน พ.ย. เพิ่มขึ้นจากเดือน ต.ค. ได้อีก 1.4% mom เพราะสามารถไปช่วยชดเชยกับมูลค่าโฆษณาของสื่อโทรทัศน์ที่ปรับลดลง 1.6% mom
เข้าโค้งสุดท้าย คาดเดือน ธ.ค. งบโฆษณายังสูง : การฟื้นตัวของเศรษฐกิจ มาตรการความช่วยเหลือของรัฐบาลที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ผลิตและผู้บริโภคที่ช่วยกระตุ้นให้มีการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ช่วยทำให้เห็นการฟื้นตัวของมูลค่าโฆษณาในช่วงหลายเดือนที่ผ่าน และส่งผลให้มูลค่าโฆษณางวด 11 เดือนของปี 2552 ที่มีเม็ดเงินทั้งสิ้น 81,902 ล้านบาท ลดลงเพียง 0.5% จากงวดเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ หากมูลค่าโฆษณาในเดือน ธ.ค. ทรงตัวสูงกว่าระดับ 8.3 พันล้านบาท จะทำให้มูลค่าโฆษณารวมของปี 2552 ไม่ลดลงเมื่อเทียบกับปี 2551 ซึ่ง SCRI คาดว่ามีความเป็นไปได้สูงโดยคาดว่าจะมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของสินค้าและบริการต่างๆเพิ่มมากขึ้นในช่วงเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ที่จะมีการใช้จ่ายของประชาชนที่สูงเป็นพิเศษ
สื่อโทรทัศน์ยังแข็งแกร่ง เม็ดเงินโฆษณาของสถานีโทรทัศน์ช่องต่างๆค่อนข้างทรงตัวในเดือน พ.ย. ที่ผ่านมา โดยช่อง 7 ยังได้รับเม็ดเงินโฆษณาในระดับสูงที่สุดเป็นเดือนที่สูงติดต่อกันเป็นเดือนที่สองราว 1,515 ล้านบาท ใกล้เคียงกับเดือน ต.ค. ซึ่งเป็นเดือนแรกที่บริษัท ยูนิลิเวอร์ กลับมาใช้งบโฆษณากับช่อง 7 เช่นเดิม ทั้งนี้หากเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน พบว่า อัตราการเติบโตของงบโฆษณาของช่อง 9 (MCOT) ยังคงขยายตัวสูงที่สุด 19% yoy ซึ่งเป็นผลทั้งจากเรตติ้งของรายการบันเทิงที่ปรับดีขึ้นและการที่ยูนิลีเวอร์เพิ่มงบโฆษณาให้ ส่วนสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 (BEC) มีงบโฆษณาเพิ่มขึ้น 10% yoy แต่ลดลงเล็กน้อย 2% mom ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าช่อง 3 ยังไม่ได้รับผลกระทบจากการปรับแผนการให้งบโฆษณาของยูนิลีเวอร์เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับช่องอื่นๆ ยกเว้นช่อง 11 ที่ได้รับงบโฆษณาเพิ่มมากขึ้นเพียงช่องเดียว
สื่อโฆษณาโรงภาพยนตร์ฟื้นตัวมากจากอานิสงค์ของภาพยนตร์ที่เข้าฉาย : เม็ดเงินโฆษณาโรงภาพยนตร์ทำสถิติที่ดีที่สุดของปีที่ 617 ล้านบาท ในเดือน พ.ย. ซึ่งมีผลมาจากที่มีภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จและสามารถทำสถิติรายได้สูง ได้แก่ รถไฟฟ้ามาหานะเธอ, Vampire New Moon และ 2012 ที่สามารถทำรายได้มากกว่า 100 ล้านบาท ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยบวกต่อผู้ประกอบการโรงภาพยนตร์ อย่างเช่น MAJOR ที่นอกจากจะมีรายได้จากการขายบัตรมากขึ้นแล้ว ยังสามารถสร้างรายได้จากธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เช่น การขายอาหารและเครื่องดื่ม และ การขายเวลาโฆษณาในโรงภาพยนตร์ ถึงแม้ว่า SCRI จะคาดว่าอัตราการขยายตัวของรายได้โฆษณาของ MAJOR จะไม่สูงเท่ากับตัวเลขที่ นีลเส็น มีเดีย รายงานที่ 76% yoy และ 30% mom แต่คาดว่าธุรกิจโฆษณาของ MAJOR ใน Q4/52 น่าจะดีกว่า Q3/52 และเพราะไม่มีการสำรองหนี้สูญเพิ่มหลังจากที่ขายลูกหนี้ดังกล่าวและติดตามหนี้อื่นๆอย่างใกล้ชิด

********
16/12/52
กระแสหลักทรัพย์ - บล.ทิสโก้
ICT : คาดยังเกิดการประมูลใบอนุญาต 3G ในปีหน้า


คำแนะนำ มากกว่าปกติ
คงน้ำหนักการลงทุน “มากกว่าปกติ” แม้ว่ามีเรื่องที่ต้องสะดุดก็ตาม
แม้ว่าเกิดความล้มเหลวล่าสุดของกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ในการออกใบอนุญาต 3G ก่อนการเลือกคณะกรรมการคนใหม่ในเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา แต่เราเห็นว่ายังมีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ในปี 2553 ด้วยหุ้นกลุ่มเทเลคอมที่มีการซื้อขายปัจจุบันใกล้เคียงกับการประเมินมูลค่าโดยไม่รวมประเด็นของใบอนุญาต 3G ดังนั้นเราเชื่อว่าความเสี่ยง (downside) ณ จุดนี้ มีค่อนข้างจำกัด ดังนั้นเรายังคงน้ำหนักการลงทุน “มากกว่าปกติ”
คาด กทช. จะผลักดันให้มีการเปิดประมูลอีกครั้งใน 2Q53
แม้ว่าคณะกรรมการชุดใหม่ยังไม่เข้ารับตำแหน่งอย่างเป็นทางการ แต่เราคาดว่าจะได้ข้อสรุป ร่างสาระสนเทศฉบับสมบูรณ์ (final Information Memorandum) ในเดือนเมษายน ปีหน้า ด้วยเราคาดว่าจะมีการประกาศร่างดังกล่าวจะลงในราชกิจจานุเบกษา (Royal Gazette) ในเดือนมิถุนายน เราจึงเชื่อว่าการประมูลใบอนุญาต 3G จะเกิดขึ้นได้ในเดือนสิงหาคม 2553
การแปลงสัญญาสัมปทานไม่น่าจะเกิดขึ้นได้จริง
แม้ว่ากระทรวงการคลังพยายามที่จะหาช่องทางบีบให้ผู้ประกอบการมีการแปลงสัญญาสัมปทานก่อนการออกใบอนุญาต 3G แต่เราเชื่อว่าแนวทางนี้จะได้รับการปฏิเสธ ทั้งจากผู้ประกอบการเอกชนและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากไม่สามารถที่จะตกลงราคาที่เหมาะสมได้ เราคาดว่าความพยายามของรัฐบาลในการกลับไปใช้สัญญาสัมปทานเดิมก่อนการแก้ไข และการเรียกค่าเสียหายจากผู้ประกอบการภาคเอกชน ท้ายที่สุดจะกลายมาเป็นประเด็นทางกฎหมายอีกประเด็นหนึ่ง
หุ้นที่ชอบได้แก่ ADVANC
หุ้นที่ชอบสุด คือ ADVANC (112 บาท) ขณะที่แนะนำ “ซื้อ” สำหรับ DTAC (45 บาท) และ “ถือ” สำหรับ TRUE (ราคาเป้าหมายใหม่อยู่ที่ 3.40 บาท จากเดิม 2.7 บาท) อิงจากการประเมินมูลค่าด้วยวิธี DCF ปัจจัยเสี่ยงสำหรับอุตสาหกรรมที่กระทบต่อประมาณการของเราได้แก่ ความล่าช้าในการประมูลใบอนุญาต 3G ในเดือนสิงหาคม 2553 , ความเสี่ยงจากการดำเนินงานของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (NBTC) และ กทช , เศรษฐกิจชะลอตัวยาวนาน, สงครามราคา และการปรับอัตราค่าเชื่อมโยงเครือข่าย (IC)

โดย สำนักวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด ประจำวันที่ 16 ธ.ค. 2552

*********
07/12/52
ค่ายมือถือชูกระแส"บีบี" ดีแทคขายเครื่องพ่วงสัญญา1ปี ทรูคลอด3แพ็คเกจเติมเงิน เอไอเอสลั่นสู้ได้สบาย

3 ค่ายมือถือชูกระแส "บีบี" บูมปั๊มรายได้ หลังการใช้งานด้านเสียงถึงยุคอิ่มตัว "ดีแทค" เปิดแพ็กเกจ "ขายเครื่องพ่วงสัญญา 1 ปี" พร้อมเดินหน้ากระตุ้นการใช้ data เต็มสูบ ชี้ปีหน้าเป็นปีของสมาร์ตโฟนไม่ใช่ 3G ข้าง "เอไอเอส" เชื่อแพ็กเกจ คู่แข่งไม่เร้าใจพอ ไม่ต้องปรับอะไรเพิ่มก็สู้ได้สบาย ๆ ขณะที่ "ทรูมูฟ" คลอด 3 แพ็กเกจเติมเงินปั๊มรายได้ "599 บาท ใช้ได้ 30 วัน" ถูกสุดในตลาดเอาใจนักแชต-นักท่องเน็ต

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 2 ธ.ค.2552ที่ผ่านมา บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) เปิดตัวทำตลาดมือถือแบล็คเบอร์รี่อย่างเป็นทางการ หลังปล่อยทรูมูฟและเอไอเอสขายล่วงหน้าไปก่อนแล้ว จึงเป็นที่คาดหวังมากว่าทั้งราคาเครื่องและโปรโมชั่นน่าจะจูงใจกว่าเพราะมาทีหลัง โดยนำเข้ามา 2 รุ่น คือ Curve 8520 และ Bold 9000 ที่ 12,999 บาท และ 22,999 บาท ตามลำดับ (ไม่รวมแวต) ในรุ่น Curve 8520 มี "สีขาว" ลิมิเต็ดเอดิชั่นให้เลือกซื้อ (จำนวนจำกัด รับเครื่อง 21 ธ.ค.) สีดำหาซื้อได้ตั้งแต่ 7 ธ.ค.เป็นต้นไปที่ดีแทคช็อป, ไอ-โมบาย, เจมาร์ท และทีจีโฟน

เฉพาะราคาเครื่องเปล่าเทียบกันแล้วแพงกว่า เพราะเอไอเอสขาย 13,900 บาท และ 23,900 บาท รวมแวตแล้ว แต่ถ้าเป็นลูกค้าดีแทคอยู่ แล้วอยากซื้อเครื่องเปล่าจะได้ราคาถูกกว่าเล็กน้อย คือ 11,999 บาท สำหรับรุ่น Curve 8520 และ 21,999 บาท สำหรับรุ่น Bold 9000

ถ้าอยากได้ถูกเป็นพิเศษต้องซื้อพ่วง แพ็กเกจรายปี 8,800 บาท (800 บาท/เดือน มีโทร.ฟรี 100 นาที ส่วนเกินคิด 1.50 บาท ใช้ data ได้ไม่จำกัด) จะลดราคาเครื่องให้ถูกเป็นพิเศษที่ 9,999 บาท กับ Curve 8520 และ 19,999 บาท กับ Bold 9000

ส่วนลูกค้าเดิมที่มีโปรโมชั่นหลักอยู่ แล้วเปลี่ยนมาใช้โปรโมชั่น 800 บาท/เดือน เป็นแพ็กเกจหลักได้ รวมทั้งใช้โปรโมชั่นเดิมแล้วสมัครแพ็กเกจเสริมก็ได้ มีให้เลือก 4 แบบ คือ 1.รายเดือน Internet Unlimit 650 บาท ใช้ GPRS ไม่อั้น 2.แพ็กเกจ Life 350 บาท ใช้งาน GPRS สำหรับแชต โซเชียล เน็ตเวิร์กกิ้งและอีเมล์ได้แต่ Browse ไม่ได้

3.แบบเติมเงิน Internet 30 วัน ราคา 650 บาท ใช้ GPRS ไม่อั้น และ 4. Life 30 วัน ราคา 350 บาท ใช้ GPRS สำหรับแชต โซเชียลเน็ตเวิร์กกิ้ง และอีเมล์ได้แต่ Browse ไม่ได้

นายธนา เธียรอัจฉริยะ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) กล่าวว่า ดีแทคห่างจากการทำตลาดเครื่องลูกข่ายไปนาน และการเข้ามาทำตลาดหลังคู่แข่งต้องใช้แคมเปญที่แรงกระตุ้นการใช้งาน พร้อมทั้งชูความแตกต่างใน 4 เรื่อง 1.มีเครื่องสีขาว 2.ความเร็วในการให้บริการ data ที่เร็วที่สุด 3.ช่องทางจัดจำหน่ายครอบคลุม และ 4.ค่าบริการคุ้มกว่า (แพ็กเกจรายปี 8,800 บาท เท่ากับจ่าย 11 เดือน ได้ใช้ 12 เดือน)

"ปี 2553 ไม่ใช่ปีของ 3G แต่จะเป็นปีของสมาร์ตโฟน เพราะเราเปิดตัวที่ราคานี้ ต่อไปเชื่อว่าราคาในตลาดจะลดลง รวมทั้งเครื่องเถื่อนในมาบุญครอง จากอดีตที่ผ่านมาจะเห็นว่าเมื่อไหร่ที่ผู้ให้บริการ 3 ราย แข่งกันดุเดือดจะเป็นประโยชน์กับผู้บริโภค ในส่วนของเราตั้งเป้าว่าต้องมีส่วนแบ่งตลาดแบล็คเบอร์รี่เป็นอันดับ 1 ให้ได้ในปีหน้า"

นายธนากล่าวเพิ่มเติมว่า การเปิดตัวแบล็คเบอร์รี่ในครั้งนี้ถือเป็น strategic move ของดีแทคด้วย เนื่องจากปัจจุบันตลาดบริการด้านเสียงเริ่มอิ่มตัว ขณะที่การใช้ data เติบโตขึ้น ปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้ 15% หากกระตุ้นให้มีสัดส่วนการใช้เพิ่มขึ้นอีกก็ต้องลงมาทำตลาดเครื่องลูกข่ายด้วย ทำให้ดีแทคกลับมาสนใจทำตลาดเครื่องลูกข่ายทั้งแบล็คเบอร์รี่และแอร์การ์ด

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า ในวันเดียวกัน "ทรูมูฟ" ได้เปิดตัวแพ็กเกจแบล็คเบอร์รี่สำหรับลูกค้าพรีเพด 3 แบบ ได้แก่ 1.ราคา 60 บาท ใช้ได้ 3 วัน 2.ราคา 140 บาท ใช้ได้นาน 7 วัน และราคา 599 บาท ใช้ได้ 30 วัน โดยใช้ data ได้ไม่จำกัดเพื่อเชื่อมต่ออีเมล์, แชต และโซเชียลเน็ตเวิร์ก รวมทั้งเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

นายอาร์ม เวชชาชีวะ ผู้จัดการผลิตภัณฑ์แผนกบริหารผลิตภัณฑ์ 3จี-แบล็คเบอร์รี่ บริษัท ทรูมูฟ จำกัด กล่าวว่า ทรูมูฟจะขยายจุดจำหน่ายแบล็คเบอร์รี่เป็น 40-50 แห่ง จากที่มีอยู่ 30 แห่ง รวมทั้งสร้างบีบีเลานจ์อีก 3 แห่ง เพื่อเป็นจุดให้บริการด้านการใช้งานเครื่องและแอปพลิเคชั่นแก่ลูกค้า

"เราตั้งเป้าว่าเป็นที่ 1 ในตลาดแบล็คเบอร์รี่ในปี 2553 เพราะมีจุดเด่นด้านแอปพลิเคชั่น มีเอ็กซ์คลูซีฟคอนเทนต์ อีกทั้งแพ็กเกจที่มีก็น่าจะทำให้ขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้น ปัจจุบันทรูมูฟมียอดขายประมาณ 10,000 เครื่องจากตลาดรวม 1 แสนเครื่อง"

ด้านนางภูมิใจ กฤติยานนท์ ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า ดีแทคนำแบล็คเบอร์รี่เข้ามาจำหน่ายน่าจะเป็นผลดีช่วยกระตุ้นตลาด แต่เอไอเอสคงไม่มีการปรับราคาเครื่องหรืออัตราค่าบริการใด ๆ เนื่องจากมองว่ามีบริการที่ครบอยู่แล้ว ทั้งสำหรับลูกค้าที่มีการใช้งานสูงและลูกค้าที่ต้องการแพ็กเกจราคาประหยัด ทั้งแบบรายเดือนและแบบเติมเงิน

"ราคาเครื่องของคู่แข่งถือว่าไม่แรงเพราะว่าเป็นราคาไม่รวมแวต หรือเครื่องราคา 9,999 บาท แม้จะดูราคาดีแต่มีเงื่อนไขว่าต้องจ่ายค่าบริการรายปีอีก 8,800 บาท รวม ๆ แล้วเกือบ 20,000 บาท ขณะที่การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคจะดูจำนวนเงินที่ต้องจ่ายก้อนแรกเป็นหลัก"

นางภูมิใจกล่าวต่อว่า แม้ผู้ให้บริการจะนำแบล็คเบอร์รี่เข้ามาจำหน่ายเป็นทางการ แต่ตลาดเกรย์มาร์เก็ตก็ยังมียอดขายสูงกว่า เพราะขายราคา 11,000-12,000 บาท โดยพบว่าลูกค้าที่จดทะเบียนใช้แพ็กเกจแบล็คเบอร์รี่ในปัจจุบันมีมากกว่าเครื่องที่ขายไป โดยใน 100 ราย มีลูกค้าซื้อเครื่องจากเอไอเอส 20 ราย ที่เหลือซื้อเกรย์มาร์เก็ตแล้วนำมาจดทะเบียนกับโอเปอเรเตอร์
prachachart
**********
02/12/52
ครม.เศรษฐกิจให้ทบทวนสัญญาสัมปทานทีโอที-กสท.

Posted on Wednesday, December 02, 2009
นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี บอกว่า การประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ได้มอบหมายให้กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) ไปทบทวนสัญญาสัมปทานระหว่าง บมจ.ทีโอที และบมจ.กสท. โทรคมนาคม กับภาคเอกชน หลังกฤษฎีกาตีความว่า สัญญาสัมปทาน 10 ฉบับขัดต่อกฎหมายและอาจสร้างความเสียหายให้กับรัฐ คิดเป็นมูลค่ากว่าแสนล้านบาท โดยต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 90 วัน ก่อนที่จะนำกลับมารายงานต่อที่ประชุม ครม. ต่อไป

นอกจากนี้ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจยังได้ประเมินผลกระทบจากกรณีที่เวียดนามลดค่าเงินดอง โดยยอมรับว่า จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย เพราะทำให้สินค้าจากเวียดนาม ได้เปรียบสินค้าไทย เช่น ข้าว เสื้อผ้าสำเร็จรูป อาหารแปรรูป และยังประเมินว่า มีแนวโน้มที่เวียดนามจะลดค่าเงินดองอีกในอนาคต เนื่องจากการขาดดุลบัญชีเดินสะพัดที่ยังอยู่ในระดับสูง ดังนั้น ภาครัฐและเอกชน จึงต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ส่วนปัญหาดูไบไม่น่ามีผลกระทบต่อไทย เนื่องจากสถาบันการเงินไทยปล่อยสินเชื่อในดูไบน้อยมาก และสินเชื่อในดูไบมาจากยุโรปถึง 93.3% รวมทั้งกลุ่มสหรัฐอาหรับเอมิเรตเอง ยังมีความมั่นคงทางการเงินสูง จึงเชื่อว่า วิกฤตดูไบไม่น่าจะมีผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจไทยรวมถึง สถาบันการเงินไทย แต่อาจจะมีผลกระทบทางอ้อมต่อตลาดหุ้นบ้างเล็กน้อย

ด้านนายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ บอกว่า ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ มีมติเห็นชอบให้กระทรวงพาณิชย์ ผู้แทการค้า และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ร่วมกันหาข้อสรุปเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง เพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์หน้า โดยจะต้องพิจารณา ประเด็นที่ยังมีความเห็นแตกต่างกัน และประเด็นที่สามารถสอดรับกันได้ ให้คณะกรรมการกฤษฎีการ่วมพิจารณา เพื่อจัดทำรายละเอียดร่วมกัน และกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน ก่อนเสนอให้ ครม.ตัดสิน

สำหรับประเด็นที่ยังมีความเห็นแตกต่างกัน ได้แก่ การตั้งคณะกรรมการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง ซึ่งร่างกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ เสนอให้ตั้งคณะกรรมการ 2 ชุด คือ คณะกรรมการส่วนกลาง โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน และคณะกรรมการระดับภูมิภาค มีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน

ขณะที่ร่างกฎหมายของผู้แทนการค้าไทย เสนอให้มีการตั้งคณะกรรมการเพียงชุดเดียว โดยให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน เพราะเป็นห่วงว่า การตั้งคณะกรรมการระดับจังหวัด อาจเกิดปัญหาในทางปฎิบัติ และเรื่องความโปร่งใส
money news update
**********
25/11/52
TDRI ย้ำ ต้องแปรสัมปทานก่อนประมูล 3G

Posted on Wednesday, November 25, 2009
นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ รองประธานสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ย้ำว่า ควรมีการแปรสัญญาสัมปทาน ก่อนออกใบอนุญาต 3G โดยให้ผู้ประกอบการจ่ายค่าสัมปทานที่เหลือเป็นเงินก้อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการพูกพันสัญญสัมปทาน แต่หากไม่สามารถแปรสัญญาสัมปทานได้ ก็ควรดำเนินการตามแนวคิดของรัฐมนตรีคลัง โดยการเก็บภาษีสรรพามิตโทรคมนาคม ซึ่งถือเป็นทางเลือกที่ดี เพราะมีกฎหมายรับรอง และทำให้รัฐไม่สูญเสียประโยชน์

นายสมเกียรติ บอกด้วยว่า หากออกใบอนุญาต 3G โดยไม่มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้กว่า 1.5 แสนล้านบาท

ด้านนายทรงวุฒิ วงษ์สุนทร ที่ปรึกษาด้านการตลาด สำนักบริหารโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ยุคที่ 3 (3G) บมจ.ทีโอที บอกว่า ขณะนี้ทีโอทีได้ดำเนินการวางระบบโครงข่ายเสร็จหมดแล้ว ซึ่งพร้อมให้บริการในวันที่ 3 ธันวาคมนี้ กลายเป็นผู้ให้บริการรายแรก ตั้งเป้าให้บริการ 5 แสนเลขหมายภายใน 6 เดือน โดยจะเน้นการสื่อสารข้อมูลเป็นหลัก ทั้งผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่และโทรศัพท์บ้าน โดยจะทำการโอนย้ายลูกค้าจากไทยโมบายเดิมราว 10,000 เลขหมายมาอยู่กับ TOT 3G รวมทั้งสร้างฐานลูกค้าจากบริการอินเตอร์เน็ต ADSL จากโทรศัพท์บ้านควบคู่กันไป ซึ่งทีโอทีได้เลือกผู้ร่วมทำการตลาด 5 ราย และจะทำสื่อออกมาสนับสนุนบริษัทเหล่านี้ด้วย

ด้านนายสมหวัง เหลืองไพบูลย์ ผู้จัดการบริษัท เพย์สบาย จำกัด ผู้ให้บริการชำระเงินออนไลน์ บอกว่า การมีระบบ 3G จะส่งผลประโยชน์โดยตรงกับการทำธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจออนไลน์ (E-Commerce) เนื่องจากสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต ส่งไฟล์มัลติมีเดียได้ง่ายขึ้น และสามารถสื่อสารด้ายภาพและเสียง ทำให้เกิดการซื้อ-ขายได้เร็วขึ้น ซึ่งหากเกิดความล่าช้าในการเปิดให้บริการ 3Gกับเอกชนรายอื่นๆ จะส่งต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยในเรื่องของการลงทุนจากต่างประเทศเป็นหลัก เพราะจะทำให้นักลงทุนลังเลหรือไม่ค่อยมั่นใจกับการเติบโตในระบบการสื่อสารของไทย

นายสมหวัง บอกด้วยว่า การเปิดประมูลใบอนุญาต 3G นั้น อยากให้ทุกฝ่ายมองประโยชน์ของประเทศเป็นหลักมากกว่าผลได้ผลเสียของแต่ละองค์กร เพราะจะไม่เกิดประโยชน์
money news update***********
25/11/52
กลุ่มสื่อสาร กทช.ออกร่างเกณฑ์คุมถือหุ้นไขว้ กลัวรายใหญ่อุตฯโทรคม ควบรวมกิจการครบวงจร รายเล็กไม่มีโอกาสเกิดชี้ไม่ได้หวัง
กันท่าค่ายมือถือ เตรียมคลอดบริษัทลูกรับช่วงให้บริการ 3จี ต่อจากบริษัทแม่ แต่หากพบมีการถือหุ้นกว่า 30% เข้าข่ายผิดระเบียบทันที ขู่
โทษสูงสุดเลิกไลเซ่นส์ AIS-TRUE-DTAC โดนถ้วนหน้า กทช.ยันต้องขายหุ้นบริษัทลูกส่วนเกินให้พันธมิตรหรือเข้าเทรดตลาดเท่านั้น
ส่วนกทช.ครบ 7 ท่านจับตาประมูล 3G เดินหน้าหรือเลื่อนยาว ประธาน กทช. หวัง 3G ไปต่อส่วนโยบายกรรมการใหม่รอหลังโปรดเกล้าฯ
เรียกประชุมอีกที (ทันหุ้น/ข่าวหุ้น)
ความเห็น เมื่อวันที่ 23 พ.ย. 52 ทางวุฒิสภาได้เลือก กทช. จำนวน 4 คน ได้แก่ พ.อ.นที ศุกลรัตน์ ประธาน
คณะอนุกรรมการด้านวิทยุชุมชน กทช., นายพนา ทองมีอาคม ประธานคณะอนุกรรมการเคเบิลทีวีของ กทช., นายบัณฑูร
สุภัควณิช และ นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร เลขาธิการ กทช.คนปัจจุบัน ส่งผลให้ปัจจุบันมีกทช. ครบตามจำนวน 7 คน โดย
เราคาดว่า กทช. จะดำเนินงานในการจัดสรรคลื่นความถี่ 3G ควบคู่กับการรอการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาอีกครั้ง
หนึ่ง อย่างไรก็ตาม ตลาดฯ มีมุมมองเชิงลบต่อการเปิดประมูล 3G ที่อาจจะล่าช้าไปจากกำหนดการณ์เดิม (เดิมคาดไตรมาส
1/53 เปิดประมูล 3G) เนื่องจากมองว่าการเข้ามาทำงานของ กทช. ชุดใหม่อาจต้องใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลก่อน และล่าสุด
ยังมีข่าวเรื่องที่ กทช. จะออกร่างกฎหมายใหม่เพื่อควบคุมไม่ให้ผู้ประกอบที่ได้รับใบอนุญาตให้บริการ (ไลเซนส์) จาก กทช.
ถือหุ้นในบริษัทลูกเกิน 30% ซึ่งประเด็นข่าวนี้ถือว่าเป็นข่าวลบต่อกลุ่มผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ทั้ง ADVANC, DTAC และ
TRUE MOVE อย่างมาก ซึ่งหากกฎหมายนี้บังคับใช้จริง ก็จะทำให้ทั้ง 3 บริษัทฯ ไม่ได้รับผลประโยชน์เต็มที่ จากบริษัทลูกฯ
ที่ตั้งขึ้นมาใหม่เพื่อดำเนินงานเรื่อง 3G เนื่องจากบริษัทฯ ไม่สามารถถือหุ้นในบริษัทลูกได้เต็ม 100% โดยเรามองว่าร่าง
กฎหมายดังกล่าว กำหนดขึ้นมาเพื่อป้องกันการถ่ายโอนลูกค้าจากระบบ 2G ไปยัง 3G ของผู้ได้รับสัมปทานเดิม ดังนั้นสำหรับ
ประเด็นข่าวในวันนี้ เราคาดว่าจะส่งผลกระทบเชิงลบทางด้านจิตวิทยาการลงทุน และอาจส่งผลกระทบต่อการปรับลดมูลค่า
ของธุรกิจ 3G ที่แต่ละบริษัทฯจะได้รับในอนาคต ดังนั้นใบเบื้องต้นเราจึงให้น้ำหนักการลงทุนในวันนี้ “ต่ำกว่าตลาด” และ
แนะนำ “หลีกเลี่ยงการลงทุน” ในกลุ่มนี้ออกไปก่อน เพื่อรอความชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง cgs
***********
17/11/52
กลุ่มสื่อสาร กทช.มั่นใจบริการ 3 จี ไร้ปัญหาโทรติดยาก ชี้ช่องปัญหาต่างบริการ 2.5 จี มีเรื่องสัมปทานเกี่ยวข้อง คาดปีนี้เคาะราคา
กลางไอซี อยู่ที่ 40-60 สตางค์ ย้ำภายใต้ไลเซ่นส์ใหม่ทุกคนต้องเข้าระบบไอซีตามหลักสากล กสทฯย้ำพร้อมเข้าสู่ไอซี หากปิดดีลฮัทช์ลงตัว
ตามราคาที่รับได้ แย้มเซ็นกับ DTAC รายแรก "ทอเร่"ฝากถึงทีโอทีก่อนเปิด 3จี ต้องใช้ไอซีเพื่อความเท่าเทียมกัน (ข่าวหุ้น)cgs
**************
16/11/52
ปัจจัยในประเทศ & อุตสาหกรรมและหุ้นเด่น
- หวั่นธุรกิจ 3G มีข้อร้องเรียนเหมือนมาบตาพุด เนื่องจากมีปัญหาด้านกฎหมายว่าคณะกรรมการกทช.ที่มีอยู่ 3 คน จากเดิม 7 คนอาจทำให้กระบวนการจัดสรรคลื่นความถี่ไม่สมบูรณ์ นอกจากนั้นตามรัฐธรรมนูญปี 50 กำหนดให้จัดตั้งองค์กรอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ซึ่งขณะนี้องค์กรดังกล่าวยังไม่ได้จัดตั้ง ซึ่งอาจนำไปสู่การฟ้องร้องคล้ายกับปัญหามาบตาพุด ด้านกทช.จะสรรหาคณะกรรมการใหม่ 4 คนในวันที่ 23 พ.ย.นี้ และหากผลการตีความของกฤษฎีกาเรื่องอำนาจของกทช.ออกมาภายในสิ้นเดือน พ.ย.52 และผลการทำประชาพิจารณ์รอบ 2 ไม่มีปัญหาก็คาดว่าจะเปิดประมูลได้ภายใน 1Q53
ความเห็น DBSV : ปัญหาการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ยังคงมีหลายประเด็น และคาดว่าต้องใช้เวลาในการหาความชัดเจน และหากผลการตีความอำนาจของกทช.เสร็จไม่ทันสิ้นพ.ย.นี้ และต้องมีการแก้ไขปรับปรุงหลังการทำประชาพิจารณ์ 2 หลายประเด็น การเปิดประมูลฯก็อาจจะไม่ทัน 1Q53 ยังผลให้หุ้นที่คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากธุรกิจ 3G มากอย่าง DTAC และ TRUE ได้รับความน่าสนใจน้อยลงในประเด็นนี้ เราจึงให้ ADVANC เป็นหุ้น Top Pick ในกลุ่มสื่อสาร โดยจุดเด่น คือ เครือข่ายที่แข็งแกร่ง กระแสเงินสดจากการดำเนินเงินดี งบดุลแข็งแรง และจ่ายปันละสูงอย่างสม่ำเสมอ (ประมาณ 7-8% ต่อปี)
dbsv
***************
10/11/52
เปิดมุมมองนักเศรษฐศาสตร์ ประมูลไลเซนส์ 3จี คุ้มค่าจริงหรือ
ยังคงเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันไม่จบว่า ท้ายที่สุดแล้ว การประมูลใบอนุญาตให้บริการ (ไลเซนส์) 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ ของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) นั้น

เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน หรือของใคร ดังนั้นกลุ่มจับตานโยบายรัฐบาล (Policy Watch) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำเสนอมุมมองที่มีต่อเรื่องนี้ในแง่ของเศรษฐศาสตร์ ว่า

หากต้องมีการลงทุนโครงข่าย 3จี ใหม่ทั่วประเทศ ไม่คุ้มค่าต่อประเทศเลยแม้แต่น้อย!!

ดังนั้น การประมูล 3จี จึงไม่ใช่การดึงเม็ดเงินลงทุนเข้าประเทศมูลค่ามหาศาลอย่างที่เข้าใจกัน

ทั้งนี้ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้เหตุผลว่า เพราะปัจจุบันโครงข่าย หรือเสาสัญญาณของระบบโทรศัพท์มือถือในประเทศไทยมีล้นประเทศอยู่แล้ว หากมีเทคโนโลยี 3จี การลงทุนด้านโครงข่ายที่จะเกิดความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ คือ การนำทรานซ์มิชชันมาอัพเกรดบนโครงข่ายเดิม ซึ่งจะส่งผลดีมากกว่าการที่ต้องมาลงทุนโครงข่าย 3จี ใหม่ทั้งหมด

ส่วนที่ว่าเทคโนโลยี 3จี จะพลิกโฉมหน้าของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวกับเนื้อหาข้อมูล (คอนเทนต์ และแอพพลิเคชัน) อย่างมหาศาลนั้น ก็ตรงข้ามกับความจริงที่ว่า อุตสาหกรรมนี้จะค่อยๆ เปลี่ยนแปลง และเพิ่มขึ้นตามความต้องการของลูกค้า ไม่ได้เติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างที่เอกชนผู้ให้บริการมือถือให้ความเห็นไว้

กลุ่มจับตานโยบายรัฐบาล ยังมองว่า ควรจะเก็บภาษีสรรพสามิต ให้เท่ากับส่วนแบ่งรายได้ที่หายไป หากเอกชนรายปัจจุบัน มีการถ่ายโอนลูกค้าไปยังบริษัทใหม่ เพื่อที่องค์กรของรัฐ และประเทศชาติไม่ต้องสูญเสียรายได้ เพราะที่ผ่านมาส่วนแบ่งรายได้ที่ได้รับจากเอกชนทั้งสามรายมีมูลค่ามหาศาล

เฉพาะช่วงปี 2547-2551 บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส นำส่งส่วนแบ่งไป แล้ว 3.04 แสนล้านบาท บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค นำส่งรายได้ 8 หมื่นล้านบาท และบริษัท ทรูมูฟ นำส่งรายได้ 1.8 แสนล้านบาท

นอกจากความไม่คุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์แล้ว เอกชนแต่ละรายยังพยายามสร้าง “กับดักทางความคิด” ว่า การที่กทช. คิดค่าไลเซนส์ในราคาถูก หรือไม่คิดค่าไลเซนส์เลยนั้น ประชาชนจะได้ใช้บริการ 3จี ในราคาถูก เพราะปัจจุบันผู้ใช้มือถือยังคงต้องเสียค่าบริการในหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นแม้เอกชนจะได้คลื่น 3จี มาฟรี แต่ไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่เอกชนจะไม่เรียกเก็บค่าบริการ 3จี จากผู้ใช้ ซึ่งข้อมูลทั้งหมดที่เอกชนพยายามเรียกร้อง จึงเป็นกับดักให้ประชาชนตกหลุมพรางเท่านั้น

ทั้งนี้ หากกทช. ต้องการให้การประมูล 3จี เป็นไปเพื่อผลประโยชน์ผู้ใช้บริการจริงๆ ควรจะกำหนดเพดานราคาค่าบริการ 3จี เพื่อให้ประชาชนถูกผลักภาระน้อยที่สุด และไม่ควรประมูลไลเซนส์พร้อมกันทั้ง 4 ใบ เพราะเท่ากับว่าเป็นการเปิดทางให้กับรายเก่าอย่างชัดเจน ซึ่งรายเก่าที่มีอยู่นั้นไม่จำเป็นต้องเสนอราคาสูงเพื่อต้องแข่งขันให้ได้มาซึ่งใบอนุญาต

ท้ายที่สุด ก็ทำให้ประเทศชาติต้องสูญเสียทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดไปอย่างเปล่าประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่ และเลขหมายโทรศัพท์ ที่เอกชนจะโอนย้ายไปยังระบบใหม่

กลุ่มจับตานโยบายย้ำว่า การแสดงความคิดเห็นของนักวิชาการที่ออกมาในหลายๆ ครั้ง ไม่ได้ต่อต้านการเกิดขึ้นของ 3จี แต่ต้องการให้กทช. ให้ข้อมูล กับประชาชนว่า การประมูลที่จะเกิดขึ้นนั้น ดีหรือไม่ดีอย่างไร และประชาชนจะได้ประโยชน์อะไรจาก เทคโนโลยี 3จี ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากกว่าข้อมูลที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่ประชาชนแทบไม่มีส่วนเกี่ยวข้องแม้แต่น้อย

ไม่ใช่การเร่งประมูล รีบร้อนดำเนินการ แล้วร่วมมือกับเอกชนสร้าง “หลุมพราง” ว่าประเทศไทยต้องก้าวสู่ 3จี อย่างเลี่ยงไม่ได้

ดังนั้น หากการประมูล 3จีนั้นเกิดขึ้นบนพื้นฐานที่ว่าประชาชนได้ประโยชน์จริง ก็ควรจะทำให้ประชาชนรู้สึกว่า คลื่น 3จีนั้น เป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนอย่างแท้จริง ไม่ใช่เพราะผลประโยชน์ของเอกชนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
posttoday***********
26/10/52
ดันบรอดแบนด์เข้างบไทยเข้มแข็ง3
กทช. หวังโครงการบรอดแบนด์ทั่วประเทศเป็นหนึ่งในนโยบายไทยเข้มแข็งเฟส 3 ยกระดับไทยเทียบสหรัฐ-สิงคโปร์

นายประสิทธิ์ ประพิณมงคลการ กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เปิดเผยว่า วันที่ 28 ต.ค.นี้ คณะทำงานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง หรือบรอดแบนด์ ที่ เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน จะมีการหารืออีกครั้งเพื่อจัดทำรายงานเสนอต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมตรี ถึงแนวทางการ นำบรอดแบนด์มาพัฒนาให้เกิดประโยชน์สูงสุดในประเทศ
ทั้งนี้ คาดหวังว่าการขยายการให้บริการบรอดแบนด์ให้ครอบคลุมประเทศ จะถูกบรรจุเข้าไปในโครงการ ไทยเข้มแข็งระยะที่ 3 เพราะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดการเข้าถึงเทคโนโลยีให้กับประชาชนใน ต่างจังหวัด (ดิจิตอลดีไวด์) ซึ่งเรื่องนี้ต้องขึ้นอยู่กับรัฐบาลที่จะเป็น ผู้พิจารณาตัดสินใจในเรื่องดังกล่าว

นายประสิทธิ์ กล่าวว่า อินเทอร์ เน็ตบรอดแบนด์มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศมาก เห็นได้จากการที่รัฐบาลของสหรัฐได้จัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนนโยบายการขยายบรอดแบนด์ในสหรัฐมูลค่า 7,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2.45 แสนล้านบาท เพื่อสร้างงานและยกระดับความสามารถในการแข่งขัน เช่นเดียวกับประเทศสิงคโปร์ที่ได้วางโครงข่ายใยแก้ว นำแสงทั่วประเทศเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบรอดแบนด์

ขณะที่ประเทศไทยก็อยู่ระหว่างการวางไฟเบอร์ออปติกเช่นเดียวกัน แต่ยังไม่ครอบคลุมทั่วประเทศ ซึ่งหาก 3จี บนคลื่น 2.1 กิกะเฮิรตซ์ เปิดให้บริการแล้ว จะเข้ามาเสริมบริการบรอดแบนด์และเชื่อว่าจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตกว่า 50% จะหันมาใช้บรอดแบนด์แบบไร้สาย จากปัจจุบันภาพรวมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีอยู่ประมาณ 13–14 ล้านราย ซึ่งเป็นจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับจำนวนประชากรที่ใช้มือถือซึ่งมีกว่า 60 ล้านคน

สำหรับนโยบายสำคัญในการพัฒนาอินเทอร์เน็ตบรอดแบนด์ในประเทศไทยนั้นประกอบด้วย อัตราค่าบริการที่ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงได้ มีการกำหนดการเข้าถึงบรอดแบนด์ของประชากรจำนวน 28 ล้านคน มีการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม

นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือเอไอเอส กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ใช้ บรอดแบนด์ของไทยมีเพียง 1.5 ล้านรายเท่านั้น ซึ่งไลเซนส์ 3จี ของกทช. จะเข้ามาช่วยให้การกระจายการใช้งานทั่วถึงมากขึ้น โดยเอไอเอสจะเน้นไปที่คุณภาพของโครงข่ายในการให้บริการ

สำหรับคณะทำงานบรอดแบนด์นั้นเป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
posttoday
**************
23/10/52
ตลาดพีซีเอเชียพลิกฟื้นโต 18% IDC ชี้ "จีน"ตัวช่วยสำคัญ คาดหลังเปิดตัว "วินโดวส์ 7" กระตุ้นตลาดได้อีก

"ไอดีซี"บริษัทวิจัยชั้นนำเผยผลสำรวจข้อมูลเบื้องต้นในไตรมาส3/2552พบตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ยกเว้นญี่ปุ่น มียอดขายสูงถึง 23.4 ล้านเครื่อง เติบโตถึง18% เกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึง9% ระบุแรงซื้อจากภาครัฐเป็นแรงหนุนสำคัญโดยเฉพาะตลาดใหญ่ในจีน เผย"เลอโนโว"ซิวอันดับหนึ่ง ส่วนแบ่งตลาดเกือบ20% ตามติดด้วย"เอชพี" 18.3% ที่เหลือเป็นของเดลล์ เอเซอร์ และอัสซุส คาดหลังเปิดตัววินโดวส์ 7สัปดาห์นี้ช่วยกระตุ้นตลาดได้อีกเยอะ

ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลกทำให้มีการคาดการณ์ว่า ปีนี้กำลังซื้อในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ทั้งพีซีตั้งโต๊ะและโน้ตบุ๊กอาจไม่มีการเติบโตหรือเติบโตในสัดส่วนที่ต่ำนั้น รายงานการสำรวจข้อมูลเบื้องต้นในไตรมาส 3/2552 ของไอดีซี (International Data Corporation) บริษัทวิจัยชั้นนำพบว่ายอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกยกเว้นญี่ปุ่นมีอัตราการเติบโตสูงถึงร้อยละ 18 และเมื่อเปรียบเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2551 มีอัตราการเติบโตสูงถึงร้อยละ 17 ด้วยยอดจำหน่ายสูงถึง 23.4 ล้านเครื่อง ซึ่งเกินกว่าที่คาดการณ์ไว้ถึงร้อยละ 9

โดยเฉพาะการเติบโตของคอมพิวเตอร์แบบพกพา ที่ได้รับแรงสนับสนุนการสั่งซื้อจากภาครัฐบาล เป็นตัวกระตุ้นสำคัญทำให้เกิดการเติบโตในประเทศ จีน และไต้หวัน โดยที่ "เลอโนโว" ยังคงสามารถรักษาความเป็นที่หนึ่งไว้ในภูมิภาคนี้ ด้วยส่วนแบ่งตลาดในไตรมาส 3/2552 อยู่ที่ 19.8% ด้วยอัตราการเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา 23%

ขณะที่ "เอชพี" มียอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องแบบเร่งสปีดตามมาติด ๆ ด้วยส่วนแบ่งตลาด 18.3% ซึ่งมีอัตราการเติบโตจากปีที่ผ่านมาสูงถึง 46% และตามมาด้วยเดลล์ เอเซอร์ และอัสซุส

ไบรอัน มา ผู้อำนวยการฝ่ายงานวิจัยตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไอดีซี เอเชีย-แปซิฟิกระบุว่า "เป็นเรื่องน่ายินดีที่ยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในภูมิภาคนี้เพิ่มสูงขึ้น แม้ว่าแรงขับจำนวนมากจะมาจากประเทศจีน อย่างไรก็ตามความกระตือรือร้นที่จะช่วยกันผลักดันยอดขายได้อย่างตรงจุดจะเป็นพื้นฐานสำคัญให้กับตลาดทั่วทั้งภูมิภาคนี้ในปีหน้า"

และการเปิดตัวระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 7 ในสัปดาห์นี้น่าจะมีส่วนช่วยกระตุ้นให้เกิดการทำกิจกรรมโปรโมชั่นมากขึ้นในภูมิภาคนี้ กลุ่มลูกค้าแบบบุคคลจะเป็นกลุ่มที่ริเริ่มติดตั้งระบบปฏิบัติการใหม่ ๆ ก่อนลูกค้าแบบองค์กร ขณะที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์แบบพกพายังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งมีการเปลี่ยนจากอัลตร้าทินโน้ตบุ๊กไปเป็นดูโอบูทมินิโน้ตบุ๊ก การปรับเปลี่ยนนี้อาจจะส่งผลให้เกิดหรืออาจจะไม่ส่งผลให้เกิดความน่าสนใจมากขึ้น ความพยายามที่ได้ทุ่มเทไปทั้งหมดนั้นย่อมก่อให้เกิดความสำเร็จอย่างแน่นอน

อย่างไรก็ตาม "รูเบน แทน" ผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายงานวิจัยตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ไอดีซี เอเชีย-แปซิฟิก ยังมีความเป็นห่วงถึงยอดจำหน่ายคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในประเทศสิงคโปร์ เนื่องจากผลกระทบจากเศรษฐกิจชะลอตัว รวมถึงบางประเทศในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ต้องประสบภัยธรรมชาติอย่างรุนแรง รวมทั้งความไม่มั่นคงทางการเมืองอย่างในประเทศปากีสถาน อาจทำให้เกิดสถานการณ์ที่ไม่คาดคิดในไตรมาส 4 ปี 2552 ได้
prachachart
**********
22/10/52
กลุ่มสื่อสาร ที่ประชุม กทช.สรุปราคาเริ่มต้นประมูลใบอนุญาตให้บริการ 3G โดย แบ่งเป็นขนาด 10 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 3 ใบ
กำหนดราคาเริ่มต้นที่ 4.6 พันล้านบาท/ใบ และ ขนาด 15 เมกะเฮิร์ตซ จำนวน 1 ใบ กำหนดราคาเริ่มต้นที่ 5.2 พันล้านบาท/ใบ ราคา
เริ่มต้นดังกล่าว เป็นการประเมินมูลค่าของใบอนุญาตในระยะเวลา 15 ปีว่าผู้ประกอบการจะสามารถดำเนินการธุรกิจได้อย่างคุ้มทุน โดย
เบื้องต้นคาดว่าเอกชนที่ประมูลได้จะคุ้มทุนภายใน 9 ปี ประกอบกับ กทช.ใช้ข้อมูลของบมจ.ทีโอที ในการเป็นเจ้าของคลื่นความถี่ 1900 เม
กะเฮิร์ตซ์ ซึ่งตีราคาเป็นมูลค่า 7 พันล้านบาท อย่างไรก็ตาม ทาง NERA ซึ่งเป็นที่ปรึกษาการออกระเบียบการประมูลใบอนุญาต 3G ได้
ประเมินมูลค่าคลื่นความถี่ 45 เมกะเฮิร์ตซ ทั้งหมดที่ 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งจะได้ราคาตามที่ที่ปรึกษาประเมินหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับเอกชนที่เข้า
ร่วมประมูล อย่างไรก็ตาม ทาง กทช.ยังคงกรอบเวลาเปิดประมูลในช่วงกลางเดือน ธ.ค.52 แม้ว่า กทช.จะเลื่อนกำหนดจัดประชาพิจารณ์
ครั้งที่ 2 ออกไปเป็น 12 พ.ย.จากเดิมกำหนดไว้ในวันที่ 5 พ.ย.ก็ตาม เนื่องจาก กทช.ต้องใช้เวลาเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการประมูล
ใบอนุญาต 3G เป็นเวลา 15 วันก่อนทำการประชาพิจารณ์ หลังจากนั้นจะเผยแพร่ผลการประชาพิจารณ์ภายใน 30 วัน (อินโฟเควสท์)
ความเห็น: เมื่อวานนี้ (21 ต.ค. 52) ที่ประชุมกทช. ได้มีมติกำหนดราคากลาง และราคาเริ่มต้นของใบอนุญาตคลื่นความถี่ 3G
ในย่าน 2.1 GHz โดยคลื่นความถี่ 10 MHz จะเริ่มต้นประมูลที่ 4,600 ล้านบาท ขณะที่ใบอนุญาตย่านความถี่ 15 MHz จะ
เริ่มต้นที่ 5,200 ล้านบาท ซึ่งราคาเริ่มต้นประมูลที่ประกาศออกมาในครั้งนี้ ถือว่าตํ่ากว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ที่
ระดับ 8 พันลบ. ถึง 1 หมื่นลบ. ค่อนข้างมาก แต่เราเชื่อว่าระดับราคาขั้นต้น 4-5 พันลบ. เป็นระดับราคาที่จะส่งผลดีต่อผล
ประกอบการในประเทศทั้ง 3 ราย เนื่องจากเป็นระดับราคาที่บริษัทฯเอกชนของไทยจะสามารถเข้าร่วมประมูลได้ โดยขั้นตอน
หลังจากนี้ทาง กทช. จะมีการทำร่างหลักเกณฑ์การประมูล (IM) ครั้งที่ 2 และประกาศในเวบไซต์ของ กทช. (www.ntc.or.th) ใน
อาทิตย์หน้า และจะมีการเปิดทำประชาพิจารณ์ครั้งที่ 2 ในวันที่ 12 พ.ย. 52 (เดิม 5 พ.ย. 52) ทั้งนี้แม้ว่าทาง กทช. ยังคงยืนยัน
ว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ทันภายในปีนี้ แต่อย่างไรก็ตามเราเชื่อว่าการเปิดประมูลใบอนุญาต 3G อาจล่าช้าไปกว่ากำหนด
การณ์ของ กทช. ราว 1-2 เดือน และคาดว่าน่าจะเปิดประมูลได้ในช่วงไตรมาส 1/53 ทั้งนี้เนื่องจากมองว่าทาง กทช. ต้องรอ
การตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาในเรื่องอำนาจในเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ของ กทช. ก่อนที่จะทำการเปิดประมูลได้
สำหรับน้ำหนักการลงทุนในกลุ่มผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เราปรับน้ำหนักจากเดิม “น้อยกว่าตลาด” เป็น “เท่ากับตลาด”
เนื่องจากขั้นตอนการประมูล 3G ที่เริ่มมีความคืบหน้า ขณะที่การเปิดประมูลแม้ว่าอาจจะล่าช้า แต่เชื่อว่ายังอยู่ในระดับที่
ตลาดยอมรับได้
cgs
*********
21/10/52
กทช. เปิดใจประมูล 3G โปร่งใส ไม่ได้เร่งรัด ไม่ได้ฮั้วกับเอกชน และไม่ขัดกับกฎหมาย

Posted on Tuesday, October 20, 2009
พล.อ.ชูชาติ พรหมพระสิทธิ์ ประธานคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) เร่งนำข้อเสนอและข้อท้วงติงในการเปิดประมูลใบอนุญาตคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ 3G เข้าสู่วาระการประชุมคณะกรรมการกทช.ในวันพรุ่งนี้ (21 ต.ค. 52) โดยมั่นใจว่าจะออกมาเป็นสรุปข้อสารสนเทศ (Information Memorandum) เพื่อชักชวนผู้ประกอบการเข้าร่วมประมูลได้ทันที และจะนำสรุปข้อสนเทศที่ปรับใหม่นี้ ประชาพิจารณ์อีกครั้งภายในต้นเดือนพฤศจิกายน 2552 หลังจากนั้นก็พร้อมที่จะเปิดประมูลใบอนุญาต 3G ซึ่งจะกำหนดราคากลางการประมูลที่ไม่ควรเกิน 10,000 ล้านบาทต่อใบอนุญาต ซึ่งรายได้ทั้งหมดจะต้องนำส่งให้กับรัฐ ไม่ได้เป็นรายได้กทช.

พร้อมกันนี้ยังมั่นใจว่า กทช.ชุดปัจจุบันมีอำนาจเต็มที่ในการให้ใบอนุญาตถึงแม้ว่าจะมีกรรมการที่จับสลากออก 3 คนตามวาระและลาออกไปอีก 1 คน จนเหลือกรรมการเพียง 3 คน แต่ตามกฎหมายกทช. ระบุให้ระหว่างที่ยังไม่สามารถหากรรมการใหม่เข้ามา ผู้ที่ถูกจับสลากออกยังคงมีอำนาจในการปฏิบัติงานได้ต่อไป ซึ่งหากปฏิเสธที่จะปฏิบัติหน้าที่ กทช.ก็จะถือว่าทำผิดกฎหมาย ละเว้นการปฎิบัติหน้าที่

พล.อ.ชูชาติยังบอกอีกว่า ได้ส่งหนังสือขอคำปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ในการตีความเรื่องอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ระบุว่า ต้องทำหน้าที่ให้ใบอนุญาต 3G พร้อมกับคณะกรรมการกิจการการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ (กสช.) แต่การที่ไม่สามารถจัดตั้งกสช.ได้ ทำให้กทช.ต้องดำเนินการต่อไปตามลำพัง ทั้งนี้ กทช.ชุดปัจจุบันเลือกที่จะเดินหน้าให้ใบอนุญาต 3G ต่อไป โดยไม่รอคำตอบจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา


วิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (AIS) เริ่มไม่มั่นใจว่าการขอใบอนุญาต 3G จะราบรื่นหลังมีข้อท้วงติงจากหลายฝ่ายเข้ามามาก แต่ยอมรับว่าเครือข่าย 3G คือหลักประกันอนาคตที่สำคัญของ AIS เนื่องจากสัญญาสัมปทานที่ทำไว้เดิมกับ ทศท. จะหมดอายุสัมปทานอีก 6-7 ปีข้างหน้า และยังไม่ได้รับการยืนยันจากหน่วยงานใด ๆ ว่าจะสามารถให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ต่อไปได้ในอนาคตหรือไม่

วิเชียรยังชี้แจงถึงเรื่องผลประโยชน์ที่ AIS จะได้รับจากการลดค่าใช้จ่าย เพราะถ่ายโอนลูกค้าไปใบอนุญาตใหม่ว่า เอกชนต้องใช้เวลาวางโครงข่ายอย่างน้อย 3-4 ปี จึงจะรองรับลูกค้าใหม่ได้ การโอนย้ายทันทีจึงเป็นไปไม่ได้ โดย AIS เตรียมเงินลงทุนในเครือข่าย 3G ประเดิมในปีแรก 25,000 ล้านบาท และต่อเนื่องกัน 3 ปีรวมแล้วกว่า 60,000 ล้านบาท และคาดว่าต้องใช้เวลานาน 6 ปี จึงจะเริ่มทำกำไร

นอกจากนี้ วิเชียรยังพร้อมให้ตรวจสอบคุณสมบัติและโครงสร้างของผู้ถือหุ้น ที่ถูกกล่าวหาว่า เป็นตัวแทนทุนต่างชาติเข้าประมูลใบอนุญาต โดยเชื่อมั่นว่าได้ดำเนินการอย่างถูกต้องมาโดยตลอด ส่วนกรณีลงทุนเพื่อล้วงความลับความมั่นคงของชาติก็ยืนยันว่า ไม่ใช่นโยบายของบริษัท เพราะไม่ใช่เป้าหมายในเชิงธุรกิจที่ต้องการลงทุนเพื่อแสวงหาผลกำไร

hard topics*************
08/10/52
กลุ่มสื่อสารทรงตัว มองประมูล 3Gยังอยู่ในกรอบ Q1/53แม้ประชาพิจารณ์รอบ 2
Source - IQ Biz (Th) Thursday, October 08, 2009 10:21 48748 XTHAI XECON XFINSEC ZSTOCK ADVANC TRUE DTAC STOH V%WIREL P%IQ อินโฟเควสท์ (08 ต.ค. 52)--
หุ้นในกลุ่มสื่อสารยังขยับขึ้นได้ แม้กทช.จะทำประชาพิจารณ์การเปิดประมูลใบอนุญาต 3G รอบ 2 อาจทำให้ต้องขยับเวลาการประมูลออกไป แต่โบรกฯมองว่าอย่างไรก็ตามกรอบเวลาการประมูลคงยังจะไม่เกินไตรมาส 1 ปีหน้า(2553) เช้านี้ ดัชนีกลุ่ม ICT อยู่ที่ 82.80 จุด เพิ่มขึ้น 0.31 จุด(+0.38%)เมื่อเวลา 10.06 น. โดยหุ้นที่น่าจะมีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจ 3G ได้แก่ หุ้น ADVANC อยู่ที่ 94 บาท เพิ่มขึ้น 0.25 บาท(+0.27%)มูลค่าซื้อขาย 24.18 ล้านบาท หุ้น DTAC อยู่ที่ 42.25 จุด เพิ่มขึ้น 0.25 จุด(+0.60%)มูลค่าซื้อขาย 13.65 ล้านบาท หุ้น TRUE อยู่ที่ 3.36 บาท เมขึ้น 0.02 บาท(+0.60%)มูลค่าซื้อขาย 4.53 ล้านบาท น.ส.ศลยา ณ สงขลา ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บล.กิมเอ็ง(ประเทศไทย) กล่าวว่า หุ้นในกลุ่มสื่อสารมองว่า คงจะไม่รับผลกระทบมากนักกับการจะทำประชาพิจารณ์รอบที่ 2 และขณะนี้ยังมองหุ้นในกลุ่มสื่อสารเป็น"Neutral ทั้งนี้ การที่กทช.จะมีการทำประชาพิจารณ์รอบที่ 2 มองว่าอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้การประมูลใบอนุญาต 3G มีความล่าช้าไปบ้าง แต่ก็มองว่ายังน่าจะเป็นไปตามกรอบที่คิดไว้อยู่แล้วว่าจะประมูลได้ไม่เกินไตรมาส 1 ปีหน้า(2553)
"มองไว้อยู่แล้วว่ามันจะต้องมีอะไรที่ทำให้เกิดการล่าช้าการประมูลไปบ้าง แต่ก็ยังอยู่ในกรอบที่คิดไว้ว่าจะประมูลได้ไม่เกินไตรมาส 1/53 ซึ่งก็ไม่ได้ผิดหวังหรือตกใจอะไร เพราะยังเป็นไปตามกรอบที่มองไว้"น.ส.ศลยา กล่าว น.ส.ศลยา กล่าวต่อว่า กทช.ยังตั้งใจที่จะออกใบอนุญาต 3G ต่อไป เพียงแต่นำบางประเด็นที่ยังค้างคาใจกันอยู่ มาจัดทำประชาพิจารณ์เพื่อหาคำตอบไว้ตอบประชาชนได้มากขึ้น สำหรับเรื่องที่กสท.จะเข้าร่วมประมูลด้วยนั้น ผู้จัดการฝ่ายวิเคราะห์ฯ มองว่า ก็คงจะดีกับกสท.เพียงแต่กฎเกณฑ์ต้องชัด ไม่ใช่เป็น 2 มาตรฐาน หรือจะได้สิทธิพิเศษเหนือคนอื่น สถาบันวิจัยนครหลวงไทย ระบุว่า ในกรณีที่ กทช. เผยแพร่สรุปข้อสนเทศฉบับสมบูรณ์ในราชกิจจานุเบกษาภายในวันที่ 30 พ.ย. 2552 คาดว่า กทช.จะสามารถจัดให้มีการประมูลใบอนุญาต 3G ได้ในวันที่ 4 ก.พ.2553 และหากการประมูลใช้เวลาเพียง 1 วัน กทช.จะสามารถออกใบอนุญาตในวันที่ 25 ก.พ. 2553 ซึ่งยังคงอยู่ในกรอบที่ประเมินไว้ว่าจะเกิดขึ้นใน Q1/53 กทช. จะเปิดให้มีการรับความคิดเห็นสาธารณะครั้งที่ 2 ในปลายเดือน ต.ค.โดยจะมีประเด็นเพิ่มเติม คือ รายละเอียดของราคาเริ่มต้นที่จะเปิดประมูล และแผนสำรองในกรณีที่มีผู้เข้าร่วมประมูลน้อยกว่าใบอนุญาตที่เปิดประมูล เรื่องราคาเริ่มต้นของใบอนุญาต 3G กทช.ได้ให้ที่ปรึกษา NERA ศึกษารายละเอียดทั้งหมด และให้นำกลับมาเสนอให้ กทช.สัปดาห์หน้า (คาดว่าวันที่ 14 ต.ค.2552) และ กทช.คาดว่าจะสามารถเปิดเผยราคาเบื้องต้นของใบอนุญาตได้ก่อนทำ ประชาพิจารณ์ครั้งที่ 2 กทช. คาดว่า หลังจากได้ข้อสรุปจากการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะครั้งที่ 2 จะสามารถประกาศข้อสรุปสนเทศฉบับสมบูรณ์ในราชกิจจานุเบกษาภายใน 30 วันนับจากนั้น -
-อินโฟเควสท์ โดย พรเพ็ญ ดวงเฉลิมวงศ์/ศศิธร cgs
**********
05/10/52
News Comment

Telecom กระทรวงไอซีทีมีความพยายามจะให้เลื่อนการประมูลใบอนุญาต 3G ออกไปก่อน เนื่องจากไม่เห็นด้วยกับร่างสรุปข้อสนเทศของ กทช. ที่จำกัดไม่ให้ ทีโอที และ กสท. เข้าร่วมการประมูล (ที่มา : หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น)

ความเห็นนักวิเคราะห์:
ตามที่ SCRI ได้นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับร่างสรุปข้อสนเทศ และ รายละเอียดที่ได้จากการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะการออกใบอนุญาต 3G ของคลื่นความถี่ 2.1 GHz ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2552 ที่ผ่านมา และ ประเมินว่าในกรณีที่ดีที่สุด กทช. จะสามารถออกใบอนุญาต 3G ได้ในเดือน ก.พ. 2553 อย่างไรก็ดี มีแนวโน้มที่การประมูลจะเกิดขึ้นได้ช้ากว่าที่คาดการณ์ เนื่องจาก กระทรวงไอซีทีซึ่งถือเป็นฝ่ายรัฐฯไม่ยอมรับกับร่างสรุปข้อสนเทศที่ส่งผลกระทบต่อฐานะทางการเงินของรัฐบาลโดยอ้อมเพราะ ทีโอที และ กสท. ซึ่งเป็นผู้ให้บริการโทรคมนาคมอาจจะไม่สามารถเข้าร่วมประมูลเพราะมีใบอนุญาต 3G อยู่แล้ว และ มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน นอกจากนี้ สหภาพทีโอที กำลังจะยื่นฟ้องต่อศาลปกครองในกรณีดังกล่าวเช่นเดียวกัน ทำให้มีความเป็นไปได้ที่การประกาศข้อสรุปสนเทศฉบับสมบูรณ์จะไม่สามารถเปิดเผยได้ตามกำหนดการที่ SCRI คาดการณ์ไว้ อย่างไรก็ดี ในวันที่ 5 ต.ค. นี้ กระทรวงไอซีทีจะประชุมหารือกับ กทช. แต่หากไม่สามารถหาข้อสรุปได้กระทรวงไอซีทีจะนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
ประเด็นการถือครองหุ้นของบริษัทข้ามชาติ : ตามร่างสรุปข้อสนเทศได้ระบุถึงคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูลใบอนุญาตคร่าวๆดังนี้ 1) ผู้ประมูลจะรับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 3G เพียง 1 ใบเท่านั้น 2) เป็นบริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนตามกฎหมาย 3) การถือครองหุ้นของคนต่างชาติจะจำกัดตาม พรบ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว คือห้ามต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 49% ของทุนจดทะเบียน 4) ผู้ยื่นคำขอจะต้องไม่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ยื่นคำขอรายอื่น หรือ การถือหุ้นไขว้ และ 5) องค์กรทางกฎหมายอื่นๆ เช่น สำนักงานตัวแทนจากต่างประเทศ กิจการร่วมทุน และ บริษัทต่างประเทศไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้ โดยข้อกำหนดในข้อ (1) ถือเป็นการปิดช่องไม่ให้ ทีโอที ซึ่งได้รับใบอนุญาตให้ใช้คลื่นความถี่ 3G ไปแล้วไม่สามารถเข้าร่วมประมูล และ ข้อกำหนดในข้อ (4) จะมีผลกระทบต่อ กสท. ซึ่งมีโครงสร้างผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกับ ทีโอที อาจจะถูกตัดสิทธิ์ในการเข้าร่วมการประมูล ในขณะที่ข้อกำหนดในข้อ (3) ที่ยังมีช่องโหว่ทางกฎหมาย ทำให้กระทรงไอซีที กังวลว่าจะมีผู้ประกอบการต่างชาติจะเข้ามาตั้งบริษัทและร่วมประมูลโดยอาศัยนอมินี (Nominee)
การประมูลไม่เร็วอย่างที่คิด : ถึงแม้ว่า กทช. จะจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นสาธารณะและมีการกำหนดตารางเกี่ยวกับการประมูลใบอนุญาตไปแล้วในร่างสรุปข้อสนเทศ โดยอย่างเร็วที่สุดและไม่มีเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบ SCRI คาดว่า กทช. จะประมูลใบอนุญาตได้ในเดือน ม.ค. 2553 และ ออกใบอนุญาตให้กับผู้ชนะการประมูลในเดือน ก.พ. 2553 แต่หากพิจารณาถึง 1) กระทรวงไอซีทีไม่เห็นด้วยในหลักการจากการปิดช่องไม่ให้องค์กรของรัฐเข้าประมูล ซึ่งทำให้รัฐสูญเสียประโยชน์ และ 2) อาจมีการฟ้องร้องจากสหภาพแรงงานของ ทีโอที ที่จะได้รับผลกระทบจากการที่ ทีโอที จะสูญเสียรายได้จำนวนมหาศาลหาก ADVANC ได้รับใบอนุญาต ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะทำให้การประมูลช้ากว่าคาด
คำแนะนำการลงทุน : SCRI คาดว่าประเด็นข่าวดังกล่าวจะเป็นลบต่อการประมูลใบอนุญาต 3G หากการออกใบอนุญาต 3G ล่าช้ากว่ากำหนดการมากจะทำให้ประโยชน์ที่ผู้ประกอบการจะได้รับจากการประหยัดต้นทุนยิ่งช้าออกไป ดังนั้น สำหรับนักลงทุนระยะสั้น ควรจะ “ลดพอร์ต” เพื่อรอความชัดเจนจากการเจรจาระหว่าง กทช. และ กระทรวงไอซีที ในวันนี้ และสำหรับนักลงทุนระยะยาว เป็นการ “ซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว”

ข้อกำหนดเบื้องต้นเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูล กระทบต่อ
1. ผู้ประมูลจะรับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 3G เพียง 1 ใบเท่านั้น ทีโอที (ภายใต้การทำธุรกิจของ บริษัท ไทยโมบาย)
ได้รับใบอนุญาต 3G ไปแล้ว
2. เป็นบริษัทจำกัด หรือ บริษัทมหาชนจำกัดที่จดทะเบียนตามกฎหมาย
3. การถือครองหุ้นของคนต่างชาติจะจำกัดตาม พรบ. การประกอบธุรกิจ DTAC มีสัดส่วนการถือหุ้นโดย Telenor และ ADVANC
ของคนต่างด้าว คือห้ามต่างชาติถือหุ้นไม่เกิน 49% ของทุนจดทะเบียน มีผู้ถือหุ้น คือ Singtel
4. ผู้ยื่นคำขอจะต้องไม่มีความเกี่ยวข้องกับผู้ยื่นคำขอรายอื่น หรือการถือหุ้นไขว้ ทีโอที และ กสท. มีโครงสร้างผู้ถือหุ้นกลุ่มเดียวกัน
5. องค์กรทางกฎหมายอื่นๆ เช่น สำนักงานตัวแทนจากต่างประเทศ Telenor ผู้ถือหุ้นของ DTAC มีกระทรวงพาณิชย์และ
กิจการร่วมทุน และ บริษัทต่างประเทศไม่สามารถเข้าร่วมประมูลได้ อุตสาหกรรมของประเทศนอร์เวย์เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่
ที่มา : ร่างสรุปข้อสนเทศ / SCRI ประเมิน

โดย สถาบันวิจัยนครหลวงไทย ประจำวันที่ 5 ตุลาคม 2552


************
28/09/52
กทช. คาดเปิดประมูล 3G ได้ กลาง ธ.ค. หลังเริ่มประชาพิจารณ์แล้ววันนี้

Posted on Monday, September 28, 2009
นายเศรฐพร คูศรีพิทักษ์ กรรมการ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) บอกว่า การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นสาธารณะ หรือ การประชาพิจารณ์ การจัดสรรคลื่นความถี่ 3G ในวันนี้ มีผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างชาติเข้ามาร่วมฟังค่อนข้างมาก โดย กทช. จะนำข้อสรุปไปประกอบการจัดทำหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดสรรคลื่นความถี่ต่อไป เพื่อให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรี และให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน

นายเศรฐพร คาดว่า หลังขั้นตอนการประชาพิจารณ์แล้ว กทช.จะสามารถเปิดประมูลคลื่นความถี่ 3G ได้ในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนธันวาคมนี้ สำหรับราคาเริ่มต้นของใบอนุญาต จะได้ข้อสรุปในอีก 2-3 สัปดาห์ ส่วนระยะเวลาการประมูล อาจจะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ไปจนถึง 1 สัปดาห์ แต่ถ้ามีผู้เข้าประมูลน้อยก็อาจจะเสร็จภายในวันเดียว หลังจากได้ผู้ชนะแล้วก็จะได้ใบอนุญาตภายใน 14 วัน

นายเศรษฐพรยอมรับว่า หนักใจ หากมีผู้เข้าร่วมประมูลเพียงแค่ 3-4 ราย เพราะถือว่าน้อยหรือเท่ากับใบอนุญาตที่จะเปิดประมูลอาจเกิดการฮั้วประมูลได้ แต่เชื่อว่าจะไม่มีเอกชนรายใดกล้าทำ เพราะจะถูกตัดสิทธิ์ นอกจากนี้ กทช. ยังมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมประมูลต้องเป็นนิติบุคคลไทย และจะมีการตรวจสอบการถือหุ้นไขว้ด้วย

นายวิเชียร เมฆตระการ หัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส บอกว่า บริษัทพร้อมเข้าประมูลใบอนุญาต 3G แต่หากมีการกำหนดราคากลางสูงถึง 200-300 ล้านเหรียญสหรัฐ ตามที่มีกระแสข่าว ก็อาจจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาระบบ 3G ให้ทัดเทียมประเทศเพื่อนบ้าน ที่ส่วนใหญ่ใบอนุญาตมีราคาต่ำกว่า 100 ล้านเหรียญ สำหรับเงินลงทุน 3G เบื้องต้นเตรียมไว้กว่า 7 หมื่นล้านบาท ยังไม่รวมค่าใบอนุญาตที่บริษัทจะเข้าร่วมประมูลในครั้งนี้ ที่ได้เปิดขอวงเงินกู้กับสถาบันการเงินไว้เรียบร้อยแล้ว

ขณะที่ นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น บอกว่า ความพร้อมที่จะยื่นประมูล 3G เช่นกันและเตรียมหาพันธมิตรเข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจประมาณ 6-7 ราย แต่ส่วนตัวมองว่ากฎเกณฑ์หลายอย่างของการเปิดประมูล 3G ยังไม่ชัดเจน โดยทรูจะทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อเสนอข้อสังเกตของบริษัทไปยัง กทช.ด้วย

ส่วน บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ DTAC ได้แสดงความคิดเห็นต่อร่างข้อสนเทศการจัดสรรคลื่นความถี่ 3G ว่า ไม่เห็นด้วยกับการกำหนดอายุของใบอนุญาตให้บริการ 3G ที่ 15 ปี เนื่องจากเห็นว่า อายุสั้นเกินไป ควรจะปรับเพิ่มเป็น 20 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับเงินลงทุนมหาศาลของผู้ประกอบการ
moneyline news
*********
ข่าวอุตสาหกรรมสื่อสารและเทคโนโลยี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น