วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552

ข่าวกลุ่มอุสาหกรรมอเลคทรอนิค 1

15/12/52
ผู้ผลิตชิพไต้หวันเดิมพันพลิกกลยุทธ์ก่อนลูกค้าหนี

บรรดาผู้ผลิตชิพคอมพิวเตอร์ในไต้หวันกำลังวางเดิมพันครั้งใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนแผนกลยุทธ์ทางธุรกิจ และความหวังที่จะยึดหัวหาดความเป็นหนึ่งในผู้นำอุตสาหกรรมนี้ ขณะที่ส่วนแบ่งการตลาดยังหดตัวอย่างต่อเนื่อง

บรรดาผู้ผลิตชิพคอมพิวเตอร์สัญชาติไต้หวันกำลังเร่งเปลี่ยนแผนกลยุทธ์กันใหม่ หลังจากธุรกิจซบเซา และเป็นจุดที่นักวิเคราะห์กังวลกันว่า จะทำให้ผู้ประกอบการทั้งหลายหลุดออกไปจากวงโคจรของตลาดในเร็ว ๆ นี้ ซึ่งบริษัทที่เริ่มโยกย้ายไปแล้วยังได้รวมไปถึงยักษ์ใหญ่สามราย อย่าง Nanya Technology, Powerchip Semi-conductor และ ProMOS Technologies ซึ่งล้วนแล้วแต่ประสบปัญหาการขาดทุนอย่างหนักมาตลอดในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หลังอุตสาหกรรมชิพประมวลผลหดตัวรุนแรง และแม้ว่าสถานการณ์ราคาจะเริ่มดีดตัวกลับขึ้นมาได้ แต่บริษัท Powerchip Semi-conductor และ ProMOS Technologies กลับยังมีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้เช่นกัน

ในเดือนเมษายนที่ผ่านมา บริษัท ProMOS เพิ่งรอดจากภาวะล้มละลายมาได้อย่างฉิวเฉียด หลังสามารถหาเงินกู้จำนวน 93 ล้านดอลลาร์สหรัฐมาซื้อคืนหุ้นกู้มูลค่า 335 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากตลาดต่างประเทศในนาทีสุดท้าย

จุดหนึ่งที่เป็นปัญหาหลักของไต้หวัน คือ การที่คู่แข่งจากเกาหลีใต้และญี่ปุ่นสามารถผงาดขึ้นมาแซงหน้า ด้วยการชูเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและสามารถประหยัดต้นทุนได้มากกว่า จนทำให้ลูกค้าเปลี่ยนใจและหันไปสั่งของในประเทศดังกล่าวแทน ซึ่งผู้ผลิตไต้หวันก็ได้เพิ่มสัดส่วนการ outsource พร้อมกับการขยับตัวออกจากการผลิตชิพที่เรียกว่า Dynamic Random Access Memory (DRAM) ที่เคยเป็นเหมือนตัวขับเคลื่อนหลักของอุตสาหกรรมนี้ และหันไปเริ่มผลิตชิพแบบใหม่ อย่างเช่น NAND flash memory ที่น่าจะช่วยทำกำไรได้มากขึ้นแทน

ทั้งนี้ ตัว DRAM จะใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นหลัก ขณะที่ NAND ที่ใช้กระบวนการผลิตในแบบเดียวกัน เป็นชิ้นส่วนสำคัญของอุปกรณ์เครื่องเล่นเพลงแบบพกพาและกล้องดิจิตัลที่เป็นที่นิยมในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา

ก่อนหน้าที่ไต้หวันจะก้าวขึ้นมาเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมผลิต DRAM นั้น ญี่ปุ่นเคยรั้งตำแหน่งผู้นำในช่วงทศวรรษที่ 90 มาก่อน แล้วเสียท่าให้เกาหลีใต้ไปเกือบหมด ส่วนไต้หวันเองก็เริ่มก้าวเข้ามาในธุรกิจนี้ตั้งแต่ทศวรรษที่ 80 ก่อนจะขยายการผลิตอย่างหนักในช่วงปี 2548 - 2550

อย่างไรก็ตาม ภาระสินเชื่ออันหนักหน่วงและการออกหุ้นกู้เพื่อมาขยายอุตสาหกรรมนั้น กลับกลายมาเป็นฝันร้ายของบริษัทไต้หวันในเวลานี้ โดยเฉพาะเมื่อธุรกิจตกอยู่ในภาวะที่มีกำลังการผลิตเกินความต้องการของตลาด ขณะที่สภาพคล่องร่อยหรอลง แต่เมื่อหันกลับไปดูที่เกาหลีใต้ บริษัทผู้ผลิต DRAM และ NAND อันดับหนึ่งของโลกอย่าง Samsung Electronics กลับยังคงทำกำไรได้ต่อเนื่อง

ตามข้อมูลเมื่อสิ้นไตรมาส 3/52 สัดส่วนการตลาด DRAM ของผู้ผลิตไต้หวันในตลาดโลกอยู่ที่ 11% ลดลงมาจาก 13% ในช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ขณะที่ของเกาหลีใต้กลับเพิ่มจาก 49%ในช่วงต้นปี มาที่ 57% เรียบร้อยแล้ว

ด้านรัฐบาลไต้หวันที่ดูเหมือนเพิ่งจะตื่นกับปัญหานี้ เพิ่งจัดตั้งบริษัทที่ใช้ชื่อว่า Taiwan Memory Company ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการขนาดเล็กสามารถรวมตัวกันและเพิ่มระดับความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น แต่แผนนี้ก็ยังไม่มีโอกาสเริ่มต้นได้ดีเท่าไรนัก เมื่อสมาชิกสภาฯ หลายคนมองว่า แผนการลงทุนมูลค่าเกือบ 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐนี้ สูงจนเกินไป ซึ่งผู้ประกอบการก็ไม่ควรรอพึ่งรัฐบาลเพียงอย่างเดียว หากไม่สามารถทนเห็นคู่แข่งในภูมิภาคแย่งเค้กไปเป็นของตนกันหมด
global money
***********
10/11/52
เพิ่มน้ำหนักกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์
ภาพรวมกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และจะกลับมาทยอยฟื้นตัวตั้งแต่ครึ่งปีหลัง

เรามองภาพอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาส 2/2552 สะท้อนให้เห็นจากยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเดือนที่ 7 และยอดขายในไตรมาส 3/2552 เติบโตเหนือความคาดหมายปรับตัวเพิ่มขึ้น 19.7% Q-Q ขณะที่ตัวเลข Book to Build ปรับตัวแตะ 1.17 เท่า ในเดือนก.ย. แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมั่นและยอดขายในอนาคตที่ดีขึ้น
สอดคล้องกับมุมมองของ Gartner ที่มีมุมมองในเชิงบวกกับอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์เพิ่มขึ้น โดย Gartner ได้ปรับการคาดการณ์ตัวเลขยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกในปี 2552 ว่าจะหดตัวลง 17% Y-Y ดีขึ้นจากประมาณการเดิมที่คาดไว้ว่าจะหดตัวลงถึง 22% Y-Y โดยยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกที่กลับมาฟื้นตัวในครึ่งปีหลังของปี 2553 เกิดจากสาเหตุสำคัญ ดังนี้ 1.การ Restock Inventory ของ Suppliers 2.ราคาสินค้า PC, Notebook, Consumer Electronic Products (Ex LCD, TV) ที่ปรับลดลงก็กระตุ้นให้ผู้บริโภคใช้จ่ายเพิ่มขึ้น 3.การที่รัฐบาลในประเทศต่างๆ ใช้แผนกระตุ้นเศรษฐกิจอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ ทำให้เกิดการฟื้นตัวของ Demand ในระยะสั้น

แม้ภาพในขณะนี้เราเริ่มมีความมั่นใจว่าอุตสาหกรรมน่าจะพ้นจุดต่ำสุดไปแล้ว แต่การฟื้นตัวของดีมานด์ที่แท้จริงยังต้องใช้เวลาและค่อยๆ เป็นไปตามการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโลก โดย Gartner คาดว่าอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะเข้าสู่การฟื้นตัวที่ยั่งยืนตั้งแต่ปีหน้าเป็นต้นไป โดยคาดยอดขายเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกจะเติบโต 10.3% Y-Y

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจในปีหน้าที่ IMF คาดว่าจะเติบโตที่ระดับบวก 2.9% เรามองว่าเป็นสัญญาณที่ดีและช่วยหนุนการเติบโตของสินค้า ความต้องการสินค้าอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริโภคน่าจะฟื้นตัวเป็นอันแรก ทั้งนี้สินค้า PC และ Handset เป็นตลาดสินค้ากลุ่มแรกที่ Gartner ให้ความเห็นว่าจะเริ่มเข้าสู่ช่วงการฟื้นตัวที่ยั่งยืนในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2553

ด้านผลประกอบการกลุ่ม เราคาดว่าผลประกอบการของบริษัทส่วนใหญ่ได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้วในไตรมาส 2/2552 ขณะที่ผลการดำเนินงานในครึ่งปีหลังจะกลับมาฟื้นตัวดีกว่าครึ่งปีแรกจากวิกฤตเศรษฐกิจโลกที่ผ่อนคลาย รวมถึงครึ่งปีหลังเข้าสู่ฤดูกาลส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2552 เบื้องต้นเราประเมินกำไรปกติของทั้งกลุ่มจะฟื้นตัวดีขึ้น 43% Q-Q โดยหุ้นที่มีการฟื้นตัวของกำไรอย่างโดดเด่น นำโดย KCE และ DELTA อย่างไรก็ตามในส่วนภาพรวมของผลประกอบทั้งปี 2552 ก็ยังคงหดตัว 14.1% Y-Y ตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก สำหรับปีหน้าคาดว่าจะกลับมาเติบโตเพิ่มขึ้น 21.6% Y-Y

ภาพรวมกลุ่มเราให้น้ำหนักการลงทุนมากกว่าตลาด หุ้น TOP Pick ได้แก่ DELTA และ HANA สำหรับ KCE แม้ปีหน้าเราคาดผลประกอบการมีโอกาสกลับมาฟื้นตัวโดดเด่น แต่แนะนำ Trading Buy เนื่องจากบริษัทมีความเสี่ยงในเรื่องของหนี้สินที่ค่อนข้างสูง โดย Net D/E ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 3 เท่า สูงสุดในกลุ่ม
posttoday
*************
30/10/52
ซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์มีกำไรใไตรมาสที่3พุ่งขึ้น3เท่า
30 ตค. 2552 11:10 น.

ซัมซุงอิเล็กทรอนิกส์ มีกำไรในไตรมาสที่ 3 พุ่งขึ้น 3 เท่า แตะที่ 3.72 ล้านล้านวอน หรือ 3,100 ล้านดอลลาร์ จากระดับปีที่แล้วที่ 1.22 ล้านล้านวอน เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัว ส่งผลให้ราคาผลิตภัณฑ์พุ่งขึ้นตามไปด้วย ส่วนยอดขายซึ่งนับรวมถึงยอดขายในต่างประเทศ ปรับตัวขึ้น 19% นอกจากนี้ ซัมซุง ยังคาดการณ์ว่า ในไตรมาสที่ 4 ธุรกิจจะขยายตัวอย่างแข็งแกร่ง เช่นเดียวกับอินเท อีกทั้ง ยังวางแผนจะเพิ่มการใช้จ่ายด้านเงินทุนกับธุรกิจเซมิคอน ดัคเตอร์และหน้าจอในปีหน้ามูลค่ากว่า 8.5 ล้านล้านวอน โดยการขยายตัวของตัวเลขกำไรอาจอ่อนตัวลงหากค่าเงินวอนดีดตัวขึ้นจากระดับต่ำสุด
**********
08/10/52
HOT:หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์บวกแรง โบรกฯคาดผลประกอบการ H2/52 ดี
กรุงเทพฯ--8 ต.ค.--รอยเตอร์
หุ้นกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ราคาปรับขึ้นแรงกว่าตลาดรวม โบรกเกอร์คาด เก็งกำไรผลประกอบการในครึ่งปีหลัง จะฟื้นตัวดีกว่าครึ่งปีแรก ราคาหุ้นบมจ.แคล-คอมพ์ อีเล็คโทรนิคส์ (ประเทศไทย) หรือ CCET บวก 3.85% มาที่ 3.78 บาท,หุ้นบมจ.ฮานา ไมโครอิเล็คโทรนิคส (HANA) บวก 1.05% มาที่ 19.20 บาท หุ้นบมจ.เดลต้า อิเลคโทรนิคส์(ประเทศไทย) หรือ DELTA บวก 1.7% มาที่ 17.90 บาท, หุ้นบมจ.เคซีอี อีเลคโทรนิคส์(KCE) บวก 1.93% มาที่ 4.22 บาท ขณะที่ ภาวะตลาดหุ้นโดยรวม ดัชนีบวก 0.1% "มองว่าน่าจะเป็นการเก็งกำไร ผลประกอบการจะฟื้นตัวในครึ่งปีหลัง" นักวิเคราะห์ หลักทรัพย์ บล.เกียรตินาคิน กล่าว เขากล่าวว่า ขณะนี้จะให้น้ำหนักการลงทุนในกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อยู่ที่ ระดับเท่ากับตลาด เพราะราคาหุ้นปรับขึ้นมา รองรับการคาดหวังผลประกอบการเรียบร้อยแล้ว ดังนั้นจะแนะนำหุ้นในกลุ่มนี้"ถือ" และ"ขายทำกำไร"ในหุ้นบางตัว โดยมีหุ้นที่น่าสนใจสุด

ได้แก่ DELTA

เขากล่าวอีกว่า วานนี้ผู้บริหาร KCE ได้ให้ข้อมูลว่าผลประกอบการในครึ่งปีหลัง

จะฟื้นตัว โดยมีออเดอร์จากลูกค้ายุโรป และสหรัฐเข้ามาเพิ่ม ซึ่งทำให้อัตรากำไรขั้นต้น

(Gross Margin) ในครึ่งปีหลังจะอยู่ที่ราว 20% จากครึ่งปีแรกอยู่ที่ราว 12%--จบ--

(โดย วิรัช บูรณกนกธนสาร รายงานและเรียบเรียง--วพ--)cgs
*************
30/09/52
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ – ETRON - ลงทุนปกติ
,phillip

Book-to-Bill เดือนส.ค. อยู่ที่ 1.03 เท่า
- Book-to-Bill เดือนส.ค. อยู่ที่ 1.03 เท่า
- แม้ Book-to-Bill เดือนส.ค.จะอยู่ที่ 1.03 เท่าลดลงจาก 1.06 เท่าในเดือนก่อนหน้า แต่จะเห็นปริมาณคำสั่งซื้อและยอดนำส่งมีมูลค่าเพิ่มขึ้น
- การใช้กำลังการผลิตในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์มีการฟื้นตัวตามการฟื้นตัวของ เศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะกลุ่มแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่มีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นและส่งผลให้มูลค่า การส่งออกของไทยในกลุ่มดังกล่าวมีการเพิ่มขึ้นตาม
- แนะนำ “ลงทุนปกติ” การฟื้นตัวของกลุ่มเซมิคอนดัคเตอร์จะส่งผลบวกต่อ HANA แนะนำ “ซื้อ” ราคาพื้นฐาน 23 บาท

Book-to-Bill เดือนส.ค. อยู่ที่ 1.03 เท่า
North America-based manufacturers of semiconductor equipment (SEMI) รายงานตัว เลข Book-to-Bill เดือนส.ค. ที่ 1.03 เท่าลดลงจาก 1.06 เท่าในเดือนก่อนหน้า

ปริมาณคำสั่งซื้อเฉลี่ย 3 เดือนสิ้นสุดส.ค. 2552 อยู่ที่ 599 ล้านเหรียญเพิ่มขึ้น 5% เทียบกับ เดือนก่อนหน้าที่ 571.8 ล้านเหรียญ แต่ลดลง 31% เทียบ YoY ขณะที่ยอดนำส่งเฉลี่ย 3 เดือน อยู่ที่ 579.9 ล้านเหรียญเพิ่มขึ้น 8% เทียบกับเดือนก.ค. ที่ 538 ล้านเหรียญแต่ลดลง 45% เทียบ YoY

ประธานเจ้าหน้าที่ SEMI กล่าวถึงปริมาณคำสั่งซื้อเครื่องจักรในอุตสาหกรรมว่าเพิ่มขึ้นติดต่อ กันตามตลาดที่ฟื้นตัวและจากระดับต่ำมากในช่วงต้นปี อีกทั้งการใช้กำลังารผลิตมีการเพิ่ม ขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา โดยคาดหวังว่าปริมาณคำสั่งซื้อเครื่องจักรจะเพิ่มขึ้นใน ทิศทางเดียวกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

การใช้กำลังการผลิตแผงวงจรในไทยเพิ่มขึ้น
ธปท. รายงานการใช้กำลังการผลิตในผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ของไทยเดือนก.ค. 2552 อยู่ที่ 65% ลดลงจากเดือนก่อนหน้าที่ 66.45% แต่พบว่าสินค้ากลุ่มแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์มีการใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลจากบริษัท จดทะเบียนของไทยว่าไตรมาส 3 กลุ่มดังกล่าวยังคงใช้กำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ขณะที่การส่งออกของไทยเดือนล่าสุด (ส.ค. 2552) พบว่าสินค้ากลุ่มดังกล่าวมี การขยายตัวเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะกลุ่มแผงวงจรไฟฟ้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่าง ต่อเนือง

มูลค่าคำสั่งซื้อและนำส่งจะยังอยู่ในระดับต่ำแต่ทางฝ่ายคาดว่าจะเห็นการลงทุนเพิ่มขึ้นตามการฟื้น ตัวของเศรษฐกิจซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีต่อกลุ่มดังกล่าว ทางฝ่ายยังมีมุมมองเป็นบวกต่อการฟื้นตัวในกลุ่ม ดังกล่าว โดยยังคงคำแนะนำ “ลงทุนปกติ” คาดว่าการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมเซมิคอนดัคเตอร์จะส่งผล บวกต่อ HANA สูงสุด ขณะที่ฐานทุนที่แข็งแกร่งจะทำให้บริษัทมีศักยภาพในการดำเนินงานและสามารถ ได้ส่วนแบ่งตลาดที่มากขึ้นจากคู่แข่งรายอื่นในอุตสาหกรรมที่อ่อนแอลง ทางฝ่ายยังคงแนะนำ “ซื้อ” HANA คงราคาเหมาะสมเท่ากับ 23 บาทอิงบน P/E 12 เท่า

โดย บล.ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประจำวันที่ 30 ก.ย. 2552


***********
ข่าวกลุ่มอุตสาหกรรมอิเลคทรอนิก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น